THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
OCA
EXCLUSIVE CONTENT

‘พลังงาน’ พร้อมผลักดันพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา OCA เผยปลัดมอบกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหาแนวทางปรับใช้ประโยชน์ร่วมกันสองฝ่าย ภายใต้กรอบ MOU

... • 16 ต.ค. 2023

กระทรวงพลังงานหนุนรัฐบาลผลักดันพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา OCA ตามนโยบายเศรษฐา ปลัดพลังงานคนใหม่พร้อมรับเผือกร้อน ดูแลราคาพลังงานจากภาวะสงครามระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ลุยหาแหล่งพลังงานสำรองระยะยาว โดยมอบหมายกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหาแนวทางเจรจาแหล่งก๊าซ OCA ร่วมหน่วยงานหลัก ให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายภายใต้กรอบ MOU 2544

 

รายงานข่าวระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเจรจาหาข้อยุติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา Overlapping Claims Area (OCA) ว่า ประเด็นนี้เป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งกระทรวงพลังงานให้ความสำคัญ และควรจะต้องมีการปรับแนวทางการเจรจากันใหม่ ซึ่งจากที่ได้ดูข้อตกลงภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ปี 2544 มองว่าควรจะต้องมีการปรับแนวทาง ซึ่งจากนี้จะต้องทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ขณะที่ ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุว่า ภายหลังจากการเข้ารับตำแหน่งปลัด ถือว่าได้รับโจทย์ท้าทาย ทั้งการดูแลความมั่นคงทางด้านพลังงาน ลดภาระค่าไฟให้ถูกลง เกิดความเป็นธรรมและยั่งยืน

 

ส่วนวาระเร่งด่วนในขณะนี้คือการรับมือราคาพลังงานจากสงครามอิสราเอล-ฮามาส ที่ส่งผลให้ราคาพลังงานมีความผันผวนสูงถึง 3-4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือคิดเป็น 60-80 สตางค์ แต่สถานการณ์วันนี้ยังเป็นระดับที่รับได้ และได้หารือกับ ปตท. เพื่อวางแผนไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน ทั้งนี้ ถือว่าไทยไม่ได้รับผลกระทบทางตรงเพราะไม่ได้นำเข้าน้ำมันจากอิสราเอล จึงยังไม่น่ากังวลมากนัก และไทยยังมีปริมาณสต๊อกน้ำมันอยู่ได้ 2 เดือน หรือประมาณ 70 วัน และยังได้เตรียมกลไกกองทุนน้ำมันเพื่อดูแลหากเกิดกรณีฉุกเฉิน   

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

มอบกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหาแนวทางใช้ประโยชน์ OCA ร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระทรวงพลังงานมีหน้าที่จัดหาแหล่งพลังงานสำรอง และเพื่อความมั่นคงในระยะยาว ดังนั้น ภารกิจที่ต้องสานต่อยังคงเป็นประเด็นการหาข้อยุติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา Overlapping Claims Area (OCA) ซึ่งประเด็นนี้อยู่ในแผนงานเร่งด่วน และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล  

 

“ล่าสุดได้หารือกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ให้หาแนวทางไปหารือกับกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นหน่วยงานหลัก ว่าจะทำอย่างไรได้บ้างให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (MOU) ปี 2544 ซึ่งคาดว่าไม่จำเป็นต้องทำ MOU ใหม่ แต่อาจต้องเจรจาไปพร้อมกันทั้งประเด็นเรื่องเขตแดน และการใช้ประโยชน์ ใจความสำคัญคือ ทั้ง 2 เรื่องจะสามารถเจรจาไปพร้อมกันได้หรือไม่ หรือเป็นไปได้หรือไม่ว่าทั้งสองฝ่ายจะเจรจาบริหารจัดการพื้นที่ให้สามารถนำปิโตรเลียมมาใช้ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็นเขตแดน”

 

สราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ก่อนหน้านี้กรมได้นำเสนอข้อมูลการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ต่อ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ให้ทราบถึงแนวทางที่ผ่านมา และความคืบหน้าเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องระดับนโยบายที่ต้องขับเคลื่อนอยู่แล้ว ดังนั้นหลังจากนี้จะต้องหารือกับกระทรวงการต่างประเทศในแนวทางต่อไป 

 

“เราอาจต้องมา Explore ดูว่า หากผลักดันในแนวทางที่พอเป็นไปได้ โดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถพัฒนาร่วมกันได้หรือไม่ ในส่วนนี้จะพอมีรูปแบบอื่น วิธีอื่น ที่ทำได้หรือไม่ และให้อยู่ภายใต้กรอบ MOU 2544” สราวุธกล่าว

 

รายงานข่าวระบุว่า ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รายงานการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพัฒนาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนไทย-กัมพูชา (Overlapping Claims Area: OCA) พื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร โดยใช้โครงสร้างคณะกรรมการร่วม (Joint Committee: JC) ระหว่างไทย-กัมพูชา

 

รวมทั้งได้ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนทางการพัฒนาแหล่งพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนไทย-กัมพูชา โดยไทยมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลัก ขณะที่กระทรวงพลังงาน มีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติร่วมคณะทำงาน

 

กระทั่งล่าสุด การเร่งรัดเจรจาเพื่อให้ได้ข้อยุติในปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา ก็ถือเป็นนโยบายรัฐบาลที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภาในเดือนกันยายน 2566 และในวันที่ 28 กันยายน นายกรัฐมนตรีของไทยและคณะได้เดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ เป็นประเทศแรกในอาเซียน 

 

แม้ไม่มีวาระหยิบยกมาเจรจา แต่อาจเป็นไปได้ว่าหลังจากนี้อาจมีการฟื้นฟูการเจรจาเพื่อพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมแห่งนี้หรือไม่

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 16 ต.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories