LGBTQIA+ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 28 Apr 2024 07:09:32 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 อิรักเตรียมออกกฎหมายใหม่ LGBTQIA+ อาจต้องโทษจำคุก 10-15 ปี https://thestandard.co/iraq-criminalises-same-sex-relationships/ Sun, 28 Apr 2024 07:09:32 +0000 https://thestandard.co/?p=927651

รัฐสภาอิรักเตรียมออกกฎหมายใหม่ กำหนดโทษจำคุก 10-15 ปีสำ […]

The post อิรักเตรียมออกกฎหมายใหม่ LGBTQIA+ อาจต้องโทษจำคุก 10-15 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

รัฐสภาอิรักเตรียมออกกฎหมายใหม่ กำหนดโทษจำคุก 10-15 ปีสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือกลุ่ม LGBTQIA+ ในอิรัก โดยหนึ่งในสมาชิกของรัฐสภาเผยว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการต่อสู้กับ ‘ความเบี่ยงเบนทางเพศ’ ซึ่งแทรกซึมและก่อให้เกิดข้อถกเถียงต่อค่านิยมอิสลามในสังคมอิรักขณะนี้

 

กลุ่มคนข้ามเพศ หรือทรานส์เจนเดอร์ ในอิรักยังอาจตกเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายอนุรักษนิยมและเคร่งศาสนา โดยพวกเขาอาจถูกจำคุก 1-3 ปีภายใต้ร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ ขณะที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่สนับสนุนการค้าบริการทางเพศและการมีเพศสัมพันธ์ของ LGBTQIA+ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดแปลงเพศ ผู้ชายที่จงใจทำตัวเหมือนผู้หญิง และผู้ที่แลกเปลี่ยนภรรยากัน อาจมีความผิดทางศีลธรรมและต้องโทษจำคุกเช่นเดียวกัน

 

ก่อนหน้านี้อิรักเคยปรับแก้กฎหมายต่อต้านการค้าบริการทางเพศซึ่งประกาศใช้ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยเคยกำหนดบทลงโทษประหารชีวิตสำหรับความสัมพันธ์ระหว่าง LGBTQIA+ หลังได้รับกระแสต่อต้านและแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและบรรดาประเทศตะวันตก

 

ด้าน ราอิด อัล-มาลิกี สมาชิกสภานิติบัญญัติ เผยว่า การผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้เคยถูกเลื่อนการลงมติออกไป จนกว่า โมฮัมเหม็ด เชีย อัล-ซูดานี นายกรัฐมนตรีอิรัก จะเสร็จสิ้นการเดินทางเยือนสหรัฐฯ เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงการเดินทางเยือน

 

อัล-มาลิกียังเน้นย้ำว่า “นี่เป็นเรื่องภายในอิรัก และเราไม่ยอมรับการแทรกแซงใดๆ ต่อกิจการในอิรัก”

 

กลุ่ม LGBTQIA+ ตกเป็นเป้าโจมตีของทางการอิรักมาอย่างยาวนาน โดยก่อนหน้านี้มีความพยายามใช้หลักศาสนาและกฎหมายศีลธรรมมาลงโทษคนกลุ่มนี้ เพื่อรักษาค่านิยมและศีลธรรมอันดีงามของสังคมอิรักต่อไป

 

ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ชี้ว่า การผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ทั้งยังบั่นทอนความสามารถของอิรักในการกระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

 

ด้านลอร์ดเดวิด คาเมรอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ระบุว่า การเตรียมออกกฎหมายฉบับใหม่นี้ ‘เป็นอันตรายและน่ากังวล’ เพราะไม่ควรมีใครตกเป็นเป้าโจมตีเพียงเพราะตัวเขาเป็นเพศอะไร พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลอิรักสนับสนุนหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของประชาชนทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม 

 

แฟ้มภาพ: Ameer Al-Mohammedawi / picture alliance via Getty Images

อ้างอิง:

The post อิรักเตรียมออกกฎหมายใหม่ LGBTQIA+ อาจต้องโทษจำคุก 10-15 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
LGBTQIA+ จะเป็น ‘บุพการี’ ของใครสักคนได้ไหม https://thestandard.co/opinion-lgbtqia-parenting/ Mon, 08 Apr 2024 08:15:01 +0000 https://thestandard.co/?p=920677 LGBTQIA+ จะเป็น ‘บุพการี’ ของใครสักคนได้ไหม

จุดประเด็น   เป็นที่น่ายินดีที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให […]

The post LGBTQIA+ จะเป็น ‘บุพการี’ ของใครสักคนได้ไหม appeared first on THE STANDARD.

]]>
LGBTQIA+ จะเป็น ‘บุพการี’ ของใครสักคนได้ไหม

จุดประเด็น

 

เป็นที่น่ายินดีที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 และต่อมาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 วุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในวาระที่ 1 รับหลักการ ส่งผลให้ร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาในขั้นตอนอื่นๆ ดังที่ได้ทราบกัน

 

อย่างไรก็ดี ประเด็นที่มีการหยิบยกและโต้แย้งในชั้นสภาผู้แทนราษฎรก่อนที่จะมาสู่วุฒิสภาคือ ประเด็นคำว่า ‘บุพการีลำดับแรก’ ซึ่งเป็นการปะทะกันทางความคิดระหว่างกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่มาจากภาคประชาชนกับกรรมาธิการเสียงข้างมาก และท้ายที่สุดที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ไม่ได้เห็นด้วยกับฝั่งกรรมาธิการเสียงข้างน้อย หากแต่เห็นด้วยกับฝั่งกรรมาธิการเสียงข้างมากที่เห็นว่า ไม่ควรบรรจุคำดังกล่าวไว้ในกฎหมาย อันเนื่องมาจากไม่เคยปรากฏคำนี้ (คำว่าบุพการีลำดับแรก) ในระบบกฎหมายมาก่อน และอาจต้องศึกษากฎหมายทั้งระบบที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจำนวนมาก

 

คำว่า ‘บุพการีลำดับแรก’ จึงเป็นอันจบไปในชั้นสภาผู้แทนราษฎร

 

 คุณค่าที่คู่ควร?

 

จบในสภาผู้แทนราษฎร แต่ทว่าไม่จบในสังคม เพราะการจุดประเด็นเกี่ยวกับคำนี้โดยภาคประชาชน ก่อให้เกิดคำถามสำคัญว่า ‘บุพการี’ คืออะไร และในเมื่อระบบกฎหมายกำลังสนใจที่จะกำหนดสถานะสมรสของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ให้เป็น ‘คู่สมรสตามกฎหมาย’ ได้ ซึ่งหมายความว่าเป็นจุดกำเนิดการเป็นครอบครัวในสายตาของกฎหมาย คำถามจึงมีอยู่ว่า คู่สมรสที่เป็นบุคคลเพศเดียวกันจะมี ‘ลูก’ ที่พวกเขาทั้งสองมีหน้าที่ตามกฎหมายและทางศีลธรรมสังคมที่จะอุปการะเลี้ยงดูได้หรือไม่ และเช่นนั้นในสายตาของกฎหมาย จะยอมให้พวกเขาเป็น ‘บุพการี’ ได้หรือไม่

 

พูดง่ายๆ มีลูกได้ไหม และเมื่อมีลูกแล้วจะนับว่าพวกเขาเป็นบุพการีของใครสักคนหนึ่งได้หรือยัง

 

การที่ใครสักคนหนึ่งจะกลายเป็น ‘บุพการี’ ของใครสักคนเป็นเรื่องสำคัญมาก นี่ผู้เขียนยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในมิติของคำในกฎหมาย แต่ขอกล่าวในฐานที่เป็น ‘คำในทางวัฒนธรรม’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของสังคมไทย ที่การเป็นบุพการีไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เนื่องจากมีสถานะเป็นพิเศษที่จะได้รับความเคารพและสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าระหว่างบุคคล 

 

การที่ระบบกฎหมายไม่นับว่าคู่สมรสเพศเดียวกันสามารถเป็นบุพการีของเด็กคนหนึ่งในครอบครัวของเขา และเฉพาะแต่คู่สมรสต่างเพศเท่านั้นที่จะเป็นบุพการีตามกฎหมายของเด็ก จึงนำไปสู่การตั้งคำถามว่า นี่จะเป็น ‘ความไม่เท่าเทียมในกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ หรือไม่

 

คำว่าบุพการีผู้เขียนมองว่า ผู้คนในสังคมไทยสัมผัสได้ถึงความลึกซึ้งและละเอียดอ่อนของคำคำนี้

 

สำรวจนิยามของคำว่าบุพการี

 

ขอวกเข้ามาสำรวจประเด็นทางกฎหมาย

 

แม้คำว่า ‘บุพการีลำดับแรก’ จะไม่ปรากฏตัวในระบบกฎหมาย แต่คำว่า ‘บุพการี’ มีอยู่ทั้งในประมวลกฎหมายแพ่งและกฎหมายอื่น

 

อย่างไรก็ตาม คำว่าบุพการีไม่มีคำจำกัดความในกฎหมายอย่างจะแจ้ง ดังนั้นเมื่อมีการใช้ตัวบทกฎหมายใดที่เอ่ยถึงคำนี้ จึงต้องอาศัยการตีความคำว่าบุพการีนั่นเอง

 

ทั้งนี้ ถ้าใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภาเป็นเครื่องมือในการตีความคำดังกล่าวจะพบว่า พจนานุกรมเก็บความหมายของคำดังกล่าว ไว้ 2 ประการ

 

ประการแรกคือ หมายถึงผู้ที่ทำอุปการะมาก่อน

 

ประการที่ 2 หมายถึงญาติทางสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป โดยการให้ความหมายในประการที่ 2 นี้มีการระบุกำกับไว้ด้วยว่า เป็นการให้ความหมายในทางกฎหมาย

 

การเก็บคำดังกล่าวของพจนานุกรมกำลังบอกอะไรเรา

 

ผู้เขียนคิดว่าน่าจะสะท้อนว่า ความหมายโดยทั่วไปก็อย่างหนึ่ง ความหมายเจาะจงในทางกฎหมายก็อย่างหนึ่ง 

 

แต่เราก็จะสังเกตได้ว่า ความหมายเจาะจงในทางกฎหมายดังที่ราชบัณฑิตยสภาระบุไว้เป็นประการที่ 2 นี้ดูจะแคบ เพราะมุ่งหมายแค่บุคคลทางสายเลือดขึ้นไป ส่วนบุคคลทางสายเลือดนั้นจะเคยหรือไม่เคยมีอุปการคุณก็ไม่สำคัญ

 

ดังนั้นจึงเป็นการให้ความหมายที่ตัดเรื่องบุคคลที่เป็นผู้มีพระคุณในทางข้อเท็จจริงออกไป ป้า, น้า, ลุง, พี่สาว ที่เลี้ยงดูคนใดคนหนึ่งมาตั้งแต่น้อย หรือแม้แต่ครูบาอาจารย์ที่มีอบรมสั่งสอน ก็จะไม่อาจเรียกว่าเป็น ‘บุพการี’ ได้ในความหมายประการที่ 2 นี้

 

เด็กในครอบครัว LGBTQIA+

 

การวางขีดจำกัดของการเป็นบุพการีในความหมายทางกฎหมาย จึงส่งผลต่อการคาดการณ์ต่อไป เมื่อระบบกฎหมายไทยกำลังจะก่อตั้งให้บุคคลเพศเดียวกันเป็นคู่สมรส และอาจมีเด็กในการอุปการะ ‘ร่วมกัน’ ในชีวิตคู่สมรส 

 

เราอาจคาดได้ว่า สถานการณ์ในการที่คู่สมรสเพศเดียวกันจะมีเด็กในอุปการะมี 2 กรณี ได้แก่ หนึ่ง กรณีอุ้มบุญ สอง กรณีรับบุตรบุญธรรม

 

กรณีอุ้มบุญดูเหมือนจะไม่มีข้อที่น่ากังวลแล้ว เพราะร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมกำหนดให้บรรดากฎหมายใดที่อ้างถึงสามี ภริยา หรือสามีหรือภริยา ให้ถือว่าอ้างถึงคู่สมรสตามกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วย เป็นตัวบทที่เหมือนไม้กายสิทธิ์เสกให้คู่รักเพศเดียวกันได้อานิสงส์จากบรรดากฎหมายที่เคยเขียนใช้เฉพาะคู่สามีภริยาชายหญิงด้วยนั่นเอง

 

ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.อุ้มบุญ เปิดช่องให้สามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถอุ้มบุญได้ และบุตรที่เกิดจากการอุ้มบุญจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคู่สามีภริยานั้น ก็ทำให้คู่สมรสเพศเดียวกันอุ้มบุญได้ และให้ถือว่าบุตรที่เกิดจากการอุ้มบุญเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคู่สมรสเพศเดียวกัน เพราะฉะนั้นโดยนัยนี้ คู่สมรสเพศเดียวกันจึงกลายเป็นบุพการี ‘ร่วมกันโดยผลของกฎหมาย’ (ซึ่งในกรณีอุ้มบุญ เด็กอาจไม่ได้มาจากสายเลือดคนใดคนหนึ่งก็ได้ เช่น นายดำสมรสกับนายแดง ทั้งคู่ตกลงกันใช้เซลล์อสุจิของนายดำไปผสมกับไข่ของนางสาวขาว หญิงที่รับอุ้มบุญ)

 

แต่กรณีรับบุตรบุญธรรมดูจะเป็นปัญหา เนื่องจากแม้ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะทำให้คู่สมรสเพศเดียวกันสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ หมายความว่า บุตรบุญธรรมนั้นถือเสมือนบุตรของทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ถูกนับว่าเป็น ‘บุพการี’

 

คำถามคือทำไม

 

ทำไมผู้อุปการคุณที่ยอมให้คนคนหนึ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว มีอำนาจปกครองคนคนนั้นในกรณีที่ยังเป็นผู้เยาว์ และคนคนนั้นมีสิทธิรับมรดกของตน โดยที่ผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมหากบุตรบุญธรรมตายก่อน แต่ท้ายที่สุดผู้รับบุตรบุญธรรมไม่อาจอยู่ในฐานะ ‘บุพการี’

 

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะนักกฎหมายไทยส่วนใหญ่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคำพิพากษาศาลตัดสินว่า คำว่า ‘บุพการี’ ไม่รวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ถือเป็นบุพการีของบุตรบุญธรรม ส่งผลลุกลามต่อไปว่า ดังนั้นคำใดในระบบกฎหมายที่ใช้คำว่าบุพการี ย่อมไม่รวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรมในทุกกรณี

 

รากของคำถามคือเรื่องความยุติธรรม

 

การตีความคำของนักกฎหมายในกรณีนี้ทำให้เกิดคำถามว่า สวนทางกับสามัญสำนึกของชาวบ้านหรือไม่?

 

และเช่นนี้จึงน่าเป็นเหตุให้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภาเก็บความหมายไว้ทั้งสองแนวดังที่ได้กล่าวมาโดยไม่ต้องสงสัย

 

การที่ภาคประชาชนเรียกร้องการบรรจุคำว่า ‘บุพการี’ สำหรับคู่สมรส LGBTQIA+ จึงเป็นการกระทุ้งต่อสามัญสำนึกในทางวัฒนธรรม เป็นการปลุกให้นักกฎหมายหรือนักร่างกฎหมายได้สังเกตถึงความไม่ยุติธรรมในการตีความกฎหมาย

 

กล่าวตัวอย่างง่ายๆ ว่า หากมองด้วยสามัญสำนึกแบบชาวบ้าน ถ้าคู่สมรสเพศเดียวกันร่วมรับเด็กมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม อบรมดูแล ให้ความรักและเอาใจใส่ แต่ไม่เรียกว่าบุพการี แล้วจะเรียกอะไร เป็นหัวหลักหัวตอในครอบครัวหรือ คำถามเย้ยจะเกิดขึ้นกระทุ้งสามัญสำนึกวิธีตอบแบบนักกฎหมายทันที

 

ที่สำคัญการเป็นหรือไม่อาจเป็นบุพการีในทางกฎหมาย ส่งผลทางกฎหมายตามมาอีกนานัปการ ซึ่งไม่แน่ใจว่าภาคประชาชนได้คิดไปไกลถึงผลทางกฎหมายที่จะตามมาของการตีความคำว่า ‘บุพการี’ หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ผลเช่นนั้นมีอยู่จริง

 

เนื่องจากคำว่าบุพการีแทรกตัวอยู่ในระบบกฎหมายหลายที่ เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่จะปล่อยผ่านโดยไม่ฉุกคิด ไม่ว่าจะเป็น

 

  1. สิทธิในการขอต่อศาลของคนที่เป็น ‘บุพการี’ ที่จะให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตที่ตนเป็นบุพการีอยู่นั้นตกเป็นคนไร้ความสามารถ (ข้อสังเกต: ตัวบทเขียนตัวอย่างบีบแบบชัดเจนว่า เฉพาะพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และทวด เท่านั้นที่จะเป็นบุพการีตามตัวบท)
  2. เรื่องคดีอุทลุมที่กฎหมายห้ามฟ้องคนที่อยู่ในฐานะ ‘บุพการี’ เว้นแต่ขออัยการทำให้
  3. ข้อยกเว้นการไม่ถูกกำจัดให้รับมรดก ในกรณีไม่ยอมแจ้งความคนฆ่าเจ้ามรดก หากคนลงมือฆ่าเป็น ‘บุพการี’
  4. กรณีในประมวลกฎหมายอาญาที่กำหนดเป็นบทฉกรรจ์สำหรับบุคคลที่ฆ่าหรือทำร้าย ‘บุพการี’ และเป็นบทลดหย่อนผ่อนโทษหรือให้ยอมความได้ถ้าเป็นเรื่องความผิดต่อทรัพย์ที่เกิดเกี่ยวกับ ‘บุพการี’
  5. กรณีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ให้คนที่อยู่ในสถานะ ‘บุพการี’ จัดการแทนผู้เสียหายได้ ถ้าผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเรื่องคดีเอง

 

ทั้งหมดทั้งมวลต้องตระหนักว่า ‘ผู้รับบุตรบุญธรรม’ ไม่อยู่ในข่ายที่จะเป็น ‘บุพการี’ ในการตีความทางกฎหมายที่ผ่านมาโดยตลอด เรื่องนี้เป็นปรากฏการณ์ที่มีอยู่มาก่อนนานมากแล้ว และแน่นอนว่ามีมาก่อนที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะเข้าสภา

 

ปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ไม่เคยได้ยินเสียงลุกขึ้นต่อสู้ว่า ผู้รับบุตรบุญธรรมควรที่จะได้รับสถานะเป็นบุพการี

 

แต่กระบวนการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมได้จุดประเด็นนี้ขึ้น แม้จะเพียงเริ่มต้นจากการเสนอขึ้นเพื่อประสงค์ให้ใช้คำดังกล่าวเนื่องจากเป็นกลางทางเพศ แต่สิ่งที่ทำให้เกิดการขยับขยายทางความคิดคือ การเรียกร้องให้ฉุกคิดผลทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งระบบกฎหมายไทย

 

ผู้สนใจการถกประเด็นนี้ในสภา ขอให้ไปลองดูบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่ประชุมในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ครับ

 

ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจจะชี้ให้เห็นว่า การร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในสภาหนนี้ ไม่เพียงแต่การพิจารณาเรื่องความเสมอภาคกันในสถานะคู่สมรสของผู้คนในสังคมไทยเท่านั้น หากแต่ยังแตะประเด็นที่ชวนให้ขยับขยายคำถามฉุกคิดไปยังเรื่องอื่นๆ ในทางครอบครัวด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า ‘บุพการี’

 

(น่าสนใจตรงที่ในต่างประเทศต่อสู้กันเรื่องสิทธิที่คู่สมรส LGBTQIA+ จะเป็นผู้ปกครองของเด็ก แต่ของไทยกระเถิบประเด็นออกไปเรื่องสิทธิที่จะใช้คำว่าบุพการีหรือเป็นบุพการีที่ผมยังไม่เคยเห็นในที่อื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่าเพราะในต่างประเทศไม่ได้มีประเด็นกันในเรื่องนี้)

 

โดยส่วนตัวผู้เขียนเสนอว่า กฎหมายควรแก้ไขให้ผู้รับบุตรบุญธรรมถือเป็นบุพการีด้วย เพราะเป็นผู้รับบุคคลเข้ามามีสถานะเป็นส่วนหนึ่งในสายสัมพันธ์ของตน เปรียบเสมือนกับลูกในไส้ ทั้งยังมอบความไว้ใจให้เป็นคนในครอบครัว และเชื่อว่าในสายตาชาวบ้านก็มองว่าผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้มีอุปการะต่อบุตรบุญธรรมอยู่นั่นเอง

 

(อนึ่ง หากแก้เช่นนี้แล้ว ผลดีก็จะเกิดขึ้นกับผู้รับบุตรบุญธรรมที่ไม่ได้เป็นคู่สมรส LGBTQIA+ ด้วย รวมไปถึงคนที่ไม่มีคู่สมรส แต่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเช่นกัน)

 

ท้ายที่สุด แก่นแกนของข้อเรียกร้องในชั้นร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเด็นนี้จึงหนีไม่พ้นเรื่องความเท่าเทียม ที่สะท้อนผ่านถ้อยคำทางวัฒนธรรมอย่างคำว่า ‘บุพการี’

 

ผู้เขียนขอสนับสนุนให้ทบทวนการตีความคำว่า ‘บุพการี’ ที่ตีความแค่ให้จำกัดเพียงบุคคลตามสายเลือดเท่านั้น บุพการีควรรวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรม

 

ครอบครัวไม่ว่าจะเป็นครอบครัวทางสายเลือดหรือครอบครัวโดยการรับบุตรบุญธรรม ไม่ควรแตกต่างกันในประเด็นเรื่องบุพการี

The post LGBTQIA+ จะเป็น ‘บุพการี’ ของใครสักคนได้ไหม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฉลองความรักที่เท่าเทียม 1 มิ.ย. นี้ กทม. พร้อมจัด Bangkok Pride 2024 Celebration of Love https://thestandard.co/1-june-bangkok-pride-2024/ Tue, 02 Apr 2024 12:51:51 +0000 https://thestandard.co/?p=918544 Bangkok Pride 2024

วันนี้ (2 เมษายน) ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกร […]

The post ฉลองความรักที่เท่าเทียม 1 มิ.ย. นี้ กทม. พร้อมจัด Bangkok Pride 2024 Celebration of Love appeared first on THE STANDARD.

]]>
Bangkok Pride 2024

วันนี้ (2 เมษายน) ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมเตรียมการจัดงาน Bangkok Pride 2024 Celebration of Love โดยมี สมบูรณ์ หอมนาน รองปลัดกรุงเทพมหานคร ร่วมประชุม ณ ห้องนพรัตน์ ชั้น 5 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า เขตพระนคร 

 

“ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ 3 ในการจัดไพรด์พาเหรด และโอกาสนี้ต้องขอแสดงความยินดีกับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม หลังสภาผ่านวาระ 3 ถือเป็นข่าวดีของเราทุกคน ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ในวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมาได้มีการรับจดแจ้งสมรสเท่าเทียมทั้ง 50 สำนักงานเขต โดยมีคู่รักมาจดแจ้งชีวิตคู่ (LGBTQIA+) จำนวน 164 คู่ และสำหรับงาน Bangkok Pride 2024 ในปีนี้ กทม. ก็พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่เหมือนเดิม” รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าว

 

ทั้งนี้ งานเทศกาลไพรด์จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสิทธิและเสรีภาพให้กับชาว LGBTQIA+ ซึ่งมีกิจกรรมยิ่งใหญ่ในเดือนมิถุนายนของทุกปี สำหรับงานบางกอกไพรด์จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2022 ที่ถนนสีลม และในปี 2023 บริเวณถนนพระราม 1 ตั้งแต่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครถึงเซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้เข้าร่วมกว่า 1 แสนคน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และมีภาคีร่วมจัดงานจากหลายภาคส่วน

 

และจากความสำเร็จในปีที่ผ่านมา รวมถึง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ผ่านวาระที่ 3 แล้ว ปีนี้นฤมิตไพรด์จับมือกรุงเทพมหานครและภาคี เตรียมยกระดับการจัดงาน Bangkok Pride 2024 ที่มาในคอนเซปต์ Celebration of Love ให้เป็นระดับเฟสติวัล โดยบรรยากาศงานจะเป็นการเฉลิมฉลองความรักที่เท่าเทียม และหลากหลายไปด้วยประเด็นสิทธิของชุมชนเพศหลากหลายในทุกมิติ โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2567 ซึ่งขบวนไพรด์พาเหรดที่ถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของงาน จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2567 ณ ถนนพระราม 1 ตั้งแต่บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติถึงเซ็นทรัลเวิลด์ ประกอบด้วย 5 ขบวน ได้แก่ 

 

ขบวนสีแดง Love Wins ความรัก ขบวนสีเหลือง Love for Identity ตัวตน ขบวนสีเขียว Love for Dignity ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขบวนสีฟ้า Love for Peace and Earth สันติภาพ และขบวนสีม่วง Love for Freedom เสรีภาพ 

 

ในส่วนของกิจกรรมอื่นๆ จะมีการเพิ่มเวทีเสวนาวิชาการพูดถึงประเด็น LGBTQIA+ ทั้งเรื่องการแพทย์ การท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง เพื่อแสดงถึงพลังการขับเคลื่อนงานด้านความเท่าเทียมอย่างเข้มแข็งจากทุกภาคส่วน

 

โดยรองปลัด กทม. ได้กำชับให้ผู้จัดงานหารือกับสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ สำนักงานเขตปทุมวัน ในประเด็นเรื่องการจัดการจราจรและความปลอดภัย โดยให้จัดทำผังการจราจรให้ชัดเจน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนผู้สัญจรในช่วงเวลาการจัดงาน และดูเรื่องสถานที่จุดรวมพลรองรับผู้ร่วมงานก่อนปล่อยขบวนพาเหรด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการปล่อยขบวนเหมือนปีที่ผ่านมา  

 

ทั้งนี้ สำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักงานเขตปทุมวันพร้อมให้การสนับสนุนดูแลความสะอาดและสิ่งแวดล้อมภายในงาน สำนักการแพทย์จะจัดหน่วยแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่ หน่วยปฐมพยาบาล และสำนักอนามัยจะดำเนินการจัดจุดบริการ Pride Clinic และหน่วยงานอื่นๆ พร้อมบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่

 

ในการนี้ ผู้แทนจากกรมพลศึกษา สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ทีมผู้จัดงานบางกอกไพรด์ และหน่วยงานกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม

The post ฉลองความรักที่เท่าเทียม 1 มิ.ย. นี้ กทม. พร้อมจัด Bangkok Pride 2024 Celebration of Love appeared first on THE STANDARD.

]]>
สื่อนอกเกาะติดสมรสเท่าเทียม หลังสภาล่างเห็นชอบ คาดประกาศใช้ชาติแรกอาเซียนภายในปี 2024 https://thestandard.co/foreign-media-thailand-moves-closer-legalising-same-sex/ Wed, 27 Mar 2024 11:41:07 +0000 https://thestandard.co/?p=916272

สื่อต่างประเทศหลายสำนักเกาะติดและรายงานข่าวร่างกฎหมาย ‘ […]

The post สื่อนอกเกาะติดสมรสเท่าเทียม หลังสภาล่างเห็นชอบ คาดประกาศใช้ชาติแรกอาเซียนภายในปี 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>

สื่อต่างประเทศหลายสำนักเกาะติดและรายงานข่าวร่างกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ ของไทย หลังสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) ลงคะแนนเสียงครั้งประวัติศาสตร์ มีมติเห็นชอบผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม นับเป็นก้าวสำคัญของไทยในการสร้างสังคมที่โอบรับความแตกต่างหลากหลายอย่างแท้จริง 

 

หลังจากนี้ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา (สภาสูง) อีก 3 วาระ โดยสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จะลงมติเห็นชอบต่อร่างกฎหมายดังกล่าวได้เพียง 3 กรณีเท่านั้น คือ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และแก้ไขเพิ่มเติม แต่ สว. จะไม่มีอำนาจปัดตกหรือทำให้ร่างกฎหมายที่ผ่านมติเห็นชอบของสภาล่างหายไปจากสภาได้ 

 

หากไม่เห็นชอบ สว. จะยับยั้งและส่งร่างกฎหมายคืนไปยังสภาล่าง เพื่อพิจารณาลงมติใหม่อีกครั้ง ถ้า สส. ยังยืนยันมติเห็นชอบก็จะเข้าสู่กระบวนการบังคับใช้กฎหมายต่อไป แต่ถ้าหาก สส. มีมติไม่เห็นชอบ ร่างกฎหมายนี้ก็จะตกไป

 

หลายฝ่ายคาดว่า ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้อาจได้รับการพิจารณาโดย สว. ชุดใหม่จำนวน 200 คน ที่น่าจะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเดือนกรกฎาคมปีนี้ หลัง สว. 250 คนที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะหมดวาระลงในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้

 

หาก สว. มีมติเห็นชอบและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน มีแนวโน้มที่ไทยจะเป็นชาติแรกในอาเซียนที่ประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้สำเร็จภายในปีนี้ และจะถือเป็นชาติที่ 3 ในเอเชีย ต่อจากไต้หวันและเนปาล

 

ขณะที่ชุมชน LGBTQIA+ ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบเอเชีย ยังคงผลักดันและต่อสู้อย่างหนักเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับความหลากหลายทางเพศ เช่น กรณีของญี่ปุ่น แม้ผลโพลสำรวจความคิดเห็นจะสนับสนุนสิทธิดังกล่าว แต่สังคมญี่ปุ่นก็ยังมีความอนุรักษนิยมอยู่มาก ขณะที่สิงคโปร์ แม้ว่าจะยกเลิกกฎหมายแบนการมีเพศสัมพันธ์ของ LGBTQIA+ ที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ยุคอาณานิคมจนถึงปี 2022 แต่รัฐธรรมนูญสิงคโปร์ก็ยังคงบัญญัติให้ ‘การสมรส’ เกิดขึ้นระหว่างชายและหญิงเท่านั้น และทำให้การแก้ไขนิยามดังกล่าวเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น 

 

ภาพ: BBC, Reuters, New York Times, CNN

อ้างอิง:

The post สื่อนอกเกาะติดสมรสเท่าเทียม หลังสภาล่างเห็นชอบ คาดประกาศใช้ชาติแรกอาเซียนภายในปี 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘พิธา’ ตัวแทนรัฐสภาไทย พูดอะไรในที่ประชุมรัฐสภาโลก ครั้งที่ 148 https://thestandard.co/key-messages-pita-ipu-148/ Wed, 27 Mar 2024 08:12:59 +0000 https://thestandard.co/?p=916152 พิธา ในที่ ประชุมรัฐสภาโลก

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กล่าวในฐ […]

The post ‘พิธา’ ตัวแทนรัฐสภาไทย พูดอะไรในที่ประชุมรัฐสภาโลก ครั้งที่ 148 appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิธา ในที่ ประชุมรัฐสภาโลก

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กล่าวในฐานะตัวแทนสมาชิกรัฐสภาไทยในที่ประชุมรัฐสภาโลก หรือที่ประชุมสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union: IPU) ครั้งที่ 148 ซึ่งจัดขึ้นที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 23-27 มีนาคม 2024

 

พิธาพูดอะไรบ้าง

 

พิธากล่าวว่า มี 3 ประเด็นสำคัญ ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนการสร้างสังคมที่โอบรับความหลากหลาย และเป็น ‘สังคมสำหรับทุกคน’ (Inclusive Society) นั่นคือประเด็นเรื่องสมรสเท่าเทียม สิทธิกลุ่มชาติพันธุ์และชนพื้นเมือง รวมถึงการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความยุติธรรมทางสังคม

 

ในประเด็นเรื่องสมรสเท่าเทียม พิธากล่าวในที่ประชุมว่า “รัฐสภาไทยจะประชุมและร่วมกันตัดสินใจเกี่ยวกับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งถ้าผ่านมติเห็นชอบ ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ผลักดันสมรสเท่าเทียมจนบรรลุผล และเป็นหนึ่งในชาติแรกๆ ในเอเชียที่มีหลักประกันว่าสมรสเท่าเทียมได้รับการตระหนักถึง”

 

ขณะที่ประเด็นเรื่องสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์และชนพื้นเมือง พิธาระบุว่า แม้จะมีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและภาษา แต่คนกลุ่มนี้ก็ควรมีสิทธิได้รับความยุติธรรมในดินแดนที่เป็นบ้านเกิดของพวกเขา ตลอดจนสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาในประเทศไทยได้

 

ส่วนประเด็นด้านการคุ้มครองแรงงาน พิธาชี้ว่า ไทยกำลังให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี คำนึงถึงความเท่าเทียมกันทางเพศ และไทยกำลังพยายามสร้างหลักประกันให้แรงงานทุกคน โดยเฉพาะแรงงานผู้หญิง ให้เข้าถึงสิทธิลาคลอดที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พวกเขาควรจะได้รับ

 

การเมืองของความเป็นไปได้

 

อดีตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของไทยจากพรรคก้าวไกลยังกล่าวอีกว่า “ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ได้เป็นเพียงกฎหมายที่อยู่แค่ในกระดาษอีกต่อไป

 

“เรากำลังส่งข้อความถึงประชาคมโลก ถึงเด็กๆ ที่รู้สึกว่าพวกเขาอาจไม่ได้มีเสียงที่สะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตวิญญาณของพวกเขาว่า ไม่เป็นไรที่จะพูดถึงเรื่องเหล่านี้” และเน้นย้ำว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและสังคมโลก

 

พิธายังใช้โอกาสนี้ขอให้ที่ประชุมรัฐสภาโลกร่วมส่งกำลังใจให้กับประเทศไทยเพราะ “เมื่อได้รับมติเห็นชอบ ร่างกฎหมายนี้จะเป็น ‘ชัยชนะ’ สำหรับชุมชน LGBTQIA+ ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่ทั่วทั้งโลก”

 

พิธากล่าวทิ้งท้ายว่า “นี่คือการเมืองของความเป็นไปได้ ซึ่งอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ และอาจใช้ระยะเวลานาน แต่ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าเราร่วมมือกันทลายกำแพงและอุปสรรคต่างๆ และก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน”

 

ภาพ: Inter-Parliamentary Union (IPU)

อ้างอิง:

The post ‘พิธา’ ตัวแทนรัฐสภาไทย พูดอะไรในที่ประชุมรัฐสภาโลก ครั้งที่ 148 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดรายละเอียดร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หลังผ่านชั้นกรรมาธิการฯ https://thestandard.co/same-sex-marriage-bill-info/ Tue, 12 Mar 2024 05:45:27 +0000 https://thestandard.co/?p=910005 ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

หลังสภารับหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลก […]

The post เปิดรายละเอียดร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หลังผ่านชั้นกรรมาธิการฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

หลังสภารับหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือที่รู้จักกันในนามของกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั้ง 4 ฉบับ เมื่อ 21 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศสามารถสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

 

ล่าสุดการพิจารณาในวาระ 2 รายมาตราในชั้นกรรมาธิการฯ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว และคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาในวาระ 2 และ 3 ในช่วงต้นเดือนเมษายน

 

THE STANDARD เปิดรายละเอียดร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมหลังผ่านชั้นกรรมาธิการฯ

 

ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

 

ภาพประกอบ: ธิดามาศ เขียวเหลือ

The post เปิดรายละเอียดร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หลังผ่านชั้นกรรมาธิการฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘สมรสเท่าเทียม’ ในความเงียบ เมื่อสังคมไปไกล แต่กฎหมายยังช้า https://thestandard.co/same-sex-marriage-in-the-silence/ Mon, 04 Mar 2024 11:45:45 +0000 https://thestandard.co/?p=907031 รศ.ดร.อานนท์ มาเม้า

“…ในเรื่องการสมรส ตามจารีตประเพณีที่มีมาช้านาน วั […]

The post ‘สมรสเท่าเทียม’ ในความเงียบ เมื่อสังคมไปไกล แต่กฎหมายยังช้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
รศ.ดร.อานนท์ มาเม้า

“…ในเรื่องการสมรส ตามจารีตประเพณีที่มีมาช้านาน วัตถุประสงค์ของการสมรสคือการที่ชายและหญิงอยู่กินกันฉันสามีภริยาเพื่อสร้างสถาบันครอบครัว มีบุตร ดำรงเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติ และมีการสืบทอดทรัพย์สิน มรดก มีการส่งต่อความผูกพันกันระหว่างพ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ซึ่งการสมรสในระหว่างบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศอาจไม่สามารถสร้างความผูกพันอันละเอียดอ่อนดังกล่าวได้ ทั้งนี้ หากวิทยาการก้าวหน้า มีการค้นพบรายละเอียดเพิ่มขึ้นว่าสัตว์โลกบางประเภทมีพฤติกรรม หรือมีลักษณะทางชีวภาพแปลกแยกออกไป ก็จัดให้เป็นกลุ่มต่างหากเพื่อแยกศึกษาต่อไป…”

 

ข้อความดังกล่าวหลายคนคงจำได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทย ที่ตัดสินเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 

 

คำวินิจฉัยฉบับนี้ (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564) ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และการเปิดประเด็นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศอย่างกว้างขวาง รวมถึงการอภิปรายกล่าวโยงไปยังแนวคิด ความเชื่อ สิทธิเสรีภาพในเรื่องอื่นๆ ของผู้มีความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย ที่ไม่ใช่แต่เรื่องการสมรสตามกฎหมายเท่านั้น หากแต่รวมถึงกรณีอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ การขจัดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และนโยบายสาธารณะ

 

แท้จริงเรื่องความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องที่มีการรับรู้และกล่าวถึงอยู่ในสังคมไทยและวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะเกิดประเด็นเมื่อมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในปี 2564 เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องใหม่หรือปราศจากพัฒนาการหรือความเป็นมา

 

กล่าวเฉพาะในสังคมไทย เราอาจเห็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศย้อนกลับไปในอดีตได้เป็นหลายร้อยปี แต่ข้อที่ต้องช่วยกันคิดคือความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยจะดำเนินไปในทิศทางไหน ที่สำคัญคือ ‘ควร’ จะดำเนินไปอย่างไร 

 

ผมเห็นว่าอย่างน้อยที่สุด หากกล่าวเฉพาะเรื่องการสมรส ทัศนะของศาลรัฐธรรมนูญที่ตีความว่าวัตถุประสงค์ของการสมรสคืออะไร หรือรองรับให้กับอะไร และเพราะอะไรนั้น ก็ไม่ใช่ทัศนะเดียวแบบที่ผมเห็นพ้องด้วย

 

นี่ยังไม่นับรวมประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย ซึ่งมีการจุดขึ้นแล้วและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงความคิดและกฎหมาย  

 

แน่นอนว่าความคิดเห็นในสังคมไทยมีจำนวนมากและแตกต่าง แต่ทั้งหมดทั้งมวลของสิ่งเหล่านี้รอคอยการคลี่คลายหรือการปรับเปลี่ยน โดยผมเชื่อว่าสังคมไทยนั่นเองจะเป็นผู้เผยคำตอบ แม้จะเป็นคำตอบที่มาจากการปะทะถกเถียงกันหรือเจรจาต่อรองรอมชอมกันในสังคมไทยก็เถอะ

 

ณ ปัจจุบันดูเหมือนว่าสังคมไทยจะใจกว้างต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศมากพอสมควร แต่หากเฝ้ามองนโยบายสาธารณะที่เป็นจริงเป็นจังถึงขั้นการยอมรับเป็นกฎหมาย กลับกลายเป็นว่าพัฒนาการเรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยจะไปช้ามากกว่าที่ผมคาดคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมสังเกตเห็นถึงความเงียบนิ่งสงบของกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับการสมรส หรือที่เรียกว่า ‘สมรสเท่าเทียม’ ในขณะนี้ 

 

เงียบจนหวั่นใจว่าจะร่างออกมาเป็นเช่นใด และยิ่งไปกว่านั้น ล่าสุดการที่สภาผู้แทนราษฎรโหวตคว่ำร่าง พ.ร.บ.การรับรองเพศฯ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ทำให้ผมกลับมาขบคิดเกี่ยวกับทัศนะเรื่องความหลากหลายทางเพศของสภาไทย และก็ยิ่งต้องคิดหนักเมื่อได้ฟังคำอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนในวันนั้น

 

จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ในเวลานี้ ทำให้ผมชักจะไม่แน่ใจเกี่ยวกับทิศทางเรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย ผมอดกลัวไม่ได้ว่าเรื่องนี้จะแย่ลงไปกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงบริบทสังคมโลกยุคปัจจุบัน ดังนั้นนี่จึงเป็นสาเหตุหรือที่มาของการที่ผมตั้งใจจะเขียนบทความสั้นๆ เพื่อให้ข้อมูลหรือจุดประกายความคิดเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQIA+ ออกมาเป็นระยะ 

 

ทั้งนี้ เพราะความเชื่อส่วนตัวของผมที่เห็นว่าโอกาสที่กฎหมายหรือนโยบายสาธารณะอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ในสังคมไทยมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

 

การพิจารณาภาพรวมด้านความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรบ้างนั้น ผมคิดว่าเราอาจมองได้ 2 แง่ ได้แก่ แง่กฎหมาย กับอีกมุมหนึ่งคือแง่ทัศนะของสังคม  

 

ในแง่กฎหมาย ผมขอให้ลองมองย้อนไปในทางประวัติศาสตร์ เพื่อพิจารณาว่าระบบกฎหมายไทยได้ ‘กระทำ’ ต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางบวกหรือลบ เราจะเห็นได้ว่าหากย้อนไปเริ่มต้นพิจารณา ณ ปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่เชิดชูกันว่าเป็นปีประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย นับแต่เวลานั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น เช่น

 

  1. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข รับรองว่าบุคคลรักเพศเดียวกันไม่ได้ถือเป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตหรือป่วยเป็นโรค (หนังสือที่ สธ 0605/375) เมื่อเดือนมกราคม 2545

 

  1. ศาลปกครองเพิกถอนข้อความในใบ สด. ที่ใช้คำว่า ‘โรคจิตถาวร’ กับบุคคลข้ามเพศ (คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 1540/2554) เมื่อเดือนกันยายน 2554

 

  1. ความพยายามใส่คำว่า ‘เพศสภาพ’ เมื่อเดือนมกราคม 2558 ในการร่างรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารปี 2557 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จในท้ายที่สุด 

 

  1. พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม 2558 กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ ‘การแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด’ ได้รับการคุ้มครอง

 

  1. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ว่าการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดให้ทำได้เฉพาะชายและหญิงโดยกำเนิดเท่านั้นไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อความในคำตัดสินที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับทัศนะและการให้เหตุผลของตุลาการ

 

  1. ในเดือนมิถุนายน 2565 สภารับร่างกฎหมายคู่ชีวิตพร้อมกับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม และมีมติให้นำมารวมกันพิจารณา สร้างข้อกังวลว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากร่างกฎหมายทั้งสองมีหลักการที่แตกต่างกัน ท้ายสุดการร่างกฎหมายไม่อาจดำเนินต่อไปได้ เนื่องจากมีการยุบสภาในเดือนมีนาคม 2566

 

  1. ร่างกฎหมายคู่ชีวิตไม่ถูกให้ความสำคัญอีกต่อไป นโยบายของหลายพรรคการเมืองเลือกที่จะชูร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หลังการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ สภามีมติรับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเข้าสู่การพิจารณาเมื่อเดือนธันวาคม 2566 

 

  1. ร่างกฎหมายรับรองเพศที่เสนอโดยฝ่ายค้านถูกบรรจุในการพิจารณาของสภา แต่สภามีมติโหวตคว่ำเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 สร้างความสงสัยเกี่ยวกับท่าทีของนักการเมืองในสภาและทิศทางการพัฒนาเกี่ยวกับสิทธิในความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

 

สำหรับในแง่ทัศนะของสังคม ผมเห็นว่าสังคมไทยมีแนวโน้มที่จะเปิดกว้างต่อบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ  

 

นอกจากนั้น ท่าทีในการสนับสนุนต่อเรื่องความหลากหลายทางเพศก็ดูจะโดดเด่นในบางกรณี

 

‘จุดเด่น’ ที่เห็นได้หรืออาจตีความได้ว่าทัศนะของสังคมไทยยอมรับเรื่องนี้อย่างใจกว้างมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่

 

  1. การเป็นวิถีชีวิตปกติที่เห็นได้จากสื่อบันเทิง: การผลิตสื่อบันเทิงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ มีการนำเสนอเรื่องความหลากหลายทางเพศอย่างมากมาย และมีบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศทำหน้าที่เป็นนักแสดง พิธีกร หรือเจ้าของผลงานอย่างหลากหลาย  

 

ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้เพราะเชื่อว่าสังคมไทยใจกว้างพอที่จะยอมรับและเสพสื่อบันเทิงเหล่านี้ หรือกล่าวให้ถึงที่สุดคือมองเรื่องความหลากหลายทางเพศว่าเป็นเรื่องปกติในวิถีชีวิตประจำวัน

 

  1. ความโดดเด่นเรื่องการแพทย์สำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ: เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าความเชี่ยวชาญของแพทย์และวิทยาการเกี่ยวกับการผ่าตัดแปลงเพศ การดูแลรักษาผู้มีความหลากหลายทางเพศทั้งทางกายและใจ วงการแพทย์ไทยมีชื่อเสียงอย่างยิ่งยวด ส่งผลต่อการดึงดูดคนต่างชาติเข้ามาใช้บริการในประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปี สร้างจุดสนใจในแง่การทำรายได้เข้าประเทศและการเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าว

 

  1. การไม่ถือว่าเป็นคนผิดหรือคนบาปในสังคมไทย: ไม่มีกฎหมายกำหนดให้การเป็นบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยเป็นความผิดตามกฎหมายบ้านเมือง ตัวบทกฎหมายอาญาไทยที่อาจตีความว่ากิจกรรมทางเพศของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศถือเป็นความผิดอาญาก็ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2500 แล้ว ที่สำคัญยังมีการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองการรังแกกลั่นแกล้งผู้มีความหลากหลายทางเพศเสียด้วย นอกจากนั้น สังคมไทยในภาพรวมไม่ได้อยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาหรือความเชื่อที่สั่งสอนและกำหนดวิถีทางเพศที่ปิดช่องหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่อย่างใด การเป็นบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศจึงไม่ใช่อาชญากรหรือคนบาปในประเทศนี้

 

เราอาจกล่าวได้หรือไม่ว่า ในแง่ทัศนะของสังคม ประเทศไทยไปไกล แต่ในแง่กฎหมาย ประเทศไทยไปช้า 

 

เครื่องมือประการหนึ่งที่อาจทำให้เห็นภาพทิศทางของประเทศไทยชัดขึ้นคือ LGBT Equality Index ดัชนีว่าด้วยความเสมอภาคของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่จัดอันดับโดย Equaldex ตัวเลขในนั้นระบุว่า ในปี 2566 ประเทศไทยได้คะแนน 62 จากคะแนนเต็ม 100 และอยู่ในลำดับที่ 46 จากการสำรวจทั่วโลก 197 ประเทศ  

 

ประเทศที่ได้อันดับ 1 คือไอซ์แลนด์ ประเทศที่รั้งท้ายคืออัฟกานิสถาน ทั้งนี้ ไทยเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน แต่เมื่อเทียบกับบางประเทศในเอเชีย ไทยมีอันดับที่ต่ำกว่า เช่น เนปาล และอินเดีย อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี และผมเชื่อว่าในอนาคตจะมีอีกหลายเรื่องที่ท้าทายและรอคอยการตัดสินใจกำหนดทิศทางที่ควรจะเป็นต่อไป 

 

ขอส่งท้ายด้วยคำตัดสินศาลฉบับหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า “…ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวใดจะลึกซึ้งมากกว่าการสมรส ซึ่งประกอบด้วยอุดมคติสูงสุดของความรัก ความซื่อสัตย์ การอุทิศตน การเสียสละ และการเป็นครอบครัวในรูปแบบของการสมรส…คงเป็นเรื่องเข้าใจผิดว่าชายและหญิงเหล่านั้น (บรรดาบุคคลคู่รักเพศเดียวกัน) ไม่เคารพแนวคิดเรื่องการสมรส คำร้องของพวกเขาเหล่านั้นแสดงถึงการเคารพแนวคิดดังกล่าว เคารพอย่างยิ่งในอันที่จะแสวงหาความอิ่มใจในตัวเขา และความหวังที่จะ…ไม่ถูกกีดกันออกจากการเป็นส่วนหนึ่งในสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของอารยธรรม  พวกเขาฟ้องร้องเรียกหาศักดิ์ศรีในความเท่าเทียมในสายตาของกฎหมาย…”

 

นั่นไม่ใช่คำตัดสินของศาลไทย หากแต่เป็นคำพิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาที่ตัดสินเมื่อปี 2558 (คดี Obergefell v. Hodges) 

 

(คำตัดสินดังกล่าวผมคัดมาจากคำแปลคำตัดสินของผมที่เคยเผยแพร่ใน Facebook เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2558 ท่านใดสนใจลองหาต้นฉบับตัวเต็มมาอ่านครับ เป็นคดีที่ให้เหตุผลคมคายมาก)

 

ผมเชื่อว่าสังคมไทยจะกำหนดทิศทางเรื่องความหลากหลายทางเพศไปในทางที่ดีขึ้น อุปสรรคระหว่างทางของการพยายามสนับสนุนเรื่องราวดังกล่าวก็คงมีบ้าง แต่คงไม่อาจหยุดยั้งความเป็นไปของโลกได้ การแลกเปลี่ยนและร่วมกันพิจารณาตัดสินใจอย่างเป็นกิจจะลักษณะทั้งในทางการเมืองและกฎหมาย โดยการยกระดับให้เป็นกติกาของสังคมผ่านการทำงานของรัฐสภาหรือการกำหนดนโยบายสาธารณะของผู้มีอำนาจบริหารน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดและส่งผลชัดเจนที่สุดในชีวิตจริง ไม่ใช่แต่เพียงประเด็นเรื่องการสมรสของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ผมจั่วหัวด้วยคำตัดสินศาลไทยและลงท้ายด้วยคำตัดสินของศาลต่างประเทศเท่านั้น หากแต่ยังมีเรื่องอื่นๆ ด้วยที่กำลังตามมา เช่น การบริจาคเลือด ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศสภาพ การอุ้มบุญ การรับบุตรบุญธรรม และการกำหนดอัตลักษณ์ทางเพศ

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post ‘สมรสเท่าเทียม’ ในความเงียบ เมื่อสังคมไปไกล แต่กฎหมายยังช้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปักหมุด 1 มิ.ย. Bangkok Pride Festival 2024 ฉลองความหลากหลายทางเพศ https://thestandard.co/bangkok-pride-festival-1-june-2024/ Thu, 29 Feb 2024 09:18:32 +0000 https://thestandard.co/?p=905702

วันนี้ (29 กุมภาพันธ์) กรุงเทพมหานคร ร่วมกับนฤมิตไพรด์ […]

The post ปักหมุด 1 มิ.ย. Bangkok Pride Festival 2024 ฉลองความหลากหลายทางเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (29 กุมภาพันธ์) กรุงเทพมหานคร ร่วมกับนฤมิตไพรด์ แถลงข่าวจัด ‘Bangkok Pride Festival 2024’ ภายใต้แนวคิด Celebration of Love นับถอยหลังสู่การใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมก่อนสิ้นปี 2567 โดยในปีนี้การร่วมโบกธงสีรุ้งจะเป็นสัญลักษณ์ของการสนับสนุนสิทธิความหลากหลายทางเพศจากทุกภาคส่วน และเชิญชวนกลุ่ม LGBTQIA+ จากทั่วทุกมุมโลกให้มาเยือนประเทศไทย เพื่อนำเสนอความพร้อมและคุณสมบัติในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน Bangkok World Pride ปี 2030 ได้สำเร็จ

 

การจัดงาน Bangkok Pride Festival 2024 มีสาระที่สำคัญคือ การสนับสนุนและผลักดันให้มีการยอมรับสมรสเท่าเทียมในสังคมไทย หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลบังคับใช้ก่อนสิ้นปี 2567 ไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อนุญาตให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่งงานกันอย่างถูกกฎหมาย

 

รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ และสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ปีนี้จึงจัด Celebration of Love นับถอยหลังพร้อมกันเพื่อสมรสเท่าเทียม และร่วมนับถอยหลังการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวไปพร้อมๆ กัน และเกิดการยอมรับอย่างแท้จริงในสังคมไทย

 

ทั้งนี้ ‘Bangkok Pride Festival 2024’ ในปีนี้จะจัดในวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 15.00-21.00 น. เส้นทางขบวนพาเหรดจะอยู่บนถนนพระราม 1 เริ่มตั้งแต่บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ ศุภชลาศัย ผ่านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ สยามพารากอน วัดปทุมวนาราม ถึงสี่แยกราชประสงค์ บริเวณลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

 

Bangkok Pride Festival 2024 Bangkok Pride Festival 2024

The post ปักหมุด 1 มิ.ย. Bangkok Pride Festival 2024 ฉลองความหลากหลายทางเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘แม้ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่เพื่อยืนยันสิทธิ’ คู่รัก LGBTQIA+ เชียงใหม่ ‘จดแจ้งสมรสเท่าเทียม’ https://thestandard.co/lgbtqia-chiang-mai-14022567/ Wed, 14 Feb 2024 05:58:31 +0000 https://thestandard.co/?p=899604

วันนี้ (14 กุมภาพันธ์) ช่างภาพข่าว THE STANDARD เดินทาง […]

The post ‘แม้ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่เพื่อยืนยันสิทธิ’ คู่รัก LGBTQIA+ เชียงใหม่ ‘จดแจ้งสมรสเท่าเทียม’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (14 กุมภาพันธ์) ช่างภาพข่าว THE STANDARD เดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเก็บภาพบรรยากาศคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศจำนวน 12 คู่ เดินทางมาขอ ‘จดแจ้งสมรสเท่าเทียม’ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ พร้อมเร่งรัดให้มีการออกกฎหมายสมรสเท่าเทียม

 

สำหรับกิจกรรมในวันนี้ มีคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าร่วมจำนวน 12 คู่ โดยมีขบวนแห่ขันหมากและกลองยาวมายังที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ก่อนจะเข้าไปดำเนินการเขียนคำร้องขอจดทะเบียน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนได้อำนวยความสะดวกให้คู่รักทั้งหมดได้ลงชื่อในแบบคำร้องขอจดทะเบียนและบันทึกทะเบียนครอบครัวตามที่ทุกคู่ประสงค์ หลังจากนั้นผู้จัดกิจกรรมได้แจกทะเบียนสมรสจำลองให้กับคู่รักทุกคู่ จากนั้นคู่รักร่วมกันตัดเค้ก โยนดอกไม้ และมีการแสดง Performance Art ปิดท้าย

 

ด้าน ศิริศักดิ์ ไชยเทศ แกนนำจัดงานสมรสเท่าเทียมเชียงใหม่ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมขึ้นในครั้งนี้ เนื่องจากวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันแห่งความรัก หรือ Valentine’s Day คู่รักชาย-หญิงต่างพากันไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมากมาย แต่คู่รักเพศหลากหลาย (LGBTQIA+) กลับไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้เนื่องจากกฎหมายสมรสปัจจุบันยังคงให้สิทธิจดทะเบียนสมรสสำหรับเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมจึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา

 

แม้การขอจดแจ้งในวันนี้จะไม่มีผลใดๆ ในทางกฎหมาย แต่เป็นการร่วมยืนยันสิทธิในการจัดตั้งครอบครัวให้กับทุกเพศ ไม่เฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นการยืนยันข้อเรียกร้องที่ต้องการเร่งผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมของประเทศไทยให้สามารถประกาศใช้ในปี 2567 เพราะสิทธิในการจดทะเบียนสมรสไม่ใช่สิทธิของเพศใดเพศหนึ่ง แต่เป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคนที่ควรได้รับเท่าเทียมกัน

 

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐบาลบริหารประเทศ ส่งผลให้การผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมชะงักจนต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ แต่วันนี้สามารถรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายเข้าสู่สภาได้แล้ว ดังนั้น ควรเร่งให้ออกกฎหมายเพื่อเป็นการรับรองสิทธิและความเท่าเทียมของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศโดยเร็ว

 

The post ‘แม้ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่เพื่อยืนยันสิทธิ’ คู่รัก LGBTQIA+ เชียงใหม่ ‘จดแจ้งสมรสเท่าเทียม’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เตรียมจัด Thailand Pride 2024 มิ.ย. ปีนี้ วางยุทธศาสตร์จัด WorldPride ที่ประเทศไทย https://thestandard.co/thailand-pride-2024-this-june/ Sun, 11 Feb 2024 06:36:18 +0000 https://thestandard.co/?p=898512

วานนี้ (10 กุมภาพันธ์) ที่ร้านอาหารอิ่มเอม บริเวณ Josh […]

The post เตรียมจัด Thailand Pride 2024 มิ.ย. ปีนี้ วางยุทธศาสตร์จัด WorldPride ที่ประเทศไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (10 กุมภาพันธ์) ที่ร้านอาหารอิ่มเอม บริเวณ Josh Hotel มีการจัดประชุมคณะกรรมการจัดงาน Thailand Pride 2024 ซึ่งเป็นคณะทำงานอิสระไม่แสวงหาผลกำไรจากหลากหลายภาคส่วน ประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ ‘ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคธุรกิจ’ ได้ร่วมกันลงนามข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันงาน Thailand Pride 2024 ในวันที่ 1 มิถุนายน 2567 บริเวณถนนสีลม และวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อจัดงาน World Pride ที่ประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย

 

สำหรับรายชื่อคณะกรรมการจัดงานตามเอกสารข้อตกลง ได้แก่ นิกร ฉิมคง, กิตตินันท์ ธรมธัช, ยลลดา สวนยศ, วัฒนา เกี๋ยงพา, ปกป้อง จิตใจใหญ่, พิษณุวัฒน์ สิงห์ชัย, ศศิลป์ ภูสงค์, นภัทร โภคาสัมฤทธิ์, ชานันท์ ยอดหงษ์, เบสท์ วงศ์ไพโรจน์กุล โดยมี ณัฏฐากร ฉัตรสกุลศรี และ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ร่วมลงนามเป็นพยาน

 

ขณะที่สถานที่ลงนามเป็นร้านอาหารปักษ์ใต้ ‘อิ่มเอม’ ตั้งอยู่บริเวณ บูติกโฮเทล ‘Josh Hotel’ อารีย์ซอย 4 โดย จุ๊-เรืองศักดิ์ เกษมศรี ผู้ก่อตั้งโรงแรมและร้านอาหารมีจุดประสงค์จะพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติที่มีลักษณะ LGBTQIA+ Friendly 

 

งานไพรด์ในเดือนมิถุนายนเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ กระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงสิทธิ ตัวตน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ LGBTQIA+ และรำลึกถึงการต่อสู้เคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBTQIA+ จากเหตุการณ์ Stonewall Riots ที่เริ่มต้นในคืนวันที่ 28 มิถุนายน 1969 ณ กรุงนิวยอร์ก งานไพรด์จึงสะท้อนถึงชุมชน LGBTQIA+ ที่เป็นชุมชนใหญ่ ไร้พรมแดน เชื่อมโยงสัมพันธ์กันหลายประเทศทั่วโลก

 

ขณะที่งาน Thailand Pride 2024 ที่จะเกิดขึ้นไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเป็นความร่วมมือร่วมใจกันครั้งใหญ่ ระหว่างภาคประชาชน NGO ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และหน่วยงานราชการ ผลักดันความเป็นธรรมทางเพศ ทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ไปจนถึงกฎหมายและสวัสดิการ 

 

สำหรับการจัด WorldPride เป็นความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานในปี 2030 เพื่อสร้างความภาคภูมิใจของประเทศในระดับสากลถึงการยอมรับตัวตน ศักดิ์ศรีของ LGBTQIA+ และเพิ่มแรงเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ LGBTQIA+ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้วางแผนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความพร้อมของประเทศในการเสนอชื่อเป็นเจ้าภาพจัดงาน WorldPride ที่จะต้องได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกขององค์กร InterPride ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ มีบทบาทกำหนดประเทศที่เหมาะสมในการจัดงาน WorldPride ทุกๆ 2 ปี

The post เตรียมจัด Thailand Pride 2024 มิ.ย. ปีนี้ วางยุทธศาสตร์จัด WorldPride ที่ประเทศไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>