- เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะภาคการผลิตฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตจากทางการจีนออกมาดีกว่าคาด และนับเป็นการฟื้นตัวขึ้นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี ขณะที่รัฐบาลจีนมีท่าทีจะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
- การฟื้นตัวดังกล่าวทำให้ความต้องการพลังงานรวมถึงน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลไตรมาส 4/2023 บ่งชี้ว่า ความต้องการน้ำมันทั่วโลกพุ่งสูงถึง 103.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าปริมาณการผลิตที่ 101.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นสู่ระดับ 90-95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งหากราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูงเช่นนี้ต่อเนื่อง 3 เดือน จะกดดันให้ธนาคารกลางอาจต้องคงดอกเบี้ยยาวนานขึ้น
- บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ แนะนำให้เก็งกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นทะลุ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และแนะนำให้ลงทุนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการผลิต (โดยเฉพาะจีน) และผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง โดยตลาดหุ้นฝั่ง DM อ่อนแอกว่าฝั่ง EM นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งถูกกดดันจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจชะลอเวลาการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายออกไป หลังตัวเลขเศรษฐกิจและการจ้างงานเดือนมีนาคมออกมาแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาดไว้ อาทิ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการจ้างงานภาคเอกชน (ADP) ทำให้ประธาน Fed และเจ้าหน้าที่ Fed หลายรายส่งสัญญาณจะยังไม่รีบลดดอกเบี้ย อีกทั้งยังมีแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหลังปรับขึ้นแรงช่วงก่อนหน้านี้
ขณะที่ตลาดหุ้นฝั่ง EM ได้แรงหนุนจากดัชนี PMI ภาคการผลิตจากทางการจีนออกมาดีกว่าคาด และนับเป็นการฟื้นตัวขึ้นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี อีกทั้งยังมีความคาดหวังจากท่าทีของรัฐบาลจีนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ส่วนตลาดหุ้นไทยทรงตัวด้วยวอลุ่มซื้อขายที่เบาบางหลังไร้ปัจจัยหนุนใหม่ โดยนักลงทุนอยู่ระหว่างรอผลประชุมนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และบอร์ดดิจิทัลชุดใหญ่ในวันที่ 10 เมษายนนี้ อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มพลังงานได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น โดยน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้นทะลุ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งจากนี้คงต้องจับตาผลกระทบการปรับขึ้นแรงของราคาน้ำมันว่าจะมีต่อเงินเฟ้อทั่วโลกเพียงใด
เรามองว่าภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกในภาพรวมเป็นไปตามธีมเศรษฐกิจของเราในระดับหนึ่ง กล่าวคือ ภาคการผลิตเริ่มพลิกฟื้นขึ้น แต่ภาคบริการเริ่มชะลอลงในลักษณะ Soft Landing โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่ ISM Service มีทิศทางชะลอลง ตามการบริโภคและเงินเฟ้อ Core PCE ที่ชะลอลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ภาคการผลิตโลกเริ่มฟื้นตัวตามวัฏจักรการผลิตที่เริ่มกลับมาเป็นขาขึ้น เห็นได้จากดัชนี PMI ภาคการผลิตของประเทศสำคัญ เช่น จีน ที่พลิกฟื้นขึ้น โดยเฉพาะ PMI ของทางการที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของการที่จีนผลิตหรือส่งออกได้มากขึ้นเป็นเพราะการลดต้นทุนการผลิตด้วยเช่นกัน
ภาคการผลิตโลกที่ฟื้นตัวขึ้นทำให้ความต้องการพลังงานรวมถึงน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลไตรมาส 4/2023 บ่งชี้ว่า ความต้องการน้ำมันทั่วโลกพุ่งสูงถึง 103.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าปริมาณการผลิตที่ 101.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นสู่ระดับ 90-95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปัจจุบัน
“ซึ่งในมุมมองของเรา หากราคายังยืนอยู่ในระดับนี้ต่อเนื่องเกิน 3 เดือน จะเริ่มทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะกดดันให้ธนาคารกลางอาจต้องคงดอกเบี้ยยาวนานขึ้น และ/หรือเริ่มส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าด้วยปริมาณการผลิตของ OPEC ที่ลดลง (ล่าสุดอยู่ที่ 26.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ทำให้ OPEC โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อทำให้ราคามีเสถียรภาพได้หากจำเป็น”
กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย
1. หุ้นเก็งกำไรหลังราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นทะลุ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แนะนำ Trading PTTEP และ TOP อย่างไรก็ดี หากราคาน้ำมันปรับขึ้นเกิน 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แนะนำให้ ‘ทยอยขายทำกำไร’
2. หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการผลิต (โดยเฉพาะจีน) และผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เลือก GFPT, KCE, SCGP และ IVL
3. หุ้นที่ได้อานิสงส์บวกจากธุรกิจท่องเที่ยวไทยที่จะดีขึ้นตามผลฤดูกาล เนื่องจากกำลังเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ไทย ซึ่งในปีนี้รัฐบาลประกาศจัด 21 วัน เริ่มวันที่ 1-21 เมษายนนี้ (ข้อมูลในอดีต 13 ปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวมักจะให้ผลตอบแทนที่ดีในเดือนเมษายน เฉลี่ยราว 2.50%MoM) เลือก AOT, ERW, MINT และ CPALL
4. หุ้นเก็งกำไรจากภาวะดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะอยู่ในช่วงขาลง เลือกกลุ่มไฟแนนซ์ (TIDLOR) กลุ่มสาธารณูปโภค (GULF)
“ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสฟื้นตัว จากความคาดหวังเชิงบวกต่อ
แนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลายประเทศ รวมทั้งการฟื้น
ตัวของเศรษฐกิจและภาคการผลิตของจีนและสหรัฐฯ ขณะที่ในประเทศติดตามผล
การประชุมนโยบายการเงินของ กนง. และการประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่
ในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งหากมีมติปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย และ/หรือได้ข้อสรุปแจก
เงินดิจิทัลที่ชัดเจนขึ้น คาดว่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้”
เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้
1. อัตราเงินเฟ้อ (CPI) สหรัฐฯ ตลาดคาด 3.30% จาก 3.20% ในเดือนกุมภาพันธ์
2. การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินไทย ตลาดคาดคงดอกเบี้ยที่ 2.50% เราคาดว่าเป็นไปได้ที่จะลงไปที่ 2.25%
3. เงินเฟ้อจีน ตลาดคาด 1.20% จาก 0.70% ในเดือนกุมภาพันธ์
4. การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตลาดคาดคงดอกเบี้ยที่ 4%
หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CPALL - เติบโตรับสงกรานต์และอากาศร้อน
แนะนำ บมจ.ซีพี ออลล์ หรือ CPALL เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้
- เป็นผู้นำธุรกิจร้านค้าปลีก-ค้าส่งในไทย ซึ่งมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง อีกทั้งยังสามารถอยู่รอดและเติบโตได้ดีภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัว
- 1Q2024 คาดกำไรยังเติบโตแข็งแกร่ง YoY แรงหนุนจากยอดขายและมาร์จิ้นของธุรกิจ CVS ที่ดีขึ้น และส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นจาก CPAXT (ดอกเบี้ยจ่ายลดลงหลังรีไฟแนนซ์หนี้เสร็จในช่วงปลายเดือนมกราคม) แต่จะลดลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล
- ช่วงสั้นมองได้อานิสงส์บวกจากภาวะอากาศร้อนจัด และการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นให้ยอดขายเติบโตมากขึ้น อีกทั้ง Valuation น่าสนใจ โดยราคาหุ้น CPALL ยังต่ำกว่าก่อนเกิดโควิด-19 อยู่ 25% ซึ่งมองว่ายังไม่สะท้อนกำไรปี 2024 ที่คาดว่าจะเติบโตแข็งแกร่งราว 17%YoY
- เราประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 75 บาท อิงวิธี DCF (WACC 7% และอัตราเติบโตระยะยาว 2.50%) และมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2023 หุ้นละ 1 บาท คิดเป็น Dividend Yield ราวปีละ 1.80% (ขึ้นเครื่องหมาย XD 7 พฤษภาคม 2024)
ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก
ถึงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง แต่ประธาน Fed มองว่ายังไม่ส่งผลต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยตามแผนในปีนี้มากนัก ทั้งนี้ เรามองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรมากกว่าผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยล่าช้าหลังตลาดปรับความคาดหวังไปแล้วระดับหนึ่ง ซึ่งภาพนี้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีในระยะถัดไป
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดที่ออกมายังคงแกร่ง โดย 1. เงินเฟ้อล่าสุดออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ แต่ไม่ได้เปลี่ยนภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ และ 2. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของสหรัฐฯ (ISM) เพิ่มขึ้น 2.5 จุดในเดือนมีนาคม สู่ระดับ 50.3 หลังจากหดตัวติดต่อกัน 16 เดือน
- ขณะเดียวกัน เจอโรม พาวเวลล์ มองว่าแนวโน้มการลดดอกเบี้ยยังคงมีอยู่ แม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะแกร่ง แต่ภาพรวมไม่ได้เปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ ในทิศทางเดียวกัน คณะกรรมการ Fed สองท่านมองว่าจะลดดอกเบี้ยในปีนี้ 3 ครั้งตามแผน ซึ่งสวนทางกับที่ตลาดคาดว่า Fed จะลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่า 3 ครั้ง
- ขณะที่เรามองว่า 1. ท่าทีของประธาน Fed ออกไปในทิศทางที่ Dovish รวมถึงมองว่า Fed พร้อมที่จะลดดอกเบี้ยหลังแนวโน้มเงินเฟ้อปรับตัวลง โดยเราคาดว่า Fed จะลดดอกเบี้ยใน 2H2024 ซึ่งจะสนับสนุนภาพตลาดได้ และ 2. ภาพของเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมีน้ำหนักมากกว่าแนวโน้มการลดดอกเบี้ย ทั้งนี้ เพราะเรามองว่าตลาดปรับความคาดหวังในการลดดอกเบี้ยช้ามาแล้วระดับหนึ่ง ที่สำคัญ เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวตัวส่งผลต่อแนวโน้มกำไรมากกว่าแนวโน้มดอกเบี้ยที่ลดช้ากว่าที่คาด ซึ่งในภาพรวมเรามองเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะถัดไป
มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO
สภาพคล่อง / เงินสด
ความน่าสนใจระดับ 3
สภาพคล่องหรือเงินสดมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่สูง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ นอกจากนี้ สภาพคล่องยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางที่ยังมีอยู่ หลังอิหร่านประกาศว่าจะตอบโต้กับการที่อิสราเอลโจมตีสถานกงสุลอิหร่านในกรุงดามัสกัสของซีเรีย
พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ
ความน่าสนใจระดับ 4
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้น 303,000 สูงกว่าตลาดคาดที่ระดับ 205,000 ยิ่งเป็นการตอกย้ำภาพ ‘Higher for Longer’ ทำให้ Yield ระยะยาวน่าจะยืนอยู่ระดับที่สูงอีกสักระยะ ทั้งนี้ เราชอบ Carry Trade ใน Treasuries ระยะสั้น โดยเฉพาะระยะ 1-3 ปี จาก Carry Yield ที่สูงกว่าตัวยาว จากภาวะ Inverted Yield Curve ส่วน TGB Yield ไม่ได้ปรับตัวขึ้นตาม UST โดย Curve ยังคงเป็นภาพของ Flattening
หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ
ความน่าสนใจระดับ 3
US IG Spread ยังทรงตัวในระดับต่ำมาก (บ่งชี้ถึงระดับราคาที่แพง) แต่ Yield to Worst ยังยืนอยู่ระดับ 5.28-5.48% ซึ่งดึงดูดให้บริษัทประกันชีวิตและกองทุนบำเหน็จบำนาญเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และสัดส่วนการลงทุนบน IG ของนักลงทุนต่างชาติยังเพิ่มขึ้น ส่วน Interest Coverage Ratio ทรงตัวในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 และตัวเลขหลังประกาศงบ 4Q2023 บ่งชี้ถึง Balance Sheet ที่ยังแข็งแกร่งในกลุ่ม IG Issuers
OAS Spread ตึงตัวขึ้นมาก แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขาลงช่วยลดแรงกดดันต่อกระแสเงินสด และลดความตึงตัวในงบดุลของกิจการ ทำให้ราคาสินทรัพย์มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ในระยะสั้น แต่ Valuation ที่ตึงตัวจะเพิ่มความเสี่ยงที่ราคาจะผันผวนในระยะกลาง ทั้งนี้ แม้ Default Rate จะยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว แต่กำหนดการครบกำหนดชำระหนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วปลายปี 2024 และจะเร่งตัวตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ความน่าสนใจระดับ 3
การปรับตัวขึ้นของหุ้นสหรัฐฯ เริ่มกระจายตัวไปยัง Sector Energy และ Industrial จากราคาพลังงานที่ปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และ ISM Manufacturing ที่เข้าสู่ระดับขยายตัว ส่วน Position ของนักลงทุนเริ่มมีความระมัดระวังต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดย Position ของ Nasdaq Futures เข้าสู่ Zone Net Short และ Valuation (NTM P/E = 21.2x) เทียบคาดการณ์ EPS Growth ยังดูไม่คุ้มความเสี่ยง (10.60%YoY สิ้นปี 2024)
ตลาดหุ้นยุโรป
ความน่าสนใจระดับ 3
Consensus คาด STOXX 600 EPS ปี 2024 จะขยายตัว 6.60%YoY ขณะที่ Valuation ยังไม่แพง และมีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก ECB ที่มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยภายในปีนี้ (ตลาดคาดว่า ECB จะลดดอกเบี้ยรวมราว 90 bp ในช่วงที่เหลือของปีนี้) แม้ว่าความไม่แน่นอนด้านนโยบายจากการเลือกตั้งในยุโรปและในอังกฤษยังคงมีอยู่ก็ตาม
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ความน่าสนใจระดับ 2
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาทำให้ Valuation ตึงตัวมากขึ้น ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มทยอยลดการผ่อนคลายทางการเงิน ส่วนการคลังยังมีโอกาสเข้าแทรกแซงเงินเยนให้แข็งค่าขึ้นเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ การที่ BOJ ยุติการเข้าซื้อ ETF จะเพิ่มความกังวลแก่นักลงทุนเกี่ยวกับแนวโน้มที่ BOJ จะทยอยขาย ETF ออกมา
ตลาดหุ้นจีน A-Share
ความน่าสนใจระดับ 3
เราคาดว่าทางการจีนอาจยังไม่รีบเร่งออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมอย่างมีนัย แต่มีแนวโน้มเน้นกระตุ้นเฉพาะจุด เช่น ล่าสุดธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศปรับปรุงกฎสินเชื่อรถยนต์เพื่อหวังกระตุ้นอุปสงค์ในตลาดรถยนต์ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ยังดำเนินต่อ โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคง อาจจำกัดการเพิ่มขึ้นต่อของดัชนีฯ
ตลาดหุ้นจีน H-Share
ความน่าสนใจระดับ 3
ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจาก EPS ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น และจากแนวโน้มการออกมาตรการหนุนผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (การประกาศเพิ่มซื้อหุ้นคืน และเพิ่มอัตราปันผล) ขณะที่ Valuation ที่ยังน่าสนใจ จึงทำให้ความเสี่ยงขาลงมีจำกัด อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาททางเทคโนโลยีที่ยังมีอยู่จะจำกัด Upside ของดัชนีฯ
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้
ความน่าสนใจระดับ 4
ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนตามแนวโน้มการส่งออกที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งจะช่วยหนุนผลประกอบการธุรกิจในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่คิดเป็นน้ำหนัก 39% บนดัชนีฯ แม้ในระยะสั้นดัชนีฯ อาจเผชิญความผันผวนในช่วงการเลือกทั่วไป (10 เมษายน 2024) ที่อาจส่งผลถึงความไม่แน่นอนบนการผลักดันนโยบาย Corporate Value Up รวมถึง Sentiment เชิงลบในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ จากแผ่นดินไหวในไต้หวัน
ตลาดหุ้นไทย
ความน่าสนใจระดับ 4
ดัชนีฯ มีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบเพื่อรอปัจจัยใหม่เข้ามาหนุน โดยนักลงทุนยังคงติดตามผลการประชุม กนง. ในวันที่ 10 เมษายนนี้เกี่ยวกับมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจ และการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย หากมุมมองออกมาในเชิงบวกและอยู่ในโทนผ่อนคลาย เราคาดว่าจะเห็นเม็ดเงินไหลกลับเข้าตลาดหุ้นไทย นอกจากนี้ ดัชนีฯ ยังได้รับแรงหนุนจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และ Valuation ที่ไม่แพง
ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ความน่าสนใจระดับ 3
ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับปัจจัยกดดันจาก 1. ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมเร่งตัวขึ้นและสูงกว่าตลาดคาด ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนกังวลต่อดอกเบี้ยที่อาจอยู่สูงเป็นเวลานาน ซึ่งจะกดดันภาคการบริโภค และ 2. ค่าเงินรูเปียห์ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากภาคการส่งออกที่หดตัวลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มธนาคารและภาคการก่อสร้างยังได้ปัจจัยหนุนจากการเติบโตของสินเชื่อที่แข็งแกร่ง และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
ตลาดหุ้นอินเดีย
ความน่าสนใจระดับ 2
ตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี แต่ Valuation แพงเมื่อเทียบกับอดีตและเทียบกับตลาดอื่นในภูมิภาค โดย MSCI India มี NTM P/E อยู่ที่ระดับ 22.4 เท่า (+1.7 sd.) และแพงกว่า MSCI Asia X Japan 69% (ค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 50%) เทียบกับคาดการณ์ EPS Growth 2024E/2025E ที่ระดับ 15-16% ทั้งนี้ ดัชนีฯ อาจเผชิญความผันผวนในช่วงเวลาเลือกตั้ง (19 เมษายน - 1 มิถุนายน) แนะนำรอหาจังหวะเข้าสะสมหลังการเลือกตั้งผ่านพ้นไป
ตลาดหุ้นเวียดนาม
ความน่าสนใจระดับ 4
ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุน โดยเฉพาะจากภาคการส่งออกที่ฟื้นตัว (+14.20%YoY ในเดือนมีนาคม) ขณะที่ FDI ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยพบว่าในช่วง 1Q2024 เพิ่มขึ้น +13.40%YoY อย่างไรก็ตาม จับตาความเสี่ยงบนการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ที่กระจุกตัวค่อนข้างมากใน 2Q2024 นอกจากนี้ ดัชนีฯ อาจเผชิญความผันผวนในระยะสั้นบนราคาที่ปรับขึ้นมาเร็ว (+12%YTD) ท่ามกลางการซื้อขายบนมาร์จิ้นโดยนักลงทุนรายย่อยที่เพิ่มขึ้น
น้ำมัน
ความน่าสนใจระดับ 3
อุปสงค์น้ำมันในจีนช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์เติบโต YoY แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับระดับใน 2H2023 โดยอุปสงค์หลักยังเป็นการสะสมน้ำมันสำรองคงคลังของรัฐบาลจีน อุปทานของ US Shale Oil เริ่มทรงตัว โดยหลุม Permian ซึ่งเป็นหลุมหลัก มีอุปทานที่ลดลง 39,945 บาร์เรลต่อวันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อผนวกกับการ Cut Run ของกลุ่ม OPEC+ เราคาดว่าจะเห็นอุปทานตึงตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่ Driving Season ของสหรัฐฯ และยุโรป
ทองคำ
ความน่าสนใจระดับ 3
การเติบโตทางเศรษฐกิจในรายงาน SEP ของ FOMC ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก อาจทำให้การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายและการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐถูกเลื่อนออกไปหรือช้ากว่าที่ก่อนหน้านี้คาดไว้ กดดันต่อราคาทองคำในระยะสั้น เราแนะนำให้ถือทองคำในฐานะสินทรัพย์ในการกระจายความเสี่ยง และไว้ป้องกันความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่คาดว่าจะสูงขึ้นในปีนี้ รวมทั้งจะมีการเลือกตั้งในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ
REITs ประเทศพัฒนาแล้ว
ความน่าสนใจระดับ 3
ภาพรวม US REITs มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยมี Occupancy Rate ที่ดี และแนวโน้มค่าเช่าที่ปรับตัวขึ้นในช่วง 4Q2023 โดยเฉพาะภาค Residential ที่ได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยในการกู้บ้านที่ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม US REITs มี Dividend Yield Spread ที่แคบ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี จึงยังคงไม่น่าสนใจลงทุน
REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)
ความน่าสนใจระดับ 3
REITs สิงคโปร์มีความน่าสนใจจากการกระจายสินทรัพย์ลงทุนในกองทุนที่สูง และมี Occupancy Rate ที่ดี กอปรกับแนวโน้มค่าเช่ามีโอกาสปรับตัวขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น ทางด้าน REITs ไทยยังมีสภาพคล่องในการซื้อขายต่ำ และมีการกระจุกตัวของสินทรัพย์ลงทุนสูง สำหรับ Sector ที่น่าสนใจ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวและการบริโภคในประเทศที่เติบโตดี เช่น ภาคโรงแรม และภาคการค้าปลีก
Private Asset
ความน่าสนใจระดับ 3
เรามีมุมมองต่อ Private Credit เป็น Slightly Positive จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหน้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)
มีมุมมองบน Private Equity เป็น Neutral อัตราดอกเบี้ยที่ผ่านจุดสูงสุดและมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้แรงกดดันด้าน Discount Rate ที่มีต่อ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ลดลง
ขณะที่มีมุมมองต่อ Private Real Estate เป็น Slightly Negative เนื่องจากหลายกองทุนยังมีการบังคับใช้การระงับการไถ่ถอนกองทุนอยู่