Market – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 27 Apr 2024 05:18:22 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 SCBAM คาดหุ้น Big Tech ระยะสั้นเสี่ยงปรับฐาน เห็นความผันผวน หลังราคาทะยานแรงต่อเนื่อง https://thestandard.co/scbam-expects-big-tech-stocks-in-the-short-term/ Sat, 27 Apr 2024 05:18:22 +0000 https://thestandard.co/?p=927370

บลจ.ไทยพาณิชย์ คาดกำไร บจ. เป็นปัจจัยสำคัญกำหนดทิศทางตล […]

The post SCBAM คาดหุ้น Big Tech ระยะสั้นเสี่ยงปรับฐาน เห็นความผันผวน หลังราคาทะยานแรงต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>

บลจ.ไทยพาณิชย์ คาดกำไร บจ. เป็นปัจจัยสำคัญกำหนดทิศทางตลาดหุ้นโลกในระยะกลางและระยะยาว หลังหลายตลาดหุ้นใหญ่ทยอยประกาศกำไรออกมาดีกว่าที่คาด พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนรับมือหุ้น Big Tech ปรับฐาน

 

สิทธา เซ่งไพเราะ Associate Director, ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ หรือ SCBAM ให้สัมภาษณ์ในรายการ Morning Wealth ว่า ประเมินว่าในปี 2024 ตลาดหุ้นโลกจะสามารถฟื้นตัวได้ไกลแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) โดยกำไรจะเป็นตัวบ่งชี้ทิศทางตลาดหุ้นในระยะกลางและระยะยาวได้

 

ดังนั้นต้องจับตาการประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส 1 ปี 2024 ที่เริ่มมีการทยอยประกาศผลการดำเนินงานออกมาในหลายตลาดหุ้นสำคัญ ทั้งตลาดหุ้นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ พบว่าผลประกอบการออกมาดีกว่าที่คาดทั้งยอดขายและกำไร โดยเฉพาะกำไรที่ดีกว่าคาดอย่างมาก

 

โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นรายงานงบการเงิน บจ. ไตรมาส 1 ปี 2024 ออกมาสัดส่วน 11% ของทั้งหมด ขณะที่ตลาดหุ้นเกาหลีใต้รายงานงบออกมาแล้วสัดส่วน 6% ของทั้งหมด แต่ถือว่ายังมีสัดส่วนไม่มากพอที่จะสะท้อนภาพรวมได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงแนวโน้มในอนาคตได้

 

Big Tech กำไรแกร่ง

 

อย่างไรก็ดี ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มเห็นแนวที่ชัดเจนขึ้น โดยบริษัทใน S&P 500 ที่ปัจจุบันรายงานงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2024 ออกมาแล้วสัดส่วน 43% ของทั้งหมด โดยข้อมูลภาพรวมของยอดขายและกำไรยังมีการเติบโตที่ดีกว่าคาด โดยมีกำไรออกมาสร้างเซอร์ไพรส์ ซึ่งมีกำไรเติบโตมากกว่าที่คาดไว้เฉลี่ยประมาณ 10%

 

ขณะที่กลุ่มหุ้น 7 นางฟ้า หรือ Magnificent 7 ได้แก่ Nvidia, Tesla, Microsoft, Apple, Amazon, Meta และ Alphabet ที่เริ่มทยอยรายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2024 ออกมาแล้ว 4 บริษัท มีเพียง Tesla บริษัทเดียวที่รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2024 ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้ ซึ่งมาจากผลกระทบของภาพการแข่งขันที่มีความรุนแรง

 

อีกทั้งข้อมูลงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2024 ที่ออกมาของ 3 บริษัท ได้แก่ Meta, Microsoft และ Alphabet ที่ประกาศออกมาได้ส่งสัญญาณว่ากระแสของ AI ยังมีความแข็งแกร่งต่อเนื่องในปีนี้ รวมถึง Meta ที่มีรายได้จากโฆษณาทางออนไลน์ มีการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2023 ต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ปี 2024 ขณะที่ Meta ยังมีแผนเพิ่มงบลงทุนใน AI Infrastructure อย่างต่อเนื่อง

 

ส่วน Microsoft กับ Alphabet มีทิศทางที่คล้ายกับ Meta ซึ่งแม้จะลงทุนด้าน AI ไปค่อนข้างมากแล้วในปี 2024 แต่ก็มีแนวโน้มที่จะลงทุนเพิ่มใน AI ต่อเนื่องในปีนี้ โดยในปี 2024 Microsoft มีแผนที่ใช้งบลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนา (R&D) เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 9-10% ด้าน AI 

 

ในปี 2023 หุ้น Big Tech ถือเป็นกลุ่มที่ราคาหุ้นผลักดันดัชนีขึ้นมา ขณะที่กำไรของหุ้นกลุ่ม Big Tech โดยตัด Tesla ออก เพราะมีผลประกอบการที่ออกมาไม่ดีนัก ทำให้กำไรของกลุ่ม Big Tech ของ 6 บริษัทยังเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง และมีภาพการเติบโตที่โดดเด่นกว่าภาพรวมของตลาดหุ้นอย่างชัดเจน

 

กลยุทธ์รับมือหุ้น Tech ปรับฐาน

 

ขณะที่มองในระยะถัดไปตั้งแต่ไตรมาส 2-4 ปี 2024 หุ้น Big Tech โดยเฉพาะ Big 6 ประเมินว่ายังมีแนวโน้มการเติบโตของกำไร แต่อยู่ในอัตราที่ลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ประเมินว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ จะเริ่มมีผลประกอบการที่ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น 

 

ดังนั้นธีมการลงทุนระยะสั้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีคำแนะนำให้ลงทุนในหุ้น Big Tech อยู่ในพอร์ต แต่แนะนำให้เริ่มทยอยลดสัดส่วนการลงทุนลงบ้าง โดยให้ขายทำกำไร (Take Profit) ช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงให้กระจายเงินลงทุนเข้าไปในหุ้นกลุ่มอื่นๆ ใน S&P 500 ในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

ทั้งนี้ มีมุมมองว่าภาพระยะสั้นทิศทางของหุ้นกลุ่ม Big Tech ยังอยู่ในช่วงการปรับฐาน แต่ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากในช่วงไตรมาส 4 ปี 2023 ต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ปี 2024 ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรง ซึ่งจากข้อมูลสถิติในอดีตจะต้องมีการปรับฐานบ้างเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องของการ Healthy Correction มากกว่า จึงยังไม่ใช่การเข้าสู่ภาวะ Bear Market ดังนั้นภาพระยะสั้นอาจเห็นความผันผวนได้ แต่ถือเป็นจังหวะในการทยอยเข้าสะสมการลงทุนในช่วงราคาปรับตัว โดยเฉพาะธีมหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก AI ที่กระแสยังดีต่อเนื่องในปีนี้

The post SCBAM คาดหุ้น Big Tech ระยะสั้นเสี่ยงปรับฐาน เห็นความผันผวน หลังราคาทะยานแรงต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ทำไมวัย 20 คือช่วงที่ดีที่สุดในการลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.1 https://thestandard.co/new-gen-investor-ep-1/ Sat, 27 Apr 2024 03:00:17 +0000 https://thestandard.co/?p=927257 ลงทุน วัย 20

ทำไมทุกคนควรเริ่มลงทุนตั้งแต่วัย 20?   ในความเป็นจ […]

The post ชมคลิป: ทำไมวัย 20 คือช่วงที่ดีที่สุดในการลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.1 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลงทุน วัย 20

ทำไมทุกคนควรเริ่มลงทุนตั้งแต่วัย 20?

 

ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุน ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งได้เปรียบ แม้หลายคนอาจจะยังไม่ได้มีเงินทุนมากมาย แต่การลงทุนเป็นเรื่องของทักษะที่สามารถพัฒนาผ่านประสบการณ์และการฝึกฝน

 

และที่สำคัญคือ ‘พลังของดอกเบี้ยทบต้น’ ที่จะช่วยให้เงินของเรางอกเงยอย่างก้าวกระโดด หากเรามีวิธีการที่ถูกต้อง New Gen Investor Ep.นี้ อยากพาทุกคนเข้าสู่โลกของการลงทุน ทักษะสุดสำคัญที่หลายคนอาจจะลืมนึกถึง

 

หรือแม้แต่ใครก็ตามที่ก้าวเข้ามาแล้ว แต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก และกำลังมองหาแนวทางที่จะเติบโตอย่างมั่นคง

The post ชมคลิป: ทำไมวัย 20 คือช่วงที่ดีที่สุดในการลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.1 appeared first on THE STANDARD.

]]>
BEM – ปัจจัยบวกอาจมาเร็วกว่าที่คาดไว้ https://thestandard.co/market-focus-bem-13/ Fri, 26 Apr 2024 13:42:48 +0000 https://thestandard.co/?p=927253

เกิดอะไรขึ้น:   ราคาหุ้น BEM ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 3.1 […]

The post BEM – ปัจจัยบวกอาจมาเร็วกว่าที่คาดไว้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

ราคาหุ้น BEM ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 3.1%YTD Outperform SET อยู่ 6.7% InnovestX Research เชื่อว่าราคาหุ้น BEM จะปรับตัว Outperform ตลาดได้อย่างต่อเนื่องในระยะ 3 เดือนข้างหน้า โดยได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยกระตุ้นเชิงบวกหลายปัจจัย: 

 

ปัจจัยกระตุ้น 1: คาดกำไร 1Q67 เติบโตดี YoY โดยคาดว่า BEM จะรายงานกำไรสุทธิ 1Q67 ที่ 830 ล้านบาท ลดลง 3.5%QoQ แต่เพิ่มขึ้น 10.7%YoY รายได้จากธุรกิจทางด่วน รถไฟฟ้า และการพัฒนาพาณิชยกรรมยังคงเติบโตทั้งจากไตรมาสก่อนหน้าและจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้สำหรับธุรกิจรถไฟฟ้า คาดว่าจะส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อการเติบโตของกำไร โดยต้นทุนที่ต่ำสำหรับธุรกิจรถไฟฟ้าใน 4Q66 เป็นผลมาจากการปรับต้นทุนครั้งเดียว ใน 1Q67 การจราจรทางด่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.12 ล้านเที่ยวต่อวัน ลดลง 0.4%YoY 

 

ในขณะที่การเติบโตของการคาดการณ์ทั้งปีอยู่ที่ 2.2% สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 430.4 พันเที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้น 12.9%YoY ในขณะที่การเติบโตของการคาดการณ์ทั้งปีอยู่ที่ 15% หากกำไรสุทธิที่คาดการณ์ใน 1Q67 นี้ถูกต้องจะคิดเป็น 19.3% ของการคาดการณ์ทั้งปี ผลการดำเนินงานจะประกาศในวันที่ 14 พฤษภาคม

 

ปัจจัยกระตุ้น 2: โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกอาจจะได้ข้อสรุปใน 2Q67 ก่อนหน้านี้คาดการณ์ไว้ว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกน่าจะได้ข้อสรุปใน 3Q67 พัฒนาการล่าสุดคือ ศาลปกครองสูงสุดได้เริ่มการพิจารณาคดีครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน และน่าจะได้เห็นคำตัดสินสุดท้ายหลังจากนี้ราว 1-2 เดือน 

 

เมื่ออิงกับคดีฟ้องร้อง 2 คดีก่อนหน้านี้และคำตัดสินของศาลปกครองกลางในคดีนี้ที่ตัดสินให้ รฟม. เป็นผู้ชนะ ซึ่งจะส่งผลดีต่อ BEM จึงมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ศาลปกครองสูงสุดน่าจะตัดสินให้ รฟม. เป็นผู้ชนะด้วยเช่นกัน และจะนำไปสู่การเซ็นสัญญาโครงการนี้ 

 

ซึ่งประเมินได้ว่าโครงการนี้จะเพิ่ม Upside ให้กับราคาเป้าหมายของ BEM ได้อีก 1.5 บาทต่อหุ้น ในกรณีเลวร้ายที่สุดที่การตัดสินล่าช้า คาดว่าจะมีผลกระทบต่อราคาหุ้นค่อนข้างจำกัด เนื่องจากราคาหุ้นปัจจุบันยังไม่ได้สะท้อน Upside จากโครงการนี้

 

ปัจจัยกระตุ้น 3: โครงการ Double Deck น่าจะเห็นความชัดเจนเร็วกว่าคาด อ้างอิงจากข่าวล่าสุดในหนังสือพิมพ์ รฟม. คาดว่าโครงการ Double Deck น่าจะเห็นความชัดเจนในเดือนมิถุนายน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การปรับลดค่าผ่านทางและการขยายสัมปทานทางด่วน อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบต่อราคาเป้าหมายในตอนนี้ได้เนื่องจากมีข้อมูลจำกัด ขณะที่เชื่อว่าโครงการนี้จะสร้าง NPV เป็นบวกให้กับบริษัท หากไม่เป็นเช่นนั้นบริษัทจะต้องชี้แจงเหตุผลกับผู้ถือหุ้น

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น BEM ปรับขึ้น 1.23% สู่ระดับ 8.20 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 0.60% สู่ระดับ 1,364.27 จุด 

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ

 

InnovestX Research ยังคงคำแนะนำ tactical call สำหรับ BEM ไว้ที่ Outperform โดยให้ราคาเป้าหมายอ้างอิงวิธี SOTP ที่ 9 บาทต่อหุ้น (8.3 บาทต่อหุ้น จากธุรกิจหลัก และ 0.7 บาทต่อหุ้นจากเงินลงทุนใน TTW และ CKP) ซึ่งราคาเป้าหมายยังไม่รวม Upside อีก 1.5 บาทต่อหุ้น จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก แม้เล็งเห็น Downside เล็กน้อยต่อประมาณการปี 2567 หลักๆ เกิดจากปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนใน 1Q67 ที่ต่ำกว่าคาด แต่ยังคงมุมมองเชิงบวก เนื่องจากปัจจัยบวกกระตุ้นเชิงบวกที่จะทยอยเข้ามาน่าจะมาชดเชยในส่วนนี้ได้ 

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ การฟื้นตัวของปริมาณผู้ใช้ทางด่วนที่ค่อนข้างช้าใน 1Q24 ความเสี่ยง ESG ที่สำคัญสำหรับ BEM คือความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้ทางด่วนและผู้โดยสาร MRT

The post BEM – ปัจจัยบวกอาจมาเร็วกว่าที่คาดไว้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
11 แบงก์ไทย ทำกำไรรวม 6.4 หมื่นล้านบาท โต 4.5% ในไตรมาส 1/67 https://thestandard.co/thai-banks-profit-q1-2024/ Fri, 26 Apr 2024 11:45:08 +0000 https://thestandard.co/?p=927220 Thai commercial bank

แบงก์พาณิชย์ไทย กำไรโตต่อเนื่อง หลังจากปี 2566 มีกำไรรว […]

The post 11 แบงก์ไทย ทำกำไรรวม 6.4 หมื่นล้านบาท โต 4.5% ในไตรมาส 1/67 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Thai commercial bank

แบงก์พาณิชย์ไทย กำไรโตต่อเนื่อง หลังจากปี 2566 มีกำไรรวม 2.38 แสนล้านบาท เติบโตจากปี 2565 ที่มีกำไรรวม 2.05 แสนล้านบาท สำหรับไตรมาสแรกของปีนี้ แบงก์ทั้ง 11 แห่งมีกำไรสุทธิรวม 63,961 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.50% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทั้ง 11 แบงก์มีรายได้จากการดำเนินงานรวม 2.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.50% จากปีก่อน 

 

โดยกสิกรไทยมีกำไรสูงสุดในไตรมาสแรกที่ 1.34 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.50% ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินทรัพย์รวม (NPL) ของแต่ละแบงก์อยู่ระหว่าง 2.27-4.20% โดยแบงก์ที่มี NPL ต่ำสุดคือ TISCO ส่วนไทยเครดิตเป็นแบงก์ที่มี NPL สูงสุด 4.2%

 

The post 11 แบงก์ไทย ทำกำไรรวม 6.4 หมื่นล้านบาท โต 4.5% ในไตรมาส 1/67 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รื้อเกณฑ์ครั้งใหญ่ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-ลากหุ้น’ https://thestandard.co/bot-revamp-criterion/ Fri, 26 Apr 2024 02:20:39 +0000 https://thestandard.co/?p=926853 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ท่ามกลางความผันผวนของภาวะตลาดหุ้นโลก ซึ่งส่งผลต่อมายังต […]

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ รื้อเกณฑ์ครั้งใหญ่ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-ลากหุ้น’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ท่ามกลางความผันผวนของภาวะตลาดหุ้นโลก ซึ่งส่งผลต่อมายังตลาดหุ้นไทย รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ลดลงของนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยในภาวะที่ตลาดซบเซา และปัญหาบางส่วนที่เกิดขึ้นในตลาดทุน นำมาสู่การยกระดับการกำกับดูแลครั้งใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมในหลายมิติ

 

จากการแถลงล่าสุดของ รองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกฎหมายและหัวหน้ากลุ่มงานเลขานุการองค์กรและกำกับองค์กร ในฐานะโฆษกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ระบุถึงเป้าหมายของการปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ว่า ต้องการยกระดับความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนผ่านมาตรการ 3 กลุ่ม ได้แก่

 

  1. การลดความผันผวนที่ผิดปกติของราคาหลักทรัพย์ 
  2. การกำกับดูแลพฤติกรรมซื้อ-ขายที่ไม่เหมาะสม
  3. การเพิ่มความคุ้มครองผู้ลงทุน 

 

สำหรับกลุ่มแรก หนึ่งในมาตรการสำคัญที่จะช่วยให้ความผันผวนในตลาดลดลงคือ การปรับเกณฑ์การขาย Short หุ้น โดยจะเปลี่ยนจาก Zero Plus Tick Rule มาเป็น Uptick Rule หมายความว่า นักลงทุนที่จะทำการขาย Short หุ้นต้องใช้ราคาที่สูงกว่าราคาซื้อ-ขายครั้งสุดท้าย แทนที่เกณฑ์เดิมที่นักลงทุนสามารถขาย Short ได้ที่ราคาเท่ากับหรือสูงกว่า 

 

นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมที่จะปรับเงื่อนไขของหุ้นที่สามารถขาย Short ได้ ที่อยู่นอก SET100 จะต้องมีมาร์เก็ตแคปไม่ต่ำกว่า 7,500 ล้านบาท และมีปริมาณซื้อ-ขายหมุนเวียน (Turnover Ratio) เฉลี่ย 12 เดือนไม่ต่ำกว่า 2% โดยเกณฑ์เหล่านี้คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ช่วงปลายไตรมาสที่ 2

 

ขณะเดียวกันตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังอยู่ระหว่างการจัดให้มี Central Platform เพื่อให้สมาชิกใช้ตรวจสอบ Availability ของหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนก่อนขาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด Naked Short, การเพิ่ม Circuit Breaker ในหุ้นรายตัว ซึ่งอยู่ระหว่างการกำหนดรายละเอียด รวมทั้งการยกระดับมาตรการกำกับการซื้อ-ขายในหุ้นที่มีความร้อนแรงสูง โดยกำหนดวิธีการซื้อ-ขายแบบ Auction สำหรับหุ้นที่อยู่ในมาตรการกำกับการซื้อ-ขายระดับ 2 

 

ส่วนกลุ่มที่ 2 มาตรการที่จะปรับนั้นครอบคลุมหลายส่วน เช่น เพิ่มการสั่งพักการซื้อ-ขายอัตโนมัติ (Auto Halt) สำหรับหุ้นรายตัว, การกำหนดเวลาขั้นต่ำของคำสั่งก่อนที่จะสามารถยกเลิก / แก้ไข คำสั่งได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใส่และถอนคำสั่งเข้าออกที่ถี่จนเกินไป รวมทั้งการให้สมาชิกและลูกค้าที่เทรดแบบ High Frequency Trading (PT ที่สร้างและส่งคำสั่งซื้อ-ขายที่ SET Co-location) ต้องยื่นคำขอและ Filing ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลผู้ลงทุนที่ส่งคำสั่งไม่เหมาะสมแก่สมาชิกทุกราย และมีระบบกลางในการคัดกรองคำสั่งซื้อ-ขายที่ไม่เหมาะสม 

 

ส่วนกลุ่มที่ 3 สิ่งที่ดำเนินการไปแล้วคือการเปิดเผยรายงานสถานะ Short ที่คงค้างอยู่ของหุ้นแต่ละตัวเป็นรายวัน นอกจากนี้จะปรับเพิ่มบทระวางโทษสมาชิกที่ทำผิดให้สูงขึ้น 3 เท่า และเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลการถือ NVDR สูงสุด 10 รายแรก และผู้ถือตั้งแต่ 0.5%

 

ภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) มองว่า การปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของการปรับมาใช้ Uptick Rule สำหรับหุ้นทุกตัวเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย และจะช่วยให้ความผันผวนในตลาดหุ้นไทยลดลง โดยเฉพาะในทิศทางขาลง 

 

ผลกระทบที่จะเห็นได้ชัดคือ การขาย Short เพื่อเก็งกำไรระหว่างวันจะทำได้ยากขึ้น ทำให้นักลงทุนที่ใช้กลยุทธ์การขาย Short เป็นหลักน่าจะได้รับผลกระทบ 

 

“โดยภาพรวมเชื่อว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อย น่าจะฟื้นตัวดีขึ้น และการเพิ่มเกณฑ์มูลค่าหุ้นขั้นต่ำที่ขาย Short ได้เป็นไม่ต่ำกว่า 7,500 ล้านบาทจะทำให้หุ้นขนาดเล็กมีความเสี่ยงลดลง”

 

ในมุมของตลาดหลักทรัพย์ฯ รองรักษ์กล่าวว่า มาตรการต่างๆ ที่จะออกมานี้เพื่อที่จะยกระดับการกำกับดูแลและเพิ่มความเชื่อมั่น (Trust & Confidence) ให้แก่ผู้ลงทุน

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ รื้อเกณฑ์ครั้งใหญ่ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-ลากหุ้น’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
AP – พรีวิว 1Q67: คาดกำไรลดลง YoY และ QoQ https://thestandard.co/market-focus-ap-1q67/ Thu, 25 Apr 2024 13:51:05 +0000 https://thestandard.co/?p=926822

เกิดอะไรขึ้น:   InnovestX Research ได้จัดทำบทวิเคร […]

The post AP – พรีวิว 1Q67: คาดกำไรลดลง YoY และ QoQ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

InnovestX Research ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 1Q67 ของ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) (AP) ซึ่งคาดว่าจะรายงานผลประกอบการวันที่ 7 พฤษภาคม 2567

 

โดยประเมินกำไรสุทธิ 1Q67 ได้ที่ 1.02 พันล้านบาท (ลดลง 30.9%YoY และลดลง 23.5%QoQ) เพราะได้รับแรงกดดันจากรายได้รวมที่ลดลง 19.6%YoY และ 18.5%QoQ สู่ 7.56 พันล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากโครงการแนวราบ 93% และคอนโด 7% โดยที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่โครงการ Aspire Erawan Prime อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับความต้องการซื้อจากลูกค้าต่างชาติกลุ่มใหม่ 

 

อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะอยู่ที่ 36.1% อ่อนตัวลงเล็กน้อยจาก 36.6% ใน 1Q66 และ 36.5% ใน 4Q66 ส่วนแบ่งกำไรจาก JV คาดว่าจะลดลง 45.4%YoY และ 38.3%QoQ สู่ 130 ล้านบาท จากการโอน Backlog คอนโดจาก JV ลดลง

 

ทั้งนี้ เปิดตัวโครงการแนวราบเพียง 4 โครงการ มูลค่ารวม 5.1 พันล้านบาท AP จึงรายงานยอด Presales ใน 1Q67 ที่ 9.67 พันล้านบาท (ลดลง 12%YoY และ 40%QoQ) คิดเป็น 18% ของเป้ายอด Presales ปี 2567 ของบริษัทที่ 5.7 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 11%) สัดส่วนยอด Presales จากโครงการแนวราบอยู่ที่ 70% (มูลค่าลดลง 17%YoY และ QoQ) และอีก 30% เกิดจากคอนโด (มูลค่าเพิ่มขึ้น 2%YoY แต่ลดลง 63%QoQ) 

 

ขณะที่เชื่อว่ายอด Presales ใน 2Q67 จะเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ โดยได้รับการสนับสนุนจากแผนเปิดตัวโครงการใหม่รวม 22 โครงการ (แนวราบ 18 โครงการ และคอนโด 4 โครงการ) มูลค่า 2.7 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 48% ของมูลค่าโครงการใหม่ทั้งหมดที่วางแผนเปิดตัวในปี 2567 ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท (ลดลง 24%)

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น AP ปรับขึ้น 3.96% สู่ระดับ 10.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 1.44% สู่ระดับ 1,361.10 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2567:

 

หลังการประกาศผลประกอบการ 1Q67 คาดว่า AP จะมี Backlog มูลค่า 3.6-3.7 หมื่นล้านบาท โดย 60% จะรับรู้เป็นรายได้ในปี 2567 และที่เหลือจะรับรู้เป็นรายได้ในปี 2568-2569 ดังนั้นจึงคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 ไว้ที่ 6.3 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4.8%) ทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้ง โดยอิงกับรายได้ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 10.5%) 

 

ส่วนกำไร 2Q67 น่าจะเพิ่มขึ้น QoQ โดยได้รับการสนับสนุนจากคอนโดใหม่ที่จะเริ่มโอน: Life Rama 4 – Asoke (มูลค่าโครงการ 6.3 พันล้านบาท ทำอัตราการขายได้ 39%) และการโอนอย่างต่อเนื่องที่โครงการ Aspire Ratchayothin แต่จะลดลง YoY จากฐานสูง AP จะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหา เนื่องจากสินค้าคงคลังมูลค่า 5.0 หมื่นล้านบาท มีราคาไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อหน่วย 

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ: ยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ AP โดยให้ราคาเป้าหมายปี 2567 ที่ 15 บาทต่อหุ้น อ้างอิง P/E เฉลี่ย 10 ปีที่ 7.4 เท่า (+0.25SD) แม้ประเมินได้ว่ากำไรสุทธิ 1Q67 จะลดลง YoY และ QoQ เพราะได้รับแรงกดดันจากรายได้ที่ลดลง แต่คาดว่ากำไร 2Q67 จะฟื้นตัว โดยได้รับการสนับสนุนจาก Backlog ที่แข็งแกร่ง และประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหา ดังนั้นจึงคงมุมมองเชิงบวก โดยคาดว่ากำไรจะทำจุดสูงสุดใหม่ในปี 2567 

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย แม้ว่ามาตรการกระตุ้นอสังหาด้วยการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองจะมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 

 

ความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ: ในการพัฒนาโครงการ AP ยื่นขอ EIA (การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ทั้งโครงการแนวราบและคอนโด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม AP วางแผนมุ่งเน้นลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการแนวราบเพิ่มโดยใช้พลังงานสีเขียว (พลังงานแสงอาทิตย์) ให้มากขึ้น และบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

The post AP – พรีวิว 1Q67: คาดกำไรลดลง YoY และ QoQ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่งงบไตรมาสแรกของหุ้นเทคเบื้องต้น กลุ่มอิง AI สัญญาณดี หลังคู่ค้า NVIDIA พลิกมีกำไร ส่วน Meta เร่งเพิ่มการลงทุน https://thestandard.co/tech-stock-ai-nvidia-meta/ Thu, 25 Apr 2024 11:35:31 +0000 https://thestandard.co/?p=926756 AI

ในช่วงเดือนเมษายนนี้ นับว่าเป็นช่วงเวลาการประกาศผลประกอ […]

The post ส่งงบไตรมาสแรกของหุ้นเทคเบื้องต้น กลุ่มอิง AI สัญญาณดี หลังคู่ค้า NVIDIA พลิกมีกำไร ส่วน Meta เร่งเพิ่มการลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
AI

ในช่วงเดือนเมษายนนี้ นับว่าเป็นช่วงเวลาการประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2024 ของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งทั่วโลก ทีมงาน THE STANDARD WEALTH ได้รวบรวมงบของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่ประกาศออกมาแล้วให้ได้ติดตามกันว่าจะรุ่งหรือร่วงกันแน่

 

ในฝั่งของ SK hynix บริษัทผลิตชิปแบบความจำ (Memory Chip) เบอร์ 2 ของโลก ซึ่งเป็นคู่ค้าของ NVIDIA รายงานรายได้อยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 114% กำไรอยู่ที่ราว 1.39 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท) ตามกระแส AI ที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีแผนขยายโรงงานได้ในปีนี้เพิ่มอีกเช่นกัน

 

ทั้งนี้ กำไรที่เกิดขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ถือเป็นการพลิกกลับมาทำกำไรได้อีกครั้งของ hynix หลังจากขาดทุนสุทธิมาต่อเนื่อง 5 ไตรมาสติดต่อกัน และเพื่อรองรับความต้องการในฝั่งเทคโนโลยี AI บริษัทมีแผนจะสร้างโรงงานใหม่ในเกาหลีใต้เพิ่มเติม โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน ปี 2025 ใช้เงินลงทุนราว 20 ล้านล้านวอน 

 

ส่วน Meta (เดิมคือ Facebook) ได้ประกาศรายได้ของไตรมาส 1 ว่าทำได้ราว 3.65 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.30 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 27% จากปีก่อนหน้า (YoY) และทำกำไรได้ 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4.50 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นราว 117% จากปีก่อนหน้า 

 

แต่ทั้งนี้ รายได้ของ Meta ก็ยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และมีการเพิ่มเงินลงทุนใน AI (Artificial Intelligence) มากกว่าที่ตลาดคาดว่ามีโอกาสแตะ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ – 4 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท – 1.4 ล้านล้านบาท) จึงทำให้ราคาหุ้นถูกเทขายลงไปกว่า 15%

 

ในวันเดียวกัน (24 เมษายน) Tesla ประกาศรายได้ออกมาที่ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 7.7 แสนล้านบาท) น้อยลงกว่าปีก่อน 9% (YoY) ในขณะที่กำไรอยู่ที่ 1.1 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท) คิดเป็นการปรับตัวลง 55% จากปีก่อนหน้า จากแนวโน้มการแข่งขันของตลาด EV ที่เข้มข้นขึ้น จึงต้องมีการลดราคา

 

ในขณะที่ Alphabet (Google) ที่แม้จะกำลังเผชิญกับความปั่นป่วนภายในบริษัทจากการประท้วงของพนักงานจนมีการไล่ออกไป 28 คน และการแข่งขันทางด้าน AI ที่ดุเดือดขึ้น จะประกาศงบภายในวันศุกร์นี้ (26 เมษายน) โดยนักวิเคราะห์ก็ประเมินว่า รายได้ของ Alphabet มีโอกาสปรับตัวขึ้นมาราว 13% ในไตรมาส 1 นี้

 

นักวิเคราะห์ประเมินว่า รายได้ของ Microsoft มีโอกาสปรับตัวขึ้น 15% ในไตรมาส 1 นี้ ก่อนที่จะชะลอตัวลงกว่านี้ในอีก 3 ไตรมาสข้างหน้า ซึ่ง Microsoft เองก็มีการลงทุนในด้าน AI อย่างต่อเนื่องอีกหลายพันล้านดอลลาร์ทั้งใน Anthropic, Mistral, Figure และ Humane ในขณะที่ราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นราว 6.8% นับจากต้นปี ดันมูลค่าบริษัทแตะ 3 ล้านล้านดอลลาร์ แซงหน้า Apple ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลกอยู่ ณ ขณะนี้ ซึ่งจะประกาศงบในวันศุกร์ที่ 26 เมษายนนี้

 

อ้างอิง: 

The post ส่งงบไตรมาสแรกของหุ้นเทคเบื้องต้น กลุ่มอิง AI สัญญาณดี หลังคู่ค้า NVIDIA พลิกมีกำไร ส่วน Meta เร่งเพิ่มการลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ STARK ชดใช้เงินหุ้นกู้ 4 รุ่น กว่า 5 พันล้านบาท ให้ KBANK https://thestandard.co/stark-repays-bond-money-to-kbank/ Thu, 25 Apr 2024 03:54:25 +0000 https://thestandard.co/?p=926526 STARK

ศาลแพ่งสั่งให้ บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น หรือ STARK จ่าย […]

The post ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ STARK ชดใช้เงินหุ้นกู้ 4 รุ่น กว่า 5 พันล้านบาท ให้ KBANK appeared first on THE STANDARD.

]]>
STARK

ศาลแพ่งสั่งให้ บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น หรือ STARK จ่ายเงินให้กับธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK โดยต้องชดใช้หุ้นกู้ 4 รุ่น กว่า 5,000 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีก 1 ใน 4 โดยกำหนดให้จ่ายภายใน 30 วัน ไม่เกินวันที่ 23 พฤษภาคม 2567

 

วานนี้ (24 เมษายน) ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ในฐานะผู้แทนผู้ถือหุ้นสำหรับหุ้นกู้ บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น หรือ STARK ได้แก่ STARK239A, STARK249A, STARK245A และ STARK255A ชี้แจงความคืบหน้าในคดีที่ธนาคารได้มีการฟ้องร้องให้ STARK (ผู้ออกหุ้นกู้) ชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2564 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ซึ่งศาลได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา

 

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีคำพิพากษาโดยสรุปดังนี้

 

  1. ให้ชำระเงินตามหุ้นกู้ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 จำนวน 2,268.94 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 4 กรกฎาคม 2566) เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 

  1. ให้ชำระเงินตามหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2565 ชุดที่ 2 และชุดที่ 3 จำนวน 3,045.64 บาท พร้อมดอกเบี้ย นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 21 กรกฎาคม 2566) เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 

  1. ให้ชำระค่าเสียหายเพื่อการลงโทษอีก 1 ใน 4 ของค่าเสียหายที่ศาลกำหนด

 

  1. ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมของทั้งสองคดีแก่โจทก์

 

  1. ให้จำเลยชำระค่าทนายความให้แก่โจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 400,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี

 

โดยศาลได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติตามคำพิพากษาในวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 คู่ความที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าวมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา หรือภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาล

 

ทั้งนี้ หากผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาข้างต้น ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยเร็ว และหากมีความคืบหน้าที่สำคัญประการใด ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นกู้ทราบต่อไป

 

นอกจากนี้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ขอเรียนแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพิ่มเติมดังต่อไปนี้

 

การดำเนินการลงทะเบียนผู้เสียหายต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)

 

– หลังจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้ลงทะเบียนผู้เสียหายในคดีพิเศษที่ 57/2566 ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ปัจจุบันพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้อง บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น กับพวก ต่อศาลอาญา เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.90/2567 โดยศาลได้กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2567

 

การดำเนินการยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

 

– หลังจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

 

ทั้งนี้ หากมีความคืบหน้าที่สำคัญเป็นประการใด ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นกู้ทราบต่อไป

The post ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ STARK ชดใช้เงินหุ้นกู้ 4 รุ่น กว่า 5 พันล้านบาท ให้ KBANK appeared first on THE STANDARD.

]]>
ERW – พรีวิว 1Q67 กำไรปกติจะทำสถิติสูงสุด https://thestandard.co/market-focus-erw-3/ Wed, 24 Apr 2024 12:39:44 +0000 https://thestandard.co/?p=926399 ERW

เกิดอะไรขึ้น:   InnovestX Research จัดทำบทวิเคราะห […]

The post ERW – พรีวิว 1Q67 กำไรปกติจะทำสถิติสูงสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ERW

เกิดอะไรขึ้น:

 

InnovestX Research จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 1Q67 ของ บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป (ERW) ซึ่งคาดว่าจะรายงานผลประกอบการวันที่ 14 พฤษภาคม 2567

 

โดยประเมินได้ว่ากำไรปกติ 1Q67 จะทำสถิติสูงสุดที่ 245 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10%YoY และ 5%QoQ โดยได้รับการสนับสนุนจาก RevPAR ที่แข็งแกร่งขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินงานในประเทศไทยซึ่งการเติบโตของ RevPAR จะได้แรงหนุนจาก ARR ที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก 

 

ขณะที่คาดว่าอัตราการเข้าพักจะทรงตัวอยู่ที่ระดับสูง โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวไทยที่เติบโตมากขึ้น ทั้งนี้ ใน 1Q67 ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 9.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 44%YoY และ 16%QoQ สู่ 87% ของระดับก่อนเกิดโควิด และเชื่อว่าปัจจัยบวกนี้จะสามารถชดเชยผลขาดทุนเริ่มแรกจากโรงแรมใหม่ในประเทศญี่ปุ่นได้

 

ในประเทศไทย: ARR เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง สำหรับกลุ่มโรงแรมระดับ 3-5 ดาว (80% ของรายได้) โดยประเมินได้ว่า RevPAR เติบโต 11%YoY และ 7%QoQ โดยได้รับการสนับสนุนจาก ARR ที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่ 11%YoY และ 5%QoQ อันเป็นผลมาจากอัตราการเข้าพักระดับสูงที่ 84% ทรงตัว YoY และเพิ่มขึ้นจาก 83% ใน 4Q66 สำหรับกลุ่มโรงแรมบัดเจ็ต HOP INN (12% ของรายได้) ประเมินว่า RevPAR เติบโต 11%YoY และ 4%QoQ หลักๆ เกิดจาก ARR ที่เพิ่มขึ้น 10%YoY และ 5%QoQ

 

ในประเทศญี่ปุ่น: เริ่มต้นได้ดีสำหรับการดำเนินงานไตรมาสแรก สำหรับโรงแรม HOP INN ใหม่ 4 แห่งในประเทศญี่ปุ่น โดยประเมินอัตราการเข้าพักได้ที่ 50% และ ARR ที่ ~3,000 บาทต่อห้อง ใน 1Q67 ซึ่งจะทำให้มีผลขาดทุน ~20 ล้านบาท การดำเนินงานคาดว่าจะแข็งแกร่งขึ้นใน 2Q67 จากปัจจัยฤดูกาล โดยให้สมมติฐานสำหรับปี 2567 ด้วยอัตราการเข้าพักที่ 75% และ ARR ที่ 3,000 บาทต่อห้อง

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น ERW ปรับขึ้น 4.33% สู่ระดับ 4.82 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 1.71% สู่ระดับ 1,357.46 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2567:

 

พรีวิวกำไร 1Q67 ดังกล่าวจะคิดเป็น 30% ของประมาณการกำไรเต็มปี ซึ่งคาดว่ากำไรปกติปี 2567 ของ ERW จะเติบโต 10% สู่ 818 ล้านบาท Upside ของกำไรจะมาจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งกว่าคาดที่โรงแรมในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเมินว่าในปี 2567 โรงแรมที่ญี่ปุ่นจะมีผลขาดทุนที่ 40 ล้านบาท (5% ของประมาณการกำไรปี 2567) และได้รวมเข้าในประมาณการ 

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ

 

ERW เป็นหนึ่งในหุ้นเด่นกลุ่มท่องเที่ยว โดยให้คำแนะนำ Tactical Call ระยะ 3 เดือนที่ Outperform ด้วยราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 ที่ 6 บาทต่อหุ้น อิงกับ EV/EBITDA ที่ 13 เท่า (ค่าเฉลี่ยระยะยาวตั้งแต่ปี 2548) และจำนวนหุ้นทั้งหมดซึ่งรวมถึงหุ้นที่เกิดจากการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิ ERW-W3 (8% ของจำนวนหุ้นชำระแล้วในปัจจุบัน) โดย ERW-W3 มีวันใช้สิทธิ (ใช้สิทธิครั้งเดียว) คือวันที่ 14 มิถุนายน 2567 อัตราการใช้สิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น และราคาใช้สิทธิ 3.0 บาทต่อหุ้น

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความต้องการเดินทาง ความไม่แน่นอนทางการเมือง และต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไร ความเสี่ยง ESG คือการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ (E)

The post ERW – พรีวิว 1Q67 กำไรปกติจะทำสถิติสูงสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่องผลกระทบต่อสินทรัพย์ท่ามกลางความเสี่ยงภาวะสงคราม ทองคำดีดขึ้นระยะสั้นก่อนถูกเทขาย https://thestandard.co/gold-rebounded-for-a-short-period-before-being-sold/ Wed, 24 Apr 2024 11:50:44 +0000 https://thestandard.co/?p=926378

ความตึงเครียดครั้งล่าสุดระหว่างอิสราเอลและอิหร่านเริ่มต […]

The post ส่องผลกระทบต่อสินทรัพย์ท่ามกลางความเสี่ยงภาวะสงคราม ทองคำดีดขึ้นระยะสั้นก่อนถูกเทขาย appeared first on THE STANDARD.

]]>

ความตึงเครียดครั้งล่าสุดระหว่างอิสราเอลและอิหร่านเริ่มต้นเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เมื่ออิหร่านระบุว่าอิสราเอลวางระเบิดอาคารกงสุลอิหร่านในกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรีย สังหารนายพลสองคนและเจ้าหน้าที่ 5 คนในกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน อิหร่านตอบโต้เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2023 ที่ผ่านมา โดยเปิดฉากการโจมตีทางทหารโดยตรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนต่ออิสราเอล ซึ่งมีการยิงขีปนาวุธมากกว่า 300 ครั้ง เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความวิตกถึงความเป็นไปได้ที่ความขัดแย้งจะขยายวงกว้างไปทั่วทั้งตะวันออกกลาง

 

เหตุการณ์นี้นำมาสู่คำถามที่ว่าจะมีสินทรัพย์ใดบ้างที่ได้รับผลกระทบและได้รับประโยชน์จากวิกฤตในครั้งนี้

 

‘ทองคำ’ สินทรัพย์ที่หลบภัยเป็นทางเลือกยอดฮิตของนักลงทุน

 

การเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของทองคำมาจากการที่นักลงทุนหันไปหาสินทรัพย์ที่หลบภัย (Safe Haven) มากขึ้น ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการที่ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกซื้อทองคำเก็บไว้เป็นทุนสำรองได้ผลักดันให้ทองคำแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All Time High) ที่ 2,431.60 ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 12 เมษายน นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและค่าครองชีพในหลายส่วนของโลกมีส่วนทำให้มูลค่าเงินลดลง ส่งผลให้ผู้คนหันมาลงทุนในสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ซึ่งทองคำเป็นที่สินทรัพย์ที่นักลงทุนชื่นชอบเป็นพิเศษ

 

จีนและอินเดียเป็นผู้บริโภคทองคำรายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงเครื่องประดับทอง ซึ่งในปี 2023 มีรายงานว่าธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PBOC) ซื้อทองคำประมาณ 225 ตัน ทำให้มีปริมาณสำรองทั้งหมดสูงถึง 2,235 ตัน ในทางกลับกัน ความต้องการเครื่องประดับทองในอินเดียอยู่ที่ประมาณ 562.3 ตัน ในปี 2023 ตามข้อมูลของ World Gold Council

 

อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำล่าสุดวันนี้ (24 เมษายน) อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ราว 2,330 ดอลลาร์ หลังจากที่ความเสี่ยงเรื่องของสงครามที่อาจกระจายวงกว้างเริ่มลดลง

 

ราคาน้ำมันปรับตัวสูง เพราะความตึงเครียดในตะวันออกกลางรุนแรง

 

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ และ West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นมากกว่า 3% หลังจากที่มีข่าวระเบิดในอิหร่าน แม้ว่าขณะนี้จะมีการปรับตัวลงมาเล็กน้อย เนื่องจากสถานการณ์เริ่มเงียบลง อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนระหว่างทั้งสองประเทศ รวมถึงความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกที่ยังคงมีอยู่ สิ่งเหล่านี้ยังคงมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผลักดันความผันผวนของตลาด

 

จนถึงขณะนี้ราคาน้ำมันสูงขึ้นประมาณ 16% ในปีนี้ เนื่องจากความกังวลด้านอุปทานที่สูง ความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างอิหร่านและอิสราเอล รวมทั้งการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานระหว่างยูเครนและรัสเซีย และการที่องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (OPEC) และพันธมิตรคงนโยบายการจัดหาน้ำมันไว้ไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงช่วงครึ่งหลังของปี 2024 ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น

 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองว่าสถานการณ์ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลาง จะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น 15% และค่าขนส่งที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 0.7% นอกจากนี้ Morgan Stanley ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์น้ำมันดิบเบรนท์ในไตรมาสที่ 3 ขึ้น 4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็น 94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ฟรังก์สวิสและเยนญี่ปุ่น ขึ้นแท่นสกุลเงินที่หลบภัย

 

สกุลเงินฟรังก์สวิส (CHF) และเยนญี่ปุ่น (JPY) เป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย ซึ่งหลังจากที่เกิดเหตุการณ์อิหร่านตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินมาโจมตีอิสราเอล สกุลเงินทั้งสองได้พุ่งสูงขึ้นทันทีเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น แม้ว่าจะชะลอตัวลงหลังจากที่เหตุการณ์สงบลงในเวลาต่อมา

 

ตลาดหุ้นและคริปโตปรับตัวลง เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง

 

ตลาดหุ้นและคริปโตเคอร์เรนซีถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง จึงทำให้นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลดการลงทุนในพอร์ตมากกว่าสินทรัพย์อื่นๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหลังจากที่มีข่าวการโจมตีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเจอแรงเทขายจนร่วงลงกว่า 3% ฟิวเจอร์สหุ้นยุโรปลดลง 1.5-2% ขณะที่ฟิวเจอร์สสหรัฐฯ ร่วงลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าทางการของทั้งสองประเทศจะไม่ได้ออกมาชี้แจงรายละเอียดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ความไม่แน่นอนที่ยังคงอยู่ทำให้นักลงทุนยังคงจับตาดูต่อไป

 

Ajay Bagga ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OPC Asset Solution กล่าวว่า ราคาน้ำมันถือเป็นความเสี่ยงหลักของประเทศที่นำเข้าน้ำมัน เช่น อินเดีย แม้นี่จะเป็นความขัดแย้งในตะวันออกกลาง แต่หากอิหร่านเลือกที่จะโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย หรือลดการขนส่งน้ำมันในอ่าวเปอร์เซีย อาจทำให้เกิดความกังวลต่ออุปทานน้ำมันและส่งผลกระทบต่อราคา แน่นอนว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นย่อมทำให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงขึ้นตามไปด้วย และสิ่งนี้ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศที่ตามมา และส่งผลต่อนโยบายทางการเงินของประเทศต่างๆ อีกด้วย

 

อ้างอิง:

The post ส่องผลกระทบต่อสินทรัพย์ท่ามกลางความเสี่ยงภาวะสงคราม ทองคำดีดขึ้นระยะสั้นก่อนถูกเทขาย appeared first on THE STANDARD.

]]>