THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

SCBS ลดน้ำหนักตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว ประเมินแนวโน้มตลาดเงินทั่วโลกยังผันผวน จับตาประชุม ECB สัปดาห์นี้

... • 20 ก.ค. 2021

HIGHLIGHTS

  • เงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2008 ขณะที่ Fed ยังเชื่อเป็นการเพิ่มขึ้นแค่ชั่วคราว โดยยืนยันที่จะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง
  • แนวโน้มตลาดเงินระยะข้างหน้าอาจผันผวนมากขึ้น โดยตลาดจะเริ่มโฟกัสตัวเลขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่เตรียมประกาศออกมา
  • ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ คือการประชุม ECB โดยตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินที่ระดับ -0.50%
  • บล.ไทยพาณิชย์ ลดน้ำหนักตลาดหุ้นญี่ปุ่น แม้มูลค่าหุ้นยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดอื่น แต่การประกาศภาวะฉุกเฉินในโตเกียวทำให้ตลาดขาดปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัว

สัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐฯ ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาด และยังสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2008 ในขณะที่รายงานผลการสำรวจเงินเฟ้อล่าสุดเดือนมิถุนายนของ The New York Fed’s Survey of Consumer Expectations พบว่า ค่ากลางของการคาดการณ์เงินเฟ้อ (Inflation expectations) ใน 12 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่ปี 2003 สะท้อนความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อในระดับสูงมาก 

 

ดังนั้นการพูดของประธาน Fed ที่กลับมาพยายามทำให้ตลาดคลายกังวลเกี่ยวกับเรื่องการชะลอมาตรการผ่อนคลาย ที่ได้มีการเปิดเผยในการประชุมเดือนกรกฎาคมจึงยังไม่สามารถเปลี่ยนมุมมองของตลาดการเงินได้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปียังคงทรงตัวเหนือ 0.20-0.25% จากระดับก่อนหน้าที่ 0.15% นอกจากนี้การระบาดของโควิดรอบใหม่ก็กลับมารุนแรงขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีอ่อนตัวลง 

 

บล.ไทยพาณิชย์ ประเมินว่า ตลาดการเงินจะเริ่มให้ความสำคัญกับข้อมูลด้านเศรษฐกิจ มากกว่าการส่งสัญญาณเชิงนโยบายของธนาคารกลางที่เริ่มสับสน ดังนั้นจึงคาดว่าตลาดการเงินยังคงจะผันผวนต่อไป 

 

สำหรับประเด็นระยะสั้น คือการระบาดรอบใหม่ของโควิดที่รุนแรงขึ้น ทำให้บางประเทศหรือเมืองต้องกลับมาคุมเข้ม ถือว่าเป็นสัญญาณเสี่ยงที่ต้องติดตาม ดังนั้นการลงทุนในช่วงนี้จึงควรเน้นสินทรัพย์คุณภาพดีและมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

 

เหตุการณ์สำคัญรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

  • วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติผ่านร่างกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากมณฑลซินเจียงของจีน เพื่อลงโทษรัฐบาลจีนที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมอุยกูร์และชาวมุสลิมกลุ่มอื่นๆ
  • ถ้อยแถลงของประธาน Fed จะยังเดินหน้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการ QE และจะไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแม้เงินเฟ้อจะพุ่งขึ้น โดยจะใช้นโยบายการเงินสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนกว่าจะฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์
  • กลุ่ม OPEC+ โดยซาอุดีอาระเบียและ UAE สามารถบรรลุข้อตกลงในการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ซึ่ง UAE จะเพิ่มการผลิตน้ำมันสู่ 3.65 ล้านบาร์เรล จากระดับ 3.17 ล้านบาร์เรล นำไปสู่การเพิ่มการผลิตของกลุ่มประเทศสมาชิก

 

ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

  • การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินที่ระดับ -0.50%
  • การประกาศดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนกรกฎาคม (ประกาศครั้งแรก) ของสหรัฐฯ และเยอรมนี ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวชะลอจากเดือนมิถุนายน
  • ติดตามความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังจากวุฒิสภาสหรัฐฯ เห็นชอบกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากซินเจียง

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าคาดในหลายภูมิภาค 

 

อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์เดลตา การเกิด Sector Rotation และแนวโน้มของ Fed ที่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าคาด

 

กองทุนแนะนำ

 

  • Principal Global Opportunity Fund หรือ PRINCIPAL GOPP-A

กองทุน PRINCIPAL GOPP-A ลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Funds Global Opportunity Fund ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่คาดว่าจะมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต

  • SCB Global Experts Fund หรือ SCBGEX(A)

กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จูเลียสแบร์ โดยกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการทยอยเปิดเมือง มาตรการกระตุ้นการคลัง และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2 ปี 2021 ที่มีแนวโน้มออกมาดี เราแนะนำสัดส่วนการถือครองหุ้นสไตล์ Growth และ Value อยู่ที่ 70:30 เนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จาก US Yield Curve ที่มีแนวโน้มปรับลดความชันลงในช่วงสั้น เช่น หุ้นกลุ่ม Quality ในกลุ่ม Tech Hardware และ Semiconductor 

 

ขณะที่ธีม Reflation Trade และ Reopening ยังคงสนับสนุนการลงทุนหุ้นสไตล์ Value และ Cyclical นำโดยกลุ่มธนาคาร หลังผลการผ่าน Stress Test ทำให้จ่ายปันผลได้มากขึ้น และกลุ่ม Industrials, Materials

 

กองทุนแนะนำ

 

  • SCB US Equity DJI Fund

กองทุน SCBDJI(A) เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ โดยลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี Dow Jones Industrial Average ซึ่งประกอบด้วยหุ้นขนาดใหญ่ 30 บริษัท ซึ่งเป็นธุรกิจชั้นนำของประเทศและผู้นำในอุตสาหกรรมต่างๆ

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

โดยดัชนีตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนต่อเนื่องจากภาคบริการที่ฟื้นตัวดี แนวโน้ม EPS ในปี 2021 และ 2022 ยังเติบโตโดดเด่น เศรษฐกิจได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการคลัง EU Recovery Fund ที่จะเริ่มเบิกจ่ายให้แต่ละประเทศในไตรมาส 3 

 

นอกจากนี้ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนที่เด่นชัดและแผนการเปิดประเทศจะช่วยหนุน Sentiment ตลาดต่อเนื่อง ด้านการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นใน UK และ EU บางประเทศคาดยังไม่ส่งผลกระทบมาก เนื่องจากอัตราการตายต่ำ

 

  • MFC Continental European Equity Fund หรือ MEURO

กองทุน MEURO ลงทุนในกองทุน BGF Continental European Flexible Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นยุโรปภาคพื้น (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) โดดเด่นในการสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง รวมทั้งลงทุนแบบยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนสไตล์การลงทุนและขนาดของหุ้นได้ตามสภาวะตลาด

 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

บล.ไทยพาณิชย์ ได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นลง แม้ว่า Valuation ถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นพัฒนาแล้วอื่นๆ แต่ผลจากการประกาศภาวะฉุกเฉินในโตเกียวตั้งแต่ 12 กรกฎาคม - 22 สิงหาคม ทำให้ตลาดขาดปัจจัยสนับสนุน โดยเฉพาะแนวโน้มการฟื้นตัวภาคบริการ 

 

แม้เงินเยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าและ Real Yield ที่อยู่ในระดับต่ำจะช่วยหนุนการฟื้นตัวของดัชนี แต่การจัดโตเกียวโอลิมปิกแบบไม่มีผู้เข้าชมและการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีแนวโน้มทำให้อัปไซด์ของการใช้จ่ายในประเทศได้รับผลกระทบเชิง Sentiment ช่วงสั้น 

 


ตลาดหุ้นจีน

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

โดย Valuation ตลาดหุ้นจีนยังไม่แพงเมื่อเทียบตลาดหุ้นโลก และทางการจีนมีแนวโน้มออกมาตรการต่างๆ ที่สอดรับกับแผน 5 ปี รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงินเริ่มมีสัญญาณผ่อนคลายเห็นได้จากการปรับลด RRR ลง 0.5% 

 

อย่างไรก็ตามความกังวลเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบที่เข้มงวดเพิ่มขึ้น เช่น Antitrust, Capital Markets และ Data Security ยังคงมีอยู่ แม้ Valuation และผลประกอบการของกลุ่มที่เกี่ยวข้องได้รับแรงกดดันไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่อาจยังมีดาวน์ไซด์จากการเรียกสอบสวนอีกหลายบริษัทเทคฯ ขณะที่ข้อพิพาทระหว่างจีน-ชาติต่างๆ และความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ยังสร้างความผันผวนได้อยู่

 

กองทุนแนะนำ

  • KTAM China A Shares Equity หรือ KT-AShares-A

กองทุน KT-AShares-A ลงทุนในกองทุน Allianz Global Investors Fund - Allianz China A-Shares ซึ่งคัดเลือกหุ้นจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นๆ ในหุ้นจีน A-Share ผลตอบแทนย้อนหลังโดดเด่น

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ตลาดหุ้นไทยเริ่มมี Valuation ที่น่าสนใจและความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนมีแนวโน้มดีขึ้น รวมถึงแผนการเปิดประเทศในช่วงเดือนตุลาคม และความคืบหน้าการเดินหน้านำเข้าวัคซีนทางเลือกจากภาคเอกชน มาตรการช่วยเหลือ เช่น การพักชำระหนี้ของลูกหนี้และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งจาก ธปท. และกระทรวงการคลัง รวมถึงมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงก่อนหน้าจะช่วยประคองการฟื้นตัวของอุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ แม้การระบาดยังคงรุนแรงต่อเนื่อง 

 

นอกจากนี้ตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนหุ้นกลุ่ม Value และ Cyclical ค่อนข้างสูง ทำให้ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลก

 


การลงทุนทางเลือก

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ: 1

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯ ที่ยังมีแนวโน้มทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะยาว ตามทิศทางของการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ในระยะข้างหน้า แม้ว่าในระยะสั้นความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในระยะนี้จะสนับสนุนการปรับเพิ่มขึ้นของราคาทองคำก็ตาม

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ: 3 

 

ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นมามากในช่วงก่อนหน้า สอดรับกับอุปสงค์การเปิดประเทศไปพอควรแล้ว ขณะที่อุปสงค์น้ำมันอาจมีแนวโน้มถูกกดดันจากโควิดสายพันธุ์เดลตาที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งในยุโรปและเอเชียเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้หลายประเทศต้องเพิ่มมาตรการควบคุมมากขึ้น 

 

ด้านอุปทานน้ำมันจากกลุ่ม OPEC+ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังมีรายงานว่าซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สามารถบรรลุข้อตกลงในการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันขั้นต่ำได้แล้ว แม้ OPEC+ ยังไม่ได้กำหนดโยบายการผลิตอย่างเป็นทางการ และยังไม่ได้กำหนดวันจัดประชุมครั้งต่อไป

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ตลาด REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) โดยเฉพาะ REITs ไทย ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว Valuation ยังไม่แพง ได้รับอานิสงส์จากแผนการเปิดประเทศไทยภายใน 120 วัน ช่วงเดือนตุลาคม ราคาปัจจุบันยัง Laggard REITs ต่างประเทศและหุ้นไทยอยู่มาก อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อและความล่าช้าในการฉีดวัคซีนอาจยังเป็นปัจจัยกดดันราคาในระยะสั้น

 

 

  • SCB Property and Infrastructure Flexible Fund หรือ SCBPINA

กองทุน SCBPINA เป็นกองทุนที่คัดเลือกลงทุนใน Property Fund REITs และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานทั้งของไทยและสิงคโปร์ โดยคัดเลือกกองทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) ที่มีโอกาสเติบโต มีสภาพคล่อง และคาดว่าจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ

 


ผู้เขียน

 

ศรชัย สุเนต์ตา, CFA 

กรรมการผู้จัดการ Chief Investment Office, SCBS

 

สุกิจ อุดมศิริกุล

กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

 

ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

ผู้อำนวยการอาวุโส นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

 

สิทธิชัย ดวงรัตนฉายา

ผู้อำนวยการอาวุโส นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

 

ณัฏฐ์วริน ไตรภพสกุล

ผู้อำนวยการอาวุโส นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

 

เรวัฒิ เจริญเชื้อ

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ ฝ่ายวิจัยการลงทุน

 

รุ่งโรจน์ เสกสรรค์วิริยะ, CFA 

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ Chief Investment Office, SCBS

 

เกษรี อายุตตะกะ CFP®

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ Chief Investment office, SCBS

 

ดร.ธนพล ศรีธัญพงศ์ AFPTTM

ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment office, SCBS

 

จตุรภัทร ทนาบุตร 

ผู้จัดการ Chief Investment office, SCBS

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 20 ก.ค. 2021

READ MORE



Latest Stories