THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
Fed บริหารจุดยืน
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

จับตา Fed บริหารจุดยืนการดำเนินนโยบายและความคาดหวัง หากก้าวพลาด เศรษฐกิจเจ็บหนัก!

... • 26 ส.ค. 2024

HIGHLIGHTS

  • รายงานการประชุมของ FOMC เดือนกรกฎาคมในครั้งนี้ คณะกรรมการเห็นถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นหากคงดอกเบี้ยในระดับสูงต่อเนื่องอยู่แล้ว บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการลดดอกเบี้ย
  • ระยะต่อไป Fed เผชิญกับความท้าทายในการสื่อสารต่อสาธารณชนใน 2 ประเด็น คือ การเปลี่ยนแปลงจุดยืนในการดำเนินนโยบาย (Policy Stance) ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่มากขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงคล้ายกรณี BOJ มากขึ้น และการบริหารจัดการความคาดหวัง
  • หาก Fed ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยรวดเร็วเกินไปอาจทำให้ตลาดและประชาชนมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีปัญหามากกว่าที่คาด ซึ่งจะนำไปสู่สถานการณ์ Self-fulfilling และทำให้เศรษฐกิจชะลอรุนแรงได้ แต่หากช้าเกินไปก็อาจทำให้เศรษฐกิจชะลอแรงขึ้นเช่นกัน
  • ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่า 6% นับจากสิ้นเดือนมิถุนายน หลังจากมีพัฒนาการในการจัดตั้งรัฐบาลมากขึ้น และความชัดเจนในการทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต อย่างไรก็ตาม Fund Flow จะไหลเข้า SET ไม่แรง เพราะภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับภูมิภาค

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกฟื้นตัวขึ้นได้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน หลัง Fed Minutes ส่งสัญญาณพร้อมลดดอกเบี้ยเดือนกันยายน หากข้อมูลเศรษฐกิจในระยะต่อไปเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ คณะกรรมการบางท่านยังแสดงความกังวลถึงสภาวะตลาดแรงงานที่เริ่มชะลอลงอาจทรุดตัวรุนแรงได้ในระยะต่อไป หุ้นกลุ่มเชิงรับ ได้แก่ Healthcare และ Consumer Staples ปรับตัวเพิ่มขึ้นท่ามกลางความผันผวนของปัจจัยภายนอกและผลประกอบการของกลุ่มค้าปลีกสหรัฐอเมริกา กลุ่มธนาคารปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันตามความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่ลดน้อยลง ในขณะที่กลุ่มเทคโนโลยีถูกขายทำกำไรปรับตัวลดลง 0.4%

 

ฝั่งตลาดหุ้น EM ปรับตัวขึ้นได้เช่นเดียวกัน หนุนโดยมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน นอกจากนั้นผลประกอบการออกมาในภาพรวมมีแนวโน้มไม่ได้แย่อย่างที่ตลาดกังวล

 

นอกจากนั้นค่าเงินเอเชียที่แข็งค่าสูงสุดในรอบ 7 เดือน เป็นอีกปัจจัยหนุนกระแสเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาค หลังจากเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงมากจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ด้านค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่า 6% นับจากสิ้นเดือนมิถุนายน ประกอบกับพัฒนาการในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีมากขึ้น และความชัดเจนในการทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่อาจมีรูปแบบเปลี่ยนไปและเป็นไปได้มากขึ้น เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ ธปท. คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% แต่เริ่มส่งสัญญาณ Data Dependent มากขึ้น

 

ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงจากข้อตกลงหยุดยิงในกาซาคืบหน้า ขณะที่ราคาทองคำปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ระหว่างสัปดาห์

 

Fed เผชิญความเสี่ยง 2 ด้าน

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่ารายงานการประชุมของ FOMC เดือนกรกฎาคมในครั้งนี้บ่งชี้ว่าคณะกรรมการเห็นถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นหากคงดอกเบี้ยในระดับสูงต่อเนื่องอยู่แล้ว บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการลดดอกเบี้ย นอกจากนั้นการปรับลดตัวเลขการจ้างงานถึง 818,000 ตำแหน่ง บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของตลาดแรงงานสหรัฐฯ รวมถึงปัญหาในการจัดเก็บข้อมูล

 

อย่างไรก็ตาม เรามองว่าระยะต่อไป Fed เผชิญกับความท้าทายในการสื่อสารต่อสาธารณชนใน 2 ประเด็น คือ

1. Fed กำลังเปลี่ยนแปลงจุดยืนในการดำเนินนโยบาย (Policy Stance) ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่มากขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงคล้ายกรณี BOJ มากขึ้น

2. การบริหารจัดการความคาดหวัง โดยหากส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยรวดเร็วเกินไปอาจทำให้ตลาดและประชาชนมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีปัญหามากกว่าที่คาด ซึ่งจะนำไปสู่สถานการณ์ Self-fulfilling และทำให้เศรษฐกิจชะลอรุนแรงได้ แต่หากช้าเกินไปก็อาจทำให้เศรษฐกิจชะลอแรงขึ้นเช่นกัน

 

ในส่วนมุมมองต่อแนวนโยบายของ คามาลา แฮร์ริส เรามองว่า

1. แนวนโยบายเพิ่มที่อยู่อาศัยเหมาะสมในหลักการ เพราะสหรัฐฯ ขาดแคลนบ้าน 4-7 ล้านหลัง แต่ทำอย่างโปร่งใส

2. การคุมราคาอาหารและค่ารักษาพยาบาลช่วยประชาชนระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นการบิดเบือนกลไกตลาดและทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตลดลง รวมถึงอาจเกิดตลาดมืด

3. การใช้กลไกงบประมาณและชดเชยด้วยการขึ้นภาษีนั้นอาจนำมาสู่การขาดดุลการคลังมากขึ้น โดยมีการคำนวณว่าจะทำให้รัฐบาลขาดดุลมากขึ้น 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในทศวรรษหน้า (หรือ 0.5% GDP ต่อปี แต่ก็ยังน้อยกว่ารัฐบาลทรัมป์ที่ 1.6% GDP ต่อปี)

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

1. นักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรหุ้นที่อยู่ในภาวะ Oversold และ Undervalue เลือก SCGP, BCH, KCE, PTTGC และ OSP ขณะที่ให้เพิ่มความระมัดระวังการลงทุนในระยะสั้นสำหรับหุ้นที่อยู่ในภาวะ Overbought อย่าง COM7, VGI, TRUE และ ADVANC

2. หุ้นที่คาดได้อานิสงส์จากความคาดหวังรัฐบาลใหม่จะเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แนะนำ CPALL, CPAXT, TNP, OSP และ CBG

3. นักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรในหุ้นที่คาดได้อานิสงส์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง แนะนำกลุ่มเช่าซื้อ (MTC, TIDLOR), กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (AP, SPALI, SIRI), กลุ่มค้าปลีก (CPALL, CPAXT) และกลุ่มโรงไฟฟ้า (GULF, CKP)

4. หุ้นที่กลุ่ม Earning Play ซึ่งมีโมเมนตัมกำไรยังดี โดย 3Q67 คาดเติบโต YoY และ QoQ ส่วน 2H67 คาดเติบโต HoH และ YoY อีกทั้ง Valuation ไม่แพง เลือก DELTA, GULF, BDMS และ BEM

 

“ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งตัว Sideway Up จากความคืบหน้าของการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อความชัดเจนของการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปลาย

3Q67-4Q67 ส่วน Fund Flow มองว่าไหลเข้า แต่ไม่แรง เพราะภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับภูมิภาค อย่างไรก็ดี มองเม็ดเงินลงทุนจะไหลออกจากกลุ่มพลังงาน สื่อสาร และอิเล็กทรอนิกส์ เข้าสู่กลุ่มธนาคาร ค้าปลีก และการแพทย์ ขณะที่คาดว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งต่อการปรับลดดอกเบี้ยของ Fed ในระยะถัดไป และคาดว่าดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนยังอ่อนแอ ทำให้ตลาดคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ”

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. สถานการณ์การเมืองไทย การเปิดเผยรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ และการแถลงนโยบายบริหารประเทศและเศรษฐกิจโดยนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา

2. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือนกรกฎาคม และ ตลท. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐจัดงาน Thailand Focus 2024 ระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคมนี้

3. มูลค่าการส่งออกของไทยเดือนกรกฎาคม เรามอง -2.0% ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ -0.3%

4. ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ เช่น GDP 2Q67 และดัชนี PCE เดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CPAXT - รับประโยชน์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

แนะนำ บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า หรือ CPAXT เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งสมัยใหม่รายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประกอบธุรกิจ Cash & Carry ภายใต้แบรนด์ ‘Makro’ ในไทย กัมพูชา จีน และเมียนมา และแบรนด์ ‘LOTS Wholesale Solutions’ ในอินเดีย รวมทั้งธุรกิจค้าปลีก Lotus’s ในไทยและมาเลเซีย
  • 3Q67 คาดกำไรเติบโต YoY จากยอดขายและมาร์จิ้นที่ดีขึ้น แต่จะทรงตัวหรือลดลง QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล ขณะที่ 4Q67 คาดกำไรทำสถิติสูงสุดของปีนี้หลังเข้าสู่ High Season โดยปี 2567 คาดมีกำไร 1.03 หมื่นล้านบาท เติบโต 17.4%YoY ซึ่งยังไม่รวม Upside หากรัฐบาลใหม่เร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น
  • มองเป็นหุ้นที่จะได้รับประโยชน์จากแผนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วนของภาครัฐ และยังเป็นหนึ่งใน Top Pick ของกลุ่มพาณิชย์ เนื่องจากมีโมเมนตัมกำไรที่เป็นขาขึ้นและเติบโตได้แข็งแกร่งกว่าผู้ประกอบการรายอื่นๆ
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 39 บาท อิงวิธี DCF (WACC 7.0% และการเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2567 ที่หุ้นละ 0.49 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 1.6%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

ผลประกอบการกลุ่มค้าปลีกออกมาในทิศทางผสม โดยภาพรวมสะท้อนแรงซื้อที่เปราะบางยังกดดันยอดขายสะท้อนผ่านงบ อย่างไรก็ดี TGT และ TJX มุ่งกลยุทธ์ลดราคาขายสินค้าซึ่งช่วยเยียวยาแรงกดดันในภาพรวมได้ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่ากลุ่มที่มีสัดส่วนสินค้าจำเป็นมากอย่าง WMT ยังคงมีการเติบโตที่ดีกว่ากลุ่มที่มีสัดส่วนสินค้าไม่จำเป็น เช่น LOW

  • TGT เผยกำไรและรายได้เติบโตดีกว่าคาด หลังจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 3%YoY รวมถึงปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทั้งปี หลังมีแรงหนุนจากการปรับลดราคาสินค้าจำเป็นเพื่อแข่งกับ WMT ที่ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น
  • ในทิศทางเดียวกัน TJX มียอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้น 4% หลังปรับลดราคาขายสินค้าเช่นเดียวกันกับกลยุทธ์ TGT
  • ในทางตรงกันข้าม ด้าน Macy’s ยอดขายสาขาเดิมลดลง 3% หลังมีสัดส่วนรายได้จากสินค้าฟุ่มเฟือยมากกว่าจำเป็นเช่นเดียวกันกับงบ LOW ที่อ่อนแอและปรับลดคาดการณ์ สะท้อนให้เห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงและอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อบ้านหรือการปรับปรุงบ้านขนาดใหญ่ รวมถึงโครงการ DIY
  • นอกจากนี้ WMT ได้ประกาศขายหุ้นทั้งหมดที่ถือใน JD.com มูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 144.5 ล้านหุ้น หลังเตรียมลดการพึ่งพาบริษัทอื่นและมุ่งธุรกิจในจีน โดยเฉพาะ Sam’s Club และไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเรามองว่าภาพรวมการขายหุ้นนี้จะส่งผลดีต่อ WMT ที่ในตอนนี้ยอดขายคอมเมิร์ซรวมถึง SSS ก็ยังคงเติบโตได้ดี

 

งบกลุ่มค้าปลีกที่ออกมาดีนั้นส่วนมากจะมีสัดส่วนในกลุ่มสินค้าจำเป็นที่มาก ประกอบกับการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยลดราคาเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้รายได้เติบโตได้ ภาพนี้สะท้อนได้ว่า

1. กำลังซื้อผู้บริโภคยังคงมีแต่เปราะบาง ซึ่งต้องใช้กลยุทธ์ราคามาแข่งขัน

2. การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านราคาอาจกดดันมาร์จิ้น

3. การใช้กลยุทธ์ราคาส่งผลให้ธุรกิจไปได้ดีในระยะสั้นไม่มั่นคง

4. กลุ่มสินค้าจำเป็นยังคงมีแรงซื้อที่ดีกว่ากลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็น เช่น สินค้าตกแต่งบ้าน

 

ด้วยภาพนี้ทำให้เราแนะอยู่ในกลุ่มค้าปลีกที่มีสัดส่วนสินค้าจำเป็นมากกว่าสินค้าฟุ่มเฟือย โดยแนะมองหุ้นใหญ่ที่ฐานลูกค้าแกร่งและมี Fundamental ที่ดีอย่าง WMT และ COST

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด/สภาพคล่อง

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสดมีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังสูง โดยเฉพาะสหรัฐฯ นอกจากนี้สภาพคล่อง/เงินสดมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน ข้อพิพาทการค้าระหว่างจีน-คู่ค้าต่างๆ และความตึงเครียดในตะวันออกกลาง แม้ล่าสุด โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อสายตรงถึง เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เพื่อเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงเพื่อช่วยเหลือตัวประกันก็ตาม


ตราสารหนี้/เงินฝากระยะยาว

 

แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ในช่วง 12 เดือน (เดือนเมษายน 2566 - สิ้นเดือนมีนาคม 2567) ถูกแก้ไขให้ปรับลดลง 818,000 ตำแหน่ง แต่อาจไม่ได้ลดลงมากเท่าที่ตลาดกังวล ทำให้ Yield และ Spread เคลื่อนไหวอย่างจำกัดในสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

เรายังคงมุมมองว่าตราสารหนี้ยังมีความน่าสนใจในการถือเพื่อรับ Income และคุ้มค่าที่จะถือเพื่อ Hedge ในกรณีที่เศรษฐกิจโตต่ำกว่าคาด

 

เราคาดว่าความผันผวนของ Bond จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเข้าใกล้ช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ โดย Bond ตัวยาว (> 7 ปีขึ้นไป) มีความเสี่ยงจากนโยบายการคลังหลังเลือกตั้ง ขณะที่ Bond ช่วงอายุ 2-4 ปี มีความเสี่ยง Duration ที่น้อยกว่า และ Coupon ยังเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

US Treasury & IG

 

UST Yield, Spread และ YTW ของ IG Credit ค่อนข้างทรงตัวในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังปรับตัวลงแรงจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยช่วงต้นเดือน เช่นเดียวกับ 10Y TGB Yield ที่ยังคงทรงตัว แนะนำลงทุนทั้ง US Treasury และ IG Bond โดยยังแนะนำให้ลงทุนใน Duration ประมาณ 2-4 ปี เพื่อ Lock Rate ในช่วงของ Curve Steepening โดยผลตอบแทนเฉลี่ยยังอยู่ใกล้ 4%-5% ซึ่งสูงกว่าที่ Fed ประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบายปกติ ‘ระยะยาว’ ที่ 2.8%

 

High Yield Bond

 

US HY Spreads เริ่มทรงตัว หลังตัวเลขผู้ขอสวัสดิการจ้างงานต่ำกว่าคาด และยอดค้าปลีกเดือนกรกฎาคมที่แข็งแกร่งช่วยคลายความกังวลด้านเศรษฐกิจถดถอย เราคาดการณ์ว่า Spread ของ HY จะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้นและซัพพลายของการรีไฟแนนซ์ที่จะเริ่มออกมาในช่วงปลายปี 2567

 

สินทรัพย์ผสม/กึ่งหนี้กึ่งทุน/REITs

 

REITs ถือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงินให้กับ Portfolio ได้ทั้งในระยะกลางถึงยาว และเป็นการเพิ่ม Diversification ให้กับ Portfolio จากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ

 

สินทรัพย์ผสมช่วยกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง

 

US REITs

 

US REITs มีปัจจัยหนุนจาก

1. Bond Yield สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลงจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งเราคาดว่าจะปรับลด 3 ครั้ง ครั้งละ 25 bps รวม 75 bps ในปลายปีนี้

2. Occupancy Rate ที่อยู่ในระดับสูงราว 93%

3. กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NOI) ที่เติบโตต่อเนื่อง

4. งบดุลที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถรองรับการเติบโตในอนาคต

5. Valuation ที่อยู่ในระดับที่ไม่แพง

 

Private Credit

 

เรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นต่อ Private Credit Asset จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

 

หุ้นไทย

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้ปัจจัยหนุนระยะยาวจาก

1. เศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้นในช่วง 2H67 จากการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว

2. Valuation อยู่ในระดับที่ไม่แพง ขณะที่ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว

3. กระแสเงินทุนจากกองทุนรวมวายุภักษ์ และกองทุนรวม Thai ESG ที่จะเข้ามาหนุนดัชนีในช่วงปลายปี

4. ค่าเงินบาทที่จะแข็งค่าขึ้นหลังการลดดอกเบี้ยของ Fed จำนวน 3 ครั้งในปีนี้ ขณะที่ประเด็นทางการเมืองในประเทศที่มีความชัดเจนมากขึ้นช่วยคลายความกังวลของนักลงทุน

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

Fed ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในเดือนกันยายนในการประชุม Jackson Hole สัปดาห์ที่ผ่านมา ช่วยหนุน Sentiment ของตลาด

 

PMI ภาคการผลิตของยุโรปและสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมยังคงหดตัว ขณะที่ภาคบริการยังคงอยู่ในภาพของการขยายตัว โดยเรายังคงมีมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกว่าจะเติบโตชะลอตัวลงแบบ Soft Landing

 

เรามองว่าการลงทุนหุ้นในกลุ่ม Quality Growth และ Defensive จะยังให้ผลตอบแทนที่ดีในสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ โดยมองความผันผวนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ และแนวโน้มตลาดพักฐานในเดือนกันยายน (ตามสถิติในอดีต) เป็นโอกาสในการทยอยสะสม

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

หุ้นเทคโนโลยีฟื้นตัวแรง หลังปรับลดลงในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมจากการคลายความกังวลเรื่อง Recession อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่ม Defensive (Utilities, Healthcare และ Consumer Staples) ที่ได้รับแรงหนุนจากการปรับลดดอกเบี้ย และกำไรกิจการมีเสถียรภาพมากกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ ยังคงปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงแรงส่งของ Sector Rotation ที่ยังมีโมเมนตัมสนับสนุน เรายังเน้นกลยุทธ์ลงทุนแบบ Barbell Strategy ซึ่งมีสัดส่วนของหุ้นกลุ้ม Quality Growth ผสมผสานกับหุ้นกลุ่ม Defensive

 

หุ้นยุโรป

 

ดัชนีหุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยต่อของ ECB หลังล่าสุด PMI ภาคการผลิต EU ชะลอลงจากเดือนก่อนและแย่กว่าคาด นอกจากนี้ EPS ดัชนียังได้แรงหนุนจากโมเมนตัมเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังดี โดยเราเน้นกลุ่มที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงและมีงบดุลที่แข็งแกร่ง แม้ว่าความเสี่ยงข้อพิพาทการค้ากับจีน (ล่าสุดจีนเปิดฉากการสอบสวน EU เกี่ยวกับมาตรการอุดหนุนการนำเข้าผลิตภัณฑ์นม) ที่มีแนวโน้มดำเนินต่ออาจสร้างความผันผวนและกดดัน Sentiment ดัชนีอยู่ก็ตาม

 

หุ้นญี่ปุ่น

 

เราคาดว่ากลุ่ม Value ญี่ปุ่นมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการปฏิรูปธรรมาภิบาลในญี่ปุ่น รวมได้อานิสงส์จากการทยอยคุมเข้มทางการเงินของ BOJ เพิ่มเติม แม้ความไม่แน่นอนทางการเมืองในญี่ปุ่นมีมากขึ้น หลัง ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ไม่ลงเลือกตั้งหัวหน้าพรรค LDP ประกอบกับ EPS ตลาดเสี่ยงถูกปรับประมาณการลงจากเงินเยนที่กลับมาแข็งค่าก็ตาม

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

ภาคการลงทุนและภาคการผลิตของจีนในเดือนกรกฎาคมส่งสัญญาณชะลอตัว ตัวเลขส่งออกและ PMI ยังอ่อนแอ และภาคอสังหายังถูกกดดันต่อเนื่อง โดยตัวเลขการขายบ้านใหม่ลดลง 20%YoY เพิ่มความเสี่ยงต่อการบรรลุเป้า GDP ในปี 2567 ที่ 5%

 

กำไรบริษัทจดทะเบียนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียเริ่มส่งสัญญาณเติบโตชะลอตัวลงจากฐานที่สูง การปล่อยสินเชื่อที่เติบโตช้า รวมถึงการรัดเข็มขัดทางการคลังที่จะเริ่มส่งผลในช่วง 2H67

 

กำไรบริษัทจดทะเบียนในอินโดนีเซียมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วง 2Q67 เป็นต้นไป และแรงกดดันจากค่าเงินอ่อนค่าเริ่มผ่อนคลายลง แต่ Sentiment ระยะสั้นอาจถูกกดดันจากธนาคารกลางที่มีท่าที Hawkish มากกว่าคาด

 

หุ้นอินเดีย

 

ประมาณการ EPS ในปี 2567 ของ MSCI India ถูกปรับลดลงหลังการประกาศงบ 2Q67 ถึงแม้กำไรจะดีกว่าคาดก็ตาม บ่งชี้ถึงความกังวลบน Forward Guidance

 

การบริโภคในเขตเมืองเริ่มเข้าสู่ช่วงการชะลอตัวจากฐานที่สูง ขณะที่การบริโภคในต่างจังหวัดเริ่มเห็นภาพการฟื้นตัวจากปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำในเขื่อนที่ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว เราคาดว่าจะเห็นแนวโน้มนี้ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2567

 

มาตรการควบคุมสินเชื่อของภาคครัวเรือนและมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังเป็นความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ถึงแม้จะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ตาม

 

หุ้นอินโดนีเซีย

 

ดัชนีมีปัจจัยหนุนในระยะยาวจาก

1. เศรษฐกิจที่เติบโตแข็งแกร่งจากภาคการบริโภคที่ฟื้นตัวและภาคการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดย GDP ใน 2Q67 ขยายตัวที่ 5.05%YoY นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นของรัฐบาลชุดใหม่

2. FDI ที่ไหลเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย FDI ในช่วง 2Q67 เติบโตราว 16.6%YoY จากการมีแร่นิกเกิลจำนวนมาก ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ EV

3. กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วง 2Q67 เป็นต้นไป

4. Valuation ที่อยู่ในระดับไม่แพง

5. ค่าเงินรูเปียห์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการคาดการณ์ที่ว่า Fed จะลดดอกเบี้ยนโยบายจำนวน 3 ครั้งในปีนี้

 

หุ้นจีน

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก EPS Growth ที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว และจากความคาดหวังการออกมาตรการกระตุ้นมากขึ้นจากทางการในช่วงที่เหลือของปี (ล่าสุดรัฐบาลจีนอยู่ระหว่างพิจารณาอนุญาตให้รัฐบาลท้องถิ่นออกพันธบัตรพิเศษเพื่อกระตุ้นภาคอสังหา) หลังความเสี่ยงที่ GDP ทั้งปีอาจต่ำกว่าเป้าที่ราว 5% มีมากขึ้น

 

นอกจากนี้คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจีน A-Share มีแนวโน้มเพิ่มผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นมากขึ้น และทางการมีแนวโน้มเข้ามาช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลง กับรักษาเสถียรภาพของตลาด

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ปัจจัยพื้นฐานยังคงสนับสนุนการถือครองทองคำในพอร์ตระยะยาว เนื่องจาก

1. เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ และความเสี่ยงจากภาวะสงครามที่รุนแรงได้

2. เริ่มมีความกังวลประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่สูงเป็นประวัติการณ์

3. ประเทศหลักๆ ที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ได้กระจายความเสี่ยง ลดการถือเงินดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรองระหว่างประเทศ และต้องการสะสมทองคำมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะกลางถึงยาว

4. เงิน Fund Flow ของ ETF ทองคำ เริ่มกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ หลังจากเทขายมาตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงกลางเดือนกรกฎาคม

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 26 ส.ค. 2024

READ MORE



Latest Stories