วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 24 Nov 2023 01:26:56 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 25 พฤศจิกายน – วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล https://thestandard.co/onthisday-2511-2/ Sat, 25 Nov 2023 00:00:27 +0000 https://thestandard.co/?p=869167

องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี […]

The post 25 พฤศจิกายน – วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล appeared first on THE STANDARD.

]]>

องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (International Day for the Elimination of Violence against Women) เนื่องจากเหตุการณ์สังหารนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชาวโดมินิกัน 3 คน ในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน 2504 

 

นักเรียกร้องสิทธิสตรี จึงถือเอาวันที่ 25 พฤศจิกายนเป็นวันรณรงค์และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงต่อสตรี โดยทั่วโลกได้ใช้ริบบิ้นสีขาว เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกเพื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวด้วย

 

สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็น ‘เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี’ 

 

อ้างอิง:

The post 25 พฤศจิกายน – วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล appeared first on THE STANDARD.

]]>
25 พฤศจิกายน – วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล https://thestandard.co/onthisday-2511/ Fri, 25 Nov 2022 01:30:10 +0000 https://thestandard.co/?p=713624 วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล

คืนวันที่ 25 พฤศจิกายน 1960 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความสะ […]

The post 25 พฤศจิกายน – วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล appeared first on THE STANDARD.

]]>
วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล

คืนวันที่ 25 พฤศจิกายน 1960 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้หญิงและคนยุคนั้นอย่างยากที่จะลืมเลือน นั่นคือกรณีการสังหารสามสาวพี่น้องชาวโดมินิกันตระกูลมิราเบิล ได้แก่ แพทเทรีย มาเรีย และ มิเนอร์วา ซึ่งถูกลอบสังหารอย่างทารุณด้วยเหตุผลของการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในยุคเผด็จการทรูจิลโล สมัยที่ ราฟาเอล ทรูจิลโล เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน บาดแผลในวันนั้นนำไปสู่การเรียกร้องให้เกิดการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง

 

หลังจากนั้นร่วม 20 ปี ในปี 1999 องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น ‘วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล’ (International Day for the Elimination of Violence against Women)

 

สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น ‘เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี’ โดยทั่วโลกได้ใช้สัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาวเพื่อแสดงออกถึงการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวด้วย 

 

The post 25 พฤศจิกายน – วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล appeared first on THE STANDARD.

]]>
วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ส.ส. พลังประชารัฐ ชวนคนไทยแจ้งความ-เบาะแส กระทำรุนแรงต่อเด็ก-สตรี-คนในครอบครัว https://thestandard.co/international-violence-against-women-day/ Thu, 25 Nov 2021 10:26:58 +0000 https://thestandard.co/?p=564198 ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์

วันนี้ (25 พฤศจิกายน) ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ สมาชิกสภาผู้ […]

The post วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ส.ส. พลังประชารัฐ ชวนคนไทยแจ้งความ-เบาะแส กระทำรุนแรงต่อเด็ก-สตรี-คนในครอบครัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์

วันนี้ (25 พฤศจิกายน) ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขตบางซื่อ-ดุสิต พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้หญิง เปิดเผยว่า วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว อีกทั้งองค์การสหประชาชาติได้ร่วมสนับสนุนและมีมติรับรองให้วันนี้เป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล จึงมีการเชิญชวนให้ทุกคนร่วมแสดงออกด้วยการติดสัญลักษณ์ ‘ริบบิ้นขาว’ สื่อว่า คุณคือผู้หนึ่งในสังคมที่ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ทุกรูปแบบ

 

ธณิกานต์กล่าวว่า จากสถิติกว่า 80% ของผู้หญิงและเด็ก ถูกทำร้าย ล่อลวง ละเมิด คุกคาม ข่มขืนกระทำชำเรา จากคนใกล้ชิดหรือคนรู้จัก ดังนั้นปัญหาความรุนแรงไม่ใช่เรื่องไกลตัว และบ้านไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone) ของทุกคน โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด ความรุนแรงในครอบครัวของไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 66% สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความเครียดทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อรายได้ในครอบครัวและการใช้สารเสพติด ยังมีข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติที่ระบุอีกว่า ประเทศไทยติด 1 ใน 10 ของประเทศที่มีสถิติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีมาอย่างต่อเนื่อง

