THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

ตลาดลดความกังวลต่อเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น และหันเรดาร์สู่สินทรัพย์ ‘ต้านทาน’ ดอกเบี้ยและเศรษฐกิจชะลอตัว

... • 26 ก.ย. 2022

HIGHLIGHTS

9 mins. read
  • ตลาดผันผวนหนัก หลังจากที่ประชุม FOMC ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% แต่ปรับประมาณการการขึ้นดอกเบี้ย (Dot Plot) ขึ้นรุนแรง
  • รวมถึงกรณีที่ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย ประกาศยกระดับความรุนแรงสงคราม โดยเตรียมพร้อมให้มีการบุกยูเครนเพิ่ม และไม่ปฏิเสธการใช้อาวุธนิวเคลียร์
  • ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งขึ้นโดยเฉพาะระยะสั้น ขณะที่ระยะยาวทรงตัว และทำให้ Inverted Yield Curve รุนแรงขึ้น แต่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ดีขึ้น จะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยดึงความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับมาได้เล็กน้อย
  • จากนี้ไปตลาดจะเริ่มเชื่อว่าการขึ้นของดอกเบี้ยแบบรุนแรงจะสิ้นสุดลงแล้ว (Peak of Hawkishness) รวมถึงเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอตัวมากขึ้นพร้อมๆ กับเศรษฐกิจ 
  • ส่งผลให้การลงทุนจะกลับมาสู่ปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น นักลงทุนจะลดความกังวลในการขึ้นดอกเบี้ยลง และหันมามุ่งเน้นในสินทรัพย์ที่ยังมีความแข็งแกร่งและต้านทานการขึ้นดอกเบี้ย และการชะลอลงของเศรษฐกิจได้

​​สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลดลง หลังเผชิญ 2 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ 

 

1. ผลการประชุม FOMC ของสหรัฐฯ ที่แม้จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด แต่ก็ปรับประมาณการการขึ้นดอกเบี้ย (Dot Plot) ขึ้นรุนแรง จาก 3.4% และ 3.8% ณ สิ้นปี 2022-2023 ขึ้นเป็น 4.4% และ 4.6% (บ่งชี้ว่าการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จะเป็น 0.75% และ 0.50% ตามลำดับ) และปรับประมาณการเศรษฐกิจลงอย่างมีนัยสำคัญ จาก 1.7% ในปี 2022-2023 เป็น 0.2% และ 1.2% 

 

ขณะที่ในช่วงแถลงข่าว ประธาน Fed กล่าวว่า “โอกาสที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปน่าจะหมดลงแล้ว” (Chance of a soft landing are likely to diminish) ซึ่งหลังการประกาศดังกล่าว ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้นรุนแรง 

 

2. ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย ประกาศยกระดับความรุนแรงสงคราม โดยให้ 4 จังหวัดทางตะวันออกของยูเครน ประกาศทำประชามติขอแยกตัวเป็นอิสระภายในสุดสัปดาห์นี้ ซึ่งหากเห็นชอบจะเป็นการให้อำนาจกองทัพรัสเซียในการบุกยึดอย่างเต็มกำลัง และอาจใช้อาวุธหนัก เช่น อาวุธเคมีและอาวุธนิวเคลียร์ได้ และอาจรวมถึงการประกาศเกณฑ์ทหาร เพื่อนำกำลังรบไปบุกยูเครนมากขึ้น 

 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนได้รับปัจจัยบวกจาก 1. ตัวเลขกิจกรรมเศรษฐกิจของจีนล่าสุดออกมาดีกว่าที่คาด และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากขึ้น และ 2. ธนาคารกลางจีนลดดอกเบี้ย RP 14 วัน พร้อมอัดฉีดเงินอีก 1.2 หมื่นล้านหยวนเข้าสู่ระบบ 

 

หุ้นไทย ‘ผันผวน’ มากขึ้น 

ตลาดหุ้นไทยผันผวนมากขึ้น แต่ยังคง Outperform ตลาดหุ้นโลก นักลงทุนต่างชาติยังคงชะลอการลงทุน โดยปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ การยกเลิกมาตรการกักตัวผู้ป่วยอาการน้อยหรือไม่แสดงอาการ รวมถึงการขยายวีซ่า ซึ่งส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว ส่วนหุ้นที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมี จากความกังวลเรื่องผลประกอบการ

 

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 3.51% ขณะที่ระยะสั้น 2 ปี ปรับขึ้นรุนแรงมาอยู่ที่ 4.08% จาก Dot Plot ที่ Hawkish ขึ้น ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย 2-10 ปี เพิ่มขึ้นมาที่ 0.57%

 

ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 10 bps มาอยู่ที่ 2.97% ขณะที่ระยะสั้น อายุ 2 ปี ปรับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 1.68% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 4,443 ล้านบาท

 

คาด Fed ขึ้นดอกเบี้ยแบบ Front Load

InnovestX มีมุมมองต่อทิศทางนโยบายการเงินสหรัฐ 3 ประเด็น

 

1. การขึ้นดอกเบี้ยและส่งสัญญาณเช่นนี้ เป็นการขึ้นแบบ Front Load กล่าวคือ เร่งขึ้นรุนแรงที่ 0.75% และ 50% ในการประชุม 2 ครั้งสุดท้ายของปี และทรงตัวหรือปรับขึ้นอีก 25% ในการประชุมต้นปีหน้า และลดดอกเบี้ยในปี 2024  

 

2. การปรับประมาณการเศรษฐกิจลงรุนแรง บ่งชี้ว่ามีโอกาสสูงขึ้นที่จะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยในปีนี้ถึงปีหน้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 0.2% ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจครึ่งปีหลังต้องหดตัว 2.8% จากครึ่งปีแรกที่ขยายตัว 3.2%) 

 

3. ผลตอบแทนพันธบัตร 2 ปี ที่ขึ้นมาแรงที่ 4.1% ขณะที่ 10 ปี ยังอยู่ที่ 3.5% บ่งชี้ว่าตลาดเชื่อว่าการส่งสัญญาณการขึ้นครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณแบบรุนแรงครั้งสุดท้าย (Peak of Hawkishness) รวมถึงเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอตัวมากขึ้นพร้อมๆ กับเศรษฐกิจ 

 

ในประเด็นที่รัสเซียยกระดับความรุนแรงของสงครามขึ้น มองว่าการส่งสัญญาณรุกหนักมากขึ้นของทางรัสเซีย เพื่อต้องการปิดเกมสงครามครั้งนี้ โดยให้ทางยูเครน ยอมยกรัฐทางตะวันออกให้แลกกับการยุติสงคราม ดังนั้นในระยะต่อไปต้องติดตามสัญญาณจากชาติตะวันตกว่าจะยอมเจรจากับทางรัสเซียหรือไม่ ซึ่งหากชาติตะวันตกไม่ยอม อาจเห็นการรุกหนักขึ้นของทางรัสเซียในระยะต่อไป ซึ่งอาจกระทบราคาพลังงานและเงินเฟ้อ รวมถึงเศรษฐกิจโลกได้

 

สัปดาห์นี้ต้องจับตาดัชนีราคาบ้าน Case-Shiller Index ว่าจะลดลงต่อเนื่องหรือไม่ รวมถึงการประกาศ GDP ไตรมาส 2 ครั้งสุดท้ายของสหรัฐฯ ที่คาดว่ายังอยู่ที่ -0.6% เท่าเดิม รวมถึงเงินเฟ้อ Core PCE ที่จะลดลงต่อจากเดือนก่อนที่ 5.2% หรือไม่

 

ตลาดเริ่มเชื่อว่าเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้นแบบรุนแรง ‘สิ้นสุดแล้ว’

InnovestX เชื่อว่าตลาดกำลังปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ หลังการประชุม FOMC โดยตลาดจะเริ่มเชื่อว่าการขึ้นของดอกเบี้ยแบบรุนแรงจะสิ้นสุดลงแล้ว (Peak of Hawkishness) รวมถึงเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอตัวมากขึ้นพร้อมๆ กับเศรษฐกิจ ดังนั้น การลงทุนจะกลับมาสู่ปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น โดยนักลงทุนจะลดความกังวลในการขึ้นดอกเบี้ยลง และหันมามุ่งเน้นในสินทรัพย์ ตลาดที่ยังมีความแข็งแกร่งและต้านทานการขึ้นดอกเบี้ย และการชะลอลงของเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงใหม่สำคัญ อันได้แก่สถานการณ์สงครามในยูเครนที่อาจตึงเครียดขึ้น

 

ตลาดโลกปรับตัวลดลง 2-3% 

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดทั่วโลกปรับตัวลดลง 3% (EM -2.3%, DM -3.1%) โดยได้รับแรงกดดันจากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงเข้าสู่สภาวะถดถอย ส่วนประเทศ EM ปรับตัวลดลงน้อยกว่าจากจำนวนผู้ป่วยในจีนลดลง ราคาน้ำมันลดลง และราคาหุ้นก็ปรับตัวลดลงมาแรงก่อนหน้านี้

 

หุ้นกลุ่ม Value (-2.7%) ให้ผลตอบแทนมากกว่ากว่าหุ้นกลุ่ม Growth (-3.3%) หุ้นขนาดเล็ก (-3.6%) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นขนาดใหญ่ (-2.9%) ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่ม Consumer Discretionary (รถยนต์ สายการบิน เสื้อผ้า) ปรับตัวลดลง 4-5% จากความกังวลเศรษฐกิจถดถอย ส่วนกลุ่มเชิงรับอย่าง Consumer Staples และ Utilities ปรับตัวลดลง 1-2% น้อยกว่าตลาด

 

ในสัปดาห์นี้ติดตาม

 

1. ประธาน Fed หลายสาขาออกมาให้ความเห็นต่อท่าทีของดอกเบี้ยสหรัฐฯ 

2. ตัวเลขยอดขายบ้านของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะชะลอตัวลงต่อเนื่อง -2.2%MoM ในขณะที่ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นตัว 

3. การประชุม กนง. ของไทยที่คาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ส่วนธนาคารกลางเม็กซิโกจะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% 

4. งาน AI ของ Tesla ที่คาดว่าจะมีอัปเดตเรื่อง Humanoid Robot 

5. ผลประกอบการของ Micron Technology, Nike ที่จะได้เห็นผลกระทบจากสินค้าคงค้าง และการเปิดประเทศ

 

กลยุทธ์ลงทุนหุ้นไทย

มองบรรยากาศการลงทุนในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง จะถูกกดดันจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกถดถอยที่มีมากขึ้น หลัง Fed ส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงกว่าที่คาดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนช่วงสั้นจึงแนะนำ Selective ในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ดังนี้

 

1. หุ้น Defensive ที่อิงเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก เลือก ADVANC, BDMS, BLA และ HMPRO 

2. หุ้น Domestic Growth ใน 4Q65 ซึ่งกำไรมีโมเมนตัมเติบโตได้ดี เลือก AMATA, AP, CRC และ KTB 

 

ช่วงสั้นยังแนะนำเลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงกดดันผลประกอบการ ดังนี้ 

 

1. หุ้นเดินเรือ ซึ่งคาดได้รับผลกระทบจากอุปทานเรือใหม่ที่เข้ามา และอุปสงค์การขนส่งสินค้าเริ่มชะลอตัวลง

2. หุ้นที่มีฐานลูกค้า/ตลาดส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งคาดได้รับกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มยาง

3. หุ้นกลุ่มเนื้อสัตว์ อาทิ CPF และ GFPT ซึ่งคาดได้รับผลกระทบจากความกังวลต้นทุนอาหารสัตวยังทรงตัวสูง จากสถานการณ์รัสเซียและยูเครนที่กลับมายกระดับ และเข้าสู่ช่วงเทศกาลกินเจ

 

ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. การประชุมนโยบายการเงินของ กนง. ในวันพุธที่ 28 กันยายน ซึ่งตลาดคาดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ 1.00%

2. การเดินหน้าบุกยูเครนของรัสเซีย หลังปูตินประกาศระดมกำลังพล ซึ่งอาจนำมาสู่การยกระดับมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ และการพุ่งขึ้นของราคาพลังงาน

3. บรรยากาศการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BLA - ได้ประโยชน์ Bond Yield เพิ่มขึ้น

สัปดาห์นี้ InnovestX เลือกแนะนำ บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต หรือ BLA เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำในประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาด 6% ในแง่ของเบี้ยประกันรับทั้งหมด และ 4% ในแง่ของเบี้ยประกันรับรายใหม่ 
  • มองผลตอบแทนจากการลงทุน และตลาดผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จะได้ประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ที่เพิ่มขึ้น โดยปี 2022 คาดอัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยและเงินปันผลจะทรงตัว จากนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นปีละ 5%ในปี 2023-2024  
  • แม้ 3Q22 คาดกำไรลดลงทั้ง YoY และ QoQ จากกำไรเงินลงทุนที่ลดลง แต่ 4Q22 คาดกำไรจะเพิ่มขึ้น YoY และ QoQ จาก Combined Ratio ที่ลดลง และหนุนให้ปี 2022 กำไรจะยังเติบโต 20%YoY และเติบโตแกร่งขึ้น 55%YoY ในปี 2023 จาก Combined Ratio ที่ลดลงอย่างมาก 
  • ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับลง 19% ซึ่งมองสะท้อนความกังวลมีโอกาสถูกนำออกจากการคำนวณดัชนี SET50 รอบหน้าไปค่อนข้างมากแล้ว ขณะที่ผลดำเนินงานยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น โดยปี 2022-2023 คาดกำไรจะเติบโตดี จากอัตรากำไรจากการรับประกันที่ดีขึ้น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ที่ฟื้นตัวดีขึ้น และอัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยและเงินปันผลที่เพิ่มขึ้น 
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่ 49.00 บาท และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2022 หุ้นละ 0.57 บาท คิดเป็น Div. Yield ราวปีละ 1.6%

 

ธนาคารกลางทั่วโลกเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

ธนาคารกลางฝั่งยุโรปปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยสหราชอาณาจักรปรับขึ้น 0.50% พร้อมคาด GDP 3Q22 จะหดตัวลง ด้านสวิตเซอร์แลนด์ปรับลง 0.75% ขณะที่ฝั่งเอเชียปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเช่นกัน โดยธนาคารกลางฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียปรับขึ้น 0.50% ในขณะที่เวียดนามขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลัก 1.00% ซึ่งเป็นการปรับครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2020

 

ทั้งนี้ มองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชัดเจนในการขึ้นดอกเบี้ยอีก 1.25% ทำให้หลายประเทศเริ่มขึ้นดอกเบี้ยเพื่อที่จะป้องกันค่าเงิน รวมถึงมีการแทรกแซงค่าเงิน

 

ดังนั้น InnovestX มองว่าตลาดจะมีความผันผวนมากขึ้น เพราะการขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในช่วง 4Q22-1Q23 ซึ่งมองว่าตลาดจะยังอยู่ในทิศทางที่ตอบสนองกับความเสี่ยง ส่วน Upside มีจำกัด หากเรายังคงลงทุนแบบระมัดระวัง และเลือกหุ้นที่เน้นการตั้งรับและมีภาพการเติบโตได้ดี โดยมาจากเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นสำคัญ

 

การจัดสรรพอร์ตการลงทุนจะมีความอ่อนไหวต่อการประเมินมูลค่า และระมัดระวังเกี่ยวกับบริษัทที่ไม่มีกำไร งบดุลอ่อนแอและหุ้น Valuation สูงปรับตัวลดลงแรงกว่า เราจึงมองว่าการจัดสรรจะหันไปหาหุ้นที่มีคุณภาพกำไร และไม่แปรผันกับภาพเศรษฐกิจมาก เนื่องจากความเสี่ยงจากภาวะถดถอยเพิ่มขึ้น โดยหุ้นไทยเราเลือก AMATA, AP, CRC, KTB และ MTC สำหรับหุ้นต่างประเทศที่มีคุณภาพดีเราชอบ T-Mobile, Monster Beverage, UnitedHealth, American Tower, Philip Morris และ Kraft Heinz

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Neutral ต่อการถือครองเงินสด และ/หรือ สินทรัพย์สภาพคล่อง โดยสถานการณ์โควิดใน DM หลายประเทศดีขึ้นต่อเนื่อง และผลประกอบการ บจ. ใน DM ที่ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด แต่สินทรัพย์เสี่ยงยังคงเผชิญปัจจัยกดดัน จากการที่ธนาคารกลางประเทศหลัก Fed, BOE และ ECB มีแนวโน้มปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ตามเงินเฟ้อที่ยังอยู่สูง และจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Neutral ต่อพันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ โดยเรามอง UST Yield ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อ ตามการปรับคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับทิศทาง และขนาดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed หลังผลการประชุม Fed ล่าสุด คณะกรรมการ FOMC ได้ปรับประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ของปี 2022-2024 เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีอยู่ (ความน่าจะเป็นที่จะเกิด Recession ในสหรัฐฯ อีก 12 เดือนข้างหน้า ยังอยู่ที่ 50%) จะทำให้การเพิ่มสูงขึ้นของ 10y UST Yield เป็นไปอย่างจำกัด

 

กองทุนแนะนำ

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส ​​(ชนิดหน่วยลงทุน B) (SCBSFFPLUS-B)

 

  • กองทุนลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน และตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยจะลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 50% และป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% โดยกองทุนเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีความผันผวนต่ำ เหมาะกับการพักเงินลงทุนในระยะสั้น

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Cross Asset Investment Opportunity (ชนิดสะสมมูลค่า) (SCBCIO(A))

 

  • กองทุนผสมแบบ Fund of Funds ที่ลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั้งไทยและต่างประเทศ สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนได้ยืดหยุ่น โดยเพิ่มลดสัดส่วนได้ตั้งแต่ 0-100% ตามสภาวะตลาด โดยกองทุนนี้เป็น ONE-Stop Fund คัดสรรกองทุนรวมทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมตามสภาวะตลาด

 

หุ้นกู้ต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Neutral ต่อหุ้นกู้ต่างประเทศ โดยเราคาดว่า Credit Spread ของ US Investment Grade (IG) มีแนวโน้มทรงตัว หลังจากกว้างขึ้นไปมากเมื่อเทียบกับตอนต้นปี อย่างไรก็ตาม HY Spread มีแนวโน้มกว้างขึ้นต่อ ตามความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจที่มากขึ้น ประกอบกับ UST Yield ที่ยังเพิ่มขึ้นต่อ จะเป็นตัวกดดันอัตราผลตอบแทนรวมของ US Credit ในขณะที่เรายังแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนตราสารหนี้เอเชีย High Yield ที่มีหุ้นกู้จีน ตามความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้ผู้พัฒนาอสังหาที่ยังน่ากังวล รวมทั้งให้หลีกเลี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ที่เกี่ยวกับรัสเซีย

 

หุ้นกู้ไทย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Positive ต่อหุ้นกู้ไทยในกลุ่ม Investment Grade โดยเฉพาะ AAA และ AA โดย Gov’t Bond Yield ของไทยมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐฯ และโอกาสที่จะเร่งตัวแรงยังต่ำ โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 2 ปี ส่วนหนึ่งมาจากแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายที่ขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางอุปสงค์ในตลาดพันธบัตรไทยที่ยังมีต่อเนื่องจาก AMC และบริษัทประกัน ขณะที่ Corporate Spread ค่อนข้างทรงตัวในทุกอายุและทุก Grade โดยเฉพาะในกลุ่ม AAA และ AA ที่ทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับก่อนโควิด ทั้งนี้ เราแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอยที่ยังมีอยู่

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว โดยตลาดมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน จากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางหลักที่ต่างๆ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังเร่งตัว และความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ดี การเปิดเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม DM และผลประกอบการ บจ. DM ที่ยังขยายตัวได้ดี จะสามารถช่วยประคองให้ตลาด DM มีแนวโน้มทรงตัวถึงฟื้นตัวขึ้นบางส่วน

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ว่าตลาดยังคงมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของ Fed แต่เรามองว่าตลาดได้แรงหนุนจาก Valuation ตลาดที่ลดลงจากการซื้อหุ้นคืน และการจ่ายเงินปันผลของ บจ.สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากผลประกอบการใน 3Q22 ที่ยังมีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่คาด จากการที่ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ มีสัดส่วนกลุ่ม Quality Growth ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับตลาด DM อื่น จึงทำให้ได้อานิสงส์จากแรงซื้อนักลงทุน หากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Slightly Negative ต่อตลาดหุ้นยุโรป แม้ว่าตลาดยุโรปจะเริ่มปรับตัวลงมา และมี Valuation ที่ถูก แต่เรามองว่าปัจจัยที่กดดันยังไม่ถูกสะท้อนผ่านราคาที่ปรับตัวลงมาทั้งหมด โดยปัจจัยที่ยังกดดัน ได้แก่ วิกฤตพลังงานในยุโรปที่ยังเป็นความเสี่ยงต่อทั้งภาคการผลิตและการบริโภค ในขณะที่การส่งผลเงินเฟ้อไปยังผู้บริโภคมากขึ้นสะท้อนจาก CPI ที่เร่งตัวขึ้นในเดือนสิงหาคม ส่งผลให้นโยบายทางการเงินของ ECB มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นกว่าที่คาดไว้ อีกทั้งรัสเซียมีแนวโน้มที่จะยกระดับความรุนแรงขึ้น กดดันการลงทุนในยุโรป

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรายังคงมีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยเรามองว่าทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจะกลับมาเป็นปัจจัยกดดันต่อภาคการส่งออก ในขณะที่ค่าเงินเยนที่อ่อนค่านั้นเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคภายในประเทศจากราคาสินค้านำเข้าที่มีราคาแพงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นตาม ในขณะที่ BOJ ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการผ่อนคลายนโยบายการเงิน อย่างไรก็ดี Valuation ที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำนั้น ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนอยู่หากมีการปรับตัวลงมา ประกอบกับการเปิดประเทศในช่วงเดือนกันยายน เป็นปัจจัยช่วยหนุน Sentiment ในกลุ่ม Re-opening 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Neutral ต่อหุ้นจีน H-Share จาก Valuation ดัชนีที่ไม่แพงเมื่อเทียบตลาดหุ้นโลก การคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่น่าจะผ่านจุดที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว และความเสี่ยง Delisting ของบริษัทจีน ADRs ที่เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเรื่องการกีดกันการค้า การแข่งขันด้านเทคโนโลยี และการคว่ำบาตรทางอ้อมจากสหรัฐฯ ในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับรัสเซียและไต้หวัน ความกังวลบนภาคอสังหาริมทรัพย์จีนที่ยังมีอยู่ และการแพร่ระบาดรอบใหม่ จะยังกดดัน Upside ของดัชนี 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เราปรับมุมมองตลาดหุ้นจีน A-Share จาก Slightly Positive เป็น Neutral โดยแม้ดัชนีมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนมีแนวโน้มจะต้องเร่งออกพันธบัตรพิเศษจากโควตาที่ยังไม่ได้ใช้ก่อนหน้า แล้วใช้จ่ายให้หมดภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ รวมทั้งการผ่อนคลายทางการเงินของ PBOC ที่ยังคงดำเนินต่อ แต่อย่างไรก็ตาม การที่ทางการจีนมีแนวโน้มออกจากนโยบาย Zero-COVID ที่ล่าช้ามากขึ้น โดยคาดว่าจะยกเลิกได้ในช่วง 2Q23 ตลอดจนปัญหาภาคอสังหาจีนที่ยังน่ากังวล อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องจนถึง 1Q23

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อหุ้นไทย ด้วยปัจจัยสนับสนุนหลักจากเศรษฐกิจฟื้นตัวตามเครื่องยนต์หลักด้านการท่องเที่ยวท่ามกลาง Foreign Fund Flow ที่กลับเข้ามาลงทุนในไทย แม้ว่า THB จะมีทิศทางอ่อนค่าเทียบ USD แต่เสถียรภาพต่างประเทศของไทยที่ยังดี (ในแง่ของทุนสำรองที่เพียงพอต่อการนำเข้าสินค้าและบริการถึง 7 เดือน ต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึง 3 เท่า รวมถึงหนี้ต่างประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 38% ของ GDP) ท่ามกลางดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มดีขึ้น และแรงกดดันเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอลง ขณะที่ในระยะกลาง ตลาดมีโอกาสได้ผลบวกจาก FDI ที่จะเข้ามาจากการ Relocation จากจีน สำหรับปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่ แนวโน้มการส่งออกที่อาจชะลอตัวลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลก และความคืบหน้าประเด็นทางการเมืองภายในประเทศ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นเวียดนาม โดยตลาดมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจเวียดนามที่ยังมีโมเมนตัมการฟื้นตัวดี และแรงกดดันเงินเฟ้อเวียดนามเริ่มลดลง จากผลประกอบการ บจ.เวียดนามในช่วง 2H22 ที่มีแนวโน้มขยายตัวจาก Sentiment นักลงทุนรายย่อยในประเทศที่ดีขึ้น จาก Valuation ตลาดที่ไม่แพง รวมทั้งการออกกฎระเบียบบนตลาดหุ้นกู้ล่าสุดที่ช่วยคลายความไม่แน่นอนด้านกฎระเบียบลง

 

กองทุนแนะนำ

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นเวียดนาม SCBVIET(A)

  • กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นเวียดนามแบบ Active ผ่านการกระจายการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งใน Active Fund เช่น Vietnam Equity Fund และ ETF เช่น Diamond ETF, VN30 ETF รวมถึงหุ้นเวียดนามรายตัวที่ SCBAM มีมุมมองที่ดี โดย​​เวียดนามมีการเติบโตสูง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการทยอยเปิดประเทศ เสถียรภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้ กองทุนลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูง เช่น กลุ่มธนาคาร อสังหา และภาคการผลิต ที่ยังเติบโตดีต่อเนื่อง

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยมีปัจจัยบวกจาก 1. เศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง 2. Earning ที่มีแนวโน้มถูกปรับขึ้น 3. Valuation อยู่ในระดับที่น่าลงทุน และ 4. Foreign Fund Flow ที่ยังเข้าตลาดหุ้นอินโดนีเซีย แม้ว่าล่าสุดธนาคารกลางได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 50bps มากกว่าที่ตลาดคาดที่ 25bps แต่ตลาดตอบสนองด้านบวก ส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินนโยบายแบบ Front-loaded และ Pre-emptive ของธนาคารกลางเพื่อคุมเงินเฟ้อ รวมถึงปกป้องค่าเงินที่อาจมีผลต่อราคาสินค้านำเข้า ซึ่งความเสี่ยงเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่กดดันเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ทั้งนี้ เรายังเชื่อว่าเศรษฐกิจและ Earning ของตลาดอินโดนีเซียยังสามารถเติบโตรับมือกับการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ ส่วนหนึ่งสะท้อนจากการคงคาดการณ์ GDP ของธนาคารกลาง แม้ว่าจะมีการเร่งขึ้นดอกเบี้ยก็ตาม

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Neutral ต่อทองคำ โดยในระยะสั้นถึงกลางราคาทองคำจะยังคงถูกกดดันจากทิศทาง Real Yield ที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ จนกว่า Fed จะเริ่มส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ราคามีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก 1. การเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่มีความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอย และ 2. ความต้องการถือครองจากธนาคารกลางเพื่อเป็นทุนสำรองที่เพิ่มขึ้น 

 

น้ำมัน 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อน้ำมัน ในระยะสั้นราคาน้ำมันถูกกดดันจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัว และการเปิดเมืองในจีนที่ล่าช้า อย่างไรก็ดี ราคามีโอกาสฟื้นตัวขึ้นได้ตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว และอุปสงค์เพื่อใช้แทนก๊าซธรรมชาติในยุโรป ขณะที่อุปทานมีแนวโน้มลดลง จากผลของการคว่ำบาตรรัสเซียจาก EU ขณะที่กลุ่ม OPEC ปรับลดกำลังการผลิตลงเพื่อคุมราคา และสหรัฐฯ หยุดปล่อยน้ำมันจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ การเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านก็ยังคงหาข้อสรุปไม่ได้

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Neutral ต่อ REITs ประเทศพัฒนาแล้ว โดย Global REITs Index ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ผลจากการเร่งตัวขึ้นของ Gov’t Bond Yield ระยะยาว โดย Total Return of REITs ในช่วง 1 เดือนของสหรัฐฯ และ DM ในยุโรปยังคงหดตัว นอกจากนี้ ในตลาดยุโรปโดยเฉพาะ UK ยังเผชิญปัจจัยลบจากเงินเฟ้อที่สูงกดดันต้นทุนการบริหารจัดการอสังหา ท่ามกลางการขยายตัวของค่าเช่าที่อ่อนแอลงตามความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น

 

เรามีมุมมอง Neutral ต่อ REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) โดยสิงคโปร์เป็นหนึ่งในตลาดที่ได้ผลกระทบจาก Gov’t Bond Yield ระยะยาวที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกันกับ DM โดย Total Return of REITs ในช่วง 1 เดือนยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดไทยยังขยายตัวได้ ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยลบจาก Gov’t Bond Yield ระยะยาวของไทยที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ท่ามกลางแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและ FDI โดยกลุ่มโรงแรม ค้าปลีก นิคมอุตสาหกรรม และคลังสินค้าเป็น 3 Sectors ที่ขยายตัวหนุน SETPREITs อย่างไรก็ตาม ยังต้องระมัดระวัง REITs ในกลุ่มที่มีหนี้สูง และหนี้ส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยลอยตัวอาจถูกกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้น

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 26 ก.ย. 2022

READ MORE



Latest Stories