ผู้นำโลก – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 17 Nov 2023 02:12:53 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 เปิดภาพหมู่ผู้นำ APEC 2023 เศรษฐายืนเคียงข้างไบเดน https://thestandard.co/apec-2023-leaders-photos/ Fri, 17 Nov 2023 02:12:53 +0000 https://thestandard.co/?p=866563

วันนี้ (17 พฤศจิกายน) โจ ไบเดน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเม […]

The post เปิดภาพหมู่ผู้นำ APEC 2023 เศรษฐายืนเคียงข้างไบเดน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (17 พฤศจิกายน) โจ ไบเดน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ให้การต้อนรับบรรดาผู้นำและผู้แทน 21 เขตเศรษฐกิจ APEC ที่เดินทางถึงศูนย์การประชุมมอสโคนีเซ็นเตอร์ ตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้ (16 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่นของซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา) เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation) หรือ APEC 2023 ซึ่งเปิดฉากขึ้นเป็นวันแรก 

 

โดยบรรยากาศการต้อนรับเต็มไปด้วยความอบอุ่น มีการพูดคุยทักทายกันระหว่างผู้นำขณะถ่ายภาพหมู่ของผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC จากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมการหารือระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน และการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC กับแขกพิเศษของประธาน ในหัวข้อ ‘Sustainability, Climate, and Just Energy Transition’ 

 

ก่อนจะร่วมกิจกรรมระดับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF Summit) และในช่วงเย็นนายกรัฐมนตรีจะร่วมในพิธีเปิดการหารือเต็มคณะระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC กับผู้แทนสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจ APEC ร่วมการประชุมหารือกลุ่มย่อยระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC กับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจ APEC และกล่าวถ้อยแถลง 

 

ในช่วงค่ำนายกรัฐมนตรีจะร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำเขตเศรษฐกิจ โดยมีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพ ที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งซานฟรานซิสโก

 

The post เปิดภาพหมู่ผู้นำ APEC 2023 เศรษฐายืนเคียงข้างไบเดน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สีจิ้นผิง-ไบเดน เดินเคียงข้างหลังประชุมสุดยอดจีน-สหรัฐฯ https://thestandard.co/xi-jinping-joe-biden-walk-after-conference/ Thu, 16 Nov 2023 07:27:58 +0000 https://thestandard.co/?p=866281

ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน และประธานาธิบดีโจ ไบเดนของส […]

The post สีจิ้นผิง-ไบเดน เดินเคียงข้างหลังประชุมสุดยอดจีน-สหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน และประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐอเมริกา เดินพูดคุยเคียงข้างกันภายในสวนของคฤหาสน์ฟิโลลี ชานนครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ 

 

รายงานระบุว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดระหว่างทั้งสองผู้นำ ซึ่งเป็นการประชุมนอกรอบก่อนการประชุม APEC ไบเดนได้เชิญชวนสีให้เดินเล่นภายในอาณาเขตของคฤหาสน์ฟิโลลี ก่อนจะเดินไปส่งผู้นำจีนที่รถยนต์ด้วยตนเอง

 

 

อ้างอิง: Xinhua

The post สีจิ้นผิง-ไบเดน เดินเคียงข้างหลังประชุมสุดยอดจีน-สหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐากล่าวปาฐกถาเวที APEC 2023 ย้ำถึงเวลาแล้วที่จะลงทุนในประเทศไทย https://thestandard.co/srettha-apec-2023-2/ Thu, 16 Nov 2023 05:54:07 +0000 https://thestandard.co/?p=866234 เศรษฐา APEC 2023

วานนี้ (15 พฤศจิกายน) เวลา 13.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่นนคร […]

The post เศรษฐากล่าวปาฐกถาเวที APEC 2023 ย้ำถึงเวลาแล้วที่จะลงทุนในประเทศไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐา APEC 2023

วานนี้ (15 พฤศจิกายน) เวลา 13.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่นนครซานฟรานซิสโก ซึ่งช้ากว่ากรุงเทพฯ 15 ชั่วโมง) ที่ Summit Main Hall ศูนย์การประชุม Moscone Center (West) นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาในการประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนของเอเปค (APEC CEO Summit 2023) ในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Week: AELW) ประจำปี 2023

 

โดยนายกฯ เริ่มกล่าวปาฐกถาเน้นย้ำว่า ประเทศไทยมีบรรยากาศการเมืองที่มีเสถียรภาพ พร้อมร่วมมือทางธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งรัฐบาลกำลังผลักดันอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจต่างๆ ขณะเดียวกันต้องส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย โดยเน้นย้ำว่า ขณะนี้ถึงเวลาที่จะเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว และไทยพร้อมที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกรายจากทั่วโลก เพื่อพบปะและพูดคุยกับผู้นำธุรกิจเอเปค ซึ่งถือเป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญทางเศรษฐกิจ 

 

นายกฯ กล่าวว่า เอเปคเป็นที่ตั้งของประชากรมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก และสามารถสร้างการค้าเกือบครึ่งหนึ่งของโลก โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเอเปคประสบความสำเร็จในการช่วยให้ผู้คนหลายล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน ด้วยการเปิดการค้าและการลงทุน ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับชุมชนธุรกิจ ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (ABAC) ซึ่งถือเป็นความพิเศษและเป็นรากฐานความสำเร็จร่วมกันในปัจจุบัน

 

เน้น 3 แนวทางความร่วมมือให้บรรลุเป้าหมาย

 

นายกฯ ได้แสดงวิสัยทัศน์และเสนอแนวทางความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยเน้นย้ำ 3 ด้านสำคัญ ดังนี้

 

  • ด้านความยั่งยืน 

 

ไทยมีเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG (Bangkok Goals on BCG Economy) ซึ่งผู้นำเอเปคทุกคนได้นำมาใช้เมื่อปีที่แล้ว และเป็นแนวทางที่สหรัฐฯ ในฐานะเจ้าภาพเอเปคปีนี้ได้สานต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดตัว BCG Pledge  ซึ่งสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปคกระตุ้นให้ทุกบริษัทต้องลงนามและมีส่วนร่วม 

 

ทั้งนี้ ไทยมีความภาคภูมิใจในความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะสร้างความยั่งยืน ซึ่งปีนี้ไทยอยู่ในอันดับที่ 43 ของ SDG Index ซึ่งเป็นที่หนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมุ่งมั่นที่จะต่อยอดด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ขณะเดียวกันจะเพิ่มความพยายามเป็น 2 เท่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และทำให้การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ไทยจึงส่งเสริมด้านการเงินสีเขียวอย่างแข็งขัน ผ่านการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bonds) เพื่อกระตุ้นการเติบโตของตลาดพันธบัตรสีเขียว 

 

ขณะเดียวกันสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าด้วย เป้าหมายคือการสร้างห่วงโซ่อุปทานของ EV ที่ครอบคลุม ซึ่งรวมถึงยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ชิ้นส่วนและส่วนประกอบทั้งหมด นอกจากนี้ จะปรับปรุงระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจดังกล่าว เช่น การให้สิทธิพิเศษการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ การสร้างศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ หลักสูตรการพัฒนาแรงงาน และการขยายโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จ เป็นต้น 

 

  • ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม 

 

การเกิดขึ้นของเทคโนโลยี เช่น Generative AI, Blockchain และ Internet of Things (IoT) กำลังเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจ กระบวนการผลิต และชีวิตประจำวัน ซึ่งความก้าวหน้าเหล่านี้นำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ สำหรับการเติบโต การร่วมมือ และแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทุกเขตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา สามารถเข้าถึงโอกาสได้ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม ขณะเดียวกันต้องลงทุนและปรับปรุงระบบการศึกษา เพื่อให้พลเมืองมีทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตในยุคดิจิทัลที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการทำงานร่วมกันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์และการวิจัยระดับแนวหน้า เพื่อปูทางไปสู่ความก้าวหน้าในอนาคต

 

โดยในไทยรัฐบาลกำลังวางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อดำเนินโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) ซึ่งสิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของเราเท่านั้น แต่ยังจะยกระดับการรับรู้และทักษะด้านดิจิทัลอีกด้วย โดยในระยะยาวรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของบริการสาธารณะของประเทศ รวมทั้งพร้อมจะต้อนรับการลงทุนและแรงงานที่มีทักษะ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัล

 

  • ด้านการค้าและการลงทุน

 

เอเปคมีบทบาทสำคัญในการขยายการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนนับล้าน สะท้อนให้เห็นผลตลอดหลายปีที่ผ่านมา การค้าทั่วทั้งเอเปคเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าภายใน 2 ทศวรรษ จาก 7.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2001 เป็นจำนวนกว่า 27 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 ซึ่งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) ยังคงเป็นปณิธานที่สำคัญ และจะทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการเร่งสถาปัตยกรรมการค้าทวิภาคีและภูมิภาคอื่นๆ เพื่อสร้างพันธมิตรใหม่ และไทยจะยกระดับ FTA เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจร่วมกัน ขณะเดียวกันได้เปิดโอกาสทางการค้าและการลงทุนใหม่ๆ ให้กับพันธมิตรของเราอีกด้วย

 

ไทยตระหนักถึงความจำเป็นในการรักษาห่วงโซ่อุปทานให้เปิดกว้างและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการเชื่อมต่อทางกายภาพและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสนามบินหลายแห่งทั่วทั้งเขตเศรษฐกิจของเรา นอกจากนี้ จะใช้ประโยชน์จากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาคนี้อย่างเต็มที่ และกำลังดำเนินโครงการขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาสะพานข้ามทะเลเพื่อเชื่อมต่อทะเลอันดามันกับอ่าวไทย (Landbridge) ซึ่งจะช่วยลดเวลาการเดินทางระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคภายในทศวรรษนี้ 

 

ถึงเวลาลงทุนในไทย

 

ในช่วงท้ายนายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพบปะกับคู่ค้าทางธุรกิจระหว่างการเยือนต่างประเทศ ซึ่งจะนำทีมผู้นำธุรกิจจากไทย เพื่อสร้างเครือข่ายและการจับคู่ธุรกิจเพิ่มเติมที่นครซานฟรานซิสโก พร้อมมีความยินดีที่จะทำงานร่วมกันและสร้างความก้าวหน้าที่มีความหมายต่อไปสำหรับผู้คนในปัจจุบันและรุ่นต่อๆ ไป โดยเน้นย้ำว่า ถึงเวลาแล้วที่จะลงทุนในไทยให้มากขึ้น ซึ่งไทยพร้อมก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและจะขยายความร่วมมือร่วมกันต่อไป

 

เตรียมดินเนอร์กับ โจ ไบเดน – ทวิภาคี จัสติน ทรูโด 

   

นายกฯ เปิดเผยถึงภารกิจวันนี้ว่า ได้พบกับผู้บริหารบริษัท Citi พูดคุยประเด็นแลนด์บริดจ์ที่อยากให้ Citi จัดสัมมนาและเชิญไทยไปร่วม รวมถึงจัดโรดโชว์ในทุกทวีป ซึ่ง Citi ยืนยันสนับสนุนไทยในทุกมิติ

 

ส่วนการประชุม CEO Summit ใช้เวทีนี้เน้นย้ำว่า ไทยเปิดแล้วสำหรับนักลงทุน ไม่มีเวลาไหนที่ดีไปกว่าเวลานี้ที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ไทยอยู่ในลำดับที่ 43 ของ SDG Index เราเป็นที่ 1 ในอาเซียน 

 

สำหรับบรรยากาศการพบปะกับผู้บริหารระดับสูงในงาน CEO Summit ถือเป็นโอกาสที่ดีของไทย เนื่องจากภายในงานมีการออกบูธของบริษัทชั้นนำ เช่น บริษัท Boeing นำเฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับขนส่งคนได้ เดินทางได้ 160 ไมล์ มาจัดแสดง ซึ่งคาดว่าจะนำมาขายเชิงพาณิชย์ได้ประมาณ​ 7-8 ปีข้างหน้า 

 

และการพบกับผู้บริหาร Mocrosoft ที่มาออกบูธ โดยคาดว่าในไตรมาส 1 ปีหน้า ผู้บริหาร Mocrosoft จะเดินทางไปไทย รัฐบาลจึงขอเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ พร้อมเชิญภาคเอกชนเข้าไปพูดคุยลักษณะการจับคู่ทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มช่องทางการพัฒนาดิจิทัลในไทยให้เข้มแข็งขึ้น

 

ส่วนภารกิจในวันพรุ่งนี้ (16 พฤศจิกายน) จะพบกับจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ซึ่งต้องไปรับฟังความเห็นก่อน รวมทั้งพบหารือกับนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเกี่ยวกับการค้าและการท่องเที่ยว และหารือกับประธานาธิบดีเปรู รวมถึงรับประทานอาหารค่ำร่วมกับ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะหารือในหลายประเด็น รวมไปถึงการพบกับ จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เป็นสุภาพสตรีที่เก่งและเข้าใจธุรกิจการค้าการลงทุนเป็นอย่างดี

 

TikTok เปิดศูนย์เทรนใช้งานแพลตฟอร์มในไทย 

 

นายกฯ กล่าวถึงการพบกับผู้บริหาร TikTok ว่า ทางผู้บริหารเดินทางมาพบด้วยตัวเอง ซึ่งไม่แปลกใจเพราะในไทยมีผู้ใช้งาน 43 ล้านคน ถือว่าสูงมาก เพราะทุกคนนิยมลงใน TikTok จึงต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรที่เราจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เขาได้ประกอบธุรกิจที่ดี ขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือประชาชนคนไทยด้วยเหมือนกัน เช่นเรื่องของ OTOP 

 

รวมถึงซอฟต์พาวเวอร์สินค้าไทยคืออาหาร เนื่องจากหลายคนได้ใช้แพลตฟอร์ม TikTok ลงคลิปทำอาหารที่เป็นคลิปสั้นๆ สนุกสนาน ทำให้มีคนเขามาดูจำนวนมาก และขณะนี้เราได้ฝึกอบรมให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือกและให้ทาง TikTok เข้ามาช่วยฝึกหัด รวมถึงซอฟต์พาวเวอร์ด้านอื่นของไทย โดยขอให้มาสร้างศูนย์ฝึกอบรมในไทย เพื่อคำแนะนำในการเล่นโซเชียลมีเดียที่มีประสิทธิภาพสูง ขณะที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เสนอสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อจูงใจ ซึ่งทาง TikTok ให้ความสนใจ

 

ถก Booking.com ช่วยโปรโมตท่องเที่ยวไทย 

 

นายกฯ กล่าวถึงการหารือกับผู้บริษัท Booking.com ว่า ตั้งแต่เราประกาศฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวจีน มีคนเข้ามาดูเว็บไซต์เพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า แต่ยังไม่ดีพอ มองว่าสามารถทำให้เพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ได้มากกว่านั้น ทั้งนี้ บริษัท Booking.com ก็เป็นเจ้าของ Agoda และมีพนักงานหลายพันคนเป็นคนไทย และอีกหลายส่วนเป็นชาวต่างชาติ ขณะเดียวกันเรามีการโปรโมตเรื่องการท่องเที่ยวและซอฟต์พาวเวอร์ โดยผู้บริหารบริษัท Booking.com ระบุว่าจะติดต่อไปยังผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อหาทางในการปรับภาพใหญ่ให้เกิดประโยชน์ทั้งสองทาง และเขาก็ดีใจที่ผู้นำระดับประเทศให้ความสำคัญ 

 

นายกฯ เตรียมบินถกประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น 16-18 ธันวาคมนี้

  

นายกฯ ยังกล่าวถึงการหารือทวิภาคีกับ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 30 ว่า หารือเรื่องของความสัมพันธ์ที่มีมานาน 50 ปี และหารือเรื่องการใช้รถยนต์สันดาป โดยตนให้ความมั่นใจกับทางญี่ปุ่นไปว่าจะไม่ทอดทิ้ง มีการพูดคุยกันว่าให้การประกอบรถยนต์สันดาปของญี่ปุ่น ขณะที่รถไฟฟ้า (EV) ที่มีความต้องการสูง และได้พูดในหลายเวทีว่าญี่ปุ่นมีการลงทุนในไทยสูงที่สุดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จึงต้องมาดูแลช่วยเหลือกัน และทางญี่ปุ่นยืนยันว่าธุรกิจยานยนต์เป็นธุรกิจสำคัญและจะพัฒนาต่อในไทย และในระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคมนี้ ตนจะเดินทางไปร่วมประชุมอาเซียนตามคำเชิญของนายกฯ ญี่ปุ่น 

 

นอกจากนั้นยังพูดคุยเรื่องการฟรีวีซ่าสำหรับนักธุรกิจของสองประเทศ ที่ทั้งสองฝ่ายมีการตกลงเห็นตรงกันว่าไม่จำเป็นต้องขอ เพื่อให้นักธุรกิจติดต่อธุรกิจและไปมาหาสู่สะดวกมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดีที่สองฝ่ายเห็นตรงกัน 

 

เตรียมประสาน สธ. หลังจีนขอ อย.ไทย รับรองยารักษามะเร็งของจีน

 

ขณะเดียวกัน นภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการหารือกับรัฐมนตรีการค้าของจีนระหว่างการประชุมรัฐมนตรีการค้า ซึ่งเป็นการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเอเปค ทางจีนกล่าวถึงยารักษามะเร็งของจีน ซึ่งจีนยืนยันว่าประสบผลสำเร็จ นำไปขายทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป โดยผ่านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของทั้งสหรัฐฯ และยุโรปแล้ว แต่ยังไม่ผ่าน อย. ของไทย จึงฝากให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเร่งรัด จึงจะประสานไปยังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเร่งรัดต่อไป ทั้งนี้ ยารักษามะเร็งของจีนดังกล่าวนี้มีราคาย่อมเยากว่ายาต้านมะเร็งปกติ

 

The post เศรษฐากล่าวปาฐกถาเวที APEC 2023 ย้ำถึงเวลาแล้วที่จะลงทุนในประเทศไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประมวลภาพสีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ จากอดีตถึงปัจจุบัน ก่อนร่วมประชุม APEC 2023 https://thestandard.co/xi-jinping-visit-usa-before-apec-2023/ Wed, 15 Nov 2023 06:25:33 +0000 https://thestandard.co/?p=865899 สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

ประมวลภาพ สีจิ้นผิง ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่อดีตจนถึงการเ […]

The post ประมวลภาพสีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ จากอดีตถึงปัจจุบัน ก่อนร่วมประชุม APEC 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

ประมวลภาพ สีจิ้นผิง ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่อดีตจนถึงการเดินทางเยือนครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC 2023 ที่สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพ โดยจะเปิดฉากขึ้นระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายนนี้ ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ และจีนที่มุ่งหวังจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคีในมิติต่างๆ และลดทอนความร้อนระอุของการแข่งขันกันระหว่างมหาอำนาจทั้งสองประเทศที่เกิดขึ้นตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา

 

สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

(1) สีจิ้นผิงเยือนนครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ ในปี 1985

แฟ้มภาพ: Xinhua

 

สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

 

(2) สีจิ้นผิงและเพื่อนเก่าชาวอเมริกันได้กลับมาพบกันอีกครั้งที่รัฐไอโอวาในปี 2012 หลังกาลเวลาผ่านไปนานถึง 27 ปี โดยครั้งนั้นสีจิ้นผิงเดินทางเยือนสหรัฐฯ ในฐานะรองประธานาธิบดีจีน และทั้งหมดได้พบปะกันที่บ้านของ ซาราห์ แลนเด เพื่อนเก่าของสีในวันที่หิมะตก แม้ตารางการทำงานจะแน่นขนัดก็ตาม 

 

โดยมีคนถามสีว่า “ทำไมถึงมาไอโอวา?” สีจิ้นผิงตอบว่า “พวกคุณเป็นชาวอเมริกันกลุ่มแรกที่ผมได้ติดต่อสื่อสารด้วย สำหรับผมพวกคุณคืออเมริกา”

 

แฟ้มภาพ: Xinhua

 

สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

 

(3) สีจิ้นผิงมอบตุ๊กตาแพนด้าเป็นของขวัญให้หลานสาวของ ซาราห์ แลนเด ผู้เป็นเพื่อนเก่าของเขา ในเมืองมัสคาทีน รัฐไอโอวาของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012

 

แฟ้มภาพ: Xinhua

 

สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

 

(4) สีจิ้นผิง รองประธานาธิบดีจีนในสมัยหูจิ่นเทา และ โจ ไบเดน รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในสมัย บารัก โอบามา ยิ้มแย้มขณะพบปะกับคณะผู้ว่าการมณฑลของจีนและสหรัฐฯ ในนครลอสแอนเจลิสของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2012

 

แฟ้มภาพ: Xinhua

 

สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

 

(5) สีจิ้นผิงได้รับเสื้อที่ระลึกพร้อมปักชื่อของเขาจาก เมจิก จอห์นสัน (ขวา) อดีตนักกีฬาบาสเกตบอลสโมสรลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส ที่นครลอสแอนเจลิสของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2012

 

แฟ้มภาพ: Xinhua

 

สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

 

(6) สีจิ้นผิงและเผิงลี่หยวน (คนที่ถือกระเป๋า) ผู้เป็นภริยา ทักทายครูและนักเรียนระหว่างเยี่ยมชมโรงเรียนมัธยมลินคอล์น เมืองทาโคมา รัฐวอชิงตันของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2015

 

แฟ้มภาพ: Xinhua

 

สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

 

(7) โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เลี้ยงต้อนรับ สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และภริยา ในโอกาสเดินทางเยือนรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2017

 

แฟ้มภาพ: Carlos Barria / Reuters

 

สีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ

 

(8) สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC 2023 นับเป็นการเดินทางเยือนสหรัฐฯ ครั้งแรกในรอบ 6 ปีของผู้นำจีน

 

ภาพ: Justin Sullivan / Getty Images

The post ประมวลภาพสีจิ้นผิงเยือนสหรัฐฯ จากอดีตถึงปัจจุบัน ก่อนร่วมประชุม APEC 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้นำโลกวอนอิสราเอล-ฮามาสระงับการต่อสู้ เปิดทางส่งความช่วยเหลือเข้าฉนวนกาซา https://thestandard.co/world-leaders-seek-suspend-israel-hamas-fighting-gaza/ Wed, 25 Oct 2023 04:38:48 +0000 https://thestandard.co/?p=858187 อิสราเอล-ฮามาส

สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ตลอดจนผู้นำจากอีกหลายประเทศทั่วโลก […]

The post ผู้นำโลกวอนอิสราเอล-ฮามาสระงับการต่อสู้ เปิดทางส่งความช่วยเหลือเข้าฉนวนกาซา appeared first on THE STANDARD.

]]>
อิสราเอล-ฮามาส

สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ตลอดจนผู้นำจากอีกหลายประเทศทั่วโลกพยายามเรียกร้องให้อิสราเอลและกลุ่มฮามาสยุติการสู้รบหรือหยุดยิงชั่วคราว เพื่อเปิดทางให้สามารถส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าไปในฉนวนกาซาซึ่งเวลานี้ถูกกองทัพอิสราเอลปิดล้อมไว้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีการทิ้งระเบิดโจมตีอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ของประชาชน

 

เมื่อช่วงดึกวานนี้ (24 ตุลาคม) รถบรรทุก 8 คันพร้อมน้ำ อาหาร และยา ได้เดินทางจากอียิปต์เข้าสู่ฉนวนกาซา เพื่อนำความช่วยเหลือไปมอบให้กับประชาชน โดยการต่อสู้ระหว่างฮามาสและอิสราเอลได้กินเวลามาเกือบ 3 สัปดาห์แล้ว ขณะที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลให้บรรดาผู้นำโลกพยายามหาวิธีการเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุความขัดแย้งในครั้งนี้ขยายวงกว้าง ในภูมิภาคซึ่งเป็นแหล่งซัพพลายพลังงานสำคัญของโลก

 

ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐอเมริกาและมกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แห่งซาอุดีอาระเบีย ได้ต่อสายสนทนาวานนี้ โดยทั้งสองเห็นพ้องที่จะขยายการใช้แนวทางทางการทูต ‘เพื่อรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคและเพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งขยายวงออกไป’

 

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า นอกเหนือจากสถานการณ์ในฉนวนกาซาแล้ว การปะทะระหว่างกองทัพอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ก็ทวีความรุนแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ขณะที่กองทัพอิสราเอลยังต้องรับมือกับศึกอีกหน้าหนึ่งคือกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่ยิงจรวดข้ามมาจากเลบานอนและต่อสู้กันอยู่ทางชายแดนตอนเหนือของประเทศ ขณะอิหร่านซึ่งเป็นชาติที่ให้การสนับสนุนทั้งกลุ่มฮิซบอลเลาะห์และฮามาส กล่าวเตือนอิสราเอลให้หยุดการโจมตีฉนวนกาซา

 

นอกจากนี้ กองทัพอิสราเอลยังระบุด้วยว่ามีจรวดที่ถูกยิงมาจากฝั่งของซีเรีย ซึ่งเป็นชาติพันธมิตรของอิหร่าน แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นฝีมือของฝ่ายใด ส่งผลให้อิสราเอลส่งเครื่องบินเข้าโจมตีโครงสร้างพื้นฐานของกองทัพซีเรียในวันนี้ (25 ตุลาคม) เพื่อเป็นการโต้กลับ

 

ทั้งนี้ สหรัฐฯ แนะนำให้อิสราเอลระงับการโจมตีภาคพื้นดินที่เคยวางแผนไว้ โดยสหรัฐฯ พยายามที่จะหาวิธีให้ฮามาสยอมปล่อยตัวประกันมากกว่า 200 ชีวิตที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ในฉนวนกาซา แต่ถึงเช่นนั้น เมื่อนักข่าวถามไบเดนว่าเขาพยายามเรียกร้องให้อิสราเอลชะลอเวลาการบุกออกไปหรือไม่นั้น ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวว่า “อิสราเอลเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเอง”

 

ด้านรัสเซียเรียกร้องให้มีการหยุดยิงเพื่อเปิดทางสู่การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดย วาสซิลี เนเบนเซีย เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ (UN) กล่าวกับคณะมนตรีความมั่นคงว่า “ทั่วโลกคาดหวังจากคณะมนตรีความมั่นคงให้เรียกร้องให้มีการหยุดยิงอย่างรวดเร็วและไม่มีเงื่อนไข”

 

อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขซึ่งฮามาสเป็นผู้ดำเนินการระบุว่า นับตั้งแต่เหตุความขัดแย้งปะทุขึ้นเมื่องวันที่ 7 ตุลาคมจนถึงปัจจุบัน มีชาวปาเลสไตน์ที่เสียชีวิตแล้วเกือบ 5,800 คน ขณะที่ฝั่งของอิสราเอลรายงานว่าในฝั่งของตนนั้นมีผู้เสียชีวิตราว 1,400 คน

 

สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนไทยนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งสถานะล่าสุด ณ คืนวันที่ 23 ตุลาคมว่า ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 30 คน ผู้บาดเจ็บอยู่ที่ 18 คน และผู้ที่คาดว่าถูกจับเป็นตัวประกันอยู่ที่ 19 คน โดยกระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจาก สอท. ณ กรุงเทลอาวีฟว่า ร่างผู้เสียชีวิตจำนวน 7 คนจะได้รับการนำกลับประเทศไทยโดยสายการบิน El Al Israel Airlines เที่ยวบินที่ LY083 ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วันที่ 26 ตุลาคม เวลา 10.35 น.

 

ภาพ: Majdi Fathi / NurPhoto via Getty Images

อ้างอิง: 

The post ผู้นำโลกวอนอิสราเอล-ฮามาสระงับการต่อสู้ เปิดทางส่งความช่วยเหลือเข้าฉนวนกาซา appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณฟื้นตัวแล้ว! หลังรัฐบาลอัดมาตรการกระตุ้น ส่วน GDP ไตรมาส 3 ยังชะลอตัว เหลือโต 4.9% เท่านั้น https://thestandard.co/china-gdp-growth-slows-to-4-9/ Wed, 18 Oct 2023 03:33:39 +0000 https://thestandard.co/?p=855891

จีนเผยตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มดีขึ้นในเดือนกันยายน โดย […]

The post เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณฟื้นตัวแล้ว! หลังรัฐบาลอัดมาตรการกระตุ้น ส่วน GDP ไตรมาส 3 ยังชะลอตัว เหลือโต 4.9% เท่านั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

จีนเผยตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มดีขึ้นในเดือนกันยายน โดยยอดค้าปลีก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการบริโภคของประชาชนพุ่ง 5.5% อาจเป็นความสำเร็จของรัฐบาลที่พยายามอัดมาตรการกระตุ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม GDP ไตรมาส 3 ยังชะลอตัว เหลือโต 4.9% เท่านั้น จาก 6.3% ในไตรมาสก่อน

 

วันนี้ (18 ตุลาคม) สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน เผยว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ชะลอตัวลงเหลือ 4.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยลดลงจาก 6.3% ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทางเศรษฐกิจจีนต่างๆ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนดูมีความมั่นคงมากขึ้น หลังจากทางการจีนได้ดำเนินการแทรกแซงเชิงนโยบายต่างๆ

 

นอกจากนี้ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดโดยเฉลี่ยที่ 4.4% อ้างอิงจากการสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดย Nikkei

 

การเปิดเผย GDP ไตรมาสนี้ยังมีขึ้นในขณะที่จีนเป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้นำและบุคคลสำคัญระดับโลกในการประชุม Belt and Road Forum ซึ่งหลายฝ่ายกำลังจับตาดูว่ารัฐบาลปักกิ่งมีแผนจะสานต่อโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศอย่างไร ท่ามกลางการเติบโตของประเทศบ้านเกิดที่ชะลอตัว

 

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 3 จีนได้ลดอัตราดอกเบี้ยหลายประเภทหลายครั้งเพื่อกระตุ้นการกู้ยืมของภาคธุรกิจและครัวเรือน และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ซบเซาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมไปถึงการลดเกณฑ์การชำระเงินดาวน์สำหรับการซื้อบ้านใหม่ ก็เป็นหนึ่งในมาตรการที่นำมาใช้เพื่อกระตุ้นความต้องการในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา หลังเกิดเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทอสังหาบางราย

 

ING Bank มองว่า “ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของจีนสำหรับไตรมาสที่ 3 อ่อนแอมากจนถึงเดือนกันยายน โดยในเดือนกันยายนนี้ตัวเลขต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเสถียรภาพเล็กน้อย”

 

โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายนปรับตัวขึ้น 4.5% จากปีก่อนหน้า สูงกว่าประมาณการที่ 4.4%

 

ส่วนยอดค้าปลีกขยายตัว 5.5% ในเดือนกันยายน จากประมาณการที่ 4.9% สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

 

การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 3.1% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์เฉลี่ยเล็กน้อยที่ 3.2%

 

การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ลดลง 9.1% ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ซึ่งแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้

 

ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 5% ณ สิ้นเดือนกันยายน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนสิงหาคม

 

ตัวเลขต่างๆ ที่เริ่มฟื้นตัวเหล่านี้อาจสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของรัฐบาลจีนที่พยายามออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

สำหรับคาดการณ์ GDP จีนในปีนี้ นักเศรษฐศาสตร์สำนักต่างๆ มีมุมมองที่แตกต่างกันไป บางสำนักก็ปรับขึ้นและบางสำนักก็ปรับลง ขณะที่ในรายงาน World Economic Outlook ฉบับล่าสุด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า GDP จีนปีนี้จะโต 5% ตามเป้าหมายของรัฐบาล

 

อ้างอิง:

The post เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณฟื้นตัวแล้ว! หลังรัฐบาลอัดมาตรการกระตุ้น ส่วน GDP ไตรมาส 3 ยังชะลอตัว เหลือโต 4.9% เท่านั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
โฆษกรัฐบาลยืนยันภารกิจนายกฯ อัดแน่นตลอด 3 วัน ดึงนักลงทุนให้ไทยได้ประโยชน์ ขออย่าจับผิด-ด้อยค่าความตั้งใจ https://thestandard.co/pm-missions-are-3-day-packed/ Wed, 20 Sep 2023 03:52:47 +0000 https://thestandard.co/?p=843729

วานนี้ (19 กันยายน) ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ชัย วัช […]

The post โฆษกรัฐบาลยืนยันภารกิจนายกฯ อัดแน่นตลอด 3 วัน ดึงนักลงทุนให้ไทยได้ประโยชน์ ขออย่าจับผิด-ด้อยค่าความตั้งใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (19 กันยายน) ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ชัย วัชรงค์ โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงภารกิจเดินทางต่างประเทศครั้งแรกของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เกิดข่าวลือและการวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่เป็นความจริงว่า เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ความตั้งใจของนายกรัฐมนตรี ในการเดินทางมาปฏิบัติภารกิจครั้งแรกที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ครั้งนี้ ถูกด้อยค่าและจับผิดจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดตลอดเวลา 

 

ชัยกล่าวยืนยันว่า ภารกิจนายกรัฐมนตรี คือการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 UNGA78 ซึ่งมีประเด็นหลักเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ที่นายกรัฐมนตรียังเป็นเจ้าภาพการประชุมในกรอบของอาเซียน โดยนายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์ในเรื่องดังกล่าว และยังกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก รวมถึงเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง ซึ่งประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เข้าร่วมประชุม 

 

ชัยกล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีกำหนดการหารือทวิภาคีกับผู้นำโลก เช่น ประธานาธิบดีเกาหลีใต้, นายกรัฐมนตรีเวียดนาม, นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และเลขาธิการสหประชาชาติ UNSG รวมถึงประธาน FIFA ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีเป้าหมายที่จะแสวงหาโอกาสพัฒนาทีมฟุตบอลไทยในเวทีโลก รวมถึงการจัดการแข่งขันระดับโลกในประเทศไทย

 

“สิ่งที่สำคัญที่สุด นายกรัฐมนตรีเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และดึงการลงทุนจากต่างชาติให้ไหลเข้าประเทศไทย เนื่องจากในช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมา การลงทุนขนาดใหญ่แทบไม่เคยเกิดขึ้น ในครั้งนี้นายกรัฐมนตรีมีกำหนดพบผู้บริหารขนาดใหญ่ 8-9 บริษัท อาทิ BlackRock ซึ่งเป็นบริษัทจัดการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเงินทุน 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 250 ล้านล้านบาท แค่เพียงบริษัทเดียวจะเห็นว่ามีเงินลงทุนมากขนาดไหน” ชัยกล่าว

 

ชัยกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังจะหารือกับทีมประเทศไทย ที่มีทูตพาณิชย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสการค้า การลงทุน และกำหนดทิศทางว่าประเทศไทยจะเดินหน้าทางเศรษฐกิจไปอย่างไร และยังมีโอกาสพบปะกับชุมชนชาวไทยในสหรัฐฯ เพื่อรับฟังปัญหา และต้องการให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือ กิจกรรมทั้งหมดอัดแน่นเพียงเวลา 3 วัน กว่าจนถึงเวลา 22.00 น. วันที่ 22 กันยายน และกลับถึงไทยเวลา 08.40 น. ในวันที่ 24 กันยายน การเดินทางใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมง ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงมีบางคนเอาเวลาไปตามจับผิด ซึ่งเป็นความเท็จทั้งหมด

 

“สำหรับกรณีบุตรสาวของนายกรัฐมนตรีนั้น เดินทางมาด้วยการออกค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งวิธีการคำนวณนั้นมีอยู่แล้ว หารเป็นค่าใช้จ่ายต่อหัว คิดเป็นเท่าไรก็จ่ายเป็นราคาเต็ม และรัฐบาลไทยก็จ่ายน้อยลง จึงขอยืนยันว่าการเดินทางมาสหรัฐฯ เพื่อร่วมประชุมของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ โปรแกรมแน่นเอี้ยด และประเทศไทยได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าอย่างแน่นอน” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว

The post โฆษกรัฐบาลยืนยันภารกิจนายกฯ อัดแน่นตลอด 3 วัน ดึงนักลงทุนให้ไทยได้ประโยชน์ ขออย่าจับผิด-ด้อยค่าความตั้งใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ ประกาศความมุ่งมั่นของไทยต่อผู้นำโลก พร้อมขับเคลื่อน SDGs การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง https://thestandard.co/srettha-sdg-summit-2023/ Wed, 20 Sep 2023 01:41:30 +0000 https://thestandard.co/?p=843647

วันที่ 19 กันยายน เวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของนครนิ […]

The post นายกฯ ประกาศความมุ่งมั่นของไทยต่อผู้นำโลก พร้อมขับเคลื่อน SDGs การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันที่ 19 กันยายน เวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี 2023 (Sustainable Development Goals (SDG) Summit 2023) โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

 

นายกรัฐมนตรีรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2023 ซึ่งถือเป็นการกล่าวถ้อยแถลงครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีที่องค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งรัฐบาลยังคงเน้นย้ำเจตนารมณ์ในการให้ความสำคัญที่จะดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

 

ทั้งนี้ ความร่วมมือของทุกประเทศในการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ของสหประชาชาติ ได้เผชิญกับความท้าทายร่วมกันมาถึงในช่วงครึ่งทางของวาระดังกล่าว และในทศวรรษนี้ สหประชาชาติได้กำหนดให้ทศวรรษนี้เป็นทศวรรษแห่งการลงมือทำ (Decade of Action) พร้อมทั้งยังสนับสนุนกรอบความร่วมมือพหุภาคีที่มีประสิทธิภาพ และสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนการจัดสรรแหล่งทรัพยากรและเงินทุน การลดช่องว่างทางการเงิน รวมถึงสรรหานวัตกรรมเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ทุกประเทศสามารถรับมือกับความท้าทายและการร่วมกันขับเคลื่อน SDGs ได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยสนับสนุนข้อเรียกร้องของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติในการปฏิรูปสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ผ่านมาตรการกระตุ้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Stimulus) เป็นจำนวนเงิน 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี จนถึงปี 2030 

 

สำหรับการดำเนินการของไทย รัฐบาลได้ออกมาตรการทางการเงิน 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียวและ Thailand Green Taxonomy เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ผ่านการกระตุ้นการกำหนดกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากภาคธุรกิจของไทย โดยสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) ซึ่งมีบริษัทมากกว่า 100 บริษัททั่วประเทศ ตั้งเป้าขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และจะลงทุนจำนวน 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ภายในปี 2030

 

อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีมองว่าการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนจำเป็นต้องมีแนวทางที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่าน เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งประเทศไทยได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนโยบายเศรษฐกิจ BCG มาเป็นแนวทาง เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยประเทศไทยพร้อมประกาศความมุ่งมั่นระดับประเทศ เพื่อขับเคลื่อน SDGs รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนี้

 

  1. ไทยประกาศความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave No One Behind) ผ่านหลักการไปให้ถึงและช่วยเหลือกลุ่มที่รั้งท้ายก่อน (Reaching those Furthest Behind First) รวมทั้งลดความยากจนในคนทุกช่วงวัยภายในปี 2027

 

  1. ไทยประกาศความมุ่งมั่นในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศสำหรับประชากรทุกคนในประเทศ รวมถึงให้ความสำคัญกับสิทธิด้านสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยมีมาตรการที่สำคัญๆ เช่น การตั้งเป้าหมายที่จะให้ครัวเรือนที่ต้องกลายเป็นครัวเรือนที่ยากจนหลังจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล (Health Impoverishment) ต้องมีจำนวนลดลงไม่เกินร้อยละ 0.25 ภายในปี 2027

 

  1. ไทยประกาศความมุ่งมั่นที่จะผลักดันร่วมมือกับหุ้นส่วนความร่วมมือทุกระดับในการดำเนินการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงบริการพลังงานสมัยใหม่ (Modern Energy Services) ในราคาที่เหมาะสมและมีความน่าเชื่อถือภายในปี 2030

 

“การประกาศความมุ่งมั่นของไทยในเรื่องดังกล่าว จะสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่พร้อมร่วมมือกับทุกฝ่าย ในการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เพื่อประชาชนและโลกที่ดีขึ้นต่อไป” เศรษฐากล่าว

The post นายกฯ ประกาศความมุ่งมั่นของไทยต่อผู้นำโลก พร้อมขับเคลื่อน SDGs การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง appeared first on THE STANDARD.

]]>
G20 เปิดฉากประชุมซัมมิตวันแรก ประกาศรับสหภาพแอฟริกาเป็นสมาชิกถาวร https://thestandard.co/g20-summit-first-day-2023/ Sat, 09 Sep 2023 08:57:28 +0000 https://thestandard.co/?p=839585

ผู้นำกลุ่มประเทศที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก […]

The post G20 เปิดฉากประชุมซัมมิตวันแรก ประกาศรับสหภาพแอฟริกาเป็นสมาชิกถาวร appeared first on THE STANDARD.

]]>

ผู้นำกลุ่มประเทศที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก 20 ประเทศ หรือ G20 เริ่มเปิดฉากการประชุมสุดยอดประจำปีที่กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ด้วยการมอบสถานะสมาชิกถาวรให้แก่สหภาพแอฟริกา (African Union) โดยหวังว่าจะทำให้กลุ่ม G20 เป็นตัวแทนประเทศต่างๆ ของโลกมากขึ้น แม้ในความเป็นจริงแล้วบรรดาประเทศสมาชิกยังคงมีความแตกแยกกันเกี่ยวกับสงครามในยูเครน โดยชาติตะวันตกผลักดันให้กลุ่ม G20 ประณามรัสเซียอย่างรุนแรง ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เรียกร้องให้กลุ่มมุ่งเน้นไปที่ประเด็นทางเศรษฐกิจมากกว่า

 

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ และผู้นำประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม G20 ซึ่งรวมถึงนายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ ของเยอรมนี, ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส, นายกรัฐมนตรีริชี ซูนัค ของอังกฤษ, เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน นายกรัฐมนตรีของซาอุดีอาระเบีย และ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้น ณ Bharat Mandapam ศูนย์การประชุมรูปทรงสังข์มูลค่า 300 ล้านดอลลาร์ที่เพิ่งสร้างใหม่ และตั้งอยู่ตรงข้ามป้อมหินสมัยศตวรรษที่ 16 

 

ธุรกิจ ร้านค้า สำนักงาน และโรงเรียนหลายแห่งในกรุงนิวเดลี ซึ่งมีประชากร 20 ล้านคน ปิดทำการในช่วงที่เมืองเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เพื่อจำกัดการจราจร ขณะที่ทางการจัดการพื้นที่สลัม รวมทั้งนำลิงและสุนัขจรจัดออกจากถนน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อให้การประชุมระดับโลกนี้ดำเนินไปอย่างราบรื่น

 

การประชุมสุดยอด G20 ครั้งนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันในวันที่ 9-10 กันยายน ซึ่งในวันแรกของการประชุมนั้น นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย ในฐานะประธานการประชุม ได้ประกาศการรับสหภาพแอฟริกา หรือ AU เข้าเป็นสมาชิกถาวรของกลุ่ม G20 ซึ่งทัดเทียมกับสหภาพยุโรป และในการกล่าวเปิดการประชุม โมดีได้เชิญ อาซาลี อัสซูมานี ประธานสหภาพแอฟริกา ในฐานะตัวแทนกลุ่ม AU นั่งที่โต๊ะผู้นำ G20

 

อย่างไรก็ดี คาดว่าการประชุมสุดยอดครั้งนี้จะถูกครอบงำโดยชาติตะวันตกและพันธมิตร ในขณะที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน ส่งนายกรัฐมนตรีหลี่เฉียงมาร่วมประชุมแทน ส่วนประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ไม่เดินทางมาร่วมประชุมเช่นกัน

 

ก่อนหน้านี้ หลายฝ่ายมองว่าการประชุมสุดยอดในครั้งนี้อาจเป็นโอกาสให้สีและไบเดนได้พบปะหารือกัน หลังจากตลอดหลายเดือนของความพยายามเยียวยาความสัมพันธ์ที่ร้าวฉานระหว่างสองประเทศมหาอำนาจ อันเนื่องมาจากความตึงเครียดทางการค้าและภูมิรัฐศาสตร์

 

จอน ไฟเนอร์ รองที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าวในเดลีว่า “เป็นหน้าที่ของรัฐบาลจีนที่จะต้องอธิบายว่า ผู้นำของจีนจะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมการประชุมเพราะเหตุใด” 

 

ไฟเนอร์ยังได้กล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่า จีนกำลังจะ ‘ละทิ้ง G20’ เพื่อหันไปสนับสนุนกลุ่มอื่นๆ เช่น BRICS ซึ่งเป็นกลุ่มที่จีนมีอำนาจเหนือกว่า

 

BRICS ประกอบด้วยบราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้ และเห็นชอบที่จะเพิ่มสมาชิกใหม่อีก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย, อิหร่าน, เอธิโอเปีย, อียิปต์, อาร์เจนตินา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่มุ่งเร่งผลักดันให้เกิดการสับเปลี่ยนระเบียบโลกที่สมาชิกของกลุ่มเห็นว่าล้าสมัย

 

สำนักข่าว Reuters รายงานเกี่ยวกับเนื้อหาในร่างปฏิญญาของการประชุมสุดยอด G20 ซึ่งปรากฏว่า คณะผู้เจรจาของแต่ละประเทศไม่สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งในส่วนของข้อความเกี่ยวกับสงครามในยูเครนได้ จึงต้องปล่อยให้บรรดาผู้นำทำหน้าที่ประนีประนอมหากเป็นไปได้ รายงานข่าวระบุว่า ร่าง 38 หน้าที่เผยแพร่ระหว่างประเทศสมาชิก มีการปล่อยให้ย่อหน้าที่เกี่ยวกับ ‘สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์’ เว้นว่างไว้ ขณะที่เห็นชอบกับอีก 75 ย่อหน้า

 

รายงานข่าวระบุว่า ความเห็นต่างของบรรดาประเทศสมาชิกเกี่ยวกับสงครามในยูเครน ทำให้คณะผู้เจรจาของ G20 ต้องพยายามกันอยู่หลายวันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับภาษาที่จะใช้ในปฏิญญาผู้นำ (Leaders’ Declaration) โดยทางกลุ่มหวังว่า รัสเซียจะร่วมให้ความเห็นชอบในปฏิญญาผู้นำฉบับนี้

 

เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย ซึ่งเป็นตัวแทนประธานาธิบดีปูตินเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เปิดเผยว่าเขาจะขัดขวางร่างปฏิญญา (Final Declaration) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม เว้นแต่ร่างปฏิญญาดังกล่าวจะสะท้อนถึงจุดยืนของมอสโกเกี่ยวกับยูเครนและวิกฤตการณ์อื่นๆ

 

แหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งเปิดเผยกับ Reuters ว่า ย่อหน้าเกี่ยวกับสงครามกับยูเครนได้รับการอนุมัติจากประเทศตะวันตก และส่งไปยังรัสเซียเพื่อขอความเห็น เจ้าหน้าที่รายนี้กล่าวว่า รัสเซียมีทางเลือกที่จะยอมรับความคิดเห็นของประเทศตะวันตก หรือแสดงความเห็นแย้งโดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิญญา

 

ในกรณีที่ไม่มีข้อตกลง อินเดียจะต้องออกแถลงการณ์ของประธานการประชุม (Chair Statement) แทน ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีของการประชุมสุดยอด G20 ที่จะไม่มีการออกปฏิญญาผู้นำ

 

ด้านเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีไบเดนจะกดดันให้ประเทศที่เป็นแกนนำของกลุ่ม G20 ดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการขาดฉันทมติของที่ประชุมในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

ทั้งนี้ ประเทศ G20 คิดเป็น 80% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก และความคิดเห็นของที่ประชุมในครั้งนี้ถูกจับตามองเป็นอย่างมากก่อนถึงการประชุมโลกร้อน COP28 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในช่วงปลายปีนี้

 

ภาพ: Kay Nietfeld / Picture Alliance via Getty Images

อ้างอิง:

The post G20 เปิดฉากประชุมซัมมิตวันแรก ประกาศรับสหภาพแอฟริกาเป็นสมาชิกถาวร appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับตาประชุม G20 ผู้นำโลกจะคุยอะไรกัน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่แตกร้าว https://thestandard.co/g20-what-will-they-talk/ Fri, 08 Sep 2023 09:56:03 +0000 https://thestandard.co/?p=839178

เหลือเวลาอีกแค่เพียง 1 วัน การประชุม G20 ซึ่งอินเดียรับ […]

The post จับตาประชุม G20 ผู้นำโลกจะคุยอะไรกัน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่แตกร้าว appeared first on THE STANDARD.

]]>

เหลือเวลาอีกแค่เพียง 1 วัน การประชุม G20 ซึ่งอินเดียรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในปีนี้ก็จะเปิดฉากขึ้นแล้ว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอีเวนต์สำคัญประจำปฏิทินการเมืองโลก เนื่องจากผู้นำจากประเทศระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 19 ประเทศ บวกกับสหภาพยุโรป (EU) จะมาร่วมกันหารือประเด็นต่างๆ ที่เป็นวาระสำคัญของโลกในแต่ละปี

 

ปีนี้อินเดียได้พลิกโฉมการประชุม G20 ให้เป็นเวทีเจรจาทางการทูตสุดยิ่งใหญ่ โดยนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2023 อินเดียได้จัดการประชุมไปแล้วกว่า 200 ครั้งใน 60 เมือง ขณะที่มีการติดป้ายบิลบอร์ดและโปสเตอร์ขนาดใหญ่กระจายตัวทั่วกรุงนิวเดลี โดยเป็นภาพของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี พร้อมข้อความแสดงการต้อนรับผู้แทนจากทุกประเทศ อันเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่าอินเดียพร้อมแล้วที่จะรับบทบาทเจ้าภาพเวทีการประชุมระดับโลกที่หลายฝ่ายตั้งตาคอย

 

แถลงการณ์ร่วมจะวินหรือวืด?

 

สิ่งที่อินเดียมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งนั้นคือ ‘แถลงการณ์ร่วม’ ของแต่ละชาติที่จะออกมาภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม เพราะหากการประชุม G20 ปีนี้เกิดวืด ไม่สามารถบรรลุฉันทมติร่วมกันได้ ก็จะถือเป็นปีแรกในประวัติศาสตร์ที่ไร้ซึ่งแถลงการณ์ใดๆ หลังการประชุมรูดม่านลง

 

ทว่าความพยายามดังกล่าวอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มประเทศ G20 มีความคิดเห็นต่างกันในหลายประเด็น และประเด็นใหญ่ที่สุดก็หนีไม่พ้นสงครามยูเครน เฉกเช่นเดียวกับสถานการณ์ในการประชุม G20 เมื่อปี 2022 โดยย้อนกลับไปครั้งนั้น กว่าที่นานาประเทศจะเห็นชอบยอมออกแถลงการณ์ร่วมที่มีการประณามสงครามยูเครน ก็เล่นเอาเจ้าภาพอย่างอินโดนีเซียต้องปาดเหงื่อกว่าที่จะเฟ้นหาถ้อยคำที่เหมาะสมและได้รับการยอมรับจากทุกชาติสมาชิก รวมถึงรัสเซียและจีนที่มีท่าทีคัดค้านก่อนหน้านี้

 

โดยในที่สุดข้อความของแถลงการณ์ก็สรุปได้อย่างคร่าวๆ ว่า สมาชิก ‘ส่วนใหญ่’ ประณามสงครามในยูเครนอย่างรุนแรง แต่ถึงเช่นนั้นก็มีบางชาติที่มีมุมมองต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างออกไป

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าสถานการณ์ในวันนี้อาจยากลำบากกว่าที่เคย เพราะจีนและรัสเซียอาจไม่ยินยอมดังเช่นที่ผ่านมา ขณะที่ฝั่งโลกตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกา ก็คงไม่ยอมถอยเช่นกัน เพราะอยากจะให้แถลงการณ์ที่ออกมานั้นมีการระบุถ้อยคำประณามสงครามยูเครนอย่างชัดแจ้ง

 

ส่วนเจ้าภาพอย่างอินเดียนั้นก็เป็นชาติที่วางตัวเป็นกลางมาตลอด โดยพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่ประณามเพื่อนรักเก่าอย่างรัสเซีย จึงทำให้เป็นที่จับตาว่าแล้วโมดีจะแสดงออกอย่างไรในการประชุมที่เตรียมเปิดฉากขึ้นนี้ ท่ามกลางแรงกดดันจากทั้งสองฝั่ง

 

นอกจากนี้การที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และประธานาธิบดีสีจิ้นผิง แห่งจีน ไม่มาเข้าร่วมการประชุมด้วยตัวเอง ก็อาจทำให้การตัดสินใจต่างๆ ยากขึ้นกว่าเดิม เพราะถึงแม้รัสเซียจะเลือกส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงอย่าง เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเป็นผู้แทน รวมถึงจีนที่เลือกส่ง หลี่เฉียง นายกรัฐมนตรี มาแทนสีจิ้นผิง แต่เขาทั้งสองก็อาจไม่มีอำนาจมากพอที่จะตัดสินใจใดๆ ในนาทีสุดท้ายโดยไม่ปรึกษาผู้นำของตนเองเสียก่อน

 

แนวโน้มของการวืดแถลงการณ์ก็เคยปรากฏให้เห็นมาแล้ว เพราะการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีคลังกลุ่ม G20 เมื่อช่วงต้นปีก็ปิดฉากลงโดยไม่มีการออกแถลงการณ์ร่วมแต่อย่างใด คงต้องลุ้นกันว่าในที่สุดนั้นอินเดียจะแก้ปมที่ยุ่งเหยิงนี้ด้วยวิธีการใดกันแน่

 

ถกประเด็นเศรษฐกิจ Global South

 

แม้ประเด็นสงครามยูเครนที่ยืดเยื้อ-เรื้อรังจะใหญ่แค่ไหน แต่เจ้าภาพอย่างอินเดียก็หวังว่ามันจะไม่ใหญ่พอจนเข้ามาบดบังความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาของกลุ่มประเทศ Global South ซึ่งประกอบไปด้วยบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งอินเดียเตรียมที่จะผลักดันให้ถูกขึ้นโต๊ะเจรจาด้วย

 

ดังที่เกริ่นไปแล้วข้างต้นว่ากลุ่ม G20 เป็นการรวมตัวกันของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ถามว่าใหญ่แค่ไหน ก็ต้องแจกแจงแบบนี้ว่ามีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือ GDP รวมกันคิดเป็นสัดส่วนราว 85% ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้าคิดเป็น 75% ของทั้งโลก อีกทั้งยังมีประชากรคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 2 ใน 3 ของโลก

 

ที่ผ่านมานั้นอินเดียย้ำอยู่บ่อยครั้งว่าชาติสมาชิก G20 มีภาระความรับผิดชอบต่อประเทศที่ไม่ได้รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย อีกทั้งยังได้ตั้งตนขึ้นเป็นชาติผู้แทนที่คอยเป็นกระบอกเสียงให้กับ Global South ขณะที่สหภาพแอฟริกาก็ได้ประกาศส่งเสริมจุดยืนของอินเดียที่ต้องการมุ่งช่วยเหลือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งประสบปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหนี้สิน ตลอดจนราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงต่อเนื่องมาจากสงครามและโรคระบาด

 

ทันวี มาดัน (Tanvi Madan) นักวิชาการอาวุโสแห่งสถาบัน Brookings Institution กล่าวว่า อินเดียและบรรดาประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่ม G20 ต้องการให้ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เข้ามาช่วยมอบทุนสนับสนุนเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาต่างๆ ข้างต้น

 

แต่ประเด็นนี้ก็คงไม่ง่ายอีกเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นเรื่องของการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ผ่านมาอินเดียและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ พยายามเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยและสถาบันการเงินใหญ่ๆ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้ามาให้ความช่วยเหลือแก่ชาติต่างๆ ที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อชำระหนี้เงินกู้

 

ตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้คือจีน โดย เดวิด มัลพาสส์ อดีตประธานธนาคารโลก เคยกล่าวเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกมีหนี้สินรายปีรวมกันมากถึง 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์ และเงินจำนวน 2 ใน 3 จากสัดส่วนดังกล่าวก็มีจีนที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ โดยมีความเสี่ยงที่หลายประเทศจะผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์ความยากจนทวีความรุนแรง รวมถึงราคาอาหารและพลังงานที่จะถีบตัวสูงขึ้นอีกเป็นเงาตามตัว

 

มาดันกล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ต้องการเจ้าหนี้ที่ช่วยพวกเขาปรับโครงสร้างกำหนดเวลาการชำระหนี้ได้ และในบางกรณีก็อาจต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องการเงินมากขึ้นด้วย ซึ่งแม้ในตอนนี้เรายังไม่อาจรู้ได้ว่าผลลัพธ์จากการประชุมคืออะไร แต่แนวคิดหลักๆ คาดว่าจะเป็นเรื่องของการประนีประนอมให้มากขึ้น

 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 ชาติสมาชิก G20 ได้เห็นพ้องภายใต้กรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ของกลุ่มประเทศยากจน แต่การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นไปอย่างล่าช้า โดยชาติตะวันตกจวกว่าจีนเป็นชาติที่ถ่วงให้กระบวนการต่างๆ ชะลอตัว ขณะที่จีนก็โต้กลับว่าไม่เป็นความจริง

 

อย่างไรก็ตาม อินเดียคาดหวังว่าจะได้รับคำมั่นจากบรรดาประเทศร่ำรวยมากกว่านี้ โดยอินเดียสนับสนุนให้มีการขยายกรอบความร่วมมือดังกล่าวไปยังชาติ Global South มากขึ้น รวมถึงกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง แต่หากว่าชาติตะวันตกยังคงยืนกรานที่จะกล่าวโทษจีนว่าเป็นสาเหตุของวิกฤตหนี้สิน ก็อาจทำให้ความฝันของอินเดียนั้นไปไม่ถึงดวงดาวได้

 

นอกจากนี้อินเดียยังหวังที่จะผลักดันให้มีการกำหนดกฎระเบียบกำกับดูแลสกุลเงินคริปโตในระดับโลก และยกเครื่องสถาบันการเงินหลักๆ เช่น ธนาคารโลก และ IMF ด้วย

 

โลกร้อน-โลกรวน

 

อีกหนึ่งประเด็นสำคัญนอกเหนือไปจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์และเรื่องเงินๆ ทองๆ คือเรื่องของภาวะโลกรวน ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ที่อินเดียหยิบยกมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง โดยอินเดียกล่าวว่าประเทศยากจนบางประเทศนั้นมีความเปราะบางต่อภาวะสภาพอากาศสุดขั้วอย่างมาก

 

ผู้นำอินเดียได้เขียนบทความฉบับหนึ่งที่มีการเผยแพร่วานนี้ (7 กันยายน) โดยระบุว่า “ความทะเยอทะยานในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโลกรวนจะต้องสอดคล้องกับการดำเนินการด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี”

 

คำกล่าวของโมดีนั้นสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่แตกต่างกันของสมาชิก G20 เกี่ยวกับประเด็นการเงินที่จะนำมาใช้เป็นงบแก้ปัญหาโลกรวน โดยปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนานั้นแสดงออกชัดเจนว่าไม่อยากเข้าร่วมในเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะกังวลว่าจะกระทบต่ออุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินที่ไหลเวียนในเศรษฐกิจนั้นลดลง และในทางเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนาก็กล่าวโทษประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้วิกฤตสภาพอากาศลุกลาม และประเทศเหล่านี้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบด้วยการช่วยมอบงบประมาณ เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานแก่พวกเขา เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มประเทศดังกล่าว

 

ในข้อนี้ แฮปปีมอน เจคอป (Happymon Jacob) ศาสตราจารย์ด้านนโยบายต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัย Jawaharlal Nehru University ของอินเดีย กล่าวว่า สำหรับตัวเขาแล้ว เขาไม่คิดว่าการประชุม G20 ครั้งนี้จะให้ผลลัพธ์ที่เด็ดขาดเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อต่อสู้ภาวะโลกรวน แต่ถึงเช่นนั้นก็ชัดเจนว่าประเด็นสิ่งแวดล้อมจะเป็นหนึ่งในหัวข้อใหญ่ที่ชาติสมาชิก G20 รวมถึงเจ้าภาพอย่างอินเดีย จะร่วมกันผลักดันให้ชาติร่ำรวยทุ่มทรัพยากรมาช่วยเหลือปัญหานี้ให้มากขึ้นกว่าเดิม

 

การประชุมครั้งนี้ถือเป็นงานใหญ่สำหรับอินเดียที่จะต้องทำทุกอย่างให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี พร้อมกับผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เพราะมันจะช่วยส่งเสริมสถานะของอินเดียในฐานะชาติมหาอำนาจสำคัญบนเวทีโลก

 

โดยในช่วงเวลาที่เปราะบางเช่นนี้หากอินเดียสามารถสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้จริง ก็จะเป็นการแสดงให้โลกเห็นว่าอินเดียไม่ใช่แค่ ‘เข้าใจ’ และยังสามารถ ‘สร้างสมดุล’ ท่ามกลางการขับเคี่ยวกันของชาติต่างๆ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีโมดีในระดับโลก รวมถึงในระดับประเทศ ก่อนที่อินเดียจะเปิดฉากการเลือกตั้งทั่วไปรอบใหม่ในปีหน้าด้วย

 

ภาพ: Money SHARMA / AFP

อ้างอิง:

The post จับตาประชุม G20 ผู้นำโลกจะคุยอะไรกัน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่แตกร้าว appeared first on THE STANDARD.

]]>