บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 01 Apr 2024 12:40:13 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 Tops Daily vs. 7-Eleven กับการสร้างตำนาน ‘แจ็คผู้ฆ่ายักษ์’ ในสังเวียนร้านสะดวกซื้อแสนล้าน https://thestandard.co/tops-daily-vs-7-eleven/ Mon, 01 Apr 2024 12:39:33 +0000 https://thestandard.co/?p=918064 สังเวียน ร้านสะดวกซื้อ แสนล้าน

เสียงกลองรบดังกึกก้องในตลาดร้านสะดวกซื้อไทย และทำให้บรร […]

The post Tops Daily vs. 7-Eleven กับการสร้างตำนาน ‘แจ็คผู้ฆ่ายักษ์’ ในสังเวียนร้านสะดวกซื้อแสนล้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สังเวียน ร้านสะดวกซื้อ แสนล้าน

เสียงกลองรบดังกึกก้องในตลาดร้านสะดวกซื้อไทย และทำให้บรรยากาศที่ร้อนแรงอยู่แล้วเพิ่มขึ้นไปอีก หลังจากที่ Tops Daily ออกมาประกาศขยายธุรกิจด้วยโมเดลแฟรนไชส์ที่เคาะราคาเริ่มต้น 1.07 ล้านบาท พร้อมกับการันตีรายได้ 60,000 บาทต่อเดือน คืนทุนใน 2 ปี

 

แน่นอนว่านี่ถือเป็นการลั่นกลองรบอย่างเป็นทางการกับเจ้าตลาดอย่าง 7-Eleven ที่แม้วันนี้จะเป็นเจ้าตลาดที่แข็งแกร่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการประกาศกร้าวของ Tops Daily น่าสนใจไม่น้อย เพราะท้ายที่สุดแล้วอาจเปรียบเปรยได้กับคำว่า ‘แจ็คผู้ฆ่ายักษ์’

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

แจ็คอย่าง Tops Daily จะสามารถฆ่ายักษ์อย่าง 7-Eleven ได้หรือไม่ นี่ยังเป็นคำตอบที่ต้องใช้เวลาเป็นตัวตัดสิน แต่ที่แน่ๆ วันนี้ THE STANDARD WEALTH จะมาชวนวิเคราะห์ถึงการที่มวยรองจะขึ้นมางัดข้อกับมวยหลักบ้าง

 

ตลาดไทยยังเติบโตได้อีกมาก

 

ถึงวันนี้เราจะเห็น 7-Eleven ที่มี 14,500 สาขากระจายอยู่ทั่วประเทศแล้ว แต่ในมุมมองของ เมทินี พิศุทธิ์สินธพ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กลับเห็นว่าตลาดนี้ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก

 

“ตลาดร้านสะดวกซื้อยังมีโอกาสอีกมาก เนื่องจากบริบทสังคมเปลี่ยน ประกอบกับการขยายตัวของคนออกไปอยู่นอกเมืองมากขึ้น จึงทำให้หลายๆ พื้นที่เริ่มมีศักยภาพให้ Tops Daily เข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม”

 

เมทินียกตัวอย่างโอกาสมาจากการที่สัดส่วนประชากรต่อร้านสะดวกซื้อ/มินิซูเปอร์มาร์เก็ต 1 สาขา ประเทศไทยอยู่ที่ 1 ร้านต่อประชากร 4,428 คน ซึ่งหากเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วจะพบว่ายังมีช่องว่างอีกมาก

 

โดยในเกาหลีใต้สัดส่วนอยู่ที่ 1 ร้านต่อประชากร 953 คน หรือต้นตำรับร้านสะดวกซื้อของไทยอย่างญี่ปุ่นก็มีตัวเลข 1 ร้านต่อประชากร 2,220 คน แปลว่าไทยยังมีศักยภาพในการขยายได้อยู่

 

 

ความน่าสนใจยังมาจากการที่ตลาดนี้มีมูลค่าที่ใหญ่มากและเติบโตมากกว่า GDP ด้วยซ้ำ 

 

นฤชยา สาตแฟง นักวิเคราะห์ของ LH Bank ประเมินว่า ธุรกิจร้านสะดวกซื้อในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัว 3.1%YoY มาอยู่ที่ 5.17 แสนล้านบาท จากปี 2566 ที่ ขยายตัว 5.5%YoY มาอยู่ที่ 5.01 แสนล้านบาท 

 

ความท้าทายอยู่ที่การสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้น

 

ขณะเดียวกันนฤชยามองว่า กลยุทธ์เพิ่มจำนวนสาขาอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะทำให้ธุรกิจมีกำไรไม่สูงเหมือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ร้านสะดวกซื้อทุกวันนี้มีการนำเสนอสินค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น อาหารสด ผัก ผลไม้ อาหารพร้อมรับประทาน และเครื่องดื่ม เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เน้นซื้อของใกล้บ้านมากกว่าจะต้องเดินทางไกล

 

การวิเคราะห์ดังกล่าวสอดคล้องกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่มองว่า การสร้างยอดขายต่อสาขาให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกแต่ละราย โดยร้านค้าที่ได้ทราฟฟิกจากลูกค้าประจำอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสไปต่อในยุคที่ผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลายและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็ว 

 

เพราะถึงแม้ว่าในระยะสั้นตลาดร้านสะดวกซื้อจะโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่การรักษายอดขายให้สม่ำเสมอหรือเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยอดขายจากสาขาเดิม (Same Store Sales Growth: SSSG) ในระยะกลางถึงยาวอาจทำได้ยากและลำบากขึ้น ซึ่งแปรผันไปตามทำเลที่ตั้งของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ รวมถึงสภาพการแข่งขันในตลาดหรือในพื้นที่โดยรอบ เป็นต้น 

 

ความท้าทายดังกล่าวโดยเฉพาะเรื่อง SSSG วันนี้ได้เกิดขึ้นกับ 7-Eleven ที่ประกาศขยายสาขาปีละ 600-700 สาขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

 

ที่เป็นอย่างนั้นเพราะเมื่อดูจากการรายงานผลประกอบการของปี 2565 จะพบว่า 7-Eleven มียอดขายเฉลี่ยของร้านเดิมในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 15.9 โดยมียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันเท่ากับ 76,582 บาท มียอดซื้อต่อบิลโดยประมาณ 84 บาท

 

ในขณะที่ยอดขายเฉลี่ยของร้านเดิมในปี 2566 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 5.5 โดยมียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันเท่ากับ 80,837 บาท มียอดซื้อต่อบิลโดยประมาณ 83 บาท

 

จะเห็นได้ว่าตัวเลข SSSG ของ 7-Eleven ลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งนักวิเคราะห์รายหนึ่งให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การที่ตัวเลขไม่ได้เพิ่มเมื่อเทียบกับปีก่อนนั้นเป็นเพราะ SSSG ของ 7-Eleven อยู่ในจุดที่เริ่มอิ่มตัวแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการที่ร้านส่วนใหญ่เป็นห้องแถวขนาดราว 100 ตารางเมตร ทำให้ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้อีก ขณะเดียวกันอีกส่วนหนึ่งมาจากการที่มีร้านที่บางส่วนอยู่ติดกัน ทำให้เกิดการแย่งลูกค้ากันเอง

 

ต้องสร้างจุดขายของแบรนด์ให้แตกต่าง

 

บทเรียนจาก 7-Eleven ทำให้คำถามที่ตามมาคือ Tops Daily ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่เดินตามรอยความท้าทายของ 7-Eleven

 

นักวิเคราะห์ของ LH Bank ให้มุมมองต่อเรื่องนี้ว่า การสร้างจุดขายของแบรนด์ให้แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมให้แต่ละแบรนด์ยังคงเติบโตในตลาดได้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าแตกต่างกัน 

 

สอดคล้องกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ให้ความเห็นว่า ท้ายที่สุดผู้บริโภคที่มีทางเลือกที่ค่อนข้างหลากหลายท่ามกลางกำลังซื้อที่ยังคงจำกัด หรือมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง จะเป็นคนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านร้านค้าปลีกที่ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด

 

สำหรับ Tops Daily ทางเมทินีบอกว่า มีแต้มต่อทั้งเรื่องการทำตลาดที่แตกต่าง ทั้งสินค้าภายในและนำเข้ามากกว่า 6,000 รายการ, อาหารสด, อาหารแช่แข็ง, อาหารญี่ปุ่น และสินค้าพรีเมียม ในราคาเข้าถึงง่าย ซึ่งใช้ฐานข้อมูลลูกค้า The 1 กว่า 5 ล้านคน และระบบ CRM เข้ามาวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พร้อมจัดโปรโมชันให้ตรงจุด ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวช่วยทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น 

 

อีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้คือ ‘ระบบชำระเงิน’ ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยการเดินเข้าร้านของผู้บริโภคในวันนี้ เพราะในขณะที่ 7-Eleven นั้นแม้จะสามารถใช้บัตรเครดิตชำระเงินได้ แต่ก็เปลี่ยนจากไม่มีขั้นต่ำ มาเป็น 200 บาทถึงจะรูดได้ ในขณะที่การใช้ QR Code ก็จำกัดสำหรับใช้ผ่านแอปพลิเคชันของ 7-Eleven หรือ TrueMoney Wallet

 

ดังนั้นแม้ทั้งคู่จะมีระบบสะสมแต้มเหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ Tops Daily เหนือกว่าคือการสะสมคะแนน The 1 ที่สามารถนำไปใช้ในร้านของเครือได้ทั้งหมด ขณะเดียวกันยังไม่มีอุปสรรคในการชำระเงินด้วย เพราะสามารถจ่ายผ่านบัตรเครดิตไม่มีขั้นต่ำ และชำระผ่าน QR Code ตามธนาคารที่ใช้ได้เลย

 

 

2 ปัจจัยเสริมความมั่นใจให้กับ Tops Daily

 

อย่างไรก็ตาม อีกคำถามที่น่าสนใจคือ ในขณะที่ Tops Daily มีอยู่ราว 500 กว่าสาขาใน 23 จังหวัด แบ่งเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล 57% ที่เหลือ 43% เป็นต่างจังหวัด ส่วน 7-Eleven มีอยู่นับหมื่นสาขา Tops Daily จะเอาอะไรมาสู้นอกเหนือจากแต้มต่อที่กล่าวไปข้างต้น

 

สุวัฒน์ สินสาฎก CFA, FRM, ERP รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจหลักทรัพย์ลูกค้าสถาบัน บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BYD ได้วิเคราะห์ผ่านรายการ Right Now Ep.1,000 ของ อิก-บรรพต ธนาเพิ่มสุข ได้อย่างน่าสนใจว่า สิ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับ Tops Daily มาจาก 2 เรื่องหลักๆ ได้แก่

 

1. การที่ Tops Daily อยู่ภายใต้ CRC หรือบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้บุกไปทำธุรกิจค้าปลีกในทุกรูปแบบที่เวียดนามแล้ว และประสบความสำเร็จไม่น้อย

 

ย้อนกลับไปเมื่อต้นปีที่แล้ว CRC ที่นำโดยแม่ทัพใหญ่อย่าง ‘ญนน์ โภคทรัพย์’ ได้พาสื่อมวลชนจากไทยไปดูธุรกิจในเวียดนาม พร้อมกับบอกว่ามีจำนวนร้านค้ามากกว่า 340 สาขา พื้นที่รวมกว่า 1.2 ล้านตารางเมตร ในพื้นที่ 40 จังหวัด ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก จนทำให้กลายเป็นผู้นำค้าปลีกต่างชาติรายใหญ่อันดับ 1 ด้านไฮเปอร์มาร์เก็ต ตามด้วยการเป็นผู้นำตลาดอันดับ 2 ด้านศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์

 

ในแง่ยอดขายปี 2565 ปิดยอดที่ 3.8 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2566 คาดว่าจะเติบโตขึ้นอีก 25% พร้อมอัดงบลงทุน 5 หมื่นล้านบาทในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ เพื่อสร้างยอดขายให้ได้ 1.5 แสนล้านบาท 

 

“การประสบความสำเร็จในเวียดนามแปลว่า CRC ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และบทเรียนมาแล้ว ซึ่งการที่ไปเปิดร้านค้าปลีกในทุกรูปแบบ แถมจำนวนประชากรเวียดนามที่ใกล้เคียงกับไทย ก็ทำให้ CRC สามารถนำบทเรียนมาใช้ได้ทันที”

 

 

2. การได้ Know-How จาก FamilyMart ที่อยู่ในไทยมานานกว่า 30 ปี เมื่อรวมกับความเชี่ยวชาญเรื่องค้าปลีกของ Tops จึงกลายเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่างให้ Tops Daily อย่างชัดเจน

 

สุวัฒน์มองว่า สิ่งที่ทำให้ FamilyMart ไม่ประสบความสำเร็จในไทยมาจากการที่ขาดการยืดหยุ่น และปรับตัวไม่เร็วพอต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค แม้จะร่วมทุนกัน แต่หากจะทำอะไรก็ต้องขออนุมัติจากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ซึ่งหลายครั้งก็ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จนสุดท้ายต้องโบกมือลา

 

Know-How จาก FamilyMart ทำให้ Tops Daily ได้เรียนรู้ระบบหลังบ้านและซัพพลายเชนจาก FamilyMart เพราะต้องยอมรับว่าคนไทยไม่เก่งในเรื่องนี้ ดังนั้นเมื่อบวกกับประสบการณ์ที่ได้จากเวียดนาม ก็เสริมความมั่นใจให้กับ Tops Daily และมาแข่งกับ 7-Eleven ได้

 

เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบหลังบ้านของ 7-Eleven คือกุญแจแห่งชัยชนะ เพราะมี Big Data ที่สามารถวิเคราะห์ยอดขายของสินค้าแต่ละ SKU ตำแหน่งการจัดวางบนชั้นวางแยกตามแต่ละสาขาได้แบบไดนามิก ซึ่งปรับให้เข้ากับผู้บริโภคในทำเลนั้นๆ ได้

 

ขยายสาขาให้เร็วคือปัจจัยตัดสิน

 

“จำนวนไม่สำคัญเท่ากับจุดขาย” นี่คือสิ่งที่สุวัฒน์ประเมิน พร้อมกับเสริมว่า “หากสามารถหาสินค้าที่ถูกที่ ถูกเวลา ถูกใจผู้บริโภค ก็จะกลายเป็นแต้มต่อที่ทำให้ลูกค้าเดินเข้าร้าน”

 

ซึ่งนี่ถือเป็นเรื่องที่ Tops ถนัดในแง่ของการ Assortment แบบซูเปอร์มาร์เก็ตที่ไม่มีใครสู้ได้ และสามารถนำมาปรับใช้กับ Tops Daily ได้ทันที

 

จะเห็นได้ว่า Tops Daily นั้นชูเรื่องการมีสินค้าภายในและนำเข้า ซึ่งนี่ก็ถือเป็นการมองเกมขาดเช่นเดียวกัน เพราะหลายคนอาจเข้าใจว่าการวางจุดแข็งเรื่องอาหารของ 7-Eleven จะทำให้สามารถโกยกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ในความเป็นจริงกำไรจากสินค้าอุปโภคบริโภคกลับเหนือกว่ากำไรจากอาหารเสียด้วยซ้ำ

 

ดังนั้นสิ่งที่ Tops Daily ต้องเร่งทำในเวลานี้คือการเร่งขยายสาขาให้เร็วที่สุด เพื่อสร้าง Economies of Scale ซึ่งจะทำให้สามารถลดต้นทุนของสินค้า และสร้างผลกำไรที่มากขึ้นได้ 

 

“ผมเชื่อว่าภายใน 2-3 ปีต่อจากนี้เราจะเห็นสาขาของ Tops Daily ในจำนวน 3,000-4,000 แห่งได้ไม่ยาก” สุวัฒน์กล่าว

 

 

แต่การจะขยายสาขาให้เร็วนั้น การที่บริษัทลงมาทำเองอาจไม่ตอบโจทย์ ดังนั้นการขยายแบบ ‘แฟรนไชส์’ จึงถือเป็นคำตอบที่เหมาะสม

 

Tops Daily เลือกใช้แคมเปญที่ดึงดูดใจสำหรับผู้ที่อยากทำธุรกิจด้วยการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

 

  • รูปแบบที่ 1 สำหรับผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดิน/อาคาร ขนาดมากกว่า 200 ตารางเมตร เป็นระยะเวลามากกว่า 9 ปี ใช้เงินลงทุน 4-6 ล้านบาท การันตีรายได้ 150,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 24 เดือนแรกของสัญญา
  • รูปแบบที่ 2 สำหรับผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดิน แต่สนใจที่จะเข้าสวมสิทธิบริหารร้าน Tops Daily ที่เปิดอยู่เดิม ใช้เงินลงทุน 1.07 ล้านบาทขึ้นไป การันตีรายได้ 60,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 24 เดือนแรกของสัญญา

 

ผู้บริหารของ Tops Daily บอกว่าแบบที่ 1 จะทำให้สามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ส่วนแบบที่ 2 จะทำให้แฟรนไชส์เข้าถึงชุมชนได้มากขึ้น ตัว Tops Daily เองก็แก้ Pain Point ของคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ด้วยการจับมือกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) เพื่อให้คำปรึกษาวางแผนเรื่องการเงินและการลงทุน 

 

ตลอดจนการพิจารณาสินเชื่อเพื่อการลงทุนแฟรนไชส์ Tops Daily โดยเฉพาะ ผ่านข้อเสนอวงเงินกู้สูงสุดกว่า 5 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น MLR -1.25% ผ่อนชำระนานสูงสุดที่ 12 ปี และยังมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นสูงสุดถึง 6 เดือน

 

ในมุมมองของสุวัฒน์ การออกแฟรนไชส์ในราคาที่เข้าถึงได้สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ และการการันตีรายได้ต่อเดือน ถือเป็น ‘เกมฉลาด’ ในการดึงดูดให้ผู้ที่สนใจอยากมาร่วม ‘แฟรนไชส์’ จำนวนมากขึ้น

 

“หลายคนอาจมองว่าการการันตีรายได้นั้นยังไม่แน่ชัดว่าเป็นผลกำไรทั้งหมดหรือไม่ แต่ตามข้อมูลที่ได้รับสำหรับรูปแบบที่ 2 จะแบ่งกำไรให้เจ้าของร้าน 40% ซึ่งหากพอใจเรื่องนี้ก็จบ”

 

 

ขณะที่แหล่งข่าวนักวิเคราะห์อีกคนก็มองว่า หากสามารถบริหารจัดการได้ดี บางร้านอาจสามารถคืนทุนได้ใน 1 ปี ซึ่งจุดนี้อาจทำให้คนที่จะลงทุนกับ 7-Eleven ลังเลได้เหมือนกัน

 

Tops Daily หวังว่าการออกมาเปิดรับสมัครแฟรนไชส์ในครั้งนี้ได้ตั้งเป้าหมายการเพิ่มขึ้นของแฟรนไชส์เป็นสัดส่วน 45% จากเดิม 30% ของสาขาทั้งหมด รองรับการขยายตัวของธุรกิจมินิซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทยที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

 

ท้ายนี้ อนาคตของตลาดร้านสะดวกซื้อไทยจะเป็นอย่างไร? ‘แจ็คผู้ฆ่ายักษ์’ อย่าง Tops Daily จะสามารถโค่นล้ม ‘ยักษ์ใหญ่’ อย่าง 7-Eleven ได้หรือไม่? ห้ามพลาดบทต่อไปของศึกชิงแชมป์ครั้งนี้!

 

อ้างอิง:

The post Tops Daily vs. 7-Eleven กับการสร้างตำนาน ‘แจ็คผู้ฆ่ายักษ์’ ในสังเวียนร้านสะดวกซื้อแสนล้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีช่องว่างอีกมาก! ‘ท็อปส์ เดลี่’ เปิดขายแฟรนไชส์ เริ่มต้น 1.07 ล้านบาท การันตีรายได้ 60,000 บาทต่อเดือน คืนทุนใน 2 ปี https://thestandard.co/tops-daily-franchise-1-07-m-baht/ Wed, 20 Mar 2024 10:09:54 +0000 https://thestandard.co/?p=913385

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อยังมีโอกาสและช่องว่างอีกมาก ‘ท็อปส์ […]

The post ธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีช่องว่างอีกมาก! ‘ท็อปส์ เดลี่’ เปิดขายแฟรนไชส์ เริ่มต้น 1.07 ล้านบาท การันตีรายได้ 60,000 บาทต่อเดือน คืนทุนใน 2 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อยังมีโอกาสและช่องว่างอีกมาก ‘ท็อปส์ เดลี่’ ย้ำหลังประกาศเปิดขายแฟรนไชส์ เริ่มต้น 1.07 ล้านบาท การันตีรายได้ 60,000 บาทต่อเดือน คืนทุนใน 2 ปี ด้วยจุดแข็งสินค้านำเข้าและฐานข้อมูลจาก The 1 ช่วยทำตลาด ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้ตรงจุด 

 

ถึงวันนี้ ‘ท็อปส์ เดลี่’ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ดำเนินธุรกิจมากว่า 18 ปีแล้ว จนมีสาขาทั้งหมด 515 สาขาทั่วประเทศ นับตั้งแต่ได้ปรับโฉมโมเดล ท็อปส์ เดลี่ สู่ Joy-venience Store ภายใต้แนวคิด Every Day for Everyone ศูนย์รวมแห่งความสุขที่พร้อมส่งมอบประสบการณ์ดีๆ ให้กับลูกค้า ก็สามารถสร้างยอดขายเติบโต 10% ต่อปี

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

และอีกหนึ่งเป้าหมายของ ‘Tops’ ยังต้องการขยายสาขาทุกโมเดล ไม่ว่าจะเป็น Tops Food Hall, Tops Fine Food และ Tops Daily ให้เข้าถึงลูกค้าในทุกพื้นที่ให้ครอบคลุมมากขึ้น 

 

“ที่สำคัญตลาดร้านสะดวกซื้อยังมีโอกาสอีกมาก เนื่องจากบริบทสังคมเปลี่ยน ประกอบกับการขยายตัวของคนออกไปอยู่นอกเมืองมากขึ้น จึงทำให้หลายๆ พื้นที่เริ่มมีศักยภาพให้ท็อปส์ เดลี่ เข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ได้อย่างครอบคลุม” เมทินี พิศุทธิ์สินธพ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าว

 

จึงเปิดตัวโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยกลยุทธ์สร้างจุดแข็งและความแตกต่างจากคู่แข่ง สิ่งที่น่าสนใจของแฟรนไชส์คือลงทุนต่ำ แฟรนไชส์ท็อปส์ เดลี่ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ เปิดร้านใหม่ ลงทุนเริ่มต้น 4-6 ล้านบาท การันตีรายได้ 150,000 บาทต่อเดือน และรูปแบบที่ 2 เข้าสวมสิทธิ์บริหารร้านท็อปส์ เดลี่ ที่เปิดอยู่เดิม งบลงทุน 1.07 ล้านบาทขึ้นไป การันตีรายได้ 60,000 บาทต่อเดือน คืนทุนไวใน 2 ปี  

 

รวมถึงจุดแข็งที่ท็อปส์ เดลี่ มีแต้มต่อทั้งเรื่องการทำตลาดที่แตกต่างทั้งสินค้าภายในและนำเข้ามากกว่า 6,000 รายการ, อาหารสด แช่แข็ง, อาหารญี่ปุ่น และสินค้าพรีเมียม ในราคาเข้าถึงง่าย ซึ่งใช้ฐานข้อมูล The 1 และระบบ CRM เข้ามาวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พร้อมจัดโปรโมชันให้ตรงจุด ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวช่วยทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น 

 

พร้อมจัดตั้งทีมงานมืออาชีพมาสนับสนุนการทำธุรกิจ เริ่มตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบสินค้า, IT, ที่ปรึกษาเรื่องบัญชี, ระบบการขนส่ง ตลอดจนโปรโมชันส่งเสริมการขายและการตลาดครบวงจร พร้อมจับมือกับพันธมิตรธนาคารเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อด้านเงินทุน เปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจร่วมลงทุนเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น โดยตั้งเป้าขยายสิทธิ์ร้านแฟรนไชส์ท็อปส์ เดลี่ จากเดิม 30% เพิ่มเป็น 45% ของสาขาทั้งหมด

 

ทั้งหมดบริษัทต้องการให้ธุรกิจ Growth Engine ตามยุทธศาสตร์ที่ไม่หยุดนิ่งในการมองหาโอกาสสร้างการเติบโตใหม่ และวันนี้เราจะโตคนเดียวไม่ได้ จะต้องมีพาร์ตเนอร์เข้ามาช่วยสร้างการเติบโตไปพร้อมๆ กัน

The post ธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีช่องว่างอีกมาก! ‘ท็อปส์ เดลี่’ เปิดขายแฟรนไชส์ เริ่มต้น 1.07 ล้านบาท การันตีรายได้ 60,000 บาทต่อเดือน คืนทุนใน 2 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ค้าปลีกในยุคดิจิทัล: ความท้าทายและความจำเป็นของ Omni-Channel จนเป็นที่มาของ ‘CRC OMNI-Intelligence’ https://thestandard.co/crc-omni-intelligence/ Wed, 13 Mar 2024 11:40:48 +0000 https://thestandard.co/?p=910739 CRC OMNI-Intelligence

ลองจินตนาการว่าคุณกำลังเดินช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าหรู […]

The post ค้าปลีกในยุคดิจิทัล: ความท้าทายและความจำเป็นของ Omni-Channel จนเป็นที่มาของ ‘CRC OMNI-Intelligence’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
CRC OMNI-Intelligence

ลองจินตนาการว่าคุณกำลังเดินช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าหรู แต่ละชั้นเต็มไปด้วยสินค้าแบรนด์ดัง พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใสคอยให้บริการ แต่ความเป็นจริงคุณไม่ต้องเดินไปไหนเลย เพียงแค่หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมา สั่งซื้อสินค้า เลือกวิธีการชำระเงิน และรอรับสินค้าที่หน้าประตูบ้าน

 

นี่ไม่ใช่ภาพฝัน แต่มันคือ ‘โลกใหม่ของธุรกิจค้าปลีก’ ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งผู้บริโภคมีอำนาจมากกว่าที่เคย เพราะสามารถค้นหาข้อมูล เปรียบเทียบราคา และตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ เหล่าผู้ค้าปลีกจึงต้องปรับตัว เพราะ ‘กลยุทธ์แบบเดิมๆ ไม่ได้ผลอีกต่อไป’

 

ในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกแง่มุมของชีวิต ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจค้าปลีกจึงต้องเผชิญกับความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ มากมาย

 

ความท้าทาย:

 

  • การแข่งขันที่รุนแรง: ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว เกิดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหม่ๆ มากมาย ทำให้ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น
  • พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง: ผู้บริโภคมีการค้นหาข้อมูล เปรียบเทียบราคา และตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น
  • ความคาดหวังของลูกค้าที่สูงขึ้น: ลูกค้าต้องการประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวก รวดเร็ว ไร้รอยต่อ และ Personalized
  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี: เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ธุรกิจต้องปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้า

 

โอกาส:

 

  • การเข้าถึงลูกค้า: เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น
  • การเพิ่มประสบการณ์การช้อปปิ้ง: ธุรกิจสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวก รวดเร็ว ไร้รอยต่อ และ Personalized
  • การเพิ่มโอกาสในการขาย: ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งสามารถใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและบริการ
  • การสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลให้โดนใจลูกค้า: ธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลลูกค้าเพื่อสร้างความสัมพันธ์และดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

 

ด้วยเหตุนี้เอง Omni-Channel จึงกลายมาเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับธุรกิจรีเทล เพราะจากข้อมูลของ Forrester Research ระบุว่า 66% ของผู้บริโภคเริ่มต้นการช้อปปิ้งออนไลน์ แต่ 44% ของพวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าที่หน้าร้าน ดังนั้น Omni-Channel จึงเป็นกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ แต่การสร้าง Omni-Channel Platform เพียงอย่างเดียวก็อาจไม่เพียงพอแล้วสำหรับยุคนี้ ต้องนำเทคโนโลยีและ AI เข้ามารวมพลังด้วย

 

ทั้งหมดนี้จึงกลายเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ เซ็นทรัล รีเทล ประกาศเดินหน้าสู่ The New Era of Brilliance ด้วยวิสัยทัศน์ CRC OMNI-Intelligence

 

 

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ 5 ปี ‘CRC OMNI-Intelligence’ มุ่งผสาน AI เข้าไปในทุกกระบวนการของธุรกิจ สร้าง Next-Gen Omni-Channel ผนวกแพลตฟอร์มออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน ขยาย Ecosystem จาก B2C สู่ B2B ผนวก AI เข้ากับ HI (Human Intelligence) เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มุ่งสร้างอิมแพ็กต์ทั้งด้าน Profit และ Planet ให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

 

สำหรับ CRC OMNI-Intelligence ประกอบไปด้วย 5 กลยุทธ์หลัก (5R) ได้แก่

 

  • Revolutionise Core Strength: ยกระดับความแข็งแกร่งของธุรกิจหลักใน Multi-Format, Multi-Category และ Multi-Market โดยมุ่งเน้นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เสริมสร้าง Synergy และทำ M&A เพิ่ม Value ให้กับธุรกิจ
  • Reinforce Financial Resilience: เสริมสร้างสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง บริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ บนหลักการ 3C (Cash, Cost, Capex)
  • Reinvent Beyond Retail: ต่อยอดธุรกิจนอกเหนือจากค้าปลีก เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในคอมมูนิตี้เพื่อสร้าง Network และ Value ระยะยาวกับลูกค้า ขยาย Ecosystem จาก B2C สู่ B2B ทั้งไทวัสดุ, OfficeMate และธุรกิจค้าส่งล่าสุดอย่าง GO Wholesale ตอกย้ำความเป็นผู้นำของธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งใน 3 ประเทศ
  • Reimagine Human Capital: เซ็นทรัล รีเทล นำ AI มาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร โดยเริ่มจากการให้บริการลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพแพลตฟอร์ม Omni-Channel ช่วยวิเคราะห์และป้อนข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด รวมถึงพัฒนาระบบ Search Engine ที่ให้ลูกค้าค้นหาข้อมูลได้ทันใจยิ่งขึ้น พร้อมรับข้อเสนอโปรโมชันที่ตรงใจ ทั้งยังพัฒนาศักยภาพพนักงาน โดยใช้ Intelligence ของ AI ผนวกกับ HI ช่วยขยายขีดความสามารถในการทำงาน รวมถึงช่วย HR ในการคัดเลือกผู้สมัครงานให้ตรงโจทย์มากยิ่งขึ้น 
  • Rally Green Impact: เซ็นทรัล รีเทล มุ่งเน้นพัฒนาธุรกิจและยกระดับการแก้ปัญหาเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจัง โดยตั้งเป้ายกระดับ Green Transition ผนึกกำลังภาครัฐ เอกชน ลูกค้า และพาร์ตเนอร์ แก้ปัญหา Climate Change ลดการใช้พลังงาน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโลกสีเขียว เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ประโยชน์สูงสุด

 

 

“จากวิสัยทัศน์ CRC OMNI-Intelligence ที่เซ็นทรัล รีเทล วางไว้ ได้ถูกต่อยอดมาเป็นแผนงานปี 2567 ที่มีเป้าหมายผลประกอบการ คือ รายได้เติบโต 9-11% EBITDA เติบโต 15-17% และใช้งบลงทุน 22,000-24,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันเราก็จะต่อยอดเรื่องความยั่งยืนไปอีกขั้น ผ่านการดำเนินงานบนปรัชญา CRC Care ที่พร้อมผลักดันธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า และดูแลทุกภาคส่วนให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกันแบบ 360 องศา” ญนน์กล่าวทิ้งท้าย

The post ค้าปลีกในยุคดิจิทัล: ความท้าทายและความจำเป็นของ Omni-Channel จนเป็นที่มาของ ‘CRC OMNI-Intelligence’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
CRC – หุ้น Laggard ของกลุ่มพาณิชย์ที่มีปัจจัยหนุนราคาหุ้นรออยู่ https://thestandard.co/market-focus-crc-4/ Mon, 04 Mar 2024 13:39:40 +0000 https://thestandard.co/?p=907111

เกิดอะไรขึ้น: ใน 1Q67TD InnovestX Research ประเมินได้ว่ […]

The post CRC – หุ้น Laggard ของกลุ่มพาณิชย์ที่มีปัจจัยหนุนราคาหุ้นรออยู่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

ใน 1Q67TD InnovestX Research ประเมินได้ว่ายอดขายสาขา (SSS) ของ บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) กลับมาเติบโต 2%YoY (เทียบกับลดลง 3%YoY ใน 4Q66) หลักๆ เกิดจากการฟื้นตัวของ SSS จากประเทศเวียดนาม โดยในประเทศเวียดนามคาดว่า SSS จะเติบโต 5%YoY โดยเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับสูง YoY ในกลุ่มฟู้ด แต่ลดลง 25%YoY ในกลุ่มฮาร์ดไลน์ (เทียบกับลดลง 16%YoY ใน 4Q66, ลดลง 11%YoY ในกลุ่มฟู้ด และลดลง 34%YoY ในกลุ่มฮาร์ดไลน์) ในประเทศอิตาลีคาดว่า SSS จะเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับสูง YoY (เทียบกับ +9%YoY ใน 4Q66)

 

ส่วนในประเทศไทยคาดว่า SSS จะอยู่ในระดับทรงตัว YoY (เทียบกับลดลง 1%YoY ใน 4Q66) โดยเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับต่ำ YoY ในกลุ่มแฟชั่นและกลุ่มฟู้ด แต่ลดลงเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับต่ำในกลุ่มฮาร์ดไลน์การหยุดชะงักของยอดขายจากการปรับปรุงร้านไทวัสดุ และงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า

 

สำหรับการซื้อที่ดินใน 2Q67 จะหนุนให้กำไรเพิ่มขึ้น เพิ่มสัดส่วนที่ดินที่ถือครองกรรมสิทธิ์ และเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสทำ IPO สำหรับไทวัสดุ คณะกรรมการของ CRC ได้มีมติอนุมัติการซื้อที่ดินสำหรับการประกอบธุรกิจรวมทั้งสิ้น 24 แห่ง มูลค่า 5.6 พันล้านบาท จากผู้ขายที่ดิน (บริษัทซึ่งบริษัท ห้างเซ็นทรัล ดีพาทเมนท์สโตร์ จำกัด (HDCS) ถือหุ้น 99.99% นอกจากนี้ HDCS ยังถือหุ้น 35.1% ใน CRC ด้วย) สถานที่ตั้งประกอบด้วย 1. สาขาของไทวัสดุ 22 สาขา 2. สาขาของ Tops Plaza 1 สาขา 3. ศูนย์กระจายสินค้าสำหรับสาขา Tops โดยทั้งหมดนี้ CRC ได้มีการเข้าทำสัญญาเช่าที่ดินกับผู้ขายที่ดิน ซึ่ง CRC มองว่าผลการดำเนินงานของร้านเหล่านี้แข็งแกร่ง ท่ามกลางขนาดที่ดินและราคาที่เหมาะสม

 

CRC ตั้งเป้าที่จะใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดภายในบริษัท ธุรกรรมนี้จะถูกเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติในวันที่ 25 เมษายน โดยมีกำหนดแล้วเสร็จใน 2Q67 เหตุผลในการเข้าทำรายการมีดังนี้

 

  1. ราคาเข้าซื้อต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน โดยผู้ประเมินราคาอิสระอยู่ 21-28%

 

  1. การเปลี่ยนแปลงจากสัญญาเช่าที่ดินเป็นการซื้อที่ดินจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเช่า และหนุนให้กำไรปกติของ CRC ปรับเพิ่มขึ้นได้อีก 112 ล้านบาทต่อปี โดยจะมีกำไรที่เกิดขึ้นครั้งเดียว (หลังหักภาษี) จากส่วนต่างระหว่างสิทธิในการใช้สินทรัพย์กับหนี้สินตามสัญญาเช่าจำนวน 208 ล้านบาท ใน 2Q67

 

  1. สัดส่วนที่ดินที่ถือครองกรรมสิทธิ์สำหรับร้านไทวัสดุจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับเกือบ 40% (จาก 6%) เทียบกับคู่แข่งร้านวัสดุก่อสร้างที่ 80-90% ซึ่งจะส่งผลทำให้บริษัทมีความคล่องตัวมากขึ้นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจและลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาเช่าที่ดิน รวมถึงเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสในการทำ IPO เมื่อได้ Valuation ที่เหมาะสม

 

เพื่อสนับสนุนการเติบโตนอกเหนือจากการขยายธุรกิจปกติ CRC ยังมองหาโอกาสทำ M&A สำหรับธุรกิจหลักในกลุ่มแฟชั่น กลุ่มฟู้ด และกลุ่มฮาร์ดไลน์ในประเทศที่มีศักยภาพเติบโตสูงในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม โดยธุรกิจที่ศึกษาจะต้องมีรายได้เกิน 5,000-10,000 ล้านบาทต่อปี และต้องเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรส่วนเพิ่ม เมื่อพิจารณาจากอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (ไม่รวมสัญญาเช่า) ที่ 1 เท่า ณ สิ้นปี 2566 เทียบกับอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนในระดับ Comfortable ของบริษัทที่ 2 เท่า CRC จึงมีโอกาสที่จะเพิ่มหนี้ได้สูงถึง 70,000 ล้านบาท

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น CRC ปรับขึ้น 8.33% สู่ระดับ 35.75 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 1.54% สู่ระดับ 1,362.70 จุด

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ:

CRC เป็นหุ้น Laggard ของกลุ่มพาณิชย์ เนื่องจากราคาหุ้นปรับตัวลดลง 8% เทียบกับกลุ่มพาณิชย์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับ SSS ที่หดตัวลงใน 4Q66 และการเติบโตของกำไรที่ชะลอตัวลง เมื่อมองต่อไปข้างหน้า InnovestX Research คาดว่าราคาหุ้น CRC จะปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก

 

  1. SSS ที่กลับมาเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับต่ำ YoY ใน 1Q67TD นำโดยการฟื้นตัวของ SSS ในประเทศเวียดนาม

 

  1. กำไรส่วนเพิ่มจากธุรกรรมการซื้อที่ดิน (หนุนให้กำไรปี 2567 ปรับขึ้นได้อีก 3% กำไรปกติปรับขึ้นได้อีก 1% และกำไรพิเศษ 2% ใน 2Q67)

 

  1. โอกาสทำ M&A ในธุรกิจหลักในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม 

 

โดยคงเรตติ้ง OUTPERFORM สำหรับ CRC โดยให้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 อ้างอิงวิธี DCF (WACC 7.1% และอัตราการเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) ที่ 44 บาทต่อหุ้น

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือการเปลี่ยนแปลงในกำลังซื้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และนโยบายรัฐบาลใหม่ ความเสี่ยง ESG ที่สำคัญ คือการบริหารจัดการพลังงาน ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ (E) แนวปฏิบัติด้านการจ้างงาน และความปลอดภัยของข้อมูล (S)

The post CRC – หุ้น Laggard ของกลุ่มพาณิชย์ที่มีปัจจัยหนุนราคาหุ้นรออยู่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เซ็นทรัล รีเทล’ สร้างนิวไฮปี 66 โชว์กำไร 8,016 ล้านบาท โต 12% เคาะจ่ายเงินปันผล 0.55 บาทต่อหุ้น สูงกว่าปีก่อน 15% https://thestandard.co/central-retail-profit-8016-million-baht/ Thu, 29 Feb 2024 11:27:37 +0000 https://thestandard.co/?p=905813 เซ็นทรัล รีเทล

‘เซ็นทรัล รีเทล’ สร้างนิวไฮปี 66 โชว์กำไร 8,016 ล้านบาท […]

The post ‘เซ็นทรัล รีเทล’ สร้างนิวไฮปี 66 โชว์กำไร 8,016 ล้านบาท โต 12% เคาะจ่ายเงินปันผล 0.55 บาทต่อหุ้น สูงกว่าปีก่อน 15% appeared first on THE STANDARD.

]]>
เซ็นทรัล รีเทล

‘เซ็นทรัล รีเทล’ สร้างนิวไฮปี 66 โชว์กำไร 8,016 ล้านบาท โต 12% เคาะจ่ายเงินปันผล 0.55 บาทต่อหุ้น สูงกว่าปีก่อน 15% ก่อนเดินหน้าขยายธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ CRC OMNI-Intelligence พร้อมขยายธุรกิจอีก 40 สาขาทั้งในไทยและเวียดนาม 

 

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC กล่าวว่า ภาพรวมการดำเนินงานของเซ็นทรัล รีเทล ในปี 2566 ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์รวม 248,688 ล้านบาท (+5%YoY) EBITDA 32,436 ล้านบาท (+8%YoY) และกำไรสุทธิ 8,016 ล้านบาท (+12%YoY) พร้อมนำเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี เพื่อพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราสูงถึง 0.55 บาทต่อหุ้น เรียกได้ว่าเติบโตมากกว่าปีที่ผ่านมา 15% 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเซ็นทรัล รีเทล ที่มีอีโคซิสเต็มที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการที่เซ็นทรัล รีเทล สามารถดำเนินงานตามแผนงานทุกอย่างที่วางไว้ และรักษาเสถียรภาพทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถปิดปีได้แบบนิวไฮ และเสริมแกร่งความเป็นเบอร์ 1 Next-Gen Omni Retailer and Wholesaler ได้ในทุกกลุ่มธุรกิจ

 

พร้อมกันนี้ในปีที่ผ่านมาเซ็นทรัล รีเทล ได้สร้างความยั่งยืนในหลากหลายมิติ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา Climate Crisis ของโลก อาทิ การเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 15.7% ด้วยการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์รวม 136 สาขา และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 50,000 ตัน ทั้งหมดนี้ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของเซ็นทรัล รีเทล ที่จะเป็น Green & Sustainable Retail องค์กรค้าปลีก-ค้าส่งต้นแบบด้านความยั่งยืนแห่งเอเชีย

 

ทั้งนี้ในปี 2567 บริษัทยังเดินหน้าสร้างการเติบโตภายใต้วิสัยทัศน์ CRC OMNI-Intelligence ที่จะยกระดับวงการค้าปลีก-ค้าส่งสู่ The New Era of Brilliance ด้วยการนำ AI เข้าไปผนวกในทุกกระบวนการของการทำธุรกิจ พร้อมทั้งใช้ AI เข้ามาติดอาวุธให้กับพนักงาน เพื่อ Upskill และสร้างประสบการณ์ในรูปแบบ Hyper Personalised Omni Experience ให้กับลูกค้า

 

ควบคู่ไปกับการเดินหน้ารีโนเวตห้างร้านในเครือ และขยายธุรกิจอีกกว่า 40 สาขาในไทยและเวียดนาม ตลอดจนเดินหน้า Scale up ธุรกิจ B2B และพาธุรกิจเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ต่างๆ เพื่อสร้าง Network และ Value กับกลุ่มลูกค้าในระยะยาว

 

 

The post ‘เซ็นทรัล รีเทล’ สร้างนิวไฮปี 66 โชว์กำไร 8,016 ล้านบาท โต 12% เคาะจ่ายเงินปันผล 0.55 บาทต่อหุ้น สูงกว่าปีก่อน 15% appeared first on THE STANDARD.

]]>
CRC – เป้าหมายปี 2567, พรีวิวผลประกอบการ 4Q66 https://thestandard.co/market-focus-crc-4q66/ Wed, 14 Feb 2024 07:12:26 +0000 https://thestandard.co/?p=899721

เกิดอะไรขึ้น:   ในปี 2567 บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ป […]

The post CRC – เป้าหมายปี 2567, พรีวิวผลประกอบการ 4Q66 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

ในปี 2567 บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ตั้งเป้ารายได้รวมเติบโต 9-11% โดยได้รับการสนับสนุนจากยอดขายจากธุรกิจค้าปลีกที่เติบโต 9-11% (หลักๆ เกิดจากประเทศไทยและประเทศเวียดนาม และส่วนหนึ่งเกิดจากประเทศอิตาลี) และรายได้จากการให้บริการเช่าและการให้บริการที่เติบโต 3-4% ทั้งนี้ จากการเติบโตของยอดขายจากธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด การเติบโต 50% จะเกิดจาก SSS และที่เหลือจะเกิดจากการขยายสาขา 

 

โดยการขยายสาขารูปแบบขนาดใหญ่ประกอบด้วยห้างสรรพสินค้า 2 สาขา ร้านไทวัสดุ 9 สาขา ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต 10 สาขา GO Wholesale 7 สาขา ในประเทศไทย และ GO! Mall 3 สาขา และ mini go! supermarket 9 สาขา ในประเทศเวียดนาม CRC เปิดเผยว่ามีโอกาสน้อยที่บริษัทจะขยายการลงทุนในประเทศใหม่ๆ ในยุโรป เนื่องจาก 1) ยังไม่ได้รับการติดต่อจาก Central Group ซึ่งมีการลงทุนในยุโรปนับถึงปัจจุบัน 2) บริษัทยังคงมุ่งเน้นการลงทุนในประเทศไทยและประเทศเวียดนามซึ่งมีการเติบโตสูง 3) บริษัทมีนโยบายลงทุนในโครงการที่ช่วยเพิ่มผลกำไร (Earnings Accretive) 

 

ทั้งนี้ CRC ตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นปี 2567 ของธุรกิจค้าปลีกในระดับค่อนข้างทรงตัวจากปี 2566 โดยตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 50-70 bps YoY ในกลุ่มแฟชั่นและกลุ่มฮาร์ดไลน์ แต่ลดลง 20 bps YoY ในกลุ่มฟู้ด (โดยมาร์จิ้นที่ปรับตัวดีขึ้นในธุรกิจฟู้ดทั้งหมด จะถูกหักล้างโดยสัดส่วนการขายที่แย่ลงจากการขยายธุรกิจฟู้ดใหม่ที่มีมาร์จิ้นต่ำ) บริษัทตั้งเป้าอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายลดลง 50 bps YoY สู่ 27.5% ผ่านทางการควบคุมงบลงทุนและต้นทุน ด้วยยอดขายและมาร์จิ้นที่ดีขึ้น CRC จึงตั้งเป้า EBITDA เติบโต 15-17%YoY บริษัทตั้งงบลงทุนไว้ที่ 2.0-2.2 หมื่นล้านบาท

 

สำหรับ 4Q66 InnovestX Research ประเมินกำไรสุทธิได้ที่ 2.6 พันล้านบาท ลดลง 26%YoY แต่เพิ่มขึ้น 131%QoQ โดยประเมินว่าจะไม่มีรายการพิเศษใน 4Q66 (เทียบกับกำไร FX และการขายสินทรัพย์ที่ 747 ล้านบาท ใน 4Q65) ซึ่งจะทำให้กำไรปกติจะอยู่ที่ 2.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3%YoY และเพิ่มขึ้น 100%QoQ โดยกำไรที่เพิ่มขึ้น YoY สะท้อนถึงยอดขายที่ดีขึ้นเล็กน้อยจากการขยายสาขา ซึ่งช่วยชดเชย SSS ที่หดตัวลง 2-3%YoY และอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายที่ลดลง ซึ่งช่วยชดเชยดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น ในขณะที่กำไรปกติที่เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด QoQ เกิดจากปัจจัยฤดูกาล ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนยอดขายที่ชะลอตัวลง จึงปรับประมาณการกำไรลดลง 3% ในปี 2566 และ 4% ในปี 2567

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น CRC ปรับลดลง 10.39% สู่ระดับ 34.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 1.71% สู่ระดับ 1,389.30 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการ 2567:

 

ใน 1Q67TD InnovestX Research เชื่อว่ายอดขายสาขา (SSS) กลับมาเติบโต 2%YoY (เทียบกับ -2-3%YoY ใน 4Q66) โดยได้รับการสนับสนุนจากการฟื้นตัวของ SSS ในประเทศเวียดนามที่ 7-8%YoY (เทียบกับลดลง 15%YoY ใน 4Q66) ท่ามกลางการเติบโตของ SSS จากประเทศอิตาลีที่เติบโตชะลอตัวลงสู่ 4-5%YoY (เทียบกับเติบโต 8%YoY ใน 4Q66) และ SSS ในระดับทรงตัวจากประเทศไทย (เทียบกับลดลง 2%YoY ใน 4Q66) 

 

อย่างไรก็ดี คาดการณ์ถึง SSS ที่ปรับตัวดีขึ้นใน 1) กลุ่มฟู้ด สู่ 10%YoY (เทียบกับลดลง 8%YoY ใน 4Q66) จากผลของ Calendar Effect ในเชิงบวกสำหรับช่วงเวลาของเทศกาลตรุษจีนในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 (เทียบกับมกราคม 2566) ซึ่งช่วยสนับสนุนยอดขายในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 2) กลุ่มฮาร์ดไลน์ ลดลง 10%YoY (เทียบกับลดลง 30%YoY ใน 4Q66) จากฐานที่ต่ำลงในปีก่อน เมื่อแยกตามกลุ่มธุรกิจ คาดว่า SSS ในกลุ่มฟู้ดจะเติบโต 7-8%YoY (เทียบกับลดลง 4%YoY ใน 4Q66) กลุ่มแฟชั่นจะเติบโต 1-2%YoY (เทียบกับเพิ่มขึ้น 3%YoY ใน 4Q66) แต่กลุ่มฮาร์ดไลน์หดตัวลง 2%YoY (เทียบกับลดลง 7%YoY ใน 4Q66)

 

ทั้งนี้ ยอดขายสาขาใน 1Q67TD ที่กลับมาเติบโตจากการฟื้นตัวของยอดขายสาขา (SSS) ในประเทศเวียดนาม หลังจากลดลงมาตั้งแต่ 2Q66 เป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นในระยะสั้น โดยกลยุทธ์การลงทุนยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ CRC โดยให้ราคาเป้าหมายใหม่กลางปี 2567 อ้างอิงวิธี DCF (WACC 7.2% และอัตราการเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) ที่ 44 บาทต่อหุ้น (จาก 48 บาท)

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ การเปลี่ยนแปลงในกำลังซื้อและจำนวนนักท่องเที่ยว อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และนโยบายรัฐบาลใหม่ 

 

ความเสี่ยง ESG ที่สำคัญคือ การบริหารจัดการพลังงาน ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ (E) แนวปฏิบัติด้านการจ้างงาน และความปลอดภัยของข้อมูล (S)

The post CRC – เป้าหมายปี 2567, พรีวิวผลประกอบการ 4Q66 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจาะเคล็ดวิชา ‘CRC Care’ ปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่ทำให้ ‘เซ็นทรัล รีเทล’ กลายเป็น ‘Central to Life’ ของคนไทยมากว่า 80 ปี [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/crc-care-central-to-life/ Thu, 11 Jan 2024 09:00:18 +0000 https://thestandard.co/?p=886393

แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขการดำเนินธุรกิจจากผลประกอบการ […]

The post เจาะเคล็ดวิชา ‘CRC Care’ ปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่ทำให้ ‘เซ็นทรัล รีเทล’ กลายเป็น ‘Central to Life’ ของคนไทยมากว่า 80 ปี [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขการดำเนินธุรกิจจากผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 แต่เชื่อว่าเซ็นทรัล รีเทล หรือ CRC บิ๊กคอร์ปรีเทลไทย จะสร้างยอดขายที่แข็งแกร่งจากความพร้อมของทุกกลุ่มธุรกิจในเครือได้อย่างแน่นอน

 

เพราะหากดูตัวเลขรวมของ 3 ไตรมาสปี 2566 ทำรายได้รวม 182,784 ล้านบาท โต 7% กำไรสุทธิ 5,257 ล้านบาท โต 26% สะท้อนการเติบโตของการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตลอดเกือบ 80 ปี ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสัญชาติไทยที่ทะยานสู่การเป็น Global Company ในเวลาอันรวดเร็ว

 

สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าตัวเลขการเติบโต คือเบื้องหลังการขับเคลื่อนธุรกิจผ่านปรัชญา ‘CRC Care’ ซึ่งมีคุณค่ามากกว่าการดำเนินงาน แต่เป็นเสมือนคำมั่นสัญญาขององค์กรที่จะดูแลและยกระดับทุกภาคส่วนให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนทั้งระบบ

 

อาจเพราะเป้าหมายใหญ่ของการดำเนินธุรกิจคือการเป็น Central to Life ศูนย์กลางชีวิตของทุกคน ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC กล่าวว่า “เซ็นทรัล รีเทล มุ่งมั่นในการสร้าง Ecosystem ที่ครบวงจร เพื่อเป็น Platform of Trust ที่ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนได้อย่างสมบูรณ์แบบ และสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เรามี Brand Purpose ที่ชัดเจนในการเป็น Central to Life ศูนย์กลางชีวิตของทุกคน ในทุกประเทศที่เราดำเนินธุรกิจ และได้สร้างความสำเร็จให้เห็นจริงอย่างเป็นรูปธรรม”

 

 

ปรัชญา ‘CRC Care’ ถูกแยกย่อยออกมาเป็นการดำเนินงานของธุรกิจอย่างต่อเนื่องเกือบ 80 ปี ภายใต้  7 มิติหลัก ได้แก่

 

Care for the Economy

 

มิติแรกที่เซ็นทรัล รีเทล แคร์คือเรื่องการลงทุนขยายธุรกิจและพัฒนาโมเดลใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเจริญทั่วไทย และกระตุ้นเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับเมืองรองและยกระดับให้แข็งแกร่งเทียบเท่าเมืองหลัก

 

รวมไปถึงการสร้างสรรค์ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ ควบคู่กับการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้คน สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ พัฒนาเป็นไลฟ์สไตล์ฮับประจำถิ่น จุดประกายเทรนด์ท่องเที่ยวเมืองรองให้คึกคักสู่จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เห็นได้จากการเปิดศูนย์การค้าใหม่ตามเมืองรองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ จังหวัดนครพนม ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ จังหวัดหนองคาย เป็นต้น

 

นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน การพัฒนาทักษะแรงงาน พร้อมทั้งเพิ่มการจับจ่ายและการท่องเที่ยว ทั้งจากคนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรม และทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นเติบโต ส่งผลต่อเนื่องไปสู่ระดับจังหวัด ภูมิภาค และระดับประเทศต่อไป

 

Care for the Customer

 

เพราะ ‘ลูกค้า’ คือหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจของเซ็นทรัล รีเทล มาโดยตลอด ไม่เพียงพัฒนาบริการเพื่อส่งประสบการณ์การช้อปปิ้งที่เหนือระดับ แต่ยังยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งในทุก Touch Point ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำตลาดค้าปลีกในยุคปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจ เข้าถึงความต้องการเฉพาะบุคคล ด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการทำการตลาดดิจิทัลผ่านระบบ AI บนแพลตฟอร์ม Big Data ของ CRC

 

 

ที่ชัดเจนที่สุดเห็นจะเป็นการพัฒนาแพลตฟอร์ม Next-Gen Omnichannel ที่ครบวงจร เชื่อมโลกออฟไลน์ ออนไลน์ และ Metaverse เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ ครอบคลุมทั้งเครือข่ายเซ็นทรัล รีเทล ในไทย เวียดนาม และอิตาลี เพื่อส่งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ดีที่สุดและความคุ้มค่าสูงสุดให้กับลูกค้า

 

นอกจากนี้กิจกรรมการตลาดและแคมเปญโปรโมชันต่างๆ ที่คิดและพัฒนาขึ้นมาเพื่อมอบสิทธิพิเศษที่ตรงใจลูกค้ากว่า 20 ล้านคน ผ่าน The 1 Loyalty Platform ก็เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่าเซ็นทรัล รีเทล จะเป็นจุดหมายหนึ่งเดียวในการช้อปปิ้งและใช้ชีวิตในทุกๆ วันของลูกค้า

 

Care for the Partner

 

หนึ่งในวิธีแคร์พาร์ตเนอร์ในแบบของเซ็นทรัล รีเทล คือการสร้างช่องทางการขายที่หลากหลายให้กับคู่ค้า เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการสนับสนุนแบรนด์ไทยให้นำสินค้ามาจำหน่ายที่ร้านค้าในเครือของเซ็นทรัล รีเทล ในประเทศเวียดนามและอิตาลี ไปจนถึงการจับมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกันแบบ Inclusive Growth

 

ล่าสุดเซ็นทรัล รีเทล ได้ Spin-Off ธุรกิจ บมจ.เมพ คอร์ปอเรชั่น (MEB) ธุรกิจจำหน่ายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ผ่านแพลตฟอร์ม meb และ readAwrite ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับอ่านวรรณกรรมออนไลน์ระดับแนวหน้าของประเทศไทย โดยเป็นบริษัทในเครือของเซ็นทรัล รีเทล และสามารถเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้สำเร็จ ช่วยผลักดันธุรกิจ MEB ที่ถือเป็นอีกหนึ่ง Soft Power ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

Care for the People

 

ด้วยความเชื่อว่า ‘บุคลากรที่มีศักยภาพ’ เป็นรากฐานสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน เซ็นทรัล รีเทล จึงมุ่งสร้างองค์กรให้เป็น ‘A Great Place to Work’ เสริมสร้างความรู้และความคิดสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมพัฒนาทักษะที่ดีเลิศครบทุกมิติ พนักงานได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานให้กล้าคิดและลงมือทำสิ่งใหม่ๆ อย่างมั่นใจ เสริมสร้างพัฒนาศักยภาพพนักงานให้มีความโดดเด่นในแบบเฉพาะตัว พัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมอบโอกาสความก้าวหน้าตลอดเส้นทางอาชีพ

 

พร้อมทั้งสร้างสถานที่ทำงานที่แวดล้อมไปด้วยความสุข เพื่อให้พนักงานกว่า 80,000 คน ใน 3 ประเทศ คือไทย เวียดนาม และอิตาลี สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการก้าวสู่ ‘A Winning Team’ ที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดและเติบโตไปด้วยกัน

 

 

ขณะเดียวกันยังตอกย้ำเจตนารมณ์ในการลดความเหลื่อมล้ำในที่ทำงาน ขยายโอกาสและสร้างความเท่าเทียม ด้วยการสนับสนุนการจ้างงานบุคลากรผู้พิการและผู้สูงอายุกว่า 500 คน ให้มีอาชีพและรายได้ เพื่อดูแลตนเองและครอบครัว

 

บทพิสูจน์การเป็น ‘A Great Place to Work’ ของเซ็นทรัล รีเทล ได้อย่างดีคือรางวัลมากมายที่ได้รับ อาทิ รางวัลองค์กรดีเด่นที่น่าทำงานมากที่สุดในเอเชีย Best Companies to Work for in Asian 2023 จากนิตยสาร HR Asia สื่อชั้นนำด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในภูมิภาคเอเชีย และรางวัล Global Best Employer Brand Award 2023 หรือรางวัลสุดยอดนายจ้างยอดเยี่ยมระดับโลก จาก The Employer Branding Institute และ World HRD Congress สถาบันด้านทรัพยากรมนุษย์ชั้นนำของโลก 2 ปีซ้อน และอีก 6 รางวัลจากเวที HR Excellence Awards 2023 ที่จัดโดย Human Resources Online ประเทศสิงคโปร์

 

Care for the Community

 

มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่ผ่านมาเซ็นทรัล รีเทล เดินหน้าสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนให้ชุมชนผ่านโครงการต่างๆ อาทิ ‘จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต’ หนึ่งในโมเดลต้นแบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มศักยภาพกลุ่มเกษตรกรไทย ผ่านมาตรการสร้างอาชีพ เสริมรายได้ ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2555 โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมผักผลไม้ปลอดสารพิษจากเกษตรกรท้องถิ่น พร้อมส่งตรงถึงมือผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 32 สาขาทั่วไทย ช่วยสนับสนุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนมากกว่า 100,000 ครัวเรือน สร้างรายได้กว่า 1,500 ล้านบาทต่อปี พร้อมตั้งเป้าเพิ่มเป็น 5,400 ล้านบาทต่อปี ภายในปี 2573

 

 

นอกจากนี้ยังสร้างงานให้ชุมชน และร่วมต่อยอดภูมิปัญญาไทย ผ่านโครงการศูนย์การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง จนกลายเป็นต้นแบบของศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

 

ยิ่งไปกว่านั้น ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคม ผ่านแคมเปญ ‘Gift to Gifted เด็กเก่ง แจ้งเกิด’ เพื่อสนับสนุนเยาวชนไทยที่มีความสามารถ สะท้อนความมุ่งมั่นของเซ็นทรัล รีเทล ที่เชื่อว่าการสร้างคนคือพื้นฐานของการสร้างความยั่งยืน รวมไปถึงการจับมือร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. เพื่อสานฝันให้เด็กเก่งทั่วประเทศได้เข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม

 

Care for the Sustainability

 

เซ็นทรัล รีเทล ตอกย้ำเจตนารมณ์ในการเป็นองค์กร Green & Sustainable Retail ที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเป็นองค์กรค้าปลีกค้าส่งต้นแบบด้านความยั่งยืนแห่งเอเชีย โดยสื่อสารและลงมือทำเพื่อสร้างความยั่งยืนผ่านกลยุทธ์ ReNEW มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น ‘Reduce Greenhouse Gases’ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้โซลาร์เซลล์ ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในกลุ่มธุรกิจ ติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าในศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า ส่งเสริมการใช้รถบรรทุกไฟฟ้าในการขนส่งสินค้า การติดตั้งตู้เย็นประหยัดพลังงาน ตลอดจนการลงทุนในนวัตกรรมสีเขียว โดยตั้งเป้าการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด 50% ในปี 2573 และตั้งเป้า Net Zero หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี 2593

 

 

‘Navigate Society Well-being’ สร้างสังคมให้น่าอยู่ด้วยการผนึกกำลังคู่ค้าในการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้ลดต้นทุน ลดขั้นตอน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านโลจิสติกส์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ความพึงพอใจของผู้บริโภค รวมทั้งให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและช่องทางการจำหน่าย โดยสามารถสนับสนุนชุมชนมากกว่า 100,000 ครัวเรือน สร้างรายได้กว่า 1,500 ล้านบาท พร้อมกำหนดเป้าหมายในปี 2030 เป็น 5,400 ล้านบาทต่อปี

 

‘Eco-Friendly Product and Packaging’ ส่งเสริมการใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการขยายร้านค้าสีเขียวจำหน่ายสินค้ารักษ์โลกจำนวนกว่า 60 แห่ง เช่น ร้าน Tops Green โดยตั้งเป้าเปิดเพิ่มเป็น 200 แห่ง และ ‘Waste Management’ แยกขยะอย่างถูกวิธีเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ พร้อมทั้งบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการแปลงขยะเป็นปุ๋ยหรือแก๊สหุงต้มเพื่อลดปริมาณขยะสู่หลุมฝังกลบ ผ่านโครงการสมุยโมเดล ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านสิ่งแวดล้อมจาก The Global CSR & ESG Awards 2023 รวมถึงยังมีการประยุกต์เศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านหลัก 3Rs และการรณรงค์คัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ทำให้สามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้แล้วกว่า 15%

 

 

จากความสำเร็จในโครงการด้านความยั่งยืนทั้งหมดข้างต้น ทำให้เซ็นทรัล รีเทล ได้รับผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating ประจำปี 2566 ในระดับ ‘AAA’ ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดของไทย จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และรางวัล Commended Sustainability Awards จากเวที SET Awards 2023 พร้อมได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ DJSI ประจำปี 2566 ในกลุ่ม World และ Emerging Markets อีกด้วย

 

Care for the Governance

 

ปรัชญาการดำเนินธุรกิจข้อสุดท้ายคือมุ่งสร้างองค์กรที่บริหารงานและดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันและการกระทำผิดกฎหมายทุกรูปแบบ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม ตามหลัก GRC (Governance, Risk, Compliance) บนจรรยาบรรณ 5 เรื่อง คือความซื่อสัตย์, ความสุจริต, มีจริยธรรม, โปร่งใส และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

เซ็นทรัล รีเทล ได้มีการแต่งตั้งกรรมการที่มีความรู้ความสามารถหลากหลาย และมีประสบการณ์การทำงานด้านธุรกิจค้าปลีก เพื่อกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจให้มีความโปร่งใสและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee) เพื่อขับเคลื่อนประเด็นด้านการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

อีกทั้งเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption: CAC) ตั้งแต่ปี 2565 โดยได้มีการฝึกอบรมด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่องให้กับพนักงาน พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณองค์กรที่ใช้ในการสื่อสารและฝึกอบรมให้กับกรรมการเซ็นทรัล รีเทล และพนักงานทุกระดับ พร้อมทั้งเปิดเผยไว้บนเว็บไซต์ของเซ็นทรัล รีเทล และกำหนดให้มีการทบทวนเป็นประจำทุกปี รวมถึงสื่อสารจรรยาบรรณคู่ค้าและนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันไปยังคู่ค้าทุกราย

 

 

และนี่คือเบื้องหลังการดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญา ‘CRC Care’ ทั้ง 7 มิติ ที่เซ็นทรัล รีเทล ได้ลงมือทำไปแล้ว ประสบผลสำเร็จแล้ว และยังคงเดินหน้าทำสิ่งเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ญนน์ยังบอกด้วยว่า เซ็นทรัล รีเทล จะใช้ Ecosystem ทั้งหมดที่มีอย่างเต็มที่ เพื่อยกระดับและสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วนเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

“ทุกสิ่งที่เราได้ทำมาภายใต้ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ CRC Care ทั้ง 7 มิตินี้ คือความมุ่งมั่นที่จะทำให้เซ็นทรัล รีเทล เป็น Central to Life ศูนย์กลางชีวิตของทุกคนอย่างแท้จริง โดยเราจะยังคงเดินหน้าทำทุกสิ่ง และใช้ Ecosystem ของเราอย่างเต็มที่ เพื่อยกระดับและสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วนเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนเคียงข้างไปกับเซ็นทรัล รีเทล ตลอดไป” ญนน์กล่าวสรุป

The post เจาะเคล็ดวิชา ‘CRC Care’ ปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่ทำให้ ‘เซ็นทรัล รีเทล’ กลายเป็น ‘Central to Life’ ของคนไทยมากว่า 80 ปี [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
เซ็นทรัล รีเทล แจง ยังไม่ได้รับการติดต่อจากกลุ่มเซ็นทรัลให้เข้าลงทุน Selfridges หลังมีข่าวพันธมิตร SIGNA ยื่นล้มละลาย https://thestandard.co/crc-explains-that-it-has-not-been-contacted/ Fri, 05 Jan 2024 06:15:20 +0000 https://thestandard.co/?p=884549

บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ออกโรงชี้แจงยืนยันว่ากล […]

The post เซ็นทรัล รีเทล แจง ยังไม่ได้รับการติดต่อจากกลุ่มเซ็นทรัลให้เข้าลงทุน Selfridges หลังมีข่าวพันธมิตร SIGNA ยื่นล้มละลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>

บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ออกโรงชี้แจงยืนยันว่ากลุ่มเซ็นทรัลไม่ได้เข้าลงทุนใน Selfridges หลังพันธมิตรมีปัญหา อีกทั้งมีหนี้ที่กำลังจะครบกำหนดจ่าย

 

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ CRC แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ชี้แจงข่าวเกี่ยวกับกรณีพันธมิตรทางธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ CRC ในห้างสรรพสินค้า Selfridges นั้น บริษัทไม่ได้รับการติดต่อจากกลุ่มเซ็นทรัลและพันธมิตรทางธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลเรื่องการลงทุนใน Selfridges Group แต่อย่างใด

 

ทั้งนี้ บริษัทมีหลักการในการพิจารณาโอกาสการลงทุนในธุรกิจบน 3 แกนสำคัญ คือความเหมาะสมทางด้านกลยุทธ์และแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัท (Strategic Fit) ราคาที่เหมาะสม และจังหวะเวลาที่สมควร รวมทั้งธุรกิจนั้นต้องสร้างประโยชน์ต่อบริษัท และหากบริษัทตัดสินใจที่จะลงทุนในกิจการใดๆ บริษัทจะดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอนและกฎเกณฑ์ระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงสิทธิและประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นทุกราย

 

ก่อนหน้านี้มีสื่อต่างประเทศรายงานว่า Cambridge Properties Holding Limited ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้า Selfridges ในประเทศอังกฤษ และเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) และ SIGNA กำลังขอให้กลุ่มเซ็นทรัลเพิ่มเงินลงทุนใน Selfridges เนื่องจาก SIGNA ประสบปัญหาทางการเงินและยื่นล้มละลายเมื่อช่วงปลายปี 2566

 

โดยเอกสารที่ยื่นเพื่อการตรวจสอบบัญชีระบุว่า Cambridge Properties Holding Limited กำลังอยู่ในระหว่างการหารือกับกลุ่มเซ็นทรัลเกี่ยวกับทิศทางการเงินในอนาคต เพื่อให้สามารถชำระหนี้งวดที่กำลังจะครบกำหนด หลังจาก SIGNA Prime Selection AG ได้ยื่นล้มละลายเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566

 

ภาวะขาดแคลนเงินสดที่เกิดขึ้นกับห้างสรรพสินค้า Selfridges เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ SIGNA ล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว และสถานการณ์ดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่าหุ้นส่วนทางธุรกิจบางรายมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อปัญหาของ SIGNA ในการช่วยให้ SIGNA ยังคงสถานะการลงทุนได้ต่อไป หรืออาจจะเทกโอเวอร์กิจการของ SIGNA

 

กลุ่มเซ็นทรัลได้เข้าซื้อห้างสรรพสินค้า Selfridges ร่วมกับ SIGNA ในปี 2565 และทั้งสองบริษัทได้ร่วมกันครอบครองและดำเนินธุรกิจของห้างสรรพสินค้าดังกล่าวร่วมกัน

 

ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้น CRC วันนี้ (5 มกราคม) ช่วงเช้า ปิดการซื้อขายที่ 39.25 บาท ไม่เปลี่ยนแปลงจากราคาปิดของวันซื้อ-ขายก่อนหน้า ขณะที่มีมูลค่ามาร์เก็ตแคปล่าสุดอยู่ที่ 2.37 แสนล้านบาท

The post เซ็นทรัล รีเทล แจง ยังไม่ได้รับการติดต่อจากกลุ่มเซ็นทรัลให้เข้าลงทุน Selfridges หลังมีข่าวพันธมิตร SIGNA ยื่นล้มละลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปิดฉากอย่างสวยงาม ‘เซ็นทรัล รีเทล x Wonderfruit 2023’ เนรมิต CRC Sensory Space ส่งมอบประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟบนวิถีแห่งความยั่งยืน [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/central-retail-x-wonderfruit-2023/ Wed, 20 Dec 2023 11:01:19 +0000 https://thestandard.co/?p=878681

Wonderfruit ยังคงเป็นหนึ่งในเทศกาลดนตรีและศิลปะสุดยิ่งใ […]

The post ปิดฉากอย่างสวยงาม ‘เซ็นทรัล รีเทล x Wonderfruit 2023’ เนรมิต CRC Sensory Space ส่งมอบประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟบนวิถีแห่งความยั่งยืน [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

Wonderfruit ยังคงเป็นหนึ่งในเทศกาลดนตรีและศิลปะสุดยิ่งใหญ่ที่เหล่า Wonderers รอคอยที่จะไปสำรวจร่างกายและจิตใจผ่านศิลปะ ดนตรี การแสดง และกิจกรรมต่างๆ ที่ผสมผสานไว้ในพื้นที่สุดอัศจรรย์แห่งนี้

 

ปีนี้ก็เช่นกัน บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ของ The Field at Siam Country Club พัทยา ถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่แห่งประสบการณ์ให้เหล่า Wonderers จากทั่วโลกเข้ามาสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโสตประสาทไปกับดนตรีแนวใหม่บนเวที และพื้นที่ที่คุ้นเคยอย่าง Polygon, Solar Village, Quarry, Creature Stage และ Molam Village หรือออกสำรวจเบื้องลึกของจิตใจและเชื่อมต่อกับธรรมชาติรอบตัวไปกับกิจกรรมต่างๆ เช่น ฝึกหายใจ SOMA, การอาบน้ำแข็ง (Ice Bath) การเปล่งเสียงร้องบำบัด OM Choir และการบำบัดจิตใจด้วยโกโก้ เป็นต้น 

 

 

แต่ประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟบนวิถีแห่งความยั่งยืนที่พิเศษกว่าปีไหนๆ ต้องยกให้กับ ‘CRC Sensory Space’ ที่เซ็นทรัล รีเทล เนรมิตขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ที่ผู้เข้าร่วมงานสามารถใกล้ชิดกับอ้อมกอดของธรรมชาติได้อย่างแท้จริง ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมากและประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม โดยได้ต้อนรับผู้เข้าร่วมงานกว่า 30,000 คน

 

 

อย่างที่หลายๆ คนรู้ Wonderfruit เป็นเทศกาลดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติ ในวิถีแห่งการรักษ์โลก ซึ่งเชื่อมต่อผู้คนหลายหมื่นคนจากหลากหลายประเทศเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่เซ็นทรัล รีเทล เข้าร่วมงาน Wonderfruit 2023 ในฐานะผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการที่มีจุดยืนด้านความยั่งยืนร่วมกัน เพื่อช่วยกันผลักดันแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน และยังเป็นการตอกย้ำจุดยืนในการเป็น Green & Sustainable Retail องค์กรค้าปลีกต้นแบบด้านความยั่งยืนแห่งเอเชีย 

 

เริ่มตั้งแต่การออกแบบ ‘CRC Sensory Space’ บนพื้นที่กว่า 530 ตารางเมตร โดย Ab Rogers Design หรือ ARD ดีไซเนอร์ชั้นนำระดับโลก ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านศิลปะและสถาปัตยกรรม ด้วยแนวคิดที่ว่าทุกอย่างเริ่มต้นมาจากศูนย์และจะกลับคืนสู่ธรรมชาติในท้ายที่สุด (Zero Waste) จึงได้นำวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ มาใช้ในการก่อสร้าง โดยมีผืนผ้าและแผ่นสังกะสีโทนสีแดง ชมพู และเหลือง เป็นตัวเชื่อมต่อ มองจากมุมไหนก็ให้ความรู้สึกสนุกและเป็นกันเอง 

 

และพอเป็นวัสดุจากไม้ไผ่ ยิ่งทำให้พื้นที่ตรงนี้ดูกลมกลืนไปกับธรรมชาติ โดยถูกออกแบบมาบนพื้นที่รูปทรงสามเหลี่ยมที่มีรูปทรงคล้ายหัวใจเปิดโล่งทั้ง 3 ด้าน ให้ผู้มาเยือนสามารถเดินเข้ามาร่วมสนุกกันได้จากทุกทิศทาง ส่วนหลังคาสีแดงมีลักษณะเทลง เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะสาดแสงลงมายังจุดศูนย์กลางของ CRC Sensory Space พร้อมทั้งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Transpower พาร์ตเนอร์ของไทวัสดุในเครือเซ็นทรัล รีเทล เพื่อผลิตพลังงานสะอาดเป็นแสงสว่างในช่วงเวลากลางคืน

 

 

บริเวณศูนย์กลางมีที่นั่งและโต๊ะที่ทำจากไม้ไผ่ เพื่อให้คนที่เข้ามานั่งพักผ่อนดื่มด่ำไปกับ Happiness Forward งาน Installation Art ในรูปแบบดอกไม้ยักษ์สีสันสดใส รายล้อมไปด้วยไฟดวงเล็กๆ ที่พอตกกลางคืนจะเปล่งแสงที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ให้ผู้คนได้ตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้ยักษ์และตุ๊กตาล้มลุกที่เห็น เป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทั้งจากเศษผ้าไนลอน ตุ๊กตาลมตัวเก่า และฝาอะลูมิเนียมที่ไม่ใช้แล้วจากงานเฟสติวัลต่างๆ มา Upcycle ให้กลายเป็นชิ้นงานที่สะท้อนความสุข ความสนุกสนาน ซึ่งออกแบบโดย เอ๋-วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ศิลปินผู้มากความสามารถที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากความสวยงามและความสว่างสดใสของพลุยามค่ำคืน ได้ยินมาว่าหลังจบงานนี้ก็จะนำชิ้นงานนี้ไปแยกส่วนและนำไปรีไซเคิลทั้งหมดอีกด้วย   

 

ภายใน CRC Sensory Space มีกิจกรรมสนุกๆ ให้ทุกคนเข้ามาได้เปิดประสาทสัมผัสทั้งห้าผ่านศิลปะ ดนตรี กลิ่นหอม รสชาติความอร่อย และที่สำคัญทุกกิจกรรมสอดแทรกเรื่องความยั่งยืนได้อย่างกลมกลืนมากที่สุด

 

 

อย่าง Lifting Your Holistic Spirit By L:A BRUKET แบรนด์ชื่อดังจากสวีเดน ที่พาไปเปิดประสบการณ์ความหอมกับเวิร์กช็อปทำถุงหอม เพียงแค่เลือกหยิบดอกไม้แห้งที่ชอบใส่ลงไปในถุง แล้วฉีดด้วยสเปรย์กลิ่นลาเวนเดอร์ เหมือนได้พกพาความหอมจากธรรมชาติติดตัวไปตลอดทั้งงาน นอกจากนั้นทางแบรนด์ยังเตรียมผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกให้เราได้ลองขัดผิวและล้างมือ สร้างสัมผัสที่ผ่อนคลาย ก่อนจะไปเปิดประสบการณ์ในโซนอื่นๆ กันต่อ โดยรายได้ทั้งหมดจากกิจกรรมนี้จะนำไปบริจาคให้กับมูลนิธิพักพิงคุ้มภัยอีกด้วย

 

 

อีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกภูมิใจว่าตัวเองก็มีความเป็นศิลปินอยู่ในตัวก็คือ เพนต์ถุงผ้าและผ้าพันคอลายมาร์เบิล ซึ่งเป็นศิลปะการวาดภาพบนน้ำที่โซน Marbling Paint by Central ตอนทำก็แอบลุ้นว่าจะเละหรือจะรอด! แต่ระหว่างที่ทำก็นึกขึ้นได้ว่าแก่นแท้ของการทำกิจกรรมนี้คือ การสร้างผลงานขึ้นจากผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่างหาก แถมผลงานที่ได้ยังมีเพียงชิ้นเดียวในโลกด้วย  

 

 

ใกล้ๆ กันเป็นโซน Hair Styling Station by Dyson ที่ขนอุปกรณ์จาก Dyson มาให้ทดลองใช้ มีทีมงานคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด แถมยังแนะนำการสไตลิ่งทรงผมจากอุปกรณ์ต่างๆ ใครแวะโซนนี้กลับออกไปแบบสวยฉ่ำกันทุกคน 

 

 

นอกจากนี้ยังได้ลองทำกิจกรรมในโซน Central Edition Shop ที่ได้ Wood & Mountain แบรนด์เสื้อผ้าบาติกสีธรรมชาติจากจังหวัดเชียงใหม่มาเปิดเวิร์กช็อป Hand Painting ให้คนที่สนใจลองดีไซน์ลวดลายต่างๆ และวาดลงบนผ้าบาติกด้วยตัวเอง และแบรนด์ Sym Symp กับกิจกรรม Beads n’ Crochet ทำสร้อยคอและสร้อยข้อมือด้วยเทคนิคการถักโครเชต์และร้อยลูกปัด  

 

 

ไม่เพียงแต่เฉพาะกิจกรรมสนุกๆ ที่สอดแทรกแนวคิดความยั่งยืนเท่านั้น ที่โซนอาหารและเครื่องดื่มก็สนับสนุนความยั่งยืนเช่นเดียวกัน ด้วยการยกขบวนเมนูอาหารคาวหวานและเครื่องดื่มจาก Jing Jai Farmer Market มาเสิร์ฟในงาน ไม่ว่าจะเป็น ผลไม้สดๆ จากเกษตรกรที่นำมาทำเป็นเมนูเครื่องดื่มเรียกความสดชื่น รวมไปถึง Good Mood Ice-Cream by Aromdee Village แบรนด์ไอศกรีมอารมณ์ดีจากจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ผลิตจากผลไม้แท้ทุกรสชาติ

 

นอกจากนั้นยังมีเมนูอร่อยๆ จาก Tops Food Vendor ทั้ง Tops Eatery อย่างเช่น หมูสะเต๊ะ หมูปิ้ง พิซซ่า และเมนูซีฟู้ด หรือ The Baker คัดสรรขนมปัง เบเกอรี และโทสต์อบร้อน เสิร์ฟตลอดวัน รวมไปถึง Tops Bar ที่ได้บาร์เทนเดอร์ชื่อดังมาครีเอตม็อกเทลสุดพิเศษที่ได้แรงบันดาลใจจากสินค้าของเกษตรกรไทย ที่สำคัญภาชนะและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในงานใช้วัสดุจากธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยังจัดโซนคัดแยกขยะไว้อย่างชัดเจน 

 

 

หากเป้าหมายของเซ็นทรัล รีเทล ในการเป็นส่วนหนึ่งของ Wonderfruit 2023 คือการส่งต่อความยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อไป ต้องถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะไม่ได้มีดีแค่คอนเซปต์หรือแนวคิดของการจัดงานเท่านั้น แต่กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายใน CRC Sensory Space ยังได้พาทุกคนไปพบกับประสบการณ์ความยั่งยืนผ่านรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส แบบเต็มอิ่ม จึงสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเซ็นทรัล รีเทล ในการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนในทุกมิติได้อย่างแท้จริง

The post ปิดฉากอย่างสวยงาม ‘เซ็นทรัล รีเทล x Wonderfruit 2023’ เนรมิต CRC Sensory Space ส่งมอบประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟบนวิถีแห่งความยั่งยืน [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
CRC – กลับสู่ทิศทางขาขึ้นหลังจากทำจุดต่ำสุดใน 3Q66 https://thestandard.co/market-focus-crc-3q66/ Thu, 16 Nov 2023 03:40:21 +0000 https://thestandard.co/?p=866199

เกิดอะไรขึ้น:   เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 บมจ. […]

The post CRC – กลับสู่ทิศทางขาขึ้นหลังจากทำจุดต่ำสุดใน 3Q66 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) รายงานกำไรสุทธิ 1.1 พันล้านบาท ใน 3Q66 ลดลง 3%YoY และ 27%QoQ ตามคาด และทำจุดต่ำสุดแล้ว หากไม่รวมขาดทุนพิเศษ 178 ล้านบาท (ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน) กำไรปกติ 3Q66 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท ลดลง 10%YoY เนื่องจากอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายและดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้นไปหักล้างยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น (เพิ่มขึ้น 120bps YoY จากยอดขายสินค้ากลุ่มแฟชั่นที่ให้มาร์จิ้นสูงที่เพิ่มขึ้น และมาร์จิ้นที่ดีขึ้นจากการให้บริการเช่าและการให้บริการ) และลดลง 23%QoQ จากปัจจัยฤดูกาล

 

ยอดขายจากธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้น 2%YoY โดยเกิดจากพื้นที่ขายสุทธิ (NSA) เพิ่มขึ้น 5%YoY สู่ 3.4 ล้านตารางเมตร ยอดขายสาขา (SSS) (เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจำแนกตามประเภทธุรกิจ) อยู่ในระดับทรงตัว YoY (เทียบกับเพิ่มขึ้น 4%YoY ใน 2Q66) จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในประเทศไทยและประเทศอิตาลี ท่ามกลางยอดขายที่หดตัวลงในประเทศเวียดนามจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และผลกระทบเชิงลบ 5%YoY จากการแปลงสกุลเงินจาก VND เป็น THB

 

เมื่อแยกตามประเทศ SSS เติบโต 3%YoY ในประเทศไทย (71% ของยอดขาย) และ 10%YoY ในประเทศอิตาลี (6% ของยอดขาย) แต่ลดลง 15%YoY ในประเทศเวียดนาม (23% ของยอดขาย โดย SSS ลดลง 9%YoY ในกลุ่มฟู้ด และ 37%YoY ในกลุ่มฮาร์ดไลน์) รายได้จากการให้บริการเช่าเพิ่มขึ้น 14%YoY จาก NLA ที่เพิ่มขึ้น 4%YoY สู่ 0.7 ล้านตารางเมตร จากมอลล์ใหม่ การให้ส่วนลดค่าเช่าลดลง และอัตราการเช่าพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นสู่ 88% ใน 3Q66 (เทียบกับ 86% ใน 3Q65)

 

กระทบอย่างไร:

 

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ณ เวลา 12.30 น. ราคาหุ้น CRC ปรับขึ้น 3.27%DoD สู่ระดับ 39.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับขึ้น 1.96%DoD สู่ระดับ 1,413.14 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2566:

 

ในเดือนพฤศจิกายนถึงปัจจุบัน ยอดขายสาขา (SSS) ของ CRC พลิกกลับมาเติบโตในอัตราเลขตัวเดียวระดับต่ำ YoY (เทียบกับที่หดตัวในอัตราเลขตัวเดียวระดับต่ำ YoY ในเดือนตุลาคม) โดย SSS เติบโตดีขึ้นที่ 3-4%YoY ในประเทศไทย และเกือบ 10%YoY ในประเทศอิตาลี (เทียบกับทรงตัว YoY และ 5%YoY ในเดือนตุลาคม) และ SSS หดตัวในอัตราชะลอตัวลงที่ 1%YoY ในประเทศเวียดนาม (เทียบกับลดลง 10%YoY ในเดือนตุลาคม โดย SSS ในกลุ่มฟู้ด กลับมาเติบโต YoY ในเดือนพฤศจิกายน จากกำลังซื้อที่ดีขึ้นและผลกระทบเชิงลบที่ลดลง YoY จากการแปลงสกุลเงิน)

 

ด้วยเหตุนี้ InnovestX Research จึงคาดว่ากำไร 4Q66 จะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปีนี้ โดยจะเพิ่มขึ้น QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY จากยอดขายที่ดีขึ้น (CRC ตั้งเป้า SSS เติบโต 2%YoY ใน 4Q66) อัตรากำไรขั้นต้นที่กว้างขึ้น และอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายที่ลดลงจากค่าไฟฟ้าที่ลดลงและยอดขายที่สูงขึ้น

 

สำหรับโครงการ e-Refund ที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติเร็วๆ นี้นั้น ผู้เสียภาษีจะได้รับการลดหย่อนภาษีหากซื้อสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท โครงการนี้คาดว่าจะเริ่มในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งประเมินได้ว่าการลดหย่อนภาษีช้อปปิ้งในครั้งล่าสุด (ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 40,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 เพิ่มขึ้นจาก 30,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565) ช่วยกระตุ้น SSS Growth ในประเทศไทยของ CRC ได้มากที่สุดในกลุ่มพาณิชย์ที่ 2-3%YoY ดังนั้นคาดว่า CRC จะเป็น Proxy ของกลุ่มพาณิชย์ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการครั้งนี้

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ:

 

หลังจากปรับตัว Outperform SET 3% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น CRC มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจาก

 

  1. กำไร 3Q66 ออกมาตามคาด และทำจุดต่ำสุดแล้ว
  2. กำไร 4Q66 มีแนวโน้มที่จะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปีนี้ โดยจะเพิ่มขึ้น QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY จากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น พร้อมกับอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายที่ลดลง และ
  3. CRC น่าจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์รายหลักของกลุ่มพาณิชย์จากโครงการ e-Refund ที่น่าจะเริ่มในเดือนมกราคม 2567

 

InnovestX Research ให้เรตติ้ง OUTPERFORM สำหรับ CRC ด้วยราคาเป้าหมายกลางปี 2567 อ้างอิงวิธี DCF (WACC ที่ 7.1% และการเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) ที่ 48 บาทต่อหุ้น

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือการเปลี่ยนแปลงในกำลังซื้อ ต้นทุนที่สูงขึ้นจากแรงกดดันเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และนโยบายรัฐบาลใหม่

The post CRC – กลับสู่ทิศทางขาขึ้นหลังจากทำจุดต่ำสุดใน 3Q66 appeared first on THE STANDARD.

]]>