 

นอกจากนี้ส่วนหนึ่งยังมาจากคนไม่นิยมแจ้งความเมื่อพบหรือประสบกับความรุนแรงในครอบครัว โดยมีเพียง 17% เท่านั้นที่กล้าออกมาเปิดเผยเรื่องราวและร้องขอความช่วยเหลือ 

 

ดังนั้นตนเองในฐานะที่ขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยของผู้หญิง จึงขอความร่วมมือว่า หากพบเห็นความรุนแรงในครอบครัว สามารถติดต่อหน่วยงานรัฐหรือมูลนิธิต่างๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือ เช่น สายด่วน 191 หรือสายด่วน 1300 ซึ่งเป็นศูนย์ช่วยเหลือสังคม One Stop Crisis Center (OSCC) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเครือข่ายพลเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Citizens Alliance) ช่องทางออนไลน์ Facebook Page: SDG Citizens ประชาชนคนรุ่นเปลี่ยน

The post วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ส.ส. พลังประชารัฐ ชวนคนไทยแจ้งความ-เบาะแส กระทำรุนแรงต่อเด็ก-สตรี-คนในครอบครัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมื่อผู้หญิงแสดงพลัง! เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล 2020 https://thestandard.co/when-women-show-their-strength/ Thu, 26 Nov 2020 08:48:05 +0000 https://thestandard.co/?p=425530 เมื่อผู้หญิงแสดงพลัง! เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล 2020

นี่คือบรรยากาศการขับเคลื่อนและแสดงพลังของผู้หญิงจากหลาก […]

The post เมื่อผู้หญิงแสดงพลัง! เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล 2020 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมื่อผู้หญิงแสดงพลัง! เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล 2020

นี่คือบรรยากาศการขับเคลื่อนและแสดงพลังของผู้หญิงจากหลากหลายมุมของประชาคมโลก เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (25 พฤศจิกายน) โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่าผู้หญิงกว่า 1 ใน 3 ของโลกล้วนเคยเผชิญหน้า และตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรง 

 

จากเหตุการณ์สังหารนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชาวโดมินิกัน สามพี่น้องในตระกูลมิราเบิล ที่ออกมาแสดงจุดยืนและเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมให้แก่สตรี ในช่วงที่โดมินิกันยังอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการของตระกูลทรูฆิโญ (ปี 1960) เหตุสะเทือนขวัญในวันนั้นเป็นหนึ่งในบาดแผลที่ฝังรากลึก สร้างแรงกระเพื่อมและนำไปสู่การเรียกร้องให้เกิดการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงทุกคนทั่วทุกมุมโลก 

 

ในปี 1999 องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น ‘วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (International Day for the Elimination of Violence against Women)’ ขณะที่รัฐบาลไทยที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้นก็มีมติเห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี รวมถึงความรุนแรงในครอบครัว #ENDViolence #EndViolenceAgainstWomen 

 

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศออกมาร่วมเคลื่อนไหว โดยเน้นย้ำว่า ไม่มีใครควรตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าเขาจะมีเชื้อชาติอะไร นับถือศาสนาอะไร เป็นเพศไหน หรือมีรสนิยมทางเพศแบบใดก็ตาม ทุกคนควรเคารพความแตกต่างหลากหลายบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนเสมอภาคกัน

 

ผู้หญิงแสดงพลัง ปารีส ฝรั่งเศส

ปารีส ฝรั่งเศส

 

ผลงานจัดแสดง เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลในเมืองบอนน์ เยอรมนี

ผลงานจัดแสดง เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลในเมืองบอนน์ เยอรมนี

 

ผลงานจัดแสดง เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลในเมืองอมัลฟี อิตาลี

ผลงานจัดแสดง เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลในเมืองอมัลฟี อิตาลี

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงขณะสกัดกั้นขบวนเคลื่อนไหวในเมืองอิสตันบูล ตุรกี

เจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงขณะสกัดกั้นขบวนเคลื่อนไหวในเมืองอิสตันบูล ตุรกี

 

สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร

สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร

 

ภาพ: Jane Barlow / PA Images via Getty Images /NurPhoto via Getty Images / Diego Cupolo / Francesco Pecoraro / Ying Tang / Kiran Ridley / Getty Images 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post เมื่อผู้หญิงแสดงพลัง! เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล 2020 appeared first on THE STANDARD.

]]>
25 พฤศจิกายน – วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล https://thestandard.co/onthisday2511-2/ Mon, 25 Nov 2019 08:39:57 +0000 https://thestandard.co/?p=308067 วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล

คืนวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างค […]

The post 25 พฤศจิกายน – วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล appeared first on THE STANDARD.

]]>
วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล

คืนวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้หญิงและคนยุคนั้นอย่างยากที่จะลืมเลือน นั่นคือ กรณีการสังหารสามสาวพี่น้องชาวโดมินิกันตระกูลมิราเบิล ได้แก่ แพทเทรีย, มาเรีย และ มิเนอร์วา ซึ่งถูกลอบสังหารอย่างทารุณ ด้วยเหตุผลของการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในยุคเผด็จการทรูจิลโล สมัยที่ ราฟาเอล ทรูจิลโล เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน บาดแผลในวันนั้นนำไปสู่การเรียกร้องให้เกิดการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง

 

หลังจากนั้นร่วม 20 ปี ใน ค.ศ. 1999 องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น ‘วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (International Day for the Elimination of Violence against Women)’

 

สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็น ‘เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี’ โดยทั่วโลกได้มีการใช้สัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาวเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกเพื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวด้วย

The post 25 พฤศจิกายน – วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้หญิงต้องทนกับอะไรบ้าง? UN Women เปิดสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงทั่วโลก https://thestandard.co/un-women-violence-against-women/ https://thestandard.co/un-women-violence-against-women/#respond Tue, 27 Nov 2018 13:15:31 +0000 https://thestandard.co/?p=154922

ผู้ป่วยติดเตียงหญิงอายุ 73 ปีถูกกระทำชำเรา เด็กสาวถูกข่ […]

The post ผู้หญิงต้องทนกับอะไรบ้าง? UN Women เปิดสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงทั่วโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>

ผู้ป่วยติดเตียงหญิงอายุ 73 ปีถูกกระทำชำเรา เด็กสาวถูกข่มขืนฆาตกรรมโยนลงจากรถไฟ เด็กสาวถูกคนในหมู่บ้านรุมขืนใจ ภรรยาถูกสามีจุดไฟคลอก คืนบาปพรหมพิราม ฯลฯ เราได้ยินเรื่องของเหตุการณ์ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลกบ่อยเกินไปไหม? UN Women เผยตัวเลขสถิติความเจ็บปวดที่หญิงทั่วโลกและและสตรีชาวไทยต่างต้องทน

 

 

ภาพประกอบ: Nisakorn R.

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post ผู้หญิงต้องทนกับอะไรบ้าง? UN Women เปิดสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงทั่วโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/un-women-violence-against-women/feed/ 0
ปากส้มเปล่งพลัง! #HearMeToo แคมเปญต่อต้านความรุนแรงในสตรีจาก UN Women https://thestandard.co/hearmetoo/ https://thestandard.co/hearmetoo/#respond Tue, 27 Nov 2018 08:54:59 +0000 https://thestandard.co/?p=154469

หยิบลิปสติกสีส้มแทนเจอรีนของคุณขึ้นมา แล้วแสดงพลังผู้หญ […]

The post ปากส้มเปล่งพลัง! #HearMeToo แคมเปญต่อต้านความรุนแรงในสตรีจาก UN Women appeared first on THE STANDARD.

]]>

หยิบลิปสติกสีส้มแทนเจอรีนของคุณขึ้นมา แล้วแสดงพลังผู้หญิงไปพร้อมกับ UN Women กัน

 

กระแส #MeToo ที่ยังคงแพร่หลายไปทั่วโลก รณรงค์ให้ผู้รอดชีวิตจากประสบการณ์ที่ถูกประณาม ประทุษร้าย และคุกคามทางเพศ ออกมาเรียกร้องสิทธิและความเสมอภาคระหว่างเพศให้เกิดความเท่าเทียม ซึ่งดาราฮอลลีวูดอย่าง อลิสสา มิลาโน (Alyssa Milano) ได้เป็นผู้จุดประเด็นนี้ด้วยการออกมาทวีต #MeToo ผ่านทางทวิตเตอร์ บอกเล่าว่าตัวเธอเองก็เคยผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายนั้นมาเช่นกัน สิ่งที่เธอแชร์ต่อยอดและบันดาลใจให้คนดังอื่นๆ ต่างเลิกกลัว เลิกอาย และบอกต่อเรื่องราวของเธอ ทั้งเลดี้ กาก้า (Lady Gaga), แกเบรียล ยูเนียน (Gabrielle Union) และอีวาน ราเชล วูด (Evan Rachel Wood) ปลุกพลังเพศแม่ให้ลุกขึ้นมา ‘ไม่ยอม’ ที่จะตกเป็นเหยื่ออีกต่อไป

 

Photo: The Daily Beast

 

ในเวลาเดียวกันนั้น พลังผู้หญิงยังส่งถึงการโค่นเจ้าพ่อวงการหนามเตยอย่าง ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน (Harvey Weinstein) ที่ลวนลามนักแสดงมาแล้วนับไม่ถ้วน อันเริ่มต้นขุดคุ้ยและตีแผ่โดยสองนักข่าวสืบสวนหญิงมากความสามารถแห่ง The New York Times ที่สาวความจนเจ้าพ่อวงการภาพยนตร์แพ้ไม่เป็นท่า ซึ่งสิ่งนี้สื่อถึงพลังของการไม่เก็บเงียบของผู้หญิง ที่เลิกยอม เลิกรู้สึกละอาย และมอบความผิดทั้งหมดให้ตกอยู่ที่ผู้ก่อคดี

 

อลิสสา มิลาโน กับข้อความทวีตอันทรงพลังจนปลุกกระแส #MeToo

 

พลังผู้หญิงไม่หยุดอยู่แค่นั้น โดยวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น วันรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงของผู้หญิงระดับสากล (International Day for the Elimination of Violence against Women) และปีนี้องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Women ประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคม 2561 เป็นช่วง 16 วันแห่งการรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ (16 Days of Activism against Gender-Based Violence)

 

หยิบลิปสติกเฉดสีส้มมาจอยกัน

 

ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงสังคม เพื่อผลักดันให้ผู้หญิงกล้าออกมาพูดเกี่ยวกับการถูกกระทำความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงรวมพลังกันต่อต้านความรุนแรง และผลักดันให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคมไทย เช่นเดียวกับนักแสดงคนดังระดับโลกหลายคนได้ทำมาแล้ว เช่น แอมเบอร์ เฮิร์ด (Amber ​Heard), แอชลีย์ จัดด์ (Ashley Judd) ตลอดจนโรส แม็กไกวร์ (Rose McGuire)

 

เหตุผลนี้จึงเกิดแคมเปญ #HearMeToo หรือ #มีอะไรจะบอก ขึ้น ซึ่งแคมเปญดังกล่าวของ UN Women นำเสนอความรุนแรง 4 ประเภทด้วยกันคือ ความรุนแรงทางเพศ (Sexual Violence), ความรุนแรงทางร่างกาย (Physical Violence), ความรุนแรงที่ส่งผลกระทบทางอารมณ์ (Emotional Violence) และความรุนแรงในบริบททางเศรษฐกิจ (Economic Violence)

 

 

ปีนี้ UN Women จึงขอเชิญหญิงไทยผู้กล้า ไม่กลัว มาร่วมรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงไปพร้อมกันผ่านการทาลิปสติกสีส้ม สีที่ทรงพลัง สื่อถึงการไม่อ่อนข้อ อันเป็นตัวแทนถึงความหวังของผู้หญิงไปพร้อมกัน โดยติดแฮชแท็ก #HearMeToo #มีอะไรจะบอก ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และทวิตเตอร์

 

มาร่วมส่งสารสนับสนุนความกล้าที่จะพูดและบอกเล่าประสบการณ์ของตน สะท้อนทัศนคติที่เป็นส่วนช่วยให้เธอก้าวผ่านเรื่องเลวร้ายในอดีต อันถือเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญของการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงในสังคมไทยกัน

 

แล้วอย่าลืมแท็ก THE STANDARD ให้เราชมด้วยล่ะ

 

อ่านเรื่อง จะผิวสีไหนก็ทา ‘ลิปสติกสีแดง’ ได้สวยปัง ได้ที่นี่

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ปากส้มเปล่งพลัง! #HearMeToo แคมเปญต่อต้านความรุนแรงในสตรีจาก UN Women appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/hearmetoo/feed/ 0
รายงาน UN เผย ‘บ้าน’ เป็นสถานที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้หญิง เหตุเกินครึ่ง แฟน-คนในครอบครัวฆ่า https://thestandard.co/un-study-shows-home-most-dangerous-place-for-women/ https://thestandard.co/un-study-shows-home-most-dangerous-place-for-women/#respond Mon, 26 Nov 2018 11:33:20 +0000 https://thestandard.co/?p=154044

