THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
Fed
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

ผลการประชุม Fed จ่อชี้ชะตาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์ทั่วโลก

... • 29 ต.ค. 2023

HIGHLIGHTS

5 min read
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพรวมตลาดส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบจากผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง โดยผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีพุ่งขึ้นเกิน 5% เมื่อต้นสัปดาห์ก่อนจะปรับลดลง จนทำให้ส่วนต่างลดลงมาอยู่ในระดับ 0.1% 
  • นอกจากนี้ อารมณ์ตลาดยังถูกกดดันจากความกังวลในภาวะสงครามตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ท่ามกลางกระแสสังคมโลกเริ่มต่อต้านหลังมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก 
  • ในสัปดาห์นี้ สามธนาคารกลางของประเทศสำคัญ ทั้ง Fed, BOE และ BOJ จะมีการประชุมกันเพื่อกำหนดนโยบายการเงิน ซึ่งจะมีผลต่อตลาดการลงทุนทั่วโลก 
  • สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย แนะนำเลือกหุ้นที่ได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอีกครั้ง

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดปรับตัวลดลงจาก 1. ผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง โดยผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีพุ่งขึ้นเกิน 5% ในวันจันทร์ (23 ตุลาคม) ก่อนปรับลดลง หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง โดยล่าสุด GDP ไตรมาส 3/23 ประกาศครั้งแรกอยู่ที่ 4.9% ต่อปีเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สูงกว่าคาดที่ 4.5% ผลจากการบริโภคที่พุ่งขึ้นถึง 4% สูงสุดในรอบ 2 ปี ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีท่ามกลางความเสี่ยงราคาน้ำมันที่ยังสูงต่อเนื่องจากสงครามอิสราเอล-ฮามาส ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวสูงขึ้น แต่ระยะสั้นเริ่มปรับลดลง จนทำให้ส่วนต่างลดลงมาอยู่ในระดับ 0.1% 

 

  1. ความกังวลในภาวะสงครามตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ โดยมีพัฒนาการทั้งบวกและลบจาก (1.) อียิปต์จัดให้มีการประชุมสุดยอดสันติภาพในประเด็นฉนวนกาซา แต่ยังเป็นความพยายามเบื้องต้นเนื่องจากไม่มีคู่กรณี ได้แก่ อิสราเอลและฮามาส รวมถึงสหรัฐฯ เข้าร่วม (2.) อิสราเอลอนุญาตให้สหประชาชาติส่งความช่วยเหลือฉนวนกาซาได้ (3.) รมว.กลาโหมของอิสราเอลประกาศแผน 3 ระยะสำหรับการจัดการสงครามอิสราเอล-ฮามาส คือโดยจะยังโจมตีทางอากาศและภาคพื้นดิน รวมถึงการยกเลิกความรับผิดชอบของอิสราเอลในฉนวนกาซา และ (4.) ฮามาสเริ่มมีการปล่อยตัวประกันกลุ่มแรก อย่างไรก็ตาม อิสราเอลยังคงยิงขีปนาวุธถล่มกาซาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางกระแสสังคมโลกเริ่มต่อต้านหลังมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก 

 

  1. ตัวเลข PMI ของประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่หดตัวต่อเนื่อง ผลจากการหดตัวของภาคบริการเป็นหลัก โดยเฉพาะในยุโรป ทำให้ดัชนีรวม (Composite Index) ลงมาอยู่ที่ 46.5 จาก 47.2 ขณะที่ดัชนีของประเทศขนาดใหญ่ เช่น ฝรั่งเศสและเยอรมนี อยู่ในระดับต่ำที่ 45.3 และ 45.8 ด้านดัชนี Flash Composite Index ของญี่ปุ่นก็ปรับลดลงต่ำกว่า 50 จุดเช่นเดียวกัน ยกเว้นของสหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 51.0 จาก 50.2 ในเดือนก่อน ผลจากภาคการผลิตที่เข้ามาสู่ระดับ 50 จุดเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนเมษายน ขณะที่ภาคบริการก็ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 50.9 สูงสุดในรอบ 3 เดือน 

 

  1. ด้านรัฐบาลจีนส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายเศรษฐกิจต่อเนื่อง โดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิงไปเยือนธนาคารกลางเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ขณะที่รัฐบาลประกาศมาตรการการคลังมูลค่า 1 ล้านล้านหยวน ซึ่งทำให้การขาดดุลการคลังในปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 3% ของ GDP ไปสู่ 3.8% โดยเม็ดเงินดังกล่าวจะนำไปช่วยภูมิภาคต่างๆ ของจีนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมถึงสนับสนุนกิจการของรัฐบาลท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตอสังหา ที่กระทบกับรายได้จากการขายที่ดินให้ผู้พัฒนาโครงการ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่ามาตรการดังกล่าว รวมถึงการที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเดินทางไปธนาคารกลาง เป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลจะเข้ามาดูแลเศรษฐกิจเพื่อให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมาย  

 

“สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลดลงจากความกังวลในภาวะสงครามตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ รวมถึงผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง โดยผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีพุ่งขึ้นเกิน 5% ในวันจันทร์ก่อนปรับลดลง จนทำให้ส่วนต่างลดลงมาอยู่ในระดับ 0.1% ด้านตัวเลข PMI ของประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่หดตัวต่อเนื่อง ผลจากการหดตัวของภาคบริการเป็นหลัก ยกเว้นของสหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นเล็กน้อย ด้านรัฐบาลจีนส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายเศรษฐกิจต่อเนื่อง โดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิงไปเยือน ธนาคารกลางเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ขณะที่รัฐบาลประกาศมาตรการการคลังมูลค่า 1 ล้านล้านหยวน”

 

เกาะติดตลาดพันธบัตรและท่าที Fed 

ในประเด็นผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นนั้น เรามองว่าเป็นผลจาก 1. การส่งสัญญาณ Higher for Longer ของ Fed ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังดีต่อเนื่อง ขณะที่ความเสี่ยงเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงยาวนานขึ้นหลังจากสงครามอิสราเอล-ฮามาสที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ 2. การขาดดุลการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย Fitch คาดการณ์ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้นจาก 3.7% ต่อ GDP ในปี 2022 เป็น 6.3% ในปีนี้ และ 6.9% ในปี 2025 และ 3. จากมาตรการถอนสภาพคล่อง (QT) เดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยปัจจุบันงบดุลของ Fed ลดลงจากประมาณ 9 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงต้นปี 2022 สู่ 8 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน  

 

ทั้งนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งขึ้นจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาครัฐและธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมากระทรวงการคลังสหรัฐฯ คาดว่าค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยของรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.62 แสนล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่บนสมมติฐานว่าดอกเบี้ยเฉลี่ยของหนี้สาธารณะอยู่ที่ 3% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ของประชาชนและภาคเอกชนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยล่าสุดดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน 30 ปี อยู่ใกล้เคียงระดับ 8% ซึ่งจะลดทอนความสามารถในการใช้จ่ายของประชาชนในอนาคต 

 

ทั้งนี้ จากสถิติตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา ในช่วงก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย 4 ครั้งหลัง เมื่อ Yield Curve กลับมาเป็นปกติ (ส่วนต่างผลตอบแทนพันธบัตร 2-10 ปีเป็นศูนย์) จะใช้เวลาประมาณ 4-8 เดือนก่อนที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยในช่วงดังกล่าว ผลตอบแทนพันธบัตร 2 ปีจะต่ำกว่า 10 ปีประมาณ 1% ภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้าได้มากขึ้น

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

  1. หุ้นเก็งกำไรซึ่งคาดว่าได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับขึ้นหรือทรงตัวในระดับสูง หลังกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลางกระทบอุปทานน้ำมัน แนะนำเทรดดิ้งราคาน้ำมัน Brent ในกรอบ 84-94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เลือก BCP, PTTEP และ TOP
  2. หุ้น Undervalued ซึ่งราคาปรับลงมาจนเข้าเขต Oversold และยังมีพื้นฐานดี อีกทั้ง Valuation ไม่แพง (PER และ PBV 23F ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี) เลือก BDMS, CPALL, CPN และ MINT
  3. หุ้นที่คาดผลประกอบการดีต่อเนื่องไปใน 4Q23 (+YoY, +QoQ) เลือก AP, AOT, BLA, BCH และ CENTEL รวมทั้ง KCE ที่ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว (+QoQ)

 

ขณะที่ระยะกลาง แนะนำระมัดระวังหุ้นที่คาดได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่จะกระทบต่อกำลังซื้อภาคเกษตรลดลง ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ (GLOBAL) กลุ่มสินเชื่อ (MTC, SAWAD) กลุ่มยานยนต์ (SAT, STANLY) กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG จากราคาน้ำตาลที่สูงขึ้น) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF, GFPT)

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

  1. การประชุมนโยบายการเงินของ BOJ (31 ตุลาคม): ตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1%
  2. การประชุมนโยบายการเงินของ Fed (1 พฤศจิกายน): ตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25-5.50%
  3. การประชุมนโยบายการเงินของ BOE (2 พฤศจิกายน): ตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25%

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: SCGP - พ้นจุดต่ำสุด...4Q23 คาดกำไรดีขึ้น

 

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง หรือ SCGP เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • ดำเนินธุรกิจถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) เพื่อให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ โดยเป็นผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์รายใหญ่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่ออิงส่วนแบ่งตลาดจากยอดขายที่ 36%
  • มองผลการดำเนินงานพ้นจุดต่ำสุดปีนี้แล้วใน 3Q23 ซึ่งมีกำไรสุทธิหดตัว 10.8%QoQ จากราคากระดาษบรรจุภัณฑ์ที่ลดลง และผลกระทบของการหยุดซ่อมบำรุงใหญ่โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ ซึ่งได้รับการชดเชยบางส่วนจากต้นทุนวัตถุดิบ (เศษกระดาษ) และถ่านหินที่ลดลง 
  • 4Q23 คาดผลประกอบการจะปรับตัวดีขึ้น QoQ ตามแนวโน้มราคากระดาษบรรจุภัณฑ์ที่ดีขึ้น ขณะที่ปี 2023 คาดมีกำไรปกติ 5.6 พันล้านบาท หดตัว 2.8%YoY ก่อนที่จะพลิกโต 36.7%YoY ในปี 2024 เพราะนอกจากมีฐานต่ำแล้ว ยังคาดได้ผลบวกจากการมีต้นทุนพลังงาน (ถ่านหินและก๊าซ) ที่ต่ำลง และการที่จีนมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งคาดช่วยหนุนอุปสงค์กระดาษบรรจุภัณฑ์
  • ราคาหุ้น SCGP ลดลง 38.4%YTD แย่กว่า SET ที่ลดลง 18.2%YTD ซึ่งมองสะท้อนปัจจัยลบส่วนใหญ่ไปแล้ว ขณะที่คาดกำไรปกติจะปรับตัวดีขึ้นใน 4Q23 ซึ่งจะช่วยจำกัด Downside Risk
  • เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2024 ที่หุ้นละ 51 บาท (อิง -0.5SD PER ที่ 28.8 เท่า) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2023 หุ้นละ 0.60 บาท คิดเป็น Div. Yield ราวปีละ 1.7%

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสด มีโอกาสให้ผลตอบแทนใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed ยังมีแนวโน้มดำเนินนโยบายดอกเบี้ยแบบ Higher for Longer) ประกอบกับความหวังเศรษฐกิจสหรัฐฯ Soft Landing มากขึ้น ขณะที่สินทรัพย์สภาพคล่องยังได้แรงหนุนจากความกังวลบนสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอล

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

Fed

 

แนะนำทยอยสะสมพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวที่ระดับ Bond Yield ปัจจุบัน 1. เพื่อ Locked ผลตอบแทน ในขณะที่ Bond Yield ยืนอยู่ในระดับสูง 2. ความน่าจะเป็นที่ Terminal Rate จะปรับตัวสูงขึ้นมีไม่มาก หลังประธาน Fed สาขาต่างๆ มองว่า Bond Yield ในตลาดมีการ Price In ผลกระทบการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปมากแล้ว

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

Effective Yield ของ IG Bond ยังยืนในระดับสูง ถึงแม้ว่า Spread ยังแกว่งตัวแคบ /  IG มีความทนทานต่อความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น จากการที่ Corporate ที่ออก IG ส่วนใหญ่ได้ทำการ Lock ต้นทุนทางการเงินตอนที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำในช่วงก่อนหน้า จึงได้รับผลกระทบจากภาระต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นจำกัด

 

Interest Coverage ของ US HY ลดลงสู่ระดับต่ำกว่า Pre-COVID สะท้อนถึงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยที่ลดลง Spread ที่ยังอยู่ในระดับต่ำยังไม่สะท้อน 1. ความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลง และ 2. HY Outstanding ที่ต้อง Refinance จะเร่งตัวขึ้นในปี 2024 ต่อเนื่องไปในปี 2025

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

Fed

 

เรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นจาก 1. Valuation ของตลาดปรับเข้าสู่จุดที่น่าสนใจ (Fwd P/E 17.2x; -0.4 s.d. บนค่าเฉลี่ย 5 ปี) 2. กำไร บจ. ที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่คาด (78% ของงบที่ประกาศแล้ว ดีกว่า Consensus คาด) 3. แรงกดดันของ Bond Yield มีทิศทางชะลอตัวลง และ 4. เศรษฐกิจที่สะท้อนภาพของ Soft Landing 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

แม้ดัชนีฯ มีแนวโน้มถูกกดดันจากผลประกอบการ บจ. ในตลาดหุ้นยุโรป ประจำ 3Q23 ที่มีแนวโน้มออกมาหดตัวค่อนข้างมาก และ EPS ทั้งปีมีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลง อย่างไรก็ดี Valuation ของดัชนีฯ ยังไม่แพง ประกอบกับ ECB มีแนวโน้มลดท่าที Hawkish ลง หลังตัวเลขต่างๆ ยังแผ่วลง เช่น PMI และการปล่อยสินเชื่อ

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

Earnings ของดัชนีหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยแรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่าช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ บจ. มีแนวโน้มประกาศเพิ่มการซื้อหุ้นคืน และการจ่ายปันผลในช่วงการรายงานงบฯ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงที่ BOJ อาจปรับเปลี่ยนมาตรการ YCC เร็วกว่าที่คาด จากเงินเฟ้อที่เร่งตัว และ UST Yield ทยอยเพิ่มขึ้น

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมของทางการจีน โดยล่าสุดทางการจีนมีแผนออกพันธบัตรรัฐบาลกลางรวมกว่า 1 ล้านล้านหยวน เพื่อสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ EPS ของดัชนีฯ มีแนวโน้มออกมาดี แต่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่อาจชะลอแรงซื้อบนดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นช่วงที่เหลือของปีนี้ ขณะที่ Valuation ไม่แพง อย่างไรก็ตาม ความกังวลการชะลอตัวในภาคอสังหา เงินหยวนที่ยังอ่อนค่าเทียบดอลลาร์ ข้อพิพาทเทคโนโลยีระหว่างจีน-สหรัฐฯ สภาพคล่องโลกที่ลดลง และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จะยังกดดันดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

Fed

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตามการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น และนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเดินทางเข้ามาอย่างมีนัยจากมาตรการฟรีวีซ่า ช่วง High Season ใน 4Q23 รวมทั้งความชัดเจนที่เพิ่มขึ้นบนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ (มาตรการ Digital Wallet) ประกอบกับ Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

ดัชนีฯ ที่ลดลงแรงถูกกดดันจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก แม้การส่งออกมีสัญญาณฟื้นตัว แต่ปัญหาภาคอสังหาที่ยืดเยื้อ รวมถึงการโดนบังคับขายหุ้นของนักลงทุนรายย่อย และความตึงเครียดระหว่างอิสราเอล-ฮามาสที่กำลังก่อตัว อาจทำให้ปัจจัยบวกในระยะสั้นมีจำกัด ทั้งนี้ รอผลการประชุม National Assembly

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในกรอบ โดยแม้ในระยะกลางถึงยาว เศรษฐกิจอินโดนีเซียมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการลงทุนโดยตรง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปแร่โลหะ แต่ในช่วงสั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BI ล่าสุดสู่ระดับ 6% จาก 5.75% เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์ อาจเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคในประเทศ

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

ราคาทองคำได้รับแรงส่งระยะสั้นจากสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอล ประกอบกับการที่ Bond Yield อ่อนตัวลง จากการที่ Fed อาจไม่ขึ้นดอกเบี้ยต่อในปีนี้ รวมถึงโอกาสที่สหรัฐฯ เป็น Soft Landing มากขึ้น และการที่ดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะถัดไป จะช่วยสนับสนุนราคาทองคำในระยะกลาง

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

ราคาน้ำมันมี Upside Risk ระยะสั้น จากสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอล อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าสงครามอาจไม่ลุกลามจนกลายเป็นสงครามระดับภูมิภาคที่จะส่งผลต่อ Supply น้ำมันในระยะกลาง/ยาว ทั้งนี้ ควรมี Diversified Commodities ในพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยงเงินเฟ้อ

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed

 

อัตราการผิดนัดชำระหนี้ CMBS ลดลงเล็กน้อยในเดือนกันยายน หลังจากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเช่ายังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย แต่อุปสงค์โดยรวมและ Vacancy Rate ยังคงอ่อนแอ ประกอบกับ Valuation ยังค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

 

REITs ไทยเริ่มมี Fund Flows ไหลเข้าเล็กน้อยในเดือนกันยายน หลังจากเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่องจาก Property Funds นับตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงสิงหาคม อีกทั้งมี Valuation ค่อนข้างถูกทั้งในแง่ PBV, Dividend Yield Spread ขณะที่ REITs สิงคโปร์ Yield Spread ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าสนใจ 

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

Fed

 

Slightly Negative on Private Equity, Private Real Estate, and Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและบริษัทใน Private Debt

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 29 ต.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories