THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
Defensive strategy
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

SCBS ชูกลยุทธ์ Defensive เน้นถือเงินสดรอซื้อเมื่อย่อตัว ประเมิน Fed มีโอกาสมากขึ้นในการยุติมาตรการ QE

... • 16 ส.ค. 2021

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • ตลาดเงินสัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มฟื้นตัว หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีเกินคาด ทั้งตัวเลขตลาดแรงงาน ตัวเลขเงินเฟ้อ ขณะที่บอนด์ยีลด์เริ่มขยับขึ้นมาแถวระดับ 1.35% และเงินดอลลาร์ทำสถิติแข็งสุดรอบ 4 เดือน
  • ตลาดเงินเริ่มมองว่า ‘Fed’ มีโอกาสที่มากขึ้นในการยุติมาตรการ QE การลงทุนช่วงนี้จึงควรเน้นสินทรัพย์ดี มุ่งกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
  • SCBS แนะกลยุทธ์ Defensive เน้นถือเงินสด รอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยยังต้องระวังการลงทุนในหุ้น Reopening หุ้นน้ำมัน และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี 
  • SCB CIO เชียร์ลงทุนตลาดเวียดนาม แม้ยังเผชิญความผันผวนจากการระบาดของโควิด แต่แนวโน้มเศรษฐกิจระยะยาวเติบโตดี แนะกองทุนเด่น Principal Vietnam Equity Fund 

ตลาดการเงินกลับมาเป็นบวกมากขึ้น เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีเกินคาด เช่น ตัวเลขตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ตัวเลขเงินเฟ้อที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงแม้จะอยู่ระดับสูง รวมถึงการที่วุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเม็ดเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี เพิ่มขึ้นมาที่ 1.35% รวมถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นมากสุดในรอบ 4 เดือน

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินยังคงมีความเสี่ยงจากโอกาสที่ Fed จะยุติ QE มีมากขึ้น ตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเริ่มอ่อนแอลงในเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จากผลกระทบของการระบาดรอบใหม่ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่มีโอกาสผันผวนจากแรงกดดันของสหรัฐฯ ให้ทาง OPEC เพิ่มกำลังการผลิต

 

แม้ตลาดการเงินจะมีทั้งข่าวบวกและลบ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่พ้นวิกฤตแล้ว ทำให้คาดว่า Fed มีโอกาสมากขึ้นในประกาศยุติ QE ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงสำคัญในช่วงนี้ โดยหลังจากเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง คาดว่าตลาดการเงินจะหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลการจ้างงานมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่ Fed ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงิน ดังนั้นการลงทุนในช่วงนี้จึงควรเน้นสินทรัพย์คุณภาพดีและมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม  

 

สำหรับตลาดทั่วโลกช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 0.5% โดยที่ตลาดเกิดใหม่ (EM) ลดลง 0.1% ส่วนตลาดพัฒนาแล้ว (DM) เพิ่มขึ้น 0.6% ซึ่งตลาด DM ได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการไตรมาสที่ 2/21 ที่รายงานออกมาดีกว่าที่คาด แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเรื่องการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาและการทำนโยบายการเงินที่ตึงตัวกว่าที่คาดยังเป็นประเด็นกดดันตลาดในระยะสั้น

 

บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) คาดว่าหลังจากจบฤดูกาลประกาศผลการดำเนินงานช่วงไตรมาส 2/21 ตลาดหุ้นจะได้รับแรงกดดันจากโควิด โดยเฉพาะ EM และการถอนมาตรการ QE โดยเฉพาะ DM มากขึ้น โดยประเมินว่า ตลาดหุ้นโลกยังไม่สะท้อนปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานที่จะชะลอตัวในไตรมาส 3/21 จากผลกระทบของโควิดรอบใหม่ ในขณะที่แรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลังที่ลดระดับลงต่อเนื่อง รวมถึงโอกาสที่ Fed จะพิจารณายุติมาตรการ QE ในการประชุมครั้งถัดไปมีเพิ่มขึ้น สัปดาห์หน้า (16-20 สิงหาคม) ติดตามการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจจีนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากส่วนใหญ่คาดว่าจะชะลอตัวลง 

 

แนะนำกลยุทธ์ Defensive และควรเพิ่มการถือครองเงินสด เพื่อรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยยังคงต้องระมัดระวังการลงทุนในหุ้น Reopening หุ้นน้ำมัน (ราคาน้ำมันดิบมี Downside Risk) และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี (บอนด์ยีลด์ฟื้นตัว) 

 

สำหรับสัปดาห์นี้ แนะนำ Paypal เนื่องจากการเติบโตดี และได้รับผลกระทบจากโควิดค่อนข้างจำกัด

 

ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยยังคงมี Downside ที่บริเวณ 1,500 จุด ดังนั้นยังคงเน้นการลงทุนในหุ้น Defensive ที่มีการเติบโตดีในช่วงครึ่งหลังปี 2021 แนะนำทยอยซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว หุ้นแนะนำ ได้แก่ บมจ.ชริ้งเฟล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ SFT ซึ่งถือว่าเป็นหุ้น Small Cap ที่มีแนวโน้มกำไรดีในครึ่งหลังปี 2021  

 

ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้

 

  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีน (Data Dump) เดือนกรกฎาคม ได้แก่ การลงทุนในสินทรัพย์คงที่ ดัชนียอดขายปลีก และดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม

 

  • การประกาศ GDP ไตรมาส 2 ปี 2021 ของไทย ซึ่งมีแนวโน้มหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกปี 2021 

 

  • การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของไทยวันที่ 18-20 สิงหาคมนี้

 

ธีมการลงทุนประจำสัปดาห์

ตั้งแต่ในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา เริ่มเห็นความสัมพันธ์ของตลาดหุ้นใน EM และ DM ลดลง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งมองว่าปัจจัยเรื่องประเด็นโควิดและการกระจายวัคซีน รวมถึงนโยบายจากฝั่งจีน ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแตกต่างกัน 

 

จากประเด็นนี้ทำให้ SCBS มองว่าจนถึงในช่วงปลายปี กระแสเงิน รวมถึงแนวโน้มผลตอบแทนของตลาด DM จะมีมากกว่าตลาด EM จนกว่าสหรัฐฯ จะมียุติมาตรการ QE และการกระจายวัคซีนในฝั่งเอเชียเพิ่มขึ้นจนถึง 60-70% อาจจะทำให้เกิดการโยกย้าย (Rotation) จาก DM มายัง EM ได้ โดยมองว่าอาจจะเป็นในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2022 เป็นต้นไป

 

ในช่วงนี้เป็นฤดูกาลของการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ทั่วโลก ซึ่งกำไรของบริษัทในสหรัฐฯ และยุโรปนั้นมากกว่าที่คาดการณ์ 20-30% ในขณะที่ฝั่งเอเชียนั้นต่ำกว่าที่คาดการณ์ 3 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งไตรมาสที่ 2 นั้นต่ำกว่าที่คาด 41% ส่วนของไทยนั้นสูงกว่าที่คาด 7% แต่เป็นเพราะอัตรากำไรดีกว่าที่คาด 

 

ส่วนรายได้นั้นต่ำกว่าที่คาด 6% การตอบสนองราคานั้นเป็นไปในทิศทางดีกว่าที่คาด แต่เพิ่มขึ้นค่อนข้างจำกัด ดังนั้นแนวโน้มโควิดคาดการณ์ได้ยาก จึงทำให้เรามองว่าในช่วงนี้ให้อยู่กับหุ้นเชิงรับ มีการเติบโต และมีงบดุลแข็งแรง มากกว่าหุ้นที่มีงบดุลอ่อนแอและมีสภาพคล่องต่ำ

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

RANGE4

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วยังได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าคาดในหลายภูมิภาค 

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตา การเกิด Sector Rotation และแนวโน้มของ Fed ที่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าคาด

 

กองทุนแนะนำ

 

KRUNGSRI

 

  • Krungsri Global Brands Equity Fund หรือ KFGBRAND

กองทุน KFGBRAND ลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Fund - Global Brands Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่คัดเลือกหุ้นของบริษัทต่างๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกที่มีคุณภาพสูง มีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่แข็งแกร่ง ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยอำนาจการต่อรองด้านราคา ความสำเร็จ และยากที่จะลอกเลียนแบบของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น แบรนด์สินค้า

 

SCB

 

  • SCB Global Experts Fund หรือ SCBGEX(A)

กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดย บล.ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

 

RANGE4

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่วุฒิสภาผ่านร่างงบประมาณ (Budget Resolution) มูลค่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ และร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน (Bipartisan Infra Bill) มูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2/21 ที่ส่วนใหญ่ออกมาแข็งแกร่งมากกว่าคาด 

 

ส่วนประเด็นที่ต้องติดตาม คือแนวโน้มการส่งสัญญาณการปรับลดวงเงิน QE ของ Fed และการดำเนินการขยายหรือปรับเพิ่มเพดานหนี้ภาครัฐ (Public Debt Limit) เพื่อขยายอำนาจการกู้ยืมของประเทศ ทั้งนี้ SCB CIO ยังคงแนะนำสัดส่วนการถือครองหุ้นสไตล์ Growth และ Value อยู่ที่ 70:30 

 

กองทุนแนะนำ

 

SCB

 

  • SCB Semiconductor Fund หรือ SCBSEMI(A) 

กองทุน SCBSEMI(A) ลงทุนในกองทุน VanEck Vectors Semiconductor UCITS ETF ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ London Stock Exchange ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ รวมถึงหุ้นต่างประเทศที่จดทะเบียนซื้อขายที่สหรัฐฯ (ADR) ในหุ้นบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรม Semiconductor

 

RANGE4

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ: 4



ตลาดหุ้นยุโรปยังมีความน่าสนใจ โดยหุ้นกลุ่ม Value/Cyclical ได้ประกาศงบออกมาโดดเด่นในทุกอุตสาหกรรม การฉีดวัคซีนที่ต่อเนื่องและแผนการเปิดประเทศจะช่วยหนุน Sentiment ตลาด นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม Fit for 55 ล่าสุดของสหภาพยุโรปที่มุ่งเป้าการลดการปล่อยก๊าซให้ได้อย่างน้อย 55% โดยมีเป้าหมายให้สำเร็จภายในปี 2030 และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 จะยิ่งหนุนความน่าสนใจของหุ้นยุโรปได้ต่อเนื่อง 

 

กองทุนแนะนำ

 

MFC

 

  • MFC Continental European Equity Fund หรือ MEURO

กองทุน MEURO ลงทุนในกองทุน BGF Continental European Flexible Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นยุโรปภาคพื้น (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) โดดเด่นในการสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง รวมทั้งลงทุนแบบยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนสไตล์การลงทุนและขนาดของหุ้นได้ตามสภาวะตลาด

 

RANGE3

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

แม้เงินเยนยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ในขณะที่อัตราผลตอบแทนแท้จริง (Real Yield) อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้ง Valuation ของหุ้นญี่ปุ่นยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น DM อื่นๆ และ EPS Growth ยังมีแนวโน้มถูกปรับขึ้น 

 

แต่อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการ บจ. ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตไม่โดดเด่นเท่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยกดดันจากการขยายภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว โอซาก้า และอีกหลายเมือง จนถึง 31 สิงหาคม และคะแนนความนิยมของรัฐบาลตกต่ำ 

 

ตลาดหุ้นจีน

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

ดัชนีหุ้นจีน Offshore (H-shares / ADR) ยังเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากมาตรการเข้มงวดด้าน Financial de-risking, Antitrust, Data Security และ Consumer Protection ที่ยังสามารถออกมาเพิ่มเติม และจะกดดันบริษัท Platform ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับผลประกอบการของ บจ.จีน โดยเฉพาะกลุ่ม Internet Giant ในไตรมาส 2/21 ที่มีแนวโน้มขยายตัวปานกลาง จึงทำให้ภาพการฟื้นตัวของดัชนีหุ้นจีน Offshore ซึ่งมีสัดส่วนกลุ่ม Platform ค่อนข้างมาก ยังถูกกดดันต่อ นอกจากนี้ข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐฯ และความเชื่อมั่นนักลงทุนของต่างชาติต่อท่าทีของทางการจีนที่ลดลง จะเป็นอีกปัจจัยที่กดดันดัชนีหุ้นจีน

 

ดัชนีหุ้นจีน Onshore มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการที่นโยบายการเงินอาจเริ่มมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น ผ่านการปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง และหุ้นกลุ่ม Industrials, Materials, Semiconductor ยังคงแข็งแกร่งและได้รับผลกระทบน้อย อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนในการออกระเบียบที่เข้มงวดของทางการจีนมีแนวโน้มสร้าง Sentiment เชิงลบในระยะสั้นต่อดัชนี CSI 300 แม้ว่าดัชนีฯ จะมีสัดส่วนกลุ่ม Platform ต่างๆ รวมกันเพียง 1% ก็ตาม นอกจากนี้การระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาในจีนและมาตรการคุมเข้มที่มากขึ้น รวมถึงการส่งออกที่เริ่มชะลอลง ส่งผลให้นักวิเคราะห์เริ่มปรับลดคาดการณ์ GDP จีนในไตรมาส 3/21 ลง

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

แม้ว่า Valuation ตลาดหุ้นไทยจะเริ่มน่าสนใจ และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนมีแนวโน้มดีขึ้น แต่การระบาดยังคงรุนแรงต่อเนื่อง แผนการเปิดประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูง ด้านผลการประชุม กนง. ล่าสุดมีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ขณะที่ 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยจากประมาณการ ธปท. ล่าสุด เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 และ 3.7 ในปี 2021 และ 2022 ตามลำดับ

 

RANGE4

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม แม้ยังผันผวนสูงจากความกังวลการแพร่ระบาดของโรคโควิด แต่เศรษฐกิจยังมีพื้นฐานแข็งแกร่ง โดยรัฐบาลคาด GDP เติบโตได้ราว 6.5-7% ในปี 2021-2025 จากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวตามอุปสงค์โลก การบริโภคภายในที่ขยายตัวดี และการใช้จ่ายภาครัฐที่แข็งแกร่ง 

 

นอกจากนี้ ตลาดเวียดนามมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนโดดเด่นจากผลประกอบการ บจ. ที่ออกมาดี และสถานะการลงทุนของต่างชาติยังไม่สูง Valuation ที่ยังไม่แพงเท่าตลาดอื่นในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย 

 

กองทุนแนะนำ

 

Principal

 

  • Principal Vietnam Equity Fund 

กองทุนลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเอง และคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 16 ส.ค. 2021

READ MORE



Latest Stories