THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

3 วิกฤตใหญ่ ทั้งอสังหาริมทรัพย์ แรงงาน และเงินฝืดรุนแรง กดดันเศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงมากขึ้น

... • 2 ก.ย. 2024

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐฯ ค่อนข้างผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์ มีแรงขายทำกำไรจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเป็นปัจจัยกดดัน ขณะที่ตลาดหุ้น DM อื่นปรับตัวได้ดีกว่า หนุนโดยแถลงการณ์ของประธาน Fed ที่ Jackson Hole ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยเดือนกันยายนชัดเจน และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ 2Q24 ที่ออกมาดีกว่าคาดหนุน มุมมอง Soft Landing 

 

ความคาดหวังที่สูงของหุ้นผู้นำกลุ่ม AI อย่าง NVDA ทำให้หุ้นปรับลดลง แม้จะรายงานผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าตลาดคาดทั้งรายได้และกำไร กดดันหุ้นกลุ่มเทคปรับลดลง 2.3% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา 

 

ฝั่ง EM ปรับลดลงเช่นกัน โดยกดดันจากหุ้นจีนที่แรงกดดันของเศรษฐกิจจีนยังมีต่อเนื่อง เริ่มเห็นการปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้าลง ก่อนจะฟื้นตัวในช่วงท้ายสัปดาห์ 

 

ขณะที่หุ้นในกลุ่มประเทศอาเซียนปรับตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมุมมองว่าประเทศเอเชีย รวมถึงไทย จะสามารถผ่อนคลายนโยบายได้ หลัง Fed เริ่มลดในเดือนกันยายน รวมถึงการส่งออกในเอเชียปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยการส่งออกในไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ 

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ต่อ โดยเฉพาะในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะเริ่มเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ หลังปรับตัวขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างรวดเร็วและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านดิจิทัลวอลเล็ตที่มีรูปแบบที่เปลี่ยนไป แต่เฟสแรกคาดว่าจะเริ่มทำได้เร็ว 

 

นอกจากนั้นโอกาสลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในปีนี้เพิ่มขึ้น หลังการลดดอกเบี้ยของ Fed ชัดเจนขึ้น เศรษฐกิจที่ชะลอลงทำให้ความเสี่ยงคุณภาพสินเชื่ออาจเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นจากข่าวหยุดส่งน้ำมันของลิเบีย เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งภายใน รวมถึงแผนการลดการส่งออกของอิรัก เพื่อให้เป็นไปตามโควตาของกลุ่ม OPEC+

 

เศรษฐกิจจีน ‘เสี่ยงมากขึ้น’ จาก 3 วิกฤต 

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงมากขึ้นจากสัญญาณ 4 ประการ คือ

 

1. ตลาดหุ้นจีนมีสัญญาณตกต่ำต่อเนื่อง โดยดัชนีปรับตัวลดลงประมาณ 4% นับจากต้นปี แต่หากพิจารณาจากจุดสูงสุดในเดือนพฤษภาคม ปรับลดลงถึงกว่า 11% 

 

2. ผลตอบแทนพันธบัตรปรับ 10 ปีอยู่ที่ประมาณ 2.12% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ผลจากธนาคารท้องถิ่นและนักลงทุนรายย่อยที่เข้าซื้อเป็นหลัก โดยกระแสการลงทุนในพันธบัตรเพิ่มขึ้น 39% นับจากต้นปี 2023 ขณะที่กองทุนพันธบัตรและกองทุนตลาดเงินคิดเป็น 35% และ 43% ของกองทุนสินทรัพย์จีน ตามลำดับ ขณะที่กองทุนหุ้นคิดเป็น 9% เท่านั้น

 

3. สำนักวิจัยเอกชนต่างๆ ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจต่อเนื่อง

 

4. กระแสการประท้วงของประชาชนในจีนพุ่งสูงขึ้น

 

เรามองว่าทั้งหมดนี้เป็นผลจาก 3 วิกฤตของจีน อันได้แก่ วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ วิกฤตแรงงาน และวิกฤตเงินฝืด ที่ยังรุนแรงต่อเนื่อง และเป็นผลจากทางการจีนที่เน้นสนับสนุนภาคการผลิตและส่งออก แต่ไม่สนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์รวมถึงภาคการบริโภค 

 

โดย WSJ รายงานว่า รัฐบาลให้เงินช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมกว่า 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2023 ขณะที่ภาคธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มธุรกิจภาคอุตสาหกรรมกว่า 6.2 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาส 1/24 ขณะที่สินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์หดตัวลง 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนหดตัวลง เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์จ้างงานมากกว่าภาคอุตสาหกรรม โดยจะยิ่งนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำและกระแสการประท้วงที่มากขึ้น 

 

นอกจากนั้นการที่จีนผลิตสินค้ามากกว่าความต้องการภายในประเทศ เช่น ผลิตรถ EV ได้ 40 ล้านคันต่อปี แต่มีความต้องการเพียง 22 ล้านคัน หรือผลิตโซลาร์เซลล์ 750 กิกะวัตต์ ขณะที่มีความต้องการเพียง 220 กิกะวัตต์ จะยิ่งทำให้จีนยิ่งต้องกดราคาสินค้าส่งออก และนำไปสู่ความเสี่ยงสงครามการค้ามากขึ้นในอนาคต

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. หุ้นที่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากความคาดหวังรัฐบาลใหม่จะเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นแนะนำ CPALL, CPAXT, TNP, OSP และ CBG

2. สร้างกระแสเงินสดให้พอร์ตลงทุนระยะสั้น แนะนำหุ้นปันผลคุณภาพดีที่มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลจากกำไร 1H67 โดยให้ Dividend Yield ตั้งแต่ 1.5% ขึ้นไป แนะนำ HTC, BCP และ BBL

3. นักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรในหุ้นที่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง แนะนำกลุ่มเช่าซื้อ (MTC และ TIDLOR), กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (AP), กลุ่มค้าปลีก (CPALL และ CPAXT) และกลุ่มโรงไฟฟ้า (GULF)

4. หุ้นที่กลุ่ม Earning Play ซึ่งมีโมเมนตัมกำไรยังดี โดย 3Q67 คาดว่าจะเติบโต YoY และ QoQ ส่วน 2H67 คาดเติบโต HoH และ YoY อีกทั้ง Valuation ไม่แพง เลือก DELTA, GULF, BDMS และ BEM

 

“ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งตัว Sideway Up จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่น่าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังเริ่มมีความชัดเจนของสถานการณ์ทางการเมืองไทย และการเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปลายไตรมาส 3-4 ของปี 2567 บวกกับมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดโอกาสเตรียมลดดอกเบี้ยได้มากขึ้น รวมไปถึงกระแส Fund Flow คาดยังไหลเข้าในตลาด EM ต่อเนื่อง ทำให้ค่าเงินบาทและเอเชียแข็งค่าขึ้น โดยมองเม็ดเงินลงทุนจะไหลออกจากกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี สื่อสาร และอิเล็กทรอนิกส์ เข้าสู่กลุ่มธนาคาร ค้าปลีกรับเหมา และการแพทย์ ซึ่งช่วยลดทอนผลกระทบจากปัจจัยภายนอก โดยคาดดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการของสหรัฐฯ และจีน จะชะลอตัวลง”

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. PMI ของประเทศพัฒนาแล้ว โดยตลาดคาดว่าจะลดต่ำต่อเนื่อง 

2. ดัชนี ISM ภาคการผลิตสหรัฐฯ ตลาดคาด 47.5 ในเดือนสิงหาคม จาก 46.8 เดือนก่อน 

3. JOLT เดือนกรกฎาคม ตลาดคาด 8.09 จาก 8.13 ล้านตำแหน่ง 

4. เงินเฟ้อไทยเดือนสิงหาคม เราคาด 0.5% จาก 0.8% เดือนกรกฎาคม 

5. NFP (ตลาดคาด 1 แสนจาก 1.1 แสนตำแหน่ง) 

6. ว่างงานสหรัฐฯ คาด 4.3% เท่าเดิม

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CPALL - 2H24 จะโตเด่นสุดในกลุ่มพาณิชย์

 

แนะนำ บมจ.ซีพีออลล์ หรือ CPALL เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้นำธุรกิจร้านค้าปลีกค้าส่งในไทย ซึ่งมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง อีกทั้งยังสามารถอยู่รอดและเติบโตได้ดีภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัว
  • มองกำไร 2H24 จะเติบโต YoY โดดเด่นมากกว่าบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มพาณิชย์ แรงหนุนจากการเติบโตที่แข็งแกร่งจากยอดขายและมาร์จิ้นที่ดีขึ้นทั้งจากธุรกิจ CVS และ CPAXT หนุนให้ปี 2024 คาดมีกำไรปกติ 2.37 หมื่นล้านบาท เติบโต 30.5%YoY และโตต่อ 15.5%YoY ในปี 2025 ซึ่งยังไม่รวม Upside จากรัฐบาลใหม่เตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 3-4 ของปี 2024 
  • Valuation ยังน่าสนใจ โดยราคาหุ้น CPALL ยังซื้อ-ขายที่ PER 2024F ที่ 23 เท่าคิดเป็น -2S.D. จาก PER เฉลี่ย 10 ปี ซึ่งมองยังไม่สะท้อนโมเมนตัมกำไรที่เติบโตแข็งแกร่ง และเป็นหนึ่งในหุ้นที่จะได้อานิสงส์ตรงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • เราประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 77 บาท อิงวิธี DCF (WACC 7% และอัตราเติบโตระยะยาว 2.5%) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2024 หุ้นละ 1.32 บาท คิดเป็น Dividend Yield ราวปีละ 2.3%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

ผลประกอบการกลุ่มเทคโนโลยีออกมาดีว่าคาดในภาพรวม อย่างไรก็ดี มีเพียง CRM ที่ราคาตอบสนองเชิงบวก นอกนั้นราคาปรับตัวลง หลังมีแรงกดดันจากความคาดหวังที่สูงและปัจจัยเฉพาะตัว โดย NVDA มีปัญหาในการผลิตชิป Blackwell, ด้าน CRWD มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการแก้ไขปัญหาระบบที่ล่ม และ HPQ ที่ธุรกิจเครื่องพรินต์ชะลอตัว แต่ระยะถัดไปเรามองว่าราคายังไปต่อได้จากแนวโน้มการเติบโตที่ดี แต่ระมัดระวังความเสี่ยงในช่วง 2H25 ที่จะทำให้ราคาผันผวน

 

  • Salesforce (CRM) เผยงบดีกว่าคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น 8% และกำไรอยู่ที่ 2.56 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น นอกจากนี้ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรหลังมีแรงหนุนจากการใช้จ่ายในคลาวด์ของกลุ่มเทคที่เพิ่มขึ้นและผลิตภัณฑ์ AI ใหม่

 

  • NVDA เผยงบดีกว่าคาด โดยรายได้และ EPS เพิ่มขึ้นมากกว่า 1xYoY โดยเฉพาะ Data Center อย่างไรก็ดี ราคาหุ้นตอบสนองเชิงลบจาก 

 

1. ความคาดหวังที่สูง 

2. ปัญหาการผลิตชิป Blackwell ที่ล่าช้า 

3. ความกังวลต่อการพัฒนาชิปที่อาจจะล้ำเกินความต้องการตลาด

 

  • HP ราคาหุ้นปรับลงหลังงบต่ำกว่าคาด และปรับลดคาดการณ์ลงผลกระทบจากธุรกิจ Printer ที่หดตัวและมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง ขณะที่ PC ฟื้นตัวดีจนหนุนให้ยอดขายพลิกกลับมาโตได้ 2.24%YoY

 

  • CRWD งบดี แต่แนวโน้มออกมาต่ำกว่าคาดกดดันจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการแก้ไขปัญหาระบบที่ล่มในช่วงก่อน รวมถึงการเรียกความเชื่อมั่นของลูกค้ากลับมา ซึ่งบริษัทคาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวอีกทีช่วง 2H25

 

ภาพรวมงบกลุ่มเทคยังคงดีและมีแนวโน้มโตหนุนจากการพัฒนา AI เข้ากับผลิตภัณฑ์และอุปสงค์ AI ที่ยังคงเติบโต โดย

 

1. กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ที่อุปสงค์ชิปประมวลผลโต 

2. กลุ่มซอฟต์แวร์ ที่ความต้องการในสินค้าใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ AI ยังคงเติบโต 

3. กลุ่ม PC ที่เราคาดหวังต่อภาพการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีแรงสนับสนุนหลักจาก PC AI 

4. กลุ่ม Cybersecurity ที่มีการพัฒนาแพลตฟอร์มร่วมกับ AI ด้วยภาพนี้ทำให้ราคาหุ้นของกลุ่มเทคใน 2H24 ยังคงไปต่อได้

 

อย่างไรก็ดี เราประเมินว่าราคาหุ้นมีความผันผวนได้มากขึ้นจากความเสี่ยง

 

1. ความคาดหวังที่สูง 

2. Geopolitical Risk ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น 

3. การเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่มีผลต่อนโยบาย

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด / สภาพคล่อง

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด มีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังอยู่สูง โดยเฉพาะสหรัฐฯ นอกจากนี้สภาพคล่อง / เงินสด มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่ เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีน-คู่ค้าต่างๆ และความตึงเครียดในตะวันออกกลาง รวมทั้งจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยล่าสุดคะแนนนิยมของ คามาลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครต พุ่งแซงหน้า โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน

 

ตราสารหนี้ / เงินฝากระยะยาว

 

ตัวเลข Core PCE เดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ สอดคล้องกับคาดการณ์ของตลาด ทำให้ Yield และ Spread มีการเคลื่อนไหวที่จำกัดในสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

เรายังคงมุมมองว่าตราสารหนี้ยังมีความน่าสนใจ ในการถือเพื่อรับ Income และคุ้มค่าที่จะถือ เพื่อ Hedge ในกรณีที่เศรษฐกิจโตต่ำกว่าคาด

 

เราคาดว่าความผันผวนของ Bond จะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเข้าใกล้ช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ โดย Bond ตัวยาว (> 7 ปีขึ้นไป) มีความเสี่ยงจากนโยบายการคลังหลังเลือกตั้ง ขณะที่ Bond ช่วงอายุ 2-4 ปีมีความเสี่ยง Duration ที่น้อยกว่า และ Coupon ยังเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

US Treasury & IG

 

UST Yield, Spread และ YTW ของ IG Credit ค่อนข้างทรงตัวตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลัง Bond Yield ปรับตัวลงแรงจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยช่วงต้นเดือน เช่นเดียวกับ 10Y TGB Yield ที่ยังคงทรงตัว แนะนำลงทุน ทั้ง US Treasury และ IG Bond โดยยังแนะนำให้ลงทุนใน Duration ประมาณ 2-4 ปี เพื่อ Lock Rate ในช่วงของ Curve Steepening โดยผลตอบแทนเฉลี่ยยังอยู่ใกล้ 4-5% ซึ่งสูงกว่าที่ Fed ประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบายปกติ ‘ระยะยาว’ ที่ 2.8%

 

High Yield Bond

 

US HY Spread เริ่มทรงตัว หลังตัวเลขผู้ขอสวัสดิการจ้างงานต่ำกว่าคาดและยอดค้าปลีกเดือนกรกฎาคมที่แข็งแกร่งช่วยคลายความกังวลด้านเศรษฐกิจถดถอย เราคาดการณ์ว่า Spread ของ HY จะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้น และ Supply ของการ Refinance ที่จะเริ่มออกมาในช่วงปลายปี 2567

 

สินทรัพย์ผสม / กึ่งหนี้กึ่งทุน / REITs

 

REITs ถือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงินให้กับ Portfolio ได้ทั้งในระยะกลางถึงยาว และเป็นการเพิ่ม Diversification ให้กับ Portfolio จากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ / สินทรัพย์ผสม ช่วยกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง

 

US REITs

 

US REITs มีปัจจัยหนุนจาก 

 

1. Bond Yield สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลงจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งเราคาดว่าจะปรับลด 3 ครั้ง ครั้งละ 25 bps รวม 75 bps. ในปีนี้ 

2. Occupancy Rate ที่อยู่ในระดับสูงราว 93%

3. กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NOI) ที่เติบโตต่อเนื่อง

4. งบดุลที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถรองรับการเติบโตในอนาคต

5. Valuation ที่อยู่ในระดับที่ไม่แพง

 

Private Credit

 

เรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นต่อ Private Credit Asset จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิ์เรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

 

หุ้นไทย

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้ปัจจัยหนุนระยะยาวจาก

 

1. เศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้นในช่วง 2H67 จากการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว 

2. Valuation อยู่ในระดับที่ไม่แพง ขณะที่ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว 

3. ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้นตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว 

4. ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการที่ Fed มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้รวม 3 ครั้ง ขณะที่ประเด็นทางการเมืองในประเทศที่มีความชัดเจนมากขึ้น ช่วยคลายความกังวลของนักลงทุน

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

ในการประชุม Jackson Hole ที่ผ่านมา Fed ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในเดือนกันยายน ช่วยหนุน Sentiment ของตลาด 

 

PMI ภาคการผลิตของยุโรปและสหรัฐฯ เดือนสิงหาคมยังคงหดตัว ขณะที่ภาคบริการยังคงอยู่ในภาพของการขยายตัว เรายังคงมีมุมมองว่าเศรษฐกิจโลกจะมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงแบบ ‘Soft Landing’ โดยการลงทุนหุ้นในกลุ่ม Quality Growth และกลุ่ม Defensive จะยังให้ผลตอบแทนที่ดีในสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ Soft Landing โดยมองความผันผวนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ และแนวโน้มตลาดพักฐานในเดือนกันยายน (ตามสถิติในอดีต) เป็นโอกาสในการทยอยสะสม 

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

หุ้นเทคโนโลยีฟื้นตัวแรง หลังจากคลายความกังวลเรื่อง Recession อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่ม Defensive (Utilities, Health Care และ Consumer Staple) ที่ได้รับแรงหนุนจากการปรับลดดอกเบี้ยและกำไรกิจการมีเสถียรภาพมากกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ ยังคงปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงแรงส่งของ Sector Rotation ที่ยังมีโมเมนตัมสนับสนุน เรายังเน้นกลยุทธ์ลงทุนแบบ Barbell Strategy ซึ่งมีสัดส่วนของหุ้นกลุ้ม Quality Growth ผสมผสานกับหุ้นกลุ่ม Defensive

 

หุ้นยุโรป

 

ดัชนีหุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากแนวโน้มการทยอยลดอัตราดอกเบี้ยต่อของ ECB หลังล่าสุด เงินเฟ้อของ EU เดือนสิงหาคม ลดลงสู่ระดับ +2.2%YoY ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 โดยเราเน้นกลุ่มที่มีความสามารถในการทำกำไรที่สูงและมีงบดุลที่แข็งแกร่ง แม้ว่าความเสี่ยงข้อพิพาทการค้ากับจีน (ล่าสุดเนเธอร์แลนด์อาจไม่ต่ออายุใบอนุญาตบางส่วนของบริษัท ASML สำหรับการให้บริการและจัดส่งอะไหล่ไปยังจีน) ที่มีแนวโน้มดำเนินต่ออาจสร้างความผันผวนและกดดัน Sentiment ดัชนีฯ อยู่ก็ตาม

 

หุ้นญี่ปุ่น

 

เราคาดว่ากลุ่ม Value ญี่ปุ่นมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการปฏิรูปธรรมาภิบาลของญี่ปุ่น รวมทั้งได้อานิสงส์จากการทยอยคุมเข้มทางการเงินของ BOJ เพิ่มเติม ซึ่งล่าสุด Core CPI กรุงโตเกียว เดือนสิงหาคม +2.4%YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด แม้ความไม่แน่นอนการเมืองในญี่ปุ่นมีมากขึ้นจากประเด็นการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค LDP ก็ตาม

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

ภาคการลงทุนและภาคการผลิตของจีนในเดือนกรกฎาคมส่งสัญญาณชะลอตัว ตัวเลขส่งออกยังอ่อนแอ และภาคอสังหาริมทรัพย์ยังถูกกดดันต่อเนื่อง โดยตัวเลขการขายบ้านใหม่ลดลง 20%YoY เพิ่มความเสี่ยงต่อการบรรลุเป้า GDP ในปี 2567 ที่ 5%

 

กำไรบริษัทจดทะเบียนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียเริ่มส่งสัญญาณเติบโตชะลอตัวลงจากฐานที่สูง การปล่อยสินเชื่อที่เติบโตช้า รวมถึงการรัดเข็มขัดทางการคลังที่จะเริ่มส่งผลในช่วง 2H67

 

กำไรบริษัทจดทะเบียนในอินโดนีเซียมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วง2Q67 เป็นต้นไป และแรงกดดันจากค่าเงินอ่อนค่าเริ่มผ่อนคลายลง

 

หุ้นอินเดีย

 

ประมาณการ EPS ในปี 2567 ของ MSCI India ถูกปรับลดลงหลังการประกาศงบ 2Q67 ถึงแม้กำไรจะดีกว่าคาดก็ตาม บ่งชี้ถึงความกังวลบน Forward Guidance

 

การบริโภคในเขตเมืองเริ่มเข้าสู่ช่วงของการชะลอตัวจากฐานที่สูง ขณะที่การบริโภคในต่างจังหวัดเริ่มเห็นภาพของการฟื้นตัวจากปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำในเขื่อนที่ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว เราคาดว่าจะเห็นแนวโน้มนี้ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2567

 

มาตรการควบคุมสินเชื่อของภาคครัวเรือนและมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังเป็นความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ถึงแม้จะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ตาม

 

หุ้นอินโดนีเซีย

 

ดัชนีฯ มีปัจจัยหนุนในระยะยาวจาก

 

1. เศรษฐกิจที่เติบโตแข็งแกร่งจากภาคการบริโภคที่ฟื้นตัวและภาคการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดย GDP ใน 2Q67 ขยายตัวที่ 5.05%YoY นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นของรัฐบาลชุดใหม่ 

2. FDI ที่ไหลเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย FDI ในช่วง 2Q67 เติบโตราว 16.6%YoY จากการมีแร่นิกเกิลจำนวนมาก ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ EV 

3. กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วง 2Q67 เป็นต้นไป 

4. Valuation ที่อยู่ในระดับไม่แพง 

5. ค่าเงินรูเปียห์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการคาดการณ์ที่ว่า Fed จะลดดอกเบี้ยนโยบายจำนวน 3 ครั้งในปีนี้

 

หุ้นจีน

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก EPS Growth ที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว และจากความคาดหวังในการออกมาตรการกระตุ้นมากขึ้นจากทางการในช่วงที่เหลือของปี หลังความเสี่ยงที่ GDP ปีนี้อาจต่ำกว่าเป้าที่ราว 5% มีมากขึ้น โดยที่ล่าสุดดัชนี PMI ภาคการผลิตจีนเดือนสิงหาคมลดลงจากเดือนกรกฎาคม และต่ำกว่า 50 เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน นอกจากนี้คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจีน A-Share มีแนวโน้มเพิ่มผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นมากขึ้น และทางการมีแนวโน้มเข้ามาช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลงกับรักษาเสถียรภาพของตลาดฯ

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ปัจจัยพื้นฐานยังคงสนับสนุนการถือครองทองคำในพอร์ตระยะยาวเนื่องจาก 

 

1. เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและความเสี่ยงจากภาวะสงครามที่รุนแรงได้

2. เริ่มมีความกังวลประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่สูงเป็นประวัติการณ์ 

3. ประเทศหลักๆ ที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ได้กระจายความเสี่ยงและลดการถือเงินดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรองระหว่างประเทศ รวมทั้งมีความต้องการสะสมทองคำมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะกลาง-ยาว

4. เงิน Fund Flow ของ ETF ทองคำ เริ่มกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ หลังจากเทขายมาตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงกลางเดือนกรกฎาคม

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 2 ก.ย. 2024

READ MORE



Latest Stories