THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

ตลาดทุนโลกเสี่ยงซึมยาว รอตัวเลขเศรษฐกิจชัด เพื่อดำเนินนโยบายการเงิน

... • 26 มิ.ย. 2023

HIGHLIGHTS

  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวลดลงจากความเสี่ยงที่มากขึ้น โดยเฉพาะจากการดำเนินนโยบายของธนาคารประเทศเศรษฐกิจสำคัญ
  • อีกทั้งดัชนีราคาผู้บริโภคที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในหลายประเทศกำลังเปิดทางให้ธนาคารกลางต่างๆ เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ย 
  • ขณะที่จีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และจากนี้ไปจะได้เห็นมาตรการทางการคลังออกมาอีก
  • ส่วนการดำเนินนโยบายการเงินสหรัฐฯ ในระยะต่อไปจะขึ้นอยู่กับข้อมูลในอนาคต (Data Dependent) เป็นสำคัญ

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดปรับตัวลดลงจากความเสี่ยงที่มากขึ้นจาก

1. ประเด็นประธาน Fed แถลงต่อรัฐสภายืนยันพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อ โดยมีรายละเอียดคือ

1.1 มองว่าเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงและต้องการให้เข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ทำให้สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ต่อ แต่ความเร็วในการขึ้นสามารถชะลอลงได้และขึ้นอยู่กับข้อมูล ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง แต่เริ่มเห็นความสมดุลความต้องการและปริมาณแรงงานมากขึ้น

1.2 มองว่าขณะนี้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจกำลังเสี่ยงจากภาวะสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไป แต่ผลกระทบยังไม่แน่นอน

1.3 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาในประเด็นเพิ่มการกำกับธนาคารขนาดเล็ก แต่จะไม่ให้กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่มีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง 

 

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหราชอาณาจักรเดือนพฤษภาคมขยายตัวที่ 8.7%YoY และ +0.7% MoM สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ +8.4%YoY และ +0.5%MoM ทำให้ธนาคารกลางอังกฤษยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 

 

3. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำพิเศษที่ -0.1% ต่อไป และคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) ของพันธบัตร 10 ปีที่ระดับ 0% +/- 0.5% ต่อไป แต่เริ่มส่งสัญญาณพิจารณาเรื่องการจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะต่อไป หลังเริ่มมีสัญญาณว่าค่าแรงและเงินเฟ้ออาจปรับตัวเร็วขึ้น 

 

4. ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR ลง -10bps ตามที่ตลาดคาด ซึ่งเป็นการปรับลงครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ส่งผลให้ดอกเบี้ย LPR ระยะ 1 ปี และ 5 ปี เป็น 3.55% และ 4.20% ตามลำดับ ซึ่งเป็นการลดหลังจากมีการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 7 วัน และ 1 ปีลงเมื่อสัปดาห์ก่อน 

 

5. แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เดินทางเข้าพบประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี เพื่อเป็นการปูทางการพบกันระหว่างประธานาธิบดีสีจิ้นผิง และโจ ไบเดนที่สหรัฐฯ ในช่วงปลายปี

 

นโยบายการเงินจะขึ้นกับ Data Dependent เป็นสำคัญ

ในประเด็นประธาน Fed แถลงต่อรัฐสภา บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่านโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นในปัจจุบันทำให้เงินเฟ้อและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงเป็นลำดับ ขณะที่สภาพคล่องทางการเงินเริ่มตึงตัวมากขึ้น เห็นได้จากสินเชื่อที่ชะลอแรงขึ้นและผลตอบแทนพันธบัตรที่ตึงตัวขึ้น ขณะที่การกำกับธนาคารขนาดเล็กมากขึ้นจะยิ่งทำให้ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อและทำให้สภาพคล่องเศรษฐกิจตึงตัวยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มองว่านโยบายการเงินสหรัฐฯ ในระยะต่อไปจะขึ้นอยู่กับข้อมูลในอนาคต (Data Dependent) เป็นสำคัญ

 

ในส่วนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่าการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางและมาตรการกระตุ้นการคลังที่กำลังจะออกมานั้นอาจมีผลช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้จำกัด เนื่องจาก

1. หนี้ประชาชาติโดยรวมของจีนที่อยู่ในระดับสูง โดยล่าสุดอยู่ถึง 297.2% GDP ทำให้ทางการจีนไม่สามารถลดดอกเบี้ยได้มาก 

2. รัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ ไม่กล้าที่จะเบิกจ่ายมาตรการกระตุ้นมาก เนื่องจากรัฐบาลกลางเข้มงวดเรื่องคอร์รัปชัน และกังวลประเด็นรายได้ลดลง ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นมีเงินไปจ่ายภาระดอกเบี้ยลดลง 

