THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

ผลประชุม Fed ชี้ชะตาตลาดหุ้น- ค่าเงิน ทั่วโลก

... • 30 ม.ค. 2023

HIGHLIGHTS

  • กระแสการปลดคนงานออกอย่างต่อเนื่องทำให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) น่าจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย
  • ผลการศึกษาชี้ว่าสหรัฐฯ อาจสามารถ Soft Landing ได้ หลังพบว่าเงินเฟ้ออาจลดลงได้โดยอัตราว่างงานอาจไม่ต้องเพิ่มขึ้นมากนัก
  • ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดไปแตะระดับ 101 ในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อสินค้าโภคภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
  • แนะจับตาผลประชุม Fed ปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งหาก Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ย 50% และ/หรือส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินตึงตัวมากกว่าตลาดคาด มองว่าตลาดจะปรับตัวลง
  • หุ้นไทยสัปดาห์นี้ยังอยู่ในช่วงพักตัวและมี Upside จำกัด จากแนวโน้มผลประกอบการ 4Q65 ของ Real Sector ที่คาดว่าจะออกมาอ่อนแอ

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นจาก

1. ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาชะลอตัวลง โดยตัวเลขล่าสุดคือยอดขายบ้านมือสองลดลง 17.8% ในปี 2565 จากปีก่อนหน้า ต่ำสุดในรอบ 12 ปี และกระแสการปลดคนงานออกอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด Microsoft และ Spotify ทำให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) น่าจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย

 

2. การศึกษาของ Fed สาขาชิคาโก กล่าวว่า สหรัฐฯ อาจสามารถ Soft Landing ได้ โดยศึกษาจากความสัมพันธ์ระหว่างอัตราว่างงานและเงินเฟ้อ โดยสรุปได้ว่าเงินเฟ้อสามารถลดลงได้โดยที่อัตราว่างงานอาจไม่ต้องเพิ่มขึ้นมากนัก ทำให้โอกาสที่จะเกิด Recession น้อยลง

 

3. กระแสการกลับเข้ามาสู่โลกาภิวัตน์ของจีน (Re-Globalization) หลังการยกเลิก Zero-COVID และรองนายกฯ จีนกล่าวชักชวนให้ประชาคมโลกเข้าไปทำธุรกิจกับจีนอีกครั้ง พร้อมกับที่หน่วยงานสาธารณสุขจีนกล่าวว่าการระบาดของจีนผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว โดยผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นสูงสุด 7 ล้านคนต่อวัน ในช่วงเดือนธันวาคม 2565 - มกราคม 2566 และเสียชีวิตสูงสุด 4 พันรายต่อวัน ขณะที่ปัจจุบันลดลงกว่า 70%

 

4. ดัชนี Flash PMI ภาคการผลิตและบริการของสหรัฐฯ หดตัวเป็นเดือนที่ 7 แต่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะดัชนีภาพรวม (Composite Index) ที่อยู่ที่ 46.6 ในเดือนมกราคม จาก 45 ในเดือนธันวาคม ด้านดัชนี Flash Composite PMI ของยุโรป ปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ 50.2 จาก 49.3

 

5. ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดไปแตะระดับ 101 ในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อสินค้าโภคภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

 

6. ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 4/65 ออกมาดีเกินคาด แม้ว่าจะยังชะลอตัวก็ตาม

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินเผชิญปัจจัยเสี่ยงจาก

1. ธนาคารโลกที่ระบุว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงชะลอตัวมากขึ้นท่ามกลางเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยขาขึ้น และสงครามยูเครน และอาจเป็นครั้งแรกที่เกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย 2 ครั้ง ในรอบ 10 ปี

 

2. นักลงทุนกดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นขยายกรอบควบคุมผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve Control) โดยขายพันธบัตรถึง 9.5 ล้านล้านเยน ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นกังวลถึงต้นทุนการเงินของรัฐบาลญี่ปุ่นในอนาคต

 

3. สหรัฐฯ และเยอรมนีเตรียมส่งรถถังให้ยูเครน เพื่อเพิ่มแต้มต่อทางการรบ ขณะที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ส่งสัญญาณโกรธมาก และกล่าวว่าชาติตะวันตกล้ำเส้นในการสนับสนุนยูเครน

 

4. รัฐบาลญี่ปุ่นปรับลดประมาณการเศรษฐกิจ ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นมอง SET ยังอยู่ในช่วงพักตัว และมี Upside จำกัด จากแนวโน้มผลประกอบการ 4Q65 ของ Real Sector ที่คาดว่าจะออกมาอ่อนแอ อีกทั้งตลาดหุ้นไทยมี Valuation ตึงและขาดปัจจัยหนุนใหม่ ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ ‘Selective Buy’ ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเน้นรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ไม่ไล่ราคา ดังนี้

 

1. หุ้นที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์เม็ดเงินสะพัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากการเข้าใกล้ช่วงการเลือกตั้งของไทย เลือก BEC, CENTEL, CPN และ MAJOR

 

2. หุ้นที่คาดว่าผลประกอบการ 4Q65-1Q66 มีแนวโน้มเติบโตดี เลือก ERW, MINT, BLA, BEM, CPALL, CRC และ MAKRO

 

3. กรณี Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ย 50% และ/หรือส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินตึงตัวมากกว่าตลาดคาด มองว่าตลาดจะปรับตัวลง แนะนำกลับมาเล่นหุ้น Defensive เลือก ADVANC, BDMS, BEM และ GULF (หาก Fed ขึ้น 25% และ Dot Plot ไม่เปลี่ยน จะเป็นไปตามตลาดคาด มองจะไม่มีผลต่อตลาด)

 

ช่วงสั้นยังแนะนำเลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงกดดันผลประกอบการ ดังนี้

1. หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากบาทแข็งค่าและผลประกอบการหุ้นเทคโนโลยีของโลกมีแนวโน้มอ่อนแอต่อใน 4Q65

 

2. หุ้นขุดเหมือง ซึ่งแม้ช่วงสั้นจะได้รับ Sentiment บวกจากการปรับขึ้นของ Bitcoin แต่ยังต่ำกว่าจุดคุ้มทุน เนื่องจากมีต้นทุนไฟฟ้าที่สูง จึงทำให้ผลประกอบการยังมีความเสี่ยงขาดทุน

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

1. การประชุม FOMC ว่าจะปรับขึ้น 0.25% สู่ 4.6% หรือไม่

2. Employment Cost Index ว่าจะลดลงจากไตรมาสที่ 3/65 ที่ 1.2% หรือไม่

3. S&P Case-Shiller ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนที่ 8.6% หรือไม่

4. PMI ของทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และจีน ว่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นเหมือน Flash PMI หรือไม่

5. การจ้างงานนอกภาคเกษตร ว่าจะลดลงหรือไม่ (ตลาดคาด 175K จาก 223K ในเดือนธันวาคม)

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: SECURE - พร้อมกลับมาเติบโต

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว หรือ SECURE เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็นตัวแทนชั้นนำของไทยในการจำหน่ายสินค้าด้าน Cybersecurity จากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก และมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น Network Security, Endpoint Security, Network Performance and Monitoring และอื่นๆ
  • มองเป็นหุ้น New S-Curve ที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว เนื่องจากเมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น จะทำให้ความต้องการสินค้า Cybersecurity เพื่อใช้ดูแลความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้น
  • กำไรพร้อมกลับมาเติบโต โดย 4Q65 คาดมีกำไรทำจุดสูงสุดของปีที่ราว 15 ล้านบาท เติบโต 166.3%QoQ และ 25.6%YoY เนื่องจากสถานการณ์ Chip Shortage ที่ดูดีขึ้น ทำให้ปริมาณงานส่งมอบให้ลูกค้าสูงขึ้น และเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ต้นทุนซื้อสินค้าลดลงจะหนุนมาร์จิ้นดีขึ้น
  • ราคาหุ้นปรับขึ้นเพียง 11.1% YTD ตามภาพการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่ม Tech ในสหรัฐฯ รวมถึงแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทที่ดูดีขึ้น อย่างไรก็ดี เชื่อว่าราคาหุ้นจะยังมี Momentum เชิงบวกต่อเนื่องได้ จากการฟื้นตัวของผลประกอบการ 4Q65 และค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็วยังทำให้การฟื้นตัวของ Gross Margin มีแนวโน้มดีกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า
  • เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายอยู่ที่ 20-23 บาทต่อหุ้น อิง PER ที่ 35-40 และคาดให้ Dividend Yield ปี 2565 ราว 1.0%

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 4

เน้นถือครองเงินสด/สินทรัพย์สภาพคล่อง เนื่องจากสินทรัพย์เสี่ยงยังเผชิญปัจจัยกดดันจาก

  1. ธนาคารกลางหลักต่างๆ ยังมีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวต่อ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังสูง โดยเฉพาะฝั่งบริการ
  2. ความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ที่ยังมีอยู่
  3. ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

10Y UST Yield มีแนวโน้มที่จะเริ่มลดลงชัดเจนขึ้น หลังจาก Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย (โดยเราคาดขึ้นครั้งสุดท้าย 3 พฤษภาคมนี้) และจากความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ในส่วนของ 10Y TH Yield ยังคงลดลงตามสหรัฐฯ และ Fund Inflow ที่ยังมีต่อเนื่อง ท่ามกลางอุปทานใหม่ที่ไม่ได้เร่งตัว แม้ ST Yield จะขึ้นตามดอกเบี้ยนโยบาย

 

กองทุนแนะนำ

Krungsri Yenjai Fund

  • กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนกองทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่คาดหวังความเจริญเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

เราคาดว่า Credit Spread ของ US IG มีแนวโน้มทรงตัว ตามความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ที่ลดลง สำหรับ IG TH Yield ลดลงตาม LT Gov’t Bond Yield ที่ลดลง และ Corporate Spread ที่ยังทรงตัวต่ำ ขณะที่ประเด็นความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของ HY/Unrated ลดแรงกดดันลง

 

ในช่วงที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอยมีมากขึ้น ท่ามกลางดอกเบี้ยที่ยังสูง ควรหลีกเลี่ยงหุ้นกู้ HY โดยตลาด HY ใน EM หลายประเทศ กำลังเผชิญความเสี่ยงสภาพคล่อง และ Rollover Risk โดยเฉพาะในกลุ่มอสังหาที่อาจเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ เช่น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากการคาดการณ์ผลประกอบการ บจ. สหรัฐฯ ปี 2566 มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลง ในช่วงการรายงานงบประจำ 4Q65 ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยและค่าจ้างที่ยังสูง รวมทั้งความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังมีอยู่ ซึ่งจะกดดันอุปสงค์ภายในและภายนอกสหรัฐฯ

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มดีกว่าที่คาด ประกอบกับเงินเฟ้อภาคบริการที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้น ยังคงกดดันให้ ECB จะใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวต่อไป และมีโอกาสนำไปสู่ปัญหา Fragmentation ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นที่มีการตอบสนองต่อประเด็นบวกไปมากแล้ว

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

ทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว ประกอบกับแนวโน้มการเริ่มเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ จะส่งผลให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงมีความผันผวน อย่างไรก็ตาม ด้วย Valuation ที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประกอบกับการฟื้นตัวตามการเปิดเมือง จะช่วยลดผลกระทบต่อตลาดหุ้น

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 5

ดัชนียังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด การออกมาตรการกระตุ้นการบริโภค และการสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคอสังหา แม้ว่าการเปิดเมืองที่เร็วกว่าคาดและการกลับมาจากหยุดยาวช่วงตรุษจีนอาจนำไปสู่การระบาดที่เร่งตัว และจะกดดันกิจกรรมเศรษฐกิจจีนในช่วงสั้นก็ตาม

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีน ความเสี่ยงการเพิกถอน บจ. จีนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ลดลง และการคุมเข้มกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ลดลง เช่น กลุ่ม Online Gaming อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงเผชิญความเสี่ยงจากประเด็นข้อพิพาทด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังคงมีอยู่

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

ดัชนีได้แรงหนุนจากท่องเที่ยวฟื้นตัวตามความคาดหวังในการมาของนักท่องเที่ยวจีนหลังจีนเปิดประเทศ ส่งผลดีต่อกำลังซื้อในประเทศ ผนวกกับปัจจัยระยะสั้นจากช้อปดีมีคืน และการใช้จ่ายก่อนเลือกตั้ง โดยหุ้นกลุ่ม Domestic Related ได้ประโยชน์เป็นหลัก แต่กลุ่มส่งออกถูกกระทบจากบาทแข็งและเศรษฐกิจโลกอ่อนแอ

 

กองทุนแนะนำ

 

SCB Dividend Stock Open End Fund

  • กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

แม้ในระยะกลางตลาดจะได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวดี แรงกระตุ้นทางการคลังที่ยังมีอยู่ และ Valuation ที่ไม่แพง แต่ด้วยความกังวลสภาพคล่องตึงตัวในภาคอสังหา การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางเวียดนาม และแนวโน้มการปราบปรามการทุจริตที่มีอยู่ จึงทำให้ Upside ตลาดถูกจำกัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 4

แม้ BI ส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.75% จากเงินเฟ้อที่ลดแรงกดดันลง ดัชนียังคงผันผวนในระยะสั้นจนกว่าจะเห็นสัญญาณ Fed Pause จับตาการบริโภคในประเทศที่มีอาจชะลอตัวแรง แต่ระยะกลางยังคงมุมมองเชิงบวกจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และการใช้จ่ายก่อนการเลือกตั้งปี 2567 รวมไปถึง FDI ที่ทยอยลงทุน

 

กองทุนแนะนำ

 

SCB Indonesia Equity Fund

  • กองทุน SCBINDO เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก), สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนความคาดหวังการเจริญเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

ในช่วงที่ผ่านมาราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น ได้แรงหนุนมาจากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และแรงคาดหวังของการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง อย่างไรก็ตาม Upside ของราคาทองอาจเริ่มถูกจำกัดได้หากเศรษฐกิจยังคงมีพัฒนาการที่ดีขึ้น อาจส่งผลให้ความต้องการทองคำลดลงได้

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 4

ราคาน้ำมันยังคงผันผวนตาม Sentiment ของความกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัว และการเปิดเมืองของจีน อย่างไรก็ตาม เรามองว่าน้ำมันสามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจกลับมาตึงเครียดได้อีกครั้ง หลังสหรัฐฯ และยุโรปให้การสนับสนุนยูเครนอย่างต่อเนื่อง

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

ดัชนีปรับตัวดีขึ้นตาม LT Bond Yield ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ ได้ส่งผลให้ 10Y JGB Yield ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ยุโรปยังเผชิญดอกเบี้ยสูง ท่ามกลางเศรษฐกิจที่อ่อนแอมากกว่าภูมิภาคอื่น และอัตรา Leverage ที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น อาจกดดัน Earning และ Dividend Yield

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

ดัชนีปรับตัวดีขึ้นตามการเปิดประเทศของจีน โดยเฉพาะ REITs ฮ่องกง กลุ่มหลักที่ได้ประโยชน์ ได้แก่ Retail และโรงแรม ขณะที่ Bond Yield มีแนวโน้มปรับตัวลง จากความคาดหวัง Fed จะชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ และเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ยังต้องระวังกลุ่ม Office ที่หลายพื้นที่ยังมีปัญหา Oversupply

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

Slightly Negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566

 


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 30 ม.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories