THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
หุ้นโลกฟื้นตัว
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

คาด ‘หุ้นโลกฟื้นตัว’ เหตุตลาดคลายกังวลนโยบายการเงินญี่ปุ่น ขณะที่สหรัฐฯ ยังห่าง ‘เศรษฐกิจถดถอย’

... • 13 ส.ค. 2024

HIGHLIGHTS

  • สถานการณ์หุ้นทั่วโลกตกรุนแรงในต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หนึ่งในปัจจัยหลักคือนโยบายการเงินที่ผิดพลาด โดย BOJ ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปสู่ 0.25% อีกทั้งผู้ว่าการ BOJ ประกาศว่าพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อหากจำเป็น ขณะที่ Fed ส่งสัญญาณมากขึ้นว่าพร้อมจะลดดอกเบี้ย ทำให้เกิดความกังวลในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ตลาดปรับความคาดหวังในทิศทางนโยบายการเงินโลก
  • บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังห่างไกลกับสภาวะถดถอย โดยข้อมูลต่างบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจริงต่างๆ ยังอยู่ในโซนที่แข็งแกร่ง
  • ส่วนมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นโลก มองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ และมีโอกาสในการลงทุนอยู่ โดยสถานการณ์หุ้นตกทั่วโลกเป็นการปรับฐาน ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงการลดการลงทุนในหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งใหญ่ 
  • ส่วนหุ้นไทย เชื่อว่ามีโอกาสฟื้นตัว แต่ยังต้องรอติดตามความชัดเจนทางการเมือง โดยเฉพาะคดีคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมีการอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 14 สิงหาคมนี้

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนหนักโดยปรับลดรุนแรงในช่วงต้นสัปดาห์ ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน จากความกังวลใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหม่กลับมาอีกครั้ง กับ 2. กระแส Unwind Carry Trade หลัง BOJ ขึ้นดอกเบี้ย 

 

ภาพ Recession รอบใหม่เกิดขึ้นหลังจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ และ ISM ภาคการผลิตออกมาต่ำกว่าคาด นำไปสู่ความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของ Fed ที่มากขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้ VIX Index ที่เป็นดัชนีวัดความกลัวของตลาดพุ่งขึ้นไปสูงถึง 65 จุดในวันจันทร์ (12 สิงหาคม) ใกล้เคียงช่วงวิกฤตโควิด รวมทั้งผลตอบแทนพันธบัตรลดลงต่ำกว่า 4.0% สะท้อนภาวะ Risk Off ของตลาด 

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดเริ่มฟื้นขึ้นในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ หลังตัวเลขเศรษฐกิจยังไม่บ่งชี้ว่าสหรัฐฯ ใกล้เข้าสู่ภาวะถดถอย ตัวเลขขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกออกมาต่ำกว่าคาด 

 

ในส่วนของธนาคารกลางญี่ปุ่นส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อในสัปดาห์ก่อน ทำให้เกิดกระแส Unwind Carry Trade และทำให้ค่าเงินเยนแข็งขึ้นไปสู่ 143 เยนต่อดอลลาร์ จาก 150 เยน เริ่มบรรเทาลงบ้าง หลังจากรองผู้ว่าการ BOJ กลับมาส่งสัญญาณไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากตลาดการเงินอยู่ในภาวะผันผวน ทำให้เงินเยนเริ่มเสถียรภาพมากขึ้น 

 

ด้านตลาด EM ปรับลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดโลก โดยตัวเลขเศรษฐกิจภาคการส่งออกของจีนยังคงอ่อนแอ ตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก รวมถึงรอความชัดเจนประเด็นการเมืองในประเทศ เรื่องการตัดสินคดีคุณสมบัติ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ราคาน้ำมันทรงตัว แม้จะอ่อนตัวในช่วงต้นสัปดาห์จากความกังวลเศรษฐกิจโลก แต่เริ่มฟื้นขึ้นในทิศทางเดียวกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น รวมถึงความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ยังคุกรุ่น

 

3 ปัจจัยเสี่ยง ผลักเศรษฐกิจสหรัฐฯ สู่ภาวะถดถอย

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า สถานการณ์หุ้นทั่วโลกตกรุนแรงในต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

1. นโยบายการเงินที่ผิดพลาด (โดยเฉพาะญี่ปุ่น)

2. กระแสการเก็งกำไรที่มีมากในช่วงก่อนหน้า

3. ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจนำไปสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอย 

 

โดยการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับขึ้นดอกเบี้ยไปสู่ 0.25% รวมถึงผู้ว่าการ BOJ ประกาศว่าพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อหากจำเป็น เพื่อดูแลเงินเฟ้อและค่าเงินเยนไม่ให้อ่อนค่าเกินไป 

 

ประกอบกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณมากขึ้นว่าพร้อมจะลดดอกเบี้ย ทำให้เกิดความกังวลในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ตลาดปรับความคาดหวังในทิศทางนโยบายการเงินโลก ท่ามกลาง Valuation ที่ปรับขึ้นค่อนข้างสูงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หุ้นสหรัฐฯ หุ้นญี่ปุ่น รวมถึงหุ้นโลกปรับลดลงรุนแรง (โดยหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่นตกต่ำ 5-12%) และทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างรุนแรง 

 

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมองว่าตลาดหุ้นที่ตกต่ำลงนั้นรุนแรงเกินไป ท่ามกลางศักยภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่ง รวมถึงรองผู้ว่าการ BOJ ออกมาส่งสัญญาณว่าจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยหากเกิดความผันผวนในตลาดการเงิน ทำให้ตลาดการเงินฟื้นขึ้นมาได้ 

 

ทั้งนี้ บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มีมุมมองว่า

1. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังห่างไกลกับสภาวะถดถอย โดยข้อมูลต่างบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจริงต่างๆ ยังอยู่ในโซนที่แข็งแกร่ง

2. ในปัจจุบันยังไม่มีการเก็งกำไรที่ใช้สถานะกู้ยืมสูง (Highly Leverage) ที่จะนำไปสู่การปรับสถานะรุนแรง แต่อาจมี Unwind Yen Carry Trade บ้าง

3. ในปัจจุบันไม่มีความเสี่ยงสภาพคล่อง (Liquidity Risk) รวมถึงมีความเสี่ยงเชิงระบบ (Systemic Risk) มากเท่าวิกฤตก่อนๆ 

 

อย่างไรก็ตาม อาจต้องจับตามูลค่าของหุ้นกลุ่ม AI ที่ขึ้นมามาก แต่ในปัจจุบันราคาหุ้นลดลงบ้างแล้ว ประกอบกับการลดดอกเบี้ยของ Fed จะช่วยปรับสมดุลให้กับการลงทุนได้ในระยะต่อไป

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. กลุ่ม Earning Play ซึ่งมีโมเมนตัมกำไรยังดี โดย 3Q24 คาดเติบโต YoY และ QoQ ส่วน 2H24 คาดเติบโต HoH และ YoY อีกทั้ง Valuation ไม่แพง เลือก DELTA, GULF, KCE, TU, BTG, BDMS, TRUE, BEM

2. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำและต้องการสร้างกระแสเงินสดในพอร์ต แนะนำหุ้นปันผลสำหรับลงทุนระยะสั้น เลือก BCP, TU, OSP ซึ่งคาดว่าจะจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไร 1H24 โดยให้ Dividend Yield 2%

3. หุ้นที่คาดได้อานิสงส์บวกจากแผนปรับเงื่อนไขกองทุน ThaiESG ใหม่ โดยขยายวงเงินเป็น 3 แสนบาท และลดเวลาถือเหลือ 5 ปี เลือก ADVANC, AOT, CPALL, BDMS, BBL, KTB, GULF

4. หุ้นที่สามารถลดความผันผวนและเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากกรณีความไม่สงบในตะวันออกกลาง เลือกหุ้นน้ำมันขั้นต้นอย่าง PTTEP

 

“ในช่วงสั้น SET จะยังมีแนวโน้มผันผวน ระหว่างรอความชัดเจนของปัจจัยการเมืองในประเทศและการประกาศงบ 2Q24 ของ บจ.ไทย ซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น QoQ แต่ยังอ่อนแอ YoY ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะลดลง และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมของจีนที่อ่อนแอ มองว่าได้สะท้อนความเสี่ยงไปแล้วในระดับหนึ่งจากการปรับฐานในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีมองว่า SET มีโอกาสฟื้นตัวหากปัจจัยการเมืองชัดเจนขึ้น (มองกรณีเศรษฐาไม่ขาดคุณสมบัตินายกฯ คาด SET ฟื้นกลับไปอยู่แถว 1,330 จุด แต่หากขาดคุณสมบัติคาด SET มีโอกาสปรับลงไปทดสอบ 1,250 จุด) และคาดว่าจะเริ่มเห็น Fund Flow ไหลเข้าสู่ตลาด EM มากขึ้น”

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. สถานการณ์การเมืองไทย-คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดีคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีในวันที่ 14 สิงหาคม

2. ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) และดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ เดือนกรกฎาคม โดยตลาดคาด 3.0% เท่าเดือนมิถุนายน

3. ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือนกรกฎาคม โดยตลาดคาด +5.0% จาก 5.3% ยอดค้าปลีก คาด 3% จาก 2% และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ตลาดคาด 3.9% จาก 4.0% 

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: GULF - ช่วงที่เหลือปีนี้...กำไรยังแข็งแกร่ง

แนะนำ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็นผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชั้นนำของไทย โดยมีแผนขยายไปสู่ธุรกิจก๊าซ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีสัมปทานกับรัฐบาลเพื่อสร้างกระแสเงินสดให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงในระยะยาว
  • 2Q24 กำไรสุทธิทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และคาดกำไรจะเติบโตต่อเนื่องในช่วงที่เหลือปีนี้ แรงหนุนจากกำลังผลิตใหม่ที่เพิ่มอีก 2,747MW สู่ 15,167MW ในปี 2024 อีกทั้งยังมีมุมมองบวกต่อดีลควบรวมระหว่าง GULF และ INTUCH
  • Valuation น่าสนใจ โดยปัจจุบันซื้อขาย PER 24F เพียง 27.8 เท่า คิดเป็น -1.0 SD ของ PER เฉลี่ย 5 ปี ซึ่งมองยังไม่ได้สะท้อนกำไรปกติที่คาดว่าจะแข็งแกร่ง โดยปี 2024 คาดเติบโต 28%YoY และเติบโตต่อ 25%YoY ในปี 2025 จากกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญใน 2-3 ปีข้างหน้า จึงมองเป็นโอกาสในการเข้าซื้อสะสม
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 63 บาท (อิงวิธี DCF) และคาดว่ามีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2024 หุ้นละ 1.02 บาท คิดเป็น Div Yield ปีละ 2.1%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ เห็นการปรับฐานของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงการลดการลงทุนในหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งใหญ่ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการที่ออกมาไม่ได้แย่อย่างที่ตลาดกังวล รวมถึงสถิติตลาดหุ้นในอดีตทำให้มองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้และมีโอกาสในการลงทุนอยู่ โดยเราแนะนำให้มองกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตดีใน 2H24 อย่าง PFE, LLY, NVO, NVDA, AAPL, TSM

 

  • การลงทุนของ Berkshire Hathaway ใน 2Q24 สะท้อนให้เห็นได้ว่า

1. ถือเงินสดเพิ่มขึ้นราว 2.77 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังมีแรงหนุนหลักจากการขายหุ้นออกรวม 7.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งภาพนี้อาจสามารถ Imply ได้ว่าการลงทุนในตลาดหุ้นตอนนี้ที่มูลค่าปรับตัวขึ้นมาสูงนั้นไม่ไปในทิศทางเดียวกับแนวคิดการลงทุนแบบ Value Investor
2. ลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับภาพดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวลง
3. มีการลดสัดส่วนหุ้นใหญ่อย่าง BAC ซึ่งมองเป็นผลจากเศรษฐกิจที่ผันผวน และ AAPL มองผลจากภาษีหุ้นและระยะยาวที่เริ่มไม่มี Innovation ใหม่

 

  • อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจาก

1. ภาพผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาดในภาพรวมและเติบโตเป็นบวกได้
2. ภาพการลงทุนของ AAPL ในระยะสั้นที่เรามองว่ายังคงมีแนวโน้มเชิงบวกจากผลประกอบการที่ดี ยอดขาย iPad รุ่นใหม่ที่เติบโตดี แรงกดดันจากจีนเริ่มลดลง ประกอบกับการเปิดตัว iPhone16 ที่คาดว่าจะช่วยหนุนยอดขายในช่วง 2H24 ได้
3. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ไม่แย่อย่างที่ตลาดกังวลสะท้อนผ่านตัวเลขแรงงานและแนวโน้มการเข้มงวดสินเชื่อธนาคารที่เริ่มลดลง

 

  • นอกจากนี้ หากดูสถิติตลาดหุ้นที่ปรับตัวคล้ายกับภาพตลาดหุ้นใน 2024 ที่ช่วง 1H24 ปรับตัวแกร่งนั้นจะสะท้อนให้เห็นว่าตลาดจะปรับฐานราว 9% ในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี แต่ราว 83% ของปีเหล่านี้ยังให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในช่วงสิ้นปี รวมถึงหากดูสถิติการลงทุนใน S&P 500 หลังจากที่ปรับตัวลดลง 5% จากจุดสูงสุดล่าสุด มักจะให้ผลตอบแทนที่ 6% ในช่วง 3 เดือนถัดไป และมีโอกาส 84% ที่เป็นบวก

 

  • แม้ว่าการปรับฐานจะทำให้นักลงทุนรู้สึกไม่สบายใจ แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในตลาดหุ้น การปรับฐานนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นมีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าในระยะยาวเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ทั้งนี้เรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่มีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง ด้วยปัจจัยพื้นฐานเรามองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มที่สามารถฟื้นตัวได้ แต่ด้วยความคาดหวังของนักลงทุนที่ยังคงส่งผลให้ตลาดผันผวนได้ในระยะสั้นทำให้เรายังคงแนะนำให้อยู่ในหุ้นเชิงรับที่มีแนวโน้มการเติบโตดีอย่างกลุ่มผู้ผลิตยาที่ภาพงบและแนวโน้มยังคงดีอยู่ใน 2H24 อย่าง PFE, LLY, NVO และหากใครรับความเสี่ยงตลาดผันผวนได้ เรายังคงแนะให้มองกลุ่มเทคที่มีแนวโน้มเติบโตดีเช่นกัน โดยเราชอบ NVDA, AAPL, TSM

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด/สภาพคล่อง

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสด มีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังทรงตัวอยู่สูง โดยเฉพาะสหรัฐฯ นอกจากนี้สภาพคล่อง/เงินสดมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากความผันผวนในตลาดการเงินสหรัฐฯ ที่มากขึ้น (บ่งชี้จาก VIX Index ที่เพิ่มขึ้น) และจากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินต่อ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน ข้อพิพาทการค้าระหว่างจีน-คู่ค้าต่างๆ ข้อพิพาทในไต้หวัน และความตึงเครียดในตะวันออกกลาง


ตราสารหนี้/เงินฝากระยะยาว

 

ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่อ่อนแออย่างมาก ทำให้ตลาดกังวลต่อการเกิด Recession มากขึ้น เรายังคงมุมมองว่า ตราสารหนี้ยังมีความน่าสนใจในการถือเพื่อรับ Income และคุ้มค่าที่จะถือเพื่อ Hedge ในกรณีที่เศรษฐกิจโตต่ำกว่าคาด

 

เราคาดว่า ความผันผวนของ Bond จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเข้าใกล้ช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ โดย Bond ตัวยาว (> 7 ปีขึ้นไป) มีความเสี่ยงจากนโยบายการคลังหลังเลือกตั้ง ขณะที่ Bond ช่วงอายุ 2-4 ปี มีความเสี่ยง Duration ที่น้อยกว่า และ Coupon ยังเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

US Treasury & IG

 

ต้นเดือนสิงหาคม 10Y UST Yield ปรับตัวลดลงอย่างมาก ขณะที่ Spread ของ IG เริ่มดีดตัวขึ้น สะท้อนความเสี่ยงของเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ตาม Spread ที่ดีดตัวขึ้นของ IG ยังน้อยกว่า HY Spread ค่อนข้างมาก สะท้อน Market Sentiment ที่เข้าหาการลงทุนที่มีความ Defensive / 10Y TGB Yield ปรับตัวลงเล็กน้อย (-6 bps) เมื่อเทียบกับ UST แนะนำลงทุน ทั้ง US Treasury และ IG Bond โดยยังแนะนำให้ลงทุนใน Duration จาก 2-4 ปี เพื่อ Lock Rate ในช่วงของ Curve Steepening โดยผลตอบแทนเฉลี่ยยังอยู่ใกล้ 4-5% ซึ่งสูงกว่าที่ Fed ประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบายปกติ ‘ระยะยาว’ ที่ 2.8%

 

High Yield Bond

 

US HY Spreads ปรับขึ้นแรงกว่า 90 bps ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สะท้อนภาวะ Market Sentiment ที่เป็น Risk Off อย่างไรก็ตาม Yield to Worst ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักจาก UST Yield ที่ปรับลง ซึ่งช่วยชดเชย Spread ที่ดีดตัวขึ้น เราคาดการณ์ว่า Spread ของ HY จะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้น และซัพพลายของการรีไฟแนนซ์ที่จะเริ่มออกมาในช่วงปลายปี 2024

 

สินทรัพย์ผสม/กึ่งหนี้กึ่งทุน/REITs

 

REITs ถือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงินให้กับพอร์ตโฟลิโอได้ทั้งในระยะกลางถึงยาว และเป็นการเพิ่ม Diversification ให้กับพอร์ตโฟลิโอจากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ

 

สินทรัพย์ผสมช่วยกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง

 

US REITs

 

US REITs มีปัจจัยหนุนจาก

1. Bond Yield สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวลงจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้ เราคาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยจำนวน 3 ครั้ง รวม 75 bps ในปีนี้

2. Occupancy Rate ที่อยู่ในระดับสูงราว 93% และกำไรสุทธิจากการดำเนินงานที่เติบโต

3. อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของ CMBS ในภาค Office ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง

4. Valuation ที่อยู่ในระดับที่ไม่แพง

 

Private Credit

 

เรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นต่อ Private Credit Asset จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

 

หุ้นไทย

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้ปัจจัยหนุนจาก

1. เศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้นในช่วง 2H24 จากการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว

2. ดิจิทัลวอลเล็ตที่มีความชัดเจนขึ้น เป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มการบริโภค

3. Valuation อยู่ในระดับที่ไม่แพง ขณะที่ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโตขึ้นตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว

4. ค่าเงินบาทที่จะแข็งค่าขึ้น หลังการลดดอกเบี้ยของ Fed จำนวน 3 ครั้งในปีนี้ เป็นบวกต่อเงินทุนไหลเข้าดัชนีฯ อย่างไรก็ตาม ประเด็นทางด้านการเมืองที่ยังไม่แน่นอน ในคดีคุณสมบัตินายกฯ อาจกดดัน Sentiment ลงทุน 

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

Sector Rotation เกิดขึ้นเป็นวงกว้างบนตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว จากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวลง และ Guidance ของหุ้นกลุ่ม Growth ซึ่งเป็นหุ้นกลุ่มนำตลาดก่อนหน้านี้ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ด้านอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลงของสหรัฐฯ และตลาดแรงงานที่อ่อนตัวลงแรง สร้างความกังวลบนประเด็น Recession ทำให้ตลาดให้น้ำหนักที่ Fed จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม จาก 75 bps เป็น 125 bps ในปี 2567 ด้วย Valuation Gap ระหว่างหุ้นขนาดใหญ่และหุ้นขนาดเล็กที่ต่างกันมาก ทำให้ Fund Flow มีการ Rebalancing เข้าสู่ Defensive ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วย กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มวัฏจักรอย่าง Semiconductor/Auto และ Luxury มีการปรับฐานแรง

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

นักลงทุนเข้าสู่ภาวะ Risk Off หลังตัวเลขภาคการผลิตและตลาดแรงงานอ่อนแอลง ความกังวลต่อ Recession เพิ่มขึ้น นักลงทุนย้ายการลงทุนออกจากกลุ่มหุ้นที่มีมูลค่าสูง ไปยังกลุ่ม Defensive (Utilities, Healthcare และ Consumer Staple) ซึ่งจะได้รับแรงหนุนจากการปรับลดดอกเบี้ย และกำไรกิจการมีเสถียรภาพมากกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ 

 

นอกจากนี้ Sentiment เชิงลบจากคณะทำงานของไบเดนเล็งเพิ่มความเข้มงวดทางการค้าเพื่อสกัดอุตสาหกรรมชิปในจีน ทำให้เกิดแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่มเทค (ที่เกี่ยวกับซัพพลายเชนของ Chip/Semiconductor) อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ได้แรงหนุนจากกำไรของ บจ. ใน 2Q24 ที่มีแนวโน้มดีกว่าคาดและกระจายตัวมากขึ้น 

 

หุ้นยุโรป

 

ตลาดหุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของ ECB และ BOE ที่หนุนทั้ง Valuation และหนุน EPS ตลาด นอกจากนี้ EPS ยังได้แรงหนุนเพิ่มจากโมเมนตัมเศรษฐกิจทั่วโลกที่ดีขึ้น โดยเราเน้นกลุ่มที่มีความสามารถในการทำกำไรที่สูง และมีงบดุลที่แข็งแกร่ง แม้ความเสี่ยงข้อพิพาทการค้ากับจีน รวมถึงกับสหรัฐฯ หากทรัมป์ชนะเลือกตั้ง และความไม่แน่นอนทางเมือง/การคลังในฝรั่งเศสตามการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ยังมีอยู่อาจสร้างความผันผวนและกดดัน Sentiment ตลาดโดยรวม 

 

หุ้นญี่ปุ่น

 

เราคาดว่าหุ้นกลุ่ม Value ญี่ปุ่น มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการปฏิรูปธรรมาภิบาลในญี่ปุ่น ที่จะช่วยหนุน Valuation และ ROE นอกจากนี้ กลุ่มฯ มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากการคุมเข้มทางการเงินของ BOJ เพิ่มเติม (ทั้งขึ้นดอกเบี้ยต่อ และเริ่มลดการเข้าซื้อ JGB) ท่ามกลางความเสี่ยงที่หุ้นกลุ่มส่งออกและหุ้นกลุ่ม Growth นำโดยเทคอาจพักฐาน

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

การประชุม 3rd Plenum ของรัฐบาลจีน มีมุมมองสนับสนุน เศรษฐกิจในระยะกลางถึงยาว แต่ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจีนต้องแข่งกับภาพการบริโภคและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงอ่อนตัวถึงแม้จะได้ในส่วนการส่งออกมาช่วยก็ตาม

 

การส่งออกยังเป็นภาพของการฟื้นตัว โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีที่เริ่มกระจายตัวจากธีม AI มายังกลุ่ม Conventional อย่าง สมาร์ทโฟน ดาต้าเซิร์ฟเวอร์ โดยเราคาดว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์ในกลุ่มนี้จะมีสัญญาณชัดเจนขึ้นใน 2H24

 

หุ้นอินเดีย

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยการประกาศงบประมาณปี FY25 บ่งชี้ว่า รัฐบาลยังคงเป้าขาดดุลงบประมาณลดลง อยู่ที่ 4.9% ของ GDP แม้ว่าการใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้ดีช่วยทำให้รายได้เพิ่มขึ้น และเงินปันผลของธนาคารกลางที่สูงขึ้น นอกจากนี้ได้เพิ่มเติมงบประมาณในโครงการกระตุ้นการจ้างงาน (Employment Linked Incentive Scheme) ซึ่งช่วยปิดจุดอ่อนรัฐบาลโมดี ด้านการจ้างงานที่อ่อนแอใน 2 เทอมที่ผ่านมา

 

หุ้นอินโดนีเซีย

 

ดัชนีฯ มีปัจจัยหนุนในระยะยาวจาก

1. เศรษฐกิจที่เติบโตแข็งแกร่ง จากภาคการบริโภคที่ฟื้นตัว โดยในช่วง 2Q24 GDP อินโดนีเซียขยายตัวที่ 5.05%YoY โดยธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) คาดว่า GDP ในปีนี้จะขยายตัวที่ 4.7-5.5%

2. FDI ที่ไหลเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย FDI ในช่วง 2Q24 เติบโตราว 16.6%YoY จากการมีแร่นิกเกิลจำนวนมาก ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ EV

3. กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วง 2Q24 เป็นต้นไป

4. Valuation ที่อยู่ในระดับไม่แพง

5. ค่าเงินรูเปียห์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นหลัง Fed ลดดอกเบี้ย ขณะที่ในระยะกลาง-ยาว ยังได้แรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่

 

หุ้นจีน A-Share

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจาก EPS Growth ใน 1Q24 ที่ผ่านจุดต่ำไปแล้ว และจากความคาดหวังการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมในการประชุมโปลิตบูโรปลายเดือนกรกฎาคมนี้ หลัง GDP ทั้งปีเสี่ยงพลาดเป้า นอกจากนี้คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจีน A-Share มีแนวโน้มเพิ่มผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นมากยิ่งขึ้น และทางการจีนยังมีแนวโน้มเข้ามาช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลงและรักษาเสถียรภาพของตลาด

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ปัจจัยพื้นฐานยังคงสนับสนุนการถือครองทองคำในพอร์ตระยะยาว เนื่องจาก

1. เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ และความเสี่ยงจากภาวะสงครามที่รุนแรงได้

2. เริ่มมีความกังวลประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่สูงเป็นประวัติการณ์

3. ประเทศหลักๆ ที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ได้กระจายความเสี่ยง ลดการถือเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศ และมีความต้องการสะสมทองคำมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะกลาง-ยาว 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 13 ส.ค. 2024

READ MORE



Latest Stories