ประวัติ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 29 Apr 2024 06:08:17 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 เปิดประวัติ ‘ปานปรีย์ พหิทธานุกร’ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ สายตรงบ้านจันทร์ส่องหล้า https://thestandard.co/biography-of-panpree-phitthanukorn/ Mon, 29 Apr 2024 06:08:17 +0000 https://thestandard.co/?p=927931

รู้จัก ‘ปานปรีย์ พหิทธานุกร’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่ […]

The post เปิดประวัติ ‘ปานปรีย์ พหิทธานุกร’ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ สายตรงบ้านจันทร์ส่องหล้า appeared first on THE STANDARD.

]]>

รู้จัก ‘ปานปรีย์ พหิทธานุกร’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน 1/1 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2567 ภายหลังจากมีการโปรดเกล้าฯ รายชื่อบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง

 

เนื่องจากในโผเศรษฐา 1/1 นายกรัฐมนตรีได้ปรับลดตำแหน่งของเขาจากรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้เหลือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพียงตำแหน่งเดียว

 

ย้อนกลับไป ปานปรีย์เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีประสบการณ์และความสามารถ เนื่องจากเคยร่วมงานในฐานะข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองกับหลายรัฐบาล ตั้งแต่รัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์, พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ, พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในพรรคชาติพัฒนา และเป็นสายตรง ทักษิณ ชินวัตร-คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ในช่วงที่เขาสังกัดพรรคไทยรักไทย, พลังประชาชน และเพื่อไทยอีกด้วย

 

นอกจากนี้ปานปรีย์ถือเป็นหนึ่งในลูกหม้อของพรรคเพื่อไทยแม้จะไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เขาช่วยงานเบื้องหลังมาโดยตลอด โดยเฉพาะงานด้านเศรษฐกิจ งานด้านต่างประเทศ งานด้านนโยบาย เช่นโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เขาก็เป็นส่วนหนึ่งในการคิดนโยบายดังกล่าวนี้ด้วย

 

THE STANDARD ชวนผู้ติดตาม ผู้อ่าน ทำความรู้จัก ‘ปานปรีย์ พหิทธานุกร’ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ที่มีประสบการณ์และความสามารถรอบด้าน รวมทั้งมีคอนเน็กชันสายตรงบ้านจันทร์ส่องหล้า

 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

The post เปิดประวัติ ‘ปานปรีย์ พหิทธานุกร’ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ สายตรงบ้านจันทร์ส่องหล้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประวัติ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ รัฐมนตรีคลังคนใหม่ กับโจทย์ท้าทายอย่าง ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ https://thestandard.co/biography-of-pichai-chunhavajira/ Sun, 28 Apr 2024 08:17:51 +0000 https://thestandard.co/?p=927670

เปิดประวัติ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าก […]

The post ประวัติ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ รัฐมนตรีคลังคนใหม่ กับโจทย์ท้าทายอย่าง ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เปิดประวัติ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนล่าสุด ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหารุมเร้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าศักยภาพมาหลายปี ปัญหาหนี้ครัวเรือน และปัญหาเชิงโครงสร้างมากมาย

 

นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าจับตาว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่จะมีบทบาทอย่างไรต่อโครงการ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ซึ่งได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายถึงความคุ้มค่าของโครงการ รวมถึงข้อเรียกร้องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องการทำให้กลุ่มเป้าหมายโครงการดังกล่าวมีความเฉพาะเจาะจง (Targeted) มากขึ้น

 

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพิชัยประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คนที่ 18 หลังจากดำรงตำแหน่งไม่นาน (ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567)

 

เปิดประวัติการศึกษา ‘พิชัย ชุณหวชิร’

 

  • ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโท บริหารธุรกิจ Master of Business Administration, Indiana University of Pennsylvania, USA
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการเงิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

เปิดประวัติการทำงาน ‘เคย’ ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง

 

ด้านการทำงาน นอกจากตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว พิชัยยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ได้แก่ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย, นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, กรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP, คณะกรรมการกลั่นกรองกรรมการรัฐวิสาหกิจ, คณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI, ประธานกรรมการ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP, ประธานกรรมการ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ BBGI

 

ความสัมพันธ์กับ 3 นายกฯ เศรษฐา-ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ

 

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 พิชัยได้รับการแต่งตั้งจาก ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และนั่งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

 

ในปี 2544-2552 พิชัยเข้ามานั่งบริหารดูแลงานคุมสายการเงินของ บมจ.ปตท. หรือ PTT ในยุครัฐบาลของนายกฯ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ที่มีนโยบายดำเนินการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ขายหุ้น IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (ตลท.) จนได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน PTT และเกษียณอายุการทำงานที่องค์กรนี้

 

อีกทั้งในช่วงปี 2557 พิชัยถือเป็นหนึ่งพยานคนสำคัญในคดีปล่อยปละละเลยการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่ง ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ ได้ยื่นเสนอต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้เรียกพิชัยเข้ามาให้ปากคำในคดีนี้

 

โดยยิ่งลักษณ์ชี้แจงเหตุผลในหนังสือยื่นคำร้องถึงการขอเสนอชื่อพิชัยมาเป็นพยานในตอนนั้นว่า พิชัยเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณวุฒิ เป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านบัญชี และเป็นพยานบุคคลภายนอก ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตนเอง

 

สื่อต่างชาติจับตา ‘พิชัย’ รับ ‘เผือกร้อน’ ต่อนายกฯ

 

ด้านสื่อต่างชาติต่างๆ อย่าง Bloomberg, Reuters และ Nikkei Asia จับตามองว่าพิชัยกำลังรับไม้ต่อ โดยต้องเร่งแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็นหนี้ครัวเรือน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ล้าหลังเพื่อนบ้านในภูมิภาค

 

พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากนี้พิชัยจะต้องมาดูแลนโยบายต่างๆ ต่อจากนายกฯ ซึ่งรวมถึงโครงการเรือธงอย่าง ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ซึ่งได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความคุ้มค่าและความถูกต้องทางกฎหมาย

 

อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมารัฐบาลได้ปฏิเสธคำวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ และเดินหน้าโครงการต่ออย่างเต็มที่ แม้ว่า ธปท. จะแนะนำให้มุ่งเป้าไปที่กลุ่มเปราะบางเท่านั้น

 

อ้างอิง:

The post ประวัติ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ รัฐมนตรีคลังคนใหม่ กับโจทย์ท้าทายอย่าง ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดประวัติ 5 รัฐมนตรีหญิงป้ายแดงรัฐบาลเศรษฐา 1 https://thestandard.co/5-new-women-minister-from-srettha-government/ Mon, 04 Sep 2023 13:50:53 +0000 https://thestandard.co/?p=837393 รัฐบาลเศรษฐา 1

THE STANDARD ชวนพิจารณาประวัติ-เส้นทางการเมืองของ 5 รัฐ […]

The post เปิดประวัติ 5 รัฐมนตรีหญิงป้ายแดงรัฐบาลเศรษฐา 1 appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐบาลเศรษฐา 1

THE STANDARD ชวนพิจารณาประวัติ-เส้นทางการเมืองของ 5 รัฐมนตรีหญิงจาก 3 พรรคการเมือง ที่จะมาขับเคลื่อนภารกิจสำคัญ 5 กระทรวงของรัฐบาลภายใต้การนำของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 หรือที่เรียกกันว่ารัฐบาลเศรษฐา 1

 

รัฐบาลเศรษฐา 1 รัฐบาลเศรษฐา 1 รัฐบาลเศรษฐา 1 รัฐบาลเศรษฐา 1

 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

The post เปิดประวัติ 5 รัฐมนตรีหญิงป้ายแดงรัฐบาลเศรษฐา 1 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไม่ใช่แค่โลโก้ร้าน เคเอฟซี ! ประวัติศาสตร์ความป๊อปไอดอลของ ‘ผู้พันแซนเดอร์ส’ ที่เป็นทั้งตัวแทนแบรนด์ ตัวละคร รับบทนำในหนังรัก จนถึงมีมบนโลกอินเทอร์เน็ต https://thestandard.co/kfc-history/ Tue, 02 Aug 2022 10:22:09 +0000 https://thestandard.co/?p=661822 KFC

‘แม้ตัวจากไป แต่ใจยังคงอยู่’ นี่คงเป็นสโลแกนของ เคเอฟซี […]

The post ไม่ใช่แค่โลโก้ร้าน เคเอฟซี ! ประวัติศาสตร์ความป๊อปไอดอลของ ‘ผู้พันแซนเดอร์ส’ ที่เป็นทั้งตัวแทนแบรนด์ ตัวละคร รับบทนำในหนังรัก จนถึงมีมบนโลกอินเทอร์เน็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>
KFC

‘แม้ตัวจากไป แต่ใจยังคงอยู่’ นี่คงเป็นสโลแกนของ เคเอฟซี ที่ไม่ได้ป่าวประกาศกันแบบแจ่มชัด แต่ราวกับองค์กรยึดถือและปฏิบัติตลอดเวลา เพราะดูเหมือนว่าทั้งรสชาติความอร่อยที่คงเส้นคงวาและการสร้างเอกลักษณ์ด้านรสชาติให้เข้ากับคนแต่ละประเทศ กับการนำคาแรกเตอร์ผู้พันมาใช้ทำการตลาดในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์และหลากหลาย จะทำให้หัวใจทั้งสองของ KFC อยู่ยืนยาวมาเกือบ 70 ปี โดยเฉพาะ ‘ผู้พันแซนเดอร์ส’ ที่ยังคงเป็นที่รู้จักในหมู่คนทุกเพศทุกวัยจนถึงทุกวันนี้

