THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

หวั่น ‘การบริโภค’ 2 ประเทศมหาอำนาจชะลอรุนแรง ฉุดเศรษฐกิจโลกซึมยาว

... • 24 ก.ค. 2023

HIGHLIGHTS

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อผู้บริโภคสหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อนที่ต่ำกว่าคาด ทำให้โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งของ Fed เป็นไปได้ยาก
  • เมื่อมองไปข้างหน้า สินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ชะลอลงรุนแรงขึ้น การยุติการพักหนี้การศึกษา และเงินออมส่วนเกินที่หมดลง จะกระทบการบริโภคสหรัฐฯ ในระยะต่อไป
  • สำหรับเศรษฐกิจจีน เงินเฟ้อผู้บริโภคจีนไม่ขยายตัว ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะการขยายตัวของ GDP ไตรมาส 2 ของจีน ที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดมาก
  • สำหรับหุ้นไทย การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของไทยในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ จะเป็นปัจจัยชี้ชัดถึงแนวโน้มการเคลื่อนไหวในระยะต่อไป บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ แนะนำให้เก็งกำไรสำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้
  • ขณะที่ปรากฏการณ์เอลนีโญจะกดดันกลุ่มเกษตรและอาหารของไทย จึงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุน

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อผู้บริโภคสหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อนที่ต่ำกว่าคาด ทำให้โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งของ Fed เป็นไปได้ยาก รวมถึงผลประกอบการภาคธนาคารสหรัฐฯ ออกมาค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศส่งสัญญาณชะลอต่อเนื่อง ทั้งยอดค้าปลีกที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดทั้งเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อน การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวต่อเนื่อง ตัวเลขการขยายตัว GDP และตัวเลขรายเดือนของจีนที่ต่ำกว่าคาดมาก และตัวเลขเงินเฟ้ออังกฤษที่ปรับตัวลงเกินคาด บ่งชี้ถึงเศรษฐกิจที่ชะลอลง ขณะที่ความเสี่ยงเงินเฟ้อลดลง ท่ามกลางดอกเบี้ยที่ยังสูงต่อเนื่อง

 

ทางด้านผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF กล่าวต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G20 ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มชะลอตัวลง โดยเฉพาะภาคการผลิต ขณะที่แนวโน้มการขยายตัวเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปยังอ่อนแอ ตัวเลขการสร้างบ้านใหม่หดตัวลง 8% สู่ระดับ 1.44 ล้านหลังในเดือนมิถุนายน ต่ำกว่าคาดที่ 1.48 ล้านหลัง และ 1.56 ล้านหลังในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่หดตัว 3.7% สู่ระดับ 1.44 ล้านหลังในเดือนมิถุนายน

 

จับตาวิกฤตการบริโภคหดตัวใน 2 ประเทศมหาอำนาจ

 

ในประเด็นยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เรามองว่าสาเหตุหนึ่งที่ยังขยายตัวได้เป็นเพราะผู้ค้าเริ่มลดราคาและทำการตลาด โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเฟอร์นิเจอร์ที่มียอดขายตกลงในเดือนก่อน ขณะที่การบริโภคสินค้าพื้นฐาน เช่น อุปกรณ์ก่อสร้าง เชื้อเพลิง และของชำลดลงมากขึ้น

 

ขณะที่เมื่อมองไปข้างหน้า สินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ชะลอลงรุนแรงขึ้น การยุติการพักหนี้การศึกษา และเงินออมส่วนเกินที่หมดลง จะกระทบการบริโภคสหรัฐฯ ในระยะต่อไป ซึ่งภาพดังกล่าวสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ที่หดตัวเป็นเดือนที่สอง โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และเสื้อผ้าที่หดตัวรุนแรงที่สุดในรอบ 2 ปี

 

ในฝั่งของเศรษฐกิจจีน เงินเฟ้อผู้บริโภคจีนไม่ขยายตัว ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะการขยายตัวของ GDP ไตรมาส 2 ของจีน ที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดมาก สอดคล้องกับตัวเลขอื่น เช่น ยอดค้าปลีก การลงทุนรวม และการลงทุนอสังหาที่หดตัวต่อเนื่อง ขณะที่อัตราว่างงานของคนหนุ่มสาวที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภาพเช่นนี้จะทำให้ชาวจีนวิตกกังวลมากขึ้น ชะลอการบริโภค

 

อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของสินเชื่อ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นของทางการจีน ซึ่งน่าจะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนได้ในระยะต่อไป

 

ในส่วนของเงินเฟ้ออังกฤษที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 15 เดือนนั้น เป็นการลงแบบทั่วถึง (Broad Base) ทั้งในหมวดสินค้า เช่น อาหาร พลังงาน อุปโภคบริโภค รวมถึงด้านบริการด้วย และเมื่อพิจารณาควบคู่กับเงินเฟ้อยุโรปและสหรัฐฯ ที่ชะลอลงแรงขึ้น บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยลดลง ขณะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจจะเริ่มมากขึ้น โดยหลายฝ่ายมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed, ECB และ BOE ในครั้งต่อไปจะเป็นครั้งสุดท้าย ขณะที่บางธนาคารกลาง เช่น ออสเตรเลีย ยุติการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. หุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 2Q23 จะยังเติบโตได้ดี YoY และ QoQ เลือก BBL, ADVANC, BEM และ GULF

 

2. หุ้นเก็งกำไรที่คาดผลการดำเนินงาน 2Q23 มีโอกาสดีกว่าตลาดคาด เลือก HMPRO และ SCGP

 

3. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้แนะนำหุ้นเก็งกำไร หากประเด็นการเมืองในไทยเปลี่ยนแปลง เลือก CPAXT, BJC, TNP, AMATA, OSP, HTC, KCE และ HANA

 

ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุน

 

1. หุ้นกลุ่มอาหาร (TU, CPF, GFPT และ BTG) หลังมองมีโอกาสที่ตลาดจะปรับลดคาดการณ์กำไรลงหลังประกาศงบ 2Q23 ซึ่งคาดภาพรวมอ่อนทั้ง YoY และ QoQ

 

2. หุ้นที่คาดได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญจากกำลังซื้อภาคเกษตรที่ลดลง ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ (GLOBAL) กลุ่มสินเชื่อ (MTC และ SAWAD) กลุ่มยานยนต์ (SAT และ STANLY) กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG มีต้นทุนน้ำตาลสูง) กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (CKP) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF และ GFPT)

 

3. หุ้นท่องเที่ยวที่อาจได้รับผลกระทบเชิงลบจากประเด็นการเมือง

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของไทยในวันที่ 27 กรกฎาคม เวลา 09.30 น.

 

2. การประชุมนโยบายการเงินของ 3 ธนาคารกลางสำคัญ คือ Fed (วันที่ 26-27 กรกฎาคม) ECB (วันที่ 27 กรกฎาคม) และ BOJ (วันที่ 28 กรกฎาคม) โดย 2 ที่แรกคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25 bps ไปสู่ 5.38% และ 3.75% ขณะที่ BOJ ต้องจับตาว่าจะยุติมาตรการ QQE หรือไม่

 

3. ตัวเลขเศรษฐกิจไทย ทั้งการส่งออก นำเข้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรม ว่าจะชะลอตัวลงต่อเนื่องหรือไม่

 

สรุปภาวะตลาดและมุมมองการลงทุน

 

ทิศทางโดยรวมของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วยังชะลอตัวลงต่อเนื่องเช่นเดียวกับตัวเลขเงินเฟ้อ ทำให้ตลาดเริ่มมองถึงปลายทางการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสำคัญต่างๆ ในครึ่งหลังปีนี้ ด้านตลาดสหรัฐฯ เริ่มเห็นการหมุนหุ้นออกจากกลุ่มผู้นำหรือหุ้นเทคขนาดใหญ่ ไปสู่กลุ่มอื่นที่ปรับขึ้นมาน้อยกว่าตั้งแต่ต้นปีและมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เช่น กลุ่มพลังงานที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามราคาน้ำมัน กลุ่มธนาคารที่งบการเงินยังแข็งแรง ไปจนถึงหุ้นขนาดเล็กและกลุ่มเฮลท์แคร์ที่ Underperform ตลาดมายาวนาน อย่างไรก็ดี ปัจจัยลบที่จะสร้างความผันผวนได้ในระยะถัดไปยังมีอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งความเสี่ยง Recession สภาพคล่องที่ลดลงต่อเนื่อง ไปจนถึงความเสี่ยงจากราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้นมาต่อเงินเฟ้อในอนาคต

 

ตลาดจีนยังคงได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอลงในเกือบทุกภาคส่วนและยังไม่มีมาตรการกระตุ้นที่ชัดเจนตามที่ตลาดคาดไว้ ทำให้การปรับขึ้นบนข่าวมาตรการหนุนเป็นเพียงการรีบาวด์ในระยะสั้นมากกว่าเป็นการกลับตัวเป็นขาขึ้นรอบใหม่ เรายังมองว่าจีนจะใช้มาตรการหนุนเป็นรายภาคส่วนที่จำเป็นก่อน จากนั้นจึงจะมีมาตรการกระตุ้นที่มากขึ้นในช่วงท้ายปี เพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตที่ตั้งไว้

 

ด้านตราสารทางเลือก เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่ออสังหาริมทรัพย์ / REIT ประเทศพัฒนาแล้ว แต่มีมุมมองเชิงบวกต่อ REIT ไทยและอาเซียน ซึ่งอัตราเงินปันผลมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้านราคาน้ำมันเริ่มเห็นทิศทางปรับตัวดีขึ้นหลังกลุ่มผู้ผลิตยังเหนียวแน่นด้านการควบคุมปริมาณการผลิต เพื่อพยุงราคาไม่ให้ต่ำเกินไป ถือเป็นโอกาสการลงทุนระยะสั้น นอกจากนี้เรายังแนะนำให้ถือลงทุนทองคำในพอร์ตเพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CPAXT - กำไรจะเติบโตเร่งตัวขึ้นใน 2H23

 

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า หรือ CPAXT เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่รายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประกอบธุรกิจ Cash & Carry ภายใต้แบรนด์ ‘Makro’ ในไทย กัมพูชา จีน และเมียนมา และแบรนด์ ‘LOTS Wholesale Solutions’ ในอินเดีย รวมทั้งธุรกิจค้าปลีก Lotus’s ในไทยและมาเลเซีย
  • 2Q23 คาดกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.49 พันล้านบาท แต่หากไม่รวมขาดทุนพิเศษจากค่าใช้จ่ายชำระหนี้คืนก่อนกำหนดในธุรกิจ B2C จำนวน 186 ล้านบาท คาดกำไรปกติจะอยู่ที่ 1.68 พันล้านบาท เติบโต 7%YoY จากดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง แต่หดตัว 19%QoQ ตามฤดูกาล (จะประกาศงบ 7 สิงหาคม 2023)
  • 2H23 คาดกำไรเติบโตเร่งตัวขึ้น โดยเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ HoH จากดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงหลังรีไฟแนนซ์หนี้เสร็จในช่วงปลายเดือนเมษายน และการดำเนินงานของ Makro และ Lotus’s ที่ปรับตัวดีขึ้นจากยอดขายและมาร์จิ้นที่ดีขึ้น การขยายสาขาที่เป็นไปต่อเนื่อง และการผนึกกำลังทางธุรกิจมากขึ้น หนุนให้ทั้งปี 2023 คาดกำไรปกติจะเติบโต 18.7%YoY สู่ 9.4 พันล้านบาท
  • ราคาหุ้น CPAXT ปรับลง 12.5%YTD แย่กว่า SET ที่ปรับลง 7.9%YTD สะท้อนความกังวลกำไรที่ฟื้นตัวช้าใน 1H23 ไปแล้ว ขณะที่ 2H23 กำไรจะเติบโตเร่งตัวขึ้น จึงมองเป็นโอกาสซื้อสะสม
  • เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 42 บาท อิงวิธี DCF (WACC 7% และอัตราเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2023 หุ้นละ 0.49 บาท คิดเป็น Div. Yield 1.5%

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

สภาพคล่อง / เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด มีโอกาสให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบาย (ที่ยังมีแนวโน้มถูกปรับเพิ่มขึ้นและยังไม่รีบปรับลด) โดยที่ความวิตกต่อความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะใน DMs น้อยลงไปพอสมควร อีกทั้งยังได้แรงส่งจากภาคบริการและการเปิดเมืองของจีนและเอเชีย แต่ค่อนข้างแย่กว่าคาด

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

UST Yields ใน 6-12 เดือน มีแนวโน้มปรับลดลง จากเงินเฟ้อที่ทยอยผ่อนลง Fed ใกล้หยุดขึ้นดอกเบี้ย และเศรษฐกิจขาลง (อาจ Soft Landing หรือ Mild Recession) แม้เงินเฟ้อพื้นฐานยังหนืด และ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด / TGB Yields ได้แรงส่งจาก UST Yields เงินเฟ้อลดลงเร็ว และ BOT ใกล้หยุดขึ้นดอกเบี้ย

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

US IG หนุนด้วยงบดุลที่ดี แม้แผ่วลง UST Yields ที่มีโอกาสลงมากกว่าขึ้นแม้ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด และ Soft Landing ที่เป็นไปได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม จำนวนบริษัทล้มละลายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีนัย ทั้งนี้ Rating อย่าง AA ขึ้นไป ค่อนข้างปรับตัวได้ดีในช่วงเศรษฐกิจแย่ / ด้าน TH IG Spreads ค่อนข้างทรงตัว

 

US HY มีความเสี่ยงที่ Credit Spread จะปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า IG เหตุจากภาวะสินเชื่อตึงตัวใกล้เคียงวิกฤตเศรษฐกิจและความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่ยังคงมีอยู่ แม้ความวิตกแผ่วลงมาก รวมถึงจำนวนบริษัทยื่นล้มละลายที่สูงขึ้นอย่างมีนัย ทั้งนี้ ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยยังดีกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวแต่แผ่วลง

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ยังถูกกดดันจากภาคการผลิตหดตัว สินเชื่อตึงตัว Earnings หดตัว และ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจมีโอกาส Soft Landing สูงขึ้นและ EPS เริ่มส่งสัญญาณ Bottom Out / MegaTech ถูกกดดันจากการปรับน้ำหนักใน NASDAQ 100 และ Valuations แพงขึ้น แม้ยังมีแรงหนุนจาก EPS Upgrades และ AI

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

Bond Yield ยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตาม ECB ที่ยังมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยต่อ และเร่งทำ QT บน APP ขณะที่ Bond Yield อังกฤษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน ตามแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ BOE นอกจากนี้โมเมนตัมเศรษฐกิจยุโรปที่มีแนวโน้มแผ่วลง นำโดยภาคการผลิต อาจเพิ่มความเสี่ยง Earnings ใน 2H23 จะแย่ลงต่อ

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

ดัชนียังเสี่ยงเผชิญแรงขายทำกำไร ขณะที่ความเสี่ยงโลกถดถอยที่ยังมีอยู่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อ EPS ญี่ปุ่นในช่วงที่เหลือของปี ประกอบกับมีโอกาสที่ BOJ จะปรับ YCC ภายในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้เงินเยนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และ Bond Yield อายุ 10 ปีของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ดัชนียังขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ๆ

