THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เงินเฟ้อ
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

‘เงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว-ค่าเงินดอลลาร์’ ปัจจัยกำหนดชะตาตลาดทุนทั่วโลก

... • 15 ม.ค. 2023

HIGHLIGHTS

9 mins. read
  • ภาพรวมการลงทุนปรับตัวดีขึ้นได้จากตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกที่เริ่มชะลอชัดเจนขึ้นทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ
  • ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขค่าจ้างรายสัปดาห์ที่ขยายตัว 3.1% ลดลงจากจุดสูงสุด ณ เดือนกุมภาพันธ์ ที่ 5.5% โดยเป็นการชะลอในทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ บ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจากค่าจ้างลดลง
  • จีนเปิดประเทศเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยได้อานิสงส์อย่างมาก สะท้อนจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าสูงสุดในรอบ 9 เดือน มาอยู่ที่ 33.4 บาทต่อดอลลาร์
  • ค่าจ้างที่ชะลอลงชัดเจนขึ้นทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ บ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจากค่าจ้างลดลง สอดคล้องกับองค์ประกอบเงินเฟ้อพื้นฐานภาคบริการที่ไม่ใช่ภาคที่อยู่อาศัย ทำให้ความเสี่ยง Wage-Price Spiral ลดลงด้วยเช่นกัน
  • InnovestX เชื่อว่า สมาชิก FOMC จะยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องต่อไป จนกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะชะลอลงมาสู่เป้าหมายที่ 2% อย่างชัดเจน

สัปดาห์นี้ภาพรวมการลงทุนปรับตัวดีขึ้นได้จากตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกที่เริ่มชะลอชัดเจนขึ้นทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ ขณะที่ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขค่าจ้างที่ขยายตัวชะลอลงชัดเจน บ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจากค่าจ้างลดลง รวมทั้งการเปิดประเทศของจีนและการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านอุตสาหกรรมเทคฯ ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียโดยเฉพาะฮ่องกงปรับขึ้นรุนแรง และส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง โดยบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 9 เดือน มาอยู่ที่ 33.4 บาทต่อดอลลาร์ และเป็นระดับเดียวกับช่วงต้นปี 2565 รายละเอียดดังนี้

 

  1. ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกที่เริ่มชะลอชัดเจนขึ้นทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ โดยในยูโรโซนเงินเฟ้ออยู่ที่ 9.2% ต่อปีในเดือนธันวาคม ชะลอตัวลงจาก 10.1% ในเดือนก่อน ขณะที่ในสหรัฐฯ อยู่ที่ 6.5% จาก 7.1% ในเดือนพฤศจิกายน
  2. ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขค่าจ้างรายสัปดาห์ที่ขยายตัว 3.1% ลดลงจากจุดสูงสุด ณ เดือนกุมภาพันธ์ ที่ 5.5% โดยเป็นการชะลอในทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ บ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจากค่าจ้างลดลง
  3. การเปิดประเทศของจีนในวันที่ 8 มกราคม ที่เริ่มมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปยังจุดหมายสำคัญรวมถึงไทย
  4. การปรับเปลี่ยนนโยบายด้านอุตสาหกรรมเทคฯ โดยประธานหน่วยงานกำกับภาคการเงินจีนกล่าวว่า รัฐบาลได้ข้อสรุปว่าภาคธุรกิจการเงินเทคโนโลยี (FinTech) 14 แห่ง ต้องแก้ไขปัญหาด้านการทำธุรกิจเพียงเล็กน้อย และพร้อมจะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมแก่บริษัทเทคโนโลยีการเงินเหล่านี้ รวมถึงส่งสัญญาณว่า Ant Financial ธุรกิจ FinTech ของ Alibaba อาจสามารถทำ IPO ได้อีกครั้ง หลัง Jack Ma ผู้ก่อตั้งได้ถอนตัวออกจากบริษัท
  5. สัญญาณบวกต่อหุ้นกลุ่มเทคฯ ในจีน ทำให้ตลาดหุ้นเอเชีย โดยเฉพาะฮ่องกงปรับขึ้นรุนแรง และส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง โดยบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 9 เดือน มาอยู่ที่ 33.4 บาทต่อดอลลาร์ และเป็นระดับเดียวกับช่วงต้นปี 2565
  6. ยอดใบสมัครของ Refinance สินเชื่อที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5% หลังจากดอกเบี้ยเงินกู้ 30 ปี ลดลงสู่ระดับ 6.42% จาก 6.58%
  7. สภาคองเกรสสหรัฐฯ ได้ประธานสภาท่านใหม่หลังผ่านการลงมติถึง 15 ครั้ง แต่ก็ทำให้ความเสี่ยงที่สภาอาจไม่ต่ออายุเพดานหนี้สาธารณะในช่วงกลางปีมีมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยงจาก

  1. สหรัฐฯ และพันธมิตรเตรียมคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียเพิ่มเติม
  2. ธนาคารโลกปรับลดประมาณการเศรษฐกิจเหลือ 1.7% จาก 3.0% จากความเสี่ยงนโยบายการเงินตึงตัว
  3. ประธาน Fed ส่งสัญญาณพร้อมต่อสู้เงินเฟ้อแม้ประชาชนจะไม่ชื่นชอบก็ตาม
  4. ราคาสินแร่ต่างๆ เช่น ทองแดง อะลูมิเนียม และสินแร่เหล็กสูงขึ้นหลังจีนเปิดประเทศ

 

‘เงินเฟ้อ-ค่าเงิน’ ยังต้องจับตา

InnovestX มองว่าประเด็นที่น่าสนใจด้านการลงทุนมี 2 ประเด็น คือประเด็นที่ 1 สัญญาณเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ชะลอลงชัดเจนขึ้น โดยล่าสุดการจ้างงานและค่าจ้างสหรัฐฯ ชะลอลงในเดือนธันวาคม โดยการจ้างงานเพิ่มน้อยที่สุดในรอบ 2 ปี รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น 4.6% ต่อปี ต่ำสุดนับตั้งแต่กลางปี 2564 ด้านค่าจ้างรายสัปดาห์ขยายตัว 3.1% ลดลงจากจุดสูงสุด ณ เดือนกุมภาพันธ์ ที่ 5.5%

 

โดย InovestX มองว่าค่าจ้างที่ชะลอลงชัดเจนขึ้น ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ บ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจากค่าจ้างลดลง สอดคล้องกับองค์ประกอบเงินเฟ้อพื้นฐานภาคบริการที่ไม่ใช่ภาคที่อยู่อาศัย (Ex-Housing Core Service) ทำให้ความเสี่ยง Wage-Price Spiral ลดลงด้วยเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสมาชิก FOMC จะยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องต่อไป จนกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะชะลอลงมาสู่เป้าหมายที่ 2% อย่างชัดเจน

 

ประเด็นที่ 2 ได้แก่ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก โดยบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 9 เดือน มาอยู่ที่ 33.4 บาทต่อดอลลาร์ และเป็นระดับเดียวกับช่วงต้นปี 2565 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปิดประเทศของจีน ทำให้หลายฝ่ายมองว่าไทยจะได้อานิสงส์ผ่านทางนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นมาก จึงมีเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยมีเงินไหลเข้าตลาดพันธบัตรถึง 1.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ทั้งเดือนมีเงินไหลเข้าถึงกว่า 6.1 หมื่นล้านบาท

 

โดย InnovestX มองว่าในปัจจุบัน เงินบาทแข็งค่าเกินปัจจัยพื้นฐานไปมาก ทั้งที่วัดจาก NEER และจากแนวโน้มดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะยังขาดดุลต่อเนื่องจากส่งออกที่หดตัว นอกจากนั้นหากความผันผวนทางการเงินโลกเพิ่มมากขึ้น จะทำให้ดอลลาร์แข็งค่าและทำให้บาทอ่อนค่าลงได้ในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นบาทอาจยังแข็งค่าต่อเนื่องตามทิศทางดอลลาร์ที่อ่อนค่า

 

​​สำหรับตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดทั่วโลกปรับตัวขึ้น 2.7% (EM 3.0%, DM 2.7%) โดยดัชนีผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม ที่หดตัวลงจากเดือนก่อน สะท้อนเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทำให้ความกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดลง ขณะที่ตลาดจีนและฮ่องกงปรับเพิ่มขึ้นหลังมีการเปิดประเทศและการเดินทางระหว่างกัน อย่างไรก็ดี ยังมีแรงกดดันจากผลประกอบการสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง

 

หุ้น Growth (+3.8%) ให้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นกลุ่ม Value (+1.7%) หุ้นขนาดเล็ก (3.7%) ให้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่ (+2.6%) โดยหุ้นกลุ่มเหมืองแร่และสินค้าฟุ่มเฟือยปรับตัวขึ้นดี 5.3% และ 4.7% ตามลำดับ หลังมีแรงหนุนจากจีนเปิดประเทศเป็นสำคัญ ด้านหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นดี 3% ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับแรงหนุนจาก Yield ที่ปรับตัวลงอย่างอสังหาริมทรัพย์และเทคฯ ปรับตัวขึ้นราว 4.5-4.7% ด้านกลุ่มการเงินปรับตัวขึ้น 2.3% ส่วนหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคและกลุ่มเชิงรับปรับตัวลงราว 0.3%

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นมอง SET เริ่มมี Upside จำกัด และให้ระวังการปรับฐาน เนื่องจากตลาดมีการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2565 จนทำให้หุ้นหลายตัวเข้าสู่ภาวะ Overbought และ Valuation ตึงตัว ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ ‘Selective Buy’ ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเน้นรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ไม่ไล่ราคา ในหุ้นที่คาดผลประกอบการ 4Q65 เติบโตดี และยังมี Valuation น่าสนใจ เลือก KTB, BJC, CPALL, BCP, BDMS, BEM และ GFPT

 

ช่วงสั้นยังแนะนำเลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงกดดันผลประกอบการ ดังนี้

  1. หุ้นเดินเรือ ซึ่งคาดว่าได้รับผลกระทบจากอุปทานเรือใหม่ที่เข้ามา และอุปสงค์การขนส่งสินค้าเริ่มชะลอตัวลง
  2. หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าได้รับผลกระทบจากบาทแข็งค่า และผลประกอบการหุ้นเทคโนโลยีของโลกมีแนวโน้มอ่อนแอต่อใน 4Q65

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

  1. ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ว่าจะชะลอลงจาก 6.5% ในเดือนพฤศจิกายนหรือไม่
  2. ตัวเลขอสังหาสหรัฐฯ ทั้งใบอนุญาตสร้างบ้านใหม่ ยอดขายบ้านมือสอง และยอดการสร้างบ้านใหม่ ว่าจะยังคงชะลอต่อเนื่องหรือไม่ ท่ามกลางยอด Mortgage Refinance ที่เริ่มฟื้นตัวตามดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีที่ลดลง
  3. ตัวเลขเศรษฐกิจจีน ทั้งยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม การลงทุนสินทรัพย์ถาวร และ GDP ไตรมาส 4 ว่าจะหดตัวหรือชะลอลงมากขึ้นในช่วงต้นของการเปิดเมืองหรือไม่

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BCP - กำไรดูดี… มีแผนต่อยอดธุรกิจน้ำมัน

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น หรือ BCP เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • ผู้นำธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในไทย (ส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2) ที่มีการกระจายความเสี่ยงธุรกิจสู่พลังงานสะอาดซึ่งมีศักยภาพเติบโตดี เช่น โรงไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ร้านค้าปลีก ร้านกาแฟ
  • ฐานะการเงินแข็งแกร่ง โดยมีกระแสเงินสดสม่ำเสมอจากธุรกิจพลังงานไฟฟ้าและเป็นหุ้นปันผลดี มีประวัติจ่ายเงินปันผลติดต่อกัน 18 ปี นับตั้งแต่ปี 2548 โดยคาดให้ Div. Yield ปีนี้สูงราว 10%
  • ประกาศซื้อหุ้น 65.99% ของ ESSO และทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือจากผู้ถือหุ้นรายอื่น มองทำให้ธุรกิจโตก้าวกระโดดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ BCP โดยเมื่อพิจารณาจากราคาเข้าซื้อยุติธรรม (เบื้องต้นตั้งราคารับซื้อ 8.84-9.63 บาทต่อหุ้น คาดดีลจบใน 2H66) คาดหนุนให้ราคาเป้าหมายของ BCP เพิ่มขึ้นได้อีก 17-18 บาทต่อหุ้น หากดีลสำเร็จ โดยอิงกับการซื้อกิจการ 100%
  • ระยะสั้นกำไรยังดูดี โดย 4Q65 คาดกำไรเติบโต YoY และ QoQ จากค่าการกลั่นที่ดีขึ้น และขาดทุนสินค้าคงเหลือจะลดลง หลังราคาน้ำมันยังทรงตัวจาก 3Q65 อีกทั้งธุรกิจ E&P จะสร้างกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งมีแรงหนุนจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นและราคาน้ำมันที่แข็งแกร่ง
  • เราประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 44 บาท (ก่อนซื้อ ESSO) ด้วยวิธี SOTP ซึ่งประกอบด้วยมูลค่าธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันที่ 27 บาทต่อหุ้น และมูลค่าธุรกิจพลังงานไฟฟ้าที่ 17 บาทต่อหุ้น

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง / เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เงินเฟ้อ

 

เน้นถือครองเงินสด / สินทรัพย์สภาพคล่อง เนื่องจากสินทรัพย์เสี่ยงเผชิญปัจจัยกดดันจาก

  1. ธนาคารกลางหลักต่างๆ ยังปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังสูง
  2. ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  3. ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เงินเฟ้อ

 

10y UST Yield มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงที่ Fed ยังทยอยขึ้นดอกเบี้ย และมีแนวโน้มลดลง หลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย (คาดในช่วง 2Q2566) รวมทั้งจากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจ ในส่วนของ TH Yield ปรับตัวลดลงตามแรงซื้อของต่างชาติที่เข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะอายุ 5-10Y ที่ Yield ลดลงค่อนข้างมาก

 

กองทุนแนะนำ

 

เงินเฟ้อ

 

Krungsri Yenjai Fund

  • กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนกองทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่คาดหวังความเจริญเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เงินเฟ้อ

 

IG ต่างประเทศ เราคาดว่า Credit Spread ของ US IG ยังมีแนวโน้มทรงตัวถึงปรับลงเล็กน้อย สำหรับ IG ไทยยังคงได้ปัจจัยบวกจากอุปสงค์ที่มีอย่างต่อเนื่อง หากพิจารณาจาก Bond Yield และ Corporate Spread ที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะระยะยาว

 

หุ้นกู้ HY ไทยและต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยงในภาวะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้น ดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และ HY ใน EM บางประเทศกำลังเสี่ยงปัญหาสภาพคล่อง โดยเฉพาะจีน ที่มีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาในจีนตามสภาพคล่องและกิจกรรมของภาคอสังหาจีนที่ยังน่ากังวล

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เงินเฟ้อ

 

แม้ว่า Valuation ลดความตึงตัวลง และกลุ่ม Defensive อย่างกลุ่ม Healthcare จะช่วยประคองตลาด แต่เราคาดว่าตลาดยังมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันหลักจาก Earnings ในปี 2566 ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลดลง ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจและดอกเบี้ยที่ยังสูง

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

 

เงินเฟ้อ

 

ความสามารถในการส่งผ่านต้นทุนเริ่มมีแนวโน้มจำกัดในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ทิศทางของกำไรบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มอ่อนตัวลงตาม ขณะที่นโยบายการเงินของ ECB ยังคงมีแนวโน้มตึงตัว และเริ่มถอนสภาพคล่องผ่านโครงการ TLTRO-III และ APP ในช่วงปี 2566 มีโอกาสนำไปสู่การชะลอตัวลงของสินเชื่อ

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เงินเฟ้อ

 

Sentiment การลงทุนในระยะสั้นยังถูกหนุนด้วยการเปิดประเทศ และ Valuation ที่ต่ำ แต่เศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลง มีแนวโน้มกดดันการลงทุนในช่วง 1H2566 ในขณะที่ตลาดเริ่มกลับมาจับตาการเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของญี่ปุ่นมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินเยนมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าและมีความเสี่ยงที่ความผันผวนจะเพิ่มขี้น

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เงินเฟ้อ

 

แม้ดัชนีจะได้แรงหนุนจากการที่ทางการมีแนวโน้มออกมาตรการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการเยียวยาภาคอสังหา และการทยอยผ่อนคลายมาตรการคุมการระบาด แต่ดัชนียังถูกจำกัดด้วยภาคอสังหาที่ยังซบเซา การระบาดในจีนที่ไม่แน่นอนสูง รวมถึงเราคาดการณ์ยกเลิกนโยบาย Zero-COVID จะเกิดขึ้นช่วง 2Q2566

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เงินเฟ้อ

 

แม้ Valuation ยังไม่แพง ความหวังต่อการเปิดเมืองของจีนเพิ่มขึ้น และความเสี่ยงหุ้นจีน ADRs Delisting ลดลง แต่ตลาดยังเผชิญปัจจัยกดดันจาก

  1. ความตึงเครียดของสหรัฐฯ-จีนที่มีอยู่
  2. แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และ
  3. การที่จีนยังผลักดัน Common Prosperity ทำให้ Upside ของดัชนีถูกจำกัด

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เงินเฟ้อ

 

EPS ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีเมื่อเทียบกับ EM อื่นๆ ตามการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่ได้ปัจจัยหนุนจากการท่องเที่ยวที่ยัง Laggard อยู่ ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้หุ้นไทยมีโอกาสผันผวนต่ำ โดยเน้นหุ้นกลุ่ม High Quality โดยเฉพาะ Domestic-Related เช่น Commerce และ Transportation

 

กองทุนแนะนำ

 

เงินเฟ้อ

 

SCB Dividend Stock Open End Fund

  • กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เงินเฟ้อ

 

แม้ในระยะกลาง-ยาว ตลาดจะได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจ และผลประกอบการ บจ. ที่โตได้ดี ขณะที่ Valuation ไม่แพง แต่ด้วยความกังวลการคุมเข้มในภาคอสังหาและในตลาดหุ้นกู้ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของภาคอสังหา จึงทำให้ Upside ของตลาดยังคงถูกจำกัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เงินเฟ้อ

 

ดัชนีปรับลดลงมากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตามการลดลงของราคาหุ้นกลุ่ม Tech และ Flow Relocation ไปจีน แต่เรายังเชื่อว่าเศรษฐกิจในระยะกลางยังได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายในประเทศ โดยเฉพาะ FDI ทำให้ EPS ยังเติบโตได้ แม้แรงส่งจากราคาโภคภัณฑ์จะแผ่วลง ทั้งนี้ เน้นกลุ่ม High Quality & Liquidity เช่น ธนาคารใหญ่

 

กองทุนแนะนำ

 

เงินเฟ้อ

 

SCB Indonesia Equity Fund

  • กองทุน SCBINDO เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก), สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนความคาดหวังการเจริญเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เงินเฟ้อ

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มถูกกดดันจากทิศทาง Real Yield ที่ยังเพิ่มขึ้น ตามการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ทองคำยังมีแรงหนุนจาก

  1. ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในภาวะที่ตลาดกังวลภาวะเศรษฐกิจ
  2. ธนาคารกลางต้องการถือทองคำเพื่อเป็นทุนสำรองเพิ่มขึ้น และ
  3. แนวโน้มการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เงินเฟ้อ

 

ราคาน้ำมันถูกกดดันจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัว แต่การที่ราคาได้มีการปรับตัวลงมามากและยังสามารถใช้ Hedge ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ ทำให้เราคาดว่าราคายังมีโอกาสฟื้นตัวตามความคาดหวังในการเปิดเมืองของจีน ที่จะช่วยให้อุปสงค์ฟื้นตัวได้ ในขณะที่อุปทานน้ำมันยังคงตึงตัว

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เงินเฟ้อ

 

ดัชนีปรับตัวดีขึ้นหลัง LT Bond Yield ลดแรงกดดันลง แต่นโยบายการเงินที่ตึงตัวและเงินเฟ้อที่สูงจะฉุดรั้งการเติบโตของ REITs โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งถูกกดดันเพิ่มเติมจากเศรษฐกิจถดถอยและต้นทุนการเงินสูง (ยุโรปมีอัตรา Leverage สูงกว่าภูมิภาคอื่น) ส่งผลต่ออัตรากำไรของ REITs ในยุโรปยังมีความเสี่ยง

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เงินเฟ้อ

 

ดัชนีปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกับ DM โดยเฉพาะฮ่องกงที่ Sentiment ดีขึ้นจากการทยอยเปิดเมืองของจีน ขณะที่ REITs ของไทยยังให้ Div. Yield ที่สูงเมื่อเทียบกับ DM และเทียบกับตัวเองในอดีตช่วง 10 ปี ท่ามกลางแรงหนุนจากการเปิดเมือง และ Relocation-FDI ทำให้กลุ่มโรงแรม ค้าปลีก นิคมอุตสาหกรรมและ/หรือโกดัง น่าสนใจ

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

เงินเฟ้อ

 

Slightly Negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 15 ม.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories