Thai Designer – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 02 Jun 2021 12:05:34 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 ชมคลิป: สัมภาษณ์อัปเดตชีวิตกับ อิ้งค์ วรันธร และ หมู พลพัฒน์ พร้อมพูดคุยเกี่ยวกับโปรเจกต์พิเศษ ASV x Ink Waruntorn https://thestandard.co/video-asv-x-ink-waruntorn/ Wed, 02 Jun 2021 12:05:34 +0000 https://thestandard.co/?p=495908 ASV x Ink Waruntorn

ครั้งแรกที่ ‘อิ้งค์ วรันธร’ และ หมู พลพัฒน์ ดีไซเนอร์ชื […]

The post ชมคลิป: สัมภาษณ์อัปเดตชีวิตกับ อิ้งค์ วรันธร และ หมู พลพัฒน์ พร้อมพูดคุยเกี่ยวกับโปรเจกต์พิเศษ ASV x Ink Waruntorn appeared first on THE STANDARD.

]]>
ASV x Ink Waruntorn

ครั้งแรกที่ ‘อิ้งค์ วรันธร’ และ หมู พลพัฒน์ ดีไซเนอร์ชื่อดังจากแบรนด์ Asava และ ASV จับมือร่วมกันออกแบบแคปซูลคอลเล็กชันที่มีชื่อว่า ASV x Ink Waruntorn ในช่วงเวลาที่แฟชั่นไทยกำลังต้องการสีสันและความสนุกอีกครั้ง THE STANDARD POP ได้พูดคุยกังการร่วมงานครั้งนี้ พร้อมอัปเดตชีวิตกับทั้งคู่ในช่วงโควิด-19 รวมไปถึงอิทธิพลที่ดนตรีและแฟชั่นมีต่อการสร้างสรรค์ผลงานของพวกเขา

 

ตัดต่อ: ธนวีร์ ลิ้มประสิทธิศักดิ์

The post ชมคลิป: สัมภาษณ์อัปเดตชีวิตกับ อิ้งค์ วรันธร และ หมู พลพัฒน์ พร้อมพูดคุยเกี่ยวกับโปรเจกต์พิเศษ ASV x Ink Waruntorn appeared first on THE STANDARD.

]]>
บทเรียนและความหวังของ 19 ไทยดีไซเนอร์ตลอดปี 2020 กับอนาคตที่กำลังจะมาถึง https://thestandard.co/lessons-and-hopes-19-thai-designers-2020/ Thu, 24 Dec 2020 03:28:19 +0000 https://thestandard.co/?p=435313 บทเรียนและความหวังของ 19 ไทยดีไซเนอร์ตลอดปี 2020 กับอนาคตที่กำลังจะมาถึง

Landmeé     มี่-เนตรดาว วัฒนะสิมากร ผู้ก่อตั้ […]

The post บทเรียนและความหวังของ 19 ไทยดีไซเนอร์ตลอดปี 2020 กับอนาคตที่กำลังจะมาถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>
บทเรียนและความหวังของ 19 ไทยดีไซเนอร์ตลอดปี 2020 กับอนาคตที่กำลังจะมาถึง

Landmeé

 

มี่-เนตรดาว วัฒนะสิมากร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Landmeé

 

มี่-เนตรดาว วัฒนะสิมากร

ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Landmeé

 

“ปี 2020 เหมือนได้นั่งรถไฟเหาะตีลังกาหลายๆ รอบวนๆ ไปทั้งปี แต่มันก็เป็นความท้าทายอีกหนึ่งอย่าง”

 

NOW:

ปี 2020 เหมือนได้นั่งรถไฟเหาะตีลังกาหลายๆ รอบวนๆ ไปทั้งปี แต่มันก็เป็นความท้าทายอีกหนึ่งอย่าง ได้เรียนรู้ความอดทน การเคารพความคิดเห็นของคนอื่น แต่ที่เราได้จากปีนี้ที่สุดคือการแก้ไขปัญหา เพราะมันเกิดปัญหาขึ้นหลายสถานการณ์มาก เราได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวว่าเราจะทำอย่างไรให้แบรนด์เราอยู่รอด พนักงานของเราทุกคนอยู่รอด มันต้องใช้เหตุและผล ใช้ความคิดมากๆ เลย ทำให้เราต้องมีสติมากขึ้นในหลายๆ ปี เป็นปีที่ฝึกสติมากที่สุดเลย 

 

NEXT:

ความหวังในปี 2021 อันดับแรกเลยคือวัคซีน คิดว่าสถานการณ์หลายๆ อย่างมันน่าจะคลี่คลายและผ่อนคลายขึ้น ทุกธุรกิจเลย รวมไปถึงคนรอบตัวเราด้วยที่ต้องเจอกับความเครียด อยากให้บ้านเมืองเราสงบสุขด้วย เคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกันจริงๆ เราผ่านปี 2020 มาแล้วก็ไม่คิดว่าจะมีอะไรน่ากลัวไปกว่านี้แล้ว มันน่าจะฝึกทุกคน เหมือนได้ผ่านสนามรบโหดๆ มันน่าจะทำให้เรามีความเข้มแข็งขึ้นทางด้านจิตใจและชีวิต ในความวุ่นวายมันก็ทำให้เราได้เติบโตและแข็งแกร่งขึ้น เตรียมพร้อมสู้ในปีต่อๆ ไป

 


 

Sretsis

 

แอ้-มทินา, เอ๋ย-พิมพ์ดาว, อิ๊บ-คล้ายเดือน สุขะหุต ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ Sretsis

 

แอ้-มทินา, เอ๋ย-พิมพ์ดาว, อิ๊บ-คล้ายเดือน สุขะหุต

ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ Sretsis

 

“เราอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาและปรับตัวกับรูปแบบวิถีชีวิตของยุค New Normal”

 

NOW:

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในปี 2020 คือการหาแนวทางในการทำงานใหม่ที่ยั่งยืนในรูปแบบของเรา เราอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา และปรับตัวกับรูปแบบวิถีชีวิต New Normal 

 

NEXT:

ตั้งความหวังไว้ว่าในปี 2021 อยากพัฒนาการช่องทางขายออนไลน์ทั้งในไทยและต่างประเทศ และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ กับลูกค้าที่มันสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์ของเราในระยะยาว

 


 

Milin 

 

 

มีมี่-มิลิน ยุวจรัสกุล

ผู้ก่อตั้งแบรนด์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Milin 

 

“เราได้ใช้พลังของปี 2021 ไปกับปี 2020 หมดแล้ว ปีหน้าเราหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้น มีวัคซีนออกมาไวๆ เราอยากให้เวลากับครอบครัวและคนที่เรารักมากกว่านี้”

 

NOW:

ปี 2020 เป็นปีที่เหนื่อยที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์มา และเป็นปีที่ยอดขายเราสูงที่สุดตั้งแต่ทำมา เป็นปีที่เราออกนอกคอมฟอร์ตโซนเยอะมากๆ ทำโปรเจกต์มากมายหลายอย่างแบบไม่หยุดตลอดปีที่ผ่านมา ทั้ง Milin Front Row เปิด Talent Agency ที่ชื่อว่า Feline ไปเมื่อต้นปี ทำคอลเล็กชันกับ Pomelo ผู้หญิง Milin คือผู้หญิงที่รักการใช้ชีวิตเป็นที่สุด แต่เราก็ต้องมากักตัวเหมือนคนอื่นๆ เขา ก็เลยออกคอลเล็กชันที่ชื่อ Quarantine Queen

 

นอกจากนั้นเรายังมีอีกบทบาทใหม่ให้เราได้ทำมากขึ้น เราทำงานร่วมกับ Miss Universe Thailand 2020 ในฐานะ Style Director ทั้งชุดรอบ Preliminary ชุดเปิดตัว ชุดว่ายน้ำ เราหันมาดูแลเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมให้กับศิลปินไทย ไม่ว่าจะเป็น Matcha ตอนที่เธอเดบิวต์เพลง So What และวงเกิร์ลกรุ๊ปอย่าง Lyra ด้วย เป็นปีที่สุดมากๆ สนุกมากๆ แต่เหนื่อยมากจริงๆ

 


 

Asava

 

หมู-พลพัฒน์ อัศวะประภา ผู้ก่อตั้งแบรนด์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Asava, ASV, White Asava, Sava Dining และ MOO

 

หมู-พลพัฒน์ อัศวะประภา

ผู้ก่อตั้งแบรนด์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Asava, ASV, White Asava, Sava Dining และ MOO

 

“จงอย่าใช้ชีวิตอยู่ด้วยความประมาท นี่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันมีเหตุปัจจัยอื่นๆ ที่เราอาจไม่คาดคิดว่าจะเกิดผลกระทบกับทั้งชีวิตส่วนตัว การทำงาน และชีวิตของทุกๆ คนในโลก”

 

NOW:

จงอย่าใช้ชีวิตอยู่ด้วยความประมาท นี่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันมีเหตุปัจจัยอื่นๆ ที่เราอาจไม่คาดคิดว่าจะเกิดผลกระทบกับทั้งชีวิตส่วนตัว การทำงาน และชีวิตของทุกๆ คนในโลก สิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2020 เป็นสิ่งที่สอนให้เรารู้ว่าการวางแผนจัดการกับความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ บริหารจัดการชีวิตและบริษัทอย่างไม่ประมาทบนความพอเพียง ให้เหมาะสมกับตัวเอง

 

NEXT:

จริงๆ ไม่ได้ตั้งความหวังอะไรมาก หวังเพียงว่าสถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลาย ในส่วนของโควิด-19 ก็อยากให้มีวัคซีนป้องกัน ให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เช่น ในยุคหลังปี 1929 ที่เกิด The Great Depression ครั้งใหญ่ก็จะกลับมาซึ่งความงอกงามของสิ่งต่างๆ อีกครั้ง รวมไปถึงศิลปะและแฟชั่นจะกลับมาสนุกสนานคึกคักอีกครั้ง และตั้งความหวังว่าอยากจะทำแฟชั่นโชว์ใหญ่ๆ สักครั้งให้สมกับที่ปีนี้ไม่ได้ทำโชว์มาสักพักใหญ่

 


 

Kloset

 

แก้ม-มลลิกา เรืองกฤตยา ดีไซเนอร์ ผู้ก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการแบรนด์ Kloset

 

แก้ม-มลลิกา เรืองกฤตยา

ดีไซเนอร์ ผู้ก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการแบรนด์ Kloset

 

“อย่ายึดติดกับอะไรที่ไม่มีประโยชน์ เราอาจต้องทิ้งสิ่งที่เรารักบางอย่างในเวลาคับขัน แต่มันไม่ใช่จุดจบ”

 

NOW:

อย่ายึดติดกับอะไรที่ไม่มีประโยชน์ เราอาจต้องทิ้งสิ่งที่เรารักบางอย่างในเวลาคับขัน แต่มันไม่ใช่จุดจบ เราเพียงต้องตั้งหลักใหม่ในสถานการณ์ใหม่ให้เร็วที่สุด เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับเรา เพื่อที่เราจะกลับไปผงาดได้อีกครั้ง ศึกษา เข้าใจ และปรับใช้ในเรื่องของ Digital Marketing ให้ได้ เพราะโลกเรากำลังไปในทิศทางเดียว ทิศทางนั้นเท่านั้น อยู่เฉยๆ ก็เท่ากับล้าหลัง สร้างขวัญและกำลังใจให้ทีมและพนักงานทุกคนในองค์กรพร้อมฮึดสู้ไปด้วยกัน เราต้องอยู่เคียงข้างกับพวกเขาอยู่เสมอ

 

NEXT:

ขอให้คำว่า ‘เผาจริง’ ไม่เกิดขึ้น (โหดกว่านี้ไม่ได้นะ) การแข่งขันต่อสู้เรื่อง Digital Marketing และ Online Retail จะสูงมาก และเราจะปรับองค์กรให้ทันสมัยตามเทคโนโลยีที่เร็ว เชื่อว่าบรรยากาศของแฟชั่นและการช้อปปิ้งจะเริงร่ากว่านี้ และแน่นอน Vaccine, Please!

 


 

Shone Puipia

 

โชน ปุยเปีย ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Shone Puipia

 

โชน ปุยเปีย

ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Shone Puipia

 

ได้ลองทำอะไรที่ไม่เคยทำ และได้ร่วมงานกับคนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ได้หันมาให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรารัก และให้ความสุขกับเราจริงๆ

 

NOW:

เมื่อช่วงต้นปีโชนมีสมาชิกในทีมเพิ่มขึ้นมา และเราเพิ่งย้ายมาอยู่ในสตูดิโอใหม่ หลังจากนั้นไม่นานก็เข้าช่วงล็อกดาวน์ ซึ่งตอนนั้นเรากำลังทำคอลเล็กชันใหม่กันอยู่ พวกเราทุกคนจึงต้องออกแบบระบบงานกันใหม่เพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้ และนั่นทำให้เราได้เรียนรู้ที่จะพลิกแพลงแพตเทิร์นเดิมๆ ในชีวิต ได้ลองทำอะไรที่ไม่เคยทำ และได้ร่วมงานกับคนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ปีนี้เป็นปีที่เราต้องปรับโฟกัส มาให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรารัก และให้ความสุขกับเราจริงๆ 

 

NEXT:

โชนรู้สึกว่าเส้นทางชีวิตและการทำงานในช่วงปีนี้กำลังไปในทิศทางที่ดี เราก็หวังว่าจะคงแรงผลักดันเช่นนี้ต่อเนื่องไปในปีใหม่ 2021 โชนรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ปีหน้าก็คงมีอุปสรรคและความท้าทายใหม่ๆ อีกมาก แต่เราก็พร้อมและเชื่อมั่นในทีมงานที่เรามีครับ

 


 

Disaya

 

ออม-ดิษยา สรไกรกิติกูล ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Disaya

 

ออม-ดิษยา สรไกรกิติกูล

ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Disaya

 

 “หวังให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น เพื่อที่ทุกคนจะได้ก้าวต่อไป

 

NOW:

จากที่ทุกคนเจอกันมา ต้องบอกเลยว่าคงเป็นปีที่ยากมากๆ สำหรับทุกคน โดยเฉพาะกับเรื่องงานที่ต้องปรับตัวในเรื่องดีไซน์ให้เร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ตอนนี้ เพราะ Disaya เป็นที่รู้จักสำหรับชุดออกงานหรือชุดที่ค่อนข้างพิเศษ จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องปรับ และในช่วงล็อกดาวน์เป็นช่วงที่ได้กลับมาคิดและปรับจนออกมาเป็นไลน์ใหม่อย่าง Disaya Vacationist ที่เพิ่งเปิดตัวในปีนี้และมีเสียงตอบรับที่ดี

 

NEXT:

ขอพูดรวมๆ เลยแล้วกัน ก็หวังให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น เพื่อที่ทุกคนจะได้ก้าวต่อไป

 


 

Vickteerut

 

แป้ง-อรประพันธ์ สุทธินรเศรษฐ์ ดีไซเนอร์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Vickteerut และ Vick’s Weekend

 

แป้ง-อรประพันธ์ สุทธินรเศรษฐ์

ดีไซเนอร์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Vickteerut และ Vick’s Weekend

 

ในบางครั้งถ้าปีนผ่านกำแพงนั้นไปไม่ได้ ให้เจาะรูกำแพงนั้นเลย เราจะรอด

 

NOW:

สิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2020 ที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่าในบางครั้งถ้าปีนผ่านกำแพงนั้นไปไม่ได้ ให้เจาะรูกำแพงนั้นเลย เราจะรอด 

 

NEXT:

หวังว่าปี 2021 นี้จะเป็นปีที่ดี เป็นกำลังใจให้ตัวเองในการทำงาน และเพิ่มพลังงานที่ดีให้กับทุกคนได้

 


 

Painkiller

 

อร-สิริอร เฑียรฆประสิทธิ์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ Painkiller

 

อร-สิริอร เฑียรฆประสิทธิ์

ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ Painkiller

 

“ได้เรียนรู้ว่าการปรับตัวแบบปัจจุบันทันด่วนเป็นเรื่องยาก แต่ก็ทำได้ มันคล้ายกับที่เราได้ยินตอนเด็กๆ ว่ามีคนแบกตู้เย็นได้ตอนบ้านไฟไหม้

 

NOW:

ได้เรียนรู้ว่าการปรับตัวแบบปัจจุบันทันด่วนเป็นเรื่องยาก แต่ก็ทำได้ มันคล้ายกับที่เราได้ยินตอนเด็กๆ ว่ามีคนแบกตู้เย็นได้ตอนบ้านไฟไหม้ การลดอีโก้ลงก็เหมือนกัน ทำยากแต่ก็ทำได้ การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด อาชีพเริ่มเปลี่ยนไป เช่น จาก Fashion Designer เป็น Multidisciplinary Designer Specialised in Fashion & … เป็นต้น ท้ายที่สุดดีไซเนอร์ทุกคนคงต้องแบ่งเค้กกันกิน อยู่ที่ว่าใครจะได้ส่วนที่อร่อยที่สุดก็แค่นั้น

 

NEXT:

ตั้งความหวังไว้ว่าตัวเองจะเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกในช่วงที่มีชีวิตอยู่ จริงๆ คิดมาตั้งหลายปีแล้ว แต่เพิ่งมาทำจริงๆ จังๆ ช่วงปีนี้ และคิดว่าน่าจะจริงจังขึ้นไปอีกในปีหน้า พอมีโควิด-19 พี่อรคิดถึงเรื่องการเกิดขึ้นและดับไปมากขึ้น เริ่มมีการคิดถึงฉากตอนตายเป็นช่วงแฟลชแบ็กก่อนไปภพอื่น จะมีภาพทำดีทำชั่วอะไรไว้บ้าง อยากทำประโยชน์เก็บไว้หลายๆ อย่าง เวลาอยู่ๆ ฉากที่ว่ามาถึงจะได้ไม่เสียดายที่ต้องตายไป

 


 

Greyhound Original

 

บี-บดินทร์ อภิมาน  ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ Greyhound Original

 

บี-บดินทร์ อภิมาน 

ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ Greyhound Original

 

“คิดถึงคนอื่นมากขึ้น กลับมามองสิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นมากขึ้น ทั้งการผลิต วัตถุดิบ และกลุ่มลูกค้า เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งของการเติบโตในฐานะนักออกแบบ”

 

NOW:

ปี 2020 เป็นปีที่เริ่มต้นกับการทำหน้าที่ใหม่ให้แบรนด์ จากภาพในหัวของเราว่าจะทำแบรนด์นี้ให้เป็นไปในทิศทางนั้นนี้ ทุกอย่างแทบหยุดชะงัก ทำให้เราต้องกลับมามองสถานการณ์ปัจจุบันตรงหน้ามากกว่ามองถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และอยู่กับความจริงมากขึ้น แฟชั่นเป็นสิ่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่คนทั่วไม่ได้พูดถึง เพราะอาจมองว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็นแรกๆ ที่ต้องการในเวลานั้น แต่ก็ด้วยสถานการณ์นี้ที่ทำให้เราออกแบบสิ่งต่างๆ โดยคิดถึงคนอื่นมากขึ้น กลับมามองสิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นมากขึ้น ทั้งการผลิต วัตถุดิบ และกลุ่มลูกค้า เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งของการเติบโตในฐานะนักออกแบบ

 

NEXT:

เราจะไม่ตั้งความหวังอะไรที่อาศัยปัจจัยภายนอกเยอะ หรืออยู่นอกการควบคุมของเรา แต่เราจะพยายามตั้งเป้าหมายที่เริ่มจากตัวเองก่อนทั้งเรื่องงานและชีวิตว่ามีอะไรที่เราทำได้บ้างด้วยปัจจัยที่มีอยู่ในมือตอนนี้ ถือเป็นความสนุกในการทำงานอีกแบบหนึ่งครับ เป็นปีที่เราจะเติบโตไปพร้อมบททดสอบใหม่ๆ

 


 

Patinya

 

กีต้าร์-ปฏิญญา เกี่ยวข้อง กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งแบรนด์ Patinya

 

กีต้าร์-ปฏิญญา เกี่ยวข้อง

กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งแบรนด์ Patinya

 

หาความสุขกับสิ่งรอบตัวง่ายขึ้น การเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหันทำให้เราต้องรู้จักปล่อยวางและยอมรับให้เร็วในทุกด้าน

 

NOW:

ส่วนตัวชอบในการอยู่บ้านมากขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น จนปีที่ผ่านมาทำให้มีการเริ่มลงทุนกับบ้านและของใช้ในบ้านมากขึ้น และรู้ว่าความสุขในการอยู่บ้านคือการทำให้ชีวิตดีและมีพลังในการทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านได้ดียิ่งขึ้น เริ่มเกิดความใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ มากกว่าแต่ก่อน หาความสุขกับสิ่งรอบตัวง่ายขึ้น การเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหันทำให้เราต้องรู้จักปล่อยวางและยอมรับให้เร็วในทุกด้าน สุดท้ายคือไม่มีคำว่าจีรังยังยืนอีกต่อไป คนที่ไม่ปรับตัวคือคนที่แพ้และอยู่ในโลกปัจจุบันยากมาก

 

NEXT:

ต้าร์คงทำธุรกิจของตัวเองและต่อยอดแบบมีแผนสำรองเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยหันมาใส่ใจด้านออนไลน์แบบเต็มที่ แบรนด์ Patinya คงมีการร่วมมือกับแบรนด์อื่นๆ ที่หลากหลาย เพราะการทำธุรกิจแบบเดิมหรือทำด้วยตัวแบรนด์คนเดียวคงไม่สามารถอยู่ได้อีกต่อไป อาจจะเห็นผลงานในรูปแบบที่เซอร์ไพรส์หลายๆ คนในปีหน้า แฟชั่นโชว์ใหญ่ครบรอบ 10 ปีของ Patinya ต้องมีแน่นอนค่ะ แต่ในรูปแบบไหนต้องอดใจรอชมนะคะ 

 


 

Irada

 

ปุ้น-ชนาภา ตรีรัตนชาติ ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Irada

 

ปุ้น-ชนาภา ตรีรัตนชาติ

ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Irada

 

“ไม่มีวิกฤตไหนเหมือนครั้งนี้ มันทำให้เราตระหนักถึงสุขภาพและคนรอบข้าง เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นใคร โควิด-19 ก็ไม่เลือกคน” 

 

NOW:

จริงๆ เราผ่านมาหลายวิกฤต แต่ไม่มีวิกฤตไหนเหมือนครั้งนี้ มันทำให้เราตระหนักถึงสุขภาพและคนรอบข้าง เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นใคร โควิด-19 ก็ไม่เลือกคน ในขณะเดียวกันก็สอนให้เราคิดถึงส่วนรวมมากขึ้น เพราะถ้าพวกเราทุกคนช่วยกันคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก คนละไม้คนละมือ ประเทศก็จะผ่านวิกฤตนี้ไปได้ 

 

ส่วนตัวเราและแบรนด์เราเอง หากจะบอกว่าไม่กระทบเลยคงไม่ใช่ แต่ปุ้นเป็นคนที่ยืดหยุ่นและไม่ยึดติด คิดบวกอยู่ตลอดเวลา หากมีเหตุการณ์นี้ เราจะวางแผนด่านนี้อย่างไรดี ก็เป็นอะไรที่ท้าทาย วางแผนการตลาด การขายใหม่หมด ทำให้รู้ว่าเราควรรับมือกับมันอย่างไร หากในอนาคตมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก หากรุ่นพ่อแม่เราสามารถผ่านวิกฤตปี 2540 ได้ เราก็ต้องทำได้ ต้องขอบคุณทีมงานทุกคนที่ให้ความร่วมมือร่วมใจและปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้สมบูรณ์แบบ ทำให้บริษัทสามารถประคับประคองมาถึง ณ วันนี้ได้

 

NEXT:

ปี 2021 ไม่ได้ตั้งความหวังอะไร แค่ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีขึ้นกว่าปีนี้ และคิดว่าคงมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นเอง ยังคงการ์ดไม่ตกและคิดทุกอย่างอย่างรอบคอบและรัดกุมเสมอ อยากให้ทุกอุตสาหกรรมกลับมาดำเนินธุรกิจได้ปกติโดยเร็ว

 


 

Q Design and Play

 

อาร์ท-ประพัฒน์ สมบูรณ์สิทธิ์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Q Design and Play

 

อาร์ท-ประพัฒน์ สมบูรณ์สิทธิ์

ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Q Design and Play

 

“ในแง่ของการทำธุรกิจมันบังคับให้เราต้องเปลี่ยนสนามแข่งขันจากออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์อย่างเต็มตัว ไม่ใช่แค่แบรนด์ แต่รวมถึงตัวผมด้วยครับ”

 

NOW:

สิ่งทีได้เรียนรู้จากปี 2020 ที่ผ่านมาคือการได้เจอสถานการณ์ที่ไม่คิดว่าชีวิตนี้ได้จะเจอครับ นั่นคือโควิด-19 แต่ในแง่ของการทำธุรกิจมันบังคับให้เราต้องเปลี่ยนสนามแข่งขันจากออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์อย่างเต็มตัว ไม่ใช่แค่แบรนด์ แต่รวมถึงตัวผมด้วยครับ และจากสถานการณ์นี้ก็ทำให้เราได้กลับมามองและปรับปรุงตัวเองมากขึ้น รวมถึงดูแลครอบครัวได้อย่างเต็มที่

 

NEXT:

ในปีหน้าผมหวังว่าจะได้ชมพิธีเปิดโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2021 นี้ครับ ถ้ามันเกิดขึ้นก็เป็นสัญญาณว่าโลกโอเคขึ้นแล้ว

 


 

Takara Wong

 

แชมป์-ฐกร วรรณวงษ์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของแบรนด์ Takara Wong

 

แชมป์-ฐกร วรรณวงษ์

ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของแบรนด์ Takara Wong

 

ผมได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้นในเรื่องความไม่แน่นอนของโลกที่เปลี่ยนไปมาทุกวัน สติคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

 

NOW:

ผมได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้นในเรื่องความไม่แน่นอนของโลกที่เปลี่ยนไปมาทุกวัน สติคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เราต้องรู้จักทั้งปรับตัวเองและปรับระบบการทำงานของแบรนด์ รวมถึงการขายให้เข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ ในเรื่องของชีวิตส่วนตัวตอนนี้ การได้ย้ายทั้งบ้านและออฟฟิศกลับมาที่บ้านเกิดคือบางแสน จังหวัดชลบุรี มีผลต่อจิตใจมาก ทำให้เรามีความสุขมากกว่าการอยู่ในเมืองที่วุ่นวายทุกขณะของเวลา 

 

NEXT:

ปี 2021 ความหวังที่ตั้งใจไว้คือจะเปิดโชว์รูมและสตูดิโอที่บางแสนโดยมีหน้าร้าน อยากให้ทุกคนได้รู้ว่าแม้เราไม่ได้อยู่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ก็ยังสามารถทำเสื้อผ้าออกมาได้ดี ผ่านการนำเสนอในรูปแบบใหม่ เช่น ทำวิดีโอแทนแฟชั่นโชว์ หรือ Online Showroom เป็นต้น เช่น Jacquemus หรือ Versace สมัยที่ทำสตูดิโอนอกเมืองหลวง ส่วนความหวังที่ทุกคนคงหวังเหมือนกันทั้งโลกคือต้องการให้โรคระบาดไม่กระจายตัว มีการจัดทำวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และให้โลกกลับมาสู่ภาวะปกติ เศรษฐกิจและวงการแฟชั่นโลกจะได้กลับมาครึกครื้นเหมือนเดิม

 


 

Leisure Projects

 

นัท-ณัฐพล กนกวลีวงศ์  ผู้ก่อตั้งและดีไซเนอร์แบรนด์ Leisure Projects

 

นัท-ณัฐพล กนกวลีวงศ์ 

ผู้ก่อตั้งและดีไซเนอร์แบรนด์ Leisure Projects

 

“เราเชื่อว่าแฟชั่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถสร้างความสุขและแรงบันดาลใจให้กับผู้คนได้”

 

NOW:

สิ่งที่ตระหนักมากกว่างานคือชีวิต การที่เราหยุดเดินทาง และการได้อยู่กับบ้านในช่วงหนึ่ง ทำให้เราตัดอะไรที่ไม่สำคัญต่อชีวิตออกไปได้เยอะมาก แต่เราเป็นคนชอบเดินทาง เราได้มองกลับไปว่าเดือนมกราคมเรายังไปปีนเขาที่ออสเตรเลียอยู่เลย ซึ่งเป็นทริปที่ให้แรงบันดาลใจชีวิตมากๆ เราไม่เคยเห็น ไม่เคยทำแบบนี้มาก่อน รู้สึกว่าตัดสินใจถูกมากที่ไป เพราะใครจะรู้ว่าจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ถ้าไม่ทำตอนนั้นก็ไม่รู้จะได้ทำตอนไหน เราตระหนักถึงความไม่แน่นอน

 

เราจึงตั้งใจว่าต่อไปนี้ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรง เราอยากจะทำสิ่งที่อยากทำมานานแล้วให้ได้มากที่สุด ได้ทำในสิ่งที่อยู่ใน Bucket List เกือบครบ ทั้งเล่นเซิร์ฟ เรียนเทนนิส โยคะ และดำน้ำ เงินก็ต้องหา แต่ถ้าทำได้ก็จะทำ เรารู้แล้วว่าเราต้องการอะไร ไม่เหมือนตอนแรกๆ ที่เริ่มทำงาน เราตั้งเป้าไว้ว่าอยากเป็นแบบนั้น ต้องได้แบบนี้ ตอนนี้ไม่ได้อยากพิสูจน์อะไรให้ใครอีกแล้ว ทำงานเงียบๆ ขายของของเราไป แบ่งเวลาไปใช้ชีวิตกับสิ่งที่มีความสุขก็พอแล้ว 

 

NEXT:

กับสถานการณ์ต่างๆ เราว่าก็คงต้องอยู่กับสถานการณ์แบบนี้ไปสักพักจนกว่าจะมีวัคซีน ถึงแม้ว่าเราอาจจะอยู่ในธุรกิจที่ยาก ณ ตอนนี้ แต่เราก็ยังรักและชอบกับสิ่งที่ทำอยู่ เราก็ต้องปรับตัวให้ได้กับสถานการณ์ เพราะเราเชื่อว่าแฟชั่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถสร้างความสุขและแรงบันดาลใจให้กับผู้คนได้อยู่ ตอนนี้ทุกคนตื่นตัวเรื่อง Sustainability มากๆ เราก็สนใจเรื่องนี้ เราหวังว่าเราจะพาแบรนด์ของตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวงจรนี้ให้ได้มากกว่าการขายถุงผ้าหรือใช้ผ้ารีไซเคิลในคอลเล็กชัน ซึ่งเราเชื่อว่ามันสามารถทำได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สุดท้ายก็อยากให้เด็กๆ คนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่แสดงความสามารถมากขึ้น เป็นแรงขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางที่ดีกว่านี้

 


 

La Boutique

 

โต-พัชรวัฒน์ ตระกาลสันติกูล แบรนด์ไดเร็กเตอร์ของแบรนด์ La Boutique 

 

โต-พัชรวัฒน์ ตระกาลสันติกูล

แบรนด์ไดเร็กเตอร์ของแบรนด์ La Boutique 

 

“สิ่งที่เราได้เรียนรู้คือเราต้องปรับตัวให้เร็วมากขึ้นกว่านี้ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ เพราะว่าโลกมันเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันจริงๆ”

 

NOW:

สิ่งที่เราได้เรียนรู้คือเราต้องปรับตัวให้เร็วมากขึ้นกว่านี้ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ เพราะว่าโลกมันเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองทั้งในและต่างประเทศ สิ่งแวดล้อม PM2.5 โรคระบาด น้ำท่วม พอมาถึงเรื่องธุรกิจที่ต้องเจอกับช่วงล็อกดาวน์ มันหยุดชะงัก เราต้องเปลี่ยนจากออฟไลน์มาออนไลน์ ซึ่งเราเองก็ต้องหาจุดกึ่งกลาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขายหน้าร้านและออนไลน์ให้มันไปด้วยกันได้โดยที่ไม่ขัดกัน

 

NEXT:

เราอยากเห็นสิ่งแวดล้อมดีขึ้นจริงๆ นะ เราอยากเห็นพื้นที่สีเขียวที่มากขึ้น อากาศที่ดีขึ้น บริสุทธิ์มากขึ้น ขยะพลาสติกน้อยลง และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราอยากจะเห็นคือความรัก อยากให้มนุษย์ทุกคนมีความรักให้กันและกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความสามัคคีให้กัน เพราะความรักมันจะทำให้เราพ้นผ่านอุปสรรคไปได้ แล้วก็ชนะทุกสิ่ง เหมือนคำนิยามที่บอกว่า Love Wins 

 


 

Poem

 

ฌอน-ชวนล ไคสิริ  ผู้ก่อตั้งแบรนด์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ Poem

 

ฌอน-ชวนล ไคสิริ 

ผู้ก่อตั้งแบรนด์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ Poem

 

“ตอนนี้วัคซีนเป็นเหมือนความหวังสุดท้ายของมนุษยชาติ แต่ถ้าทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิมก่อนมีโควิด-19 แล้วสิ่งที่เราปรับตัวมาตลอดทั้งปีล่ะ ความ New Normal มันคืออะไร”

 

NOW:

ปี 2020 มันรวมทุกปัญหาที่เราเจอตลอด 15 ปีของแบรนด์ไว้ด้วยกัน เราเคยเจอน้ำท่วม เราเคยเจอความไม่สงบทางการเมือง เศรษฐกิจเซ็งๆ แต่ปีนี้มันมัดรวมทุกอย่างไว้หมดเลย มันยังทำให้เรายึดมั่นกับเป้าหมาย ในวิกฤตมันก็มีโอกาส เราอยากไปเปิดที่เซี่ยงไฮ้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กลัวก็กลัว แต่พอสถานการณ์มันกลับกัน ทั่วโลกเขาระบาด แต่จีนกลับฟื้นตัวทั้งเศรษฐกิจและสาธารณสุข เราดันได้พื้นที่มาในราคาดี เรารีบคว้าไว้เลย เราก็ตั้งตัวได้ก่อนใคร เรารีบลงทุนที่นั่นก่อนเลย ถ้าเขาไม่มา เราไปหาเขาเรียบร้อยแล้ว

 

อีกเรื่องที่สำคัญและเพิ่งมาตระหนักคือเรื่องการทำงานกับคนและ Mental Health เพราะช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมาคนเครียดมากจริงๆ พนักงานพี่ก็สุขภาพจิตแย่ไปเยอะเหมือนกัน มีทั้งความเครียด โรคซึมเศร้า สิ่งนี้สำคัญพอๆ กับเรื่องเม็ดเงิน

 

NEXT:

ตอนนี้วัคซีนเป็นเหมือนความหวังสุดท้ายของมนุษยชาติ แต่ถ้าทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิมก่อนมีโควิด-19 แล้วสิ่งที่เราปรับตัวมาตลอดทั้งปีล่ะ ความ New Normal มันคืออะไร เราไม่คิดว่ามันจะหายไปไหนหรอก มันจะอยู่กับเราไปอีกอย่างน้อย 5 ปี ถ้าวัคซีนมาถึงก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้ามันยังไม่มา หรือประเทศยังไม่เปิด นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่กลับมา เราก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากที่จะต้องอยู่กับมันต่อไป 

 

และเราไม่คาดหวังอะไรเลยในปี 2021 เพราะเหมือนปีที่ผ่านมามันสอนว่าเราจะหวังพึ่งคนอื่นได้ยากมาก ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นก็เกิดเลย เราจะอยู่กับความเป็นจริง ทำสินค้าของเราให้ดีที่สุด เรามีภูมิคุ้มกันเป็นของตัวเองแล้ว เราไม่กลัวอะไรแล้ว เราอยากเป็นตัวจริงที่อยู่รอด เราจะแก้เกมก่อน 

 

NEXT:

เราได้ใช้พลังของปี 2021 ไปกับปี 2020 หมดแล้ว ปีหน้าเราหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้น มีวัคซีนออกมาไวๆ และที่สำคัญคือเราอยากให้เวลากับครอบครัวและคนที่เรารักมากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมาเราทุ่มเทให้กับงาน แต่เราไม่อยากละเลยคนที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเราไป ก็ขอให้ปีหน้าอะไรๆ มันดีขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาให้กับครอบครัว

 


 

Issue

 

โรจ-ภูภวิศ กฤตพลนารา ผู้ก่อตั้งแบรนด์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Issue

 

โรจ-ภูภวิศ กฤตพลนารา

ผู้ก่อตั้งแบรนด์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ Issue

 

“2020 เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น ให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ข้างในจิตใจ สติเป็นสิ่งที่สำคัญมากในช่วงเวลาแบบนี้”

 

NOW:

2020 เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น ให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ข้างในจิตใจ สติเป็นสิ่งที่สำคัญมากในช่วงเวลาแบบนี้ เพื่อที่เราจะได้ดูแลคนรอบข้างกันต่อไปในปีหน้า ทั้งครอบครัว เพื่อน พนักงานในบริษัทให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ เราได้พัก ได้เที่ยว และมีโอกาสได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติมากขึ้น

 

อีกอย่างคือมันสอนให้เราแบ่งปันคนอื่นมากขึ้น มีคนที่ลำบากกว่าเราอีกเยอะ อะไรที่เราสามารถช่วยได้ เราก็จะช่วยสุดความสามารถ ในแง่ของแบรนด์ เราปรับโครงสร้างทั้งในเรื่องการออกแบบเสื้อผ้าและการสื่อสาร ช่องทางออนไลน์เราก็ต้องทำให้หนักขึ้นไปอีก

 

NEXT:

ความหวังนอกจากวัคซีนก็คือเราอยากให้แบรนด์ Issue มีความยั่งยืนในระยะยาวมากขึ้น เราหวังว่าแบรนด์ของเราจะสามารถสร้างอิมแพ็กที่ดีกับโลกได้ ล่าสุดเราได้ร่วมงานกับซัพพลายเออร์ในการผลิตเสื้อยืดที่ทำจากเสื้อใยและผ้ารีไซเคิลจากวัตถุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมเรา

 


 

TandT

 

นุ๊กนิก-ธนาวุฒิ ธนสารวิมล ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ TandT และ T-Rex

 

นุ๊กนิก-ธนาวุฒิ ธนสารวิมล

ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ TandT และ T-Rex

 

“ไม่มีความหวังอะไรเลย ถ้าจะเกิดอะไรขึ้นก็มาเลย แต่เราต้องเตรียมตัวตั้งรับให้ทัน พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง”

 

NOW:

โดยรวมปี 2020 สอนเราให้กลับมาดูแลแบรนด์ตัวเองเยอะขึ้น ตั้งต้นใหม่หมดเลยว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรไปบ้าง ทั้งเรื่องการออกแบบ คุณภาพสินค้าของเรา ตอนกลางปีก็เจอปัญหาโควิด-19 ก็เลยต้องผันตัวให้ทันกับสถานการณ์ ต้องเข้าสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น เราล้มบอร์ดเสื้อผ้าที่เราวางไว้ทั้งปีเลย ก็กลายเป็นว่าเราคิดงานแบบเดือนต่อเดือนเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของระบบออนไลน์ พฤติกรรมเขาเป็นแบบไหน เขาต้องการอะไร เห็นตอนนี้แล้วอยากจะได้เลย 

 

NEXT:

สำหรับตัวเรา บอกแบบจริงใจเลยก็คือไม่มีความหวังอะไรเลย ถ้าจะเกิดอะไรขึ้นก็มาเลย แต่เราต้องเตรียมตัวตั้งรับให้ทัน พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เราพยายามบอกทีมตลอดว่า ใช่ เราวางแผนกันไว้ และเข้าใจว่าการเปลี่ยนแผนมันเซ็ง แต่เราก็ต้องพยายามกระตุ้นทีมว่าถ้ามันเกิดขึ้น เราก็ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยน ต่อให้เราวางแผน เราก็ต้องเหนื่อย เพราะฉะนั้นเราไม่ภาวนาแล้ว จะเกิดก็เกิดเลยแล้วกัน 

 

ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร 

 พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์   

The post บทเรียนและความหวังของ 19 ไทยดีไซเนอร์ตลอดปี 2020 กับอนาคตที่กำลังจะมาถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>
สำรวจแบรนด์แฟชั่นไทยท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 https://thestandard.co/discover-thai-fashion-brand-in-the-midst-of-coronavirus/ Tue, 17 Mar 2020 07:49:57 +0000 https://thestandard.co/?p=342600

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา THE STANDARD และ THE STANDARD PO […]

The post สำรวจแบรนด์แฟชั่นไทยท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา THE STANDARD และ THE STANDARD POP ได้ติดตามและรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และการคมนาคม ฯลฯ อย่างใกล้ชิด

 

รวมทั้งฝั่งวงการบันเทิงและแฟชั่นทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบหนักจนต้องออกมาประกาศยกเลิกและเลื่อนงานจัดงานสำคัญๆ ไป เช่นเดียวกันกับบ้านเราที่พลอยติดร่างแหไปด้วย

 

THE STANDARD POP ได้ติดต่อสอบถามไปยัง 10 แบรนด์แฟชั่นไทย เพื่อสำรวจสถานการณ์ของแบรนด์ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อธุรกิจ ตั้งแต่เรื่องยอดขาย ความเชื่อมั่นจากลูกค้าทั้งไทยและต่างชาติ การจัดงานเปิดคอลเล็กชันใหม่ การนำเข้าส่งออก การสั่งซื้อวัตถุดิบ ไปจนถึงการปรับตัวในช่วงเวลาที่ยากลำบากของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย

 

Poem

 

แบรนด์แฟชั่นไทย การระบาดของโควิด-19

 

“ผมคิดว่าตอนนี้ทุกธุรกิจรวมทั้งแฟชั่นน่าจะโดนหมด โดยเฉพาะไทยดีไซเนอร์ที่พูดได้เลยกว่าเราเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เราเป็นเสื้อผ้าก็จริง แต่เราไม่ใช่ปัจจัย 4 โดยในส่วนของธุรกิจเรามีเสื้อผ้า Ready To Wear ประมาณ 80-90% ที่ออกตามซีซันมากกว่าสั่งตัด และที่กระทบมากที่สุดก็น่าจะเป็นฝั่งนี้ 

 

“เพราะว่าฝั่ง Custom Made ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าสาวหรือคนที่จะใส่ไปงาน ซึ่งเขาจะวางแผนล่วงหน้าเป็นปีหรือสองปี อาจจะมีกระทบบ้าง แต่ถือว่าน้อย เพราะคนไทยมักจะแต่งงานช่วงปลายปี ไม่ค่อยแต่งงานในช่วงฤดูร้อน หรือถ้ามีงานทางแบรนด์ก็จะปิดจ็อบส่งชุด ปิดออร์เดอร์ทุกอย่างตั้งแต่ก่อนปีใหม่แล้ว จึงทำให้ช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมจะไม่ค่อยมีงาน”

 

Asava 

 

แบรนด์แฟชั่นไทย การระบาดของโควิด-19

 

“ถึงแม้ไม่มีเรื่องโควิด-19 ในปี 2020 ก็นับเป็นปีที่ท้าทายอยู่แล้ว เมื่อมีโควิด-19 ก็ต้องยอมรับว่าส่งผลกระทบ เพราะฉะนั้นแผนที่เราตั้งเอาไว้ตั้งแต่ต้นว่าเป็นปีที่ต้องประหยัดค่าใช้จ่าย และพยายามมองหาการสร้างรายได้ในเชิงทดแทนที่ใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าปกติอยู่แล้ว ก็ทำให้เราต้องวางแผนธุรกิจใหม่ ตั้งเป้ายอดขายใหม่ 

 

“สิ่งที่เราต้องทำคือมองหาวิธีการสร้างรายได้ที่มีต้นทุนต่ำ ทบทวนยอดขาย และปรับเป้าหมายการผลิตให้สอดคล้องกับเป้าของยอดขายใหม่ ซึ่งอาจจะปรับไม่ได้มากนัก เพราะธุรกิจแฟชั่นก็ต้องมีการทำงานล่วงหน้า ผลิตล่วงหน้า”

 

Sretsis

 

แบรนด์แฟชั่นไทย การระบาดของโควิด-19

 

“Sretsis มีสาขาต่างๆ ในห้าง แน่นอนว่าทราฟฟิกน้อยลง แต่เราก็ยังมีช่องทางออนไลน์อยู่ เนื่องจากแบรนด์เรามอบความสุขผ่านเสื้อผ้า เราก็เปลี่ยนไปในช่องทางที่เราทําได้ เช่น เพิ่ม Awareness ผ่านช่องทางดิจิทัล

 

“สิ่งที่เป็นห่วงมากที่สุดคือ Sretsis Parlour หรือร้าน Tea Room ของแบรนด์ เพราะถือเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่อยากเข้ามาใช้บริการ เป็นจุดหนึ่งที่รวมตัวชาวต่างชาติ โดยจํานวนลูกค้านักท่องเที่ยวในช่วงนี้ก็ไม่ได้มีแนวโน้มลดลง เพราะก่อนหน้านี้ประเทศเราไม่ได้มีการห้ามนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ เราจึงมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของพนักงานมาก 

 

“ถ้าเลือกได้ก็คิดว่าอยากปิดร้าน แต่เพราะว่าเราอยู่ในศูนย์การค้า หลายปัจจัยจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราเพียงคนเดียว สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องที่ห่วงที่สุดในขณะนี้”

 

Vickteerut 

 

แบรนด์แฟชั่นไทย การระบาดของโควิด-19

 

“จำนวนลูกค้าที่ออกมาเดินห้างลดลงอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงบรรยากาศทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ล้วนมีผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนทั้งสิ้น ลูกค้าต่างชาติเองก็ลดลงอย่างน่าตกใจ

 

“โชคดีที่ Vickteerut มีลูกค้าประจำที่เชื่อมั่นในคุณภาพเสื้อผ้าของเราตลอดมา เราก็ยังคงยึดมั่นในแนวทางและคุณภาพของสินค้า เชื่อมั่นว่าเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้ค่ะ”

 

Q Design and Play

 

 

“จริงๆ มันก็มีผลกระทบมาเกือบปีแล้วจากเศรษฐกิจ เลยไม่ได้รู้สึกว่ามันพลิกแบบชัดเจน เพราะมันค่อยๆ แย่ลงมาเรื่อยๆ แต่ตอนนี้มันค่อนข้างแย่ในทุกๆ แบรนด์ ผมไปสอบถามหลายแบรนด์ว่ายอดขายเป็นอย่างไรมาตลอด ปรากฏว่ายอดขายตกชัดเจน ลูกค้าน้อยลง ลูกค้าต่างชาติที่เป็นลูกค้าหลักก็หายหมดเลย ตอนนี้ก็เหลือแต่ลูกค้าคนไทย 

 

“การจัดงานต่างๆ ที่ตกลงไว้นอกเหนือจากการทำแบรนด์ ทั้งคอนเสิร์ตหรืองานอีเวนต์ เราก็เสียหายจากตรงนั้นค่อนข้างเยอะเหมือนกัน ที่แย่ที่สุดคือเราไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไร เราก็คงต้องปรับตัวในระยะยาว 3-6 เดือนว่าเราจะอยู่ให้รอดอย่างไร

 

Takara Wong 

 

 

“จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อธุรกิจและแบรนด์หลักๆ เลย การใช้งบประมาณของแบรนด์ที่ลดลงถึง 60% ก็ส่งผลให้ยอดขายตกลงเช่นกัน จำนวนลูกค้าหน้าร้าน เปอร์เซ็นต์ทราฟฟิกก็น้อยลงตามไปด้วย 

 

“เรื่องความเชื่อมั่นของลูกค้าต่างชาติก็เช่นกัน เพราะหน้าร้านอาศัยลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้ส่งผลต่อยอดขายโดยตรง การส่งออกสินค้าก็จะติดตรงเรื่องการส่งออกนำเข้าในประเทศต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือทางผ่านทั้งทางตรงและทางอ้อม การนำเข้าวัตถุดิบก็เช่นกัน

 

“แต่ทางแบรนด์ Takara Wong เรามีทางออกเรื่องนี้ด้วยการขายออนไลน์ในอีคอมเมิร์ซและเว็บสโตร์ที่มีบริการจัดส่งทั่วโลกก็สามารถช่วยได้ และดันการตลาดไปทางออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ ให้ลูกค้าสามารถซื้อของจากที่บ้านได้โดยไม่ต้องออกมาเสี่ยงต่อโรคร้ายในปัจจุบัน ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อแบรนด์เท่าที่ควร แต่อาจจะยุ่งยากและเหนื่อยขึ้นในการขยันทำ Online Marketing ครับ”

 

Landmeé 

 

 

“ยอดขายลดลง แต่ไม่เยอะมาก ประมาณ 20-30% เพราะลูกค้ายังสามารถสั่งทางออนไลน์ได้ โดยเฉพาะลูกค้าประจำและลูกค้าที่ไม่อยากเข้าห้าง เขาสามารถสั่ง ชำระเงิน แล้วให้มอเตอร์ไซค์มารับทันที หรือบางทีเราก็ให้มอเตอร์ไซค์ไปส่ง ส่งทางไปรษณีย์ก็ยังได้ มีพนักงานเฉพาะขายออนไลน์อีกต่างหากสำหรับลูกค้าต่างจังหวัดและต่างประเทศ

 

“ผลกระทบอีกอย่างคือเรื่องผ้า เราสั่งผลิตผ้าจากเกาหลีบ้าง ญี่ปุ่นบ้าง อย่างผ้าญี่ปุ่นที่ชอบใช้ก็ต้องหยุดไปเลย เพราะว่าประเทศเขาก็แย่เหมือนกัน ไม่มีสต๊อกผ้ามาให้เรา เขาก็สาหัสอยู่ เราก็ไม่กล้าบินไปดูตัวอย่างใหม่ๆ จึงต้องใช้ผ้าในไทย ขั้นตอนการผลิตมากขึ้น หาวัตถุดิบยากขึ้น ต้องทำงานหนักมากขึ้นเช่นกัน

 

“เราโชคดีว่ามันไม่ได้เป็นผลกระทบมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นลูกค้าไทย ตอนแรกเรากลัวว่าอาจจะถึง 50-70% แต่มันกลับเบากว่านั้น สิ่งที่เราทำได้อาจจะเป็นการโปรโมตออนไลน์ ถ่ายรูปลงโซเชียลเพื่อไม่ให้ลูกค้าลืมเรา เราก็ต้องทำให้แบรนด์มันมีชีวิตอยู่ตลอดเวลา เพราะยังไงเราก็ยังชอบแต่งตัว เศรษฐกิจนิ่ง แต่เราอย่านิ่งตาม โลกมันไม่นิ่งไปกับเราไง เราก็ต้องอยู่ให้ได้ คิดว่าอีกไม่นานมันจะดีขึ้น บางทีก็ดีเหมือนกัน มันฝึกให้เราดูแลตัวเองมากขึ้น”

 

Disaya 

 

 

“สำหรับ Disaya ผลกระทบโดยตรงคือไทม์ไลน์การผลิตที่ต้องปรับอย่างกะทันหันจากตลาดจีน ในส่วนการขายยอมรับว่ามีผลกระทบบ้าง โดยเฉพาะร้านที่อยู่ในศูนย์การค้าหลักๆ แต่เราได้เตรียมช่องทางออนไลน์ไว้ตั้งแต่ต้นปี 2018 โดยเสริมกันตั้งแต่เว็บไซต์, เฟซบุ๊ก, LINE Official Shop และ Lazada ทำให้ Disaya สามารถกระจายสินค้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันได้แทบจะเหมือนเดิม”

 

Leisure Projects 

 

 

“Leisure Projects Spring/Summer 2020 เป็นคอลเล็กชันที่สำคัญกับเรา ด้วยจุดเด่นของเสื้อผ้าที่มีกลิ่นอายความเป็นรีสอร์ต และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์คอลเล็กชันส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะทะเล 

 

“ซึ่งเรามีการเตรียมคอลเล็กชันและวางแผนการตลาดล่วงหน้ามานานมากแล้ว เราทำคอลเล็กชันที่ใหญ่มาก และหลายๆ อย่างก็เตรียมการมาหมดแล้ว อย่างเช่นแฟชั่นโชว์ที่เราจะจัดแบบโซโลเต็มรูปแบบครั้งแรกก็ต้องพับไป เพราะเราตระหนักถึงความปลอดภัยและความเสี่ยงในการที่จะรวบรวมผู้คนจำนวนมาก

 

“ยังโชคดีที่ปกติเราเลือกใช้ผ้าจากประเทศไทยเป็นหลักอยู่แล้ว อย่างเช่นผ้าที่ใช้ในคอลเล็กชันนี้มาจากการทำงานกับชุมชนที่ยะลา ทำให้การผลิตสินค้าไม่ชะงัก แต่ทำออกมาในช่วงเวลาแบบนี้จะขายใคร ก็เป็นปัญหาที่เราต้องแก้ไข ลูกค้าขาจรและนักท่องเที่ยวอาจหายไปบ้าง แต่ต้องขอบคุณเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้ช่องทางการติดต่อและสื่อสารกับลูกค้าทั้งในและนอกประเทศยังเดินต่อไปได้”

 

TandT 

 

 

“ส่งผลอย่างมากถึงมากที่สุดเลยครับ หลักๆ คือเรื่องของยอดขายที่ตกลงอย่างเห็นได้ชัด ประเด็นแรกคือลูกค้าไม่ออกมาซื้อของที่ห้าง อีกทั้งถ้าจะซื้อทางออนไลน์ ลูกค้าก็ไม่รู้จะซื้อเอาไปใส่ที่ไหน ต่อมาคือลูกค้า 40% ของ TandT เป็นชาวต่างชาติ ยอดขายก็หายไปเลย 40% 

 

“สุดท้ายคือการนำเข้าวัตถุดิบที่ไม่สามารถเอาเข้ามาได้เลย แต่ก็แอบโชคดีที่ทางแบรนด์ได้สต๊อกวัตถุดิบไว้ล่วงหน้า 3 เดือน แต่ถ้าสถานการณ์กินเวลามากกว่านี้ก็คงแย่กว่าเดิม”

 

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ได้ที่ thestandard.co/coronavirus-coverage

และอัปเดตทุกความเคลื่อนไหวของโรคโควิด-19 ได้ที่ www.facebook.com/thestandardpop

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post สำรวจแบรนด์แฟชั่นไทยท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จัก ‘แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง’ ดีไซเนอร์ไทยที่ Apple จีบไปร่วมสร้าง Apple Park https://thestandard.co/praree-kittidumkern-thaidesigner-applepark/ https://thestandard.co/praree-kittidumkern-thaidesigner-applepark/#respond Thu, 31 Aug 2017 09:01:18 +0000 https://thestandard.co/?p=23505

     เรียกเสียงฮือฮามาพักใหญ่ สำหรับ ‘Ap […]

The post รู้จัก ‘แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง’ ดีไซเนอร์ไทยที่ Apple จีบไปร่วมสร้าง Apple Park appeared first on THE STANDARD.

]]>

     เรียกเสียงฮือฮามาพักใหญ่ สำหรับ ‘Apple Park’ ในคูเปอร์ติโน รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งจะกลายเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ Apple และคาดว่าจะสร้างเสร็จอย่างเป็นทางการปลายปี 2017 แต่ก่อนจะได้เห็นความล้ำและดีไซน์เฉียบภายใน THE STANDARD พาไปทำความรู้จัก ‘แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง’ ดีไซเนอร์คนไทยที่ Apple ร่อนจดหมายเชิญไปร่วมสร้างอาณาจักรผลไม้ที่ยิ่งใหญ่นี้ หลังจากได้เห็นผลงานของเธอที่ชนะเลิศงานประกวดออกแบบ STA100 ปี 2016 ที่ชิคาโก

 

 

ตอนเด็กๆ คุณอยากเป็นอะไร

     ตอนเป็นเด็ก เราไม่ได้มีความฝันที่ชัดเจนว่าอยากเป็นอะไร แต่จำได้คร่าวๆ ว่าเคยอยากเป็นนักดนตรี เพราะเราเคยเล่นเปียโนตั้งแต่อยู่ประถม แต่หยุดเล่นไปตอนเริ่มเรียนศิลปะ จริงๆ เป็นสิ่งที่เสียใจอยู่ทุกวันนี้

 

 

ถ้าอย่างนั้นไม่เคยมองว่าตัวเองจะมาเป็นศิลปินเลยหรือ

     เรามองตัวเองว่าเป็น ‘นักออกแบบ’ มากกว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเราเรียนออกแบบมาตั้งแต่สมัยปริญญาตรีที่ศิลปากร แล้วก็ทำงานออกแบบเรื่อยมา ดังนั้นจริงๆ แล้วเราไม่เคยเรียกตัวเองว่าศิลปินเลยด้วยซ้ำ แต่ถึงอย่างนั้นศิลปะก็มีอิทธิพลกับกระบวนการคิดของเรามากที่สุด นั่นเป็นเหตุผลที่มาเรียนต่อและทำงานในซานฟรานซิสโก แล้วเราก็เริ่มเข้าสู่โลกของศิลปะกับงานดีไซน์มากขึ้นเรื่อยๆ ทำความเข้าใจเส้นบางๆ ระหว่างสองสิ่งนี้ มันน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ แต่เราก็ยังบอกไม่ได้ว่าเราเป็นอะไรแน่ จริงๆ ก็ไม่ได้แคร์มากนักว่าจะต้องมานั่งบอกว่าเราเป็นอะไร แค่สนุกไปกับการทำงานและสิ่งที่ทำ เราเรียกงานที่ออกมาว่าโปรเจกต์การทดลองมากกว่า

 

ถ้าอย่างนั้นงานออกแบบที่ดีต้องเป็นอย่างไร

     งานออกแบบที่ดีไม่ได้เกี่ยวกับว่ามันต้องออกมาดูดีอย่างเดียว มันควรจะเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ จรรโลงใจ ช่วยพัฒนาอะไรบางอย่าง และสวยงามไปพร้อมๆ  กับช่วยให้เกิดความคิดริเริ่มไปด้วย การออกแบบก็เหมือนกับการตามหาความสวยงาม แต่ในแบบที่ยกระดับชีวิตเราไปพร้อมกันนั่นแหละ

เขาเห็นพอร์ตโฟลิโอเราจากสักแห่งแล้วชอบ เห็นว่าเราทำอะไรหลายๆ อย่างได้  ตั้งแต่งานคอนเซปชวลไปถึงออกแบบเชิงพาณิชย์ หรือแบบสองมิติ สามมิติ และ IxD

 

เคยคิดไหมว่าเราอาจจะเลือกทางเดินผิด

     เคยสิ เราเคยสับสนนะ เพราะมันยากที่เราจะอุทิศแรงทั้งหมดลงไปกับอะไรสักอย่าง เราอยากกระโจนเข้าหาโอกาสใหม่ๆ ที่มันน่าตื่นเต้นไปหมด ถึงสิ่งนั้นจะไม่ใช่สิ่งที่เราถนัดด้วยซ้ำ แต่การได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ มันก็เป็นเรื่องสนุกดีนี่ นั่นทำให้เราได้มีโอกาสออกแบบแพ็กเกจ ผลิตภัณฑ์ ลายผ้า หนังสือ วินโดว์ดิสเพลย์ ไปจนอินเตอร์แอ็กชันดีไซน์ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคน

 

 

งานชิ้นไหนที่ทำให้ได้มาร่วมงานกับ Apple

     ความจริงก็บอกไม่ได้ว่าชิ้นไหน มีแค่อีเมลส่งมาจากครีเอทีฟ รีครูเตอร์ชวนมาคุย แต่ที่รู้คือเขาเห็นพอร์ตโฟลิโอเราจากสักแห่งแล้วชอบ เห็นว่าเราทำอะไรหลายๆ อย่างได้ ตั้งแต่งานคอนเซปชวลไปถึงออกแบบเชิงพาณิชย์ หรือแบบสองมิติ สามมิติ และอินเตอร์แอ็กชันดีไซน์ เลยเดาว่าน่าจะเพราะแบบนั้น หรืออาจจะเป็นชิ้นที่เราเป็นหนึ่งในผู้ชนะเลิศที่งาน STA100 เป็นผลงานที่ได้แรงบันดาลใจมาจากอักษรเบรลล์ เพราะมันเป็นอะไรที่น่าทึ่ง แต่อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนตาบอด เราเลยนำไอเดียนี้มาใช้โดยอาศัยสัมผัสจากการมองและการจับ ทำให้ทั้งคนตาบอดและคนปกติก็อ่านได้

 

บอกอะไรเกี่ยวกับ Apple Park ได้บ้าง

     บอกได้แค่ว่าเราทำส่วนของสามมิติ วิชัวไลส์ เมอร์แชนไดซ์ ในร้าน Apple Store และจะเป็นสโตร์ที่ออกแบบมาไม่เหมือนสโตร์อื่นๆ ที่ไหนเลย

 

อะไรคือความสำเร็จของแป๋ม ปรารี

     คิดว่าจังหวะชีวิตตอนนี้แหละ เพราะตอนแรกที่ย้ายไปอเมริกา เราทำอะไรเองไม่เป็นเลย ไม่เคยทำกับข้าว ไม่เคยซักเสื้อผ้า จ่ายใบเสร็จ เช่าบ้านอะไรเองไม่เป็นเลย มันเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับเรา มันท้าทายมากนะ การต้องแบกเสื้อผ้าหนักๆ ไปหาที่ซัก จ่ายค่าบ้านตรงเวลา ทั้งยังเรียนไปด้วย วิชาปรัชญาศิลปะเทอมแรกมันหินมาก และเราแทบจะไม่เข้าใจอะไรสักอย่าง เพราะเราไม่มีภูมิเรื่องนี้มาก่อนเลย จำได้แม่นว่ากลับบ้านมาหลังเลิกเรียนแล้วร้องไห้หนักมาก เป็นอย่างนั้นอยู่เป็นเดือนๆ คิดกับตัวเองว่าทำไมเราถึงทำได้ไม่ดีเท่าเพื่อน แต่สุดท้ายเราก็ต้องเข้มแข็ง เลิกมองในสิ่งที่เราทำได้ไม่ดี ตอนที่เรียนจบ การหางานก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะ เพราะเราไม่มีเส้นสาย ไม่มีคอนเน็กชันอะไรที่นั่นเลย ส่งใบสมัครงานไปก็ไม่มีการตอบรับ แต่พอนานๆ ไปก็คิดได้ว่า เออ เราผ่านมันมาแล้ว เราทำได้ไม่แย่เลย นี่อาจจะไม่ได้ฟังดูน่าทึ่งหรือเท่อะไรถ้าเทียบกับดีไซเนอร์คนอื่นๆ แต่สำหรับเรา เมื่อมองย้อนกลับไป เราภูมิใจในตัวเองนะว่า ‘เฮ้ย ผ่านมาเยอะแล้วเว้ย!’ เรามาไกลมากแล้วจาก 5 ปีก่อน ต้องขอบคุณครอบครัวและคนรอบตัวเรา พวกเขาเชื่อในตัวเราและให้กำลังใจมาตลอด ตอนนี้เรามองว่า ‘New problem? No problem!’

วิชาปรัชญาศิลปะเทอมแรกมันหินมาก เราแทบจะไม่เข้าใจอะไรสักอย่าง เพราะเราไม่มีภูมิเรื่องนี้มาก่อน จำได้ว่าเลิกเรียนกลับบ้านมาแล้วร้องไห้หนักมาก เป็นอย่างนั้นอยู่เป็นเดือนๆ คิดกับตัวเองว่าทำไมเราถึงทำได้ไม่ดีเท่าเพื่อน แต่สุดท้ายเราก็ต้องเข้มแข็ง เลิกมองในสิ่งที่เราทำได้ไม่ดี

 

ความล้มเหลวที่น่าผิดหวังที่สุดล่ะ

     น่าจะเป็นตอนต้องทำโปรเจกต์ที่เราไม่ได้อินกับมัน ถึงจะทำเสร็จและคนรอบข้างชอบ แต่เราก็ไม่ได้ภูมิใจกับมัน

 

ผลงานที่ภูมิใจที่สุดล่ะ

     ภูมิใจกับผลงานที่เป็นชิ้นทดสอบเกือบทุกอัน เพราะมักจะเป็นชิ้นที่เราได้ใช้เวลาอยู่กับมันอย่างลึกซึ้ง ได้ทำความเข้าใจและพัฒนามันในแบบของตัวเอง ถึงจะไม่มั่นใจกับสิ่งที่ออกมาในตอนแรก แต่เวลาที่คนอื่นพยายามลองทำดูบ้าง เขากลับไม่เข้าใจว่ามันทำงานแบบนั้นได้ยังไง และตอนที่ถูกถามว่าเราไปเอาไอเดียพวกนี้มาจากไหน เราจะยิ่งภูมิใจสุดๆ ไปเลย (หัวเราะ)

 

 

ชีวิตของนักออกแบบในอเมริกาเป็นอย่างไรบ้าง

     มันท้าทายมากนะที่ต้องทำงานภายใต้สถานการณ์ที่คุณไม่เคยรู้สึกว่านิ่งได้เลย แถมยังทำให้เครียดได้ง่ายๆ ถึงเราจะมั่นใจในฝีมือตัวเอง แต่เราไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักไง ทำให้บางครั้งเราต้องขอให้เพื่อนร่วมงานช่วยอธิบายให้ฟังบ้าง แต่สุดท้ายมันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ยักษ์อะไรเมื่อคุณพยายามที่สุดแล้ว ถือว่าเราโชคดีมากที่ได้เจอคนดีๆ ที่เชื่อและเห็นแววในตัวเรา ทั้งยังพยายามเข้าใจว่าภาษาหลักของเราไม่ใช่ภาษาอังกฤษ แต่เราก็พยายาม ซึ่งเราก็ยอมรับว่าภาษาอังกฤษเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เราไม่มั่นใจเท่าที่ควร

 

สำหรับคุณ อะไรคือ ‘ศิลปะ’

     โดยส่วนตัวมองว่าศิลปะเป็นเรื่องส่วนบุคคล โดยขึ้นอยู่กับความสนใจของคนคนนั้น มันอาจจะเป็นภาพวาดสวยๆ สักภาพ หรือประติมากรรมที่ทำมาจากขยะก็ได้ หรืออาจเป็นเสียง กระดาษเปล่า หรืออะไรก็ได้ ยากมากที่จะอธิบายว่า ‘อะไร’ คือศิลปะในยุคนี้ เพราะอย่างที่ว่ากันว่าความงามนั้นอยู่ที่ตาของคนมองนั่นแหละ แต่สำหรับแป๋ม ศิลปะคือสิ่งที่สะท้อนหรือปลุกกระตุ้นอะไรบางอย่างในตัวคุณ

 

The post รู้จัก ‘แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง’ ดีไซเนอร์ไทยที่ Apple จีบไปร่วมสร้าง Apple Park appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/praree-kittidumkern-thaidesigner-applepark/feed/ 0