THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

ผลประชุม Fed ล่าสุดยัง ‘Too Good to be True’

... • 18 ธ.ค. 2023

HIGHLIGHTS

9 MIN READ
  • คณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน (FOMC) ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ 5.25-5.50% ตามคาด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี แต่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดว่าจะยุติการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว และจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 3 ครั้งในปีหน้า โดยมองว่าจะปรับลดไปสู่ 4.60% ในปี 2024 และ 3.60% ในปี 2025 
  • บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า Policy Statement ครั้งนี้ Too Good to be True แม้ว่าเศรษฐกิจจะยังดูแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง แต่เรามองว่าในระยะต่อไปเศรษฐกิจจะเริ่มเปราะบาง โดยเฉพาะการบริโภค ภาคบริการ รวมถึงตลาดแรงงาน
  • ในระยะสั้นตลาดอาจโฟกัสในประเด็นการลดดอกเบี้ย ซึ่งจะเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง มากกว่าสาเหตุของการลดดอกเบี้ย ซึ่งจะเป็นลบต่อสินทรัพย์เสี่ยง
  • อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อในระยะต่อไปอาจลดลงได้ยากมากขึ้น เนื่องจากเป็นเงินเฟ้อฝั่ง Demand-Side ทำให้ Fed อาจส่งสัญญาณตรึงดอกเบี้ยยาว ซึ่งจะเป็นผลลบต่อสินทรัพย์เสี่ยง ดังนั้น อาจต้องระมัดระวังความผันผวนในระยะถัดไป

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงโดยเฉพาะสหรัฐฯ เนื่องจาก 

 

  1. คณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน (FOMC) ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ 5.25-5.50% ตามคาด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี แต่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดว่าจะยุติการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว และจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 3 ครั้งในปีหน้า มากกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยมองว่าจะปรับลดไปสู่ 4.60% ในปี 2024 และ 3.60% ในปี 2025

 

  1. เงินเฟ้อสหรัฐฯ ลดลงต่อเนื่อง โดยเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปสหรัฐฯ อยู่ที่ 3.10% ในเดือนพฤศจิกายน จาก 3.20% ในเดือนก่อน ขณะที่เงินเฟ้อผู้ผลิตทั่วไปอยู่ที่ 0.90% ต่อปี จาก 1.20% ในเดือนก่อน 

 

  1. การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.99 แสนตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.8 แสนตำแหน่ง จากการกลับมาทำงานของแรงงานภาคยานยนต์หลังการประท้วงสิ้นสุดลง ขณะที่ภาคสาธารณสุขและรัฐบาลจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่ภาคค้าปลีกและการจ้างงานชั่วคราวลดลง ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงต่ำกว่าคาดที่ 3.70% ด้านรายได้ต่อชั่วโมงเฉลี่ยทรงตัวที่ 4% ต่อปี ขณะที่รายได้เฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้น โดยอยู่ที่ 3.70% จากเดือนก่อนที่ 3.10% 

 

  1. เงินเฟ้อผู้บริโภคของจีนตกต่ำต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกลัวภาวะเงินฝืดเพิ่มสูงขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลง 0.50% ในเดือนพฤศจิกายน ลดลงรุนแรงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 และอ่อนแอกว่าการหดตัว -0.20% ที่ตลาดคาด ด้านราคาผู้ผลิตลดลง -3% ต่ำกว่าคาดที่ -2.80% ซึ่งเป็นการหดตัว 14 เดือนติดต่อกัน 

 

  1. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4% (Deposit Rate) และ 5.25% ตามตลาดคาด แต่ยังคงมุมมองนโยบายการเงินที่ตึงตัวต่อไปในปี 2024 ซึ่งต่างจากที่ตลาดคาดว่า ECB มีโอกาสลดดอกเบี้ยในช่วง 1H24 และลดทั้งปี 125 bps 

 

  1. ยอดค้าปลีกเดือนพฤศจิกายนของสหรัฐฯ +0.30%MoM และ +4.10%YoY สวนทางที่ตลาดคาด -0.10%MoM ขณะที่ผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้วลดลงสู่ 2.02 แสนราย ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 

 

ผลประชุม Fed อาจ Too Good to be True

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า สัญญาณจากการประชุม FOMC ครั้งนี้คือการทำ Fed Pivot หรือปรับทิศนโยบายการเงิน ทั้งในแง่การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีต่อเนื่อง เงินเฟ้อที่ลดลงรุนแรงขึ้น ทำให้ Fed สามารถลดดอกเบี้ยได้มากขึ้นในปีนี้ 

 

อย่างไรก็ตาม เรามองว่า Policy Statement ครั้งนี้ Too Good to be True แม้ว่าเศรษฐกิจจะยังดูแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง แต่เรามองว่าในระยะต่อไปเศรษฐกิจจะเริ่มเปราะบาง โดยเฉพาะการบริโภค ภาคบริการ รวมถึงตลาดแรงงาน โดยการจ้างงานเดือนล่าสุดแม้ปรับตัวดีเกินคาด แต่ก็เป็นเพราะการกลับมาทำงานของแรงงานภาคยานยนต์หลังการประท้วงสิ้นสุดลง ขณะที่ภาคสาธารณสุขและรัฐบาลจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่ภาคค้าปลีกและการจ้างงานชั่วคราวลดลง นอกจากนั้น ตำแหน่งงานที่เปิดใหม่ลดลงต่อเนื่องทำให้สัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อผู้ว่างงานเหลือแค่ประมาณ 1.20 เท่า จากประมาณ 2 เท่าเมื่อปีก่อน บ่งชี้ว่านายจ้างเริ่มจะปรับลดคนงานมากขึ้นหากเศรษฐกิจมีปัญหา 

 

นอกจากนั้น เงินเฟ้อน่าจะลดลงได้ยากมากขึ้น โดยเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนนั้น แม้ว่าจะลดลงต่อเนื่อง แต่หากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนจะพบว่าเพิ่มขึ้นบ้าง นอกจากนั้น ในองค์ประกอบเงินเฟ้อยังพบว่า เงินเฟ้อฝั่ง Demand-Side (ค่าเช่าและค่าจ้าง) ลดลงได้ยากมากขึ้น โดยอยู่ที่ประมาณ 2.50% ในเงินเฟ้อทั่วไปที่ 3.10% ภาพต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้ Fed ต้องกลับมาส่งสัญญาณ Higher for Longer อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ตลาดที่ร้อนแรง ณ ขณะนี้อาจมีปัญหาในระยะต่อไปได้ 

 

“เราเชื่อว่านโยบายการเงินสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่สมดุลใหม่ จาก Higher for Longer ไปสู่การลดดอกเบี้ยเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นตลาดอาจโฟกัสในประเด็นการลดดอกเบี้ย (ซึ่งจะเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง) มากกว่าสาเหตุของการลด (อันได้แก่ เศรษฐกิจที่อาจเกิดภาวะถดถอย ซึ่งจะเป็นลบต่อสินทรัพย์เสี่ยง) 

 

“นอกจากนั้น เงินเฟ้อในระยะต่อไปอาจลดลงได้ยากมากขึ้น เนื่องจากเป็นเงินเฟ้อฝั่ง Demand-Side ทำให้ Fed อาจส่งสัญญาณตรึงดอกเบี้ยยาว ซึ่งจะเป็นผลลบต่อสินทรัพย์เสี่ยง ดังนั้น อาจต้องระมัดระวังความผันผวนในระยะถัดไป อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าการลงทุนจะกลับมาสู่ปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น ดังนั้น เราจึงแนะนำนักลงทุนให้หันมามุ่งเน้นในสินทรัพย์หรือตลาดที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและต้านทานการชะลอลงของเศรษฐกิจได้ รวมถึงยังคงต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อย่างต่อเนื่อง” 

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นตลาดหุ้นโลกมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้บ้าง จากมุมมอง Fed ที่ Dovish มากขึ้น (ดอกเบี้ยผ่านจุดสูงสุด และ Dot Plot บ่งชี้ดอกเบี้ยจะลดลง 75 bps มากกว่ารอบก่อนที่ 50 bps ขณะที่ประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโต 1.40% ในปี 2567) และอาจเริ่มเห็นการเปลี่ยนกลุ่มไปยังกลุ่มที่ยังปรับตัวขึ้นช้ากว่า ซึ่งอาจส่งผลบวกมายังตลาดหุ้นไทย อีกทั้งตลาดหุ้นไทยมีโอกาสได้รับเม็ดเงินลงทุนจากกองทุน TESG และ RMF ที่กำลังจะทยอยเข้ามาในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2566 

 

ดังนั้น กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ ‘Selective Buy’ หุ้นที่มีโอกาสได้ผลบวกจากกองทุนดังกล่าว ดังนี้ 

 

  1. หุ้น Big Cap (SET50) ที่คาดว่าเป็นเป้าหมายการลงทุนจากแผนจัดตั้งกองทุน TESG ซึ่งเราได้คัดเลือกหุ้นที่อยู่ในดัชนี SETESG ที่มีคุณสมบัติน่าสนใจ ดังนี้ 1. ได้ ESG Rating ตั้งแต่ ‘A-AAA’ และราคาหุ้นปรับตัวลงแรงกว่า SET YTD เลือก OR, HMPRO และ AOT หรือ 2 . ได้ ESG Rating ‘AAA’ และราคาหุ้นปรับขึ้นดีกว่า SET YTD อีกทั้งผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง และคาดว่าให้ Dividend Yield สูงกว่าปีละ 5% เลือก PTT และ KTB 

 

  1. นักลงทุนระยะยาวที่ต้องการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) หลัง SET ปรับลงแรงจนความเสี่ยงลดลงไปมาก และราคาหุ้นอยู่ในระดับ Undervalue มาก โดยเลือก BBL, BDMS, BEM, CPALL, PTT และ SCC ซึ่งเป็นหุ้น SET100 ที่เป็นผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรม และมี ESG Rating ระดับ AAA/AA, Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี และผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง 

 

  1. 10 Top Picks in Yearbook 2024 ซึ่งเน้นหุ้นที่คาดว่าเติบโตได้ดี อีกทั้งหวังได้อานิสงส์บวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนใหม่ ได้แก่ AMATA, BBL, BEM, BDMS, CPALL, CRC, GULF, OR, SCC และ SCGP

 

  1. ช่วงสั้นแนะนำให้ระมัดระวังหุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยจากแผนปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งคาดว่าจะมีการเสนอ ครม. พิจารณาภายในวันที่ 25 ธันวาคมนี้ ได้แก่ กลุ่มขนส่งพัสดุ (KEX), กลุ่มอาหาร (CPF, ZEN, GFPT, TU), กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (LPN, PSH) และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (HANA) ขณะที่ระยะกลางแนะนำระมัดระวังหุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะเอลนีโญที่จะกระทบต่อกำลังซื้อของภาคเกษตรที่ลดลง ได้แก่ กลุ่มสินเชื่อ (MTC, SAWAD), กลุ่มยานยนต์ (SAT, STANLY), กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG จากราคาน้ำตาลที่สูงขึ้น) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF, GFPT, BTG)

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. การประชุมนโยบายการของ BOJ ตลาดคาดว่ายังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับผ่อนคลายที่ -0.10% แต่จะส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า
  2. ส.อ.ท. แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2023
  3. ความคืบหน้าเกี่ยวกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มาตรการแก้หนี้นอกระบบ และมาตรการกระตุ้นตลาดรถยนต์ EV ในประเทศ

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: KTB - ปันผลดี...Valuation ถูก และมี Risk ต่ำ

 

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นธนาคารของรัฐที่มีสินทรัพย์ในงบการเงินรวมมากเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มธนาคาร และมีจุดเด่นด้านศักยภาพการจ่ายเงินปันผลติดต่อกันมาแล้ว 21 ปี ด้วย Dividend Yield จูงใจอย่างน้อยปีละ 5% (จ่ายปีละครั้ง) อีกทั้งยังมีความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำกว่าธนาคารอื่นๆ 
  • มองว่าอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดในการคว้าโอกาสปล่อยสินเชื่อภาครัฐ ซึ่งผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงในปัจจุบันอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือดีกว่าสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เล็กน้อย โดยคาดว่าสินเชื่อภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจะเพียงพอชดเชยการจ่ายคืนสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ระดับสูงใน 4Q23 
  • 4Q23 คาดว่ากำไรจะอยู่ในระดับทรงตัว QoQ (NIM ที่ดีขึ้นจะถูกหักล้างโดย ECL และ OPEX ที่เพิ่มขึ้น) แต่จะเพิ่มขึ้น YoY (NIM ดีขึ้น) ช่วยหนุนให้คาดว่าปี 2023 กำไรจะเติบโต 21%YoY และจะเติบโตในอัตราชะลอตัวสู่ 5%YoY ในปี 2024 จาก NIM ที่ขยายตัวน้อยลง
  • เป็นหุ้นใน SETESG Index ที่น่าสนใจ ซึ่งได้ Rating ‘AAA’ จึงคาดว่าได้ประโยชน์จากกองทุน ESG ในเดือนธันวาคมนี้ ขณะที่ Valuation ยังถูก โดยซื้อขายด้วย P/BV ปี 2023F และ 2024F ที่ 0.63x และ 0.58x เทียบกับ ROE ปี 2023F และ 2024F ที่ 10.40% และ 10.50% ตามลำดับ
  • เราประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 25 บาท อิงวิธี P/BV 0.80 เท่า และคาดว่ามีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2023 หุ้นละ 1.02 บาท คิดเป็น Dividend Yield ปีนี้ราว 5.50%

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสดมีโอกาสให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมทั้งความหวัง Soft Landing ในสหรัฐฯ ที่มากขึ้น หลัง Fed ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP สหรัฐฯ ปีนี้ในการประชุมรอบล่าสุด ขณะที่สินทรัพย์สภาพคล่อง รวมถึงเงินสด ได้แรงหนุนจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินต่อ

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

Yield ของ UST ลดลงอย่างรวดเร็วในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะ Duration ตัวสั้น สะท้อนความคาดหวังของตลาดต่อ Fed เรื่องการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้า ทำให้ Yield Curve มีความชันขึ้นเล็กน้อย เรายังชอบ TGB อายุสั้นมากกว่าอายุยาว จาก Supply Bond ระยะยาวยังไม่แน่นอน 

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เรายังชอบ IG จาก 1. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจำกัด, 2. งบดุลของบริษัทยังแข็งแกร่ง, 3. ผลตอบแทนยังสูงเมื่อเทียบกับอดีต และ 4. เงินเฟ้อปรับลดอย่างรวดเร็ว ทำให้ Yield ดูน่าสนใจขึ้น อย่างไรก็ตาม Valuation ในเชิง Spread ที่ตึงตัวมากขึ้น เราจึงชอบกองทุนที่มีการ Manage Duration มากกว่า Pure Long Duration 

 

Valuation ในเชิง Spread ยังคงแพง และความเสี่ยงเริ่มสูงขึ้นจาก 1. ผลประกอบการชะลอตัวลงใน Issuer กลุ่มนี้, 2. ต้นทุนดอกเบี้ยและความเข้มงวดการปล่อยกู้ที่ยังอยู่ในระดับสูง จะกดดันทั้งด้านรายได้และกำไร และ 3. เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง กดดันทั้งผลประกอบการและความสามารถ Refinance ของธุรกิจในกลุ่ม High Yield

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

การประชุม FOMC ในรอบเดือนธันวาคมสะท้อนภาพดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และเงินเฟ้อที่ชะลอตัวต่อเนื่องจะสนับสนุน Valuation อย่างไรก็ตาม สภาวะการเงินที่ยังตึงตัวจะเริ่มสร้างแรงกดดันต่ออัตรากำไรของ บจ. ผ่านต้นทุนการเงินที่ยังสูง เราจึงเน้นลงทุนในกลุ่ม Quality Growth และกลุ่ม Defensive 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

EPS ของ บจ. ในดัชนีหุ้นยุโรปยังมีแนวโน้มหดตัว YoY และทำจุดต่ำสุดใน 1Q2567 ขณะที่เศรษฐกิจโลกและยุโรปมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงใน 1H2567 อย่างไรก็ดี ความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยของ ECB ที่เร็วขึ้นหลังเงินเฟ้อแผ่วลง อาจช่วยให้ Bond Yield ยุโรปลดลง และช่วยหนุน Sentiment ของดัชนี

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

 

บริษัทจดทะเบียนญี่ปุ่นมีแนวโน้มออกมาตรการเพื่อหนุน ROE ขณะที่แรงซื้อรายย่อยในหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเริ่ม New NISA ในช่วงต้นปีหน้า อย่างไรก็ตาม การที่ตลาดเริ่มปรับเพิ่มคาดการณ์บนการคุมเข้มทางการเงินของ BOJ ที่เร็วขึ้น จะทำให้เงินเยนแข็งค่า JGB Yield เพิ่มขึ้น และอาจจำกัดการเพิ่มขึ้นของดัชนี

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากที่ทางการมีแนวโน้มออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม หลังการประชุม CEWC ล่าสุดทางการได้เผยมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่ภาคอสังหาริมทรัพย์จีนยังมีแนวโน้มซบเซา และมีความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะการเลือกตั้งไต้หวันในช่วงต้นปีหน้า จะกดดัน Sentiment ของดัชนี

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก Earnings ที่มีแนวโน้มขยายตัวดี รวมทั้งได้ Sentiment เชิงบวกจากตลาดหุ้นโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ Valuation ยังไม่แพง จึงมีความเสี่ยงขาลงที่จำกัด อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของภาคอสังหาริมทรัพย์ และข้อพิพาททางเทคโนโลยีระหว่างจีน-สหรัฐฯ จะยังกดดัน Upside ของดัชนี

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยวและการบริโภค คาดว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 4Q2566 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น นักท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ และคาดว่าจะเร่งตัวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 (ช่วงวันหยุดยาวของจีน) โดยปัจจุบันดัชนี SET เทรดอยู่บน Forward P/E 14.1x ซึ่งถือเป็นระดับที่น่าสนใจ 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนียังไม่มีปัจจัยสนับสนุนชัดเจน โดยแม้ FDI ยังเข้ามาต่อเนื่อง และการส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่อาจเป็นเพียงเฉพาะช่วงเทศกาล นอกจากนี้ Credit Growth กลุ่มธนาคารที่ขยายตัวประมาณ 8%YTD ยังต่ำกว่าเป้าที่ 14-15% ในขณะที่ความกังวลบนหุ้นกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะครบกำหนดชำระหนี้ในปี 2567 ยังมีอยู่

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

การปรับเพิ่มดอกเบี้ยของธนาคารกลางอินโดนีเซียสู่ระดับ 6% เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินรูเปียห์ ยังส่งผลกดดันต่อภาคการบริโภคและการลงทุน นอกจากนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง อีกทั้งการเลือกตั้งในปี 2567 ที่อาจยืดเยื้อ ยังคงเป็นปัจจัยหลักให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุน ทำให้ปัจจัยบวกในระยะสั้นมีจำกัด

 

ตลาดหุ้นอินเดีย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ปัจจัยบวกในระยะสั้นที่เพิ่มเข้ามา 1. ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และ 2. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ช่วยให้ธนาคารกลางอินเดียมีความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินแบบยืดหยุ่นได้มากขึ้น รวมถึงทำให้ค่าเงินรูปีมีแนวโน้มที่จะมีเสถียรภาพมากขึ้น

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. และจากการคาดการณ์ที่ว่า Fed จะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาอาจส่งผลให้ทองคำเผชิญแรงขายทำกำไรในระยะสั้น

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคาน้ำมันดิบยังมีแนวโน้มถูกกดดัน หลังกลุ่ม OPEC+ ยังไม่สามารถบรรลุโควตาการผลิตน้ำมันอย่างเป็นทางการ เป็นเพียงการลดลงตามความสมัครใจ 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน รวมทั้งยังมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนด้านอุปสงค์จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี อาจได้แรงหนุนหลัง Fed มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในปีหน้า

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคา REITs มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะสั้น จากการที่ Bond Yield ปรับตัวลดลง ขณะที่ Demand Indicators ในส่วนของ Net Absorption และ Vacancy Rate อ่อนแอลงเล็กน้อย ในเชิง Valuation เมื่อพิจารณาจาก P/BV อาจดูน่าสนใจลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า และ Dividend Yield Spread ยังไม่น่าสนใจ

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

EM REITs ชะลอความร้อนแรงลง หลังปรับตัวขึ้นแรงจาก Bond Yield ที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับมี Valuation และเงินปันผลอยู่ในระดับน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง อีกทั้งสภาพคล่องของ REITs ไทยที่อยู่ในระดับต่ำ และเม็ดเงินที่กระจุกตัวอยู่ที่ Sponsor เป็นหลัก 

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

Slightly Negative on Private Equity, Private Real Estate, and Private Debt ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและบริษัทใน Private Debt

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 18 ธ.ค. 2023

READ MORE




Latest Stories