THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เงินเฟ้อ
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เงินเฟ้อกลับมาสร้างความปั่นป่วนอีกครั้ง กดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ หนุนกระแสเงินไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่

... • 15 พ.ย. 2021

HIGHLIGHTS

8 mins. read
  • เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงสุดรอบ 30 ปี ทำให้ตลาดกังวลว่า Fed จะต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
  • ตลาดยังติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และตัวเลขตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหากขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดค้าปลีก จะเป็นปัจจัยบวกและส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ในระยะถัดไป
  • แนวโน้มตลาดหุ้นโลกคาดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และ DM มีโอกาสฟื้นตัว เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทที่ยังคงแข็งแกร่ง
  • ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเริ่มมีสัญญาณบวกมากขึ้น โดยเฉพาะเงินทุนต่างชาติไหลเข้า รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการไตรมาส 3/64 จะเป็นจุดต่ำสุด

เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนตุลาคมพุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี กดดันตลาดสหรัฐฯ แต่เงินทุนไหลเข้า EM Asia การที่ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.2%YoY สูงเกินกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 5.5%YoY ส่งผลให้ตลาดการเงินยังคงให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่ประเด็นใหม่ รวมถึงทางธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ย้ำหลายครั้งแล้วว่าเงินเฟ้อสูงเป็นเพียงระยะหนึ่งเท่านั้น 

 

ทั้งนี้ส่งผลให้ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ผันผวนแรงมากในกรอบ 1.41-1.58% ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ราคาทองคำพุ่งขึ้นแรง รวมถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นมากสุดในรอบปีนี้ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของการกลัวความเสี่ยง ในทางตรงข้าม เริ่มเห็นเงินทุนบางส่วนไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ รวมถึงไทย เราเชื่อว่าในระยะสั้น ประเทศ EM Asia ยกเว้นจีน จะได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นหลังจากเริ่มเปิดประเทศได้   

 

นอกจากนี้การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และตัวเลขตลาดอสังหาริมทรัพย์ว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องอยู่หรือไม่ ซึ่งหากขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดค้าปลีก จะเป็นปัจจัยบวกและส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ในระยะถัดไป แต่ยังคงต้องระมัดระวังการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของยุโรปและอังกฤษ หากออกมาสูงเกินคาดจะกระทบต่อภาพรวมการลงทุนได้    

 

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดทั่วโลกปรับตัวลดลง 0.7% (EM +0.8%, DM -0.9%) โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่ออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งอาจจะส่งผลให้นโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้นและเร็วขึ้น แม้ว่าผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ออกมาในทิศทางที่ดีกว่าที่คาด

 

ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีแรงเทขายในกลุ่มเทคโนโลยี (-1%) และกลุ่มสื่อสาร (-1.7%) ที่ได้รับ Sentiment เชิงลบจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร กลุ่ม Consumer Discretionary (-3%) ได้รับแรงกดดันจากการขายหุ้น Tesla ของ อีลอน มัสก์ ส่วนกลุ่ม Materials และกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.8-3.4% จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาโลหะอุตสาหกรรม

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และ DM มีโอกาสฟื้นตัว

แนวโน้มตลาดหุ้นโลก คาดว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ และ DM มีโอกาสฟื้นตัว เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทที่ยังคงแข็งแกร่ง สำหรับความกังวลเรื่องเงินเฟ้อยังคงอยู่ต่อไป แต่คาดว่าแรงกดดันจะลดลง หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อประกาศออกมาแล้ว ในขณะที่ตัวเลขการผลิตของสหรัฐในเดือนพฤศจิกายนที่กำลังจะประกาศ โดยตลาดคาดว่าจะเร่งตัวขึ้น อาจเป็นปัจจัยหนุนตลาดระยะสั้น สำหรับผลประกอบการที่กำลังจะประกาศ ได้แก่ Alibaba, Baidu, Cisco, JD, Nvidia, Target, Home Depot และ Walmart

 

ตลาดหุ้นไทยมีลุ้นเงินทุนต่างชาติไหลเข้าต่อเนื่อง 

สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทย บริเวณ 1,650 จุด ยังคงเป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง แต่เริ่มมีลุ้นผ่านได้ หากเงินทุนต่างชาติยังคงไหลเข้าต่อเนื่อง ตลาดหุ้นไทยเริ่มมีสัญญาณบวกมากขึ้น โดยเฉพาะเงินทุนต่างชาติไหลเข้า รวมถึงประเมินว่าตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการไตรมาส 3/64 จะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว เนื่องจากมีการเปิดประเทศ ซึ่งจะส่งผลบวกต่อธุรกิจที่พึ่งพาการบริโภคทั้งจากในและต่างประเทศ (ไม่รวมธุรกิจโรงแรม การบิน) ในขณะที่ปัญหาการขาดแคลน Supply หากเริ่มคลี่คลายจริงจะส่งผลดีต่อหลายธุรกิจ เช่น สินค้าไอที รถยนต์ เป็นต้น   

 

ทั้งนี้ SCBS จัดทำกลยุทธ์สำหรับภาพรวมการลงทุน โดยแนะนำซื้อเมื่อตลาดผันผวน ทำให้ราคาหุ้นอ่อนตัว สำหรับตลาดหุ้นโลก ยังคงแนะนำตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยุโรป ส่วน ตลาดหุ้นไทยแนะนำเลือกซื้อ (Selective Buy) หุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการดีต่อเนื่องใน 4Q21 เป็นหลัก เช่น IVL ZEN SPALI PTTGC และ OSP เป็นต้น สำหรับ การเก็งกำไร หุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากเงินทุนไหลเข้า คือ กลุ่มธนาคาร    

 

ขณะเดียวกันยังมีมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นกู้ไทย ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว และตลาดหุ้นเวียดนาม รวมถึง REITs ของประเทศพัฒนาแล้ว 

 

ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

  • การประกาศ GDP ของไทย 3Q21 ซึ่งคาดจะหดตัว YoY จากผลกระทบของมาตรการล็อกดาวน์
  • การประชุมออนไลน์ระหว่าง โจ ไบเดน และ สีจิ้นผิง ซึ่งคาดว่าจะมีการหารือประเด็นความขัดแย้งระหว่างไต้หวันกับจีน
  • การออกมาตรการลดค่าครองชีพของไทยที่ สนค. เสนอ หลังเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น โดยจะเป็นการออกมาตรการแก้ไขทั้งระยะสั้นและระยะยาว

 

OSP หุ้นเด่นประจำสัปดาห์

สัปดาห์นี้ แนะนำ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

  • 3Q21 มองเป็นจุดต่ำสุดของกำไรปีนี้ หลังมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นและการประหยัดต่อขนาดที่ลดลง แต่ 4Q21 คาดกำไรฟื้นตัว QoQ แต่ลดลงเล็กน้อย YoY หลังเริ่มคลายล็อกดาวน์และมีแผนเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์แก้วเป็นแก้วน้ำหนักเบา ช่วยประหยัดต้นทุนและสร้างอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่ม
  • ปี 2022 คาดกำไรฟื้นตัว 18%YoY โดยแม้ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มแต่มีหลายปัจจัยบวก อาทิ กำลังซื้อฟื้น มีแผนเปิดสินค้าใหม่อย่างกัญชงกัญชาและยังจะเริ่มดำเนินสายผลิตขวดแก้วในเมียนมา อีกทั้งมีแผนลดต้นทุนตามกลยุทธ์ ‘Fast Forward 10X’ โดยตั้งเป้าลดต้นทุน 5 พันล้านบาทใน 5 ปี 
  • เป็นหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตอย่างยั่งยืนและมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง โดยประเมินราคาเป้าหมายที่ 38 บาท พร้อมคาดให้ Div. Yield ปีละ 3.4%

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

 

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนและการทยอยเปิดเมือง ขณะที่คาดการณ์ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 3/64 มีแนวโน้มออกมาดี อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความกังวลผลกระทบการระบาดโควิดสายพันธุ์เดลตาต่อเศรษฐกิจ แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น จากปัญหาอุปทานขาดแคลน และการทยอยปรับลดวงเงิน QE ของ Fed 

 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ หุ้นกลุ่ม Value/Cyclical ยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการทยอยเพิ่มขึ้นของ Bond Yield อายุ 10 ปี ของสหรัฐฯ ความคืบหน้าทางการคลังสหรัฐฯ ในแผน Build Back Better และแนวโน้มการเปิดเศรษฐกิจสหรัฐฯ 

 

ในส่วนหุ้นกลุ่ม Growth มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อจากความสามารถในการทำกำไรที่ยังโดดเด่น และกลุ่มได้รับผลกระทบจากปัญหา Supply และ Labor Shortage จำกัด ประกอบกับข้อเสนอการจัดเก็บภาษีใหม่กับบริษัทสหรัฐฯ ในแผน Build Back Better มีแนวโน้มต่ำกว่าที่ตลาดคาด และการเก็บภาษี GILITI อาจเริ่มมีผลในปี 2023 

 

ทั้งนี้ เราแนะนําสัดส่วนการถือครองหุ้น Growth และ Value/Defensive อยู่ที่ 70:30

 

กองทุนแนะนำ

 

 

 

  • SCB Global Experts Fund

กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

 

ตลาดหุ้นยุโรป

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นยุโรป เรามองผลประกอบการ บจ. ในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มออกมาดี การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่และแผนการเปิดประเทศจะช่วยหนุน Sentiment ตลาดได้ต่อ ECB มีแนวโน้มยังไม่ส่งสัญญาณ QE Taper ชัดเท่า Fed และ EU Bond Yield ในระดับต่ำยังเป็นปัจจัยบวก ผลกระทบราคาก๊าซธรรมชาติและเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นมีทั้งผลกระทบเชิงลบ (ต้นทุนสูงขึ้น) และเชิงบวก (ผลักภาระให้กับผู้บริโภคได้) แต่ภาพรวมหุ้นกลุ่ม Value/Cyclicals ของยุโรปยังมีแนวโน้มได้รับผลบวกมากกว่าผลลบ

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

Valuation ของหุ้นญี่ปุ่นยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น DM อื่นๆ (Laggard Play) และ EPS Growth ยังมีแนวโน้มถูกปรับขึ้น ผลประกอบการ บจ. ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มโดดเด่นมากกว่าหรือเท่ากับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปในระยะต่อไป ผลการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 31 ตุลาคม มีแนวโน้มสนับสนุน Fund Flow นักลงทุนต่างชาติจากธีม Election Rally จากการที่พรรค LDP (นำโดยนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ) ยังครองเสียงข้างมากและสานต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาด

 

กองทุนแนะนำ

  

  • Krungsri Japan Hedged Dividend Fund

กองทุน KF-HJAPAND ลงทุนในกองทุน JPMorgan Japan (Yen) Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น คัดเลือกธีมการลงทุนที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว และเฟ้นหาหลักทรัพย์รายตัวที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงและปัจจัย

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

SCB CIO มีมุมมอง Neutral ต่อหุ้นจีน H-share เนื่องจาก Valuation ของดัชนีหุ้นจีน Offshore อยู่ในระดับที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี และไม่แพงเมื่อเทียบดัชนีหุ้นโลก จึงส่งผลให้ตลาดฯ มี Downside ที่จำกัด ประกอบกับทางการจีนอาจไม่ได้ออกกฎระเบียบคุมเข้มกลุ่ม Platform อย่างมากในช่วงที่เหลือของปีนี้มากนัก โดยล่าสุดทางการจีนเตรียมออกใบอนุญาตให้ธุรกิจกวดวิชาสามารถทำธุรกิจแบบแสวงหากำไรกับการสอนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การสอนเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ได้ 

 

อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการ บจ. ในดัชนีหุ้นจีน Offshore ในไตรมาส 3/64 ที่ขยายตัวปานกลาง และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับร่างการกำกับดูแลกลุ่ม Platform รายใหญ่ที่ยังมีอยู่ อาจส่งผลให้ดัชนีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อย่างจำกัด

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ดัชนีหุ้นจีน Onshore มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ PBoC ยังมีแนวโน้มออกมาตรการต่างๆ เพื่อรักษาสภาพคล่องให้อยู่ระดับที่เหมาะสมในช่วงที่เหลือของปี และออกมาตรการสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยล่าสุด PBoC ได้เปิดตัวโครงการเงินกู้ใหม่ให้กับธุรกิจด้านพลังงานสะอาด การประหยัดพลังงาน และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนมีแนวโน้มเร่งใช้โควตาออกพันธบัตรท้องถิ่นพิเศษ เพื่อนำมาใช้จ่ายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 

 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการคงมาตรการควบคุมการระบาดของทางการจีนที่ยังมีอยู่ จะกดดันต่อการฟื้นตัวของภาคบริโภคจีนและ Risk Sentiment ในช่วงสั้น 

 

ตลาดหุ้นไทย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

SBC CIO มีมุมมอง Neutral ต่อหุ้นไทย เนื่องจาก สถานการณ์การระบาดที่ดีขึ้นและอานิสงค์การเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน โดยมองแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าจะเริ่มดีขึ้น แม้ Valuation หุ้นไทยยังคงตึงตัว (PE เทรดที่ราว +1SD) แต่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงหลังเปิดประเทศที่จะตามมา การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ยังมี Pent-up Demand อีกมาก และการฟื้นตัวของภาคการส่งออกโลกที่จะช่วยหนุนภาคการส่งออกไทย จะเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาด แม้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังต้องใช้เวลาก็ตาม

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

แม้คาดการณ์ GDP จะได้รับผลกระทบมากในปีนี้ และการเติบโตมีแนวโน้มลดลงเหลือราว 3-4% แต่คาดว่า GDP จะเริ่มฟื้นตัวและเติบโตได้ราว 6% ในปี 2022 ด้านผลประกอบการ บจ. แม้จะเห็นการชะลอลงใน 3Q2021 แต่สถานะการลงทุนของต่างชาติยังไม่สูง และ Valuation ยังไม่แพง (PE เทรดอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 5 ปี) เมื่อเทียบตลาดอื่นในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ประกอบกับความเชื่อมั่นนักลงทุนรายย่อยที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจะเป็นแรงหนุนต่อตลาดในช่วงที่เหลือของปี

 

กองทุนแนะนำ 

  ​​

 

  • Principal Vietnam Equity Fund

กองทุนลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเอง และคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

 

ทองคำ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

ราคาทองคำมีแนวโน้มถูกกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และ Bond Yield ของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้น หลัง Fed ประกาศปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แม้ราคาทองคำจะปรับเพิ่มขึ้นในระยะสั้นตลาดจะยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อและปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็ตาม

 

น้ำมัน

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

น้ำมันได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากโควิด อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่สหรัฐฯ จะออกมาตรการเพื่อสกัดการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน หลังราคาเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา และกลุ่มโอเปกพลัสยังคงเพิ่มปริมาณการผลิตอยู่ที่ 4 แสนบาร์เรลต่อวันตามเดิม 

 

นอกจากนี้ติดตามการเจรจาระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตก เรื่องการปฏิบัติตามข้อตกลงนิวเคลียร์ 2015 (29 พฤศจิกายน) ซึ่งมีความเสี่ยงที่อิหร่านอาจจะกลับมาส่งออกน้ำมันอีกครั้ง

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4 

DM REITs มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการทยอยเปิดเมือง ตามความคืบหน้าการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะ REITs ที่เกี่ยวข้องกับ Re-opening Theme ที่มีโอกาสฟื้นตัวต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว เช่น กลุ่ม Residential, Retail, Office หลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด ประกอบกับพื้นฐานเดิมกลุ่ม Industrials, Cell Towers, Data Centers ที่ดี และผลประกอบการใน 3/64 ส่วนใหญ่ออกมาแข็งแกร่ง ทำให้ DM REITs น่าสนใจเข้าลงทุน

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  •  TMB Global Property Fund

กองทุน TMBGPROP ลงทุนในกองทุน Brookfield Global Listed Real Estate UCITS Fund โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างผลตอบแทนโดยรวมจากการเติบโตของมูลค่าสินทรัพย์และกระแสรายได้ โดยเน้นลงทุนในหน่วยทรัสต์ของทรัพย์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ทั่วโลก

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3 

REITs ไทยได้รับ Sentiment เชิงบวก จากการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน ส่งผลให้ Downside ค่อนข้างจำกัด แม้ผลประกอบการ REITs ไทยใน 3/64 ออกมาแย่กว่าคาด ด้าน REITs สิงคโปร์ แม้สิงคโปร์จะมีการฉีดวัคซีนในอัตราการที่สูง แต่นโยบายอยู่ร่วมกับโควิด และโครงการ Vaccinated Travel Lanes อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น เรามองว่า REITs สิงคโปร์มี Asset Quality ที่ดี แต่ช่วงสั้นยังมี Upside จำกัด

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 15 พ.ย. 2021

READ MORE



Latest Stories