สหประชาชาติ (UN) ตีพิมพ์รายงานประเด็นความรุนแรงต่อสตรี […]

The post รายงาน UN เผย ‘บ้าน’ เป็นสถานที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้หญิง เหตุเกินครึ่ง แฟน-คนในครอบครัวฆ่า appeared first on THE STANDARD.

]]>

สหประชาชาติ (UN) ตีพิมพ์รายงานประเด็นความรุนแรงต่อสตรี เผย คดีฆาตกรรมที่มีเหยื่อเป็นผู้หญิงเกินกว่าครึ่งเกิดจากฝีมือของคนรักหรือสมาชิกในครอบครัว จนบ้านไม่ต่างอะไรจาก ‘สถานที่ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้หญิง’

 

ข้อมูลที่รวบรวมโดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ขึ้นวานนี้ เนื่องใน ‘วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล’ ที่สหประชาชาติกำหนดไว้

 

จากจำนวนคดีฆาตกรรมที่มีผู้เสียชีวิตเป็นผู้หญิงทั่วโลกรวม 87,000 คดีในปีที่ผ่านมา มีคดีทั้งสิ้นประมาณ 50,000 คดี หรือราว 58% ที่ผู้ก่อเหตุอยู่ในความสัมพันธ์หรือเป็นคนในครอบครัวของเหยื่อ หากเจาะลึกเฉพาะคดีที่คู่รักลงมือนั้นอยู่ที่ประมาณ 30,000 คดี หรือคิดเป็น 34%

 

“ทุกๆ ชั่วโมงจะมีผู้หญิงประมาณ 6 คนเสียชีวิตจากฝีมือของคนที่เธอรู้จัก” องค์กรสรุป

 

ขณะเดียวกัน “แม้ว่าคดีฆาตกรรมส่วนใหญ่จะมีเหยื่อเป็นผู้ชาย ผู้หญิงยังคงมีราคาที่ต้องจ่ายสูงที่สุด เนื่องมาจากผลพวงของความไม่เท่าเทียมทางเพศ การเลือกปฏิบัติ และการเหมารวมแบบลบๆ” ยูริ เฟโดทอฟ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร UNODC ย้ำ

 

“มีโอกาสสูงมากที่พวกเธอจะถูกแฟนหรือสมาชิกในครอบครัวฆ่า… ทำให้บ้านถือเป็นสถานที่ที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้หญิง”

 

รายงานระบุต่อไปว่า หากเทียบเป็นสัดส่วนแล้ว ในผู้หญิงทุกๆ 100,000 คน จะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ลักษณะนี้ 1.3 คน ซ้ำยังมีพื้นที่ที่ผู้หญิงต้องพบโอกาสเสี่ยงสูงขึ้นด้วยอย่างทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกา ตกเฉลี่ย 3.1 คน และ 1.6 คน ตามลำดับ

 

ทางด้านทวีปอย่างโอเชียเนียมีโอกาสเกิดเหตุเท่ากับค่าเฉลี่ยทั่วโลก ตามมาด้วยทวีปเอเชีย 0.9 คน และทวีปยุโรปมีโอกาสเกิดความรุนแรงต่อสตรีต่ำที่สุด 0.7 คน

 

รายงาน UNODC กล่าวไว้อีกว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “ยังปราศจากความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม” เพื่อต่อสู้กับความรุนแรงดังกล่าว “แม้ว่าจะมีการออกกฎหมายและโครงการต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อขจัดความรุนแรงต่อสตรี”

 

ภายในบทสรุปของข้อมูลชิ้นนี้ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัยและความยุติธรรมทางอาญาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมยังเรียกร้องให้มีการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและระบบยุติธรรม ตลอดจนการบริการสุขภาวะและบริการทางสังคมที่ดีขึ้นด้วย

 

นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกประการในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีคือ การให้ผู้ชายมีส่วนร่วม โดยรวมถึงการให้การศึกษาในประเด็นนี้ตั้งแต่ยังเล็กด้วย

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

The post รายงาน UN เผย ‘บ้าน’ เป็นสถานที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้หญิง เหตุเกินครึ่ง แฟน-คนในครอบครัวฆ่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/un-study-shows-home-most-dangerous-place-for-women/feed/ 0
‘เพราะบ้าน…ไม่ใช่เวทีมวย’ แคมเปญยุติความรุนแรงสตรี เผยทัศนคติ ‘ชายเป็นใหญ่’ https://thestandard.co/stop-violence-against-women/ https://thestandard.co/stop-violence-against-women/#respond Tue, 21 Nov 2017 01:47:50 +0000 https://thestandard.co/?p=48296

     ท่ามกลางกระแสปัญหาการล่วงละเมิดทางเ […]

The post ‘เพราะบ้าน…ไม่ใช่เวทีมวย’ แคมเปญยุติความรุนแรงสตรี เผยทัศนคติ ‘ชายเป็นใหญ่’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ท่ามกลางกระแสปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศที่เป็นที่พูดถึงอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ ยังมีปัญหาความรุนแรงต่อสตรี โดยเฉพาะที่เกิดในครัวเรือนที่ยังคงน่าเป็นห่วงในสังคมไทย โดยวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีตรงกับ วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (International Day for the Elimination of Violence against Women) และนับเป็นเวลากว่า 36 ปีแล้วที่ทั่วโลกเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าว จนเกิดการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีขึ้นอย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี 2524 แต่คำถามคือ เราก้าวถึงไหนกันแล้ว?

“กว่าร้อยละ 60 ของผู้ชายเคยกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยพวกเขาคิดว่าเป็นวิถีชีวิต”

 

     มูลนิธิชายหญิงก้าวไกล เผยถึงตัวเลขสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปี 2559 ผ่านการเก็บข่าวตลอดปีจากหนังสือพิมพ์จำนวน 13 ฉบับคือ เดลินิวส์, ไทยรัฐ, ข่าวสด, คม ชัด ลึก, มติชน, แนวหน้า, ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง, สยามรัฐ, พิมพ์ไทย, ผู้จัดการรายวัน และโพสต์ทูเดย์ และพบการกระทำความรุนแรงในครอบครัวสูงถึง 466 ข่าว

     โดยมักมีกรณีที่สามีทำร้ายภรรยาถึงร้อยละ 71.8 และยังพบว่าปัจจัยของการทำร้ายมาจากฤทธิ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สูงที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 33.3 ข่าวการฆาตกรรมอยู่ที่ร้อยละ 21.2 และข่าวการทำร้ายร่างกายอยู่ที่ร้อยละ 14.8 โดยสาเหตุของการฆาตกรรมที่สามีเป็นคนก่อมักเกิดจากความหึงหวง หวาดระแวง หรือฝ่ายหญิงไม่ยอมคืนดี โดยนับเป็นร้อยละ 78.6

     มูลนิธิชายหญิงก้าวไกลยังพบว่าต้นตอของปัญหาความรุนแรงที่ผู้หญิงเป็นฝ่ายถูกกระทำนั้นมักเกิดจากทัศนคติว่า ‘ผู้ชายเป็นใหญ่’ จึงเกิดแนวคิดที่มองภรรยาหรือคู่ครองเป็นสมบัติส่วนตัว โดยถืออภิสิทธิ์ในการปฏิบัติกับภรรยาได้ตามใจชอบ

ปัญหาเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิงไม่ใช่เรื่องปกติ ไม่ใช่ปัญหาภายในครอบครัว ไม่ใช่ความผิดของผู้หญิง แต่เป็นปัญหาสังคม

 

     ถึงกระนั้น ความคิดนี้หาใช่ทัศนคติของเพศชายแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะยังฝังรากลึกในความคิดของผู้หญิง ทำให้เพศหญิงที่ถูกทำร้ายไม่กล้าลุกขึ้นสู้เพื่อสิทธิและความปลอดภัยของตัวเอง โดยบ้างมองว่า ‘เป็นเรื่องของสามีภรรยา’ ที่ต้องจำใจยอมรับ กระทั่งไม่กล้าเอ่ยปากขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ทำให้ทัศนคตินี้นำไปสู่ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่อาจปลูกฝังต่อไปยังรุ่นลูกจนเกิดเป็นปมปัญหาเมื่อโตขึ้นในที่สุด

     ทั้งนี้จุดประสงค์ของการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีคือการถอนรากถอนโคนระดับจิตสำนึก และการปฏิรูปความคิดและทัศนคติของคนที่มีต่อประเด็นปัญหาเรื่องนี้ว่าปัญหาเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิงไม่ใช่เรื่องปกติ ไม่ใช่ปัญหาภายในครอบครัว ไม่ใช่ความผิดของผู้หญิง แต่เป็นปัญหาสังคมที่ฝังลึกมาจากความคิดของคนยุคก่อน ซึ่งไม่ได้มีแต่ในประเทศไทยหรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประสบปัญหานี้ โดยประเทศอย่างอินเดีย ตลอดจนแถบแอฟริกา ฯลฯ ก็มีอัตราการทำร้ายในครัวเรือนสูงเช่นกัน

     ดร.พุมเซเล่ มลัมโบ่-จนุคคา รองเลขาธิการสหประชาชาติ และผู้อำนวยการ UN Women กล่าวขณะมาเยือนประเทศไทยเมื่อปี 2559 ว่า “กว่าร้อยละ 60 ของผู้ชายเคยกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยพวกเขาคิดว่าเป็นวิถีชีวิต” และเสริมอีกว่า “ทุกวันนี้เรายอมรับความรุนแรงต่อผู้หญิงและมีอคติต่อผู้หญิง เป็นเรื่องเศร้าที่นี่เป็นความคิดของทั้งผู้ชายและผู้หญิง และเพราะผู้นำชุมชนมักพูดว่าเราแตะต้องอะไรกับวัฒนธรรมไม่ได้ แต่แท้จริงแล้วเราสามารถทำได้ เพราะวัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งตายตัว จึงมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราก็สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมได้เช่นกัน”

     หลังจากการรณรงค์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 36 ปี ปัจจุบันมีจำนวนประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นจาก 7 ประเทศเป็น 127 ประเทศ จากทั้งหมด 173 ประเทศทั่วโลก ภายในระยะเวลา 25 ปี ถึงกระนั้นกฎหมายคุ้มครองแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถกำจัดความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อผู้หญิงได้

     เพื่อปลุกจิตสำนึกถึงปัญหาความรุนแรงในสังคมอันเกิดจากค่านิยมชายเป็นใหญ่ และปลุกความคิดสำหรับผู้หญิงให้รู้จักความเท่าเทียม เคารพซึ่งกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ และให้รู้จักกล้าที่จะลุกขึ้นมาสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม กระทั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งตรงกับวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล มูลนิธิชายหญิงก้าวไกล จับมือกับ เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน ประเทศไทย จัดทำภาพยนตร์โฆษณาแคมเปญสะท้อนสังคมไทยภายใต้แนวคิด ‘บ้าน…ไม่ใช่เวทีมวย’ โดยใช้มวยไทยซึ่งเป็นกีฬายอดฮิตของชายไทยเป็นสื่อกลาง และปลุกกระแส #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง ชวนฉุกคิดถึงถึงกติกาบนสังเวียนมวยที่ต้องจบในสังเวียน ไม่นำกลับไปที่ใช้บ้าน และสื่อว่าภรรยาหาใช่กระสอบทราย โดยในแคมเปญนำเสนอการรณรงค์จริงของผู้เคยตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว โดยใช้เวทีมวยสยามอ้อมน้อยในการถ่ายทำ

     สามารถชมภาพยนตร์โฆษณาชุด ‘บ้าน…ไม่ใช่เวทีมวย’ ได้ที่ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล

 
 

     และบุคคลทั่วไปสามารถร่วมรณรงค์ได้โดยการถ่ายภาพชูป้าย ‘บ้าน….ไม่ใช่เวทีมวย ผู้ชายไม่ทําร้ายผู้หญิง’ เพื่อโพสต์ลงโซเชียลมีเดียในวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ พร้อมติดแฮชแท็ก #ผู้ชายไม่ทําร้ายผู้หญิง

     เพราะความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นปัญหาระดับมนุษยชาติ และทุกคนมีส่วนในการหยุดปัญหาความรุนแรงได้เช่นกัน

 

อ้างอิง:

The post ‘เพราะบ้าน…ไม่ใช่เวทีมวย’ แคมเปญยุติความรุนแรงสตรี เผยทัศนคติ ‘ชายเป็นใหญ่’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/stop-violence-against-women/feed/ 0