THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
Dollar bill
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

วิกฤตสภาพคล่องลามฉุดเศรษฐกิจ กด Upside ตลาดหุ้น

... • 3 เม.ย. 2023

HIGHLIGHTS

8 MIN READ
  • ตลาดปรับตัวดีขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีเกินคาด ทั้งดัชนี Flash Composite PMI ของประเทศพัฒนาแล้วปรับดีขึ้น รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board ปรับลดลงน้อยกว่าตลาดคาด 
  • สถานการณ์สภาพคล่องภาคการเงินดูดีขึ้น หลัง First Citizens Bank เข้าซื้อธนาคาร SVB ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนของ FDIC 
  • ขณะที่ธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ กู้ยืมเงินจาก Bank Term Funding Program โดยมูลค่าการกู้ยืม ณ ปัจจุบัน (23 มีนาคม) อยู่ที่ 5.37 หมื่นล้านดอลลาร์ พุ่งจากสัปดาห์ก่อนที่มีมูลค่า 1.19 หมื่นล้านดอลลาร์ บ่งชี้ถึงสัญญาณของการที่ทางการเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและระงับความตื่นตระหนกได้
  • อย่างไรก็ตาม InnovestX ยังคงเชื่อว่า ความเสี่ยงปัญหาสภาพคล่องธนาคารจะเปลี่ยนจากวิกฤตความเชื่อมั่นในระยะสั้น กลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งของธนาคารขนาดกลางและเล็กในระยะยาว เนื่องจากจะทำให้เงินฝากยังคงไหลออกจากธนาคารขนาดเล็กไปสู่ธนาคารขนาดใหญ่มากขึ้น 
  • แม้ตลาดจะคลายความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป แต่เชิงเทคนิคเข้าสู่ภาวะ Overbought บวกกับมุมมองที่แตกต่างระหว่างธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และตลาดเกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ย อาจนำไปสู่ความผันผวนของตลาดในระยะถัดไป

สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวดีขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีเกินคาด โดยดัชนี Flash Composite PMI ของประเทศพัฒนาแล้วปรับดีขึ้น ผลจากการฟื้นตัวของภาคบริการเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคการผลิตยังคงหดตัว ด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board ไม่ได้ลดลงมากอย่างที่ตลาดคาด โดยอยู่ที่ 104.2 จากที่คาดที่ 101 จุด ขณะที่สถานการณ์สภาพคล่องภาคการเงินดูดีขึ้นหลัง First Citizens Bank เข้าซื้อธนาคาร SVB ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย แม้ปรับประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อลง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

 

1. ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีเกินคาด โดยดัชนี Flash Composite PMI ของประเทศพัฒนาแล้วปรับดีขึ้น โดยของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น อยู่ที่ 53.3, 54.1 และ 51.9 ตามลำดับ ผลจากการฟื้นตัวของภาคบริการเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคการผลิตยังคงหดตัว 

 

2. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board ไม่ได้ลดลงมากอย่างที่ตลาดคาด โดยอยู่ที่ 104.2 จากที่คาดที่ 101 จุด 

 

3. สถานการณ์สภาพคล่องภาคการเงินดูดีขึ้นหลัง First Citizens Bank เข้าซื้อธนาคาร SVB โดยซื้อเงินฝากและเงินกู้ทั้งหมดของ SVB จากสถาบันประกันเงินฝาก (FDIC) ด้วยมูลค่าราว 7.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ในราคาส่วนลดมากถึง 1.65 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนของ FDIC ด้านธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ กู้ยืมเงินจาก Bank Term Funding Program โดยมูลค่าการกู้ยืม ณ ปัจจุบัน (23 มีนาคม) อยู่ที่ 5.37 หมื่นล้านดอลลาร์ พุ่งจากสัปดาห์ก่อนที่มีมูลค่า 1.19 หมื่นล้านดอลลาร์ บ่งชี้ถึงสัญญาณของการที่ทางการเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและระงับความตื่นตระหนกได้ 

 

4. ในช่วงวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม หุ้นของ Deutsche Bank AG (DB) ลดลง -8.5% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการประกันการผิดนัด (CDS) เพิ่มสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2020 เป็นเพราะทางธนาคารประกาศซื้อคืนตราสารหนี้ Fixed Rate Subordinated Tier 2 Notes มูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ ที่ราคา Par Value ทำให้นักลงทุนกังวลว่าการซื้อเป็นสัญญาณว่าธุรกิจของ DB มีปัญหา จึงเทขายตราสารหนี้ Additional Tier 1 (AT1) ของ DB และลามสู่ราคาหุ้นของ DB และธนาคารอื่นๆ ในยุโรป 

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตลาดรับทราบว่า DB ไม่ได้มีปัญหาทางการเงินเฉพาะตัวเช่นเดียวกับ Credit Suisse โดยเฉพาะผลประกอบการล่าสุดที่กำไรประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์ ต่างจาก Credit Suisse ที่ขาดทุนประมาณ 7.3 พันล้านฟรังก์สวิส ทำให้สถานการณ์คลี่คลายลง ประกอบกับทางการทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ ออกมาตอกย้ำความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินในภาพรวม ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มขึ้น 

 

5. ดัชนีราคาบ้านในสหรัฐฯ Case-Shiller Index ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยหดตัว 0.2% ต่อเดือน และขยายตัวที่ 3.8% ต่อปี ชะลอลงจากเดือนมกราคมที่ 5.6% บ่งชี้แรงกดดันเงินเฟ้อจากราคาบ้านที่จะลดลงในระยะเวลาถัดไป

 

จับตาวิกฤตสภาพคล่อง ‘ลามฉุดเศรษฐกิจ’

นักลงทุนคลายความกังวลต่อปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ มากขึ้น หลังเห็นสัญญาณของการที่ทางการเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และระงับความตื่นตระหนกได้ สะท้อนจากราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารของสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวกลับขึ้นมา และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้น โดย First Citizens Bank ได้เข้าซื้อกิจการของ Silicon Valley Bank โดยซื้อเงินฝากและเงินกู้ทั้งหมดจากสถาบันประกันเงินฝาก (FDIC) ขณะที่ธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ กู้ยืมเงินจาก Bank Term Funding Program โดยมูลค่าการกู้ยืม ณ ปัจจุบัน (23 มีนาคม) อยู่ที่ 5.37 หมื่นล้านดอลลาร์ พุ่งจากสัปดาห์ก่อนกว่า 4 เท่า 

 

อย่างไรก็ตาม InnovestX ยังคงเชื่อว่า ความเสี่ยงปัญหาสภาพคล่องธนาคารจะเปลี่ยนจากวิกฤตความเชื่อมั่นในระยะสั้น กลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งของธนาคารขนาดกลางและเล็กในระยะยาว เนื่องจากจะทำให้เงินฝากยังคงไหลออกจากธนาคารขนาดเล็กไปสู่ธนาคารขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้การปล่อยสินเชื่อลดลงและกระทบต่อสภาพคล่องเศรษฐกิจเป็นวงกว้างในระยะต่อไป

 

ด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุดยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.50% เป็น 1.75% ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด แม้จะปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจ การส่งออก และเงินเฟ้อลง รวมถึงส่งสัญญาณกังวลภาพเศรษฐกิจโลก และความตึงตัวทางการเงินมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม กนง. ยังคงให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการบริโภคและภาคท่องเที่ยว และยังกังวลความเสี่ยงเงินเฟ้อ บ่งชี้ว่า จะยังขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่น่าจะใกล้จุดสูงสุด (Terminal Rate) แล้ว ดังนั้นโดยรวม InnovestX จึงยังเชื่อว่า ธปท. น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps ในการประชุมครั้งหน้า ซึ่งน่าจะเป็นการปรับขึ้นครั้งสุดท้ายในรอบนี้

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

แม้ตลาดจะคลายความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป แต่เชิงเทคนิคเข้าสู่ภาวะ Overbought บวกกับมุมมองที่แตกต่างระหว่างธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และตลาดเกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยอาจนำไปสู่ความผันผวนของตลาดในระยะถัดไป อีกทั้งปกติเดือนเมษายนวอลุ่มตลาดส่วนใหญ่จะลดลง MoM เนื่องจากนักลงทุนมักจะชะลอการเข้าลงทุนจากการมีวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ จึงทำให้ช่วงสั้นมอง SET เริ่มมี Upside จำกัดและมีโอกาสพักตัว ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ Selective Buy ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะ ดังนี้

 

1. หุ้น Best of the Best ภายใต้วิกฤตการเงินในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีพื้นฐานและฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีกำไรในปี 2566-2567 เติบโตเฉลี่ยสูงกว่ากำไรของกลุ่มหุ้นที่แนะนำ Outperform และ Valuation ไม่แพง โดยซื้อขายด้วย PER และ PBV เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่บริเวณ -1.0 ถึง -2.0 S.D. ทำให้คาด Downside เริ่มจำกัด จึงมองเป็นโอกาสซื้อสะสม เลือก AU, BBL, BDMS, CPALL และ GULF

 

2. Trading Idea: หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ไทยหลังราคาหุ้นยังไม่ค่อยปรับขึ้น เมื่อเทียบกับดัชนีกลุ่ม Semiconductor ในสหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นแรง ขณะที่ผลประกอบคาดจะผ่านจุดต่ำสุดใน 1Q66 เลือก KCE และ HANA

 

3. หุ้นปันผล ซึ่งจากข้อมูลย้อนหลัง 11 ปี (ปี 2011-2022 ยกเว้นปี 2020) พบมี 2 หุ้นที่อยู่ภายใต้การดูแลของเรา ซึ่งให้ผลตอบแทนบวกและมี Win Rate เกิน 50% ในเดือนเมษายน ซึ่งคาดว่าเกิดจากจะมีการขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 8 พฤษภาคม ได้แก่ SPALI (ปันผลหุ้นละ 0.75 บาท) และ LH (ปันผลหุ้นละ 0.35 บาท)

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

1. การประชุมคณะกรรมการของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) และชาติพันธมิตร หรือ OPEC+ ในวันที่ 3 เมษายน ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตหรือไม่

 

2. ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) ของไทยเดือนมีนาคม และสถานการณ์การเลือกตั้งในประเทศ

 

3. ตัวเลขตลาดแรงงานของสหรัฐฯ เดือนมีนาคม ซึ่งหากยังแข็งแกร่งและออกมาดีกว่าที่คาด จะเป็นปัจจัยหนุนให้ Fed เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: HMPRO - ปีนี้ยอดขายและมาร์จิ้นจะดีขึ้น

 

สัปดาห์นี้ InnovestX เลือกแนะนำ บมจ.โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ หรือ HMPRO เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • ผู้นำธุรกิจ Home Improvement ของไทยที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งและผลการดำเนินงานยังมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว ตามแผนขยายสาขาที่มีอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยราวปีละ 4-6 แห่ง และการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSS) ราวปีละ 3%YoY
  • ปี 2023 มีแผนขยายเชิงรุก โดยวางแผนเปิดสาขาใหม่ 10 สาขา (โฮมโปร 2 สาขา และเมกาโฮม 8 สาขา ซึ่งจะทำให้พื้นที่ขายสุทธิเพิ่มขึ้น 12% จากที่มีอยู่เดิม) สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าเปิดเมกาโฮม 3 สาขา (ในรัตนาธิเบศร์ บางพลี และติวานนท์) ใน 1Q23, เมกาโฮม 3 สาขา ใน 2Q23 และที่เหลือจะเปิดในเมืองใหญ่ๆ ในต่างจังหวัดใน 2H23
  • 1Q23 คาดกำไรจะเติบโต YoY และภาพรวมทั้งปี 2023 คาดกำไรจะเติบโต 14%YoY ซึ่งมีปัจจัยขับเคลื่อนมาจากยอดขายสาขาเดิม (SSS) ที่เพิ่มขึ้น รายได้ค่าเช่าที่ฟื้นตัว และมาร์จิ้นที่จะกว้างขึ้นจากการมีสัดส่วนยอดขายสินค้าอัตรากำไรสูงได้เพิ่มขึ้น
  • ช่วงสั้นคาดราคาหุ้นจะได้อานิสงส์จากภาวะอากาศร้อนจัด ทำให้อุปสงค์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็นสูงขึ้น อีกทั้งมองราคาหุ้นมีความเสี่ยง Downside จากต้นทุนที่สูงขึ้นมีจำกัด เพราะมีมาร์จิ้นสูงและมีหนี้สินที่มีดอกเบี้ยลอยตัวต่ำกว่าผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในกลุ่มพาณิชย์
  • InnovestX ประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 17.00 บาท (อิงวิธี DCF) และมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรช่วง 2H22 อีกหุ้นละ 0.21 บาท (XD วันที่ 19 เมษายน) คิดเป็น Div. Yield 1.5% 

 

Asset Allocation Strategy

แม้สถานการณ์สภาพคล่องในกลุ่มธนาคารขนาดกลางเล็กจะได้รับความช่วยเหลือที่รวดเร็วจากธนาคารกลาง รวมถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับ Deutsche Bank จะคลี่คลายด้วยผลประกอบการของธนาคารและฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง แต่ยังคงระมัดระวังในการพิจารณากลับเข้าลงทุนและติดตามปัจจัยความเสี่ยงระบบการเงินอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะทิศทางการปล่อยสินเชื่อของ Regional Bank ในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจท่ามกลางนโยบายทางการเงินทั้งในสหรัฐฯ และยุโรปที่ยังคงเข้มงวดต่อเนื่อง ซึ่งจะกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

 

ดังนั้นในภาพรวมจึงแนะนำให้ยังคงถือครองสภาพคล่องไว้ในระดับสูง และแนะนำให้ลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงสูง เพิ่มสัดส่วนการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐ โดยกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ของผู้ลงทุน เน้นการถือครองสินทรัพย์ที่มีคุณภาพหลีกเลี่ยงตราสารหนี้ US High Yield เพื่อลดความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าตลาดคาดสำหรับการลงทุนในหุ้น 

 

ขณะเดียวกันยังคงมีมุมมองเป็นลบต่อตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว โดยแนะนำให้เน้นเลือกลงทุนในหุ้นคุณภาพที่มีศักยภาพในการรักษาระดับการทำกำไรได้ดีในช่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 

 

และคงมุมมองบวกกับหุ้นเอเชียและจีน เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตได้ดีกว่าตลาดพัฒนาแล้ว โดยได้อานิสงส์หลักจากการเปิดประเทศของจีนที่จะช่วยหนุนการบริโภคและการท่องเที่ยว มองการย่อลงของตลาดเป็นโอกาสเข้าสะสมเพิ่มเติม ด้านตราสารทางเลือกยังคงมุมมองเป็นกลางต่ออสังหาริมทรัพย์ / REIT แต่มีมุมมอง

บวกกับ TH REIT ซึ่งอัตราเงินปันผลมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในส่วนของทองคำยังคงมุมมองเป็นกลางเช่นเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง / เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงลดลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์เสี่ยงยังคงถูกกดดันจากเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างช้าๆ และยังอยู่ในระดับสูง ความกังวลปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป และความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

ความกังวลเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจถดถอยยังมีอยู่ ทําให้มีแรงซื้อ UST ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย และส่งผลให้ UST Yields มีแนวโน้มปรับลดลงต่อ ส่วน 10y TH Govt ทยอยลดลงหลังต่างชาติกลับเข้าซื้อ โดยเฉพาะหลังวิกฤตภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป ขณะที่ระยะต่อไปมีแนวโน้มทรงตัว / ลดลง

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

วิกฤตภาคธนาคารส่งผลให้ US IG Spread สูงข้ึนในระยะสั้น แต่การที่กลุ่ม IG มีงบดุลที่แข็งแกร่งส่งผลให้ Spread กลับมาทรงตัว / ลดลง ขณะที่ UST Yield มีแนวโน้มลดลงเมื่อ Fed Pause ส่งผลบวกต่อราคา US IG สําหรับ TH IG Yield ลดลงตาม Govt Yield และ Corp Spread โดยเฉพาะที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ AA

 

วิกฤตภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป ทําให้ภาวะการเงินตึงตัวมากขึ้น และด้วยผลสืบเนื่องของปัญหาท่ียังมีอยู่อาจสร้างความผันผวนในตลาดการเงินและเสี่ยงต่อหุ้นกู้ HY เห็นได้จาก HY Spread ที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางผลบวกจากการปรับลดลงของ Govt Bond Yields

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งยังสนับสนุนภาวะเศรษฐกิจ แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางวิกฤตธนาคารภูมิภาคจะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจและการขยายตัวของ Earnings อีกท้ังยังคงต้องระวังความผันผวนในกลุ่มธนาคาร ขณะที่ Valuation ของดัชนี S&P 500 ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตราสารหนี้

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

การใช้นโยบายการเงินเริ่มสะท้อนผ่านการเติบโตของสินเชื่อที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงต่อเนื่อง รวมไปถึงสภาพคล่องเริ่มมีการปรับตัวลงเช่นเดียวกัน ซึ่งมีแนวโน้มนําไปสู่เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มโตได้ช้าลง อย่างไรก็ตาม Valuation ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต แต่ยังคงต้องระวังความผันผวนในกลุ่มธนาคาร

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

ทิศทางของเศรษฐกิจโลกท่ีเร่ิมชะลอตัว ประกอบกับเงินเยนที่แข็งค่า มีแนวโน้มส่งผลกดดันผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดี Valuation ท่ีอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศตามการเปิดเมือง จะช่วยจํากัด Downside ให้กับตลาด

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 5

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการเปิดเมืองและจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แรงซื้อของภาคครัวเรือนจีนบนหุ้นจีนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก Pent-Up Saving บนเงินฝากส่วนเกินที่ค่อนข้างสูง และ Sentiment ที่ดีขึ้นของนักลงทุนรายย่อยจีน ประกอบกับ EPS Growth ของดัชนีในช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มออกมาดี

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

ดัชนียังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีนจากการคุมเข้มกฎระเบียบกับกลุ่มแพลตฟอร์มที่ลดลง EPS Growth ท่ีมีแนวโน้มดีขึ้น Valuation ที่ลดความตึงตัวลง และ Sentiment เชิงบวกจากข่าวการปรับโครงสร้างธุรกิจของ Alibaba อย่างไรก็ตาม ดัชนีมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากข้อพิพาทกับสหรัฐฯ

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

เศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นตามทิศทางการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศและการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวที่ดีกว่าคาด ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อเริ่มลดลงยังคงเป็นปัจจัยหลักที่หนุนให้ตลาดหุ้นมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวได้ต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 2

แม้เริ่มเห็นสภาพคล่องท่ีเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยธนาคารกลาง แต่ยอดส่งออกที่ปรับตัวลงแรงใน 1Q66 จะยังคงกดดันเศรษฐกิจ และ Earning ของบริษัทจดทะเบียน อีกทั้งความกังวลบนการผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้อสังหา ส่งผลให้เกิด Sentiment เชิงลบ ทําให้ Upside ต่อตลาดหุ้นยังคงมีจํากัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

ค่าเงินรูปีมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ช่วยชะลอเงินเฟ้อที่ยังสูงให้กลับสู่กรอบ 2-4% อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 5.75% จะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคครัวเรือนให้ยังคงอ่อนแอ ขณะท่ี Cycle ถ่านหินผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ทําให้ Upside ในระยะสั้นมีจํากัด แม้ว่าในระยะยาวเศรษฐกิจจะได้รับอานิสงส์จาก FDI ในอุตสาหกรรม EV

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

ความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นกลับมาเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงสั้น สะท้อนจากราคาทองที่ปรับตัวขึ้นในช่วงหลังเกิดปัญหาใน SVB ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม มองว่าราคาทองคําปรับเพิ่มขึ้นมากแล้ว เมื่อเทียบกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์และ Real Yield ที่ปรับลดลง

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

ราคาน้ํามันยังคงมีแนวโน้มผันผวนอยู่ในกรอบ และมีแนวโน้มท่ีจะยังคงอ่อนแอในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากตลาดน้ํามันมีแนวโน้มที่ยังคงเป็นอุปทานส่วนเกิน อย่างไรก็ตาม การเปิดเมืองของจีนจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาน้ํามันฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

ถึงแม้ว่าการปรับลดลงของ 10y UST Yield จะส่งผลบวกต่อ REIT-UST Yield Spread แต่การท่ีภาวะสินเชื่อมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น จะส่งผลกระทบลบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจ และรายรับของ DM REITs ทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะในกลุ่ม High-Leverage

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 4

กิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มเอเชียยังคงได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง / ประเทศ ส่งผลให้รายได้ของกลุ่ม REITs ยังคงมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราเงินปันผลและ Yield Spread อยู่ในระดับที่น่าสนใจ นอกจากน้ีมองว่าแรงกดดันจากการปรับเพิ่มขึ้นของ Bond Yield สหรัฐฯ เร่ิมจํากัดแล้ว

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

Slightly Negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate สําหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศแนะนําให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 3 เม.ย. 2023

READ MORE



Latest Stories