 

ผู้พันแซนเดอร์ส หรือ ฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอร์ส เป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นสูตรและเจ้าของหนึ่งในร้านอาหารไก่ทอดเชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง KFC ที่ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 25,000 สาขาใน 145 ประเทศทั่วโลก

 

ไม่เพียงแต่เขาจะถูกจดจำในฐานะเจ้าของสูตรไก่ทอดรสชาติคอมฟอร์ต แต่ชายคนนี้ยังได้กลายเป็นทั้งมาสคอตร้านตัวเองและสัญลักษณ์ของป๊อปคัลเจอร์และป๊อปไอดอลของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอเมริกันอีกด้วย

 

แต่รู้ไหมว่าตำแหน่งผู้พันไม่ได้มาเพราะเข้าร่วมกองทัพ แต่แซนเดอร์เป็นผู้พันเพราะได้รับตำแหน่ง ‘ผู้พัน’ (Kentucky Colonel) จากการเฉลิมเกียรติยศสูงสุดของรัฐเคนทักกี เมื่อปี 1950 ที่มอบโดยรัฐบาลสหรัฐฯ เพราะเป็นมหาเศรษฐีร้านอาหารที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ หลังจากนั้นเป็นต้นมาเขาได้เริ่มสร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวเองด้วยการไว้เคราแพะ ผมสีขาว สวมแว่นกรอบดำ สวมเสื้อสูทสีขาว กับผูกไทสีดำ

 

หลังจากที่ผู้พันแซนเดอร์สเสียชีวิตในปี 1980 บริษัทรอมากกว่า 1 ทศวรรษเพื่อให้สามารถนำภาพลักษณ์ของเขาไปใช้ในเชิงพาณิชย์และถูกต้องตามหลักกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ได้ นั่นทำให้ภาพลักษณ์ของแซนเดอร์เป็นมากกว่าเจ้าของร้านอาหาร แต่เป็นตั้งแต่ตัวแทนแบรนด์ ตัวละคร รับบทนำในหนังรัก มีบทบาทในการสร้างงานสร้างอาชีพ จนถึงมีมบนโลกอินเทอร์เน็ต 

 

เมื่อมองย้อนกลับไป เราจะเห็นเส้นทางสายป๊อปคัลเจอร์ของคาแรกเตอร์ผู้พันมากมาย เริ่มตั้งแต่ปี 1994 ที่เริ่มมีการเฟ้นหานักแสดงมารับบทเป็นผู้พันแซนเดอร์ ซึ่ง Henderson Forsythe ก็ได้เอาชนะผู้เข้าร่วมออดิชันกว่า 200 คน และได้รับบทผู้พันแซนเดอร์สในแคมเปญโฆษณาที่มีมูลค่าสูงถึง 18.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 678 ล้านบาท) ซึ่ง Henderson อ่านหนังสือชีวประวัติของแซนเดอร์สและดูหนังเก่าๆ อย่างจริงจังเพื่อเตรียมตัวมารับบทนี้

 

ในปี 1998 ผู้พันก็มีตัวละครแอนิเมชันในชื่อ ‘The Colonel’ และได้นักแสดงชื่อ Randy Quaid เป็นผู้พากย์เสียง โดยที่โฆษณาตัวนั้นถูกใช้ในการโปรโมตเมนูไก่ป๊อปที่เพิ่งวางขายในช่วงนั้น

 

ในปี 2015 ตัวละครผู้พันแซนเดอร์ก็กลับมาอีกครั้งในรูปแบบของไลฟ์แอ็กชันที่รับบทโดย Darrell Hammond นักแสดงตลกและนักเลียนแบบท่าทางจากรายการ Saturday Night Live ซึ่งเป็นรายการดังในสหรัฐฯ แต่หลังจากนั้น 3 เดือน ได้มีการเปลี่ยนตัวนักแสดงเป็นนักแสดงตลกอีกคนอย่าง Norm Macdonald ซึ่งเขาก็รับบทผู้พันไว้ได้อย่างน่าจดจำด้วยการจิกกัดโฆษณาของ Darrell Hammond ว่าเป็นผู้พันตัวปลอมด้วย

 

หลังจากนั้นก็ได้มีการผลัดเปลี่ยนตัวนักแสดงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่นักแสดงตลกผู้มารับบทผู้พันคนถัดไปอย่าง Jim Gaffigan จนถึงนักแสดงชื่อดังอย่าง Ray Liotta จากภาพยนตร์ Goodfellas (1990)

 

ถึงจุดหนึ่ง ภาพลักษณ์ของเขาก็ได้รับการตีความใหม่ตามกาลเวลา ตั้งแต่ทรงผม ท่าทาง การพูดการจา และรูปแบบการสวมใส่เสื้อผ้า นักแสดงชื่อ George Hamilton รับบทเป็น ‘ผู้พันไก่กรอบสูตรพิเศษ’ (Extra Crispy Colonel) ที่ฉีกภาพเดิมของผู้พัน เพิ่มความเซ็กซี่ขยี้ใจด้วยการคลายเนกไทและปลดกระดุมเม็ดแรกออก หรือจะเป็นในปี 2016 ที่ผู้พันแซนเดอร์กลายมาเป็นโค้ชทีมฟุตบอล Kentucky Buckets ซึ่งรับบทโดย Rob Riggle

 

แคมเปญโฆษณาของ KFC ที่ใช้ผู้พันแซนเดอร์สเป็นจุดขายประสบความสำเร็จมากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Extra Crispy Colonel ที่การปลดกระดุมเม็ดแรกของเขาได้เพิ่มยอดขายไก่ทอดกรอบสูตรพิเศษ (Extra Crispy Chicken) แบบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

 

ผู้บริหาร KFC ยังคงเชื่อมั่นในวิธีการฮาร์ดเซลแบบโต้งๆ ด้วยโฆษณาและจุดยืนแบรนด์ของพวกเขาที่เต็มไปด้วยความแตกต่างจากแบรนด์อื่น และยังสามารถสร้างการพูดถึงในวงกว้างได้อีกด้วย แม้ว่าลูกค้า 20% จะสารภาพตามตรงว่าเกลียดแคมเปญเหล่านี้แค่ไหน

 

โฆษณาของผู้พันแซนเดอร์สยังไม่หยุดที่จะสร้างการพูดถึงในหมู่คนดู ซึ่งในปี 2017 KFC ก็มาแปลกอีกครั้ง ด้วยการนำ Billy Zane นักแสดงจากภาพยนตร์ Titanic มารับบทเป็น ‘ผู้พันตัวสีทอง’ ที่นำนักแสดงมาทาสีทองทั้งตัว เพื่อโปรโมตไก่ทอดจอร์เจียที่มีสีเหลืองทองอร่าม

 

การสร้างลุคใหม่ให้ผู้พันน่าจะยังไม่เพียงพอ เพราะหลังจากนั้น 2-3 เดือนถัดมา ทุกคนก็ได้เห็นผู้พันแซนเดอร์สในโฆษณาที่อ้างอิงเหตุการณ์ประธานาธิบดี John F. Kennedy กล่าวแถลงการณ์ แต่เปลี่ยนจากแถลงการณ์ปล่อยกระสวยอวกาศทำภารกิจสำรวจดวงจันทร์ เป็นเปิดตัว (Launch) แซนด์วิชซิงเกอร์เบอร์เกอร์แทน ซึ่งนักแสดงที่มารับบทเป็นผู้พันแซนเดอร์เวอร์ชันล้อเลียนคนนี้คือนักแสดงชื่อ Rob Lowe

 

ในปี 2017 ก็มีการแหวกแนวจากการโฆษณา เป็นการปล่อยนิยายสั้นในชื่อ ‘ไก่นุ่มแห่งความปรารถนา’ (Tender Wings of Desire) และยังมีการปรากฏตัวของผู้พันแซนเดอร์สในคอมิกค่าย DC ร่วมกับตัวละครฮีโร่ชื่อดังกลุ่ม Justice League อย่าง The Flash กับ Green Lantern อีกด้วย

 

จากนั้นในปี 2018 KFC ดูเหมือนจะมั่นใจในความแข็งแรงของแฟรนไชส์ จึงได้ทดลองกลยุทธ์ใหม่สุดแหวกแนว คือทำสปอตโฆษณาต้นทุนต่ำที่ใช้นักแสดงหน้าใหม่มารับบทเป็น ‘ผู้พันคุณค่า’ (Value Colonel) หรือผู้พันที่ต้องการส่งสารว่าคุณค่าที่แท้จริงอยู่ในรสชาติและคุณภาพอาหารในเมนู จึงไม่ต้องใช้ทุนสูง ไม่ใส่ CG หรือต้องจ้างเซเลบมารับประกัน ซึ่งสร้างเสียงฮือฮาและเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง

 

ถึงกระนั้นคนดังยังคงจำเป็นสำหรับการโฆษณาอยู่ และ KFC ก็ได้สร้างเสียงฮือฮาอีกรอบในปีเดียวกันด้วยการนำ Reba McEntire นักร้องและนักแสดงชื่อดังมารับบทเป็นผู้พันหญิงคนแรก และยังมี Jason Alexander จากซีรีส์ Seinfeld มารับบทในเดือนสิงหาคมเพื่อโปรโมทถังบักเก็ตแบบครอบครัวอีกด้วย

 

ผู้พันแซนเดอร์สยังคงโชว์ความเป็นป๊อปคัลเจอร์อย่างต่อเนื่อง ด้วยการปรากฏตัวในละครหลังข่าวเรื่อง ‘General Hospital’ โดยเป็นหนึ่งในเพื่อนของตัวละครหลัก และในช่วงปลายปี 2018 ผู้พันก็ได้ปรากฏตัวคู่กับ Mrs. Butterworth ผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมสำเร็จรูป เพื่อโปรโมตเมนูไก่และวาฟเฟิล ซึ่งเป็นเมนูคอมฟอร์ตหัวใจของชาวอเมริกัน

 

ต่อมา Sean Astin เจ้าของบท Rudy จากหนังอเมริกันฟุตบอลชื่อดังปี 1993 ได้มารับบทเป็น Colonel Rudy เพื่อเปิดตัวเมนูปีกไก่ และยังมี Hafþór Júlíus ‘Thor’ Björnsson หรือ The Mountain จากซีรีส์ Game of Thrones ปรากฏตัวในมาดผู้พันกล้ามล่ำ ตัวสูงใหญ่ เพื่อโปรโมตเมนูคอมโบความอิ่มจัดหนักจัดเต็มของ Double Crispy Colonel Sandwich

 

และยังไม่หมดเท่านี้ ยังมี Colonel Robocop หรือโรโบคอปผู้พันแซนเดอร์ส ในปี 2019 ที่มาในสโลแกน ‘มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใหม่ล่าสุดและยกระดับเหนือชั้นที่สุดที่เคยมีมา’ ในการปกป้องและป้องกันสูตร 11 สมุนไพรและเครื่องเทศที่อยู่เบื้องหลังความอร่อยของ KFC รั่วไหล

 

และแปลกที่สุดเห็นจะเป็นการลองทำการตลาดแนวใหม่ด้วย ‘I Love You Colonel Sanders: A Finger Licking Good Dating Simulator’ เกมจีบหนุ่มที่คุณจะได้จีบผู้พันแซนเดอร์ส ด้วยการเข้าร่วมคลาสสอนทำอาหารกับเขาที่มาในมาดหนุ่มหล่อในอุดมคติ พร้อมกับพยายามเอาชนะใจเขาไปด้วย

 

การยกระดับความป๊อปเหนือไปอีกขั้น ครั้งนี้ในปี 2020 KFC ได้สปอนเซอร์หนังสั้นชื่อ ‘A Recipe for Seduction’ ฉายทางช่อง Lifetime ครั้งนี้ผู้พันมาในมาดหนุ่มกล้ามใหญ่ วัยละอ่อนกว่าเดิม ที่รับบทโดยนักแสดงชื่อ Mario Lopez หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับทายาทหญิงตระกูลเศรษฐีที่จะต้องเลือกระหว่างคนที่สมฐานะและตามใจพ่อแม่ กับเชฟคนใหม่ในบ้านที่เธอหลงรัก หลังออกฉายหนังได้คะแนน IMDb อยู่ที่ 4.6 คะแนน แต่ได้คะแนนจากเว็บ Rotten Tomatoes สวนทางที่ 70%

 

ดูเหมือนว่าสิ่งที่ผู้พันแซนเดอร์สขายให้กับนักลงทุนอย่างร้านภายใต้ชื่อ KFC และสูตรไก่ทอดจะไม่ใช่แค่สองเหตุผลที่แฟรนไชส์นี้ประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่แข็งแรงกว่ากลับเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่าง ‘ตัวตน’ (Identity) ของไอคอนป๊อปคัลเจอร์ในคาแรกเตอร์ของคุณลุงชุดขาวเนกไทดำที่ดูใจดีคนนี้ ที่เมื่อผนวกกับมาตรฐานและการทำการตลาดที่เข้าข่ายท้าทายตัวเองอยู่ตลอดแล้ว ก่อให้เกิดการจดจำ ความภักดีต่อแฟรนไชส์ และเชื้อเชิญให้คนมาจับต้องไก่กับเบอร์เกอร์ในร้านราวกับกวักมือเรียกอย่างไม่หยุดไม่หย่อนแบบ 24/7 และ 365/1 

 

เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าเหตุใด KFC กับผู้พันที่จากเราไปแล้วเมื่อ 40 ปีที่แล้วถึงยังคงอยู่ และมีแนวโน้มว่าจะยังไม่ไปไหน แม้จะเปลี่ยนผ่านไปถึงยุครุ่นลูก รุ่นหลาน รุ่นเหลน หรือรุ่นไกลกว่านั้นก็ตาม

 

ภาพ: Gettyimages

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post ไม่ใช่แค่โลโก้ร้าน เคเอฟซี ! ประวัติศาสตร์ความป๊อปไอดอลของ ‘ผู้พันแซนเดอร์ส’ ที่เป็นทั้งตัวแทนแบรนด์ ตัวละคร รับบทนำในหนังรัก จนถึงมีมบนโลกอินเทอร์เน็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประชาธิปัตย์ ลุยแก้ข้อบังคับพรรค สกัดพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ แอบอ้างตำแหน่ง แสวงประโยชน์ https://thestandard.co/democrats-party-go-ahead-to-amend-party-regulations/ Fri, 29 Apr 2022 12:47:50 +0000 https://thestandard.co/?p=623159 พรรคประชาธิปัตย์

วันนี้ (29 เมษายน) รัชดา ธนาดิเรก กรรมการบริหารพรรคประช […]

The post ประชาธิปัตย์ ลุยแก้ข้อบังคับพรรค สกัดพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ แอบอ้างตำแหน่ง แสวงประโยชน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พรรคประชาธิปัตย์

วันนี้ (29 เมษายน) รัชดา ธนาดิเรก กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางในการตรวจสอบคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกผู้ที่จะสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า จากกรณีอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดคดีทางเพศ ซึ่งพรรคเสียใจและขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างยิ่ง

 

เพื่อเป็นการยืนยันว่า พรรคไม่นิ่งเฉยต่อเรื่องดังกล่าว รวมถึงเน้นย้ำในจุดยืนของพรรคเรื่องการต่อต้านการคุกคามและการล่วงละเมิดทางเพศ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ทำหน้าที่กำหนดแนวทางในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นสมาชิกพรรค และลักษณะต้องห้าม รวมทั้งเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยธรรมทางเพศของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมืองของพรรค และมีมาตรการในการช่วยเหลือให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกรณีที่เป็นข่าวด้วย

 

รัชดากล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการ 9 ท่าน ซึ่งประกอบด้วยบุคคลภายในพรรคและผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรภาคประชาสังคม ที่มีบทบาทด้านการต่อต้านการคุกคามและละเมิดทางเพศ ได้ทำงานร่วมกันและได้ข้อสรุปคือ ให้ระบุในข้อบังคับพรรค  

 

  1. เพิ่มคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคให้ครอบคลุมความผิดเกี่ยวกับเพศ  

 

  1. เพิ่มหมวดแนวปฏิบัติว่าด้วยการต่อต้านการละเมิดและหรือคุกคามทางเพศ 

 

  1. จัดกิจกรรมรณรงค์และสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการต่อต้านการละเมิดและหรือการคุกคามทางเพศ และการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งข้อเสนอนี้จะนำเข้าสู่การพิจารณาของกรรมการบริหารและที่ประชุมใหญ่พรรคเพื่อปรับแก้ข้อบังคับพรรคต่อไป

 

รัชดา กล่าวว่ารายละเอียดมีดังนี้

 

  1. เพิ่มข้อ 19 คุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรค ในข้อบังคับพรรค คือต้องไม่ถูกคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดทางเพศ รวมถึงการกระทำความรุนแรงต่อบุคคลในครอบครัว เด็ก สตรี รวมทั้งการค้ามนุษย์ และการค้าประเวณี และให้เพิ่มถ้อยคำดังกล่าวในใบสมัครสมาชิกพรรค ลักษณะต้องห้าม โดยเพิ่มเป็นข้อ 22

 

  1. เพิ่มหมวดในข้อบังคับพรรค แนวปฏิบัติว่าด้วยการต่อต้านการละเมิดและหรือคุกคามทางเพศ ซึ่งครอบคลุมความรุนแรงที่เกิดจากอคติทางเพศ ความผิดทางอาญาเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ความผิดเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัว และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ โดยให้มีแนวปฏิบัติ ดังนี้  

 

2.1 มีกลไกรับทราบข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดและหรือคุกคามทางเพศของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและกรรมการบริหารพรรค

 

2.2 มีคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีมีการละเมิดหรือการคุกคามทางเพศตามแนวทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ การตรวจสอบต้องได้รับการยินยอมจากผู้เสียหาย ดำเนินการเป็นความลับ และเคารพข้อมูลส่วนบุคคลของทั้งผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหา 

 

2.3 หากพบว่ามีการกระทำความผิดจริงให้ดำเนินการตามข้อบังคับพรรค

 

  1. พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าจะไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม จะไม่ปกป้องหรือช่วยเหลือคนผิดหรือผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และพร้อมให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรม

 

  1. ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและด้านสังคมอื่นๆ ให้แก่ผู้เสียหาย

 

  1. จัดการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรในพรรคและสมาชิกพรรคในเรื่องการต่อต้านการละเมิดและหรือการคุกคามทางเพศ

 

  1. จัดกิจกรรมรณรงค์และสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการต่อต้านการละเมิดและหรือการคุกคามทางเพศ และการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม

 

รัชดายังได้กล่าวขอบคุณกรรมการจากภายนอกทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง (ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม), เรืองรวี พิชัยกุล (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา), ธนวดี ท่าจีน (ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง) และ เสาวลักษณ์ ทองก๊วย (กรรมการสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ) ที่ได้ทุ่มเทความตั้งใจให้กับภารกิจนี้ ทุกท่านมองเห็นประโยชน์ตรงกันว่าปัญหาการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศไม่ได้เกิดขึ้นกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น มันเป็นปัญหาสังคม ซึ่งต้องช่วยกันแก้ไข อย่าให้เพียงเรื่องนี้เป็นประเด็นเฉพาะกิจ ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการชุดนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับพรรคการเมืองอื่นด้วย พรรคการเมืองต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดการใช้ตำแหน่งทางการเมืองเพื่อแสวงประโยชน์ทางเพศ

 

“สำหรับผู้เสียหายจากกรณีที่เกิดขึ้นนี้ พรรคพร้อมให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและด้านสังคมอื่นๆ ซึ่งสามารถพูดคุยกับมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม และมูลนิธิเพื่อนหญิงได้ และขอยืนยันว่าเราจะไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและปกป้องคนผิดหรือผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด” รัชดากล่าว

The post ประชาธิปัตย์ ลุยแก้ข้อบังคับพรรค สกัดพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ แอบอ้างตำแหน่ง แสวงประโยชน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กว่าจะมาเป็นวลาดิเมียร์ ปูติน: ชายผู้เริ่มเปิดเกมสงครามรัสเซีย-ยูเครน https://thestandard.co/vladimir-putin-personal-record/ Mon, 28 Feb 2022 12:48:33 +0000 https://thestandard.co/?p=600050 Vladimir Vladimirovich Putin

ณ เวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อของบุรุษนามว่า ‘วลาดิเม […]

The post กว่าจะมาเป็นวลาดิเมียร์ ปูติน: ชายผู้เริ่มเปิดเกมสงครามรัสเซีย-ยูเครน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Vladimir Vladimirovich Putin

ณ เวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อของบุรุษนามว่า ‘วลาดิเมียร์ ปูติน’ ผู้สั่งการให้กองทัพรัสเซียภายใต้บัญชาการบุกยูเครน ผู้เป็นคู่สงครามกับโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีอย่างเต็มอัตรา สร้างความช็อกและตกตะลึงไปทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นการเดิมพันเกือบหมดหน้าตักที่ต้องแลกเกือบทุกอย่างเลยก็ว่าได้

 

เราไปทำความรู้จักกันว่า ‘วลาดิเมียร์ ปูติน’ ผู้นำที่บ้าดีเดือดแห่งรัสเซียผู้นี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร

 

วัยเด็กยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

วลาดิเมียร์ วลาดิมีโรวิช ปูติน (Vladimir Vladimirovich Putin) เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1952 ณ เมืองเลนินกราด (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) เป็นบุตรของ วลาดิเมียร์ สปิริโดโนวิช ปูติน (ชื่อเดียวกับพ่อ) และมาเรีย อิวานอฟนา ปูตินา เป็นบุตรคนที่ 3 ของครอบครัว พี่ชาย 2 คนเสียชีวิตก่อนที่เขาจะเกิด โดยคนแรก อัลเบิร์ต เสียชีวิตก่อนเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 และพี่ชายคนที่ 2 วิคเตอร์ เสียชีวิตจากโรคคอตีบในช่วงที่เลนินกราดถูกปิดล้อมโดยนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2

 

ครอบครัวปูตินมีอพาร์ตเมนต์บนชั้น 5 ของบ้านเลขที่ 12 ตรอกบาสคอฟ กลางเมืองเลนินกราด โดยเป็นบ้านที่เขาอยู่มาโดยตลอด จนกระทั่งได้เข้าร่วมหน่วยสืบราชการลับเคจีบี (KGB)

 

ในวัยเด็กปูตินได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประถมหมายเลข 193 ก่อนที่จะเข้าเรียนมัธยมที่โรงเรียนหมายเลข 281 ที่เป็นโรงเรียนสายเคมีซึ่งร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยี (Technological Institute) และจบการศึกษาในปี 1970

 

ปูตินในวัย 17 ปี มีความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมกับหน่วยสืบราชการลับ KGB เขามีความฝันตั้งแต่เด็กๆ และมีแพสชันจากบรรดาหนังจารกรรมฉบับโซเวียต ในห้องที่บ้านนอกเมืองของเขาที่ทอสโน (Tosno) เคยมีรูปของ ยาน เบียร์ซิน (Yan Berzin) หนึ่งในผู้ก่อตั้งหน่วยข่าวกรองของโซเวียต ผู้มีเชื้อสายลัตเวีย เป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าเขาอินกับ KGB มาโดยตลอดตั้งแต่วัยเด็ก ดังนั้นปูตินในวัย 17 ปีจึงได้วอล์กอินไปตามที่ตั้งหน่วย KGB ทุกที่ทั่วเมือง เพื่อสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเจ้าหน้าที่รายหนึ่งซึ่งอาจจะเห็นแววของปูตินได้แนะนำให้ปูตินไปศึกษาต่อในสายมนุษย์ศาสตร์

 

วัยรุ่นยุคสงครามเย็นกำลังเข้มข้น

ปูตินในช่วงปี 1970-1975 จึงได้เป็นนักศึกษาแผนกกฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเลนินกราด (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ที่ซึ่งปูตินได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต โดยหัวข้อวิทยานิพนธ์คือ ‘Most favoured nation principle’ ที่สำคัญในช่วงชีวิตมหาวิทยาลัยนี้ได้พบกับอาจารย์อนาโตเลีย ซอบชัก (Anatolia Sobchak) ผู้ที่ในอนาคตจะได้เป็นผู้ทำคลอดอนาคตทางการเมืองให้กับปูตินนั่นเอง

 

Vladimir Vladimirovich Putin

ภาพ: Russian Archives / picture alliance via Getty Images

 

10 ปีแห่งการเตรียมความพร้อมเป็นสุดยอดสายลับ

หลังจบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตในปี 1975 ปูตินได้รับการติดยศเป็นนายร้อยตรีเหล่าทหารปืนใหญ่ ก่อนที่จะถูกส่งเข้าไปอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการสายลับ และได้รับการติดยศเป็นร้อยตรีอาวุโส ปูตินเติบโตในสายงานในองค์กรหน่วย KGB ประจำเลนินกราดมาโดยลำดับ ทั้งสายการต่อต้านข่าวกรองและการข่าวกรองนอกประเทศ ซึ่งถ้าพูดกันตรงๆ ก็คือการปฏิบัติการเป็นสายลับอย่างเต็มตัวในดินแดนต่างประเทศนั่นเอง ที่สำคัญปูตินยังได้เข้าเรียนภาษาเยอรมันด้วย

 

ชีวิตสายลับเต็มตัว

หลังจากที่ปูตินได้พิสูจน์ตัวเองให้หน่วยงานเห็นแล้วว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานได้อย่างยอดเยี่ยม มีระเบียบวินัย และมีความสุขุมรอบคอบ จึงได้รับการคัดเลือกส่งไปปฏิบัติการ ณ เมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมนีตะวันออก ที่เป็นดินแดนในกลุ่ม Eastern Bloc และเป็นหนึ่งในพื้นที่หน้าด่านของกลุ่มดินแดนหลังม่านเหล็กที่ต้องประชิดกับดินแดนโลกเสรีที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และโชคชะตาที่พัดพาปูตินมาเยอรมนีตะวันออกในครั้งนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนของเขาและของโลกในเวลาต่อมา

 

ปูตินถูกส่งเข้าไปเป็นผู้แทน KGB ประจำกระทรวงความมั่นคงภายในแห่งเยอรมนีตะวันออก โดยมีพันเอกลาซาร์ มัตเวเยฟ (Col. Lazar Matveyev) เป็นผู้บังคับบัญชา โดยปูตินมีฉากหน้าเป็นผู้อำนวยการบ้านแห่งมิตรภาพโซเวียต-เยอรมนีตะวันออก หน่วยงานที่ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน สาขาเดรสเดน ภารกิจหลักคือ การปฏิบัติการด้านข่าวกรองจากประเทศฝ่ายตรงข้ามอย่างประเทศกลุ่มยุโรปตะวันตกที่เป็นพันธมิตรสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีตะวันตก ที่มีการติดตั้งขีปนาวุธพิสัยกลางและพิสัยใกล้พุ่งเป้ามายังสหภาพโซเวียต โดยในช่วงที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ในเดรสเดรน เขาพำนักอยู่ในอพาร์ตเมนต์ 3 ห้องนอนที่เป็นที่พักรับรองของเหล่านายตำรวจลับสตาซี (Stasi) แห่งเยอรมนีตะวันออก รวมไปถึงรถยนต์ ‘ฌิกูลี (Zhiguli) รุ่น 6 รุ่นยอดนิยมของโซเวียตในยุคนั้น เมื่อหน้าที่การงานของเขาเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ไต่เต้าขึ้นมาจนกระทั่งติดยศพันโท ผู้ช่วยของผู้บังคับบัญชาหน่วย KGB ในเดรสเดน

 

กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย – สิ่งที่จะเปลี่ยนโลกไปตลอดกาล

