On this day – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 26 Apr 2024 03:23:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 ON THIS DAY: 26 เมษายน 1986 หายนะเชอร์โนบิล https://thestandard.co/on-this-day-26041986/ Fri, 26 Apr 2024 03:23:52 +0000 https://thestandard.co/?p=926913 เชอร์โนบิล

26 เมษายน 1986 คือวันที่หายนะใหญ่คืบคลานมาสู่สหภาพโซเวี […]

The post ON THIS DAY: 26 เมษายน 1986 หายนะเชอร์โนบิล appeared first on THE STANDARD.

]]>
เชอร์โนบิล

26 เมษายน 1986 คือวันที่หายนะใหญ่คืบคลานมาสู่สหภาพโซเวียต มันคือวันที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด กลายเป็นอุบัติเหตุด้านนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดของมวลมนุษยชาติ

 

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1977 ท่ามกลางช่วงเวลาที่รัฐบาลโซเวียตทุ่มเงินมหาศาลเพื่อพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์หลังผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองพริเพียตของสหภาพโซเวียต หรือปัจจุบันคือทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส โดยมีเตาปฏิกรณ์ 4 เครื่องด้วยกัน 

 

25 เมษายน 1986 พนักงานดำเนินการทดสอบเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ตามกำหนดการซ่อมบำรุงปกติ เพื่อทดสอบว่าระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ยังสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่หากระบบไฟฟ้าถูกตัด อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการทดสอบ พนักงานฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย ทำให้ไม่สามารถควบคุมกำลังของเครื่องปฏิกรณ์ได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากข้อผิดพลาดทางเทคนิคในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ ทำให้ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติไม่ทำงาน เมื่อเกิดความร้อนและแรงดันสูงจนเครื่องปฏิกรณ์รับไม่ได้ ในที่สุดแกนเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ก็หลอมละลาย เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ภายใน และระเบิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน 1986 ปลดปล่อยกัมมันตรังสีออกสู่ชั้นบรรยากาศ และตกลงในหลายพื้นที่ของสหภาพโซเวียต รวมถึง รัสเซีย เบลารุส และทางเหนือของยุโรป

 

เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตทันที 31 คน และบาดเจ็บมากกว่า 100 คน แต่ในระหว่างเกิดเหตุรัฐบาลโซเวียตยังไม่ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนในเมืองพริเพียต เมืองต้นแบบที่รัฐบาลโซเวียตสร้างขึ้นในปี 1970 สำหรับบุคลากรชั้นนำกว่า 50,000 คนที่ทำงานในโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร กระทั่ง 36 ชั่วโมงต่อมาจึงออกประกาศให้ประชาชนนับหมื่นคนอพยพ โดยให้นำข้าวของที่จำเป็นเท่านั้นติดตัวไป และไม่มีใครได้กลับมาอีกเลย

 

ในช่วงแรกนั้น สหภาพโซเวียตปิดเรื่องนี้เป็นความลับ แต่ฝุ่นกัมมันตรังสีที่พวยพุ่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศถูกกระแสลมพัดพาไปบริเวณกว้าง และลอยไปไกลจนถึงสวีเดน ทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจพบระดับรังสีที่สูงผิดปกติ กดดันให้รัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องยอมออกมาอธิบายเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน 1986 

 

ตัวเลขอย่างเป็นทางการของผู้ได้สัมผัสกับรังสีปริมาณสูงมีอย่างน้อย 600,000 คน รวมถึงนักดับเพลิงและเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาเก็บกวาดดูแลหลังเกิดเหตุ นอกจากนี้ยังมีประชาชนอีกเกือบ 8.4 ล้านคนในเบลารุส รัสเซีย และยูเครน ที่ได้รับรังสีด้วย

 

หนึ่งในผลกระทบสืบเนื่องคือ ปัญหาสุขภาพของประชาชนในระยะยาว โดยเฉพาะมะเร็งไทรอยด์ การที่รัฐบาลไม่เปิดเผยสถานการณ์จริงในทันที ทำให้ผู้คนหายใจเอาอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นกัมมันตภาพรังสีเข้าไปนานกว่าสัปดาห์ ส่งผลให้ลูกของคนที่ประสบกับเหตุการณ์ตรง ซึ่งจะมีอายุราว 30 ปีในปัจจุบัน มีอัตราการป่วยเป็นโรคมะเร็งไทรอยด์สูงผิดปกติ 

 

การระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลทำให้เกิดการแพร่กระจายของรังสีที่มีอนุภาคมากกว่ารังสีจากระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 100 เท่า นับเป็นหายนะจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รุนแรงมากที่สุดในโลก และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน การอพยพย้ายถิ่น สิ่งแวดล้อม รวมถึงการตั้งคำถามต่อการใช้พลังงานนิวเคลียร์

 

เชอร์โนบิล เชอร์โนบิล

 

อ้างอิง:

The post ON THIS DAY: 26 เมษายน 1986 หายนะเชอร์โนบิล appeared first on THE STANDARD.

]]>
1 เมษายน 2524 – กบฏยังเติร์กพยายามรัฐประหารรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ https://thestandard.co/onthisday-01042524/ Mon, 01 Apr 2024 00:57:54 +0000 https://thestandard.co/?p=917663 เปรม ติณสูลานนท์

กบฏยังเติร์ก หรือกบฏเมษาฮาวาย พยายามก่อรัฐประหารเพื่อยึ […]

The post 1 เมษายน 2524 – กบฏยังเติร์กพยายามรัฐประหารรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปรม ติณสูลานนท์

กบฏยังเติร์ก หรือกบฏเมษาฮาวาย พยายามก่อรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยกลุ่มผู้ก่อการส่วนใหญ่เป็นนายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 หรือรุ่นยังเติร์ก ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังต่างๆ อยู่ในกองทัพบก

 

โดยผู้ก่อการเริ่มยึดอำนาจตั้งแต่เวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 เมษายน 2524 ในระยะแรกได้ยึดสถานที่สำคัญๆ ไว้ได้ อาทิ กรมประชาสัมพันธ์ จนสามารถออกแถลงการณ์ของคณะปฏิวัติได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การให้ข้าราชการไปรายงานตัวที่กองบัญชาการคณะปฏิวัติ ณ หอประชุมกองทัพบก และการประกาศยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 

 

ทว่าฝ่าย พล.อ. เปรม ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ ไปประทับที่กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งกองบัญชาการตอบโต้และใช้อำนาจปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจาก พล.ต. อาทิตย์ กำลังเอก รองแม่ทัพภาคที่ 2

 

ในท้ายที่สุดรัฐบาลสามารถปราบปรามผู้ก่อการได้สำเร็จ ทำให้ผู้ก่อการต้องเดินทางออกนอกประเทศ เช่น พ.อ. มนูญ รูปขจร ลี้ภัยที่ประเทศเยอรมนี ก่อนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ได้รับนิรโทษกรรมทางการเมือง และได้รับการคืนยศทางทหาร ในเวลาต่อมา ส่วน พล.ต. อาทิตย์ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญคุมกำลังทหารต่อต้าน ได้รับความไว้ใจจาก พล.อ. เปรม เลื่อนเป็น พล.อ. อาทิตย์ แม่ทัพภาคที่ 1 คุมกองกำลังรักษาพระนคร และเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกใน 6 เดือนต่อมา

The post 1 เมษายน 2524 – กบฏยังเติร์กพยายามรัฐประหารรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
31 มีนาคม 1889 – เปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส https://thestandard.co/onthisday-31031889/ Sun, 31 Mar 2024 03:30:35 +0000 https://thestandard.co/?p=917534 หอไอเฟล

หอไอเฟลเป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่ในกรุงปารีส เป็นส […]

The post 31 มีนาคม 1889 – เปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส appeared first on THE STANDARD.

]]>
หอไอเฟล

หอไอเฟลเป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่ในกรุงปารีส เป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ตั้งชื่อตาม กุสตาฟ ไอเฟล สถาปนิกและวิศวกรของฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอคอยนี้ โดยสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้าโลกในปี 1889 มีความสูง 300 เมตร หรือ 986 ฟุต ไม่รวมเสาอากาศ 24 เมตร หรือ 72 ฟุต ด้านบน เทียบได้กับตึกประมาณ 75 ชั้น 

 

สำหรับหอไอเฟลเกิดขึ้นหลังจากกรุงปารีสได้เป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้าโลกในปี 1889 เพื่อฉลองการครบรอบ 100 ปีการปฏิวัติฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้จัดการประกวดออกแบบสิ่งก่อสร้างเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงาน โดยมีการส่งแบบเข้าประกวดถึง 100 บริษัท

 

ซึ่งบริษัทที่ได้รับเลือกจากทางกรรมการของปารีสคือแบบของบริษัทของ กุสตาฟ ไอเฟล และได้ทำสัญญากับรัฐบาลในวันที่ 8 มกราคม 1887 

 

รัฐบาลฝรั่งเศสกำหนดสถานที่ก่อสร้างไว้ริมแม่น้ำแซน ปลายสวนสาธารณะช็องเดอมาร์ โดย กุสตาฟ ไอเฟล ได้สัมปทานหอ 20 ปี นับจากวันที่ 1 มกราคม 1890 – ปี 1910 ต่อจากนั้นจะเป็นกรรมสิทธิ์ของกรุงปารีส

The post 31 มีนาคม 1889 – เปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส appeared first on THE STANDARD.

]]>
30 มีนาคม 2543 – สะพานพระราม 3 เปิดให้รถสัญจรเป็นวันแรก https://thestandard.co/onthisday30032543-2/ Sat, 30 Mar 2024 03:57:01 +0000 https://thestandard.co/?p=917329 สะพานพระราม 3

สะพานพระราม 3 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่า […]

The post 30 มีนาคม 2543 – สะพานพระราม 3 เปิดให้รถสัญจรเป็นวันแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
สะพานพระราม 3

สะพานพระราม 3 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี กับถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม 

 

สำหรับสะพานพระราม 3 สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เดิมมีชื่อเรียกกันติดปากว่าสะพานกรุงเทพ 2 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร และยังเป็นสะพานแบบอสมมาตรที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วย

The post 30 มีนาคม 2543 – สะพานพระราม 3 เปิดให้รถสัญจรเป็นวันแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
29 มีนาคม 2492 – ‘โค้ก’ จำหน่ายในไทยครั้งแรก https://thestandard.co/onthisday29032492-2/ Fri, 29 Mar 2024 02:39:01 +0000 https://thestandard.co/?p=916873 โค้ก

โคคา-โคล่า หรือโค้ก วางจำหน่ายในประเทศไทยครั้งแรก มาในร […]

The post 29 มีนาคม 2492 – ‘โค้ก’ จำหน่ายในไทยครั้งแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
โค้ก

โคคา-โคล่า หรือโค้ก วางจำหน่ายในประเทศไทยครั้งแรก มาในรูปขวดบรรจุภัณฑ์ปริมาณ 6.5 ออนซ์ ราคา 1.50 บาท โดย รักษ์ ปันยารชุน นักธุรกิจชาวไทย ร่วมกับหุ้นส่วนชาวต่างชาติ ดำเนินการขออนุมัติลิขสิทธิ์ขวดและเป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2491 และต่อมาได้ขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวให้กับบริษัทผลิตเครื่องดื่ม ไทยเพียว จำกัด 

 

ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าในประเทศไทยประกอบด้วย บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของแบรนด์ รับผิดชอบกิจกรรมการตลาด และมีบริษัทพันธมิตรผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ได้แก่ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ดูแลพื้นที่ใน 63 จังหวัด และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ดูแลพื้นที่ใน 14 จังหวัดภาคใต้

 

เครื่องดื่มน้ำอัดลมสุดซ่านี้ก่อตั้งโดย อาซา แคนด์เลอร์ เปิดบริษัทโคคา-โคล่า ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2435 หลังจากได้ขอซื้อสิทธิบัตรต่อจาก นพ.จอห์น สติธ เพมเบอร์ตัน ผู้คิดค้นเครื่องดื่มชนิดนี้จากต้นโคคา อาซา แคนด์เลอร์ได้ปิดสูตรการผลิตโค้กไว้เป็นความลับ โดยตั้งชื่อให้กับส่วนผสมว่า 7X และให้พนักงานผสมสูตรตามหมายเลขของส่วนผสมนั้น

 

โค้กเป็นเครื่องดื่มที่จัดจำหน่ายกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ครองตลาดน้ำอัดลมมาตลอดศตวรรษที่ 20

The post 29 มีนาคม 2492 – ‘โค้ก’ จำหน่ายในไทยครั้งแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
28 มีนาคม 2507 – ครบ 60 ปี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออกพิมพ์ฉบับแรก https://thestandard.co/onthisday28032507-3/ Thu, 28 Mar 2024 01:24:56 +0000 https://thestandard.co/?p=916401 เดลินิวส์

แสง เหตระกูล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จากลูกจ้าง […]

The post 28 มีนาคม 2507 – ครบ 60 ปี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออกพิมพ์ฉบับแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เดลินิวส์

แสง เหตระกูล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จากลูกจ้างโรงพิมพ์ตงหนำ สี่แยกวัดตึก กรุงเทพฯ ต่อมาเขาเริ่มก่อตั้งบริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด ออกหนังสือรายสัปดาห์ชื่อ เดลิเมล์วันจันทร์ เมื่อปี 2476

 

ต่อมาปี 2493 ออกหนังสือพิมพ์รายวัน เดลิเมล์ แต่ถูกรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งปิดแบบไม่มีกำหนดและไม่มีเหตุผลและข้อกล่าวหา

 

วันที่ 28 มีนาคม 2507 สี่พระยาการพิมพ์กลับมาพิมพ์หนังสือพิมพ์อีกครั้ง โดยใช้ชื่อ แนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์ นำเสนอข่าวทั่วไป มีจำนวน 16 หน้า ราคาฉบับละ 1 บาท

 

ต่อมาปี 2521 ได้ขอเปลี่ยนชื่อหนังสือพิมพ์เป็น เดลินิวส์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2522 และได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

The post 28 มีนาคม 2507 – ครบ 60 ปี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออกพิมพ์ฉบับแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
27 มีนาคม 2457 – ครบ 110 ปี ท่าอากาศยานดอนเมืองเปิดดำเนินการวันแรก https://thestandard.co/onthisday27032457-3/ Wed, 27 Mar 2024 01:26:46 +0000 https://thestandard.co/?p=915909 ท่าอากาศยานดอนเมือง

ท่าอากาศยานดอนเมือง หรือสนามบินดอนเมือง เปิดดำเนินการคร […]

The post 27 มีนาคม 2457 – ครบ 110 ปี ท่าอากาศยานดอนเมืองเปิดดำเนินการวันแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ท่าอากาศยานดอนเมือง

ท่าอากาศยานดอนเมือง หรือสนามบินดอนเมือง เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2457 โดยเป็นท่าอากาศยานพาณิชย์สากลที่สำคัญมากของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางและเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศในภูมิภาค

 

ภายหลังการเปิดใช้งานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในวันที่ 28 กันยายน 2549 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้ปิดลง และเปลี่ยนเป็นสถานที่สำหรับซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ

 

กระทั่งวันที่ 25 มีนาคม 2550 ท่าอากาศยานดอนเมืองกลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (Scheduled Flight) ในประเทศอีกครั้ง หลังพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 2 เนื่องจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องการสานต่อนโยบายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ท่าอากาศยานดอนเมืองกลายเป็นท่าอากาศยานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและเก่าแก่ที่สุดในเอเชียที่ยังคงดำเนินการอยู่

The post 27 มีนาคม 2457 – ครบ 110 ปี ท่าอากาศยานดอนเมืองเปิดดำเนินการวันแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
26 มีนาคม 2567 – ครบ 54 ปี ไทยทีวีสีช่อง 3 https://thestandard.co/onthisday26032567/ Tue, 26 Mar 2024 04:09:29 +0000 https://thestandard.co/?p=915476

‘คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3’ นี่คือคำขวัญของช่อง 3 H […]

The post 26 มีนาคม 2567 – ครบ 54 ปี ไทยทีวีสีช่อง 3 appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3’ นี่คือคำขวัญของช่อง 3 HD หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินแห่งที่ 4 ของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2513 เวลา 10.00 น. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใต้สัญญาสัมปทานในกิจการส่งโทรทัศน์กับบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ต่อมาคือ อ.ส.ม.ท. และ บมจ.อสมท เป็นระยะเวลา 50 ปี 

 

หลังจากกลุ่มบีอีซีเวิลด์ได้ประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล จึงเริ่มออกอากาศคู่ขนานทางช่องหมายเลข 33 ในระบบดิจิทัลภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 และยุติการออกอากาศในระบบอนาล็อกเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563

The post 26 มีนาคม 2567 – ครบ 54 ปี ไทยทีวีสีช่อง 3 appeared first on THE STANDARD.

]]>
25 มีนาคม – วันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาส และการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก https://thestandard.co/onthisday25032024/ Mon, 25 Mar 2024 06:26:47 +0000 https://thestandard.co/?p=915122

วันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื […]

The post 25 มีนาคม – วันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาส และการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อ ทาส และการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก (International Day of Remembrance of the Victims of Slavery and the Transatlantic Slave Trade) 

 

โดยองค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2007 เพื่อรำลึกถึงผู้ที่ทนทุกข์และเสียชีวิตจากการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์’ โดยกว่า 400 ปีที่ผ่านมา มีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กกว่า 15 ล้านคนที่ตกเป็นเหยื่อ

 

ภาพ: Fine Art Images / Heritage Images / Getty Images

The post 25 มีนาคม – วันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาส และการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก appeared first on THE STANDARD.

]]>
24 มีนาคม – วันวัณโรคโลก https://thestandard.co/onthisday-2403/ Sun, 24 Mar 2024 03:18:19 +0000 https://thestandard.co/?p=914768 วันวัณโรคโลก

สหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ (Internatio […]

The post 24 มีนาคม – วันวัณโรคโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
วันวัณโรคโลก

สหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ (International Union Against Tuberculosis and Lung Disease: IUATLD) ประกาศให้วันที่ 24 มีนาคมของทุกปีเป็นวันวัณโรคโลก (World Tuberculosis Day) เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาวัณโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนราว 1.6 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม 

 

การกำหนดให้วันที่ 24 มีนาคมเป็นวันวัณโรคโลก มีขึ้นในปี 1992 ซึ่งเป็นวาระครบ 100 ปี ที่ ดร.โรเบิร์ต ค็อค (Robert Koch) แพทย์ชาวเยอรมัน ประกาศความสำเร็จในการค้นพบสาเหตุของวัณโรค คือเกิดจากเชื้อแบคทีเรียไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ซึ่งนำไปสู่การค้นคว้าวิธีการรักษาและวินิจฉัยโรค

 

โดยในขณะที่ ดร.โรเบิร์ต ค็อค ประกาศความสำเร็จที่เบอร์ลินนั้น เป็นช่วงที่วัณโรคระบาดไปทั่วยุโรปและอเมริกา และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากร 1 ใน 7 ของประชากรทั้งหมด 

 

ภาพ: Spencer Platt / Getty Images

The post 24 มีนาคม – วันวัณโรคโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>