THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
ส่งออกไทย
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

ส่งออกไทยพุ่ง แค่ข่าวดีระยะสั้น เหตุเป็นผลมาจากต่างชาติเร่งตุนสินค้าก่อนสงครามทวีความรุนแรง

... • 2 ธ.ค. 2024

HIGHLIGHTS

9 MIN READ
  • หุ้นโลกปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อย หลังจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เริ่มมีสัญญาณผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งการกีดกันการค้า และการหยุดยิงชั่วคราวระหว่างอิสราเอลกับเลบานอน
  • ส่วนตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงพักฐานหลังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ ขณะที่หุ้นหลายกลุ่มอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบเชิงลบจากปัจจัยเฉพาะตัว
  • ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 3/24 เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง แต่ในระยะต่อไปอาจเริ่มมีความเสี่ยงจากนโยบายการค้าและนโยบายผู้อพยพในอนาคตภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์
  • ขณะที่ภาคส่งออกของไทยที่พุ่งสูงเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว คือการเร่งนำเข้าของต่างประเทศเพื่อสะสมสต็อกก่อนความเสี่ยงสงครามการค้า 

สัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้นโลกปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อยจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่ง โดย PMI สหรัฐฯ พุ่งสูงสุดรอบ 2 ปีที่ 55.3 ในเดือนพฤศจิกายน รวมถึงความคาดหวังการใช้จ่ายในช่วงเทศกาล Black Friday ที่จะเพิ่มขึ้น 

 

ด้านการกีดกันการส่งออกชิปไปจีนมีแนวโน้มผ่อนปรนกว่าข้อเสนอเดิม นอกจากนั้นผลสำเร็จของการเจรจาหยุดยิงชั่วคราวระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนยังเป็นอีกเหตุผลที่ช่วยหนุนตลาดได้เช่นกัน 

 

กลุ่มเชิงรับปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาด เช่น กลุ่มสื่อสาร การแพทย์ สินค้าจำเป็น และกลุ่มสาธารณูปโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.4-1.7% จากการเปลี่ยนกลุ่มเล่นและกำไรไม่ผันผวน ขณะที่กลุ่มพลังงานและ Materials ปรับตัวลดลง 0.1-2.3% จากพัฒนาการเชิงบวกของความไม่สงบในตะวันออกกลางดังกล่าวข้างต้น ส่วนกลุ่มเทคโนโลยีปรับลดลง 0.7% ตามแรงขายทำกำไร 

 

ดัชนีเงินเฟ้อ Core PCE เดือนตุลาคมของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.8% ต่อปีตามคาด เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ 2.7% ขณะที่รายงานการประชุม Fed ยังคงสนับสนุนการลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

 

ในฝั่งของตลาด EM ค่อนข้างทรงตัว แม้มีความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมจากจีน แต่กระแสเงินยังไหลออกจากภูมิภาคจากความไม่แน่นอนในประเด็นสงครามการค้าที่กำลังจะเพิ่มสูงขึ้น หลังทรัมป์เริ่มขู่ขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน 10% เม็กซิโกและแคนาดา 25% ทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง 

 

ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงพักฐานหลังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ ขณะที่มีประเด็นเฉพาะตัว (ส่วนใหญ่เป็นลบ) ของหุ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ราคาน้ำมันปรับลดลง หลังความไม่สงบในตะวันออกกลางดูมีทิศทางเชิงบวกมากขึ้น หลังอิสราเอลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์บรรลุข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว 

 

ส่งออกไทยพุ่ง แค่ข่าวดีระยะสั้น

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 3/24 เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนภาคธุรกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่พุ่งสูงถึง 39% สะท้อนความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจท่ามกลางความท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยสูงและความไม่แน่นอนทางการเมือง 

 

ในส่วนตัวเลขเงินเฟ้อ Core PCE เดือนตุลาคม รวมถึงตัวเลขการใช้จ่ายเริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้น โดย Core PCE เพิ่มขึ้น 2.8% ต่อปี และ 0.3% ต่อเดือน เร่งตัวขึ้นจาก 2.7% ในเดือนก่อน ขณะที่การใช้จ่ายผู้บริโภคที่แท้จริง (หักเงินเฟ้อ) ชะลอตัวลงเหลือเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% แม้รายได้ที่แท้จริงจะเพิ่มขึ้น 0.4% สูงสุดในรอบ 10 เดือน สะท้อนความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปลายปี ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์ที่อาจส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และสัญญาณความเปราะบางทางการเงินที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ และผู้มีรายได้น้อยที่ต้องพึ่งพาสินเชื่อมากขึ้น ทำให้เรามองว่าในระยะต่อไปเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเริ่มมีความเสี่ยงจากนโยบายการค้าและนโยบายผู้อพยพในอนาคตภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์

 

ด้านการส่งออกไทยที่พุ่งสูง เรามองว่าเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว คือการเร่งนำเข้าของต่างประเทศเพื่อสะสมสต็อกก่อนความเสี่ยงสงครามการค้า โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องจักร รวมถึงผลของราคาทองคำที่สูงขึ้น ขณะที่ภาคการผลิตเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์จากการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้า การทุ่มตลาดจากจีน และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่กดดันกำลังซื้อ โดยเรามองว่าความเสี่ยงสงครามการค้าจะยิ่งกดดันภาคส่งออกและภาคการผลิตของไทยยิ่งขึ้นในระยะต่อไป

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

  1. หุ้นที่คาดว่าจะได้อานิสงส์บวกจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคและท่องเที่ยว รวมทั้งมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของภาครัฐ แนะนำกลุ่มพาณิชย์ (CPALL, CPAXT, CRC, HMPRO, TNP), กลุ่มท่องเที่ยว (AWC, AOT, MINT) และกลุ่มธนาคาร (BBL)

 

  1. หุ้น Earnings Play ซึ่งมองมีโมเมนตัมกำไร 4Q67 จะเติบโตดี YoY และ QoQ อีกทั้งเราแนะนำ Outperform เลือก BCP, GULF, OSP, AMATA, AU และ TIDLOR 

 

  1. หุ้นที่จ่ายปันผลสูงและคาดว่าจะได้อานิสงส์จากการเป็นเป้าหมายสะสมของกองทุนวายุภักษ์ และกองทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เลือก BBL, ADVANC และ HMPRO

 

  1. เก็งกำไรหุ้นที่คาดว่ามีโอกาสเข้าคำนวณ SET50 ในงวด 1H68 อาทิ BANPU, CCET, COM7, SAWAD, หุ้นที่ได้อานิสงส์บวกจากสถานการณ์น้ำท่วมใต้ แนะนำ HMPRO, CPALL และ TASCO ขณะที่ระมัดระวังการลงทุนสำหรับหุ้นกลุ่มการแพทย์, ยานยนต์, กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่โมเมนตัมกำไร 4Q67 ยังอ่อนแอ

 

“ช่วงสั้นมอง SET จะยังเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideway ในกรอบ โดยมีแนวรับเชิงจิตวิทยาที่บริเวณ 1,400 จุด และตลาดจะมีการรีบาวด์เป็นระยะๆ เป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยต่างประเทศยังค่อนข้างจำกัด โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัว ขณะที่ภาคการค้าระหว่างประเทศของจีนยังมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนปัจจัยในประเทศยังไม่มีประเด็นใหม่ๆ เข้ามาช่วยกระตุ้นบรรยากาศการลงทุน โดยเงินเฟ้อไทยเดือนพฤศจิกายนคาดเพิ่มขึ้น 0.8%YoY และยังติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของภาครัฐ” ทีมวิจัย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ ระบุ

