THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เงินบาทอ่อนค่า
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

นโยบายการเงิน ‘สวนทาง’ กดเงินบาทอ่อนค่าในไตรมาส 2-3 ปีนี้

... • 30 เม.ย. 2024

HIGHLIGHTS

  • ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้หลังปรับลดลงแรงในสัปดาห์ก่อนหน้า หลังอิหร่านระบุจะยังไม่มีมาตรการตอบโต้ต่อการโต้กลับของอิสราเอล
  • ตลาดเริ่มปรับความคาดหวังการลดดอกเบี้ยปีนี้ลงเหลือต่ำกว่า 2 ครั้ง และจะเริ่มในช่วงท้ายปี สะท้อนผ่านไปยังผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี สหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นสู่ 4.7%
  • ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่สูงยาวนานกว่าประเทศอื่นจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่ามากขึ้น และนำมาสู่ความเสี่ยงเงินทุนเคลื่อนย้าย จากกระแสการแตกต่างของนโยบายการเงิน (Monetary Divergence)
  • ในไตรมาส 2-3 เงินบาทอาจอ่อนไปได้ถึง 37-37.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มขาดดุลต่อเนื่องจากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง ท่ามกลางรายได้จากการส่งออกและท่องเที่ยวที่ไม่สูงมากนัก

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นฟื้นตัวได้หลังปรับลดลงแรงในสัปดาห์ก่อนหน้า หลังอิหร่านระบุจะยังไม่มีมาตรการตอบโต้ต่อการโต้กลับของอิสราเอล ทำให้การตอบโต้ดังกล่าวเป็นเพียงเชิงสัญลักษณ์ นอกจากนั้นยังได้ปัจจัยหนุนจากผลประกอบการหุ้นสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ที่ออกมาดีกว่าตลาดคาด หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับขึ้นแรง หนุนโดยผลประกอบการของ MSFT และ GOOGL

 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มเห็นสัญญาณอ่อนตัวลงมากขึ้นท่ามกลางเงินเฟ้อที่ยังสูง โดย GDP ไตรมาส 1 ขยายตัว 1.6%QoQ ชะลอลงต่อเนื่อง 3 ไตรมาส และต่ำกว่าตลาดคาด นอกจากนั้นตัวเลข Flash Composite PMI ชะลอลงมากขึ้นอยู่ที่ 50.9 ต่ำสุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน นอกจากนั้นตลาดยังติดตามตัวเลขเงินเฟ้อว่าจะเร่งตัวขึ้นหรือไม่

 

ทั้งนี้ตลาดเริ่มปรับความคาดหวังการลดดอกเบี้ยปีนี้ลงเหลือต่ำกว่า 2 ครั้ง และจะเริ่มในช่วงท้ายปี สะท้อนผ่านไปยังผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นสู่ 4.7% ตลาด EM ได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนที่ออกมาต่อเนื่อง ในส่วนของตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวหลังปรับลงไปแรงในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นโลก

 

ด้านตลาดน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ปรับขึ้น 2.2%WoW จากตัวเลขสินค้าคงคลังที่ลดลงกว่าคาด และสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ยังไม่คลี่คลาย

 

ดอกเบี้ย Fed สูง-ยาวนาน นำมาสู่ความเสี่ยงเงินทุนเคลื่อนย้าย

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัวมากขึ้น ผลจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้การใช้จ่าย (โดยเฉพาะสินค้าคงทน) หดตัวลงมากขึ้น สอดคล้องกับดัชนี Flash Composite PMI ที่ชะลอลงมากขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการชะลอลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ในทางกลับกันดัชนีราคาของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP Price Index) เร่งตัวขึ้นที่ 3.1%QoQ, SAAR จาก 1.7% ในไตรมาสก่อน ทำให้ตลาดกังวลว่า Fed จะยังคงต้องตรึงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปแม้เศรษฐกิจจะเริ่มชะลอลงก็ตาม ซึ่งดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่สูงยาวนานกว่าประเทศอื่นจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่ามากขึ้น และนำมาสู่ความเสี่ยงเงินทุนเคลื่อนย้าย จากกระแสการแตกต่างของนโยบายการเงิน (Monetary Divergence) โดยล่าสุดค่าเงินในเอเชีย เช่น เยน บาท วอน ดอลลาร์ไต้หวัน รวมถึงรูเปียห์อินโดนีเซีย อ่อนแล้วกว่า 6-7% นับจากต้นปี

 

เรามองว่าในไตรมาส 2-3 เงินบาทอาจอ่อนไปได้ถึง 37-37.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มขาดดุลต่อเนื่องจากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง ท่ามกลางรายได้จากการส่งออกและท่องเที่ยวที่ไม่สูงมากนัก นอกจากนั้นยังเผชิญกับกระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดเงินตลาดทุน โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรที่ JP Bond Index ปรับลดน้ำหนักในพันธบัตรไทย เพื่อที่จะไปเพิ่มน้ำหนักในพันธบัตรรัฐบาลอินเดียแทน ซึ่งจะทำให้เงินทุนไหลเข้าในตลาดพันธบัตรลดลง โดยเงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย YTD อยู่ที่ 5.4 หมื่นล้านบาท และ 6.8 หมื่นล้านบาทตามลำดับ

 

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในช่วงไตรมาส 4 น่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิหลังจากที่ Fed เริ่มส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยมากขึ้น ทำให้เงินบาทแข็งค่าสู่ระดับ 34.50 บาท

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ แนะนำหุ้นปลอดภัย (Defensive Stock) ซึ่งพื้นฐานแข็งแกร่ง ผลประกอบการไม่ผันผวนตามเศรษฐกิจ เลือกหุ้นการแพทย์ (BDMS, BCH), หุ้นขนส่งทางบก (BEM), หุ้นค้าปลีก (CPALL, CPAXT), หุ้นสื่อสาร (ADVANC) และหุ้นอสังหาริมทรัพย์ปันผลดี (AP)

 

2. หุ้นที่คาดผลประกอบการ 1Q24 จะมีอัตราการเติบโตที่ดี YoY ซึ่งจะประกาศในสัปดาห์หน้า เลือก HMPRO, TRUE, GFPT, KCE และ TOP ขณะที่แนะนำระมัดระวังการลงทุนในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ซึ่งมีความเสี่ยงค่าเงินบาทอ่อนจะกดดันผลประกอบการ 1Q67

 

3. หุ้นที่สามารถลดความผันผวนและเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากกรณีความไม่สงบในตะวันออกกลาง เลือกหุ้นน้ำมันขั้นต้นอย่าง PTTEP และ BCP

 

“ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะเปราะบางตามตลาดโลก จากความกังวลสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง และ Fed อาจปรับลดดอกเบี้ยล่าช้ากว่าที่ตลาดคาดไว้เดิม โดยสัปดาห์หน้าคาดอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ จะทรงตัว และ Fed จะมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสัปดาห์หน้า ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ และจีน เดือนเมษายนคาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การเข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการ 1Q24 ของหุ้นกลุ่ม Real Sector คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่ำ”

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. การประชุม FOMC ตลาดคาดยังคงอัตราดอกเบี้ย แต่ต้องติดตามถ้อยแถลงประธาน Fed
  2. ตัวเลขแรงงานสหรัฐฯ เดือนเมษายน
  3. รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินของไทยเดือนมีนาคม
  4. ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน หลังสถานการณ์สงบลงชั่วคราว

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: TU - ถึงเวลา...ธุรกิจอาหารทะเลกำไรดีขึ้น

 

แนะนำ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป หรือ TU เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • ผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำของโลกภายใต้แบรนด์ระดับโลก ได้แก่ Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ในไทย ได้แก่ ซีเล็ค, ฟิชโช, คิวเฟรช, โมโนริ, เบลลอตต้า และมาร์โว่ โดยมียอดขายจากสหรัฐฯ 41%, ยุโรป 30%, ไทย 12% และอื่นๆ 17%
  • กำไรมีโมเมนตัมแข็งแกร่งขึ้น โดย 1Q24 คาดกำไรปกติ 922 ล้านบาท เติบโต 15%YoY แรงหนุนจากยอดขายและมาร์จิ้นที่ดีขึ้น นำโดยธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และ 2Q24 คาดกำไรจะเพิ่มขึ้นทั้ง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY จากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปและธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่ดีขึ้น อีกทั้งไม่มีผลขาดทุนจาก Red Lobster
  • Valuation ไม่แพง โดยปัจจุบันซื้อขายที่ PER 2024F ที่ 14.7 เท่า ต่ำกว่า -1SD ของ PER เฉลี่ยในอดีต 10 ปีที่ 16 เท่า และมองราคาหุ้นมี Downside จำกัดจากมีโครงการซื้อหุ้น (ตั้งแต่ 20 กุมภาพันธ์ - 30 มิถุนายน 2024) ช่วยพยุงราคาหุ้นไม่ให้ปรับลงแรง
  • เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2024 ที่หุ้นละ 18 บาท (อิงวิธี P/E 16 เท่า) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2024 หุ้นละ 0.70 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 4.8%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

กลุ่มบริษัทใหญ่ที่มีเทคโนโลยี AI และ Ads เป็นแหล่งรายได้อย่าง META, GOOGL และ MSFT เผยงบออกมาในทิศทางที่ดีกว่าคาดและเติบโต อย่างไรก็ดี ด้วยความกังวลด้านค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทำให้ตลาดตอบสนองเชิงลบต่อ META สวนทางกับ TSLA ที่ตลาดมีความคาดหวังเชิงบวกต่อธุรกิจในระยะถัดไปแม้งบผิดคาดและหดตัว ในกลุ่มนี้เราชอบ MSFT และ GOOGL ที่มีแนวโน้ม FY24 ดี

 

หุ้น MSFT และ GOOGL ปรับตัวขึ้นหลังงบออกมาเติบโตและดีกว่าคาด หลังมีแรงหนุนจากการเติบโตของธุรกิจคลาวด์ที่ได้รับประโยชน์จากอุปสงค์ AI ที่เติบโต รวมถึง MSFT เริ่มเห็นการรับรู้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาในงบแล้ว เช่น Microsoft 365 Copilot ส่วน GOOGL มีแรงหนุนเพิ่มเติมจาก Ads ที่ฟื้นตัว สะท้อนจากรายได้ Ads ทั้ง Google +13%YoY และ YouTube +21%YoY

 

  • ในทางเดียวกันตลาดตอบสนองเชิงบวกต่อ TSLA เช่นกัน ถึงแม้งบจะออกมาผิดคาดและหดตัวลง อย่างไรก็ดี ด้วยภาพความคาดหวังเชิงบวกต่อแนวโน้มธุรกิจในระยะถัดไปจาก Robotaxi, แผนการเร่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาประหยัดออกสู่ตลาดมากขึ้น และมีแผนพัฒนารถบรรทุกไฟฟ้า Semi ในปี FY25
  • ในทางกลับกันตลาดตอบสนองเชิงลบต่อ META ถึงแม้งบจะออกมาดีกว่าคาดและเติบโต แต่ตลาดกังวลต่อแนวโน้มค่าใช้จ่าย AI ที่เพิ่มขึ้น และการขาดทุนในธุรกิจ Reality Labs ที่มีต่อเนื่อง
  • หากตัดความคาดหวังตลาดออก เราเชื่อว่าบริษัทใหญ่ที่มีเทค AI และ Ads เป็นแหล่งรายได้อย่าง META, GOOGL และ MSFT จะมีการเติบโตที่ดีต่อเนื่องใน FY24 หลังแนวโน้มอุปสงค์ยังคงดี สวนทางกับ TSLA ที่อุตสาหกรรมยังมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงและอุปสงค์ที่ชะลอตัว ขณะที่ในกลุ่มนี้เราชอบ MSFT และ GOOGL

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

สภาพคล่อง/เงินสดมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่สูง โดยเฉพาะสหรัฐฯ หลังตัวเลข PCE สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด นอกจากนี้สภาพคล่องรวมถึงเงินสดยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดภายในตะวันออกกลางที่ยังดำเนินต่อ

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

10-Yr UST Yield ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อพื้นฐาน PCE ใน 1Q/24 สูงกว่าคาด แม้มีข่าวเชิงลบเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ตลาดส่วนใหญ่ไม่ได้ตื่นตระหนกมากนัก เนื่องจากส่วนประกอบของ GDP ยังแข็งแกร่ง (อุปสงค์ภายในประเทศ 1Q24 ขยายตัว 2.8%QoQ SAAR) / การประชุม FOMC ในวันที่ 1 พฤษภาคม คาดว่ายังคงอัตราดอกเบี้ย และอาจประกาศรายละเอียดการลดสภาพคล่อง (Tapering) ของพันธบัตรคลัง (UST) ซึ่งการประกาศดังกล่าวน่าจะมีการ Price in โดยตลาดบางส่วนแล้ว

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

IG Yield เร่งตัวตาม UST แต่ Spread ยังทรงตัว สะท้อนมุมมองตลาดต่อ IG ที่ค่อนข้างเป็นบวก เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจยังคงดี และยังมีกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาด IG จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่กองทุนบำเหน็จบำนาญและประกันชีวิตจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ แม้ว่า Spread จะค่อนข้างแคบ แต่ผลตอบแทนรวมยังคงน่าสนใจ โดยอยู่ที่ระดับ 5.6-5.8%

 

แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งจะยังทำให้ HY ทำผลตอบแทนได้ดีในระยะสั้น แต่ Spread มีโอกาสผันผวนได้สูง โดยตลาดยังประเมินความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ต่ำเกินไป และดอกเบี้ยที่ยืนสูงเป็นระยะเวลานาน จะกระทบ Balance Sheet และความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยของกลุ่มธุรกิจที่มี Credit Rating ต่ำและต้นทุนทางการเงินที่สูงเป็นอันดับแรก โดยเราเริ่มเห็นอัตรากำไรที่ลดลงในบาง Sector (เช่น สื่อ ขนส่ง และเคมีภัณฑ์)

 

ตลาดหุ้นทั่วโลก

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

หุ้นโลกฟื้นตัวจากการปรับฐานในสัปดาห์ก่อนหน้า จากข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง (ยอดค้าปลีก และ GDP ของสหรัฐฯ ในส่วนของการบริโภคยังแข็งแกร่ง) และผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่ที่โดยเฉลี่ยแล้วเป็น Positive Surprise หรือมี Guidance ที่มุมมองเชิงบวก เช่น TSLA (Tesla) ที่รายงานยอดขายและกำไรประจำไตรมาส 1 ต่ำกว่าคาดการณ์ แต่มีการประกาศแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นประหยัดเร็วกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้น 12% ขณะที่ MSFT (Microsoft) และ GOOGL (Alphabet) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 2% และ 10% ตามลำดับ หลังจากรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งกว่าคาดการณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม META (Meta Platforms) ราคาหุ้นร่วงลง 11% หลังจากบริษัทรายงานแนวโน้มรายได้ที่อ่อนแอและคาดการณ์ว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในไตรมาส 2

 

สำหรับข้อมูลรายเดือน ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญแรงเทขายอย่างแรงในเดือนเมษายน เนื่องจากทิศทางการมองเงินเฟ้อในตลาดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากที่นักลงทุนคาดว่าเงินเฟ้อจะลดลงอย่างราบรื่น (Immaculate Disinflation) กลับมาให้น้ำหนักกับกรณีสมมติฐานที่เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน (High for Long) มากขึ้น ส่งผลให้มีการลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง นอกจากนี้สถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยกระดับขึ้นยิ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงออก

 

เราคาดว่าปัญหาเงินเฟ้อที่ยังลงช้ากว่าที่คาด และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน สงครามอิสราเอล-ฮามาส และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-อิหร่าน ที่อาจยกระดับอย่างรวดเร็ว ล้วนเป็นปัจจัยกดดันสำคัญและมีโอกาสสร้างความผันผวนให้กับการลงทุน เรายังคงมีมุมมองระมัดระวังในการลงทุนตลาดหุ้นทั่วโลก โดยแนะนำให้ลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงตามแผนการลงทุนใน Core Portfolio ตามความเสี่ยงที่รับได้ และยังไม่แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะตลาดหุ้นใน Opportunistic Portfolio

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 5

 

 

ราคาทองคำมีการปรับฐานจากระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 2,432 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ มายืนที่ 2,337 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เรามองว่าราคาทองคำพักฐานในระยะสั้น แต่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นในระยะกลาง จากปัจจัยสนับสนุน

 

1. ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น และเงินเฟ้อที่ลดลงน้อยกว่าคาดการณ์ ส่งผลให้ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยและโลหะมีค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากราคาสินค้าที่อาจปรับตัวสูงขึ้น

 

2. ความต้องการทองคำที่แข็งแกร่งจากธนาคารกลาง โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งต้องการกระจายการลงทุนในเงินสำรองระหว่างประเทศ (Diversifying Reserves) และลดการพึ่งพาสินทรัพย์ที่อิงกับดอลลาร์สหรัฐ (รวมถึงการป้องกันตัวเองจากการถูกคว่ำบาตร) ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางจีน (PBOC) ยังคงขยายปริมาณสำรองทองคำอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สัดส่วนถือครองทองคำในกองทุนสำรองของธนาคารในประเทศ Emerging Market ยังมีสัดส่วนที่ต่ำมาก (น้อยกว่า 10% ของทุนสำรอง) เมื่อเทียบกับประเทศ Developed Market (Fed มีสัดส่วนทองคำใน Reserve ราว 76% ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปมีอยู่ 57%)

 

3. ความกังวลด้านความยั่งยืนทางการคลังของสหรัฐฯ (US Fiscal Sustainability Concerns) จากหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่อยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกหลังเลือกตั้งสหรัฐฯ

 

ถึงแม้ว่าในระยะสั้นเหตุการณ์ที่อิสราเอลตอบโต้อิหร่านโดยการโจมตีฐานทัพอากาศใกล้เมืองอิสฟาฮานนั้นจะยังคงเป็นการโจมตีแบบจำกัด แต่สถานการณ์ความขัดแย้งในระยะกลางยังมีโอกาสที่จะขยายตัวเป็นสงครามตัวแทนหรือสงครามเต็มรูปแบบ เราแนะนำให้ ‘Buy on Pullback’ และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในทองคำใน Core Portfolio

 

Private Credit

ความน่าสนใจระดับ 5

 

 

เรามีมุมมอง Private Credit เป็น Slightly Positive จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 30 เม.ย. 2024

READ MORE



Latest Stories