- เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่หดตัว 0.3% ในไตรมาสแรกของปี 2025 ผลจากการนำเข้าที่พุ่งสูงถึง 8.6% ก่อนการบังคับใช้ภาษีนำเข้าของทรัมป์
- ผลหลักจากการเร่งนำเข้าของสหรัฐฯ ทำให้ในระยะต่อไปเราจะเห็นการค้าโลกจะหดตัวแรงขึ้น
- เศรษฐกิจจีนในปี 2025 มีโอกาสที่จะต่ำกว่า 4% และอาจเกิดการเลิกจ้างงานในภาคการผลิตที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ประมาณ 10-20 ล้านตำแหน่ง
- สำหรับเศรษฐกิจไทย การลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สะท้อนถึงความกังวลต่อผลกระทบรุนแรงจากนโยบายการค้าโลก อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยในครั้งนี้อาจไม่เพียงพอหากสถานการณ์ทางการค้าทวีความรุนแรงขึ้น จึงประเมินว่า กนง. จะลดดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 2 ครั้งในปีนี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว ความผันผวนเริ่มลดลง ในทิศทางเดียวกับ VIX สถานการณ์สงครามการค้าทิศทางยังอยู่ในช่วงของการผ่อนคลายลงต่อเนื่อง ทำให้ตลาดกลับมาให้น้ำหนักกับผลประกอบการที่ทยอยประกาศออกมาเพิ่มมากขึ้น โดยหุ้นกลุ่มเทคฯ ขนาดใหญ่รายงานผลประกอบการออกมาดีกว่าคาด
ด้านการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับอินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้มีความคืบหน้าชัดเจนขึ้น นอกจากนั้นรัฐบาลสหรัฐผ่อนปรนภาษีนำเข้าบางรายการ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ช่วยคลายความกังวลด้านซัพพลายเชน
อย่างไรก็ตาม GDP สหรัฐฯ 1Q25 หดตัว -0.3% จากการเร่งนำเข้าสินค้าก่อนมาตรการขึ้นภาษีของรัฐบาลทรัมป์ โดยการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากส่งผลลบต่อ GDP ถึง -5.03%
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกนลดลงสู่ระดับ 52.2 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2022 ปัจจัยดังกล่าวทำให้ตลาดยังคงมุมมอง Fed จะลดดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้
ตลาดหุ้น EM ปรับขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในวันศุกร์ หลังจีนเริ่มส่งสัญญาณอาจเข้าสู่การเจรจา แม้ PMI ภาคการผลิตของทางการจีนจะลดลงสู่ระดับ 49.0 ในเดือนเม.ย. ต่ำสุดนับตั้งแต่ ธ.ค. 2023 สะท้อนถึงการหดตัวของภาคการผลิตจากผลของมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ
ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นดีในทิศทางเดียวกับภูมิภาค และความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของ กนง. ซึ่งมีมติลดดอกเบี้ยตามคาด
ราคาน้ำมันลดลงต่อเนื่อง กดดันจากข้อเรียกร้องของสมาชิก OPEC+ จะเร่งเพิ่มการผลิตขึ้นอีกในเดือน มิ.ย. และซาอุฯ ที่ปฏิเสธที่จะลดอุปทานน้ำมันแม้ราคาน้ำมันจะดิ่งลง อีกทั้งยังมีความกังวลด้านอุปสงค์กดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
เศรษฐกิจจีนในปี 2025 มีโอกาสที่จะต่ำกว่า 4%
บล.อินโนเวสท์ วิเคราะห์เราวิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่หดตัว 0.3% ในไตรมาสแรกของปี 2025 ผลจากการนำเข้าที่พุ่งสูงถึง 8.6% ก่อนการบังคับใช้ภาษีนำเข้าของทรัมป์ และการบริโภคสินค้าคงทนที่ลดลง 1.9% ซึ่งส่งผลลบต่อ GDP (Contribution) ถึงเกือบ 5% (p.p.)
ผลหลักจากการเร่งนำเข้า ทั้งนี้ ในระยะต่อไป เราจะเห็นการค้าโลกจะหดตัวแรงขึ้น เห็นได้จาก
1. การจองเรือขนส่งจากจีนลดลง 60%
2. ปริมาณการนำเข้าที่ท่าเรือ LA ลดลง 35%
3. WTO คาดการค้าโลกจะหดตัว 0.2% ในปี2025
4. การขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.62 แสนล้านดอลลาร์ในเดือน มี.ค. บ่งชี้การนำเข้าเพื่อกักตุนสินค้า
เรามองว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต รวมถึงดัชนีคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกจีนที่หดตัวรุนแรง ทำให้เศรษฐกิจจีนเสี่ยงมากขึ้น โดยหากรัฐบาลไม่ออกมาตรการเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ประกาศไปในต้นเดือน มี.ค. และ/หรือไม่ลดค่าเงินหยวนเพื่อช่วยภาคส่งออก เศรษฐกิจจีนในปี 2025 มีโอกาสที่จะต่ำกว่า 4% และอาจเกิดการเลิกจ้างงานในภาคการผลิตที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ประมาณ 10-20 ล้านตำแหน่ง และทำให้อัตราการว่างงานกลับมาเพิ่มสูงขึ้น กระทบกับการใช้จ่ายและวิกฤตเงินฝืดเป็นวงกว้างได้
สำหรับเศรษฐกิจไทย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า การลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สะท้อนถึงความกังวลของ กนง. ต่อผลกระทบรุนแรงจากนโยบายการค้าโลก อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยในครั้งนี้อาจไม่เพียงพอหากสถานการณ์ทางการค้าทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ เราประเมินว่า กนง. จะลดดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 2 ครั้งในปีนี้ โดยเฉพาะหากข้อมูลเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาในช่วงครึ่งปีหลังยืนยันแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ หรือหากสงครามการค้าทวีความรุนแรงและเข้าใกล้ฉากทัศน์ทางเลือก
กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย
1. หุ้น Earning Play ซึ่งโมเมนตัมกำไรยังเติบโตแข็งแกร่ง โดย 1Q68-2Q68 คาดกำไรปกติจะเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ เลือก ADVANC TRUE BTG CPF CPALL
2. หุ้น Undervalued สำหรับลงทุน แนะ-นำ GULF MTC CBG SPRC
3. หุ้นที่คาดเป็นเป้าหมาย ThaiESGX สำหรับ SET50 ที่น่าสนใจ ได้แก่ ADVANC BBL BDMS CPALL PTT ส่วนหุ้น SET100 ที่น่าสนใจ ได้แก่ BCH BTG
4. หุ้น Undervalued สำหรับลงทุน แนะ-นำ BJC CPF AP HMPRO OR
5. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและต้องการเก็งกำไร แนะนำ 1. หุ้นที่คาดได้อานิสงส์บวกหาก กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แนะนำ กลุ่ม REITs (DIF), กลุ่มค้าปลีก (CPALL) กลุ่มอสังหาฯ (AP SIRI), กลุ่มเช่าซื้อ (MTC TIDLOR) และกลุ่มไฟฟ้า (GULF GPSC) และ 2. หุ้นปลอดภัยที่คาดต้านทานความเสี่ยงจากสงครามการค้าหากมีสัญญาณรุนแรงหรือยืดเยื้อมากขึ้น แนะนำ BCH
“ประเมิน SET Index มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความคาดหวังเชิงบวกที่มีต่อ 1. กนง. จะมีมติปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 25bps และ 2. ปธน. ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐจะมีท่าทีผ่อนคลายลงเกี่ยวกับมาตรการภาษีนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะจากจีน อีกทั้งยังมีความคืบหน้าการเจรจาการค้าอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี ความไม่ชัดเจนของนโยบายภาษีของสหรัฐที่มีต่อเศรษฐกิจโลก อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นที่มีต่อแนวโน้มการเติบโตของผลประกอบการในช่วง 2Q68 ส่งผลให้บรรยากาศลงทุนจะยังเป็นไปอย่างระมัดระวังและทำให้ SET ปรับขึ้นได้จำกัด” ทีมวิจัย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ ระบุ
สัปดาห์นี้ต้องติดตาม
1. การประชุมนโยบายการเงินของ FOMC (7 พ.ค.) และ BoE (8 พ.ค.)
2. การประชุมร่วมของประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC+ เพื่อพิจารณาแผนการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบใน มิ.ย. (5 พ.ค.)
3. อัตราเงินเฟ้อของไทยเดือน เม.ย. (7 พ.ค.) และการเข้าสู่ช่วงการรายงานผลประกอบการ 1Q25 ของ บจ. ไทย
หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: OR - 1Q25 คาดกำไรเติบโตทั้ง QoQ, YoY
แนะนำ บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้
- เป็นบริษัทแกนนำของกลุ่ม PTT ในการดำเนินธุรกิจการตลาดค้าปลีกน้ำมัน โดยมีส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีกน้ำมันสูงสุดในไทยราว 39% ทั้งนี้ธุรกิจหลักสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจ Mobility (68% ของ EBITDA), ธุรกิจ Lifestyle (27% ของ EBITDA) และธุรกิจ Global (5-7%ของ EBITDA)
- 1Q25 คาดกำไรสุทธิจะอยู่ที่ 4.2 พันลบ. เติบโต 38.7%QoQ และ 11.7%YoY แรงหนุนจากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งมากขึ้นในกลุ่มธุรกิจ Mobility (จากกำไรขั้นต้น/ลิตรที่สูงขึ้น) และกลุ่มธุรกิจ Lifestyle (จากผลขาดทุนในธุรกิจ F&B ลดลง หลังจากถอนการลงทุนในธุรกิจที่ไม่ทำกำไรในปีก่อนไปแล้ว)
- มองมีโมเมนตัมกำไรแข็งแกร่ง โดยปี 2025 คาดกำไรปกติเติบโตเด่น 57%YoY ขณะที่ปัจจุบันซื้อขายที่ PER 25F เพียง 14.6 เท่า ซึ่งคิดเป็น -2SD ของค่าเฉลี่ยในอดีต และน่าจะเป็นเป้าหมายกองทุน ThaiESGX หลังมี SETESG rating “AAA”
- เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 16.40 บาท อิงวิธี EV/EBITDA 8.4 เท่า และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2025 หุ้นละ 0.45 บาท คิดเป็น Div. Yield 3%
ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก
ภาพรวมประเด็นสำคัญของงบ 1Q25 คือ 1) CAPEX ในกลุ่มเทคฯใหญ่ที่ยังคงอยู่ในระดับเดิมและไม่น่ากังวลเหมือนกับที่ตลาดคาด โดยทั้ง MSFT GOOGL META ยังยืนยัน CAPEX FY25 ในระดับสูง 2) งบดีกว่าคาดจาก AI พัฒนาเข้ากับบริการและสินค้า รวมถึงหลายบริษัท Monetization AI ได้ดี 3) มีการเปิดตัวสินค้า AI ใหม่ทั้ง META และ GOOGL 4) ประเด็นTariff ที่เราประเมินว่า AMZN AAPL TSLA ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อสินค้าและบริการ ขณะที่ MSFT และ GOOGL ดูเหมือนมีผลกระทบทางอ้อมและจำกัดกว่ากลุ่มแรก 5) กลยุทธ์การลงทุนใน Mag 7 ตอนนี้เราแนะเป็นการเก็งกำไรในช่วงระยะเวลา 1 เดือน มากกว่าหลังมองระยะกลาง-ยาว กลุ่มนี้ยังมีความเสี่ยง Systematic Risk ที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ เช่น Tariff 6) ระยะสั้นมองสามารถเก็งกำไรบน MSFT META GOOGL จากแนวโน้มงบที่ดีและอุปสงค์ AI หลีกเลี่ยง AMZN AAPL TSLA
ขณะที่รายละเอียดงบรายตัวมีดังนี้
- Microsoft (MSFT) งบมีแรงหนุนจากการ Monetization AI และพัฒนา AI เข้ากับธุรกิจ ทำให้ทุกกลุ่มโตดี โดยเฉพาะคลาวด์ที่โต 20% หลัง Azure +35%เนื่องจากมีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นและนับเป็นการโตจาก AI Service ราว 16%
- Alphabet (GOOGL) งบโตโดยมีแรงหนุนจาก Ads และ Subscription ที่โต นอกจากนี้ OPM และ Hedging Gain โตดีกว่าคาดมากและเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนสำคัญ ขณะที่ยืนยันแผนการลงทุน AI ในปี 25
- Amazon (AMZN) งบมีแรงหนุนจากการคุมต้นทุนที่ดีทำให้กำไรเด่น +64% อย่างไรก็ดีหุ้นปรับตัวลง ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นผลจาก 1) กลุ่มคลาวด์โตต่ำกว่าคาดและโตช้าสุดในรอบ 5 ไตรมาสที่ผ่านมา โดย AWS มีรายได้ +16.9% ซึ่งต่ำกว่าคาดและน้อยกว่าการเติบโตของ MSFT 2) ความกังวลภาษี Tariff และ
- Deminimis ที่จะส่งผลต่อกลุ่มคอมเมิร์ซ 3) ให้แนวโน้มกำไรต่ำกว่าคาด
- Apple (AAPL) งบโตหนุนจากรายได้ Product ที่ดีกว่าคาด อย่างไรก็ดีตลาดตอบสนองเชิงลบต่อ 1) มาร์จิ้นของผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่าคาดซึ่งอาจเป็นผลจากแรงกดดันต้นทุนและความพยายามในการกระจายห่วงโซ่อุปทาน 2) รายได้จากจีนชะลอตัวผลจากการแข่งขันในจีน 3) ความกังวลในการพัฒนา AI ที่ช้า 4) ผลกระทบจากภาษีที่บริษัทคาดส่งผลต่อช่วง 3Q25 ที่ราว $900mn
- Meta Platforms (META) งบมีแรงหนุนจากรายได้ Ads และ EBIT ใน Family of Apps ที่เติบโตดี ซึ่งช่วยชดเชยส่วน Reality Labs ที่ยังคงขาดทุนได้ ด้านคาดการณ์รายได้เป็นไปตามคาดและมีการเพิ่มระดับ CAPEX AI รวมถึงปรับลดคาดการณ์ค่าใช้จ่าย
- Tesla (TSLA) งบอ่อนแอหลังยอดส่งมอบลดลงกดดันจากการแข่งขันและอุปสงค์ชะลอตัว นอกจากนี้ถอนคาดการณ์ทั้งปีหลังยังไม่สามารถประเมินผลกระทบจากปัจจัยภายนอกได้ แต่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นซึ่งเรามองว่าเป็นความคาดหวังเชิงบวกต่อ Elon Musk ที่จะลดบทบาทการทำงาน DOGE ลงมากกว่า
มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO
เงินสด / สภาพคล่อง
สินทรัพย์สภาพคล่อง มีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังสูง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่ เช่น ข้อพิพาทในช่องแคบไต้หวัน ความขัดแย้งภายในตะวันออกกลาง และสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมทั้ง ข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐฯ-คู่ค้าที่ยังดำเนินต่อ แม้ล่าสุด จีนระบุว่า กำลังพิจารณาข้อเสนอจากสหรัฐฯ เพื่อเปิดเจรจาเกี่ยวกับภาษีนำเข้าของประธานาธิบดี Trump ก็ตาม
ตราสารหนี้ / เงินฝากระยะยาว
เราคาดว่า UST yield ตัวยาว ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขาดดุลการคลังสหรัฐฯ ที่ยังน่ากังวล และความเสี่ยงเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ยังหนืด รวมทั้ง ได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ลดลง หลังแบบจำลองคาดการณ์ GDPNow โดย Fed สาขา Atlanta ชี้ว่า GDP ใน 2Q2568 จะเติบโต +1.1% จากที่ -0.3%% ใน 2Q2568ดังนั้น เราจึงยังคงแนะนำลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้นถึงกลาง ที่มีความเสี่ยง duration ต่ำ
U.S. Treasury & IG
เราคาด UST Yield ตัวยาว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากผลกระทบของนโยบายการกีดกันการค้าของ Trump ที่เพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อสหรัฐฯ ผ่านต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น และปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เราแนะนำลงทุน UST และ US IG bond โดยเน้นลงทุน duration ระยะสั้นถึงกลาง ที่ยังให้ yield สูง และช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ต แม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ ล่าสุด ที่ดีกว่าตลาดคาด อาจทำให้ Fed ไม่เร่งรีบในการลดดอกเบี้ย ก็ตาม
High Yield Bond
ความไม่แน่นอนของผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้าต่างๆ จะเพิ่มความเสี่ยงที่ US HY default rate และ HY spread จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับ UST Yield ตัวยาว ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความเสี่ยงเงินเฟ้อที่ยังหนืด และปัญหาการขาดดุลการคลังของสหรัฐฯ ที่ยังน่ากังวล อาจจำกัด upside ของ US HY แม้ว่า ตัวเลข leverage (Net debt to EBITDA) และ liquidity (Cash to Assets) ของ US HY ยังไม่ได้น่ากังวล รวมทั้ง หุ้นกู้ US HY ที่จะครบกำหนดในปี 2568 ไม่ได้สูงมากนัก ก็ตาม
สินทรัพย์ผสมกึ่งหนี้กึ่งทุนและ REITs
REITs เป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงินให้กับ Portfolio ได้ ทั้งในระยะกลางถึงระยะยาว และเป็นการเพิ่มการกระจายความเสี่ยงให้กับ Portfolio จากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ / สินทรัพย์ผสม (Ready Mixed - Asset Allocation) ช่วยกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง
US REITs
เรามองว่า การลงทุนใน US REITs จะช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน ท่ามกลางสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยภาพรวมปัจจัยพื้นฐานที่ดี ได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่ง โดย US REIT มี Occupancy Rate ที่อยู่ในระดับสูงราว 93% และ กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NOI) ที่เติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม US REITs อาจได้รับปัจจัยกดดันในระยะสั้น จากมาตรการภาษีของ Trump ซึ่งกดดันภาค Industrial และ Retail กอปรกับ 10y UST Yield ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น
Private Credit *สำหรับนักลงทุน Ultra High Networth เท่านั้น
เรายังมีมุมมองเป็นบวกต่อ Private Credit Asset จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลงต่ออย่างจำกัด ตามที่ Fed ยังมีท่าทีระมัดระวังบนความเสี่ยงเงินเฟ้อที่ยังหนืด ขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังเติบโตได้ แม้ว่า โมเมนตัมเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะ soft data ชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี เรายังเน้นการลงทุนใน Private credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหน้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (first lien seniority)
หุ้นไทย
ช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยได้รับปัจจัยหนุนจาก 1) กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps. อยู่ที่ 1.75% 2) ความหวังการคลี่คลายลงของสงครามการค้า และ 3) การเปิดซื้อขายกองทุน Thai ESGX ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค. สร้าง Sentiment เชิงบวก ขณะที่ Valuation เริ่มแพงเมื่อเทียบกับ peer มูดี้ส์ปรับมุมมองเครดิตไทยเป็นลบ และ ดัชนีฯ ยังขาดปัจจัยหนุนใหม่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เราคาดว่า ในระยะกลาง-ยาว ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งกระทรวงการคลังคาดว่าจะมีวงเงินรวม 5 แสนล้านบาท และ แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของกนง.ในปีนี้ อีก 2 ครั้ง ซึ่งจะช่วยหนุน EPS ของหุ้นขนาดใหญ่ รวมทั้ง ความคืบหน้าของการเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ
หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว
แม้ความไม่แน่นอนของผลกระทบจากสงครามการค้า อาจกดดันแนวโน้ม EPS หุ้นสหรัฐฯ แต่การที่สหรัฐฯ อาจบรรลุข้อตกลงการค้ากับอินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อาจช่วยหนุน sentiment ในหุ้นสหรัฐฯ ส่วนหุ้นยุโรป ได้รับผลกระทบจาก Reciprocal Tariff เช่นกัน ซึ่งเราคาดว่า EU จะตอบโต้กลับอย่างระมัดระวัง ขณะที่ เศรษฐกิจยุโรปยังได้แรงหนุนจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ ECB และแนวโน้มการใช้จ่ายด้านการทหารกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในเยอรมนี ด้านหุ้นญี่ปุ่น มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากการเติบโตของค่าจ้าง การปฏิรูปบรรษัทภิบาล และ BoJ ที่ระมัดระวังในการขึ้นดอกเบี้ย แม้ความไม่แน่นอนของผลกระทบจากสงครามการค้า อาจกระทบโมเมนตัม EPS ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ก็ตาม
หุ้นสหรัฐฯ
เรามองว่า ความไม่แน่นอนสงครามการค้าที่ยังมีอยู่ มีแนวโน้มทำให้ตลาดทยอยปรับลดคาดการณ์ EPS ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทั้งปีลง ขณะที่การฟื้นตัวที่ต่อเนื่องของตลาดฯ จะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้าต่างๆ รวมถึงจีน ซึ่งล่าสุด ทางจีนกำลังประเมินความเป็นไปได้ในการเริ่มเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ นอกจากนี้ เรามอง กำไรบจ.สหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มเติบโต และกระจายตัวเป็นวงกว้าง โดยได้อานิสงส์จากกระแส AI ในสหรัฐฯ และการผ่อนคลายกฎระเบียบ ควบคู่กับ แผนกระตุ้นทางการคลัง
หุ้นยุโรป
ความคืบหน้าบนการต่อรองทางการค้าที่ EU เตรียมเสนอต่อสหรัฐฯในสัปดาห์นี้ ที่รวมถึงการ เพิ่มการลงทุนของ EU ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเป็นปัจจัยส่งเสริมดัชนีฯในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเงินเฟ้อเบื้องต้นที่สูงกว่าตลาดคาด อาจส่งผลให้ ECB ชะลอการลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย. 2568 อย่างไรก็ดี แผนเพิ่มการขาดดุลการคลัง เพื่อเพิ่มงบป้องกันประเทศ และ การจัดตั้งกองทุน เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตลอด 10 ปี ของรัฐบาลเยอรมนี มีแนวโน้มส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ และ sentiment การลงทุนในระยะยาว โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคาร ผ่านการเติบโตของสินเชื่อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ valuation ปัจจุบันของดัชนีฯ อยู่ในระดับที่น่าสนใจเทียบกับดัชนีฯหุ้นสหรัฐฯ
หุ้นญี่ปุ่น
แม้การที่บจ.ญี่ปุ่นมีแนวโน้มให้ EPS guidance ที่ระมัดระวังขึ้น ในช่วงการรายงานงบฯ แต่เราคาด ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจาก 1) การปฏิรูปบรรษัทภิบาลในญี่ปุ่นที่ยังดำเนินต่อ 2) เงินเฟ้อญี่ปุ่นที่กลับมา สอดรับกับการเติบโตของค่าจ้าง 3) เงินเยนที่มีแนวโน้มชะลอการแข็งค่า หลัง BoJ มีแนวโน้มไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย และ 3) ญี่ปุ่นมีแนวโน้มเร่งเจรจากับสหรัฐฯ โดยล่าสุดทั้งสองฝ่ายจะจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรีในช่วงกลางเดือน พ.ค. หรือหลังจากนั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกันโดยเร็วที่สุด
หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่
แม้ Trump ได้เลื่อนการขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้เต็มรูปแบบออกไปอีก 90 วัน แต่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ในเอเชีย มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าที่ยังมีอยู่ ผ่านการค้า และการลงทุน ที่มีแนวโน้มชะลอลง อย่างไรก็ดี เราคาด จะเริ่มเห็นหลายประเทศในเอเชีย เช่น อินเดีย และ เกาหลีใต้ รีบเร่งเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งเราคาดว่า จะมีความคืบหน้า รวมทั้ง ยังคาด ทางการของประเทศต่างๆ ในเอเชีย มีแนวโน้มออกมาตรการกระตุ้นต่าง เพื่อลดทอนผลกระทบทางลบจากความไม่แน่นอนทางการค้า
หุ้นอินเดีย
ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก ความเชื่อมั่นนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากความคืบหน้าบนการเจรจาทางการค้าล่าสุดกับสหรัฐฯ ขณะที่บจ. รายงานผลประกอบการ 4QFY2568 ที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ดัชนีฯ มีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ยังคงต้องจับตามองบนสถานการณ์ระหว่างอินเดียและปากีสถาน โดยตลาดหุ้นอินเดียมีแนวโน้มได้รับปัจจัยสนับสนุนระยะยาว จาก 1) แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ RBI บนประมาณการเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าเป้า 4% 2) อินเดียส่งออกไปสหรัฐฯ มีสัดส่วนน้อย 2% ของ GDP และ 3) หุ้นกลุ่ม consumers ที่มีสัดส่วนราว 20% ของดัชนี Nifty50 มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากบริโภคในประเทศท่ามกลางสงครามการค้าโลก
หุ้นจีน
แม้ตลาดหุ้นจีน A-share มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากผลกระทบของกำแพงภาษีนำเข้าที่สูงของสหรัฐฯ แต่เราคาด ทางการจีนมีแนวโน้มทยอยออกมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภค ในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อจำกัดความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจ ประกอบกับ เราคาดหวังว่า ท้ายที่สุด จีนและสหรัฐฯ จะลดท่าทีที่แข็งกร้าวทางการค้าต่อกันลง โดยล่าสุด กระทรวงพาณิชย์จีน ระบุว่า สหรัฐฯ แสดงความตั้งใจที่จะเจรจาเกี่ยวกับภาษีนำเข้าอยู่หลายครั้ง และจีนเองก็ยังเปิดประตูรับการเจรจาเช่นกัน
สินค้าโภคภัณฑ์
ทองคำมีแนวโน้มได้รับปัจจัยหนุนจาก ความไม่แน่นอนจากสงครามทางการค้า รวมทั้งความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลกที่ยังมีอยู่ 2) ความกังวลต่อหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูง สนับสนุนการถือครองทองคำ ในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ โดย PBoC ได้ซื้อทองคำในเดือน มี.ค. เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน 3) ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตลงทุนได้ดี เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และ 4) Fund Flow ของ ETF ที่ซื้อสุทธิทองคำ 4 เดือนติดต่อกัน โดยเดือน มี.ค.ซื้อสุทธิ 92 ตัน อย่างไรก็ตาม 10Y UST Yield ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น และ แรงขายทำกำไร หลังเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้าต่างๆ รวมถึงจีน คืบหน้ามากขึ้น อาจกดดันทองคำในระยะสั้น
ภาพ: Shutterstock AI Generator