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน 2H23 ประกอบกับทางการจีนยังมีแนวโน้มออกมาตรการผ่อนคลายมากขึ้นในการประชุม Politburo ในเดือนนี้ ขณะที่ EPS จีนมีแนวโน้มปรับขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกังวลหนี้รัฐบาลท้องถิ่นและภาคอสังหาที่ยังแผ่ว จะเพิ่มความผันผวนและจำกัดการเพิ่มขึ้นของดัชนี

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนียังมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นของทางการจีนจาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัว จากความเสี่ยงการคุมเข้มกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ลดลงอย่างมีนัย ขณะที่ Valuation ยังคงไม่แพง อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งเทคโนโลยี จำกัดการเพิ่มขึ้นของดัชนี

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

การจัดตั้งรัฐบาลยังไม่ได้ข้อสรุปและส่อแววยืดเยื้อ กระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติที่ยังขายสุทธิหุ้นไทย ส่งผลให้ดัชนียังคงมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนในระยะสั้น อย่างไรก็ดี คาดการณ์ GDP ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากภาคท่องเที่ยวและการบริโภคในช่วงครึ่งปีหลัง จะทำให้ EPS น่าจะขยายตัวได้ดีใน 2H23

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาต่อเนื่องส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว อย่างไรก็ดี แม้ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่การที่เศรษฐกิจเวียดนามพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ประกอบกับตลาดอสังหาที่ยังคงมีความเสี่ยง ทำให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 2Q23 มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดัน

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

การนำเข้าที่หดตัวแรงสะท้อนถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตและบริโภคภายในประเทศที่อ่อนแอ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลงจากดอกเบี้ยนโยบายที่ยังอยู่สูง โดยต้องติดตามการบริโภคใน 2H23 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ต้นปี 2024 รวมทั้งแนวโน้มของ FDI ที่กำลังรอความชัดเจนจากนโยบายรัฐบาลชุดใหม่

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ได้แรงส่งจากที่ USD มีโอกาสอ่อนค่ามากกว่าแข็งค่า และ US (Real) Bond Yields ที่อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำเผชิญอุปสรรคจากที่ Fed มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด และตลาดทยอยรับรู้และปรับมุมมองตาม Fed ซึ่งนับเป็นแรงต้านต่อทั้ง US (Real) Bond Yields ขาลง และ USD ด้านอ่อนค่า

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ความหวัง Soft Landing และการลดกำลังการผลิตช่วยเป็นแรงส่ง แต่ในระยะข้างหน้าอุปสงค์โลกยังเป็นตัวแปรสำคัญที่ไม่แน่นอน ซึ่งยังหดตัวในภาคผลิต แต่ขยายตัวในภาคบริการ อีกทั้งเป็นขาลงใน DMs ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจกลับออกมาดีกว่าคาดในสหรัฐฯ ท่ามกลางการฟื้นตัวในเอเชียและจีน ซึ่งยังไม่ทั่วถึงและแย่กว่าคาด

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

ถูกกดดันจากกลุ่ม Office ซึ่ง Occupancy Rate ลด และ Vacancy / Delinquency Rate เพิ่ม อีกทั้งสินเชื่อ CRE ตึงตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจขาลงแต่ดอกเบี้ยสูง ซึ่ง Fed จะปรับเพิ่มและไม่รีบลด นับเป็นการเพิ่ม Refinancing Risk อย่างไรก็ดี กลุ่มอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี และราคา US REITs โดยรวมค่อนข้างรับรู้ความเสี่ยงด้านต่ำ

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

หนุนด้วย Dividend Yield และ REIT-Govt Yield Spreads ที่สูง โดยที่ Govt Bond Yields ได้แรงกดดันจาก UST Yields ซึ่งต่อไปมีโอกาสลงมากกว่าขึ้น แม้มี Upside Risks จาก Fed, Valuation (P/NAV) ถูก และเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว อีกทั้งกลุ่ม Office แย่น้อยกว่าในสหรัฐฯ ในขณะที่ Sentiment การเมืองอาจส่งผลกระทบใน TH

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

Slightly Negative on Private Equity, Private Real Estate and Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและบริษัทใน Private Debt

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 24 ก.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories