THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ความเสี่ยงเพิ่ม! หลัง Fitch หั่นเครดิต

... • 7 ส.ค. 2023

HIGHLIGHTS

5 min read
  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวลดลงหลังจากความเสี่ยงตลาดการเงินมีมากขึ้น หลังสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch Rating ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ 1 Notch จาก AAA เป็น AA+ 
  • สาเหตุสำคัญของการปรับลดอันดับเครดิตลงมาจากความสามารถในการชำระหนี้ของสหรัฐฯ​ ที่ลดลง ประกอบกับทางการสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มการคาดการณ์การกู้ยืมในไตรมาส 3 จาก 7 แสนล้าน สู่ 1 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น 
  • อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า การปรับลดอันดับเครดิตครั้งนี้ ความเสี่ยงต่อกองทุนพันธบัตรรัฐบาลอาจมีมากขึ้นในระยะต่อไป เพราะ S&P ได้ปรับลดตั้งแต่ปี 2011 และเมื่อ Fitch ปรับลดในปีนี้ ทำให้เป็นการลด 2/3 (เหลือแค่ Moody’s) ทำให้บางกองทุนที่ซื้อเฉพาะพันธบัตร AAA อาจต้องปรับลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ 
  • หากเศรษฐกิจชะลอลงและเข้าสู่ภาวะ Recession ในระยะต่อไป จะทำให้ในที่สุดแล้ว Fed จะลดดอกเบี้ย ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นลดลง และทำให้การถือครองสินทรัพย์เหล่านั้นได้ผลตอบแทนที่ดีได้

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวลดลงจากความเสี่ยงตลาดการเงินที่มีมากขึ้น หลังสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch Rating ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐอเมริกา 1 Notch จาก AAA เป็น AA+ โดย Fitch กล่าวว่า เป็นผลจาก 

 

  1. ธรรมาภิบาลถูกกัดกร่อน (Erosion of Governance) กว่า 20 ปี (ล่าสุดคือการเพิ่มเพดานหนี้ในเดือนมิถุนายน) 
  2. ขาดแผนการคลังระยะกลาง 
  3. ขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้น
  4. ค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง 

 

นอกจากนี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มการคาดการณ์การกู้ยืมในไตรมาส 3 จาก 7 แสนล้านดอลลาร์ สู่ 1 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น 

 

ขณะที่ธนาคารกลางสำคัญทั้งยุโรป (ECB), อังกฤษ (BOE), ญี่ปุ่น (BOJ) และไทย (BOT) ทำนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้น โดย ECB ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเป็น 3.75% จาก 3.5% ตรงกับการคาดการณ์ ขณะที่ยังคงไม่ปิดประตูสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ชะลอลงมาอยู่ที่ 5.3%

 

BOE ขึ้นดอกเบี้ยอีก 25 bps สู่ 5.25% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปีท่ามกลางเงินเฟ้อที่ชะลอลงมาอยู่ที่ 7.9%

 

BOJ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield-Curve Control: YCC) โดยขยายเพดานอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี จาก 0.5% เป็น 1% ขณะที่หลายฝ่ายมองว่า อาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยจาก -0.1% ภายในหนึ่งปีนับจากนี้ 

 

และ กนง. ของไทย มีมติเอกฉันท์ ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps สู่ 2.25% ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ต่ำที่ 0.23% ขณะที่บ่งชี้ว่า การขึ้นดอกเบี้ยครั้งต่อไปขึ้นอยู่กับข้อมูล (Data Dependent) เป็นสำคัญ 

 

ด้านตัวเลข GDP สหรัฐอเมริกาและยุโรปไตรมาส 2/23 ที่ออกมาดีเกินคาด โดย GDP สหรัฐฯ ขยายตัวที่ 2.4% (QoQ, SAAR) สูงกว่าตลาดคาดที่ 1.8% และไตรมาสที่แล้วที่ 2.0% หากพิจารณารายไตรมาส ภาคเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแรงขึ้น ได้แก่ ภาคการลงทุน อันได้แก่ การสั่งซื้อเครื่องบินและเครื่องมือเครื่องจักรด้าน IT เป็นหลัก แต่ภาคเศรษฐกิจอื่นชะลอตัวลงแรงหรือหดตัวมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการบริโภคและการส่งออก รวมทั้ง GDP ยุโรปขยายตัวต่ำที่ 0.3%QoQ หลังจากที่หดตัวในไตรมาส 4 และไม่ขยายตัวในไตรมาส 1 โดยเศรษฐกิจเยอรมนีไม่ขยายตัว ฝรั่งเศสขยายตัวเล็กน้อย ขณะที่อิตาลีหดตัว ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจยุโรปที่มากขึ้นทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ

 

Fitch หั่นเครดิต เพิ่มความเสี่ยงต่อกองทุนพันธบัตรรัฐบาล

 

การปรับลดอันดับเครดิตจาก AAA เป็น AA+ โดย Fitch กล่าวว่า เป็นผลจากธรรมาภิบาลถูกกัดกร่อน, การขาดแผนการคลังระยะกลาง และการขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้นจาก 3.7% ต่อ GDP ในปีที่แล้ว เป็น 6.3% ปีนี้ 6.6% ปี 2024 และ 6.9% ในปี 2025 และค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อรายได้ภาษีขึ้นเป็น 10% (เทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 2.8% ในกลุ่ม AA และ 1% ในกลุ่ม AAA) 

 

ทั้งนี้ เราเห็นด้วยกับการปรับลดอันดับเครดิตครั้งนี้ และมองว่าความเสี่ยงต่อกองทุนพันธบัตรรัฐบาลอาจมีมากขึ้นในระยะต่อไป เพราะ S&P ได้ปรับลดตั้งแต่ปี 2011 และเมื่อ Fitch ปรับลดในปีนี้ ทำให้เป็นการลด 2/3 (เหลือแค่ Moody’s) ทำให้บางกองทุนที่ซื้อเฉพาะพันธบัตร AAA อาจต้องปรับลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ 

 

นอกจากนั้นเรามองว่าห้วงเวลาในการปรับลดครั้งนี้น่าสนใจ เนื่องจากสภาวะตลาดการเงินยังดีอยู่ ซึ่งหาก Fitch ปรับลดในช่วงที่มีความเสี่ยงด้านการคลัง เช่น ช่วงเวลาต่อเพดานหนี้ หรือช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิด Government Shutdown จะยิ่งทำให้ตลาดการเงินผันผวนขึ้น 

 

ซึ่งเรามองว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Fitch ปรับลดอันดับในช่วงนี้คือประเด็นด้านการเงิน โดยดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะยิ่งทำให้รายจ่ายดอกเบี้ยของรัฐบาลสหรัฐฯ สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าหากเศรษฐกิจชะลอลงและเข้าสู่ภาวะ Recession ในระยะต่อไป จะทำให้ในที่สุดแล้ว Fed จะลดดอกเบี้ย ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นลดลง และทำให้การถือครองสินทรัพย์เหล่านั้นได้ผลตอบแทนที่ดีได้ 

 

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าการถือครองตราสารหนี้ที่ความเสี่ยงสูง อาทิ High Yield Bond จะมีความเสี่ยงมากขึ้น ท่ามกลางดอกเบี้ยที่จะยังสูงในระยะสั้นและความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย 

 

ในส่วนของนโยบายการเงินโลกที่มีการขึ้นดอกเบี้ยทั้งใน Fed, ECB และ ธปท. รวมถึงมีการขยายช่วงควบคุมผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น หรือ Yield Curve Control นั้น เรามองว่าเป็นความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเห็นเด่นชัดขึ้น ขณะที่เงินเฟ้อเป็นความเสี่ยงน้อยลง แต่ธนาคารกลางต่างๆ ก็ยังคงเร่งทำนโยบายการเงินตึงตัว ซึ่งอาจทำให้โมเมนตัมเศรษฐกิจที่ชะลออยู่แล้วเข้าสู่ภาวะถดถอยในระยะต่อไปได้

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

  1. หุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 2Q66 จะยังเติบโตได้ดี YoY และ QoQ เลือก ADVANC (Defensive), BEM (Defensive) และ GULF (ราคาต่ำกว่าก่อนเลือกตั้ง)
  2. เก็งกำไรหุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 2Q66 มีโอกาสดีกว่าตลาดคาด เลือก AOT (เป็นไตรมาสแรกที่กลับมาเก็บ Minimum Guarantee) MINT (NHH ประกาศงบเป็น Record High)
  3. หุ้นที่งบ 2Q66 ออกมาดีแล้ว และคาดว่างบจะดีต่อในช่วง 3Q66 เลือก SCGP (High Season ของธุรกิจบรรจุภัณฑ์)

 

ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุน

 

  1. หุ้นที่คาดว่าผลการดำเนินงาน 2Q66 จะออกมาอ่อนแอ และมีโอกาสที่ตลาดจะปรับลดประมาณการ เช่น กลุ่มอาหาร (TU, CPF, GFPT และ BTG) และกลุ่มหลักทรัพย์ (ASP และ MST)
  2. หุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญจากกำลังซื้อภาคเกษตรที่ลดลง ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ (GLOBAL), กลุ่มสินเชื่อ (MTC SAWAD), กลุ่มยานยนต์ (SAT STANLY), กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG มีต้นทุนน้ำตาลสูง), กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (CKP) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF GFPT)

 

“มอง SET ยังเคลื่อนไหวในกรอบ เนื่องจากรอความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่และเข้าสู่ช่วงติดตามผลการดำเนินงาน 2Q66 ของหุ้น Real Sector ท่ามกลางการคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศมองตลาดจับตาตัวเลขเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ รวมทั้งผลการดำเนินงาน 2Q66 ที่จะทยอยออกมา ซึ่งคาดว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ช้าในช่วงครึ่งปีหลัง” 

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. การประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมของไทย (7 สิงหาคม), สหรัฐอเมริกา (10 สิงหาคม) และจีน (9 สิงหาคม)
  2. สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี
  3. การทยอยประกาศผลประกอบการ 2Q23 ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม Real Sector

 

สรุปภาวะตลาดและมุมมองการลงทุน

 

ภาพรวมดอกเบี้ยนโยบายในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ปรับขึ้นตามที่ตลาดคาดไว้ แต่เริ่มมองถึงจุดสูงสุดของนโยบายการเงินตึงตัว หลังตัวเลขเงินเฟ้อและตัวเลขเศรษฐกิจมีทิศทางชะลอตัวลง พัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจจริงจากนี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางนโยบายการเงินในครึ่งปีหลัง ตลาดสหรัฐฯ ยังเล่นธีมการหมุนหุ้นออกจากกลุ่มผู้นำหรือออกจากหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ไปสู่กลุ่มที่ Laggard มาตั้งแต่ต้นปีหรือมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เช่น กลุ่มพลังงานที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามราคาน้ำมัน กลุ่มธนาคารที่งบการเงินยังแข็งแรง ไปจนถึงหุ้นขนาดเล็กและกลุ่มเฮลท์แคร์ที่ Underperform ตลาดมายาวนาน 

 

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าตลาดจะมองโอกาสเกิด Recession น้อยลง แต่ปัจจัยลบที่จะสร้างความผันผวนกับตลาดในระยะถัดไปยังคงมีอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งจากสภาพคล่องที่ยังลดลงต่อเนื่อง ราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้นมา และการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์อาจกลายเป็นความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อในอนาคตได้อีกครั้ง รวมถึงการถูกปรับลด Credit Rating ของสหรัฐฯ

 

ด้านตลาดจีนยังคงได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอลงในเกือบทุกภาคส่วน บีบให้ภาครัฐต้องออกมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติม ทำให้เห็นการฟื้นตัวในหุ้นจีนได้เป็นระยะ อย่างไรก็ดี เรายังมองว่าโอกาสกลับตัวเป็นขาขึ้นรอบใหม่ยังไม่ชัดเจน และมองว่าจีนจะใช้มาตรการหนุนเป็นรายภาคส่วนที่จำเป็นก่อน จากนั้นจึงจะมีมาตรการกระตุ้นที่มากขึ้นในช่วงท้ายปี ตลาดจึงจะสามารถกลับเป็นขาขึ้นชัดเจนได้อีกครั้ง

 

ด้านตราสารทางเลือก เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่ออสังหาริมทรัพย์ / REIT ประเทศพัฒนาแล้ว แต่มีมุมมองเชิงบวกต่อ REIT ไทยและอาเซียน ซึ่งอัตราเงินปันผลมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้านราคาน้ำมันเริ่มเห็นทิศทางปรับตัวดีขึ้น หลังกลุ่มผู้ผลิตยังเหนียวแน่นด้านการควบคุมปริมาณการผลิต เพื่อพยุงราคาไม่ให้ต่ำเกินไป ถือเป็นโอกาสในการลงทุนระยะสั้น นอกจากนี้เรายังแนะนำให้ถือลงทุนทองคำในพอร์ต เพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: MINT - คาดว่าธุรกิจในยุโรปจะหนุนกำไรสดใส

  

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ MINT เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • ดำเนินธุรกิจพักผ่อนและสันทนาการที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อีกทั้งยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ NH Hotel Group ซึ่งเป็นเครือโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในทวีปยุโรป
  • ผลประกอบการมีโมเมนตัมดี โดยคาดการดำเนินงานในยุโรปผ่าน NHH (MINT ถือ 94%) จะแข็งแกร่ง เนื่องจากการกลับมาเดินทางเพื่อธุรกิจ (~30% ของรายได้) จะช่วยลดผลกระทบหากความต้องการเดินทางเพื่อพักผ่อน (~70% ของรายได้) ชะลอตัวจากกังวลเศรษฐกิจไม่แน่นอน
  • 2Q23 คาดมีกำไรปกติราว 3 พันล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ แรงหนุนหลักจากธุรกิจโรงแรมในยุโรปที่เข้าสู่ไฮซีซัน (NHH มีกำไรปกติ 2Q23 ทำ Record High ที่ 78.7 ล้านยูโร เติบโต 22%YoY และดีกว่าขาดทุนปกติที่ 40 ล้านยูโรใน 1Q23) นอกจากนี้ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารในไทยคาดว่าการดำเนินงานยังแข็งแกร่ง อีกทั้งธุรกิจในจีนกำลังฟื้นตัวจากเปิดประเทศ
  • ปี 2023 คาดว่ามีกำไรปกติ 6.2 พันล้านบาท และฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดโควิดที่ราว 7.6 พันล้านบาทในปี 2024 ตามการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในยุโรปผ่านทาง NHH ที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับธุรกิจร้านอาหารในไทยและจีนที่จะดีขึ้นหลังมีการเปิดประเทศและกิจกรรมเศรษฐกิจกลับมา 
  • Valuation ยังไม่แพง โดยราคาหุ้นปัจจุบันเทรด PER 2023F ที่ 29x ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในอดีต (ปี 2012-2019) อีกทั้งเราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 42 บาท (อิงวิธี SOTP)

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง / เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด มีโอกาสให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบาย (ที่มีแนวโน้มผ่านจุด Peak และยังไม่รีบปรับลด) โดยที่ความวิตกต่อความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะใน DMs น้อยลงไปพอสมควร อีกทั้งยังได้แรงส่งจากภาคบริการและการเปิดเมืองของจีนและเอเชีย แต่ค่อนข้างโตช้ากว่าคาด

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

แม้ว่า UST Yields ได้ปรับขึ้นจากการออกพันธบัตร แต่ระยะ 6-12 เดือน มีแนวโน้มปรับลงจากเงินเฟ้อทยอยผ่อนลง Fed กำลังหยุดขึ้นดอกเบี้ยและเศรษฐกิจขาลง แม้เงินเฟ้อพื้นฐานยังหนืดและ Fed จะยังไม่รีบลดดอกเบี้ย, TGB Yields ถูกกดดันจาก UST Yield Upside แต่เงินเฟ้อลงเร็ว และ BoT กำลังหยุดขึ้นดอกเบี้ย

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

US IG ได้แรงหนุนจากงบดุลที่ดี และ UST Yields ที่มีแนวโน้มปรับลดลงในระยะ 6-12 เดือน แม้ Fed ยังไม่รีบลดดอกเบี้ยและ Soft Landing ที่เป็นไปได้สูงขึ้น กระนั้นจำนวนบริษัทล้มละลายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีนัย ทั้งนี้ Rating อย่าง AA ขึ้นไป ค่อนข้างปรับตัวได้ดีในช่วงเศรษฐกิจแย่ และ TH IG Spreads ยังค่อนข้างทรงตัว

 

US HY มีแนวโน้มถูกกดดันจากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่ยังคงมีอยู่ อีกทั้งภาวะสินเชื่อตึงตัวใกล้เคียงวิกฤตเศรษฐกิจและจำนวนบริษัทยื่นล้มละลายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี อาจได้แรงหนุนบ้างจากความหวัง Soft Landing ที่มีโอกาสมากขึ้นและความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยที่ยังดีกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

ดัชนีฯ ยังถูกกดดันจากภาคผลิตหดตัว สินเชื่อตึงตัว Earnings หดตัว และ Fed ไม่รีบลดดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจมีโอกาส Soft Landing สูงขึ้น ภาคบริการขยายตัว และ EPS มีท่าที Bottom Out / Mega Tech ถูกกดดันจาก Valuation แพงขึ้น Rotations และดอกเบี้ยในระดับสูง แต่มีแรงส่งจาก EPS Upgrades และ AI

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

Valuation ดัชนีฯ ยังไม่น่าสนใจเมื่อเทียบกับตลาดตราสารหนี้ยุโรป นอกจากนี้ดัชนีฯ มีแนวโน้มถูกกดดันจากการที่ ECB และ BOE ยังมีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ และจาก Earnings ดัชนีฯ ที่ยังมีแนวโน้มถูกปรับลดลงตามที่โมเมนตัมเศรษฐกิจยุโรปที่มีแนวโน้มแผ่วลงต่อและตามค่าเงินยูโรกับค่าเงินปอนด์ที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 2

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

ดัชนีฯ เสี่ยงเผชิญแรงขายทำกำไร หลังเพิ่มขึ้นมามากและ Valuation ยังตึงตัว นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่ EPS ญี่ปุ่น จะถูกกดดันจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่แผ่วลง รวมทั้งจากเงินเยนที่มีแนวโน้มชะลอการอ่อนค่า และจาก 10Y JGB Yield ที่มีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้น หลัง BOJ เริ่มปรับเปลี่ยนมาตรการ YCC ในการประชุมรอบล่าสุด

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นำโดยการบริโภคและบริการจาก Pent-Up Demand ที่ยังมีอยู่ นอกจากนี้ดัชนีฯ ยังได้แรงหนุนจากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ EPS บจ.จีน ในช่วงครึ่งหลังของปี มีแนวโน้มออกมาดีและถูกปรับประมาณการดีขึ้น

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นของทางการจีนจาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี และจากการส่งเสริม Platform Economy ของทางการจีน ขณะที่ Valuation ยังน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะข้อพิพาททางด้านเทคโนโลยีจะยังคงสร้างความผันผวนให้แก่ดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

การจัดตั้งรัฐบาลส่อแววยืดเยื้อออกไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ กระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติที่ยังขายสุทธิหุ้นไทย ส่งผลให้ดัชนีฯ ยังคงมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนในระยะสั้น อย่างไรก็ดี คาดการณ์ GDP ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากภาคท่องเที่ยวและการบริโภคในช่วงครึ่งปีหลัง จะทำให้ EPS น่าจะขยายตัวได้ดีใน 2H66

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 2

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาต่อเนื่อง ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว อย่างไรก็ดี แม้ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่การที่เศรษฐกิจเวียดนามพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ประกอบกับตลาดอสังหาที่ยังคงมีความเสี่ยง ทำให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 2Q23 มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดัน

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

การนำเข้าที่หดตัวแรง สะท้อนถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตและบริโภคภายในประเทศที่ยังคงโดนกดดันจากการคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.75% เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงิน โดยต้องติดตามการบริโภคใน 2H66 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ต้นปี 2567 รวมทั้งแนวโน้มของ FDI ที่กำลังรอความชัดเจนจากนโยบายรัฐบาลชุดใหม่

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

ได้แรงส่งจากที่ USD มีโอกาสอ่อนค่ามากกว่าแข็งค่า และ US (Real) Bond Yields ที่อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำเผชิญอุปสรรคจากที่ Fed มีท่าทียังไม่รีบลดดอกเบี้ยและตลาดทยอยรับรู้ รวมทั้งปรับมุมมองตาม Fed ซึ่งนับเป็นแรงต้านต่อทั้ง US (Real) Bond Yields ขาลง และ USD ด้านอ่อนค่า

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

ความหวัง Soft Landing และการลดการผลิตช่วยเป็นแรงส่ง แต่ในระยะข้างหน้าอุปสงค์โลกยังไม่แน่นอน เช่น ภาคผลิตหดตัว, เศรษฐกิจ DMs ยังเป็นขาลง และการฟื้นตัวของจีนยังไม่ทั่วถึงและแย่กว่าที่คาดการณ์ อย่างไรก็ดี การมี Risk-Balanced Commodities ในพอร์ตโฟลิโอบ้าง จะช่วยกระจายความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่ยังสูงกว่าปกติ

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

ราคา REITs โดยรวม และกลุ่ม Office ค่อนข้างรับรู้ความเสี่ยงด้านต่ำไปมากแล้ว ในขณะที่ Sentiment ในอนาคตส่งสัญญาณที่ดีขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี อีกทั้ง Yield Spreads จะถูกหนุนด้วยดอกเบี้ยที่กำลัง Peak ทั้งนี้ พื้นฐานกลุ่ม office ยังแย่ และหนี้ CRE ยังคงเสี่ยงจากเศรษฐกิจขาลง แต่ดอกเบี้ยยังอยู่สูง

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 4

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

ได้แรงหนุนจาก Dividend Yields และ REIT-Govt Yield Spreads ที่อยู่ในระดับสูง (แม้ Govt Bond Yields อาจทยอยลงช้าจากการที่ Fed จะยังไม่รีบลดดอกเบี้ย) Valuation (P / NAV) ถูก และเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว อีกทั้งกลุ่ม Office แย่น้อยกว่าในสหรัฐฯ ในขณะที่ Sentiment การเมืองอาจยังส่งผลกระทบเชิงลบใน REITs ไทย

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

Slightly Negative on Private Equity, Private Real Estate, and Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและบริษัทใน Private Debt

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 7 ส.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories