Opinion – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 13 Apr 2025 04:01:09 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เจาะแนวคิดการใช้ Tariff เพื่อลดขาดดุลการค้า พลิกฟื้นอุตสาหกรรม https://thestandard.co/tariff-trade-deficit-solution/ Sun, 13 Apr 2025 04:01:09 +0000 https://thestandard.co/?p=1064052 tariff-trade-deficit-solution

หลังจากดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 2 […]

The post เจาะแนวคิดการใช้ Tariff เพื่อลดขาดดุลการค้า พลิกฟื้นอุตสาหกรรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
tariff-trade-deficit-solution

หลังจากดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 2 ได้เพียงไม่กี่เดือน นายโดนัลด์ ทรัมป์ เดินหน้าสงครามการค้ารอบใหม่ หรือ Trade War 2.0 ทันที ครั้งนี้ เป้าหมายไม่ได้มีแค่จีน แต่รวมถึงเม็กซิโกและแคนาดาที่สหรัฐใช้มาตรการทางการค้าไปตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และอีกกว่า 200 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย ที่ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกในวันที่ 2 เมษายน 2568 และเรียกวันดังกล่าวว่าวันปลดแอก หรือ Liberation Day 

 

บทความนี้พาทำความเข้าใจหลักคิดของทรัมป์ในการใช้ภาษีนำเข้าเพื่อลดการขาดดุลการค้าและพลิกฟื้นภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกา รวมถึงวิเคราะห์จุดอ่อนของแนวคิดดังกล่าว

 

ทรัมป์เชื่อว่า การขาดดุลการค้า (Trade decifict) หรือการนำเข้ามากกว่าการส่งออก เป็นเรื่องไม่ดี และมีสาเหตุมาจากการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Unfair trade) เช่น การใช้นโยบายทางการค้า/นโยบายภายในประเทศของประเทศคู่ค้า และการขโมย และ/หรือ ไม่เคารพทรัพย์สินทางปัญญา ในอีกแง่หนึ่ง ทรัมป์มองว่าการขาดดุลการค้าเป็นสาเหตุของความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นอัตราการว่างงาน รายได้ที่แท้จริง และความกินดีอยู่ดีของชนชั้นแรงงาน สำทับกับเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ภาคอุตสาหกรรมที่เคยเป็นหัวใจของเศรษฐกิจได้หายไป และถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ 

 

เมื่อดูสถิติ จะพบว่าสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มที่มาจากภาคอุตสาหกรรมใน GDP (Manufacturing value added in GDP) ของสหรัฐอเมริกามีค่าประมาณร้อยละ 10 ของ GDP มากว่าศตวรรษ และสัดส่วนของแรงงานที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม ที่ลดลงจาก 25% ในปี 1950 เหลือเพียง 8% ในปี 2010 โดยทรัมป์เชื่อว่า หากขึ้นภาษีนำเข้าแล้ว สินค้าต่างประเทศจะขายไม่ได้เพราะมีราคาแพงขึ้น กระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าที่ผลิตในอเมริกา ขณะเดียวกัน นโยบายทางภาษีสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการที่เคยไปตั้งโรงงานผลิตสินค้าที่ต่างประเทศกลับมาตั้งโรงงานในอเมริกา การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และสามารถ Revitalise ภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาได้

 

อย่างไรก็ตาม การเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละคู่ค้า เพื่อสร้างการค้าที่สมดุล (Balanced trade) ในแต่ละคู่ค้า สะท้อนถึงความไม่เข้าใจว่าทำไมแต่ละประเทศถึงค้าขายกัน หรือทำไมสหรัฐถึงขาดดุลการค้ากับบางประเทศแต่ได้ดุลการค้ากับบางประเทศ ซึ่งเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังคำอธิบายคือแนวคิดความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative advantage) การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะแต่ละประเทศแตกต่างกัน ความแตกต่างนี้มาจากการมีต้นทุนในการผลิตที่ต่างกัน (ต้นทุนนี้ ขึ้นอยู่กับทรัพยากร ทุน แรงงาน และโครงสร้างพื้นฐาน) การค้าระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ทำให้ประเทศมีความชำนาญ (Specialise) ในการผลิตสินค้าและบริการที่ตัวเองทำได้ดีที่สุด และส่งออกสินค้าและบริการนั้นไปยังประเทศอื่นได้ (มี surplus) ขณะเดียวกันก็นำเข้าสินค้าและบริการที่ตัวเองไม่มีความได้เปรียบในการผลิต (เกิดเป็น deficit) 

 

ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นการขาดดุลการค้าและการได้ดุลการค้าอยู่เสมอ การขาดดุลการค้าหรือได้ดุลการค้า แน่นอนว่ามันหมายถึงการไหลเข้าไหลออกของเงินตรา แต่มันไม่ได้ให้สื่อว่า เรากำลังเสียเปรียบหรือได้เปรียบใคร แม้มาตรการกีดกันทางการค้าอาจส่งผลต่อมูลค่าของการขาดดุล/ได้ดุลกับบางคู่ค้า แต่มันไม่ได้หมายความว่าการขาดดุลหรือได้ดุลการได้มาจากมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งหมด ความสมดุลทางการค้า (Balanced trade) จึงไม่เคยเป็นเป้าหมาย (Goal) ทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์สำนักใด

 

ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือว่า ผมทำงานให้กับองค์กรหนึ่ง นั่นเป็นเพราะผมมีสิ่งที่องค์กรต้องการ ผม specialise ในงานบางอย่าง ที่มันแพงเกินไป/เป็นไปไม่ได้ สำหรับองค์กรที่จะทำด้วยตนเอง องค์กรนั้นก็จ่ายเงินเดือนผมมาเป็นค่าตอบแทน ขณะเดียวกัน ผมไม่ได้จ่ายเงินให้กับองค์กรเลยเพราะผมไม่ได้ซื้อหรือสนใจในผลิตภัณฑ์ที่องค์กรจำหน่าย ดังนั้น ผมจึงมี surplus กับองค์กร 

 

ขณะเดียวกัน ผมซื้อข้าวผัดกะเพราหมูสับของป้าแมวทุกวัน เพราะผมทำเองแล้วพบว่าแพงกว่าซื้อกินมาก แต่ป้าสามารถขายได้ในราคาจานละ 50 บาท เพราะป้าแมวบริหารจัดการต้นทุนได้เนื่องจากเป็นร้านอาหาร ขณะเดียวกัน ป้าแมวก็ไม่ได้มาซื้ออะไรจากผม ผมจึงมี decifit กับป้าแมว จะเห็นว่า ชีวิตก็ดำเนินต่อไปได้ โดยไม่ต้องมี balanced trade กับองค์กรหรือป้าแมว สิ่งที่ทรัมป์ทำ คือพยายามให้ผมซื้ออะไรบางอย่างจากองค์กร (ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ผมไม่ต้องการ หรือซื้อจากที่อื่นแล้วถูกกว่า) และพยายามให้ป้าแมวซื้ออะไรบางอย่างจากผม

 

อีกประเด็นที่สำคัญคือการหมกมุ่นกับสมการ Growth Indentity โดยคิดว่า การขาดดุลการค้าทำให้ GDP ลดลง ซึ่งเรามีเรื่องของการขาดดุลการค้าเพราะเราต้องการคำนวณ GDP จริงอยู่ ที่ตามการคำนวณ GDP ด้านรายจ่ายนั้น เราจำเป็นต้องหักค่าใช้จ่ายในสินค้านำเข้าออก เพื่อให้ได้รายจ่ายสำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ แต่ในโลกโลกาภิวัตน์ มีสินค้ามากมายที่ไม่สามารถหาได้ในประเทศหรือมีราคาแพง ไม่นับรวมการนำเข้าสินค้าขั้นกลางที่เอามาใช้ภาคอุตสาหกรรม การพยายามลดการขาดดุลการค้าเพื่อเพิ่ม GDP จึงเป็นอะไรที่ไม่มีเหตุผลในทางเศรษฐศาสตร์ และเราไม่เคยมีเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการลดการขาดดุลการค้า 

 

อีกหนึ่งประเด็นคือการใช้ Tariff เพื่อพลิกฟื้นภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ แต่คำถามที่ควรตั้งก็คือ สหรัฐอเมริกายังมี Comparative Advantage ในสินค้าอุตสาหกรรมหรือไม่ และจริงๆ แล้ว กิจกรรมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุดควรไปอยู่ในเซ็กเตอร์อื่นๆ เรื่องนี้ ผมได้ประเด็นมาจาก American Factory ซึ่งเป็นสารคดีใน Netflix ที่ได้รับรางวัลออสการ์ ผลิตโดยบริษัทของอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาอย่าง บารัก โอบามา และ มิเชล โอบามา 

 

เนื้อหาหลักเป็นการนำเสนอการต่อสู้ดิ้นรนของโรงงานรถยนต์เชฟโรเลตที่รัฐโอไฮโอ Key Takeaway คือ แรงงานอเมริกันไม่เหมาะกับการทำงานในโรงงาน (อย่างน้อยก็ในกรณีของโรงงานรถยนต์) ทั้งในเรื่องของความต่อเนื่องของการทำงานและด้านกายภาพ (มีโจ๊กว่านิ้วของคนอเมริกันใหญ่เกินไปสำหรับการผลิตกระจก) นอกจากนั้น เทคโนโลยีที่สมัยอเมริกามีและเป็นเจ้าของก็สูงมากเกินกว่าจะเอาไปใช้ในโรงงานเย็บปักถักร้อย ทำรองเท้า ทำผลไม้กระป๋อง หรือแม้แต่ทำกระจกสำหรับรถยนต์ เรื่องนี้ชี้ให้ประเด็นว่า หากโจทย์ของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องการจ้างงานและค่าแรง การเอาภาคอุตสาหกรรมกลับมายังประเทศอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดก็เป็นไปได้

 

มาตรการทางภาษีของทรัมป์ได้พาเรากลับไปสู่ยุค ISI (Import-substitution Industrialization) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีการใช้เครื่องมือทางการค้าเพื่อกีดกันการค้าและฟูมฟักอุตสาหกรรมในประเทศอย่างเข้มข้น ทั้งภาษีนำเข้า การจำกัดการส่งออก รวมถึงการอุดหนุนการผลิตภายในประเทศ (Subsidy) แต่งานศึกษาจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่า ISI สร้างผลเสียมากกว่าผลดีให้แก่เศรษฐกิจและการจ้างงาน สาเหตุก็เป็นเพราะ ISI นั้น เป็นการบิดเบือนการผลิต ทำให้ทรัพยากรถูกใช้ไปกับกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีต้นทุนค่าเสียโอกาสที่สูง หลายประเทศที่ดำเนินนโยบาย ISI อย่างเข้มข้น เช่น ประเทศในลาตินอเมริกาและเอเชียใต้ ต่างมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำ ขณะที่ประเทศที่หันมาดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดกลับมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง มีการจ้างงาน และลดความยากจนได้

 

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในภูมิทัศน์การค้าโลก นั่นคือ สัดส่วนของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (Manufactured Goods) จากประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Countries) ลดลงและถูกแทนที่ด้วยการส่งออกจากประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประเทศกำลังพัฒนา (เช่น จีน ไทย และเวียดนาม) ค่อยๆ พัฒนาประเทศ จากประเทศเกษตรกรรมที่ยากจน มาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่มีอุตสาหกรรมเป็นกลจักรขับเคลื่อน เรื่องนี้ สอดคล้องกับระดับของทุนมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อยๆ ดีขึ้นตามช่วงเวลา โมเดลการพัฒนาประเทศโดยใช้การส่งออก (Export-led Economic Development) จึงถูกใช้อย่างแพร่หลาย และเป็นต้นตอของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและมั่นคง 

 

ทรัมป์ได้สร้างความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจให้กับภูมิทัศน์การค้าโลกในรอบ 100 ปี ดังที่นายกฯ สิงคโปร์ ลอว์เรนซ์ หว่อง ได้กล่าวว่า การค้าระหว่างประเทศที่แต่ละประเทศเคารพในกฎและกติการ่วมกันได้จบสิ้นลงแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งเกิดมาจากความไม่เข้าใจเรื่องการขาดดุลการค้าของผู้นำโลกที่ในท้ายที่สุดอาจกลายมาเป็นความพยายามที่สร้างผลเสียต่อเศรษฐกิจโลก

 

ภาพ: aprott / Getty Images

The post เจาะแนวคิดการใช้ Tariff เพื่อลดขาดดุลการค้า พลิกฟื้นอุตสาหกรรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาเดรียโน ‘จักพรรดิลูกหนังผู้น่าเสียดาย’ https://thestandard.co/adriano-soccer-emperor/ Sun, 13 Apr 2025 01:37:40 +0000 https://thestandard.co/?p=1063963

แค่เพียงได้เห็นภาพของเขาขึ้นมา คำถามและความรู้สึกมากมาย […]

The post อาเดรียโน ‘จักพรรดิลูกหนังผู้น่าเสียดาย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

แค่เพียงได้เห็นภาพของเขาขึ้นมา คำถามและความรู้สึกมากมายก็เกิดขึ้นตามมาด้วย

 

หากวันนี้ “มิรินญา” ยังมีชีวิตและลมหายใจอยู่ 

 

อาเดรียโน และเท้าซ้ายพลังช้างสารของเขาจะถูกเราทุกคนจดจำในแบบไหน? บางทีประวัติศาสตร์ลูกหนังอาจจะพลิกโฉมไปจากสิ่งที่เราเห็นและเป็นอยู่ไปอีกด้านเลยก็ได้

 

เพราะนี่คือนักฟุตบอลที่ฟ้าประทานพรทุกอย่างมาให้ไม่ได้น้อยไปกว่า “โอ เฟโนเมโน” โรนัลโด หรือ “โอ โจโก โบนิโต” โรนัลดินโญ ที่ครั้งหนึ่งเคยสะกดเกมฟุตบอลไว้ด้วยฝ่าเท้าของตัวเอง

 

นักเตะผู้ได้รับสมญานามอันยิ่งใหญ่ “L’ Imperatore” จักรพรรดิลูกหนังผู้ยิ่งใหญ่

 

แต่กลายเป็นนักฟุตบอลที่มีเรื่องราวน่าเสียดายที่สุดคนหนึ่งตลอดกาล

 

ย้อนกลับไปไม่กี่วันก่อนหน้านี้ผมได้เห็นภาพถ่ายของอดีตนักเตะคนหนึ่งที่เคยโด่งดังในช่วงยุคมิลเลนเนียมที่หลายคนน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี และสำหรับบางคนอาจจะเป็นฮีโร่ในดวงใจ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีคนเคยฝากความหวังเอาไว้ที่เขาเวลาเล่นเกมฟุตบอลกันบ้าง

 

ใครบ้างจะไม่รักเท้าซ้ายที่ไม่มีใครหยุดได้ของอาเดรียโน? นักฟุตบอลเจ้าของที่มีค่าพลังในเรื่องของความเร็ว การยิง และพลังเต็มหลอดที่แทบไม่ต่างอะไรจาก “ตัวอีดีต” ที่ขอแค่ส่งบอลมาถึงเท้าเท่านั้นแหละ ที่เหลือก็แค่ลากพาบอลไปเรื่อยๆ แล้วกดปุ่มยิงค้างไว้ให้ได้จังหวะก็พอ

 

บอลก็จะพุ่งเสียบสามเหลี่ยมกระทบตาข่ายแทบขาดเอง

 

อาเดรียโน ‘จักพรรดิลูกหนังผู้น่าเสียดาย’

 

ในชีวิตจริงของอาเดรียโนก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากในเกมเลยครับ เขาเป็นกองหน้าบราซิลที่เล่นไม่ได้แตกต่างอะไรจากเวลาที่หลายคนบังคับตัวละครของเขาเล่นในเกมเลย ด้วยความเร็วที่เหมือนปีศาจ พลังและความแข็งแกร่งที่พร้อมจะลากและไถบอลไปโดยไม่มีใครหยุดได้ ก่อนจะสับไกด้วยอีซ้ายที่ทรงพลานุภาพไม่ต่างอะไรจากฟ้าผ่ากลางประตู

 

ถ้าไปหาดูไฮไลต์การยิงประตูของเขาก็จะพบเห็นลูกยิงเต็มข้ออันหนักหน่วงมากมายเต็มไปหมด แต่ไม่ใช่ว่าเขาทำประตูได้แค่แบบเดียว การเลือกยิงบังคับทิศทางก็ทำได้อย่างสุดยอดไม่แพ้กัน

 

ในช่วงเวลาหนึ่งอาเดรียโน ถูกคาดหมายว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นตัวแทนของโรนัลโด ที่เริ่มโรยราหลังการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2002

 

และนั่นหมายถึงการเป็นนักฟุตบอลอันดับหนึ่งของโลก

 

เรา “เชื่อ” กันแบบนั้นจริงๆ ครับ

 

แต่แล้วความหวังทุกอย่างก็ค่อยๆ มลายหายไป หลังการจากไปอย่างกระทันหันของ “มิรินญา” พ่อของเขาในปี 2004 

 

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อของอาเดรียโน ก็หมองหม่นลงเรื่อยๆ กลายเป็นนักเตะที่ถูกบอกว่าไร้ความรับผิดชอบ ใช้ชีวิตเละเทะ และสุดท้ายเรื่องราวจบลงด้วยการ “หนี” ทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างในช่วงชีวิตที่ควรจะเดินทางไปสู่จุดสูงสุดของการเป็นนักฟุตบอล เพื่อกลับไปใช้ชีวิตในบ้านเกิดที่บราซิล

 

ใน “ฟาเวลา” ที่แสนอันตรายและไม่น่าอภิรมย์จากสายตาของโลกภายนอก

 

เรื่องนี้เป็นหนึ่งในปริศนาลูกหนังที่ยากจะเข้าใจ

 

อาเดรียโนเองดูเหมือนจะรู้ว่าคนคิดกับเขาอย่างไร และเคยพยายามออกมาสื่อสารเพื่อลบล้างความเข้าใจผิดนั้นผ่านการบอกเล่าเรื่องราวตัวเองให้แก่ “The Players’ Tribune” สื่อกีฬาที่เป็นตัวแทนของนักกีฬา

 

“O Adriano Tem Uma História Para Contar” หรือ “อาเดรียโนมีเรื่องที่อยากเล่า” เป็นบทความที่ถูกเผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 หรือ 5 ปีนับตั้งแต่วันที่เขาประกาศเลิกเล่นฟุตบอลอย่างเป็นทางการ ซึ่งเรื่องราวเปิดฉากด้วยคำถามจากโลกภายนอกที่พูดถึงตัวเขากัน

 

“พวกเขาบอกว่าผมหายตัวไปบ้าง บอกว่าผมทิ้งเงินหลายล้านบ้าง บอกว่าผมติดยาบ้าง”

 

ความจริงนั้นไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย

 

ในเรื่องเล่าขนาดยาวที่ต้องใช้เวลามากพอสมควรที่จะอ่านและทำความเข้าใจ เราสามารถสรุปใจความสำคัญของเรื่องราวเอาไว้ได้แบบง่ายๆ ที่จะไขปริศนาที่โลกลูกหนังไม่เคยเข้าใจ

 

สิ่งที่ทำให้อดีตซูเปอร์สตาร์ของวงการฟุตบอล ที่เคยสร้างปรากฏการณ์โดยเฉพาะในช่วงที่อยู่ในสีเสื้อของทีมอินเตอร์ มิลาน กับเจ้าของสถิติ 74 ประตูจากการลงสนาม 177 นัด และอีก 27 ประตูในสีเสื้อ “กานารินญา” บราซิล ตัดสินใจที่จะทิ้งทุกอย่างเพื่อกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของตัวเองนั้นเกิดจากความอ่อนแอ

 

ไม่ใช่ความอ่อนแอทางร่างกาย แต่เป็นหัวใจที่เปราะบางจนเกินไป จนไม่สามารถที่จะรับมือกับความจริงที่ยากจะทำใจได้

 

อาเดรียโน ‘จักพรรดิลูกหนังผู้น่าเสียดาย’

 

จุดเปลี่ยนชีวิตของอาเดรียโนเกิดขึ้นในวันที่ 4 สิงหาคม 2004 – 9 วันหลังจากที่เขาเพิ่งยิงประตูสำคัญช่วยให้บราซิลไล่ตามตีเสมออาร์เจนตินาได้ในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลรายการโคปา อเมริกา ซึ่งมีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่งต่อชาวละติน ก่อนที่ทีมแซมบ้าจะเอาชนะได้ในช่วงของการดวลจุดโทษ

 

ในช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดของชีวิตนั้น จู่ๆ อาเดรียโนก็ได้รับสายโทรศัพท์จากทางบ้าน

 

“พ่อเสียแล้วนะ” 

 

อาเดรียโน ที่ฟังอยู่ปลายสายแทบไม่อยากเชื่อในสิ่งที่ได้ยิน พ่อผู้เป็นคนสอนให้เขารักฟุตบอลจู่ๆ ก็จากกันไปโดยไม่ทันและไม่มีวันได้เอ่ยคำล่ำลา

 

วินาทีนั้นเองที่กองหน้าผู้แข็งแกร่งดุดันเหมือนสัตว์ป่าคนนี้ได้ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงไม่ต่างอะไรจากแก้วที่ถูกทำให้ตกหล่นและแตกเป็นเสี่ยงๆ

 

“หลังจากวันนั้น ความรักของผมที่มีต่อเกมฟุตบอลก็ไม่เหมือนเดิมอีกเลย”

 

ความจริงแล้วทุกคนต่างก็ต้องเผชิญกับความสูญเสียด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับอาเดรียโน การจากไปของพ่อ – ที่ทุกคนเรียกกันว่า “มิรินญา” ชายผู้มีชื่อเสียงแห่งวิลา ครูไซโร – ทำให้เขาเสียศูนย์ และเหมือนอยู่ในสุญญากาศ

 

เพราะสำหรับอาเดรียโน พ่อคือหนึ่งในคนที่สำคัญที่สุดของชีวิต ถ้าไม่มีพ่อก็ไม่มีอาเดรียโนเหมือนกัน

 

ความผูกพันระหว่างทั้งสองนั้นลึกซึ้งถึงจิตวิญญาณ การที่จู่ๆ วันนึงมิรินญาก็หายไปไม่ต่างอะไรจากการฉีกเอาวิญญญาณอีกครึ่งของอาเดรียโนไปด้วย

 

เขาไม่รู้จะรับมือกับความสูญเสียครั้งนี้อย่างไร มันมากเกินไปสำหรับเด็กหนุ่มจากฟาเวลา ที่จู่ๆ โชคชะตาก็ส่งให้เขาทะยานขึ้นฟ้ากลายเป็นดวงดาราของวงการฟุตบอล ไม่เฉพาะแค่ในบราซิล แต่ในอิตาลีบนแผ่นดินยุโรปที่ไกลแสนไกลทุกคนต่างก็เชิดชูลูกชายของมิรินญาคนนี้

 

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชีวิตของอาเดรียโนเหมือนจมอยู่ในความมืดมนอนธการ แม้ว่าจะยังพยายามกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ ลงฝึกซ้อม ลงเล่น แต่รอยแผลใหญ่กลางหัวใจของเขามันไม่มีวันที่จะรักษาได้หาย

 

ยิ่งอยู่ไกลบ้านมากเท่าไร หัวใจของเขาก็หดลงทุกวัน

 

อาเดรียโน เล่าว่าในคืนวันคริสต์มาสของปีหนึ่ง เขานอนจับเจ่าอยู่ที่บ้านคนเดียว แม้ว่าคลาเรน ซีดอร์ฟ รุ่นพี่ในทีมจะชวนออกมาดื่มกินสังสรรค์ด้วยกันที่บ้าน แต่สุดท้ายนั่นก็ไม่ใช่ “บ้าน” ของเขาอยู่ดี

 

บ้านของเขาอยู่ที่วิลา ครูไซโร ฟาเวลาแห่งหนึ่งชานเมืองริโอ ที่ซึ่งสมาชิกครอบครัว – ที่ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่คนในครอบครัวแต่หมายถึงญาติสนิทและมิตรสหายหลายสิบคน – กำลังรวมตัวกันปาร์ตี้ฉลองวันคริสต์มาสกัน

 

“ลูกรัก เป็นอย่างไรบ้าง” เสียงอบอุ่นจากปลายสายโทรเข้ามาหา อาเดรียโนได้ฟังแล้วหัวใจอุ่นขึ้นนิดหน่อย “ผมสบายดีครับแม่ ผมเพิ่งกลับมาจากงานเลี้ยงที่บ้านของเพื่อนเอง” 

 

แต่ทันทีที่เขาได้ยินเสียงกลองและการร้องรำทำเพลงของทุกคนที่หลุดมาตามสายด้วย หัวใจของอาเดรียโนก็ถูกฉีกออกเป็นชิ้นๆ จนไม่เหลือชิ้นดี

 

ก่อนที่จะสะกดความรู้สึกไว้ไม่ไหว อาเดรียโนบอกรักและบอกลาแม่ ผู้ที่หาเลี้ยงดูเขาอย่างยากลำบากเพราะมิรินญา ไม่สามารถทำงานได้จากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดเมื่อโดนลูกหลงจากเหตุปะทะกันจนกระสุนฝังอยู่ในหัว

 

อาเดรียโนคิดถึงแม่ คิดถึงพ่อ คิดถึงคุณย่า ผู้กระเตงพาเขาไปฝึกซ้อมทุกวันกับทีมฟลาเมงโก

 

และทุกคนที่นั่น

 

คืนนั้นเขาดื่มว็อดก้าคนเดียวจนหมดขวดก่อนจะฟุบหลับอยู่บนโซฟาคนเดียว

 

อาเดรียโน ‘จักพรรดิลูกหนังผู้น่าเสียดาย’

 

ความคิดถึงบ้านและการไม่สามารถรับมือกับความสูญเสียทำลายชีวิตของอาเดรียโนอย่างร้ายกาจ

 

หลังคืนค่ำที่ต้องดื่มด่ำกับความเหงาและเดียวดาย อาเดรียโนไม่เคยฉลองคริสต์มาสคนเดียวอีกเลย เขาจะหาโอกาสเดินทางกลับบ้านเพื่อไปใช้เวลากับทุกคนเสมอ และการกลับบ้านของเขาก็เริ่มบ่อยขึ้น บ่อยขึ้นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ

 

บางครั้งเขาหายตัวไปเป็นระยะเวลานาน จนเริ่มมีกระแสข่าวลือว่าอาเดรียโน ถูกลักพาตัวบ้าง ไปติดยาอยู่ในฟาเวลาบ้าง หรือติดเหล้าติดผู้หญิงบ้าง ถึงขั้นมีการติดต่อให้ตำรวจในเมืองริโอพยายามปูพรมค้นหาตัวกันก็มี

 

แต่ไม่มีวันที่ใครจะพบเจอเขาได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากคนในฟาเวลา ที่พร้อมจะปกป้องคนในครอบครัวด้วยชีวิต

 

ความประพฤติของอาเดรียโน ทำให้สื่อตั้งคำถามถึงการทำตัวไม่สมกับเป็นนักฟุตบอลอาชีพที่แบกรับความคาดหวังของแฟนฟุตบอลจำนวน

 

มหาศาล แต่อย่างน้อยบนโลกใบนี้ก็มีคนที่เข้าใจเขาบ้าง และคนที่เข้าใจมากที่สุดคือมัสซิโม โมรัตติ ประธานสโมสรอินเตอร์ มิลาน คนที่เป็นคนเซ็นเช็คจ่ายเงินมหาศาลในแต่ละเดือนให้กับนักเตะคนนี้

 

โมรัตติรู้และเข้าใจในสิ่งที่อาเดรียโนเผชิญอยู่ และเจ้าตัวจะพยายามที่จะปรับตัวให้ดีขึ้น พยายามต่อรองหาจุดตรงกลางร่วมกับโค้ชทุกคนที่ได้ร่วมงาน แต่ไม่มีอะไรที่ช่วยให้สิ่งต่างๆ มันดีขึ้นได้เลย

 

ในฤดูหนาวของเดือนธันวาคม 2009 อาเดรียโนขออนุญาตโชเซ มูรินโญ บอสใหญ่ในเวลานั้นของทีมในการเดินทางกลับบ้านเกิดอีกครั้ง

 

“นายกลับไปครั้งนี้แล้วจะไม่กลับมาอีกแล้วใช่ไหม” มูรินโญถามอย่างตรงไปตรงตรงมา “เจ้านายรู้คำตอบอยู่แล้วนี่”

 

สุดท้ายอาเดรียโน ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะบอกลาอินเตอร์โดยได้รับการอนุญาตจากโมรัตติที่ไม่ติดใจอะไรทั้งสิ้น เพราะให้ความสำคัญของ “ความเป็นมนุษย์” ของอาเดรียโนมากกว่าเรื่องอื่น และนี่คือเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ในสัญญาระหว่างเขากับสโมสร

 

เรื่องราวหลังจากนั้นเป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะไม่รู้ หรือหากรู้บ้างก็อาจจะแค่ผิวเผิน

 

อาเดรียโน ยังคงมีปัญหาทางใจอยู่เหมือนเดิมแม้ว่าจะกลับมาเล่นในบ้านเกิดแล้ว แต่อย่างน้อยเขาก็มีช่วงเวลาที่ดีกับฟลาเมงโก สโมสรรักแรกในดวงใจที่เขามีส่วนสำคัญในการช่วยพาทีมคว้าแชมป์สูงสุดได้เป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี

 

มันเป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับการจะบอกว่าเขากลับมาค้นพบความสุขอีกครั้งในชีวิตการเป็นนักฟุตบอล

 

และอาจจะเป็นความสุขครั้งสุดท้ายด้วย

 

เพราะหลังจากนั้นอาเดรียโนโชคร้ายได้รับบาดเจ็บรุนแรงเอ็นร้อยหวายฉีกขาด อาการที่เจ้าตัวรู้ได้ในทันทีว่าสำหรับเขา ชีวิตการเป็นนักฟุตบอลได้จบสิ้นลงไปแล้ว

 

บาดแผลใหญ่นี้ทำให้เขาสูญเสียการระเบิดพลังในชั่วพริบตาที่เป็นพรจากฟ้า สูญเสียความเร็ว และแม้แต่สูญเสียในเรื่องของการทรงตัวที่ไม่มีการฝึกฝนใดๆ จะช่วยทำให้เขากลับมาเป็นคนเดิม ต่อให้ผ่านการลงมีดจากหมอที่เก่งขนาดไหนก็ตาม

 

อาเดรียโน ยังคงอยู่ในวงการต่ออีกระยะก่อนจะตัดสินใจปิดฉากการเป็นนักฟุตบอลอย่างเป็นทางการในปี 2016 และเก็บตัวอยู่ในความเงียบ

 

เงียบเสียจนเคยมีข่าวลือว่าเขาตายแล้ว จนต้องออกมาแก้ข่าวเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต

 

แต่ท่ามกลางความเสียดายของแฟนฟุตบอลมากมายที่เชื่อว่าอาเดรียโน คือพรสวรรค์อันยิ่งใหญ่ที่ถูกทิ้งขว้างอย่างไม่ควรจะเป็น กับคำถามและเรื่องราวซุบซิบมากมาย

 

อาเดรียโน ‘จักพรรดิลูกหนังผู้น่าเสียดาย’

ภาพ: adrianoimperador / instagram

 

อาเดรียโน กลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่ฟาเวลา ซึ่งยังคงเป็น “บ้าน” ของเขาเสมอ

 

ที่นี่มีสนามฟุตบอล มีเพื่อน มีครอบครัวที่ทำให้เขาสามารถเป็นตัวของตัวเอง ได้รับการยอมรับและความเคารพ สนุกไปกับการเล่นไปเรื่อย ร้องรำทำเพลงด้วยลำโพงตัวเขื่องที่ขับกล่อมฟาเวลาให้ตื่นตัวและคึกคักเสมอ

 

สำคัญที่สุดคือ “อิสระ” ที่ไม่สามารถหาที่ไหนได้อีก

 

อย่าห่วงเรื่องอิสตรีหรือยาเสพติดเลย มิรินญาสอนเขามาดีมากพอที่จะไม่ให้แตะต้องกับของแบบนี้ อย่าว่าอย่างนั้นเลยแค่เหล้าเบียร์มิรินญา ผู้เคยสูญเสียพ่อของตัวเองเพราะเป็นคนดื่มหนัก ก็ห้ามปรามไม่ให้เด็กๆ ในฟาเวลาแตะต้องของมึนเมาแล้ว

 

อาเดรียโน ผู้เคยขนพองสยองเกล้าเพราะริดื่มเบียร์แก้วแรกในชีวิตตอนอายุ 14 แล้วพ่อเห็นจนบรรยากาศมาคุในงานฉลอง ตอนนี้เขาโตพอที่จะดื่มได้และดื่มได้หนักด้วยแต่ก็ไม่ได้มีอะไรมากหรือน่าเป็นห่วงจนเกินไป

 

เขามีความสุขดีและเข้มแข็งขึ้นอย่างช้าๆ

 

หนึ่งในสิ่งที่สะท้อนเรื่องนี้คือการตัดสินใจที่จะจัดการแข่งขันนัดอำลาชีวิตการเล่นของตัวเองอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมปีกลาย 8 ปีหลังการตัดสินใจแขวนสตั๊ด ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในวันที่น่าจดจำของโลกลูกหนัง

 

จักรพรรดิผู้น่าเสียดายกลับมาวาดลวดลายอยู่ในสนามอีกครั้ง

 

เคียงข้างเพื่อนๆ ผู้เป็นที่รัก และแฟนบอลที่คิดถึงเขาอยู่เสมอ

 

ไม่ว่าจะเคยฟังเรื่องราวของอาเดรียโนมาแบบไหน และไม่ว่าจะเข้าใจกับเรื่องราวและการตัดสินใจในชีวิตของคนที่แตกต่างกันหรือไม่

 

อย่าเสียดายกับอาเดรียโนเลย

 

เขาค้นพบความสงบในชีวิตแล้ว ในฟาเวลาที่อาจจะดูไม่น่าอภิรมย์สำหรับคนนอก

 

แต่ที่แห่งนั้นในทุกขั้นบันไดมีความรักและความทรงจำซ่อนอยู่

 

มิรินญาเคยอยู่ตรงนี้

 

อาเดรียโนจึงอยู่ตรงนี้

The post อาเดรียโน ‘จักพรรดิลูกหนังผู้น่าเสียดาย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฤดูหนาวของโลกทำงาน: เมื่อเต่า มังกร และหงส์ ต้องเอาตัวรอดในเศรษฐกิจที่หนาวเหน็บ https://thestandard.co/global-winter-economy/ Sat, 12 Apr 2025 03:17:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1063738 global-winter-economy

ฤดูหนาวในธรรมชาติคือเวลาที่ทุกอย่างชะลอตัว ทรัพยากรหายา […]

The post ฤดูหนาวของโลกทำงาน: เมื่อเต่า มังกร และหงส์ ต้องเอาตัวรอดในเศรษฐกิจที่หนาวเหน็บ appeared first on THE STANDARD.

]]>
global-winter-economy

ฤดูหนาวในธรรมชาติคือเวลาที่ทุกอย่างชะลอตัว ทรัพยากรหายาก พืชหยุดเติบโต และสัตว์จำนวนมากต้องจำศีล แต่สำหรับมนุษย์ในโลกการทำงาน ฤดูหนาวของเราไม่ได้มาเป็นหิมะ หากแต่มาในรูปของวิกฤตเศรษฐกิจ การเลิกจ้าง เงินเฟ้อที่ไม่สมดุลกับรายได้ และความรู้สึกว่า “ไม่ว่าจะทำงานมากแค่ไหน ก็ยังไม่พอจะอยู่รอด”

 

ปี 2568 คือปีที่ลมหนาวของโลกทุนนิยมเริ่มแผ่ปกคลุมไปทั่วทุกวงการ โดยเฉพาะหลังจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา กลับมาแสดงบทบาทเชิงรุกในเวทีการค้าโลก พร้อมนโยบายกีดกันทางการค้าและการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าที่เข้มข้นขึ้น จุดกระแสย้อนกลับต่อโลกาภิวัตน์ และส่งผลกระทบในเชิงลึกต่อระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

 

สำหรับคนที่กำลังเผชิญหน้ากับแรงกดดันจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ นักลงทุน หรือผู้บริหารองค์กร การเข้าใจพลวัตของแรงงานในยุคเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ จึงไม่ใช่เรื่องของ ‘ทรัพยากรบุคคล’ อย่างที่เคยนิยาม แต่คือเรื่องของยุทธศาสตร์ในการเอาตัวรอดในตลาดที่ผันผวนสูง

 

ผมจึงอยากจะเปรียบเทียบลักษณะของแรงงานจากสัตว์ 3 ชนิด ในนิยายของจีน คือ เต่า มังกร และหงส์ สะท้อนถึงรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันของแรงงานในช่วงเศรษฐกิจถดถอย ที่ผู้บริหารและนักลงทุนควรมองให้ลึกขึ้น ไม่ใช่แค่เพื่อตัดสินใจในเชิงทรัพยากรมนุษย์เท่านั้น แต่เพื่อเข้าใจโครงสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) ในระบบเศรษฐกิจใหม่ที่โลกเสรีนิยมแบบเดิมกำลังสั่นคลอน

 

เต่า: ฐานเก่าที่ยังทรงพลัง หากถูกใช้ในจังหวะที่เหมาะสม

 

เต่าในฤดูหนาวไม่ดิ้นรน ไม่กระโจน ไม่หนี มันหดตัวอยู่ในเปลือก แข็งแรงจากภายใน ใช้พลังงานน้อยที่สุดเพื่อรอให้ฤดูกาลเปลี่ยนผ่าน

 

ในเชิงแรงงาน เต่าคือพนักงานหรือผู้จัดการรุ่นเก๋าที่คุ้นกับระบบเดิม อาจไม่คล่องกับระบบดิจิทัล แต่เข้าใจลึกซึ้งในกระบวนการและมีเครือข่ายภายในองค์กรที่แน่นแฟ้น

ปัญหาคือ ในยุคที่เศรษฐกิจถดถอยนี้ เต่ามักถูกมองว่าเป็นภาระ หรือถูกตัดออกจากสมการเพื่อให้ต้นทุนดูเบาลง

 

แต่สำหรับผู้บริหารที่มองการณ์ไกล เต่าคือสินทรัพย์ในยามวิกฤต เพราะคือคนที่ “ไม่ตื่นตระหนก” และมีประสบการณ์กับวัฏจักรของเศรษฐกิจหลายรอบ พวกเขาอาจไม่เหมาะกับการขับเคลื่อนอนาคต แต่เหมาะกับการประคองปัจจุบัน

 

มังกร: แรงงานสายปรับตัวเร็ว ที่องค์กรต้องใช้ให้เป็น ไม่ใช่ใช้ให้หมด

 

มังกรคือคนที่พลิ้วไหว เปลี่ยนทันตลาด และเรียนรู้เร็ว หรือก็คือกลุ่มพนักงานที่พร้อมเรียนรู้ทักษะใหม่อยู่เสมอ เป็นแรงงานที่พร้อมตอบปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและกระแสของตลาด หรืออยู่ในสายงานใหม่ เช่น Online Marketing, Data Science หรือ User Experience Design 

 

ในเชิงกลยุทธ์ มังกรคือทรัพยากรสำคัญขององค์กรที่ต้องการปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดต้นทุนการผลิต การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ หรือการขยับเข้าสู่ตลาดใหม่

 

แต่ปัญหาคือมังกรจำนวนมากเริ่มเหนื่อยล้า เมื่อความคาดหวังในผลลัพธ์สูงกว่าความยั่งยืนของระบบแรงงาน บางคนลาออก บางคนผันตัวไปทำงานอิสระหรือย้ายไปต่างประเทศ ส่งผลให้ “การรักษาไว้ซึ่งมังกร” กลายเป็นโจทย์ใหม่ที่ยากไม่แพ้การดึงดูดคนเก่ง

 

หงส์: ทุนเชิงอุดมการณ์ ที่สะท้อนภาพลักษณ์องค์กรในสายตาสังคม

 

หงส์คือลูกจ้างหรือพนักงานที่มองงานเป็นมากกว่าแค่รายได้ แต่คือคนที่เรียกร้องคุณภาพชีวิต ความยุติธรรมทางแรงงาน หรือการทำงานที่มีความหมายต่อสังคม ไม่ใช่แค่สร้างผลประกอบการในไตรมาสหน้า

 

แม้จะถูกมองว่าไม่ ‘อยู่ในโลกความจริง’ แต่หงส์คือสิ่งที่ทำให้องค์กรมีจิตวิญญาณ และช่วยสร้างภาพลักษณ์ทางบวก เป็นกระบอกเสียงของแนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาล รวมถึงช่วยรักษาแรงงานคุณภาพไม่ให้หลุดออกจากระบบเพราะหมดใจ

 

ในยุคที่นักลงทุนเริ่มคำนึงถึงความยั่งยืนและชื่อเสียงมากขึ้น หงส์คือทรัพยากรเชิงคุณค่าทางสังคมที่บริษัทไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในตลาดทุนที่แนวคิดการลงทุนอย่างรับผิดชอบ กำลังกลายเป็นกระแสหลัก

 

บทสรุป: กลยุทธ์การเอาตัวรอดในเศรษฐกิจที่หนาวเหน็บ ต้องใช้ความหลากหลาย ไม่ใช่ความเร็วเพียงอย่างเดียว

 

ฤดูหนาวทางเศรษฐกิจในวันนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องของการชะลอตัวทางตัวเลข แต่คือการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ทำให้ทุกบริษัทต้องมองลึกถึงทุนมนุษย์ในแบบที่ซับซ้อนกว่าเดิม

 

เต่าคือความมั่นคง มังกรคือการพัฒนาและนวัตกรรม หงส์คือคุณค่าระยะยาว

การบริหารในยุคเศรษฐกิจถดถอย ไม่ใช่การเลือกแรงงานประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่คือการจัดสรรพื้นที่ให้ทั้งสามอยู่ร่วมกันอย่างมีสมดุล ผู้บริหารที่เข้าใจสิ่งนี้ย่อมไม่เพียงแต่อยู่รอดในฤดูหนาว แต่ยังสามารถต่อยอดเมื่อฤดูใบไม้ผลิกลับมาอีกครั้ง และนั่นคือกลยุทธ์ที่แท้จริงของการบริหารคนในโลกหลังยุคโลกาภิวัตน์

 

ภาพ: Goran13 / Getty Images

The post ฤดูหนาวของโลกทำงาน: เมื่อเต่า มังกร และหงส์ ต้องเอาตัวรอดในเศรษฐกิจที่หนาวเหน็บ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สงครามการค้าในยุค Trump 2.0 และทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ https://thestandard.co/trade-war-in-trump-2-era-us-economy/ Fri, 11 Apr 2025 03:53:01 +0000 https://thestandard.co/?p=1063276 สงครามการค้า

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 รัฐบาลของ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ส […]

The post สงครามการค้าในยุค Trump 2.0 และทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สงครามการค้า

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 รัฐบาลของ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง ด้วยการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากหลายประเทศในอัตราที่สูงผิดปกติ พร้อมทั้งเปิดเผยสูตรการคำนวณที่แตกต่างจากแนวทางสากลโดยสิ้นเชิง โดยเลือกใช้อัตราส่วนระหว่าง ‘Trade Deficit ต่อ Imports’ แทนการอิงกับอัตราภาษีที่แท้จริง ซึ่งเป็นแนวทางที่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานทั่วไป และก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในประชาคมโลก

 

สูตรการคำนวณดังกล่าว ถูกตั้งคำถามถึงความถูกต้องและความชอบธรรม ทั้งจากมุมมองทางเศรษฐศาสตร์และหลักความเป็นธรรม เนื่องจากมีจุดอ่อนหลายประการที่อาจทำลายความน่าเชื่อถือของนโยบายภาษีนี้ โดยสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

 

ประการแรก สูตรการคำนวณนี้ไม่สะท้อนอัตราภาษีที่แท้จริง หรืออุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) ที่ประเทศคู่ค้าใช้กับสหรัฐฯ

 

ประการที่สอง แม้สหรัฐฯ จะมีความได้เปรียบอย่างชัดเจนในภาคบริการ แต่รัฐบาลทรัมป์กลับเลือกใช้เฉพาะข้อมูลการค้าสินค้า (Goods) ในการคำนวณดุลการค้าและอัตราภาษี นับเป็นการมองข้ามภาคบริการ (Service Trade) ซึ่งถือเป็นจุดแข็งสำคัญของสหรัฐฯ ในเวทีการค้าโลก ทั้งในธุรกิจการเงิน วิศวกรรม การท่องเที่ยว หรือการศึกษา หากนำภาคบริการมารวมในการประเมินดุลการค้า ดุลขาดดุลกับหลายประเทศอาจลดลง และสามารถสะท้อนภาพความไม่สมดุลทางการค้าได้อย่างแม่นยำและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

 

ประการที่สาม สูตรการคำนวณนี้ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขององค์การการค้าโลก (WTO) และแนวทางทางเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป

 

ประการที่สี่ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนมากจะมีสถานะที่เสียเปรียบ เนื่องจากไม่สามารถบริโภคสินค้าราคาแพงจากสหรัฐฯ ได้เทียบเท่าประเทศที่มีรายได้สูง

 

ประการที่ห้า สูตรการคำนวณนี้ละเลยปัจจัยด้านความสามารถในการซื้อของประเทศคู่ค้า เช่น ระดับรายได้ประชาชาติ ค่าเงิน และราคาสินค้า ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาร่วมด้วย

 

อัตราภาษีนำเข้าตอบโต้ของสหรัฐฯ (Reciprocal Tariff)

 

 

เมื่อเปรียบเทียบกับยุค Trump 1.0 ในปี 2018 ซึ่งดำเนินนโยบายขึ้นภาษีแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเพิ่มอัตราและขยายรายการสินค้านำเข้าอย่างเป็นลำดับ จะเห็นได้ว่าในยุค Trump 2.0 กลับเปิดเกมอย่างรุนแรง ด้วยการ Raise Maximum Stake ตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

 

  1. กำหนดอัตราภาษีในระดับสูงมาก ตามสูตรใหม่ที่เรียกว่า ‘Reciprocal Tariffs’ ซึ่งเป็นแนวคิดที่รัฐบาลคิดขึ้นเอง และไม่ได้อ้างอิงตามหลักสากล

 

  1. เรียกเก็บภาษีครอบคลุมสินค้าหลายหมวดหมู่พร้อมกัน โดยไม่รอให้กระบวนการเจรจาดำเนินไปก่อน

 

  1. เป็นการเดินเกมเชิงรุกแบบรุนแรงตั้งแต่ต้น เพื่อสร้างแรงกดดันให้ประเทศคู่ค้าตอบสนองอย่างเร่งด่วน แตกต่างจากยุค Trump 1.0 ซึ่งเน้นกลยุทธ์ ‘Incremental Pressure’ หรือแรงกดดันแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากสินค้าบางประเภท เช่น เหล็กและอะลูมิเนียม ก่อนจะขยายขอบเขตไปยังกลุ่มสินค้าอื่น

 

แม้นโยบายดังกล่าวจะขัดกับหลักการพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ แต่ก็สะท้อนแนวคิด ‘Art of the Deal’ ซึ่งเป็นรูปแบบการเจรจาที่โดดเด่นของทรัมป์ที่อาศัยแรงกดดันเพื่อบีบให้ประเทศคู่ค้ายอมเข้าสู่โต๊ะเจรจา

 

สำหรับ Trade War 2.0 ทีม Wealth Research ของหลักทรัพย์บัวหลวง ประเมินว่า แนวโน้มพฤติกรรมการตอบสนองของประเทศที่ถูกเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

 

  1. กลุ่มประเทศขนาดกลางและขนาดเล็ก (เช่น ไทย เวียดนาม ฯลฯ) ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเร่งเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อขอลดอัตราภาษีนำเข้า โดยอาจเสนอ ‘soft concessions’ เช่น การลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) หรือการเพิ่มคำสั่งซื้อสินค้าเกษตร พลังงาน และอาวุธจากสหรัฐฯ เนื่องจากประเทศกลุ่มนี้มีสัดส่วนการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในระดับสูงเมื่อเทียบกับ GDP ขณะเดียวกันก็มีศักยภาพในการตอบโต้ที่จำกัด และต้องการหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ในระยะสั้น

 

  1. กลุ่มประเทศขนาดใหญ่หรือมหาอำนาจ (เช่น จีนและสหภาพยุโรป) มีแนวโน้มที่จะตอบโต้ด้วยมาตรการแข็งกร้าว เช่น การขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ การจำกัดการเข้าถึงตลาด และการส่งสัญญาณไปยังภาคธุรกิจให้ชะลอหรือหลีกเลี่ยงการลงทุนในสหรัฐฯ ก่อนเข้าสู่การเจรจาในภายหลัง เนื่องจากประเทศกลุ่มนี้มีอำนาจต่อรองสูง ไม่ยอมรับนโยบายที่ขัดกับหลักความยุติธรรมทางการค้า และให้ความสำคัญกับการรักษาภาพลักษณ์และหลักการการค้าระหว่างประเทศ

 

หลังจากที่สหรัฐฯ เริ่มสงครามรอบนี้ในช่วงต้นไตรมาส 2 ปี 2025 (วันที่ 2 เมษายน 2025) รวมถึงแนวโน้มที่น่าจะเห็นมาตรการตอบโต้จากหลายประเทศมหาอำนาจ ทำให้เราคาดว่าไตรมาส 2 ปี 2025 จะเป็นช่วงที่สงครามการค้าจะมีความตึงเครียดมากขึ้นหรือเป็น ‘Escalation Phase’

 

ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2025 เราคาดว่าช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นของการผ่อนคลายความตึงเครียดในเวทีสงครามการค้า โดยหลายประเทศเริ่มลดระดับความรุนแรงของมาตรการตอบโต้ และหันมาเจรจาเพื่อหาทางออกทางการทูตมากขึ้น กลุ่มประเทศขนาดกลางและขนาดเล็กมีแนวโน้มจะเริ่มบรรลุข้อตกลงแบบเฉพาะรายประเทศ (selective deals) กับสหรัฐฯ เพื่อแลกกับการลดอัตราภาษีนำเข้า ขณะที่กลุ่มประเทศขนาดใหญ่ เช่น จีนหรือสหภาพยุโรป จะเริ่มกระบวนการเจรจาในลักษณะคล้ายกับที่จีนเคยดำเนินการในช่วงปี 2018 โดยการเจรจาครั้งแรกในรอบนั้นเริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2018

 

“หากเปรียบเทียบกับสงครามการค้าในปี 2018 จะเห็นว่า เราคาดสงครามการค้าในปี 2025 มีช่วง Escalation Phase ที่สั้นกว่า โดยกินเวลาเพียงราว 3 เดือน เทียบกับราว 6 เดือนในปี 2018 ปัจจัยสำคัญมาจากกลยุทธ์ของรัฐบาลทรัมป์ในยุค Trump 2.0 ที่เน้นความรุนแรงแต่ต้น ต่างจากยุคแรกที่ใช้แนวทางค่อยเป็นค่อยไปในการกดดันคู่ค้า อย่างไรก็ดี แม้ความตึงเครียดทางการค้าจะผ่านจุดสูงสุดไปอย่างรวดเร็ว แต่เราคาดว่าเศรษฐกิจโลกยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่”

ภาพ: Kevin Dietsch / Getty Images, Douglas Rissing / Getty Images

The post สงครามการค้าในยุค Trump 2.0 และทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซื้ออาวุธสหรัฐฯ ออปชันที่หลายประเทศใช้เจรจากับทรัมป์ หวังแก้ปัญหาขาดดุล ทำได้แค่ไหน? https://thestandard.co/us-arms-deals-trade-deficit/ Thu, 10 Apr 2025 12:49:34 +0000 https://thestandard.co/?p=1063142 us-arms-deals-trade-deficit

เพื่อจัดการปัญหาขาดดุลการค้ามหาศาลกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร […]

The post ซื้ออาวุธสหรัฐฯ ออปชันที่หลายประเทศใช้เจรจากับทรัมป์ หวังแก้ปัญหาขาดดุล ทำได้แค่ไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
us-arms-deals-trade-deficit

เพื่อจัดการปัญหาขาดดุลการค้ามหาศาลกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ประกาศหนึ่งในมาตรการช็อกโลกซึ่งก็คือภาษีตอบโต้หรือ Reciprocal Tariff ที่สร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก เขาอ้างว่าหลายประเทศตั้งภาษีและกีดกันการค้าไม่ยอมให้สหรัฐฯ ส่งสินค้าเข้าไปขาย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศส่วนมากจะใช้วิธีการขอเจรจากับสหรัฐฯ โดยหนึ่งในเงื่อนไขการเจรจาของหลายประเทศคือการยินดีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้นเพื่อลดตัวเลขการขาดดุล

 

อย่างที่เราทราบกันดีก็คือ หนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของสหรัฐฯ คืออาวุธ ซึ่งสหรัฐฯ ถือเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 43% ของตลาดการค้าอาวุธโลก หรือคิดเป็นมูลค่า 3.18 แสนล้านดอลลาร์ (10.5 ล้านล้านบาท) ในปี 2024 โดยมี 6 ใน 10 บริษัทด้านการป้องกันประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นบริษัทของสหรัฐฯ

 

ซึ่งบริษัทด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของสหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อการเมืองของสหรัฐฯ สูงมาก โดยเป็นทั้งผู้บริจาครายใหญ่ให้กับทั้งสองพรรคการเมือง และทำงานอย่างใกล้ชิดกับกองทัพสหรัฐฯ เพื่อสร้างอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนานโยบายใหม่ๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความสัมพันธ์ในลักษณะนี้เราเรียกว่า Military-Industrial Complex

 

ดังนั้น หลายประเทศจึงแสดงท่าทีที่ต้องการนำเข้าอาวุธจากสหรัฐฯ มากขึ้น นอกจากจะเพื่อหวังพึ่งอิทธิพลของบริษัทผลิตอาวุธของสหรัฐฯ ในการช่วยต่อรองการค้ากับรัฐบาลทรัมป์แล้ว ยังเป็นการจัดหาสินค้าจากอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานจำนวนมากในสหรัฐฯ เพราะทุกคำสั่งซื้ออาวุธจะเพิ่มหรือรักษาการจ้างงานในสหรัฐฯ ให้คงอยู่ต่อไป และจะเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของทรัมป์ที่ต้องการสร้างกิจกรรมการผลิตในสหรัฐฯ ให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็น่าจะช่วยให้ทรัมป์พิจารณาลดภาษีให้กับแต่ละประเทศไม่มากก็น้อย

 

ยิ่งไปกว่านั้น ดูเหมือนทรัมป์จะทราบดีว่าหลายประเทศต้องการจัดหาอาวุธของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แต่บางประเทศยังติดข้อกฎหมายในการซื้ออาวุธที่สหรัฐฯ ปฏิเสธขายเพราะต้องการรักษาความลับทางทหาร ล่าสุดทรัมป์จึงลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร (Executive Order) ใหม่คือ Reforming Foreign Defense Sales to Improve Speed and Accountability เพื่อลดเงื่อนไขและข้อจำกัดเพื่อสนับสนุนการส่งออกอาวุธของสหรัฐฯ โดยทรัมป์กล่าวว่า “คำสั่งฝ่ายบริหารนี้กำหนดให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขระบบการขายอาวุธให้กับต่างประเทศเพื่อทำให้แน่ใจว่าเราจะสามารถขายอาวุธให้กับต่างประเทศเพื่อช่วยสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตอาวุธของสหรัฐฯ และยังช่วยให้พันธมิตรของเราได้รับอาวุธที่จำเป็นด้วยวิธีที่น่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ”

 

และหนึ่งในประเทศที่เปิดตัวมาแล้วว่าต้องการจะนำเข้าอาวุธจากสหรัฐฯ ให้มากขึ้นก็คือเวียดนาม ซึ่งถูกคิดภาษี 46% ซึ่งที่ผ่านมาเวียดนามจัดหาอาวุธจากรัสเซียเป็นหลัก แต่เมื่อความขัดแย้งในทะเลจีนใต้รุนแรงขึ้น เวียดนามจึงต้องการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจนอกภูมิภาคเพื่อคานอำนาจกับจีน เวียดนามจึงเริ่มจัดหาอาวุธจากชาติตะวันตกเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินลำเลียง C-295 จาก Airbus ของยุโรป จรวดต่อสู้อากาศยาน SPYDER จากบริษัท Rafael ของอิสราเอล และเครื่องบินฝึก T-6 Texan II จาก Textron Aviation ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีข่าวว่าในครั้งนี้เวียดนามอาจจะเสนอซื้อเครื่องบินลำเลียงแบบ C-130J ของบริษัท Lockheed Martin ประเทศสหรัฐอเมริกาให้กับกองทัพอากาศเวียดนามที่ขาดแคลนเครื่องบินลำเลียงอย่างมาก โดย C-130 เป็นเครื่องบินลำเลียงที่ทันสมัยและเป็นเครื่องบินที่มีผู้ใช้งานกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยเครื่องบินรุ่นใหม่คือ C-130J นั้นมีความทันสมัย แต่ก็ถือว่ามีราคาค่อนข้างสูง คือมีราคาตั้งแต่ 150–300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อลำหรือราว 5,000-10,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับตัวเลือกและอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับเครื่องบิน

 

ส่วนบางประเทศที่จัดหาอาวุธจากสหรัฐฯ อยู่แล้ว ก็กำลังพิจารณาจะจัดหาอาวุธจากสหรัฐฯ มากขึ้น แต่บางประเทศก็ยังมีข้อต้องพิจารณาและระมัดระวังในการจัดหา เช่น เกาหลีใต้ที่แม้เป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ และจัดหาอาวุธจากสหรัฐฯ เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก แต่ก็ถูกเก็บภาษี 25% ขณะเดียวกันเกาหลีใต้ก็เป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและเป็นผู้ส่งออกอาวุธหลักของโลกเช่นเดียวกัน ถ้าจัดหาอาวุธจากสหรัฐฯ มากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมป้องกันประเทศของตัวเอง ทำให้ต้องมีการพิจารณาให้ดีในประเด็นนี้

 

อนึ่ง เมื่อคืนวานนี้ที่ทรัมป์ประกาศพักการขึ้นภาษีตอบโต้เป็นเวลา 90 วันกับทุกประเทศยกเว้นจีน ด้วยเหตุผลว่าแทบทุกประเทศต่างแสดงความต้องการเจรจาหาทางออกกับสหรัฐฯ ก็ทำให้แต่ละประเทศมีเวลาในการจัดการและวางแผนได้นานขึ้น (แต่เกือบทุกประเทศยังต้องถูกจัดเก็บภาษีพื้นฐานที่ 10% ตามเดิม ยกเว้นเม็กซิโกและแคนาดาที่ถูกเรียกเก็บ 25% ไปก่อนหน้านี้)

 

ในส่วนของประเทศไทยเองซึ่งถูกเก็บภาษี 36% ก็เป็นประเทศที่จัดหาอาวุธจากหลากหลายประเทศเช่นยุโรป จีน เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการจัดหาอาวุธปีหนึ่งอยู่ที่ราว 3–4 หมื่นล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าที่ไทยได้ดุลการค้าจากสหรัฐที่ 1.6 ล้านล้านบาท แต่ถ้าไทยใช้งบประมาณตรงนี้ที่ต้องจ่ายในการซื้ออาวุธไปยังต่างประเทศอยู่แล้วให้มาซื้ออาวุธจากสหรัฐฯ ก็อาจจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งให้การเจรจาของผู้แทนไทยกับสหรัฐฯ เป็นไปอย่างราบรื่นขึ้น

 

ซึ่งการดำเนินการจัดหาจากสหรัฐอเมริกานั้นอาจเริ่มต้นในปีงบประมาณ 2569 ซึ่งงบประมาณกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำ ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยไม่ส่งผลกระทบมากจนเกินไปนัก ต่างจากโครงการในปีงบประมาณ 2568 ซึ่งมีการอนุมัติงบประมาณและดำเนินกิจกรรมในการจัดหาไปมากแล้ว เช่นโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ซึ่งเลือกแบบเป็น Gripen ของสวีเดน หรือเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศซึ่งเลือกแบบเป็น A330 MRTT ของยุโรป การเปลี่ยนแปลงในตอนนี้อาจสร้างความยุ่งยากมากจนเกินไป

 

ทั้งนี้ มีโครงการอื่นๆ ที่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่กระทรวงกลาโหมมีแผนงานอยู่แล้ว และมีทั้งกำลังจะเสนอของบประมาณในการจัดหา หรือเป็นโครงการในอนาคตซึ่งยังไม่ถึงคิวในการจัดหา แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานเพื่อดำเนินการจัดหาจากผู้ผลิตในสหรัฐฯ เช่น เฮลิคอปเตอร์โจมตีของกองทัพบก เรดาร์ตรวจการณ์ของกองทัพบกและกองทัพอากาศ จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำและจรวดต่อสู้อากาศยานของกองทัพเรือ เครื่องบินโจมตีและเครื่องบินลำเลียงของกองทัพอากาศ เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม มีข้อที่ต้องพิจารณาก็คือ การจัดหาอาวุธนั้นไม่ควรจัดหาอาวุธที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย ซึ่งไม่เข้มแข็งและแทบไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกระทรวงกลาโหมอยู่แล้ว โดยอาวุธที่จัดหาได้จากในประเทศก็ควรจะจัดหาต่อไป เช่น ยานเกราะล้อยาง หรืออากาศยานไร้นักบิน เป็นต้น นอกจากนั้นก็ไม่ควรเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อจัดหาอาวุธมากจนเกินไป เพราะต้องยอมรับว่าการจัดหาอาวุธจากสหรัฐฯ ภายใต้เงื่อนไขนี้ประเทศไทยจะได้รับการตอบแทนทางเศรษฐกิจหรือการชดเชย (Offset) ไม่มากนักหรือแทบไม่ได้เลย ดังนั้นถ้าใช้งบประมาณมากจนเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจไทยโดยไม่จำเป็น

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นแนวทางที่อาจดำเนินการได้ โดยเฉพาะสำหรับไทยซึ่งมีเวลาอีก 90 วันในการเจรจาและหาข้อตกลงกับสหรัฐฯ หลังสหรัฐฯ พักการขึ้นภาษีตอบโต้ ซึ่งทำเนียบขาวกล่าวว่าข้อตกลงของแต่ละประเทศนั้น ทรัมป์ต้องการเข้ามาดูรายละเอียดด้วยตัวเอง ดังนั้นการสร้างเงื่อนไขที่จะทำให้ทรัมป์และสหรัฐฯ ยอมรับได้มากที่สุดในขณะที่ยังรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทยให้ได้สูงที่สุดน่าจะเป็นโจทย์สำคัญของผู้แทนไทย ซึ่งการจัดหาอาวุธจากสหรัฐฯ อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้การเจรจาราบรื่นขึ้นและหาข้อตกลงที่ดีที่สุดให้กับไทยต่อไป

ภาพ: Reuters, DVIDS

The post ซื้ออาวุธสหรัฐฯ ออปชันที่หลายประเทศใช้เจรจากับทรัมป์ หวังแก้ปัญหาขาดดุล ทำได้แค่ไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประกันสังคม ระดมสมอง แก้โจทย์กองทุนหมดใน 30 ปี https://thestandard.co/sso-fund-sustainability-challenges/ Thu, 10 Apr 2025 02:51:07 +0000 https://thestandard.co/?p=1062691 ประกันสังคม

เมื่อวันที่ 24-25 ตุลาคม 2567 สำนักงานประกันสังคมได้จัด […]

The post ประกันสังคม ระดมสมอง แก้โจทย์กองทุนหมดใน 30 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประกันสังคม

เมื่อวันที่ 24-25 ตุลาคม 2567 สำนักงานประกันสังคมได้จัดงานประชุม “SSO Sustainable for All เพราะกองทุนประกันสังคมเป็นของพวกเราทุกคน” ขึ้น เพื่อระดมสมอง เชิญหน่วยงานต่างๆ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาช่วยกันคิดและแก้ไขปัญหาร่วมกัน พูดคุยถึงปัญหาที่ว่ากองทุนจะหมดใน 30 ปีจริงหรือไม่ และจะต้องแก้ไขอย่างไร โดยมีเป้าหมายหลักในการทำให้กองทุนประกันสังคมมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน

 

ในงานประชุมครั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้รับเกียรติจากวิทยากรจากหลายประเทศ มาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี ไม่ว่าจะเป็นองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สมาคมประกันสังคมระหว่างประเทศ (ISSA) ผู้แทนจากสำนักงานบำนาญแห่งชาติประเทศเกาหลีใต้ (NPS) และผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ 

 

นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการประชุมเชิงอภิปรายกลุ่มย่อยขึ้น เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในหลายภาคส่วนในประเด็นความท้าทาย สรุปได้ดังนี้

 

  • อนาคตระบบประกันสุขภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น [สรุป: ภาครัฐควรออกแบบระบบประกันสุขภาพโดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและป้องกันโรค เพื่อโอกาสเจ็บป่วยและลดการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล โดยปัจจุบันมีหลายประเทศเริ่มบูรณาการเอาเทคโนโลยีมาใช้กับการดูแลสุขภาพ ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดี ควรนำมาปรับใช้ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยด้วยเช่นกัน]

 

  • แนวทางการขยายความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่ดีขึ้น [สรุป: ปัจจุบันมีแรงงานจำนวนมากที่ยังไม่เข้าระบบประกันสังคม หากต้องการขยายความคุ้มครองและสร้างความยั่งยืนให้ระบบประกันสังคม ควรพัฒนาการเงินการคลังของกองทุนร่วมด้วย โดยจะเห็นว่าในประเทศไทยยังใช้งบประมาณกับหลักประกันสังคมถือเป็นสัดส่วนน้อยมาก เทียบกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อมีงบประมาณเพียงพอ จะสามารถพัฒนาสิทธิประโยชน์ให้มีเหมาะสมเพียงพอต่อผู้ประกันตนได้]

 

  • การเปิดมุมมองแนวทางการบริหารการลงทุนที่เหมาะสมกับกองทุนประกันสังคม [สรุป: ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้จัดทำแผนการลงทุนเชิงกลยุทธ์ร่วมกับบริษัท Mercer Consulting จึงเริ่มปรับให้มีการลงทุนในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่รับได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนไม่ใช่ปัจจัยหลักในการสร้างความยั่งยืนให้แก่กองทุนได้ จำเป็นต้องมีมาตรการเชิงนโยบายและองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย]

 

  • การสร้างความยั่งยืนของกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยและนักวิชาการร่วมกันอภิปรายอย่างกว้างขวางถึงสถานะกองทุนในปัจจุบัน ตัวแปรที่มีผลต่อความยั่งยืน และข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปที่เป็นธรรมและยั่งยืน [สรุป]

 

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว… หลายท่านอาจจะสงสัยถึงประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ เรื่องกองทุนจะหมดใน 30 ปีนั้น ข้อเท็จจริงอย่างไรกันแน่? วันนี้เราจะมาทราบคำตอบไปพร้อมๆ กัน

 

จริงๆ แล้วเลข 30 ปี ที่กองทุนจะหมดเป็นผลลัพธ์จากการประเมินค่าทางคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial Valuation) สำหรับสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมทำร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยคาดว่ากองทุนจะหมดลงในปี 2597 หากไม่มีการปฏิรูปเชิงนโยบายใดๆ ซึ่งในการประชุมที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญจากหลายส่วนได้รับทราบถึงสถานการณ์นี้ และได้ให้ความเห็นและอภิปรายถึงแนวทางการแก้ไขอย่างกว้างขวาง สรุปรายละเอียดได้ดังนี้

 

  1. กองทุนบำนาญประกันสังคมมีความสำคัญต่อประชาชน ถึงแม้ยังเป็นเงินจำนวนไม่มาก แต่ก็ช่วยให้มีเงินใช้รายเดือนในยามเกษียณไปตลอดชีวิต

 

  1. เงินสมทบที่ผู้ประกันตนนำส่งในอัตรา 5% ของค่าจ้างเป็นเพียงส่วนหนึ่ง โดยมีเงินสมทบจากนายจ้างอีก 5% และรัฐบาลอีก 2.75% รวมเป็น 12.75% ซึ่งปัจจุบันถูกจัดสรรสำรองไว้สำหรับจ่ายบำนาญชราภาพอยู่ประมาณ 6.2%

 

  1. การจ่ายบำนาญ คำนวณจากระยะเวลาและฐานเงินเดือนที่นำส่งเงินสมทบ ปัจจุบันผู้ส่งเงินสมทบสูงสุด 25 ปี ได้รับบำนาญ 35% ของเงินเดือนที่นำส่งเงินสมทบ 5 ปีสุดท้าย (เพดานคำนวณเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) หรือ 5,250 บาท ทุกเดือน ตลอดชีวิต โดยรับได้ตั้งแต่อายุ 55 ปีและออกจากงาน

 

  1. การประเมินค่าทางคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial Valuation) คาดว่าเงินสมทบไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่าย และหากไม่ทำอะไรเลย เงินกองทุนจะเหลือ 0 ในปี 2597

 

  1. กองทุนประเทศอื่นก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน แต่ไม่เคยมีกองทุนประกันสังคมประเทศใดล้มละลาย เพราะมีการปฏิรูป (Reform) เพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

 

  1. คนไทยมักไม่เชื่อว่าตนเองจะอายุยืน โดยจะคาดการณ์ต่ำกว่าสถิติ 5-10 ปี ดังนั้น การเปลี่ยนเป็นระบบบัญชีรายบุคคล ออมเท่าไหนได้เท่านั้น (Defined Contributions) ไม่ใช่ทางออก เพราะจะทำให้ความเสี่ยงตกอยู่กับผู้ประกันตน โดยเฉพาะความเสี่ยงการมีอายุยืนกว่าเงินออม และเมื่อเงินหมดจะเป็นภาระของรัฐบาลในการดูแล

 

  1. หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า การสร้างความยั่งยืนของระบบประกันสังคม ต้องเริ่มจากความยั่งยืนในมุมของผู้ประกันตน นั่นก็คือ บำนาญที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยเริ่มต้นจากปรับสูตรบำนาญให้ยุติธรรมมากขึ้น ปรับเพิ่มเพดานเงินเดือนซึ่งใช้คำนวณทั้งเงินสมทบและสิทธิประโยชน์เพิ่มจาก 15,000 บาท รวมถึงปรับเพิ่มบำนาญตามอัตราเงินเฟ้อ

 

  1. ร่วมกันสร้างแผนการสร้างความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว ผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่าการเพิ่มรายรับจากผลตอบแทนการลงทุนอย่างเดียวไม่สามารถทำให้กองทุนยั่งยืนได้ จำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบ และอายุเกิดสิทธิรับบำนาญ อย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

  1. หากยิ่งดำเนินการช้า ก็จะยิ่งเป็นภาระของคนรุ่นหลัง ที่จะต้องรับภาระอัตราเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด หรือสิทธิประโยชน์ที่ถูกปรับลด

 

  1. การกำหนดเงื่อนไขการปฏิรูปมีผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย ไม่สามารถดำเนินการได้โดยสำนักงานประกันสังคมเพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยการพูดคุย และตกลงกัน เพื่อกำหนดแนวทางปฏิรูปที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้

 

“เพราะกองทุนประกันสังคมเป็นของพวกเราทุกคน”

 

ทั้งนี้ ผู้เขียน ซึ่งได้เข้าร่วมและเป็นวิทยากรในงาน มีมุมมองแนวทางการแก้ปัญหาดังนี้

 

  1. การปรับสูตรคำนวณบำนาญ ควรปรับสูตรการคำนวณบำนาญเพื่อให้ผลประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้รับมีความเหมาะสมและสะท้อนค่าครองชีพ โดยควรนำดัชนีเงินเฟ้อมาพิจารณา และเพิ่มเพดานเงินเดือนที่ใช้ในการ การใช้ดัชนีเงินเฟ้อในการปรับคำนวณจะช่วยให้บำนาญที่จ่ายให้แก่ผู้สูงอายุมีมูลค่าที่ใกล้เคียงกับการใช้จ่ายในชีวิตจริง และสามารถรักษามาตรฐานชีวิตของผู้เกษียณได้ดีขึ้น

 

  1. การขยายอายุเกษียณ การเพิ่มอายุเกษียณจาก 55 ปีเป็น 65 ปีแบบค่อยเป็นค่อยไป จะช่วยลดภาระการจ่ายบำนาญในระยะสั้น และเพิ่มระยะเวลาการสะสมเงินสมทบในกองทุน การขยายอายุเกษียณจะช่วยให้มีการระดมเงินสมทบในระบบนานขึ้น และลดจำนวนปีที่ต้องจ่ายบำนาญให้กับผู้เกษียณ ซึ่งจะช่วยลดความกดดันต่อกองทุน และทำให้การจ่ายบำนาญมีความมั่นคงมากขึ้น

 

  1. การเพิ่มเพดานค่าจ้างและอัตราเงินสมทบ ควรปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ เพื่อให้รายรับของกองทุนมีความสมดุลกับรายจ่ายระยะยาว การปรับนี้ควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อแรงงานและนายจ้าง การเพิ่มอัตราเงินสมทบสามารถช่วยเพิ่มปริมาณเงินที่ระดมเข้าสู่กองทุน ทำให้กองทุนมีฐานการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นในการจ่ายบำนาญในอนาคต

 

  1. การปรับกลยุทธ์การลงทุน การปรับกลยุทธ์การลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาว การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย รวมถึงการขยายการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศ เป็นวิธีที่สามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนสูงขึ้นได้ โดยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบ การลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ เช่น ตราสารหนี้ หุ้น หรือโครงสร้างพื้นฐานในประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโต อาจช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงและลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดภายในประเทศเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การลงทุนไม่ใช่ปัจจัยหลักในการสร้างความยั่งยืนให้แก่กองทุนได้ จำเป็นต้องมีมาตรการเชิงนโยบายและองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย

 

  1. การส่งเสริมการออมในภาคเอกชน การส่งเสริมการออมในภาคเอกชน การสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือผลิตภัณฑ์ประกันบำนาญ เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นวิธีที่ช่วยลดการพึ่งพาระบบประกันสังคมในระยะยาว อีกทั้งภาครัฐสามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนแนวทางนี้ โดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ที่ออมเงินในกองทุนดังกล่าว รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินในวัยเกษียณให้กับประชาชน การมีระบบการออมที่แข็งแกร่งในภาคเอกชนจะช่วยลดภาระงบประมาณของภาครัฐในอนาคต และทำให้ระบบประกันสังคมสามารถมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำหรือผู้ที่ขาดโอกาสในการออมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ผลกระทบของการปฏิรูปต่อภาคส่วนต่างๆ

 

การปฏิรูปจะส่งผลต่อหลายกลุ่ม ทั้งลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ นายจ้างอาจต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นจากการปรับเพดานค่าจ้างและอัตราเงินสมทบ ซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับลดต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าจ้างพนักงาน หรือการลดการจ้างงานใหม่เพื่อรักษาสมดุลทางการเงินของธุรกิจ การเพิ่มภาระนี้อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงนี้จะช่วยส่งเสริมแรงงานที่มีคุณภาพในระยะยาว ซึ่งอาจนำไปสู่ผลผลิตและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ในขณะที่ลูกจ้างอาจต้องเผชิญกับการหักเงินสมทบที่สูงขึ้นจากเงินเดือน ทำให้มีรายได้สุทธิน้อยลงในระยะสั้น แต่ผลลัพธ์ในระยะยาวจะช่วยให้ได้รับเงินบำนาญที่เหมาะสมกับค่าครองชีพ และลดความกังวลทางการเงินหลังเกษียณ

 

การปฏิรูประบบประกันสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อสร้างความยั่งยืนทางการเงินให้กับกองทุนในระยะยาวและตอบสนองความต้องการของประชากรที่มีอายุยืนยาวมากขึ้น การปรับอัตราเงินสมทบ การปรับสูตรคำนวณบำนาญ และการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน จะช่วยให้ระบบนี้ยังคงเป็นรากฐานสำคัญของความมั่นคงทางการเงินของสังคมไทย โดยจำเป็นต้องมีการร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้การปฏิรูปนี้ประสบผลสำเร็จ ในทำนองเดียวกัน การสร้างความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาและการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้กองทุนประกันสังคมมีศักยภาพในการรองรับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการบริหารลงทุน ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับกองทุนในอนาคต

 

อ่านบทความเกี่ยวกับประกันสังคมเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิรูปประกันสังคมสู่ไทยแลนด์ 4.0: https://actuarialbiz.com/th/knowledgedetails/85

ภาพ: Rawpixel / Getty Images

The post ประกันสังคม ระดมสมอง แก้โจทย์กองทุนหมดใน 30 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
โลกการเงินหลังวิกฤตวันปลดแอกสหรัฐฯ https://thestandard.co/financial-world-after-liberation-day-crisis/ Wed, 09 Apr 2025 02:10:35 +0000 https://thestandard.co/?p=1062138

วันที่ 2 เมษายน 2025 ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump […]

The post โลกการเงินหลังวิกฤตวันปลดแอกสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันที่ 2 เมษายน 2025 ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump ตั้งชื่อว่า Liberation Day หรือวันปลดแอกสหรัฐฯ กลายเป็นวันสำคัญที่โลกการเงินต้องจารึกเอาไว้ไม่มีทางลืม

 

เมื่อ Trump ประกาศมาตรการ Reciprocal Tariffs หรือภาษีตอบโต้ กับคู่ค้าทุกประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวนอย่างหนัก

 

เพียงแค่ 2 วันหลัง Liberation Day ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลงกว่า 10% ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีหุ้นสหรัฐฯ ร่วงลงไปแล้วกว่า 14% เร็วและแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

 

ไม่ใช่แค่หุ้นสหรัฐฯ ภาษีตอบโต้กดดันให้หุ้นทั่วโลกปรับฐานลงพร้อมกันในปีนี้ ส่วนบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ร่วง ดัชนีดอลลาร์ถอยลงไปที่ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ Trump ชนะเลือกตั้ง ไม่เว้นแม้กระทั่งทองคำ สินทรัพย์ผลตอบแทนดีที่สุดของปีก็ปรับตัวลงด้วย

 

โลกการเงินหลังวิกฤตวันปลดแอกสหรัฐฯ อาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว นักลงทุนไทยจึงต้องเรียนรู้และปรับกลยุทธ์รับความผันผวนที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้

 

ที่ภาษีตอบโต้กลายเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาจากหลายสาเหตุ

 

(1) นโยบายนี้รุนแรงแบบไร้เหตุผล 

 

ภาษีตอบโต้ส่งผลให้ภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นจาก 2% ไปเป็น 18% (Weighted Average) สูงที่สุดในรอบเกือบ 100ปี

 

ย้อนกลับไปในอดีต กว่าที่จะเห็นกำแพงภาษีการค้าของสหรัฐฯ สูงขนาดนี้ ต้องถอยไปถึงช่วงกฎหมาย Smoot-Hawley Act ปี 1930 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ Great Depression ถือเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ที่น่ากังวลมาก

 

ขณะเดียวกันนโยบายนี้ก็เปลี่ยนความเชื่อของตลาดที่เคยคิดกันว่า Trump จะใช้ภาษีตอบโต้เป็นเครื่องมือต่อรองทางการค้า แต่ด้วยวิธีการคำนวณภาษีที่ไม่ได้อ้างอิงเหตุผลอื่นนอกจากการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ต่อให้มีการเจรจา ก็ไม่น่าจะมีกรอบหรือเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้การต่อรองไม่จบง่าย 

 

(2) ความไม่แน่นอนเชิงนโยบายพุ่งขึ้นถึงขีดสุด ความเชื่อมั่นธุรกิจ และแผนการลงทุนจะลดลงทันที

 

เมื่อภาษีถูกตั้งขึ้นโดยไม่มีอะไรชัดเจน ทั้งในด้านรายการสินค้า ระยะเวลา หรือเป้าหมาย ความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย (Policy Uncertainty) จึงพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ

 

ความไม่แน่นอนจะทำให้ภาคเอกชนต้องเบรกแผนลงทุนระยะยาวทั้งหมด เพราะไม่แน่ใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งผลให้รายได้ และการบริโภค เสี่ยงไม่เติบโตทั้งระบบ

 

แย่ไปกว่านั้น (3) ผลของ Reciprocal Tariffs อาจนำพาสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะ Stagflation และเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย

 

เพราะนอกจากนโยบายนี้จะทำให้การเติบโตหยุดชะงักแล้ว ภาษีการค้าจะหนุนให้ราคาสินค้าสูงขึ้นทันที หมายความว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะ Stagflation เป็นสถานการณ์ที่ยากต่อการลงทุน

 

จากการประเมินเบื้องต้นของตลาด คาดนโยบายนี้จะกด GDP สหรัฐฯ ปี 2025 ลง 1.0% อัตราเงินเฟ้อจะพุ่ง 1.5% และอัตราการว่างงานอาจทะลุ 4.5%​ ในปีนี้ 

 

ปัญหาต่อมาอยู่ที่การรับมือ แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะสามารถลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยประคองตลาดและเศรษฐกิจได้ แต่ถ้านโยบายการค้าไม่นิ่ง ความเสี่ยงก็จะไม่หายไป ขณะที่นโยบายที่คาดว่าจะช่วยได้ในระยะยาวอย่างการคลังก็พึ่งพาได้ไม่มาก เพราะหนี้ของสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง มีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพ


ต่อให้ยกเลิกนโยบายการค้าทั้งหมดทันที ความเชื่อใจของตลาดก็อาจไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ เส้นทางของตลาดการเงินโลกหลังวันปลดแอกสหรัฐฯ จึงอาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ผมมองความเป็นไปได้ระยะสั้นเป็น 3 กรณี

 

กรณีเลวร้าย Retaliation โลกสู้กลับสหรัฐฯ โอกาส 30%

 

ทางการจีนตอบโต้ไปแล้วและยุโรปกำลังหารือนโยบายรับมือ การตอบโต้ในระดับที่ใกล้เคียงกันเป็นคำตอบที่ตรงไปตรงมาที่สุด เมื่อสหรัฐฯ เอาแน่นอนไม่ได้

 

ในกรณีนี้ ความตึงเครียดจะกระจายไปทั่วโลก เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะพบกับ Supply Shock ครั้งใหญ่ เงินเฟ้อพุ่ง กำไรบริษัทร่วง หุ้นเข้าสู่ตลาดหมี และดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าแรงถ้าทั่วโลกหันไปตั้งกลุ่มการค้าใหม่

 

กรณีฐาน Negotiation เจรจาต่อรอง โอกาส 50%

 

แม้จะเป็นกรณีฐานของผมมาตั้งแต่ต้นปี แต่โอกาสเกิดขึ้นในตอนนี้ลดลงเหลือแค่ 50-50 การเจรจาอาจเกิดขึ้นกับประเทศเล็กที่มีเศรษฐกิจเปิด และถูกตั้งกำแพงภาษีระดับสูงก่อน 

 

แม้การเจรจากับทุกประเทศอาจลากยาวกินระยะเวลาไปเกินปี แต่ในระยะสั้น คาดว่าตลาดจะเริ่มหาจุดสมดุลใหม่ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลง จะผสมให้เงินเฟ้อไม่เร่งตัวขึ้นถึงขั้นวิกฤต เมื่อภาษีส่วนใหญ่ถูกชะลอออกไป ตลาดจะหยุดปรับตัวลงและเข้าโหมดมีความหวัง

 

กรณีสุดท้าย Trump ถอย De-escalation โอกาส 20%

 

เป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าแรงกดดันจากทั้งเศรษฐกิจและโลกการเงินสะเทือนถึงคะแนนความนิยมของทรัมป์และพรรค Republican ถ้ากระแสการเมืองตีกลับ Trump อาจต้องรีแบรนด์กลยุทธ์ เสนอข้อตกลงแลกเปลี่ยน หนุนดอลลาร์อ่อน เพื่อเป็นทางลงให้ทุกฝ่าย

 

บทความหน้า ผมจะไปวิเคราะห์พื้นฐานที่เปลี่ยนไปของตลาดการเงินทั่วโลกหลังวิกฤตวันปลดแอกสหรัฐฯ กันครับ

 

Liberation Day

 

ภาพ: Dilok Klaisataporn / Getty Images 

The post โลกการเงินหลังวิกฤตวันปลดแอกสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แผ่นดินไหวสะท้อนอะไร ‘ระบบราชการ’: ทำไมประสิทธิภาพของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงลดลง https://thestandard.co/earthquake-bureaucracy-reflection/ Tue, 08 Apr 2025 13:32:02 +0000 https://thestandard.co/?p=1062039 earthquake-bureaucracy-reflection

ท่ามกลางข่าวการปฏิรูประบบข้าราชการในหลายประเทศ ไม่ว่าจะ […]

The post แผ่นดินไหวสะท้อนอะไร ‘ระบบราชการ’: ทำไมประสิทธิภาพของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงลดลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
earthquake-bureaucracy-reflection

ท่ามกลางข่าวการปฏิรูประบบข้าราชการในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือเวียดนาม โดยมีเป้าประสงค์คือ ลดไขมันส่วนเกินออก เพราะปัญหาจำนวนข้าราชการล้นเกินงาน บทบาทหน้าที่ทับซ้อนกัน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน

 

แต่ที่ประเทศไทยการปฏิรูประบบราชการ กลับนิ่งสนิทราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

 

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามปีงบประมาณ 2566 พบว่า ประเทศไทยมีกำลังคนภาครัฐ 3,037,803 คน แบ่งเป็นข้าราชการ 58% และกำลังคนประเภทอื่นอีก 42% เช่น ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานจ้าง 

 

รายจ่ายบุคลากร ซึ่งรวมถึงรายจ่ายแฝงมีสัดส่วนสูงถึง 42% ของงบประมาณภาครัฐทั้งหมดในปี 2565 หมายความว่า งบประมาณแผ่นดินเกือบครึ่งหนึ่งเป็นเงินเดือนของข้าราชการและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และรายจ่ายด้านบุคลากรของไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 19.4%

 

รัฐบาลที่ผ่านมาหลายสมัยไม่จริงจังกับการปฏิรูประบบราชการ การลดกำลังพลลง แม้ว่าจะมีการพูดหาเสียงกันมาก่อนเป็นรัฐบาล 

 

แต่พอเป็นรัฐบาลแล้วกลับเงียบสนิท ซ้ำร้ายรัฐบาลบางชุดกลับขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการ สวนทางกับภาคเอกชนมีแต่รัดเข็มขัดหรือลดเงินเดือนพนักงาน

 

แต่ในขณะเดียวกันประสิทธิภาพของข้าราชการหลายแห่งกลับลดลง เชื่องช้า หรือต้องขับเคลื่อนด้วยการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ดูได้จากตัวอย่าง การช่วยเหลือชาวบ้านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จากกรณีดินถล่มอย่างรุนแรง กรณีอุบัติเหตุการก่อสร้างถนนพระราม2 ที่เกิดขึ้นบ่อยมาก การจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ปล่อยปละละเลยมานาน จนต้องถูกกระทุ้งจากฝ่ายค้านและรัฐบาลประเทศจีน มาจนถึงการประกาศเตือนภัยพิบัติแผ่นดินไหวผ่าน SMS อันแสนล่าช้า โยนความรับผิดชอบไปมาระหว่างสองหน่วยงานคือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.

 

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันข้าราชการหลายแห่งมีปัญหาจริงๆ กล่าวคือ

 

  1. เป็นเวลานานแล้วที่คนเก่ง มีความรู้ความสามารถในระบบราชการ มักจะลาออกจากราชการไปทำงานเอกชน เพราะไม่อาจอดทนต่อระบบที่ไม่เป็นธรรมได้

 

  1. ระบบราชการทุกวันนี้ไม่ได้เปิดโอกาสให้คนเก่ง มีความรู้ ความสามารถ คนซื่อสัตย์ มีคุณธรรมได้ไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งสูงๆ เพื่อจะเป็นผู้นำที่มีคุณภาพในระดับกระทรวง กรม กอง

 

  1. ข้าราชการส่วนใหญ่ที่ได้ตำแหน่งสูงๆ ไม่ว่าจะเป็นปลัด อธิบดี ผู้อำนวยการ ส่วนใหญ่ต้องวิ่งเต้น หรือเป็นเด็กนาย เด็กนักการเมือง เด็กบ้านใหญ่ จนกล่าวกันว่า หากเป็นนายตำรวจ นายทหาร หากไม่วิ่งเต้นหรือเป็นเด็กเส้น อย่างเก่งก็ติดยศแค่พลตรีไปจนเกษียณ หรือเด็กหิ้วกระเป๋านาย ได้ดิบได้ดีมากกว่าคนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ ในกรมกอง

 

  1. ข้าราชการระดับสูงที่มีอำนาจ ส่วนใหญ่จึงเป็นคนที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ ไม่เก่ง ไม่มีความรู้ความสามารถสมกับตำแหน่ง แต่รับใช้นายได้ทุกเรื่อง เพราะได้ตำแหน่งมาเพราะนาย ไม่ใช่จากความรู้ความสามารถ 

 

  1. เมื่อระดับหัวแถว ทำงานไม่เก่ง ก็ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาองค์กร เอาแค่งานในหน้าที่ก็ไม่ค่อยทำ นอกจากทำตามใบสั่งนาย งานที่นายอยากให้ทำ หรือคอยวิ่งเต้นดูแลผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ไปตรวจงานจังหวัดใด ก็ต้องไปก่อนให้เห็นหน้า เพราะกลัวตำแหน่งหลุด

 

  1. เมื่อเป็นคนไม่มีความสามารถ หรือความคิดริเริ่มใดๆ เวลาทำงานจึงมักยึดแต่กฎหมาย ระเบียบ เพราะกลัวทำผิดกฎ ไม่คิดจะปรับปรุงกฎระเบียบอันล้าหลัง ไม่เคยคิดจะสร้างสรรค์อะไรใหม่ กรม กองที่ดูแลก็ไม่พัฒนา

 

  1. หากเป็นบอร์ดหรือผู้อำนวยการของรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรอิสระ ส่วนใหญ่มักเป็นโควตาของผู้มีอำนาจทางการเมืองส่งคนและพรรคพวกมานั่งดูแลผลประโยชน์ และคนเหล่านั้นส่วนใหญ่แทบจะไม่เชี่ยวชาญภารกิจของหน่วยงานเหล่านั้นเลย เช่นในช่วงรัฐประหาร บอร์ดรัฐวิสาหกิจและองค์กรอิสระส่วนใหญ่เป็นนายทหารและนายตำรวจมารับรายได้สูงๆ องค์กรเหล่านี้จึงไม่ค่อยก้าวหน้าเพราะขาดมืออาชีพนำพาองค์กร

 

  1. การหาผลประโยชน์ ก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับตำแหน่งสูงๆ ที่ได้มา ไม่แปลกใจที่เรื่องคอลเซ็นเตอร์จึงเน่าสนิท ที่ผ่านมาจึงไม่มีใครคิดจะปราบอย่างจริงจัง จนกระทั่งถูกกดดันจากรัฐบาลจีน หรือบริษัทก่อสร้างจีน บริษัทเดียวที่รับเหมาก่อสร้างตึก สตช. แต่ยังได้ประมูลงานก่อสร้างอาคารของราชการอีกหลายสิบแห่งอย่างน่าตกใจ

 

  1. ข้าราชการระดับสูงส่วนใหญ่จึงแทบจะไม่เคยเห็นหัวหรือใส่ใจดูแลประชาชนผู้เสียภาษีเป็นเงินเดือน เพราะประชาชนไม่มีผลต่อการเลื่อนขั้นเลื่อนยศหรือขึ้นเงินเดือน ต่างจากนายหรือผู้มีอำนาจทางการเมืองที่ให้คุณให้โทษพวกเขา เป็นเจ้านายตัวจริง

 

ตัวอย่างล่าสุดจากกรณีแผ่นดินไหวสะท้อนอะไรกับระบบราชการ

 

อันที่จริงหน่วยราชการที่รับผิดชอบภัยพิบัติมีนับสิบหน่วยงาน แต่แทบจะไม่เคยทำงานประสานกัน ต่างคนต่างทำงาน หลายหน่วยงานก็มีภารกิจซ้ำซ้อนกัน และถ้าทำงานประสานเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ก็ต้องให้นายเป็นคนสั่งการ ถ้าขอความร่วมมือข้ามหน่วย ต้องทำหนังสือเป็นทางการ ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาที่เร่งด่วนเป็นวินาทีแบบแผ่นดินไหวได้เลย

 

ลองคิดเล่นๆ ว่าพนักงานระดับล่างคนหนึ่งที่คอยมอนิเตอร์อยู่หน้าจอ พบว่าเกิดแผ่นดินไหวที่พม่า เขาทำได้อย่างมากก็รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ซึ่งราชการไทยก็ต้องรายงานขึ้นไปตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดี และถ้าจะส่งต่อให้หน่วยงานอื่นเตือนภัยก็ต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานส่งไป คนรับสารก็ต้องเอาไปให้นายของเขารับทราบ กว่าจะแจ้งเตือนภัยส่ง SMS ให้ชาวบ้าน

 

กล่าวคือ กรมอุตุนิยมวิทยาจะเป็นหน่วยงานแรกที่รู้ว่าเกิดแผ่นดินไหว และส่งต่อข้อมูลให้กรมป้องกันภัย และส่งต่อ กสทช. ให้แจ้ง SMS แก่ประชาชน ซึ่งต้องทำหนังสือราชการไปยืนยันด้วย

 

หลักคิดของราชการส่วนใหญ่คือ ไม่อยากรับผิดชอบ ส่งต่อขึ้นไปเรื่อยๆ ให้ผู้มีอำนาจรับผิดชอบและตัดสินใจแทน 

 

แม้จะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของชีวิตผู้คน

 

ขณะที่เมืองนอก หากรู้ว่าเกิดแผ่นดินไหว เขากดปุ่ม SMS ทันที เพราะรู้ว่าความเป็นความตายมันเป็นวินาที

 

ระบบราชการไทยเป็นแบบนี้มานานแล้ว คนรู้ไม่มีอำนาจตัดสินใจ คนมีอำนาจก็มัวแต่ทำตามขั้นตอน เพราะระเบียบสำคัญกว่าชีวิตชาวบ้าน การแก้ปัญหาแบบเร่งด่วน ฉับพลันจึงไม่ค่อยเกิดขึ้น

 

เพราะปัญหาของชาวบ้านไม่เคยอยู่ในความสำคัญอันดับแรกของพวกเขามานานแล้ว

 

อย่างไรก็ตามผู้เขียนเชื่อว่า ยังมีข้าราชการจำนวนมากที่มีความรู้ความสามารถ มีใจเป็นธรรม และอยากดูแลรับใช้ประชาชนอย่างจริงจัง แต่น่าเสียดายว่าคนเหล่านี้แทบจะไม่มีโอกาสได้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงๆ ได้เลย

The post แผ่นดินไหวสะท้อนอะไร ‘ระบบราชการ’: ทำไมประสิทธิภาพของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงลดลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Longevity Economy โอกาสทองเศรษฐกิจใหม่ อินไซต์จาก World Economic Forum https://thestandard.co/opinion-longevity-economy-wef/ Tue, 08 Apr 2025 11:40:16 +0000 https://thestandard.co/?p=1061976

🌍โลกกำลังแก่ และโอกาสใหม่กำลังเกิดขึ้น   ลองนึกภาพ […]

The post Longevity Economy โอกาสทองเศรษฐกิจใหม่ อินไซต์จาก World Economic Forum appeared first on THE STANDARD.

]]>

🌍โลกกำลังแก่ และโอกาสใหม่กำลังเกิดขึ้น

 

ลองนึกภาพว่าเราอยู่ในโลกที่มีผู้สูงวัยมากกว่าคนหนุ่มสาว นี่ไม่ใช่ภาพอนาคต แต่เป็นความจริงที่กำลังเกิดขึ้นใน ‘วันนี้’ 

 

จากรายงานล่าสุดของ World Economic Forum ในชื่อ ‘Future-Proofing the Longevity Economy’ บอกเราว่า ประชากรโลกกำลังแก่ลงอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ที่มีอายุเกิน 65 กำลังจะมากกว่าคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ในไม่กี่สิบปีข้างหน้า

 

หากมองในแง่หนึ่ง นี่อาจเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ถ้ามองอีกมุม นี่คือหนึ่งในโอกาสทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของยุค

 

🌍 เมื่อเราอายุยืนขึ้น ระบบต้องเปลี่ยน

 

ในอดีต ระบบบำนาญและการดูแลผู้สูงวัยมักถูกออกแบบให้เป็นเรื่องของ ‘ปลายทาง’ ชีวิต แต่วันนี้ เมื่ออายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10-20 ปี แถมคนรุ่นใหม่เกิดน้อยลง ระบบแบบเดิมจะไม่เวิร์กอีกต่อไป

 

รายงานชี้ให้เห็นว่า หลายประเทศกำลังปฏิรูประบบบำนาญให้ ‘ยืดหยุ่นและยั่งยืน’ มากขึ้น:

 

แคนาดา ใช้กองทุนบำนาญที่บริหารแบบอิสระจากการเมือง กระจายการลงทุนทั่วโลก และประเมินความยั่งยืนทุก 3 ปี

 

เนเธอร์แลนด์ ปรับจากระบบเงินบำนาญแบบตายตัว ไปสู่ระบบที่ยืดหยุ่นตามความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มอาชีพ

 

รวันดา เปิดตัว EjoHeza ระบบออมเงินสมัครใจสำหรับแรงงานนอกระบบที่เข้าถึงง่ายผ่านมือถือ

 

มาเลเซีย ปรับโครงสร้างกองทุน EPF ให้มีบัญชีออมยืดหยุ่นมากขึ้น พร้อมเปิดช่องทางให้แรงงานนอกระบบเข้าร่วมได้

 

🌍 โอกาสใหม่: จากการเกษียณ สู่ชีวิตหลากบทบาท

 

แนวคิดแบบเดิมที่ว่า ชีวิตมีแค่ 3 ช่วง—เรียน ทำงาน แล้วเกษียณ—กำลังจะล้าสมัย

 

แทนที่ด้วยโมเดลชีวิตหลายบทบาท (Multistage Life) ที่คนวัยเกษียณอาจยังทำงานบางส่วน เช่น เป็นที่ปรึกษา เริ่มธุรกิจ หรือเป็นผู้ดูแลครอบครัว

 

คำถามคือ เราพร้อมแค่ไหนที่จะสร้างระบบที่รองรับชีวิตแบบนี้?

 

🌍 ภาคธุรกิจเองก็มีบทบาทสำคัญ

 

ในโลกที่คนทำงานหลายรุ่นอยู่ร่วมกันในองค์กรเดียว นายจ้างกลายเป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักที่สามารถ ‘เสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน’ ให้พนักงานได้ บริษัทอย่าง Adobe, CVS หรือ Siemens เริ่มมีนโยบายใหม่ที่สนับสนุนทั้งเรื่องการออม การวางแผนเกษียณ และแม้แต่สวัสดิการเฉพาะสำหรับผู้ดูแลคนในครอบครัว

 

🌍 เทคโนโลยีก็เปลี่ยนเกมนี้เช่นกัน

 

AI กำลังเข้ามาช่วยให้การวางแผนทางการเงินและสุขภาพแม่นยำขึ้น แพลตฟอร์มใหม่สามารถออกแบบแผนเกษียณแบบรายบุคคลได้ แต่ก็ต้องระวังความเสี่ยงจากอคติของข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล

 

🌍 เคล็ดลับ 6 ข้อจาก WEF ที่น่าสนใจ

 

  1. สร้างความยืดหยุ่นทางการเงินตลอดช่วงชีวิต เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การเจ็บป่วยหรือการว่างงาน

 

  1. ให้ความรู้ทางการเงินที่เป็นกลางและเข้าถึงได้ง่าย

 

  1. สร้างระบบที่สนับสนุนสุขภาพที่ดีในระยะยาว

 

  1. พัฒนาทักษะใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

  1. ออกแบบพื้นที่และสังคมให้เชื่อมโยงและมีจุดมุ่งหมาย

 

  1. แก้ไขความเหลื่อมล้ำด้านอายุ เพศ และสถานะทางเศรษฐกิจ

 

โดยสรุปแล้ว นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้สูงอายุ แต่คือโครงสร้างใหม่ของเศรษฐกิจโลก

 

ถ้าเราออกแบบระบบที่ทำให้คน ‘ทุกวัย’ สามารถมีส่วนร่วม สร้างคุณค่า และมีความมั่นคงทางการเงินได้ ไม่เพียงแต่โลกจะแก่อย่างมีคุณภาพ แต่จะโตไปด้วยกันอย่างแข็งแรง

The post Longevity Economy โอกาสทองเศรษฐกิจใหม่ อินไซต์จาก World Economic Forum appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุตสาหกรรม Digital – ทางรอดของประเทศไทยในโลกยุค Trump’s Tariff https://thestandard.co/digital-industry-thailand-trumps-tariff-era/ Tue, 08 Apr 2025 00:59:54 +0000 https://thestandard.co/?p=1061632 Trump’s Tariff

หลังจากทรัมป์ประกาศมาตรการภาษีที่สร้างความปั่นป่วนไปทั่ […]

The post อุตสาหกรรม Digital – ทางรอดของประเทศไทยในโลกยุค Trump’s Tariff appeared first on THE STANDARD.

]]>
Trump’s Tariff

หลังจากทรัมป์ประกาศมาตรการภาษีที่สร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ก็ออกมาชี้ทันทีว่า “โลกของเราอาจจะกำลังมุ่งหน้าไปสู่สงครามการค้าเต็มรูปแบบ” (The world may well end up with a full-blown global trade war) และประโยคสั้นๆ นี้ก็เป็นคำอธิบายที่ชัดเจนถึงทิศทางของโลกใหม่ที่เราทุกคนกำลังจะต้องเผชิญ

 

โลกยุคใหม่ในเงา Trump’s Tariff

 

ไม่ว่ามาตรการของทรัมป์จะผ่านการคิดวางแผนมาอย่างแยบยล หรือมาจากความบ้าคลั่งส่วนตัว แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า เป้าหมายที่แท้จริงคือต้องการลดขาดดุลการค้า และต้องการบังคับให้ภาคธุรกิจย้ายฐานการผลิตกลับสหรัฐฯ แบบเต็มตัว (reshoring) จะย้ายแบบครึ่งๆ กลางๆ near-shoring friend-shoring แบบที่ผ่านมาไม่ได้แล้ว ซึ่งทำให้มาตรการ tariff ครั้งนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องการค้าอีกต่อไป แต่เป็นการรื้อโครงสร้าง supply chain และ เศรษฐกิจโลกอย่างพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเลยก็ว่าได้

 

การประกาศครั้งนี้ทำให้เราต้องกลับมาตระหนักว่า ระเบียบโลกเดิมๆ ที่เคยใช้กันมานาน กลายเป็นใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว และ Tariff ก็กลายเป็นเรื่องการเมือง เรื่องการกีดกันประเทศคู่แข่ง มากกว่าเรื่องการค้า และที่สำคัญคือ ไม่มีใครสามารถคาดเดาผู้ซื้อรายใหญ่อย่างสหรัฐฯ (และทรัมป์) ได้อีกต่อไป ต่อให้จะเจรจาตกลงกันไว้ดิบดียังไง ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยไม่มีเหตุผลอะไรรองรับทั้งสิ้น แล้วถ้าจะคอยเปลี่ยนแปลง supply chain เดิมให้รองรับกฎเกณฑ์การค้าแบบใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

 

ปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงพึ่งพิงการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อมาตรการทางการค้าอย่างสูง การเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ จึงส่งผลอย่างรุนแรงโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทย ดังนั้น การหวังพึ่งพาอุตสาหกรรมเหล่านี้เพียงอย่างเดียว หรือเล่นเกมต่อรอง Tariff ไปเรื่อยๆ จึงไม่เพียงพอที่จะรับมือกับความผันผวนจากสงครามการค้าและการเปลี่ยนแปลง supply chain โลกในระยะยาว ไทยเราจำเป็นต้องสร้างสินค้าใหม่ แหล่งรายได้ใหม่ ที่ยืดหยุ่น ปรับตัวได้เร็ว และมี resilient สูงพอที่จะเอาชนะความผันผวนที่คาดเดาไม่ได้นี้

 

ทำไม Digital Industry จึงเป็นคำตอบ?

 

หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์นี้ได้ดีมาก คือ อุตสาหกรรม Digital เพราะ ไม่ขึ้นกับเส้นแบ่งพรมแดนประเทศ ไม่ต้องมีการขนส่ง ไม่มีการผ่านระบบศุลกากร ขายไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว มีสัดส่วนรายได้ต่อต้นทุนสูง และที่สำคัญคือ มีความยืดหยุ่นของ supply chain สูงมาก ลองคิดเล่นๆ ก็ได้ว่า ถ้ามีสินค้าอุตสาหกรรมหรือเกษตรที่โดน Tariff หนักมาก และต้องย้ายการผลิตไปที่อเมริกา จะยากและวุ่นวายขนาดไหน ในขณะที่ digital startup สามารถปรับเปลี่ยน supply chain ด้วยการย้ายกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดหรือบางส่วนไปต่างประเทศได้รวดเร็วกว่ามาก เพราะขั้นตอนการผลิตและการขายสามารถทำจากที่ไหนก็ได้ทั่วโลกผ่าน internet

 

แต่แน่นอนว่า Digital Industry ก็ไม่ได้ปลอดภัย 100% เพราะเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทรัมป์ก็ได้สั่งให้มีการสอบสวนมาตรการ Digital Services Tax (DST) ที่ประเทศอื่นบังคับใช้กับบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ แล้ว และ WTO e-commerce moratorium ซึ่งเป็นข้อยกเว้นเรื่องภาษีสำหรับ digital goods and services ของ WTO ก็กำลังจะหมดอายุในปี 2026 ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ เป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด เพราะกลายเป็นอีกปัจจัยที่สร้างความเสี่ยงและเพิ่มต้นทุนต่อผู้ประกอบการดิจิทัลไทยที่จะทำธุรกิจกับตลาดต่างประเทศในอนาคต แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ด้วยธรรมชาติที่คล่องตัวของธุรกิจ digital ก็ทำให้สามารถปรับตัวได้เร็วกว่าอุตสาหกรรมดั้งเดิม

 

โอกาสครั้งสำคัญของประเทศไทย

 

Trump Tariff ครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นแผ่นดินไหวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งโลก แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว นี่ถือเป็น wake-up call ที่สำคัญ ว่าถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องมีแผนยุทธศาสตร์ด้าน Digital Industry ที่ชัดเจนและทันสมัย เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และก้าวให้ทันประเทศชั้นนำในโลก

 

โดยในยุทธศาสตร์นี้ ไทยควรดำเนินมาตรการที่ชัดเจนและเร่งด่วน ดังนี้

  • สนับสนุนผู้ประกอบการ Digital อย่างครบวงจร ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา (R&D) การสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการด้านดิจิทัล (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเริ่มต้น) การส่งเสริมให้ธุรกิจและผู้บริโภคไทย adopt เทคโนโลยีดิจิทัลได้รวดเร็วขึ้น
  • ช่วยผู้ประกอบการ Digital ขยายตลาดไปสู่ระดับภูมิภาคและระดับโลก ผ่านการให้ทุนสนับสนุน การควบรวม (ทั้งควบรวมกันเอง และ acquire บริษัทต่างชาติ) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การส่งเสริมด้านการตลาดและการขายในระดับสากล
  • ดึงดูดผู้ประกอบการ Digital ให้มาเริ่มสร้างธุรกิจ หรือย้ายธุรกิจมาที่ไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม solopreneur, startup, หรือธุรกิจที่เติบโตแล้ว ด้วยการสร้าง business environment, กฎเกณฑ์ที่ดึงดูดกว่าประเทศอื่น, และการสร้าง digital community ให้เข้มแข็ง
  • ศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัล (เช่น สิงคโปร์ tax benefit การทำ R&D สูงถึง 250% หรือ มาเลเซียให้ Tax holiday สูงสุดถึง 10 ปี กับบริษัทที่ทำธุรกิจด้าน digital เป็นต้น) ทั้งในด้านความสำเร็จ และล้มเหลว แล้วนำมาปรับใช้กับประเทศไทย
  • ปรับปรุงระบบการศึกษาและการ upskill/reskill เพื่อสร้าง digital workforce ที่พร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ได้ทันที

 

ซึ่งที่ผ่านมา แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่งจะได้พยายามผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจังมาโดยตลอด และผมเองก็ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่าย แต่เมื่อวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงเกินกว่าเราจะชะล่าใจได้ เรายิ่งจำเป็นต้องทำให้มากขึ้น เพิ่มทรัพยากรให้มากขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนให้เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพราะการลงทุนใน Digital Industry ครั้งนี้ ไม่ใช่แค่เพื่อให้ไทยสามารถรับมือกับความผันผวนในปัจจุบันได้เท่านั้น แต่คือโอกาสครั้งสำคัญ ที่จะช่วยกำหนดอนาคตของประเทศไทยใน supply chain โลกยุคใหม่ได้ครับ

 

ภาพ: Yuichiro Chino / Getty Images, Wong Yu Liang / Getty Images

The post อุตสาหกรรม Digital – ทางรอดของประเทศไทยในโลกยุค Trump’s Tariff appeared first on THE STANDARD.

]]>