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. เงินเฟ้อไทยเดือนพฤศจิกายน (ตุลาคม 0.8% เราคาด 1.2%) 
  2. การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพฤศจิกายน (ตุลาคม 1.2 หมื่นตำแหน่ง ตลาดคาด 1.8 แสนตำแหน่ง) และอัตราการว่างงาน (ตลาดคาด 4.1% เท่าเดิม) 
  3. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการของสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายน ตลาดคาดว่าดีขึ้น
  4. การประชุม OPEC+ (5 ธันวาคม) เพื่อกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมัน โดยคาดว่าจะมีมติเลื่อนแผนปรับเพิ่มกำลังการผลิตออกไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2025

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CRC - ผ่านจุดต่ำสุด...รอมาตรการรัฐหนุน

 

แนะนำ บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ CRC เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็น Holding Company ถือหุ้นในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลาย ผ่านรูปแบบและช่องทางที่หลากหลายในไทยและต่างประเทศ (ปี 2023 มียอดขาย 71% จากไทย, 22% จากเวียดนาม และ 7% จากอิตาลี) ทั้งนี้ บริษัทมีศักยภาพเติบโตได้ในระยะยาวจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการมีฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง
  • ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดแล้วใน 3Q24 และ 4Q24 คาดว่าจะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปีนี้ โดยจะเพิ่มขึ้น QoQ ตามฤดูกาล และ YoY จากการขยายสาขาและการคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น หนุนให้ปี 2024 คาดกำไรจะยังเติบโต 7.8%YoY
  • มองเป็นผู้ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังจะออกมาใหม่ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีค่าซื้อสินค้าและบริการ โดยมาตรการล่าสุดที่ให้สิทธินำค่าซื้อสินค้าและบริการไม่เกิน 5 หมื่นบาท ลดหย่อนภาษีได้ (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2023) ช่วยหนุนให้ยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้นได้ในอัตราเลขตัวเดียวระดับต่ำ YoY 
  • เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 39 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 7% และอัตราเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) อีกทั้งคาดว่าจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรปีนี้หุ้นละ 0.57 บาท คิดเป็น Div. Yield ราวปีละ 2.0% 

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

สัปดาห์ที่ผ่านมางบออกมาในทิศทางผสม โดยกลุ่มซอฟต์แวร์โตดีกว่าฮาร์ดแวร์ PC ที่การฟื้นตัวยังเป็นไปได้ช้า ด้านงบกลุ่มค้าปลีกที่ออกมายังคงสะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันจากแรงซื้อที่ชะลอตัวลงจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวดูเหมือนจะดำเนินต่อเนื่องและส่งผลให้แนวโน้มทั้งกลุ่มเทคและกลุ่มค้าปลีกยังมีแรงกดดัน ด้วยภาพนี้ทำให้ระยะถัดไปเรายังคงแนะให้อยู่ในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่มีแบรนด์แกร่งและแรงกดดันจำกัดอย่าง WMT, COST, MSFT และ PANW

 

  • กลุ่มค้าปลีก: งบออกมาในทิศทางผสมหลังแรงซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอตัวยังกดดันกลุ่มที่มีสัดส่วนสินค้า Discretionary สูง อย่าง BBY และ KSS ขณะที่กลุ่มสินค้าเครื่องแต่งกายมีการปรับกลยุทธ์ เช่น URBN เน้นขายส่ง ANF เสนอโปรโมชัน และคุมต้นทุนได้ดี ทำให้งบที่ออกมายังคงมีการเติบโตได้แม้จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
  • กลุ่มเทค: 1. กลุ่มซอฟต์แวร์ WDAY งบออกมาดีกว่าคาด หนุนจาก Subscription ที่โตดีหลังพัฒนา AI กับซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ดีปรับลดคาดการณ์ลงต่ำกว่าคาด 2. Cybersecurity CRWD เผยงบเติบโตดีกว่าคาดในทางเดียวกับอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี Net New ARR ต่ำกว่าคาดหลังมีแรงกดดันจากความเชื่อมั่นที่หายไปจากวิกฤตจอฟ้า 3. กลุ่มฮาร์ดแวร์ HP และ DELL งบต่ำกว่าคาดกดดันจากตลาด PC ที่ฟื้นตัวช้า แต่ธุรกิจ AI ยังโตแกร่งทำให้ภาพรวมงบของ DELL มีการเติบโตที่ดีกว่า

 

เราประเมินว่าทั้งสองกลุ่มยังมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการแข่งขันในกลุ่มที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก โดยในระยะถัดไปเรามองว่า 

 

  1. กลุ่มค้าปลีก: จะมีการเติบโตได้จำเป็นต้องมีกลยุทธ์รับมือที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับการที่มีแบรนด์แกร่งและฐานลูกค้าดีจะทำให้แรงซื้อของผู้บริโภคในแบรนด์ยังคงดีอยู่ ด้วยภาพนี้เราจึงแนะอยู่ใน WMT และ COST 

 

  1. กลุ่มเทค: เราประเมินว่ากลุ่ม PC ยังคงฟื้นตัวช้า ทำให้เราแนะอยู่ในกลุ่มซอฟต์แวร์และ Cybersecurity ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าหลังยังคงมีแรงหนุนจากความต้องการ AI ที่ยังดำเนินต่อเนื่อง นอกจากนี้ด้วยภาพการแข่งขันในกลุ่มและ IT Spending ที่มีแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้เราแนะอยู่ในหุ้นกลุ่มใหญ่ที่มีแรงกดดันจากภาพนี้จำกัดอย่าง MSFT และ PANW

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด/สภาพคล่อง

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสด มีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังสูง โดยเฉพาะสหรัฐฯ นอกจากนี้ สภาพคล่อง/เงินสด มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงดำเนินต่อ เช่น ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง สงครามรัสเซีย-ยูเครน และข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-คู่ค้าต่างๆ หลัง Trump ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า จะเรียกเก็บภาษีนำเข้า 10% จากสินค้าจากจีน และ 25% จากสินค้าทั้งหมดของเม็กซิโกและแคนาดา

 

ตราสารหนี้/เงินฝากระยะยาว

 

โอกาสที่ UST Yield Curve จะเพิ่มความชันยังมีอยู่ จากแนวโน้มการผลักดันนโยบายต่างๆ ของ Trump ที่จะเพิ่มความเสี่ยงแรงกดดันเงินเฟ้อ ทั้งการจำกัดผู้อพยพและการกีดกันการค้า ขณะที่ความเสี่ยงเงินเฟ้ออาจทำให้ Fed ระมัดระวังในการลดอัตราดอกเบี้ย โดยในรายงานผลการประชุม Fed รอบล่าสุดชี้ว่า Fed ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการลดดอกเบี้ยให้ถึง Neutral Rate ทั้งนี้ Bond Yield ตัวยาว (>7 ปีขึ้นไป) ยังเสี่ยงเพิ่มขึ้น ในขณะที่ Bond อายุ 2-4 ปีมีความเสี่ยงบน Duration ที่น้อยกว่า และ Coupon ที่มากพอ จึงทำให้ตราสารหนี้ตัวสั้นยังน่าสนใจในการถือลงทุน เพื่อรับ Coupon Income และคุ้มที่จะถือเพื่อ Hedge หากเกิดกรณีที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้มาก 

 

US Treasury & IG

 

UST Yield โดยเฉพาะตัวยาว มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากความคาดหวังที่ลดลงของตลาดฯ เกี่ยวกับแนวโน้มการลดดอกเบี้ยที่มากของ Fed หลังรายงานผลการประชุม Fed ล่าสุด ชี้ เจ้าหน้าที่ Fed หนุนให้ลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป และพบว่ามีบางสมาชิกที่หนุนให้หยุดลดดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อยังอยู่สูง (Core PCE ล่าสุด ยังสูงกว่าที่ Fed ตั้งเป้าไว้) ประกอบกับความกังวลแนวโน้มการขาดดุลการคลังที่มากขึ้นของสหรัฐฯ จากการผลักดันนโยบายการคลังของ Trump

 

แนะนำลงทุนทั้ง UST และ US IG Bond (ซึ่งมีงบการเงินที่ยังดี) โดยเน้นลงทุนใน Duration ประมาณ 2-4 ปี ที่ให้ Yield เฉลี่ยยังสูงกว่าประมาณการอัตราดอกเบี้ย ‘ระยะยาว’ ของ Fed ที่ 2.9% เพื่อเป็นการ Lock Coupon 

 

High Yield Bond

 

US HY ยังให้ผลตอบแทนรวมเป็นบวก MTD และ QTD ส่วนใหญ่มาจาก Spread ที่แคบลง ตาม 1. US HY Default Rate ที่ยังต่ำ 2. ภาพรวม Rising Stars ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า Fallen Angels สอดคล้องกับโมเมนตัมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังดี 3. ความผันผวนของตลาด US HY ที่ยังต่ำ และ 4. Maturity Wall ของ US HY ในช่วงที่เหลือปีนี้และปีหน้า ที่รวมอยู่เพียง 41 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ด้วย Spread ที่ค่อนข้างแคบ และ UST Yield ตัวยาวที่ยังเสี่ยงเพิ่มขึ้น จึงทำให้ Upside ของ US HY มีค่อนข้างจำกัด

 

สินทรัพย์ผสม / กึ่งหนี้กึ่งทุน / REITs

 

REITs ถือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงินให้กับ Portfolio ได้ ทั้งในระยะกลางถึงยาว และเป็นการเพิ่ม Diversification ให้กับ Portfolio จากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ 

 

สินทรัพย์ผสมช่วยกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง

 

US REITs

 

US REITs มีปัจจัยหนุนจาก 1. แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งเราคาดว่า Fed จะลดดอกเบี้ยอีก 125 bps จนถึงสิ้นปี 2568 ส่งผลให้ US REITs มีความน่าสนใจในแง่ของเงินปันผลที่สูงราว 4.0% 2. Occupancy Rate ที่อยู่ในระดับสูงราว 94% และกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NOI) ที่เติบโตต่อเนื่อง 3. ผลการดำเนินงานที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลงตามแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง 4. งบดุลที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถรองรับการเติบโตในอนาคต และ 5. Valuation ที่อยู่ในระดับที่ไม่แพง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต อย่างไรก็ตาม Bond Yield ที่ปรับตัวขึ้นจากแผนขาดดุลการคลังที่เพิ่มขึ้นของ Trump กดดันราคา US REITs ในระยะสั้น

 

Private Credit

 

เรามีมุมมองเป็นบวกต่อ Private Credit Asset จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

 

หุ้นไทย

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้ปัจจัยหนุนระยะยาวจาก 

  1. เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2568 ที่เร่งตัวขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น มาตรการแจกเงิน 1 หมื่นบาททั้ง 2 เฟส รวมทั้งแรงหนุนจากภาคท่องเที่ยว 
  2. นโยบายการเงินยังมีแนวโน้มผ่อนคลาย โดยคาดว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยปี 2568 อีก 25 pbs อยู่ที่ 2.0% ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่อยู่ต่ำ 
  3. กำไรของ บจ. ในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัว โดย Bloomberg คาดการณ์ EPS Growth ในปี 2568 ของ SET ขยายตัวอยู่ที่ 11.2% แม้ว่าการจะปรับขึ้น Tariff ของสหรัฐฯ อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าและเงินทุนไหลออก แต่ในระยะกลาง-ยาวภาคท่องเที่ยวและ FDI ที่ยังดี จะช่วยชะลอการอ่อนค่าเงินบาท

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

เรามองว่าการที่ Fed ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายภายใต้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบ Soft Landing จะทำให้ตลาดหุ้นโลกมีผลตอบแทนที่ดี กำไร บจ. มีแนวโน้มขยายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น ด้านผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ช่วยสนับสนุนหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการของ Trump เช่น กลุ่มการเงิน กลุ่มพลังงาน เป็นต้น 

 

ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเผชิญแรงกดดันจากแนวโน้มการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ท่ามกลางเสถียรภาพทางการเมืองในฝรั่งเศสและเยอรมนีที่ลดลง 

 

หุ้นญี่ปุ่นได้อานิสงส์จากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า ทำให้เงินเยนอ่อนค่า และสนับสนุนหุ้นในกลุ่มส่งออกของญี่ปุ่น เน้นติดตามการผลักดันนโยบายต่างๆ ของ Trump ในระยะต่อจากนี้

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

ความคาดหวังแนวโน้มเศรษฐกิจ Soft Landing ในสหรัฐฯ ยังมีอยู่ หลังตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ ล่าสุดยังออกมาดี เช่น ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และคำสั่งซื้อสินค้าคงทน ขณะที่ บจ.ในดัชนี S&P500 ที่รายงานงบแล้วใน 3Q67 มี EPS Growth เฉลี่ยที่ +8.8%YoY และอาจช่วยหนุนให้ Consensus ทยอยปรับประมาณการ EPS ดัชนีทั้งปีดีขึ้น

 

ส่วนการที่คณะทำงานของ Trump เตรียมเข้ามาบริหารในเดือนมกราคม 2568 หนุนความหวังของตลาดบนการผ่อนคลายกฎระเบียบ และการลดภาษีเงินได้ในสหรัฐฯ ทั้งนี้ เรายังเน้นหุ้นกลุ่ม Quality Growth ที่ EPS มีแนวโน้มขยายตัวดี ผสมผสานกับหุ้นกลุ่ม Defensive ที่ช่วยลดความเสี่ยงสงครามการค้า

 

หุ้นยุโรป

 

ดัชนีหุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักในยุโรป ซึ่งมีแนวโน้มส่งเสริมการบริโภค โดยเราเน้นหุ้นกลุ่ม Quality Growth ยุโรป ที่มีความสามารถในการกำไรสูง และมีงบดุลแข็งแกร่ง แม้ยังมีความเสี่ยงจากภาคการเมืองของเยอรมนี และฝรั่งเศสที่เสถียรภาพลดลง จากการที่รัฐบาลมีเสียงส่วนน้อยในสภา ขณะที่ยังไร้ข้อสรุปบนร่างงบประมาณประจำปี 2568 รวมทั้งข้อพิพาทการค้ากับจีน (หลังจีนบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราวต่อการนำเข้าบรั่นดีจาก EU) และแนวโน้มการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ หลัง Trump ชนะการเลือกตั้ง อาจส่งผลกระทบกับการส่งออกรถยนต์ (กลุ่ม Auto) ของสหภาพยุโรป

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

ตลาดหุ้น EM เผชิญความท้าทายมากขึ้น หลัง Trump ชนะการเลือกตั้งสหรัฐฯ สร้างความกังวลต่อประเด็นการเก็บภาษีสินค้านำเข้า ขณะที่ 10Y UST Yield ปรับเพิ่มขึ้น และเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

 

แม้ทางการจีนมีการออกมาตรการกระตุ้นในช่วงที่ผ่านมาจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยรอการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุม CEWC ช่วงเดือนธันวาคมนี้

 

เศรษฐกิจของอินเดียเติบโตชะลอตัวลง ขณะที่กำไรของ บจ. อาจถูกปรับประมาณการลง และกดดันดัชนีระยะสั้น อย่างไรก็ดีหุ้นอินเดียอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจโลกต่อเงินดอลลาร์ และต่อดอกเบี้ยของ Fed ต่ำ จึงได้รับลบจากความเสี่ยงมหภาคภายนอกที่น้อยกว่า EM อื่นๆ

 

หุ้นอินเดีย

 

เรามีมุมมองระมัดระวังต่อตลาดหุ้นอินเดียในระยะสั้น โดย GDP ใน CY3Q67 ขยายตัวชะลอลง อยู่ที่ 5.4%YoY จาก CY2Q67 อยู่ที่ 6.7%YoY จากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนถาวรที่ลดลง ภาคการผลิตขยายตัวสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ไตรมาส นอกจากนี้ Valuation ของดัชนีอยู่ในระดับที่แพง ท่ามกลางการโยกเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติออกจากอินเดียนับตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม มูลค่าราว 14.5 พันล้านดอลลาร์

 

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจอินเดียพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศ และมีสัดส่วนสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ ต่ำกว่า EM อื่นๆ จึงได้รับผลกระทบจากสหรัฐฯ จะปรับขึ้น Tariff จำกัด โครงสร้างการเติบโตในระยะยาวแข็งแกร่ง เหมาะแก่การทยอยสะสมเมื่อดัชนีย่อตัว

 

หุ้นอินโดนีเซีย

 

ดัชนีได้แรงหนุนจาก

 

  1. เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตดีจากการบริโภคที่ฟื้นตัว และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีราว 10.3% ในเดือนตุลาคม ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของ Prabowo ซึ่งจะหนุนภาคการลงทุน และก่อให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 
  2. FDI มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยใน 3Q67 FDI ขยายตัวอยู่ที่ +18.6%YoY เพิ่มขึ้นจาก 2Q67 ที่ +16.6% YoY
  3. เราคาดว่า BI จะลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 100 bps จนถึงสิ้นปี 2568 ซึ่งจะช่วยหนุนภาคการบริโภค 
  4. Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดย 12M Fwd P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ -1.0 s.d. อย่างไรก็ตาม ค่าเงินรูเปียห์ที่อ่อนค่าลงจากความกังวลต่อนโยบายของ Trump อาจส่งผลกดดันดัชนีในระยะสั้น 

 

หุ้นจีน

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น มาตรการเยียวยาภาคอสังหา และมาตรการส่งเสริมตลาดทุนจีน รวมทั้งจาก EPS ของดัชนีที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวขึ้น หลังกำไรภาคอุตสาหกรรมจีนล่าสุดเริ่มหดตัวลดลง นอกจากนี้ในการประชุม CEWC ช่วงเดือนธันวาคมนี้ เรามองว่ามีโอกาสที่ทางการอาจผ่อนคลายนโยบายการคลังมากขึ้น ผ่านการส่งสัญญาณที่เน้นกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ ท่ามกลางความเสี่ยงขาลงของภาคส่งออกจีนจากความไม่แน่นอนในสงครามการค้ากับสหรัฐฯ

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ปัจจัยพื้นฐานของทองคำยังคงสนับสนุนการลงทุนในพอร์ตระยะยาว เนื่องจาก 

  1. เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากภาวะสงครามที่รุนแรงได้ท่ามกลางความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และสงครามรัสเซีย-ยูเครน 
  2. ความกังวลประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่อยู่สูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลัง Trump ชนะเลือกตั้ง สนับสนุนการถือครองทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศ 
  3. ช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากนโยบายการกีดกันทางการค้า 
  4. Fund Flow ของ ETF ทองคำ ที่กลับมาซื้อสุทธิ 6 เดือนติดต่อกัน อย่างไรก็ตามสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และ US Bond Yield ที่ปรับขึ้น มีแนวโน้มส่งผลกดดันราคาทองคำในระยะสั้น

 

ภาพ: thitivong / Getty Images

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 2 ธ.ค. 2024

READ MORE



Latest Stories