Business – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 23 Jul 2025 11:23:46 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ซีอีโอ คิง เพาเวอร์ เตรียมเดินหน้าปิดกิจการ 3 สาขา Downtown Duty Free รับมือนักท่องเที่ยวลดลง พร้อมเปิดโครงการสมัครใจลาออก จ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน https://thestandard.co/kingpower-close-3-branches-financial-issue/ Wed, 23 Jul 2025 11:23:46 +0000 https://thestandard.co/?p=1098939 kingpower-close-3-branches-financial-issue

ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท […]

The post ซีอีโอ คิง เพาเวอร์ เตรียมเดินหน้าปิดกิจการ 3 สาขา Downtown Duty Free รับมือนักท่องเที่ยวลดลง พร้อมเปิดโครงการสมัครใจลาออก จ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
kingpower-close-3-branches-financial-issue

ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิง เพาเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า บริษัทฯ มีแผนจะดำเนินการปิดกิจการ 3 สาขา ได้แก่ สาขาศรีวารี, พัทยา และมหานคร ภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งเป็นสาขาร้านค้าปลอดอากรในเมือง (Downtown Duty Free) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภาพรวมการท่องเที่ยวที่มีจำนวนของนักท่องเที่ยวกรุ๊ปทัวร์ที่ลดลง

 

อีกทั้งยังเตรียมเปิดโครงการสมัครใจลาออกกับพนักงานเพื่อเป็นการลดต้นทุนการบริหารงาน ซึ่งไม่ได้จำกัดจำนวนพนักงานเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ พนักงานที่เข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออก จะได้รับการชดเชยรายได้ตามอายุของการทำงาน

 

ทั้งนี้ THE STANDARD WEALTH จะพาไปเจาะลึกลงไปที่งบการเงินของ King Power เอง พบตัวเลขที่น่ากังวลหลายประการ ดังนี้

 

  1. หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities): หนี้สินระยะสั้นของ King Power พุ่งขึ้นแตะ 13,813 ล้านบาทในปี 2023 จาก 5,686 ล้านบาทในปี 2022 แม้ตัวเลขที่เคยสูงถึง 7,370 ล้านบาทในปี 2021 จะเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด แต่การที่หนี้สินกลับมาพุ่งสูงอีกครั้งในช่วงที่การท่องเที่ยวฟื้นตัวแล้ว ถือเป็นสัญญาณที่น่ากังวลต่อความสามารถในการชำระหนี้

 

  1. อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio): ตัวเลขนี้บ่งชี้ความเสี่ยงทางการเงินในปี 2023 D/E Ratio ของ King Power อยู่ที่ 10.22 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่สูงมาก (เทียบเท่ากับธุรกิจสถาบันการเงิน) และสูงกว่าช่วงวิกฤตโควิดที่เคยอยู่ที่ 94.46 (ตัวเลขปี 2021 เป็นกรณีพิเศษจากการปรับโครงสร้างทางบัญชี) ตัวเลขนี้ตอกย้ำถึงภาระหนี้ที่สูงจนน่ากังวล

 

  1. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio): ใช้วัดสภาพคล่องในการชำระหนี้ระยะสั้น โดยค่าที่ต่ำกว่า 1 หมายถึงความเสี่ยง ในปี 2023 Current Ratio ของ King Power อยู่ที่ 0.99 เท่า ซึ่งหมายความว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้สินหมุนเวียนทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาการค้างชำระหนี้ต่อ AOT ที่ปรากฏให้เห็น

The post ซีอีโอ คิง เพาเวอร์ เตรียมเดินหน้าปิดกิจการ 3 สาขา Downtown Duty Free รับมือนักท่องเที่ยวลดลง พร้อมเปิดโครงการสมัครใจลาออก จ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดสูตรลับ Karun ชาไทยพรีเมียม แบรนด์ที่ไม่พึ่งโปรโมชัน แต่ขายดี! สวนทางเศรษฐกิจ https://thestandard.co/karun-premium-thai-tea-growth/ Wed, 23 Jul 2025 10:00:38 +0000 https://thestandard.co/?p=1098912 karun-premium-thai-tea-growth

ในวันที่ ‘ร้านชาไทย’ ไหลทะลักเข้าสู่ตลาดจนมองไปที่ไหนก็ […]

The post เปิดสูตรลับ Karun ชาไทยพรีเมียม แบรนด์ที่ไม่พึ่งโปรโมชัน แต่ขายดี! สวนทางเศรษฐกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
karun-premium-thai-tea-growth

ในวันที่ ‘ร้านชาไทย’ ไหลทะลักเข้าสู่ตลาดจนมองไปที่ไหนก็เจอ แต่ทำไม Karun กลับหนึ่งในไม่กี่แบรนด์ที่ยังคงเติบโต สร้างยอดขายและฐานแฟนเหนียวแน่น ด้วยการเป็นแบรนด์ชาไทยพรีเมียมที่ไม่หวังขายแค่รสชาติ แต่ขายคาแรกเตอร์

 

ที่น่าสนใจคือ Karun เดินเกมอย่างไรถึงครองใจลูกค้าได้โดยไม่ต้องพึ่งโปรโมชัน?  แต่กลับขายดีจนมีรายได้ 160 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าทะลุ 200 ล้านบาทในปีนี้ และทำไมการเริ่มจาก ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’ ถึงเป็นคำตอบที่ยั่งยืนในวันที่ธุรกิจต้องมีมากกว่าแค่แผนเดียว ทั้งหมดนี้คือบทเรียนธุรกิจที่ซ่อนอยู่หลังแก้วชาไทยสีสวย ที่มากกว่าเครื่องดื่มธรรมดา

 

THE STANDARD WEALTH มีโอกาสพูดคุยกับ รัส-ธัญย์ณภัคช์ ศิริประภาเจริญ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ชาไทย Karun ในงาน Thailand Restaurant Conference 2025 ถึงเบื้องหลังความสำเร็จของชาไทยที่เลือกจะยืนอยู่บนโพสิชัน ‘พรีเมียม’ ท่ามกลางการแข่งขันสุดดุเดือดในตลาดเครื่องดื่มที่เปลี่ยนเร็วไม่แพ้พฤติกรรมผู้บริโภค

 

รัส-ธัญย์ณภัคช์ ศิริประภาเจริญ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ชาไทย Karun

รัส-ธัญย์ณภัคช์ ศิริประภาเจริญ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ชาไทย Karun

ภาพ: ปวรุตม์ งามเอกอุดมพงศ์ / THE STANDARD LIFE

 


 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ธัญย์ณภัคช์ เริ่มต้นสนทนาว่า Pain Point ของแบรนด์ Karun เริ่มจากการอยากทำธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยเชื่อว่าถ้าแบรนด์มีคุณภาพมากพอ ลูกค้าก็จะพูดแทนเราเอง ดังนั้นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ จึงได้วางโพสิชันให้เป็นชาไทยพรีเมียม ชูจุดแข็งของสูตรบ้านการัน ที่ใช้วัตถุดิบชาคุณภาพส่งตรงมาจากไร่ 3 แห่งในภาคเหนือและใต้

 

ในช่วงที่เปิดร้านแรกๆ จะมีแค่เมนูชาไทยแบบดั้งเดิม ชาดำ ชาไทยปั่น และชาไทยแบบขวดเท่านั้น แต่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยเบื่อเร็วและชอบมองหาตัวเลือกใหม่ๆ ทำให้ต้องเพิ่มรสชาติจากกลิ่นดอกไม้และผลไม้ เช่น ชาไทยกลิ่นดอกหอมหมื่นลี้และกุหลาบ, ชาไทยกลิ่นแมกโนเลียและชาดำผสมส้มยูซุ เข้ามาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค โดยมีราคาเริ่มต้น 85 – 150 บาท ปัจจุบันชาไทยเป็นเมนูซิกเนเจอร์ที่ขายดีสุด และยอดการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อบิลอยู่ที่ประมาณ 140 บาทต่อคน

 

ถึงวันนี้ Karun เดินทางเข้าสู่ปีที่ 6 ตั้งแต่การเข้ามาทำธุรกิจแรกๆ ที่ทำแล้วรู้สึกสนุก แต่พออยู่นานไปรู้สึกว่าต้องแบกรับความกดดันมากขึ้น และมองว่ากลยุทธ์แบบเดิมที่เคยสำเร็จในอดีต จะใช้แบบเดิมไม่ได้ต้องปรับเปลี่ยนเรื่อยๆ

 

แต่กล้าพูดได้เต็มปากว่า ประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก และส่วนหนึ่งที่ทำให้แบรนด์ขายดีเป็นเพราะชัดเจนในกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่แค่การขายชาคุณภาพ แต่ขายคาแรกเตอร์ จนสามารถเข้าไปอยู่ในใจลูกค้า และทำตลาดแบบปากต่อปากได้อย่างแข็งแรง และวันนี้ถึงแม้เราเชื่อในคุณภาพตัวเองแล้ว แต่สิ่งที่ต้องทำต่อไปไม่หยุดคือฟังเสียงลูกค้าแล้วนำมาปรับปรุงพัฒนาแบรนด์ต่อไป

 

Karun ไม่พึ่งโปรโมชัน ย้ำแบรนด์พรีเมียมยังอยู่ได้แม้เศรษฐกิจไม่ดี 

 

ยิ่งในปีนี้ สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว ร้านอาหารหรือร้านเครื่องดื่มที่จับตลาดพรีเมียมอาจไม่เหนื่อยเท่ากับแบรนด์ที่เล่นในตลาดแมส เพราะกลุ่มลูกค้าพรีเมียมยังมีกำลังซื้อ และมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สูง 

 

และสาเหตุที่เลือกเริ่มจากตลาดพรีเมียม หรือตลาดเฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่เพราะอยากวางตัวสูง แต่เพราะไม่อยากลงทุนหนักตั้งแต่แรก พอแบรนด์ตอบโจทย์ได้จริง ลูกค้าก็จะบอกต่อเอง ทำให้เกิดการตลาดแบบปากต่อปาก ซึ่งช่วยประหยัดงบและได้ผลยั่งยืนในระยะยาว

 

ถึงกระนั้น Karun ก็ได้รับผลกระทบอยู่บ้าง โดยเห็นภาพชัดเจนว่ากระแสชาไทยในปีนี้ เงียบลงเมื่อเทียบกับมัทฉะหรือชานอกกระแสอื่น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้นด้วย จนอาจเสพติดโปรโมชันจากแพลตฟอร์มเดลิเวอรี

 

แต่สำหรับ Karun โปรโมชันอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของเรา เพราะแบรนด์ต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้นในระยะยาว แต่สิ่งที่ทำมาต่อเนื่องคือการสร้างความแปลกใหม่ 

 

เช่น การทำคอลแลบฯ กับพาร์ตเนอร์ต่างๆ เช่น Karun จับมือ La Roche ออกเมนูพิเศษ 2 เมนู รับช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ซึ่งได้ผลตอบรับเกินคาด รวมถึงการพัฒนาเมนูอินเอ๊าท์โปรดักต์ ที่นำชาไทยมาผสมกับรสชาติอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ใหม่ๆ

 

Karun ชาไทยพรีเมียม โตสวนกระแสตลาด

 

เปิดแบรนด์น้องใหม่ ‘Avery Wong’ ชานมพรีเมียมเสริมทัพ

 

นอกจาก Karun ที่ยังคงเป็นแบรนด์ฮีโร่แล้ว ยังมีแบรนด์เจริญสังขยา ขายขนมปัง และ Summer Bowl ขายเมนูสายสุขภาพ ล่าสุดได้แตกไลน์แบรนด์น้องใหม่ ‘Avery Wong’ วางโพสิชันนิงเป็นแบรนด์ชานมพรีเมียม คาแรกเตอร์แบรนด์นี้สร้างแบรนด์มาเจาะกลุ่ม Gen Z

 

Karun ชาไทยพรีเมียม โตสวนกระแสตลาด

 

โดยจะเน้นการนำเสนอชานมที่มีรสชาติเอกลักษณ์ แตกต่างจากแบรนด์ชานมอื่นๆ โดยมี 5 รสชาติ และมีการออกแบบร้านและแพ็กเกจจิงแก้วมีการแมตช์สี ครีมและเขียว ซึ่งทำให้ร้านและผลิตภัณฑ์โดดเด่นและจดจำได้ง่าย

 

ปัจจุบันเปิดไปแล้ว 2 สาขา ที่ Gaysorn Amarin และซีคอนบางแคโดยช่วงที่ผ่านมา กระแสตอบรับดี มีลูกค้าต่อคิวซื้อแน่นแทบตลอดเวลา จนทำให้บางเมนูขายหมดตั้งแต่เที่ยงวัน เรียกได้ว่าลูกค้า Karun กับ Avery Wong คือคนละกลุ่มเลย เราตั้งใจให้โปรดักต์แต่ละตัวไม่ซ้ำกัน เพื่อขยายตลาดได้จริงๆ

 

พับแผนขยาย Karun ไปสิงคโปร์และฮ่องกง 

 

เจ้าของแบรนด์ชาไทย Karun กล่าวต่อถึงแผนการขยายสาขาปี 2024 ที่ผ่านมา ได้ขยายร้าน Karun ไปจำนวนมาก แต่ปีนี้ได้ชะลอไว้ก่อน และมาเน้นเพิ่มยอดขายสาขาเดิมแทน และไปเน้นขยายแบรนด์ Avery Wong เพิ่มอีก 5 สาขา

 

จริงๆแล้วในปีนี้บริษัทตั้งเป้าทำยอดขายให้ได้ 220 ล้านบาท จากปีก่อนที่ทำได้ 160 ล้าน แต่ด้วยปัญหาของเศรษฐกิจและกำลังซื้อ ทำให้ทราฟฟิกคนเดินห้างลดลง รวมถึงแนวโน้มของต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้วัตถุดิบชาของเราจะอยู่ในไทย แต่ค่าแรงเกษตรกรปีนี้มีการขึ้น ทุกอย่างมีความท้าทายมาก เราจึงพยายามจะไม่ขึ้นราคาและรักษาคุณภาพสินค้า ทำให้ยอดขายในปีนี้อาจปิดที่ 180 ล้านบาท

 

“การที่จะทำให้แบรนด์อื่นสำเร็จได้เหมือน Karun ถือว่ายากอยู่เหมือนกัน แต่เรายังเชื่อในความมั่นคงของแบรนด์ จะไม่ทำอะไรที่มาไวไปไว และจะไม่ทุ่มงบโฆษณาแบบหว่านแห แต่เน้นปรับแผนให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะดีกว่า เพราะตลาดพรีเมียมคือตลาดที่เรารู้จักและทำได้ดี” เจ้าของแบรนด์ชาไทย Karun ย้ำ

 

Karun ชาไทยพรีเมียม โตสวนกระแสตลาด

 

นอกจากตลาดในประเทศแล้ว ยังมีแผนขยาย Karun ไปสิงคโปร์และฮ่องกง จากเดิมแล้วตั้งใจจะขยายในปี 2025 นี้ แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในฮ่องกงที่กำลังเผชิญภาวะถดถอย จึงต้องเลื่อนแผนออกไปเป็นต้นปีหน้า ซึ่งตอนนี้พยายามติดตามสถานการณ์อยู่เป็นระยะๆ

 

ถามว่าทำไมถึงสนใจเข้าไปเปิดตลาดชาที่ฮ่องกง ยอมรับว่าฮ่องกงเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก แต่ด้วยวัฒนธรรมการดื่มชา ทำให้เราอยากจะไปเจาะตลาดโลคัล ด้วยการชูจุดขายของความเป็นโปรดักต์ไทย รสชาติแตกต่าง มองว่ายังมีกลุ่มคนที่ชอบลองสินค้าต่างชาตินำเข้าอีกมาก

 

วันนี้การทำธุรกิจต้องมีแผนสำรองถึงจะอยู่รอด!

 

ปีนี้การทำธุรกิจไม่สามารถฝากความหวังไว้กับแผนเดียวได้ ต้องมีแผนสำรองไว้หลายทาง ไม่ใช่แค่เพื่อรับมือกับสภาพเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ 

 

ยกตัวอย่างเช่นกระแสชาไทยไม่ใส่สีที่กำลังมาแรง หาก Karun ไม่เคยเตรียมการไว้ตั้งแต่แรก ก็คงจะตามกระแสนี้ไม่ทัน โชคดีที่เรื่องนี้เป็นหนึ่งในแผนที่วางไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ทุกอย่างจึงสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น ยิ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการวางแผนล่วงหน้าในหลายมิติ

 

อีกทั้งยังได้ฝากข้อคิดถึงคนรุ่นใหม่ที่อยากเริ่มทำธุรกิจ นอกจากเงินทุนแล้ว ควรเริ่มจากการเข้าใจตลาดก่อน บางครั้งเห็นคนประสบความสำเร็จจากการเปิดร้านผ่านกระแสโซเชียล ก็อาจทำให้รู้สึกว่าอยากลองเปิดตามดูบ้าง 

 

แต่อยากย้ำว่า ถ้าจะทำธุรกิจจริงๆ ความรู้เรื่องโปรดักต์อย่างเดียวไม่พอ ต้องเข้าใจตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค คู่แข่ง และภาพรวมของธุรกิจให้รอบด้าน การศึกษาทุกแง่มุมให้ดีก่อนเริ่ม คือหัวใจสำคัญของความสำเร็จในระยะยาว

 

ไม่เว้นแม้แต่ Karun กว่าจะเติบโตได้เหมือนทุกวันนี้ ก็ทำการบ้านหนักเหมือนกัน โดยวางเป้าใหญ่ตั้งแต่วันแรก แต่ไม่คิดว่าความสำเร็จจะมาเร็วขนาดนี้ ซึ่งเป้าหมายใหญ่ของแบรนด์คือการเป็น Top of Mind แบรนด์ชาไทยในใจผู้บริโภค

 

The post เปิดสูตรลับ Karun ชาไทยพรีเมียม แบรนด์ที่ไม่พึ่งโปรโมชัน แต่ขายดี! สวนทางเศรษฐกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดโจทย์เศรษฐกิจและความคาดหวังต่อ ‘วิทัย รัตนากร’ ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนใหม่ https://thestandard.co/economic-challenges-bot-governor-vithai/ Wed, 23 Jul 2025 08:22:58 +0000 https://thestandard.co/?p=1098866 วิทัย รัตนากร

เปิดโจทย์เศรษฐกิจและความคาดหวังต่อ ‘วิทัย รัตนากร’ ผู้ว […]

The post เปิดโจทย์เศรษฐกิจและความคาดหวังต่อ ‘วิทัย รัตนากร’ ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิทัย รัตนากร

เปิดโจทย์เศรษฐกิจและความคาดหวังต่อ ‘วิทัย รัตนากร’ ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนใหม่ TDRI มองเป็นโอกาสใหม่ให้ ธปท. ทบทวนนโยบายการเงิน ให้รองรับกับเศรษฐกิจยุคใหม่ พร้อมเตือนทำนโยบายผิดพลาด กระทบทั้งประเทศ ขณะที่ CIMB แนะผู้ว่าฯ ธปท. ต้องเป็น ‘ผู้นำฝ่าคลื่น’ ไม่ใช่แค่ผู้รักษาเสถียรภาพ

 

วานนี้ (22 สิงหาคม) พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอชื่อ ‘วิทัย รัตนากร’ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเป็นบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็น ‘ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลำดับที่ 25 คนที่ 22’ 

 

โดยพิชัยยัง ‘คาดหวัง’ ว่า ผู้ว่าฯ ธปท. คนต่อไปขับเคลื่อนหลายประเด็น โดยเฉพาะในส่วนของสถาบันการเงินและเรื่องแก้หนี้ พร้อมทั้งยืนยันว่า การดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ‘จะเป็นอิสระ’ กระนั้น ธปท. ‘ก็ต้องทำงาน’ ให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

 

โดยจะให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้ประมวลเหตุการณ์ทั้งหมดมาประกอบ และพิจารณาจากทั้งเหตุการณ์ปัจจุบันอย่าง นโยบายภาษีสหรัฐฯ เพื่อกำหนดนโยบาย โดยจะไม่ไปคิดแทนล่วงหน้า ส่วนการหารือเรื่องกรอบเงินเฟ้อขอดูเหตุผลและข้อจำกัดก่อน

 

แนะแบงก์ชาติ Rethink นโยบายการเงิน รองรับโลกเศรษฐกิจยุคใหม่

 

ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ควรใช้โอกาสนี้ทบทวนและประเมินความเหมาะสมของนโยบายการเงินในปัจจุบัน ทั้งในมิติของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินบาท และบทบาทการประสานงานกับนโยบายการคลัง

 

“ผมไม่ได้หมายความว่า (ธปท.) ควรเร่งลดดอกเบี้ยหรือแทรกแซงค่าเงินโดยตรง แต่ผู้ว่าใหม่ซึ่งไม่ใช่ลูกหม้อของแบงก์ชาติ อาจนำมุมมองใหม่เข้ามา ตั้งคำถามและคิดใหม่ (Rethink) เกี่ยวกับเส้นทางที่ควรเดินต่อไป แต่ต้องมีหลักฐานทางวิชาการรองรับ และเน้นผลลัพธ์ที่จับต้องได้”

 

“นโยบายต้องไม่ใช่แค่ถูกทางวิชาการ แต่ต้องเห็นผลจริงในภาคปฏิบัติ” ดร.นณริฏ ย้ำ

 

นอกจากนี้ ดร.นณริฏ ยังตั้งความหวังว่าผู้ว่าคนใหม่จะกล้าคิดกล้าทำในเรื่อง ‘Unconventional’ มากขึ้น เช่น การมีบทบาทเชิงรุกในการจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เรื้อรัง และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ อย่างสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งหากทำได้อาจเป็นกลไกเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในระยะยาว

 

ดร.นณริฏ เสริมอีกว่า การดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ ธปท. มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากการตัดสินใจผิดพลาดในระดับสถาบันการเงินอาจสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อทั้งระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่แค่เฉพาะรายบุคคล

 

นอกจากนี้ ในเชิงสถาบัน ดร.นณริฏ มองว่านี่อาจเป็นครั้งแรกที่ ธปท. มีผู้ว่าที่ไม่ได้มาจากสาย ‘เทคโนแครต’ โดยตรง และเป็นโอกาสที่จะปรับสมดุลของ DNA ภายในองค์กรเพื่อให้เกิดพลังผสานและตอบโจทย์ความท้าทายในปัจจุบันได้อย่างแท้จริง

 

“เราต้องเร่งหาคำตอบว่า ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน โดยเฉพาะในช่วงที่ความเห็นทางนโยบายแตกต่างหลากหลายเช่นนี้ ทั้งแบบ Conventional และ Unconventional การ Rethink นโยบายที่มีอยู่จึงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่น” ดร.นณริฏ ทิ้งท้าย

 

‘ลงจากหอคอย สู่ท้องทุ่ง’ เพื่อฟังเสียงจากรากหญ้า

 

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB Thai) โพสต์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook เกี่ยวความคาดหวังต่อบทบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ คือ ‘วิทัย รัตนากร’ โดยชี้ว่าถึงเวลาแล้วที่ ธปท. จะต้อง “ลงจากหอคอย สู่ท้องทุ่ง” เพื่อรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนในระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง

 

ดร.อมรเทพ ระบุว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกเปราะบาง หนี้ครัวเรือนสูง และภาคการผลิตต้องการการฟื้นตัว บทบาทของผู้ว่าฯ ธปท. จึงไม่ใช่เพียงผู้รักษาเสถียรภาพเท่านั้น แต่ต้องเป็นผู้นำที่มีความกล้าในการ ‘ฝ่าคลื่นใหญ่’ ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน โดย ดร.อมรเทพ มองว่า วิทัยมีจุดแข็งในฐานะผู้บริหารที่เคยผ่านการพลิกฟื้นสถาบันการเงินมาแล้วหลายแห่ง เช่น ธนาคารอิสลามและธนาคารออมสิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารทรัพยากรจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

ในมุมมองของ ดร.อมรเทพ ผู้ว่าฯ คนใหม่ควรมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้:

 

  • เปิดใจรับฟังเสียงประชาชน: ธปท. ควร ‘เปิดประตูหอคอย ฟังเสียงบ้านนา’ และประเมินนโยบายการเงินโดยคำนึงถึงความเป็นอยู่ของคนตัวเล็ก, SME และผู้มีรายได้น้อย ไม่ใช่เพียงแค่มองตัวเลขทางสถิติอย่างเงินเฟ้อหรือ GDP เท่านั้น แต่ต้องเชื่อมโยงอัตราดอกเบี้ยเข้ากับ ‘ชีวิตจริง’ ของคนไทย
  • สร้างสมดุลระหว่างเสถียรภาพและนวัตกรรม: นอกจากการดูแลเรื่องเสถียรภาพแล้ว ธปท. ต้องกล้าที่จะ ‘เปิดพื้นที่’ ให้เทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ เช่น ดิจิทัลแบงก์ ได้เติบโตควบคู่ไปกับกรอบการกำกับดูแลที่แข็งแกร่ง เพื่อให้ระบบการเงิน ‘ทั้งปลอดภัยและไม่ล้าสมัย’
  • สื่อสารอย่างจริงใจ: ความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางเกิดจาก ‘ความไว้วางใจ’ ที่ประชาชนรู้สึกได้ ผู้ว่าฯ คนใหม่จึงควรสื่อสารด้วยภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจง่าย กล้าบอกความจริง และกล้าฟังเสียงที่หลากหลาย เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่า ธปท. ‘อยู่ข้างเขา’
  • กล้าตัดสินใจเพื่ออนาคต: ในบางครั้งนโยบายที่ถูกต้องอาจไม่เป็นที่นิยมในระยะสั้น แต่มีความจำเป็นเพื่อปูทางสู่เศรษฐกิจที่มีศักยภาพในระยะยาว ผู้ว่าฯ ต้องมีความกล้าที่จะตัดสินใจเพื่ออนาคตของประเทศ
  • ดำรงความเป็นอิสระ: ดร.อมรเทพเน้นย้ำถึง ‘ความเป็นอิสระ’ ของธนาคารกลางอย่างแท้จริง โดยไม่เอนตามแรงกดดันทางการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ ซึ่งความอิสระนี้คือการยืนอยู่บนหลักวิชาและข้อมูลเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ

 

ดร.อมรเทพ ทิ้งท้ายว่า บทบาทของผู้ว่าฯ ธปท. ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากวิทัยสามารถยืนหยัดด้วยความโปร่งใส เปิดใจ และกล้าตัดสินใจอย่างเป็นธรรม ประเทศไทยก็อาจจะได้ผู้นำที่ ‘ใช่จริงๆ’ ในเวลาที่จำเป็นที่สุด

 

ชาติศิริเชื่อผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนใหม่ เดินหน้าแก้หนี้ครัวเรือน

 

ขณะที่ ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เชื่อว่า การขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ‘ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย’ ของ ‘วิทัย รัตนากร’ น่าจะเห็นการแก้หนี้ครัวเรือนมากขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้จำนวนมาก

 

ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงให้เห็นว่า สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมเครือ) ในไตรมาส 1 ปี 2568 หดตัวอยู่ที่ 1.3% จากระยะเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน และหดตัวหนักกว่าไตรมาส 4 ปี 2567 ที่หดตัวอยู่ที่ 0.4% โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่ยังอยู่ในระดับสูง 

 

โดยยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non-Performing Loan: NPL) ไตรมาส 1 ปี 2568 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.48 แสนล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.9% โดยปัจจัยหลักมาจากสินเชื่อ SMEs และสินเชื่อที่อยู่อาศัย

The post เปิดโจทย์เศรษฐกิจและความคาดหวังต่อ ‘วิทัย รัตนากร’ ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาฯ เห็นชอบ ‘พ.ร.บ. กอช. (หวยเกษียณ)’ วาระ 2-3 ส่งวุฒิสภาถก 30 วัน ขายงวดแรกไตรมาส 4 https://thestandard.co/lottery-retirement-fund/ Wed, 23 Jul 2025 08:05:16 +0000 https://thestandard.co/?p=1098859 lottery-retirement-fund

ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ใ […]

The post สภาฯ เห็นชอบ ‘พ.ร.บ. กอช. (หวยเกษียณ)’ วาระ 2-3 ส่งวุฒิสภาถก 30 วัน ขายงวดแรกไตรมาส 4 appeared first on THE STANDARD.

]]>
lottery-retirement-fund

ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แถลงข่าวว่า วันนี้ 23 กรกฎาคม 2568 ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือหวยเกษียณ ในวาระที่ 2 โดยพิจารณาเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 427 เสียง ไม่เห็นชอบ 1 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง และไม่ลงคะแนนเสียง 4 เสียง และส่งไปวุฒิสภา

 

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 3 ครั้งที่ 3 ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือหวยเกษียณ ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว โดยคณะกรรมาธิการได้มีการแก้ไข จำนวน 2 มาตรา ได้แก่ มาตรา 2 และมาตรา 8 (มาตรา 44/3 มาตรา 44/4 มาตรา 44/7 มาตรา 44/10 มาตรา 44/12 และมาตรา 44/14) เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ซื้อ หวยเกษียณ ให้สามารถได้รับเงินออมทรัพย์คืนก่อนอายุ 60 ปี ในกรณีทุพพลภาพ (จำนวนไม่เกิน 3 ครั้ง) และกรณีขอรับเงินคืนบางส่วนตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง กำหนดให้มีการคุ้มครองเงินต้นของผู้ออมทรัพย์ที่ซื้อหวยเกษียณ และกำหนดให้กองทุนการออมแห่งชาติแจ้งยอดเงินสะสมและเงินสมทบของสมาชิกหรือเงินออมทรัพย์ของผู้ออมทรัพย์

 

สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบในวาระที่ 2 และ 3 ต่อวุฒิสภา โดยวุฒิสภาจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เนื่องจากเป็นร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวด้วยการเงิน หากวุฒิสภาเห็นชอบโดยไม่มีการแก้ไขให้ถือว่าร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีจะได้นำร่างพระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

 

“คาดว่าจะเปิดหวยเกษียณให้พี่น้องประชาชนซื้อได้งวดแรกภายในไตรมาส 4 ปีนี้ อีกไม่กี่เดือน พบกับงวดแรกของหวยเกษียณ ซื้อหวย-เงินไม่หาย-กลายเป็นเงินออม ศุกร์ได้ลุ้น-สุขได้ออม ไปด้วยกัน” เผ่าภูมิกล่าว

The post สภาฯ เห็นชอบ ‘พ.ร.บ. กอช. (หวยเกษียณ)’ วาระ 2-3 ส่งวุฒิสภาถก 30 วัน ขายงวดแรกไตรมาส 4 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สยามพิวรรธน์ ผนึกพลังพันธมิตรและองค์กรระดับโลก จาก “ค้าปลีก” สู่ “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” [PR News] https://thestandard.co/siam-piwat-global-partnership-opportunity-platform/ Wed, 23 Jul 2025 05:55:00 +0000 https://thestandard.co/?p=1098616 สยามพิวรรธน์

  “สยามพิวรรธน์” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ศูน […]

The post สยามพิวรรธน์ ผนึกพลังพันธมิตรและองค์กรระดับโลก จาก “ค้าปลีก” สู่ “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” [PR News] appeared first on THE STANDARD.

]]>
สยามพิวรรธน์

 

“สยามพิวรรธน์” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ศูนย์การค้า แต่เป็น “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” ที่เชื่อมโยงพลังระดับโลกเข้ากับผู้ประกอบการรายย่อย โดยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และความยั่งยืน ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกภายใต้โมเดลระบบนิเวศธุรกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเปิดพื้นที่ให้ทั้งเมืองเติบโตไปพร้อมกัน

 

🟣Siam Piwat x Huawei

เชื่อมต่อ ONESIAM Global Visitor Card ผ่าน HarmonyOS เข้าถึงผู้ใช้สมาร์ตโฟน 400 ล้านเครื่องในจีน ยกระดับประสบการณ์นักท่องเที่ยวคุณภาพ

 

🟣Siam Piwat x MEA (กฟน.)

ร่วมโครงการ Utility Green Tariff (UGT1) เปลี่ยนศูนย์การค้าสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนกว่า 30% ภายในปี 2025 

 

🟣Siam Piwat x UNESCO 

ลงนาม LOI ร่วมส่งเสริมศิลปหัตถกรรมจาก 7 เมืองสร้างสรรค์ของไทย ได้แก่ เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สุโขทัย เชียงราย เพชรบุรี และสุพรรณบุรี

 

🟣Siam Piwat x SACIT (สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย)

ส่งเสริมศักยภาพช่างฝีมือไทย ตั้งแต่ครูศิลป์ของแผ่นดินจนถึงดีไซเนอร์รุ่นใหม่ พัฒนาหัตถศิลป์ไทยให้เป็นอาชีพ ผ่านแพลตฟอร์มไอคอนคราฟต์

 

🟣Siam Piwat x CEA (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์) 

ร่วมผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย มูลค่ากว่า 1.44 ล้านล้านบาท พร้อมเปิดพื้นที่ในศูนย์การค้าให้กลายเป็นเวทีโชว์ผลงานนักสร้างสรรค์

 

🟣Siam Piwat x มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

ยกระดับภูมิปัญญาล้านนา ผ่านโครงการ “มาเหนือ MAKE” เชื่อมชุมชนกับตลาดจริง คาดสร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 450 ล้านบาท ภายใน 3 ปี

 

ทั้งหมดนี้คือการออกแบบอนาคตของธุรกิจที่ไม่ใช่แค่เติบโตเพียงผู้เดียว แต่เติบโตไปด้วยกันกับทุกภาคส่วน จากคนตัวเล็กในชุมชน สู่ความร่วมมือระดับโลก เปลี่ยนพื้นที่ค้าขายใจกลางเมือง ให้กลายเป็นศูนย์กลางของแรงบันดาลใจที่ส่งต่อได้ทั่วโลก

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

The post สยามพิวรรธน์ ผนึกพลังพันธมิตรและองค์กรระดับโลก จาก “ค้าปลีก” สู่ “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” [PR News] appeared first on THE STANDARD.

]]>
Food Waste: เมื่อธุรกิจอาหาร นำไปสู่ ‘ขยะล่องหน’ ที่เราไม่เคยมองเห็น https://thestandard.co/food-waste-restaurants-th/ Wed, 23 Jul 2025 05:53:23 +0000 https://thestandard.co/?p=1098800 food-waste-restaurants-th

ในยุคที่ธุรกิจร้านอาหารต้องงัดกลยุทธ์ทุกวิถีทางเพื่อดึง […]

The post Food Waste: เมื่อธุรกิจอาหาร นำไปสู่ ‘ขยะล่องหน’ ที่เราไม่เคยมองเห็น appeared first on THE STANDARD.

]]>
food-waste-restaurants-th

ในยุคที่ธุรกิจร้านอาหารต้องงัดกลยุทธ์ทุกวิถีทางเพื่อดึงดูดลูกค้าและรับมือกับกำลังซื้อที่ชะลอตัว สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ‘ขยะอาหาร’ (Food Waste) คือผลกระทบที่มาพร้อมกับการเติบโตของธุรกิจอาหารและการบริโภคในชีวิตประจำวัน 

 

ขยะอาหารทั่วโลกและในประเทศไทย 

 

UNEP (โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ) รายงานปี 2567 พบว่า ทั่วโลกสร้างขยะอาหารเฉลี่ย 79 กิโลกรัม/คน/ปี เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 74 กิโลกรัม/คน/ปี แต่ที่น่าตกใจคือ ประเทศไทยมีปริมาณขยะอาหารสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกมาก โดยอยู่ที่ 86 กิโลกรัม/คน/ปี เพิ่มขึ้นจาก 79 กิโลกรัม/คน/ปี และสูงกว่าหลายประเทศในอาเซียน 

 

ในประเทศไทย ขยะอาหารคิดเป็น 38% ของขยะมูลฝอยทั้งหมด หรือประมาณ 10.24 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากครัวเรือน เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ และอาหารที่หมดอายุ ตัวเลขนี้เป็นความท้าทายสำคัญที่ไทยต้องเร่งลดขยะอาหารลงครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2573 ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายย่อยที่ 12.3) 

 

ความแตกต่างระหว่าง Food Waste และ Food Loss

 

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าขยะอาหารคือสิ่งเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วมีสองประเภทหลัก คือ 

  1. ‘ขยะอาหาร’ (Food Waste) คืออาหารที่ยังรับประทานได้แต่ถูกทิ้ง ณ ปลายทางของห่วงโซ่อุปทาน เช่น ร้านค้าปลีก หรือผู้บริโภค สาเหตุอาจมาจากอาหารเสื่อมสภาพ หมดอายุ หรือไม่ได้ถูกบริโภคตามเวลาที่เหมาะสม เช่น อาหารที่หมดอายุในร้านค้าปลีก อาหารที่เหลือในร้านอาหาร หรืออาหารที่เหลือทิ้งที่บ้าน 

 

  1. ‘การสูญเสียอาหาร’ (Food Loss) เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นทางของห่วงโซ่อุปทาน เช่น ระหว่างการผลิต เก็บเกี่ยว แปรรูป หรือกระจายสินค้า ก่อนถึงมือผู้บริโภค ปัญหานี้มักเกิดจากระบบที่ไม่สมบูรณ์ เช่น โครงสร้างพื้นฐานไม่ดี ศัตรูพืช หรือความเสียหายจากสภาพอากาศ 

 

ทั้ง Food Waste และ Food Loss ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 8-10% ของทั่วโลก นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์/ปี ในขณะที่ประชากรเกือบ 800 ล้านคนทั่วโลกยังขาดแคลนอาหาร 

 

แนวทางการลด Food Waste & Food Loss

 

การแก้ไขปัญหานี้ต้องจัดการตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ 

  • ในภาคการเกษตร: ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต, ฝึกอบรมเทคนิคการจัดการผลผลิต และสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำเป็น เพื่อลดความเสียหายตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงพัฒนาระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ 
  • สำหรับภาคการแปรรูปและการค้าปลีก: การบริหารจัดการสินค้าคงคลังและฝึกอบรมพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ การส่งเสริมให้ผู้บริโภคยอมรับสินค้าที่อาจมีรูปลักษณ์ไม่สมบูรณ์แต่ยังคงคุณภาพ จะช่วยลดขยะอาหารได้อย่างมาก 

 

สำรวจแบรนด์อาหารชั้นนำ ‘บริหาร Food Waste’ 

 

เมื่อพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสะดวกสบายมากขึ้น ขยะจากบรรจุภัณฑ์และเศษอาหารจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากจัดการไม่ถูกวิธี เศษอาหารจะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งยิ่งซ้ำเติมวิกฤตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก THE STANDARD WEALTH ชวนดูว่า 4 แบรนด์อาหารชั้นนำเหล่านี้มีวิธีจัดการ Food Waste อย่างไรบ้าง

 

โอ้กะจู๋ (Oh! Juice) 

 

ชลากร เอกชัยพัฒนกุล CEO บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ (โอ้กะจู๋) เน้นนโยบาย ‘Zero Waste to Landfill’ โดยมุ่งนำขยะกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตให้มากที่สุด ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ 

 

โดยระดับต้นน้ำ  โอ้กะจู๋ จะนำเศษผักจากการตัดแต่ง เศษอาหารจากร้านและครัวเรือน รวมถึงใบไม้ กิ่งไม้ จาก 2 เทศบาลในอำเภอสารภี มาทำเป็น ปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อใช้ในโรงเรือน เริ่มมา 6-7 ปี และผลิตปุ๋ยได้เฉลี่ย 1,000-2,000 ตัน/ปี ล่าสุดปี 2567 ได้ถึง 2,527 ตัน นอกจากนี้ยังเปิดให้ชาวบ้านนำเศษขยะมาแลกปุ๋ย ช่วยลดการเผาขยะและฝุ่น PM 2.5 

 

ส่วนระดับกลางน้ำ ใช้วิธีบริหารจัดการระบบขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการสูญเสีย 

 

และระดับปลายน้ำ โอ้กะจู๋ สื่อสารกับลูกค้าเพื่อสร้างความตระหนัก เช่น สอบถามหากต้องการนำผักบางส่วนกลับบ้าน หากลูกค้ามาเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งช่วยลดขยะอาหารหน้าร้านได้ถึง 80%  ส่วน 20% ที่เหลือจะถูกแยกทิ้งอย่างชัดเจน และอยู่ระหว่างหารือกับ กทม. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด เช่น มอบให้พนักงานกวาดขยะหรือคนไร้บ้าน นอกจากนี้ โอ้กะจู๋ยังลดการใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้งและหันมาใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษมากขึ้น 

 

สุกี้ตี๋น้อย 

 

นัทธมน พิศาลกิจวนิช ผู้ก่อตั้งสุกี้ตี๋น้อย เปิดตัวโปรเจกต์ ‘ร้านข้าวแกง’ ‘ตี๋น้อยปันสุข’ เพื่อบริหารจัดการวัตถุดิบตัดแต่ง (เนื้อสัตว์และผัก) จากครัวกลางที่ไม่ได้มาตรฐานสำหรับการเสิร์ฟในร้าน แต่ยังมีคุณภาพดี โดยนำมาปรุงเป็นเมนูกับข้าวจำหน่ายในราคาย่อมเยา เพื่อลด Food Waste และช่วยให้ผู้คนเข้าถึงอาหารคุณภาพดี (ข้อมูลการจัดการขยะเพิ่มเติมคาดว่าจะเปิดเผยในรายงาน ESG หลัง IPO) 

 

MK สุกี้ 

 

MK Restaurant Group มีนโยบายลด Food Waste 50% ภายในปี 2573 (เทียบปีฐาน 2566) โดยยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ประกอบด้วย 

  • การจัดการต้นทาง: พัฒนาระบบจัดซื้อ, จัดเก็บ, จัดส่ง และควบคุมคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา 
  • การนำไปใช้ประโยชน์: นำอาหารส่วนเกินที่ยังอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยไปเป็นอาหารพนักงาน, จำหน่ายต่อ, หรือบริจาคให้สถานสงเคราะห์/มูลนิธิ บริจาคให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงสัตว์หรือเป็นส่วนผสมในการเพาะปลูก นำวัตถุดิบที่เหลือไปใช้ประโยชน์อื่น เช่น กากมะนาวใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ หรือนำไปวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 

 

After You 

 

After You (บมจ. อาฟเตอร์ ยู) เน้นแนวคิดใส่ใจสิ่งแวดล้อมและลดของเสียจากกระบวนการผลิต 

  • การลดของเสีย: ใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดและหมุนเวียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 
  • การจัดการ: ขยะทั่วไปและย่อยสลายได้มีรถจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมมารับไปกำจัด 
  • การนำไปใช้ประโยชน์: นำเศษขนมปังที่เหลือให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงปลาในราคาถูก 

 

แท้จริงแล้ว ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคล้วนมีส่วนสร้างขยะอาหาร และเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ตาม เราทุกคนสามารถเริ่มต้นช่วยลดขยะอาหารได้ง่ายๆ เพียงแค่ ‘แยกเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป’ ซึ่งเป็นก้าวเล็กๆ ที่สำคัญในการช่วยโลกของเรา

 

ภาพ: Ekkasit A Siam / Shutterstock 

 

อ้างอิง: 

 

The post Food Waste: เมื่อธุรกิจอาหาร นำไปสู่ ‘ขยะล่องหน’ ที่เราไม่เคยมองเห็น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศิริกัญญา มอง ‘วิทัย’ นั่งผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนใหม่ มองเป็นคนมีความรู้ ความสามารถ ประทับใจผลงาน – ฝากการบ้านลดดอกเบี้ยกู้ https://thestandard.co/bot-governor-vithai-policy/ Wed, 23 Jul 2025 05:47:15 +0000 https://thestandard.co/?p=1098797 bot-governor-vithai-policy

ศิริกัญญา ตันสกุล สส. บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประช […]

The post ศิริกัญญา มอง ‘วิทัย’ นั่งผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนใหม่ มองเป็นคนมีความรู้ ความสามารถ ประทับใจผลงาน – ฝากการบ้านลดดอกเบี้ยกู้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
bot-governor-vithai-policy

ศิริกัญญา ตันสกุล สส. บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึง ศักยภาพของ ‘วิทัย รัตนากร’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ ว่า เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งผลงานที่ตนประทับใจอย่างหนึ่งคือ การเปิดบริษัทลูกของธนาคารออมสิน เข้ามาในตลาดสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ สามารถที่จะเข้ามาเพิ่มการแข่งขันในตลาดและลดดอกเบี้ยสินเชื่อการจำนำทะเบียนรถได้ จึงเป็นผลงานที่น่าประทับใจของนายวิทัย สำหรับเรื่องส่วนตัวก็คงจะไม่ก้าวล่วง แต่อยากฝากการบ้านให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่

 

อย่างแรก คือการลดดอกเบี้ยอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจไทยโตขึ้นได้ การที่แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยลงที่ 0.75% แต่ธนาคารส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของรายย่อยหรือ MRR ซึ่งแม้แต่ธนาคารออมสินที่ วิทัยเคยบริหาร ก็ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเพียง 30 สตางค์เท่านั้น

 

ดังนั้น จึงอยากฝากการบ้านว่า เมื่อลดดอกเบี้ยแล้ว ต้องไปกำชับธนาคารพาณิชย์ และธนาคารรัฐ ให้ลดดอกเบี้ยตามลงมา ไม่เช่นนั้น นโยบายการลดดอกเบี้ยจะไม่เกิดผลกับประชาชน ไม่ช่วยลดภาระ และไม่ช่วยให้แบงก์พาณิชย์ปล่อยกู้เพิ่มด้วย ดังนั้นการให้แบงก์พาณิชย์ปล่อยกู้เพิ่มต้องประสานงานให้มีนโยบายการคลัง สอดประสาน เช่น การค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้กู้รายย่อยสามารถเข้าถึงเงินกู้ได้ จึงเป็นการบ้านที่ขอฝากให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ด้วย

 

เมื่อถามว่า ความท้าทายแรกที่ วิทัย ต้องเจอคืออะไร ศิริกัญญา กล่าวว่า เป็นปัญหาเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ และแนวโน้มของเศรษฐกิจชะลอตัว เป็นโจทย์ที่ยากและสำคัญ สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย ในการดำเนินนโยบายทางการเงิน และการกำกับสถาบันการเงิน ให้สามารถรอดพ้นวิกฤตไปได้ ถือเป็นโจทย์ใหญ่ แม้พอจะมีกระสุนตุนไว้ สำหรับดอกเบี้ย ที่เพิ่งลดเพียงสามครั้ง ที่ 0.75% แต่ก็เหลือไม่มากแล้ว จากนี้คงต้องใช้อย่างตรงจุดตรงเป้า ให้เกิดผลมากที่สุด ซึ่งรวมถึงการใช้นโยบายอื่นร่วมด้วย เพื่อดูแลการเงินทั้งระบบ และอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ ที่แข็งค่าขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร

The post ศิริกัญญา มอง ‘วิทัย’ นั่งผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนใหม่ มองเป็นคนมีความรู้ ความสามารถ ประทับใจผลงาน – ฝากการบ้านลดดอกเบี้ยกู้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลท.อนุมัติให้หุ้น ‘การบินไทย’ หรือ THAI กลับเข้ามาเทรดในวันที่ 4 ส.ค.นี้ เป็นวันแรก โดยไร้เกณฑ์ Ceiling & Floor https://thestandard.co/thai-airways-stock-trading-resume-august-4/ Wed, 23 Jul 2025 04:36:08 +0000 https://thestandard.co/?p=1098754 ตลาดหลักทรัพย์อนุมัติหุ้นการบินไทยกลับมาเทรดวันแรก 4 ส.ค. 2568

ตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติให้หุ้น ‘การบินไทย’ […]

The post ตลท.อนุมัติให้หุ้น ‘การบินไทย’ หรือ THAI กลับเข้ามาเทรดในวันที่ 4 ส.ค.นี้ เป็นวันแรก โดยไร้เกณฑ์ Ceiling & Floor appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหลักทรัพย์อนุมัติหุ้นการบินไทยกลับมาเทรดวันแรก 4 ส.ค. 2568

ตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติให้หุ้น ‘การบินไทย’ หรือ THAI กลับเข้ามาเทรดในวันที่ 4 ส.ค.นี้ เป็นวันแรก โดยไร้เกณฑ์ Ceiling & Floor, Dynamic Price Band และ Auto Pause คุม

 

วันนี้ (23 กรกฎาคม) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) อนุมัติให้ THAI พ้นเหตุอาจถูกเพิกถอน และให้หลักทรัพย์ของบริษัทซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2568 เป็นต้นไป

 

ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI) เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2564 เนื่องจากงบการเงินประจำปี 2563 ปรากฏส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์ นั้น บริษัทได้แก้ไขเหตุอาจถูกเพิกถอนและดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว และบริษัทได้ยื่นคำขอพ้นเหตุอาจถูกเพิกถอนและขอให้เปิดซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (SET) รวมถึงได้ห้ามผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน (Strategic Shareholders) นำหุ้นร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้วออกขายภายใน 1 ปี ตามเกณฑ์ Silent Period

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงอนุมัติให้หลักทรัพย์ THAI พ้นเหตุอาจถูกเพิกถอน โดยปลดเครื่องหมาย SP (Suspension) และ NC (Non-compliance) และให้เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ THAI ในตลาดหลักทรัพย์ (SET) กลุ่มบริการ หมวดขนส่งและโลจิสติกส์ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2568 เป็นต้นไป โดยผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลบริษัทจากสรุปข้อสนเทศของ THAI ที่เผยแพร่ผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ

 

อนึ่ง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่กำหนดราคาซื้อขายสูงสุดและต่ำสุด (Ceiling & Floor), Dynamic Price Band และ Auto Pause สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ THAI ในวันที่ 4 สิงหาคม 2568 ซึ่งเป็นวันแรกที่มีการซื้อขาย ต่อเนื่องไปจนกว่าหลักทรัพย์ THAI จะมีการซื้อขาย กรณีที่หลักทรัพย์ THAI มีการซื้อขายแล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะนำเกณฑ์ Ceiling & Floor ปกติ, เกณฑ์ Dynamic Price Band และเกณฑ์ Auto Pause มาใช้กับหลักทรัพย์ THAI ในวันทำการถัดไปนอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำหลักทรัพย์ THAI มารวมในการคำนวณดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ในวันทำการถัดไป นับจากวันที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นวันแรก

The post ตลท.อนุมัติให้หุ้น ‘การบินไทย’ หรือ THAI กลับเข้ามาเทรดในวันที่ 4 ส.ค.นี้ เป็นวันแรก โดยไร้เกณฑ์ Ceiling & Floor appeared first on THE STANDARD.

]]>
กระทรวงการคลังเตรียมขาย ‘พันธบัตรออมทรัพย์’ ล็อตสุดท้ายของปี! ซื้อขั้นต่ำ 100 บาท ดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.49% ต่อปี วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท https://thestandard.co/final-savings-bond-sale-2025-thailand/ Wed, 23 Jul 2025 02:04:21 +0000 https://thestandard.co/?p=1098618 ประชาชนสนใจซื้อพันธบัตรออมทรัพย์กระทรวงการคลังผ่านแอปเป๋าตัง

กระทรวงการคลังเตรียมเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตสุด […]

The post กระทรวงการคลังเตรียมขาย ‘พันธบัตรออมทรัพย์’ ล็อตสุดท้ายของปี! ซื้อขั้นต่ำ 100 บาท ดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.49% ต่อปี วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประชาชนสนใจซื้อพันธบัตรออมทรัพย์กระทรวงการคลังผ่านแอปเป๋าตัง

กระทรวงการคลังเตรียมเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตสุดท้ายของปีงบประมาณนี้ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 5,000 ล้านบาท เริ่มจำหน่ายผ่านแอป ‘เป๋าตัง’ วันที่ 30 กรกฎาคมนี้ วงเงินซื้อขั้นต่ำ 100 บาท อีก 15,000 ล้านบาท จำหน่ายผ่าน 6 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 4 – 6 สิงหาคม อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.49% ต่อปี

 

พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แจ้งว่า สบน. จะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท โดยเป็นการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นอายุ 10 ปี และมีอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได ดังนี้

 

  • ปีที่ 1 – 3 ผลตอบแทน 1.70% ต่อปี
  • ปีที่ 4 – 7 ผลตอบแทน 2.40% ต่อปี
  • ปีที่ 8 – 10 ผลตอบแทน 3.40% ต่อปี

(รวมแล้วเฉลี่ย 2.49% ต่อปี)

 

ซึ่งจะแบ่งการจำหน่ายเป็น 2 รูปแบบคือ 

 

รูปแบบที่ 1: จำหน่ายผ่านวอลเล็ต สบม. (สะสมบอนด์มั่งคั่ง) บนแอป ‘เป๋าตัง’ วงเงิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มจำหน่ายวันที่ 30 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2568 โดยใช้วิธีการจัดสรรแบบ First-Come, First-Served (มาก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน) ซึ่งจำกัดอายุผู้ซื้อไว้สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีวงเงินซื้อขั้นต่ำ-ขั้นสูงต่อราย ดังนี้ 

 

  • วงเงินซื้อขั้นต่ำ 100 บาท (100 หน่วย) – 20,000,000 บาท (20,000,000 หน่วย)
  • วงเงินซื้อขั้นสูงต่อครั้ง ไม่เกิน 5,000,000 บาท (5,000,000 หน่วย)
  • ซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ 100 บาท และไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อ

 

รูปแบบที่ 2: จำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย 6 ราย วงเงิน 15,000 ล้านบาท ซึ่งเริ่มจองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 4 – 6 สิงหาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 15.00 น. (ไม่รับชำระด้วยเช็คในวันที่ 6 สิงหาคม 2568) โดยเปิดขายให้บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

 

ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ 

 

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 
  • ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) 

 

ซึ่งใช้วิธีการจัดสรรแบบ ‘Small Lot First’ หรือ ทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย โดยทวีคูณรอบละ 1,000 บาท แบบสุ่ม ดังนั้น ลำดับในการจองซื้อก่อน-หลัง จึงไม่มีผลต่อการจัดสรร 

 

และในกรณีที่วงเงินพันธบัตรที่จะจัดสรรในรอบสุดท้ายไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ผู้ซื้อทุกราย ระบบคอมพิวเตอร์จะจัดสรรพันธบัตรในรอบสุดท้ายด้วยวิธีการสุ่ม (Random) จนครบวงเงินจำหน่าย ทั้งนี้ ผู้จองซื้อจะทราบผลการจัดสรรพันธบัตรและได้รับเงินคืน กรณีที่ไม่ได้รับจัดสรรพันธบัตร หรือได้รับจัดสรรไม่ครบตามวงเงินจองซื้อ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2568 

 

มีวงเงินซื้อขั้นต่ำ-ขั้นสูงต่อราย ดังนี้ 

  • จองซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท (1 หน่วย) – ไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง
  • หน่วยละ 1,000 บาท ซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ 1,000 บาท และไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อ

 

 

พชร ยังระบุอีกว่า ในปีนี้ ตราสารหนี้ไทยยังคงได้รับความนิยมจากสถาบันการเงิน และนักลงทุนต่างชาติราว ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ สังเกตได้จากเม็ดเงินที่ไหลเข้ามามากกว่าปีก่อน 

 

โดยปัจจัยหนุนตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ได้แก่ วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง ทำให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้จึงดึงดูดนักลงทุนสถาบันมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ภาครัฐสามารถกู้เงินด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำได้

 

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องความกังวลต่อหนี้สาธารณะในสหรัฐฯ ประกอบกับเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เม็ดเงินจากต่างประเทศไหลมายังไทยมากขึ้นเช่นกัน

 

ทั้งนี้ สบน. ยังเตรียมเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของงบประมาณปัจจุบัน ด้วยวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท

 

The post กระทรวงการคลังเตรียมขาย ‘พันธบัตรออมทรัพย์’ ล็อตสุดท้ายของปี! ซื้อขั้นต่ำ 100 บาท ดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.49% ต่อปี วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘พิชัย’ จ่อยื่นข้อเสนอสหรัฐฯ เพิ่มอีกใน 23 ก.ค.นี้ หวังลดภาษีเท่า ประเทศในภูมิภาค หวังปิดดีลก่อนเส้นตาย 1 ส.ค.นี้ https://thestandard.co/pichai-us-import-tax-negotiation/ Wed, 23 Jul 2025 01:56:56 +0000 https://thestandard.co/?p=1098675 พิชัย ชุณหวชิร แถลงความคืบหน้าการเจรจาภาษีกับสหรัฐอเมริกา

พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงก […]

The post ‘พิชัย’ จ่อยื่นข้อเสนอสหรัฐฯ เพิ่มอีกใน 23 ก.ค.นี้ หวังลดภาษีเท่า ประเทศในภูมิภาค หวังปิดดีลก่อนเส้นตาย 1 ส.ค.นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิชัย ชุณหวชิร แถลงความคืบหน้าการเจรจาภาษีกับสหรัฐอเมริกา

พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเจรจาภาษีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ระบุว่า ขณะนี้สหรัฐฯ ได้เห็นข้อเสนอของไทยไปแล้วกว่า 90% โดยสหรัฐฯ ได้ทำคำอธิบายหรือข้อเสนอตอบกลับมาบ้างเกี่ยวกับนโยบายที่สหรัฐฯ ต้องการให้ไทยดำเนินการก็เป็นเรื่องที่ตนเองต้องนำกลับมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจว่าสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร

 

ทั้งนี้ ยืนยันว่า ทีมไทยแลนด์ได้พยายามทำงานทุกด้านอย่างเต็มที่เพื่อให้สามารถบรรลุการเจรจาได้สำเร็จ โดยในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ ไทยจะยื่นข้อเสนอสุดท้ายได้เรียบร้อย

 

“ในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้น่าจะสุด ๆ แล้วที่จะเสนอเพิ่ม ตอนนี้เหลืออีกนิดเดียว เพราะสหรัฐฯ จะมีคำอธิบาย ข้อเสนอต่างๆ ที่ผมต้องกลับเอามาดูประกอบ” พิชัย กล่าว 

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าสหรัฐฯ ได้ยื่นขอเงื่อนไขเพิ่มอีกหรือไม่นั้น พิชัย ระบุว่า “ไม่ถึงขั้นว่าสหรัฐฯ ขอเพิ่มเติม เพียงแต่เขาก็มีรายการของเขาอยู่ ว่าอยากเห็นนโยบายอย่างนั้น อยากเห็นนโยบายอย่างนี้ อยากเห็นเรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ซึ่งเราก็ต้องเอามาดูประกอบ ว่าเราทำอะไรได้ หรือไม่ อย่างไร ซึ่งยังคงคาดหวังว่าจะได้คำตอบจากสหรัฐฯ ก่อนวันที่ 1 สิงหาคมนี้ เพราะเราให้ข้อมูลไปหมดแล้ว” 

 

พิชัย กล่าวว่า มีความคาดหวังว่าประเทศไทยจะได้รับการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ จากระดับ 36% ลงมาอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับภูมิภาค ซึ่งเชื่อว่าสหรัฐฯ จะพิจารณาอัตราภาษีโดยมองเป็นกลุ่มประเทศเดียวกัน เพื่อที่สหรัฐฯ จะได้สามารถบริหารจัดการเรื่องภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ไทยจะได้ภาษีกี่ Tier นั้น พิชัย ระบุว่า เกือบทุกประเทศ ไม่มีประเทศไหนที่ได้ภาษี Tier เดียว

The post ‘พิชัย’ จ่อยื่นข้อเสนอสหรัฐฯ เพิ่มอีกใน 23 ก.ค.นี้ หวังลดภาษีเท่า ประเทศในภูมิภาค หวังปิดดีลก่อนเส้นตาย 1 ส.ค.นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>