ปูตินปฏิบัติงานเรื่อยมา จนถึงปี 1989 ที่เริ่มเกิดความเปลี่ยนแปลงในยุโรปตะวันออก นโยบายของมิคาอิล กอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตในขณะนั้น มีการประนีประนอมกับโลกตะวันตกมากขึ้น ประเทศที่เคยอยู่ในกลุ่ม Warsaw Pact ใต้ร่มเงาโซเวียตเริ่มทยอยเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย โดยที่สหภาพโซเวียตไม่เข้ามาแทรกแซง จึงเกิดเป็นเหตุการณ์โดมิโนที่รัฐคอมมิวนิสต์พังพาบต่อๆ กันไป ภาพกำแพงเบอร์ลินที่เคยเป็นสัญลักษณ์แห่งเขตอำนาจจักรวรรดิโซเวียตถูกรื้อออกยังคงติดตาของปูติน 

 

ในเดือนธันวาคม ปี 1989 ฝูงชนชาวเยอรมันได้บุกกรูเข้ามายังที่ทำการ KGB ที่บ้านเลขที่ 4 ถนน Agelikastrasse เพื่อเข้ายึดเอกสารเกี่ยวกับตำรวจลับ ปูตินได้เผาทำลายเอกสารหลักฐานได้จำนวนหนึ่งก่อนที่ขบวนผู้ชุมนุมจะบุกมาถึง ถึงแม้ว่าปูตินจะติดอาวุธและมีสิทธิ์ที่จะยิงใครก็ได้ที่บุกรุกเข้ามาในพื้นที่หน่วยงาน แต่เขาก็เลือกที่จะใช้การเจรจา จนกระทั่งกลุ่มผู้ประท้วงยอมถอยออกไป ปูตินประจักษ์แล้วว่า ยุคสมัยแห่งจักรวรรดิโซเวียตกำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว 

 

ในที่สุดภารกิจของ KGB ในเยอรมนีตะวันออกก็สิ้นสุดลงในปี 1990 หลังเยอรมนีรวมประเทศ ภารกิจของปูตินในฐานะสายลับ KGB ในยุโรปตะวันออกก็ได้สิ้นสุดลง ปูตินจึงเดินทางกลับสหภาพโซเวียต พร้อมกับภาพกำแพงเบอร์ลินที่ล่มสลายที่ยังคงติดตามาด้วย ปูตินขอร้องให้ต้นสังกัดส่งเขากลับไปปฏิบัติการ ณ บ้านเกิดที่เลนินกราด และเมื่อเกิดความวุ่นวายในสหภาพโซเวียต อนาโตเลีย ซอบชัก ผู้ว่าการเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (ที่เพิ่งเปลี่ยนชื่อกลับมาจากเลนินกราดสดๆ ร้อน) ปฏิเสธอำนาจของคณะรัฐประหารที่พยายามจะยึดอำนาจจากกอร์บาชอฟ ผู้นำโซเวียต (แต่ล้มเหลว) ซึ่งแกนนำคณะรัฐประหารส่วนใหญ่เป็นสาย KGB ปูตินจึงตัดสินใจลาออกจาก KGB อย่างเป็นทางการ และมีความตั้งใจแรกเริ่มที่จะไปขับแท็กซี่ ก่อนที่จะตัดสินใจลงเล่นการเมืองท้องถิ่น

 

ชีวิตการเมืองท้องถิ่น

หลังปูตินเข้าสู่ชีวิตพลเรือนอย่างเต็มตัว ปูตินได้เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของศาสตราจารย์สตานิสลาฟ เมียร์คูเรียฟ (Prof. Stanislav Merkuryev) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งจะเป็นผู้ที่แนะนำให้ปูตินรู้จักกับซอบชัก ซึ่งต่อมาจะได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก นั่นเอง

 

เส้นทางทางการเมืองของปูตินเริ่มต้นขึ้นทันที หลังจากที่ซอบชักได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยเขามีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าการ โดยภารกิจของปูตินคือการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติด้านการท่องเที่ยวเข้ามายังเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก และการควบคุมการพนัน อีกทั้งยังได้พาบริษัทต่างๆ ของเยอรมนีมาเปิดกิจการการลงทุนในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นคนแรกๆ รวมไปถึงเป็นหนึ่งในผู้จัดการแข่งขัน ‘Goodwill Games’ ซึ่งทำให้ปูตินได้คอนเน็กชันกับบรรดานักธุรกิจอเมริกันอีกเป็นจำนวนไม่น้อย 

 

ปูตินเติบโตในเส้นทางการเมืองท้องถิ่นมาโดยลำดับ ไต่เต้าจนกระทั่งเป็นรองคณะผู้บริหารเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กว่าด้วยเครือข่ายความมั่นคงภายใน ที่ต้องประสานงานกับหน่วยงานความมั่นคงแต่ละภูมิภาค 

 

ในที่สุดเส้นทางการเมืองท้องถิ่นของปูตินก็สิ้นสุดลง หลังอนาโตเลีย ซอบชัก แพ้การเลือกตั้งในสมัยต่อมาและไม่ได้ไปต่อ แม้ว่าผู้ชนะเป็นผู้ว่าฯ คนใหม่อย่าง วลาดิเมียร์ ยาคอฟเลฟ (Vladimir Yakovlev) จะมองเห็นความสามารถและได้เชิญปูตินกลับมาทำงานช่วยคณะบริหารผู้ว่าฯ เหมือนเดิม แต่ปูตินปฏิเสธที่จะเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย และถ้าตอบรับคำเชิญนั้นก็เท่ากับว่าเขาทรยศเจ้านายเก่าอย่างอนาโตเลีย ซอบชัก ปูตินจึงเลือกที่จะเดินออกมาเอง

 

เพราะเส้นทางถัดมาของเขาคือเส้นทางที่มุ่งสู่เครมลิน โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่เคยคาดคิดมาก่อน

 

Vladimir Vladimirovich Putin

ภาพ: Mikhail Klimentyev / AFP

 

การเมืองระดับชาติ

หลังการพ่ายแพ้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของอนาโตเลีย ซอบชัก และปูตินก็ยุติบทบาทในฐานะคณะผู้ทำงานของผู้ว่าฯ ลงไปด้วย ปูตินเคยให้สัมภาษณ์ว่า เขามีความคิดที่จะออกไปทำงานเป็นคนขับแท็กซี่ธรรมดาๆ คนหนึ่งเท่านั้น เป็นความคิดแบบเดียวกันกับที่เคยคิดไว้หลังลาออกจาก KGB ใหม่ๆ แต่เหมือนโชคชะตาจะเล่นตลก ที่เมื่อคิดจะออกไปขับแท็กซี่ทีไรก็เป็นอันจะต้องมีคอนเน็กชันเบอร์ใหญ่แนะนำเขาให้ทำงานกับผู้มีอำนาจทุกครั้งไป

 

ผู้มีอำนาจในเครมลินคงเห็นความใจเด็ดและความกตัญญูของปูตินจากเกมการเมืองท้องถิ่นในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในครั้งนี้เขาจึงถูกทาบทามโดย วาเลนติน ยูมาเชฟ (Valentin Yumashev) ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) ให้มาเป็นรองผู้อำนวยการสำนักประธานาธิบดี รับผิดชอบการตรวจสอบและกำกับหน่วยงานต่างๆ แทนที่ อเล็กเซย์ คูดริน (Alexey Kudrin) ซึ่งจะขึ้นเป็นผู้อำนวยการแทน อนาโตลี ชูไบส์ (Anatoly Chubais) ผู้อำนวยการเดิมที่จะเลื่อนขึ้นไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี

 

ผลงานของปูตินเข้าตาประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินเป็นอย่างมาก การทำงานของปูตินมีส่วนช่วยสลายเครือข่ายคอร์รัปชันของบรรดานักการเมืองที่รายล้อมเยลต์ซินได้เป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือการเปิดโปงการใช้งบกลาโหมที่ต้องสงสัย จนทำให้พลเอกอิกอร์ โรดิโอนอฟ (Gen Igor Rodionov) ต้องลาออกจากตำแหน่ง รวมไปถึงการที่อดีตเจ้านายเก่าอย่างอนาโตเลีย ซอบชักถูกไต่สวน กรณีใช้อำนาจโดยมิชอบในช่วงเป็นผู้ว่าการ ปูตินก็ได้ช่วยเป็นทนายหน้าหอกับซอบชักอย่างเต็มที่จนหลุดพ้นข้อกล่าวหา การกระทำนี้ถูกใจเยลต์ซินอย่างมาก เนื่องจากปูตินพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเขามีความจงรักภักดีกับเจ้านายเก่าและมีความกตัญญูอย่างเสมอต้นเสมอปลาย แม้เจ้านายเก่าจะหมดอำนาจไปแล้วก็ตาม เขาสามารถไว้วางใจลูกน้องอย่างปูตินได้โดยไม่ต้องสงสัย

 

ปูตินจึงกลายเป็นแคนดิเดตผู้ที่จะสืบทอดอำนาจของเยลต์ซิน หลังเยลต์ซินวางมือทางการเมืองในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ปี 2000 

 

ชีวิตในเครมลิน

แม้เยลต์ซินมั่นใจในตัวปูตินเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องมีบททดสอบเพิ่มเติมเช่นกัน เยลต์ซินเสนอชื่อปูตินให้เป็นนายกรัฐมนตรี และได้รับความเห็นชอบจากสภา ในขณะเดียวกันพรรคเยดินสตโว (Yedinstvo-Unity) ที่เพิ่งตั้งใหม่สดๆ ร้อนๆ ปูตินก็ได้รับเลือกเป็นสัดส่วนอันดับ 2 ในสภาเช่นกัน โจทย์หลักของปูตินขณะนั้นคือ ต้องจัดการปัญหากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอิสลามในภาคใต้อย่างเชชเนียและดาเกสถาน ซึ่งปูตินก็ได้ใช้กำลังภายใน เส้นสายความมั่นคง จัดการกลุ่มกบฏได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน สร้างความเสียหายให้กลุ่มกบฏเป็นอย่างมาก ถือเป็นผลงานชิ้นโบแดงของปูตินในช่วงเวลานั้น

 

ปูตินได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีรักษาการแทนบอริส เยลต์ซิน ที่ประกาศวางมือทางการเมืองในคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ปี 2000 และชนะการเลือกตั้งได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเต็มตัว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ปี 2000 

 

Vladimir Vladimirovich Putin

ภาพ: Mikhail Svetlov / Getty Images

 

ยุคแห่งความรุ่งโรจน์

ภาพวันที่กำแพงเบอร์ลินและสหภาพโซเวียตที่เคยรุ่งโรจน์ล่มสลายลง อาจจะยังคงฉายวนอยู่ในหัวของปูตินตลอดมา เขาจึงคาดหวังที่จะฟื้นฟูศักดิ์ศรีของรัสเซียกลับขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ผลงานแรกๆ หลังขึ้นเป็นผู้นำรัสเซียคือ การให้รัสเซียกลับไปใช้ทำนองเพลงชาติในยุคโซเวียต โดยมีการเปลี่ยนเนื้อร้องใหม่ จากการนี้สื่อตะวันตกจึงเริ่มตั้งข้อสังเกตว่า เขาต้องการฟื้นฟูเกียรติภูมิของสหภาพโซเวียตให้กับรัสเซียในยุคใหม่ที่ปูตินเป็นผู้รับผิดชอบ

 

ปูตินยังได้กู้หน้าของรัสเซียในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ด้วยการทำสงครามอย่างเด็ดขาด ส่งกองทัพรัสเซียเข้าโจมตีเชชเนียและดาเกสถาน แม้ชาติตะวันตกจะตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ปูตินก็ไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม สั่งตามล้างตามฆ่าผู้นำผู้ปลุกระดมอย่างไม่ลดละ ในขณะเดียวกันก็เข้าล็อบบี้กับฝ่ายกบฏบางสายที่ต้องการประนีประนอมกับรัฐบาลกลาง เช่น การให้การสนับสนุนอัคเหม็ด คาดีรอฟ (Akhmed Kadyrov) อดีตผู้นำกบฏเชชเนียที่กลับลำมาภักดีกับมอสโก ปูตินก็ได้ให้การสนับสนุนและอัดฉีดอย่างเต็มที่ สถานการณ์สงบเรื่อยมาจนถึงยุคของรามซาน คาดิรอฟ (Ramzan Kadyrov) ผู้เป็นบุตรชาย ที่ทุกวันนี้เป็นผู้นำเชชเนียที่จงรักภักดีต่อปูตินอย่างเข้มข้น

 

ในยุคนี้ปูตินได้จัดระเบียบอำนาจใหม่ในหมู่ชนชั้นนำรัสเซีย บรรดาเศรษฐีต่างๆ ที่ไม่ยอมเล่นเกมตามปูตินก็มักจะต้องถูกตั้งข้อหาจนต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ และได้มีการนำรัฐวิสาหกิจต่างๆ กลับคืนมาจากผู้บริหารที่ฉ้อฉล เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้ประเทศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจด้านพลังงานที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้เข้าประเทศให้รัสเซียได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ รัสเซียค่อยๆ ทยอยปลดหนี้ตั้งแต่สมัยโซเวียต และเปลี่ยนมาเป็นความมั่งคั่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการขยายอำนาจของรัสเซียต่อไปในอนาคต ซึ่งผลงานเหล่านี้ได้สร้างคะแนนนิยมเป็นอย่างดี รวมไปถึงการที่ปูติน ผู้ซึ่งมีบุคลิกภาพดูเหมือนว่าคนจะเข้าถึงยาก เอาจริงเอาจัง ตาต่อตา ฟันต่อฟัน แต่ความเป็นจริงเป็นผู้ที่เข้าถึงประชาชน จุดนี้ก็ทำให้เขาได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากเช่นกัน

 

ในขณะเดียวกันสื่อตะวันตกก็ตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและรายงานการเสียชีวิตอย่างปริศนาของบรรดาผู้สื่อข่าวหรืออดีตเจ้าหน้าที่รัฐแปรพักตร์ของรัสเซีย ภายใต้การบริหารประเทศของปูตินหลายต่อหลายครั้ง

 

ก้าวลงชั่วคราวเพื่อเตรียมครองอำนาจระยะยาว

หลังปูตินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครบ 2 สมัยในปี 2008 จึงเปิดทางให้ ดมิทรี เมดเวเดฟ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และปูตินก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าสิ่งนี้ก็ไม่ต่างจากละครฉากหนึ่งที่สลับตำแหน่งกันเป็น แต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับปูติน ในยุคนี้เมดเวเดฟมีผลงานหลายอย่าง โดยเฉพาะสงครามสั่งสอนจอร์เจีย ซึ่งก็คาดกันว่าน่าจะเป็นความคิดของปูติน หรืออย่างน้อยก็ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากปูติน 

 

ก่อนที่เมดเวเดฟจะหมดวาระลงในปี 2012 ได้จัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากเดิมที่ประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งได้เพียง 4 ปีในแต่ละวาระ แก้เป็น 6 ปีโดยไม่เกิน 2 วาระ

 

Vladimir Vladimirovich Putin

ภาพ: Sasha Mordovets / Getty Images

 

ผู้นำตลอดกาล?

ปูตินได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งอีกครั้งในปี 2012 โดยมีผลงานต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพาให้รัสเซียก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดอีกครั้ง ทั้งในแง่ของฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ และบทบาทการเมืองระหว่างประเทศ ความมั่งคั่งจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของรัสเซียนำมาสู่การลงทุนในประเทศหลายอย่าง และการพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ ให้แต่ละเมืองของรัสเซียสามารถรองรับการจัดกิจกรรมระดับนานาชาติ ทั้งการประชุมหรือการแข่งขันกีฬาได้ เช่น วลาดิวอสต็อก โซชิ ฯลฯ รัสเซียกลายเป็นผู้มีทองคำสำรองมากเป็นอันดับ 5 ของโลก (ในปี 2021)

 

ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีการตรากฎหมายที่ฝ่ายตะวันตกเรียกว่าเป็นการเริ่มลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอินเทอร์เน็ต กฎหมาย ‘Inogent’ ที่กำกับดูแลองค์กรที่มีท่อน้ำเลี้ยงจากต่างประเทศ เป็นต้น

 

จากเหตุการณ์ปฏิวัติไมดานในยูเครนที่ขับไล่รัฐบาลโปรรัสเซียเมื่อปี 2014 ที่แม้รัสเซียจะเสียผลประโยชน์ในยูเครน ก็ได้สร้างคะแนนความนิยมในตัวปูตินได้เช่นกัน เมื่อรัสเซียใช้ข้ออ้างที่รัฐบาลใหม่ของยูเครนมีนโยบายใหม่ละเมิดชนเชื้อสายรัสเซีย จนรัสเซียสนับสนุนให้ไครเมียแยกและมาผนวกรวมกับรัสเซียได้สำเร็จเมื่อปี 2014 ยิ่งสร้างคะแนนนิยมให้ปูตินเป็นอย่างมาก

 

ในขณะเดียวกันนับแต่นั้นเป็นต้นมาเศรษฐกิจรัสเซียก็เริ่มถดถอยจากนโยบายคว่ำบาตรของโลกตะวันตกจากกรณีดังกล่าวเช่นกัน จึงมีสัญญาณความนิยมที่เป็นช่วงขาลง

 

ปูตินได้รับเลือกให้เป็นผู้นำรัสเซียอีกสมัยในปี 2018 ท่ามกลางข้อกังขาเรื่องความโปร่งใสจากสื่อตะวันตก แต่ปูตินก็ไม่สน เดินหน้าปกครองและบริหารรัสเซียต่อไป ปูตินจัดสรรให้สัดส่วนงบประมาณจำนวนมากลงมาในภาคความมั่นคง ทั้งทหารและตำรวจ ดังนั้นกลไกที่ควบคุมความสงบเรียบร้อยจึงแข็งแกร่งมาก แม้จะมีผู้นำฝ่ายค้านนอกสภาอย่าง อเล็กเซย์ นาวัลนี (Alexei Navalny) เปิดแคมเปญแฉปูตินและจัดม็อบชนปูติน ก็ถูกทางการรัสเซียควบคุมไว้ได้อยู่ รวมไปถึงการปฏิรูประบบบำนาญ จึงได้ฐานเสียงสนับสนุนจากกลุ่มประชาชนผู้สูงวัย

 

และในสมัยนี้เองที่มีการจัดประชามติการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ Set Zero ระยะเวลาสมัยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หมายความว่าปูตินที่ควรจะต้องลงจากตำแหน่งผู้นำในสมัยที่ 2 ในปี 2024 นั้นจะสามารถมีสิทธิลงรับสมัครเลือกตั้งได้อีก โดยวาเลนตินา เทเรชโควา (Valentina Tereshkova) อดีตนักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลกและของรัสเซีย เป็นผู้เสนอญัตตินี้ในฐานะวุฒิสมาชิก และได้รับการเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

แม้ว่าเราจะยังไม่เห็นว่าจุดสิ้นสุดความเป็นผู้นำปูตินอยู่ตรงไหน

 

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทิ้งไพ่ใบสำคัญอย่างการตัดสินใจเข้าบุกยูเครนในครั้งนี้นั้นได้ทำให้ชื่อเสียงของปูตินหักเหไปในทางลบทันที รวมไปถึงมติมหาชนชาวรัสเซียจำนวนมากก็ไม่ได้สนับสนุนการกระทำดังกล่าว

 

ไพ่นี้จะเป็นไพ่เสียหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

 

อ้างอิง: 

The post กว่าจะมาเป็นวลาดิเมียร์ ปูติน: ชายผู้เริ่มเปิดเกมสงครามรัสเซีย-ยูเครน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: อดีตของ มิว ศุภศิษฏ์ อนุบาลหนึ่งถึงปริญญาเอก และความน่าจะเป็นในชีวิต | POP INTERVIEW https://thestandard.co/pop-interview-suppasit/ Tue, 16 Nov 2021 04:00:58 +0000 https://thestandard.co/?p=560193

เริ่มต้นพาร์ตแรกการสำรวจจักรวาลชีวิตของ มิว-ศุภศิษฏ์ จง […]

The post ชมคลิป: อดีตของ มิว ศุภศิษฏ์ อนุบาลหนึ่งถึงปริญญาเอก และความน่าจะเป็นในชีวิต | POP INTERVIEW appeared first on THE STANDARD.

]]>

เริ่มต้นพาร์ตแรกการสำรวจจักรวาลชีวิตของ มิว-ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์

 

THE STANDARD POP ขอพาทุกคนไปพบกับเรื่องราวใน ‘อดีต’ ตั้งแต่ ยังเป็นเด็กดื้อไม่ยอมไหว้คุณตา, เด็กเรียนที่ชอบเล่นบอลลูนด่าน, สูญเสียความมั่นใจจนหลบไปอยู่ในโลกแห่งเกม ไปจนถึงการเรียนจนถึงระดับปริญญาเอก ที่ทำให้ได้เรียนรู้ถึงความสวยงามของสิ่งที่เรียกว่า ‘ความไม่แน่นอน’

 

ทุกประสบการณ์ทั้งดีและร้าย ล้วนเป็นดวงดาวแห่งชีวิต ที่ประกอบสร้างเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เด็กหนุ่มคนนั้นเติบโตมาเป็นคนที่ ‘ซื่อสัตย์’ กับความรู้สึกของตัวเองมากๆ และกลายเป็นมิวที่รักของชาว ‘มิวเลียนส์’ ทุกคนมาจนถึงตอนนี้

The post ชมคลิป: อดีตของ มิว ศุภศิษฏ์ อนุบาลหนึ่งถึงปริญญาเอก และความน่าจะเป็นในชีวิต | POP INTERVIEW appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: จากเจ้าหญิงญี่ปุ่นสู่ ‘มาโกะ โคมุโระ’ เส้นทางชีวิตบทใหม่เริ่มต้นขึ้นแล้ว https://thestandard.co/mako-komuro-autobiography/ Mon, 15 Nov 2021 12:03:47 +0000 https://thestandard.co/?p=560053 Mako Komuro

วันนี้ (15 พฤศจิกายน) มาโกะ โคมุโระ หรืออดีตเจ้าหญิงมาโ […]

The post ชมคลิป: จากเจ้าหญิงญี่ปุ่นสู่ ‘มาโกะ โคมุโระ’ เส้นทางชีวิตบทใหม่เริ่มต้นขึ้นแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
Mako Komuro

วันนี้ (15 พฤศจิกายน) มาโกะ โคมุโระ หรืออดีตเจ้าหญิงมาโกะแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น พร้อมด้วย เค โคมุโระ ผู้เป็นสามี เดินทางออกจากญี่ปุ่น เพื่อไปเริ่มต้นใช้ชีวิตใหม่ที่สหรัฐอเมริกา โดยล่าสุดเดินทางถึงนิวยอร์กแล้ว เส้นทางเดินชีวิตบทใหม่ของอดีตเจ้าหญิงญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นแล้ว

 

ชมคลิปอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://thestandard.co/video/

 

เสียงบรรยาย: ดิษยุตม์ ธนบุญชัย

ตัดต่อ: วชิระ มากทรัพย์

The post ชมคลิป: จากเจ้าหญิงญี่ปุ่นสู่ ‘มาโกะ โคมุโระ’ เส้นทางชีวิตบทใหม่เริ่มต้นขึ้นแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
CNN เตรียมปล่อยรายการพอดแคสต์ใหม่ ‘When Diana Met’ ที่จะตีแผ่เรื่องราวของเจ้าหญิงไดอานา https://thestandard.co/when-diana-met-podcast/ Fri, 05 Nov 2021 10:04:28 +0000 https://thestandard.co/?p=556708 Diana Princess of Wales

เรื่องราวของเจ้าหญิงไดอานาผู้ล่วงลับกำลังจะถูกนำมาตีแผ่ […]

The post CNN เตรียมปล่อยรายการพอดแคสต์ใหม่ ‘When Diana Met’ ที่จะตีแผ่เรื่องราวของเจ้าหญิงไดอานา appeared first on THE STANDARD.

]]>
Diana Princess of Wales

เรื่องราวของเจ้าหญิงไดอานาผู้ล่วงลับกำลังจะถูกนำมาตีแผ่อีกครั้งผ่านรายการพอดแคสต์ของ CNN ในชื่อ When Diana Met โดยมีสาวมากความสามารถ Aminatou Sow มาเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

รายการพอดแคสต์ When Diana Met จะลดเรื่องราวดราม่าของเจ้าหญิงลงเล็กน้อย และพาผู้ฟังไปเจาะลึกกับโมเมนต์ที่น่าจดจำเมื่อเธอพบปะบุคคลสำคัญตั้งแต่นักการเมืองไปจนถึงนักแสดง ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เธอเต้นรำกับดาราเท้าไฟ John Travolta หรือตอนที่เธอให้คนทั่วโลกได้ยลโฉมเจ้าชายวิลเลียมเป็นครั้งแรก รวมไปถึงสิ่งที่ผู้คนมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวเจ้าหญิงไดอานา 

 

Aminatou Sow พูดถึงรายการของเธอว่า “เราจะกลับไปทบทวนวิธีที่เราปฏิบัติกับบุคคลสาธารณะที่ต่างกันออกไป และในกรณีนี้ก็คือเจ้าหญิงไดอานา ซึ่งเป็นบุคคลที่เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อยมากเมื่อนานมาแล้ว มันยังมีความไม่ชัดเจนว่าเธอเป็นคนแบบไหนกันแน่ และเราก็อยากจะตั้งใจมองไปที่โมเมนต์สำคัญในชีวิตของเธอ เพื่อที่พวกเขาจะบอกเราได้ว่าเธอเป็นใคร แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือคนทั่วไปมองเห็นและยอมรับเธอแบบไหน”

 

ดูเหมือนว่าชีวิตเบื้องหลังและเบื้องหน้าของเจ้าหญิงไดอานาจะยังคงเป็นที่สนใจในคนหมู่มากทั้งที่ถูกนำมาตีแผ่มาแล้วทุกรูปแบบซ้ำแล้วซ้ำอีกในแทบจะทุกแง่มุม โดยเฉพาะในวงการบันเทิงที่ตอนนี้มีทั้งซีรีส์ The Crown ที่ผู้ชมกำลังรอคอยจะได้เห็นดาราสาว Elizabeth Debicki มารับบทเป็นเจ้าหญิงไดอานาหลังจากที่ Emma Corrin ทำผลงานการแสดงเอาไว้อย่างดีเยี่ยมในซีซันที่ผ่านมา และยังมีภาพยนตร์ Spencer นำแสดงโดย Kristen Stewart ที่จะพูดถึงช่วงวันหยุดครั้งสำคัญที่กลายเป็นจุดจบชีวิตแต่งงานของเจ้าหญิงไดอานาที่กำลังจะเข้าฉายในปีหน้า

 


เอพิโสดแรกของรายการพอดแคสต์ดังกล่าวจะเผยแพร่ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ ในชื่อตอน When Diana Met Camilla 

 

ภาพ: Tim Graham Photo Library via Getty Images 

อ้างอิง: 

The post CNN เตรียมปล่อยรายการพอดแคสต์ใหม่ ‘When Diana Met’ ที่จะตีแผ่เรื่องราวของเจ้าหญิงไดอานา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475 https://thestandard.co/chuencham-ramrachabhakdi/ Tue, 26 Jan 2021 12:46:00 +0000 https://thestandard.co/?p=447647 ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475

ชื่นแช่ม รามราชภักดี (พ.ศ. 2449-2524) เป็นอีกสตรีผู้หนึ […]

The post ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475

ชื่นแช่ม รามราชภักดี (พ.ศ. 2449-2524) เป็นอีกสตรีผู้หนึ่งที่พยายามจะยกระดับสถานภาพสตรี และเผยแพร่ความรู้สำหรับผู้หญิง 

 

เธอโตมาในสังคมข้าราชการที่มักเต็มไปด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจในครอบครัว สามีและภรรยามีสถานภาพแตกต่างกันอย่างชัดเจน นอกเหนือจากการจัดระดับชั้นระหว่างภรรยาน้อย ภรรยาหลวง 

 

อย่างไรก็ตาม การที่เธอเป็นลูกสาวชนชั้นนำ ก็ทำให้เธอได้เข้าถึงทรัพยากรทางสังคมมีโอกาสและสถานะที่ดีกว่าหญิงชนชั้นอื่น ซึ่งก็ช่วยประกอบสร้างให้เธอเป็นหญิงที่มีความรู้ความสามารถได้ไม่ยาก

 

เธอเป็นลูกสาวของพระยาวิเชียรปราการ (ชื้น คชภูมิ) กับแย้ม นามสกุลเดิม อิศรางกูร สามีของชื่นแช่มคือพระยารามราชภักดี (สวัสดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ข้าราชการมหาดไทยว่าราชการในหลายจังหวัด

 

 

แม่บ้านแม่เรือนไม่ใช่แค่มีหน้าที่แม่และเมียเท่านั้น

 

สำหรับเธอ ภรรยาจะต้องมีความรู้เป็นเพื่อนคู่คิดสามีได้ ไม่ใช่หญิงรับใช้ปรนนิบัติสามี มีพื้นที่จำกัดแต่ในครัวเรือนหรือสมบัติประดับบารมีสามี แต่ต้องเคียงข้างสามีบนพื้นที่สาธารณะ และมีบทบาทสำคัญนอกบ้านได้ 

 

ดังนั้น ผู้หญิงจึงต้องรู้จักมารยาทการเข้าสังคม รู้จักการทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภรรยาของข้าราชการ เธอจึงได้เขียนตำราหลักปฏิบัติสำหรับภรรยาราชการ โดยภรรยาข้าราชการเอง เรื่อง ‘บุคคลิกภาพภรรยานักปกครอง’ จากประสบการณ์ที่พบเห็นมาจากการที่เธออยู่ในแวดวงราชการ ให้เป็นคู่มือให้กับผู้หญิงที่เป็นภรรยาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ชนชั้นนำ นักปกครอง ในฐานะที่ภรรยามีผลต่อหน้าตา ความสง่างามของสามี สามารถให้คุณให้โทษแก่สามีได้ในวงการราชการ ทั้งเป็นผู้ปกครองหรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

 

ต่อมาเธอแต่งนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ‘วีรสตรีที่ประวัติศาสตร์ลืม’ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้หญิงก็มีบทบาทในเรื่องการเมืองภาครัฐ การสงคราม ยอมสละความสุข ความรักส่วนตัวเพื่อชาติได้ หากแต่ไม่ได้อยู่ในความสนใจของประชาชน ผ่านตัวละคร ‘พระสุพรรณกัลยาณี’ และได้นำมาตีพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานศพพ่อของเธอ

 

 

การก่อตั้ง ‘สมาคมสตรีศรีลานนาไทย’ พ.ศ. 2491

 

ในช่วงเวลาที่เธอติดตามสามีไปปฏิบัติราชการที่เชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2489-2490 และได้เห็นว่าเชียงใหม่มีอุตสาหกรรมในครัวเรือน ผู้หญิงในพื้นที่เองสามารถแบ่งเวลามาทำงานสาธารณะ และตื่นตัวที่จะสร้างสาธารณะกุศล บำเพ็ญประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมทางศาสนา เธอจึงก่อตั้งสมาคมของผู้หญิง ‘สมาคมสตรีศรีลานนาไทย’ และจดทะเบียนใน พ.ศ. 2491

 

แช่มชื่นตั้งข้อสังเกตว่า เชียงใหม่มีวัดมาก แต่ไม่มีโรงเรียนอนุบาลของรัฐ ผู้ปกครองต้องฝากลูกเรียนโรงเรียนคริสต์ศาสนาแทน ทำให้ชาวเชียงใหม่ที่มีการศึกษาสมัยใหม่ขณะนั้นนับถือศาสนาคริสต์มากขึ้น เพราะมีสถาบันขัดเกลาตั้งแต่เด็ก ซึ่งรวมถึงลูกสาวเธอด้วย เพราะเธอเองก็ส่งลูกสาวไปเรียนในโรงเรียนมิชชันนารี เธอเห็นว่าลูกของเธอไหว้พระเยซูมากกว่าพระพุทธเจ้า จึงร่วมมือกับข้าหลวงประจำจังหวัด ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และภรรยา หาเงินในการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ป้องกันเด็กในพื้นที่เปลี่ยนศาสนาไปตามระบบการศึกษาสมัยใหม่โดยมิชชันนารี เธอของบประมาณจากรัฐบาลสร้างโรงเรียนอนุบาลในพื้นที่วัด

 

และเพื่อหาเงินสร้างโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ชื่นแช่มจึงเขียนหนังสือชื่อเดียวกับสมาคม ‘สตรีศรีลานนาไทย’ พิมพ์ 200,000 เล่ม ขายราคาเล่มละ 5 บาท เพื่อเป็นคู่มืออนามัยสำหรับแม่บ้าน ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อนามัย ตั้งแต่การจ่ายตลาดเลือกเนื้อสัตว์ การทำความสะอาดก่อนนำมาทำอาหาร ความรู้ด้านเชื้อโรค พยาธิและการกำจัด การแต่งบ้านให้สวยงามในราคาประหยัด และสำหรับบ้านที่มีพื้นที่แคบ รวมถึงสูตรทำอาหารคาวหวาน

 

สมาคมสตรีศรีลานนาไทยของเธอมีสมาชิกถึง 400 คน และกลายเป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนระหว่างผู้หญิงชนชั้นนำเก่า ตระกูลชนชั้นเจ้าจากอาณาจักรล้านนา กับประชาชนหญิง นักธุรกิจ และข้าราชการจากกรุงเทพฯ ในฐานะผู้อุปถัมภ์สมาคม และได้จัดกิจกรรมพบปะสมาคมทุกเดือน เพื่อแสดงวิธีประดิษฐ์ของใช้ ทำดอกไม้ อาหารคาวหวาน และกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ต่างๆ เช่น ช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นกลับคืนภูมิลำเนาเดิม อุปถัมภ์นักเรียนที่ไม่มีผู้อุปการะ ช่วยเหลือครอบครัวยากจน ผู้ไม่มีอาชีพแน่นอน ช่วยเหลือด้านการศึกษาให้ครอบครัวผู้มีลูกมาก และในช่วงสงครามเกาหลีก็ได้ส่งของขวัญให้ทหารที่ไปรบ

 

สมาคมของเธอเป็นที่สนใจของสตรีหัวก้าวหน้าขณะนั้นเป็นอย่างมาก นิตยสารสตรีสารที่ถือว่าเป็นนิตยสารผู้หญิงหัวก้าวหน้าในขณะนั้นลงข่าวชื่นชมสนับสนุนสมาคมของเธอ

 

‘สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย’ พ.ศ. 2497

 

ต่อมารัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีโครงการที่จะตั้งสมาคมสตรีประจำจังหวัดทั่วประเทศ ในนาม ‘สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง’ สมาคมสตรีของเธอจึงได้น้อมรับนโยบายเข้าร่วมกับโครงการเป็น ‘สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย’ จังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2497

 

และในคราวเปิดสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงที่จังหวัดสมุทรปราการ เธอก็ได้เขียนบทความ ‘อุดมคติของข้าพเจ้า’ ลงในหนังสือที่ระลึกวันเปิดสมาคมส่งเสริม เพื่อเชิดชูผู้หญิงที่เป็นภรรยาแม่บ้านแม่เรือนว่า

 

“ผู้ที่เกิดมาเป็นสตรีจะต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีโดยสมบูรณ์ ชาติจะเจริญได้ก็ต้องอาศัยบุคคลแต่ละครอบครัวเจริญดี ครอบครัวแต่ละครอบครัวจะเจริญได้ก็ต้องอาศัยแม่เรือนที่ดีเป็นหลัก เพราะถ้าสตรีผู้เป็นแม่บ้านแม่เรือนคนใดขาดความเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีแล้ว บ้านเรือนหรือครอบครัวนั้นย่อมประสพแต่ความเสื่อม”

 

เนื่องจากชื่นแช่มเป็นภรรยาข้าราชการชั้นสูงคนหนึ่งที่ต้องการยกระดับสถานภาพสตรี แต่พื้นที่และโอกาสของผู้หญิงยังคงมีจำกัดมากตามเงื่อนไขของค่านิยมในขณะนั้น เธอจึงเลือกให้ความสำคัญกับความหมายของสถานะแม่บ้าน ในฐานะหน้าที่ของผู้หญิงที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างชาติให้เป็นมหาอำนาจตามนโยบายของรัฐบาลขณะนั้น และพยายามอย่างยิ่งที่จะปฏิบัติตามนโยบายโครงการต่างๆ ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่พยายามสร้างชาติให้เป็นมหาอำนาจ ในฐานะที่เป็นโอกาสหนึ่งที่แม่บ้านจะมีส่วนร่วมกับกิจการบ้านเมืองได้ 

 

เธอเองก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เลื่อมใสในการทำงาน ความสามารถ และอุดมการณ์ของจอมพล ป. อย่างมาก ถึงกับเขียนสรรเสริญในคำไว้อาลัยสามีของเธอเอง

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475 appeared first on THE STANDARD.

]]>