3. ด้วยการว่างงานในระดับสูงและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้ชาวจีนกังวลรายได้ในอนาคตและระมัดระวังการใช้จ่าย ทำให้เราเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวมากกว่าคาด

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

1. หุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 2Q66 จะยังเติบโตได้ดี YoY เลือก AOT, BBL, ADVANC, MINT, OSP, BDMS, BEM

2. หุ้นสู้วิกฤต ซึ่งคาดราคาจะทยอยฟื้นตัวได้ดีใน 1 เดือน หลังปรับตัวลงมาแรงเนื่องจากสิ้นสุดการเลือกตั้งไทยเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เลือก BH, BTS, CHG, CPAXT

 

ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุน

1. หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า และกลุ่ม PTT ออกไปก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงหรือความไม่ชัดเจนของโครงสร้างราคาพลังงานจากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่

2. หุ้นที่คาดได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ (GLOBAL), กลุ่มสินเชื่อ (MTC, SAWAD), กลุ่มยานยนต์ (SAT, STANLY), กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG มีต้นทุนน้ำตาลสูง), กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (CKP) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF, GFPT)

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

1. รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินของไทยเดือนพฤษภาคม โดย ธปท. ในวันที่ 30 มิถุนายน

2. ดัชนี Core PCE ของสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคมคาดว่าขยายตัว 4.5%YoY จากเดือนเมษายนที่ขยายตัว 4.7%YoY

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเบื้องต้นของยูโรโซนเดือนมิถุนายน ตลาดคาดขยายตัว 5.6%YoY ชะลอลงจากเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัว 6.1%YoY

4. European Council Meeting การประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป ที่จะหารือเกี่ยวกับร่างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป 

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BBL - เติบโตแข็งแกร่งสุดในกลุ่มธนาคาร

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์รวม อีกทั้งมีเครือข่ายในต่างประเทศมากที่สุด ทำให้มองอยู่ในตำแหน่งดีที่สุดที่จะได้โอกาสในการขยายสินเชื่อจากการย้ายฐานธุรกิจมายังอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย  
  • ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำสุดในกลุ่ม เพราะมีสัดส่วนลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 43% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในกลุ่ม และ Credit Cost มีแนวโน้มลดลง เพราะมี LLR Coverage สูงถึง 255%
  • 2Q66 คาดกำไรเพิ่มขึ้น 55%YoY (NII สูงขึ้น) และ 7%QoQ (ตั้งสำรองลดลง, NII สูงขึ้น) ขณะที่ปี 2566 คาดกำไรจะเติบโต 50%YoY สูงสุดในกลุ่มธนาคาร แรงหนุนจาก Credit Cost ที่ลดลง 14 bps, การเติบโตของสินเชื่อที่ 5%, NIM ที่ดีขึ้น 44 bps, Non-NII ในระดับทรงตัว และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ลดลง  
  • มีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และ Valuation ปัจจุบันน่าสนใจ โดยซื้อขายด้วย P/BV ปี 2023F ที่ 0.58x เทียบกับ ROE ที่ 8.4% ทำให้ราคาหุ้น BBL ยัง Laggard และมองยังไม่สะท้อนแนวโน้มกำไรที่เติบโตแข็งแกร่งสุดในกลุ่ม 
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 197 บาท (P/BV 0.7 เท่า หรือ P/E 8.55 เท่า สำหรับปี 2023) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2023 ที่หุ้นละ 6.50 บาท คิดเป็น Div. Yield 4% 

 

Asset Allocation Strategy

ธนาคารกลางกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังคงเน้นย้ำจุดยืนการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ในขณะที่ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจถดถอย การถอนสภาพคล่องออกจากเศรษฐกิจ และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่มากขึ้น ยังคงเป็นความเสี่ยงหลักต่อตลาดหุ้นในอนาคต

 

ปัญหาต่อเนื่องของสหรัฐฯ จากการขยายเพดานหนี้คือการกู้เงินของกระทรวงการคลังจำนวนมากเพื่อเติมเงินคงคลังและชำระรายจ่ายภาครัฐ ผ่านการออกพันธบัตรรวมสูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งนับเป็นการถอนเม็ดเงินออกจากเศรษฐกิจ ด้านความเสี่ยงหลักของยุโรปคือการชะลอตัวของภาคการผลิต ที่ดัชนีความเชื่อมั่นส่วนใหญ่บ่งชี้ว่ามีโอกาสเข้าสู่การหดตัวในไม่ช้า นอกจากนี้ เงินเฟ้อในอังกฤษยังสูงกว่าที่คาดไว้ บีบให้ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยถึง 0.5% ในการประชุมครั้งล่าสุด

 

ภูมิภาคเอเชียและจีนชะลอลงเช่นกัน หลังการเปิดเมืองของจีนกระตุ้นความต้องการใช้จ่ายสินค้าได้เพียงระยะสั้น ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในระยะถัดไปทำให้ภาคครัวเรือนไม่กล้าใช้จ่าย ขณะที่ภาคธุรกิจก็ยังขาดความมั่นใจที่จะลงทุนเพิ่ม มาตรการทางการเงินที่ออกมายังทำเพื่อการพยุงมากกว่าการกระตุ้น ดังนั้นเราว่ามองว่าภาพการฟื้นตัวของตลาดจีนจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเกิดจากพื้นฐานภายในประเทศเป็นหลักควบคู่กับมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ เมื่อเห็นเศรษฐกิจแสดงสัญญาณที่แย่ลงกว่าเดิม จุดแข็งเดิมของจีนคือมูลค่าที่ถูกกว่าตลาดอื่น รอเพียงการฟื้นตัวของกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เด่นชัดและเม็ดเงินลงทุนที่หมุนกลับเข้าตลาดจีนเท่านั้น

 

ด้านตราสารทางเลือก เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่ออสังหาริมทรัพย์ / REIT ประเทศพัฒนาแล้ว แต่มีมุมมองเชิงบวกต่อ REIT ไทยและอาเซียน ซึ่งอัตราเงินปันผลมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และแนะนำให้ถือลงทุนทองคำในพอร์ตเพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

สภาพคล่อง/เงินสด

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสดมีโอกาสให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบาย (ซึ่งถูกปรับขึ้นและคาดว่าจะยังไม่ถูกปรับลดในระยะเวลาอันใกล้) มากขึ้น โดยที่เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยใน DM แม้ว่าคลายลงไปบ้าง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ อีกทั้งได้รับแรงส่งจากภาคบริการและการเปิดเมืองของจีนและเอเชีย

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 5

 

UST Yields ใน 6-12 เดือนถัดไปมีแนวโน้มเป็นขาลงมากกว่าขึ้น จากเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลง, Fed ใกล้หยุดขึ้นดอกเบี้ย และ Recession Risks แต่ Yields มี Upside Risks จากเงินเฟ้อพื้นฐานหนืด การจ้างงานและผู้บริโภคแข็งแรง และ Fed มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด / TH Bond Yields เคลื่อนไหวค่อนข้างสอดรับกับของ US

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

US IG ที่หนุนด้วยงบดุลที่ดี ได้แรงส่งจาก UST Yields ที่มีแนวโน้มเป็นขาลงมากกว่าขึ้น แต่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการที่ Fed มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด รวมทั้งจำนวนบริษัทล้มละลายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีนัย ทั้งนี้ High Grade อย่าง AA ขึ้นไปค่อนข้าง Resilient ในช่วงเศรษฐกิจแย่ / ด้าน TH IG Spreads ยังทรงตัว

 

US HY มีความเสี่ยง Spread Widening มากกว่า IG อย่างชัดเจน เหตุจาก Recession Risks โดยเฉพาะจากภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวมากขึ้นจนใกล้เคียงระดับในช่วงเผชิญ Recessions ในอดีต ซึ่งถูกกดดันเพิ่มเติมจากวิกฤตธนาคารภูมิภาค ที่ถึงแม้ว่าจะแผ่วลง แต่ยังคงสร้างความกังวล อีกทั้งจำนวนบริษัทยื่นล้มละลายสูงขึ้นชัดเจน

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ดัชนีมีแนวโน้มถูกกดดันจากภาคผลิตหดตัว สินเชื่อตึงตัว Earnings หดตัว และ Fed มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด อย่างไรก็ดี การจ้างงานและผู้บริโภคที่แข็งแรง ภาคบริการฟื้นตัว และ EPS มีท่าที Bottom out / Mega-cap Tech หนุนด้วย EPS ที่ดีกว่าคาด และ AI Trend แต่ Valuations แพงขึ้น จึงควรทยอยลดสัดส่วน

 

ตลาดหุ้นยุโรป

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Bond Yield ยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อ ตาม ECB ที่ยังมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยต่อในการประชุมเดือนกรกฎาคม พร้อมทั้งเร่งทำ QT บนโครงการ APP ขณะที่โมเมนตัมเศรษฐกิจยุโรปแผ่วลง ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงขาลงของ EPS บจ.ยุโรปในช่วงที่เหลือของปี ประกอบกับ Valuation ตลาดหุ้นยุโรปแพง เมื่อเทียบกับตลาดตราสารหนี้ยุโรป

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

 

ดัชนีเสี่ยงเผชิญแรงขายทำกำไร หลังปรับเพิ่มขึ้นมามากและค่อนข้างเร็วในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ความเสี่ยง Recession ในสหรัฐฯ ที่มีอยู่ และโมเมนตัมการฟื้นตัวที่แผ่วของจีน จะกดดันแนวโน้ม EPS บจ.ญี่ปุ่นในข้างหน้า ประกอบกับยังมีความเป็นไปได้ที่ BOJ จะปรับ YCC ในเดือนกรกฎาคม และนักลงทุนได้ลดทอนความคาดหวังการยุบสภา

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 5

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน นำโดยภาคบริการ ประกอบกับทางการจีนยังมีแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติม โดยเมื่อไม่นานนี้ PBOC ลดอัตราดอกเบี้ย OMO, SLF, MLF และ LPR ลง รวมทั้งยังมีแนวโน้มลด RRR ขณะที่ EPS บจ.จีน ในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มถูกปรับเพิ่มขึ้น

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ดัชนียังมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นของทางการจีน จาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Platform และความไม่แน่นอนกฎระเบียบที่มีแนวโน้มลดลง ขณะที่ Valuation ที่ยังไม่แพง อย่างไรก็ตาม ด้วยประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังมีอยู่ อาจสร้างความผันผวนบนดัชนี

 

ตลาดหุ้นไทย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

นักลงทุนยังจับตาบนประเด็นการเมือง ทำให้ดัชนีมีแนวโน้มผันผวน จนกว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะแล้วเสร็จและสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามา ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี สอดคล้องกับที่ กนง. ปรับเพิ่มประมาณการการบริโภคภาคเอกชนและจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

 

ธนาคารกลางเวียดนามปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัว ในขณะที่ตลาดหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการกลับเข้ามาซื้อโดยนักลงทุนรายย่อยที่มีการทำ Margin Loan ทำให้มีความเสี่ยงถูกขายทำกำไรท่ามกลางปัจจัยบวกในระยะสั้นที่มีค่อนข้างจำกัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ธนาคารกลางคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.75% เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงิน ทำให้ภาพการฟื้นตัวการบริโภคภายในประเทศยังไม่ชัดเจน Upside ระยะสั้นมีจำกัด อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามการบริโภคในช่วง 2H2023 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ต้นปี 2024 รวมทั้งแนวโน้มของ FDI ที่กำลังรอความชัดเจนจากนโยบายรัฐบาลชุดใหม่

 

ทองคำ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ได้แรงหนุนจากแนวโน้ม USD อ่อนค่ามากกว่าแข็งค่า และ US (Real) Bond Yields ที่อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำมี Upside จำกัด เนื่องจาก Fed มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด และตลาดทยอยปรับมุมมองตาม Fed ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อทั้ง Real Yields ขาลง และ USD ด้านอ่อนค่า

 

น้ำมัน

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

อุปสงค์โลกเป็นตัวแปรสำคัญที่ยังไม่แน่นอน ซึ่งค่อนข้างหดตัวในภาคผลิต แต่ขยายตัวในภาคบริการ อีกทั้งเป็นขาลงใน DM แต่กำลังฟื้นตัวในจีนและเอเชีย กระนั้นยังไม่ทั่วถึงและไม่ร้อนแรง นับเป็นอุปสรรคต่อราคาพลังงาน ในขณะที่การลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มเติมสร้าง Sentiment เชิงบวกได้เพียงแค่ในระยะสั้น

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

 

ถูกกดดันจากกลุ่ม Office จาก Hybrid Working, Occupancy Rate ลด, Vacancy Rate เพิ่ม, และ Delinquency Rate เพิ่ม อีกทั้งสินเชื่อ CRE ตึงตัว, เศรษฐกิจขาลงแต่ดอกเบี้ยสูง ซึ่ง Fed มีท่าทีปรับเพิ่มขึ้นและไม่รีบลด, Refinancing Risks อย่างไรก็ดี Net Operating Income ของกลุ่มอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

หนุนด้วยวัฏจักรเศรษฐกิจฟื้นตัว REIT-Govt Yield Spreads ที่อยู่สูง และกลุ่ม Data Storage นอกจากนี้ Office Leasing และ Vacancy Rates ที่แย่ลงในสหรัฐฯ กลับทรงตัวได้ในเอเชีย ขณะที่ Bond Yields มี Upside Risks ภายนอก (Fed อาจขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด) ขณะที่อัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยเริ่มชะลอลงในสิงคโปร์

 

Private Asset

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

 

Slightly Negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2023

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 26 มิ.ย. 2023

READ MORE



Latest Stories