Bangkok Citycity Gallery – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 21 Nov 2022 06:50:30 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 Bangkok Art Book Fair เทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ 2022 พบกันวันศุกร์นี้ ที่ Bangkok CityCity Gallery https://thestandard.co/bangkok-art-book-fair-2022/ Mon, 21 Nov 2022 06:50:30 +0000 https://thestandard.co/?p=712882 Bangkok Art Book Fair

งานหนังสือครั้งใหญ่จบไปแล้ว ตามมาด้วยงานไม่เล็กที่เด็ดไ […]

The post Bangkok Art Book Fair เทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ 2022 พบกันวันศุกร์นี้ ที่ Bangkok CityCity Gallery appeared first on THE STANDARD.

]]>
Bangkok Art Book Fair

งานหนังสือครั้งใหญ่จบไปแล้ว ตามมาด้วยงานไม่เล็กที่เด็ดไม่แพ้กัน กับเทศกาลหนังสือศิลปะ หรือ Bangkok Art Book Fair (#BKKABF) ที่ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 และมาพร้อมคอนเซปต์ ‘visual Narrative’ เมื่อการเล่าเรื่องไม่ได้จำกัดอยู่ในรูปแบบของตัวหนังสือเท่านั้น

 

ปีนี้พวกเราจะได้เจอกับอะไรบ้าง? เริ่มตั้งแต่ผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ หรือนักสะสมต่างๆ จากทั่วโลก เช่น เกาหลีใต้ เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง หรือเยอรมนี ที่นำงานหลายรูปแบบมาให้พวกเราได้แลกเปลี่ยนและจุดไอเดียใหม่ๆ ในการเล่าเรื่อง ซึ่งจะมีตั้งแต่งานภาพประกอบ งานคอลลาจ ภาพวาด ไปจนถึงงานสต๊อปโมชัน 

 

นอกจากนี้ยังมีงานทอล์กโดยกลุ่มผู้ผลิตสิ่งพิมพ์จากหลายประเทศให้ทุกคนไปนั่งฟังแลกเปลี่ยนความเห็นกันอีกด้วย

 

งานจัดตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายนนี้ ณ Bangkok CityCity Gallery ค่าเข้างาน 150 บาทต่อคนต่อวัน, นักเรียนและนักศึกษา 100 บาทต่อคนต่อวัน และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เข้าฟรี

 

ดูช่องทางการซื้อบัตรหรือรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Bangkok Art Book Fair

The post Bangkok Art Book Fair เทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ 2022 พบกันวันศุกร์นี้ ที่ Bangkok CityCity Gallery appeared first on THE STANDARD.

]]>
ย้อนดูผลงานตลอด 20 ปี บนเส้นทางสายสตรีทอาร์ตของ Alex Face กับนิทรรศการ 20TH YEAR ALEX FACE https://thestandard.co/20th-year-alex-face/ Sat, 05 Nov 2022 03:26:01 +0000 https://thestandard.co/?p=704693

สายสตรีทอาร์ตและแฟนคลับเจ้ากระต่ายสามตาไม่ควรพลาดกับนิท […]

The post ย้อนดูผลงานตลอด 20 ปี บนเส้นทางสายสตรีทอาร์ตของ Alex Face กับนิทรรศการ 20TH YEAR ALEX FACE appeared first on THE STANDARD.

]]>

สายสตรีทอาร์ตและแฟนคลับเจ้ากระต่ายสามตาไม่ควรพลาดกับนิทรรศการใหม่ล่าสุดของ BANGKOK CITYCITY GALLERY ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี และย้อนมองการทำงานตั้งแต่ก้าวแรกของ Alex Face ศิลปินสตรีทอาร์ตผู้ฝากผลงานและเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ

 

นิทรรศการ 20TH YEAR ALEX FACE จะพาคุณไปสัมผัสบรรยากาศการทำงานของ Alex Face ตั้งแต่ก้าวแรกในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 จนถึงผลงานชิ้นล่าสุดในปี 2565 โดยเลือกใช้พื้นที่อาคาร 127 ณ ระนอง และโกดังย่านถนนพระราม 4 เพื่อย้อนสู่สมัยที่เขามักใช้ตึกร้างและงานกราฟฟิตี้เป็นตัวแทนบอกเล่าถึงความเคลื่อนไหวทางสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ครอบครัว และความหวัง นิทรรศการนี้จะเป็นเหมือนการสรุป วิเคราะห์ และทบทวน เส้นทางการทำงานตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

 

สำหรับนิทรรศการ 20TH YEAR ALEX FACE จะประกอบด้วย ชิ้นงานที่เขาทำขึ้นเพื่องานนี้โดยเฉพาะ และยังมีคอลเล็กชันภาพถ่ายรวบรวมชิ้นงานสตรีทอาร์ตที่เจ้าตัวเคยฝากผลงานไว้ทั้งในและต่างประเทศ ยังไม่รวมถึงงานประติมากรรมและชิ้นงานอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกับศิลปินมีชื่อมากมาย

 

นอกจากชิ้นงานของ Alex Face ที่มีให้ชมอย่างจุใจ ผู้เข้าชมนิทรรศการยังสามารถเป็นเจ้าของสินค้าที่ระลึกได้มากมายหลายประเภท ทั้งงานปั้นเซรามิกไปจนถึงงานภาพพิมพ์และอื่นๆ 

 

20TH YEAR ALEX FACE จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม 2565 (นิทรรศการปิดวันจันทร์และอังคาร) ณ อาคาร 127 ณ ระนอง นิทรรศการเปิดให้ชมเป็นรอบๆ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. บัตรเข้าชมงานใบละ 350 บาท ซื้อบัตรได้ที่ www.ticketmelon.com/bangkokci…/20th-year-alex-face (สงวนสิทธิ์ 1 ท่าน ซื้อบัตรได้สูงสุด 10 ใบ)

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/bangkokcitycity และ Instagram @alexface20th

 

ภาพ: Bangkok Citycity Gallery

The post ย้อนดูผลงานตลอด 20 ปี บนเส้นทางสายสตรีทอาร์ตของ Alex Face กับนิทรรศการ 20TH YEAR ALEX FACE appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘Nowhere Special’ บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางผ่านฝีแปรง โดย ‘เต้-ภาวิต พิเชียรรังสรรค์’ https://thestandard.co/nowhere-special/ Fri, 04 Jun 2021 15:11:49 +0000 https://thestandard.co/?p=496671 เต้ ภาวิต พิเชียรรังสรรค์

Nowhere Special คือนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 2 ของ ‘เต้-ภ […]

The post ‘Nowhere Special’ บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางผ่านฝีแปรง โดย ‘เต้-ภาวิต พิเชียรรังสรรค์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เต้ ภาวิต พิเชียรรังสรรค์

Nowhere Special คือนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 2 ของ ‘เต้-ภาวิต พิเชียรรังสรรค์’ ศิลปินรุ่นใหม่เจ้าของลายเส้นดิบอันเป็นเอกลักษณ์ของเขา หลายคนอาจจะรู้จักเขาก่อนหน้านี้จากนิทรรศการ ‘Awkward Relationship’ ที่ Jam Cafe และ ‘Mnus̄ʹychāti’ ที่ Speedy Grandma หรือนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกอย่าง Afternoon Person เมื่อปี 2018 ที่ Bangkok CityCity Gallery เช่นกัน 

 

องค์ประกอบหนึ่งที่เราเองรู้สึกว่าเห็นอยู่เสมอในการสร้างงานของเขาคือการสังเกตและให้ความสำคัญกับสิ่งรอบข้าง จาก Afternoon Person ที่เล่าเรื่องราวรอบตัวภายใต้บริบทของบ้านอันเป็นเหมือนที่ทำงานของเขา สู่นิทรรศการที่ 2 อย่าง Nowhere Special ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนภาคต่อพาเราร่วมเดินทางไปกับเขาผ่านภาพทิวทัศน์ ที่พบเห็นริมทางระหว่างการเดินทางภายในประเทศ 

 

ภาพวาดของเขาถูกนำเสนอผ่านการใช้สื่อหลากหลายทั้งสีน้ำมัน, สีอะคริลิก, สีสเปรย์, สีถ่าน, สีน้ำมันแท่ง และดินสอ ตามอารมณ์และความอ่อนไหวทางศิลปะของเขาออกมาเป็นแต่ละชิ้นงานทั้งบนผืนผ้าลินินและบนกระดาษ ที่บีบอัดทั้งเวลาและเรื่องราวลงบนพื้นที่จัดแสดงในรูปแบบที่ล้มล้างเส้นแบ่งระหว่างภาพจิตรกรรมและภาพลายเส้นออกอย่างสิ้นเชิง ผลลัพธ์คือทำให้ผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ร่วม ด้วยการสร้างอารมณ์และบรรยากาศสำหรับการพบเจอกับความสัมพันธ์อย่างไม่คาดคิด

 

นิทรรศการ Nowhere Special โดย ‘เต้-ภาวิต พิเชียรรังสรรค์’ จะจัดแสดงที่ Bangkok CityCity Gallery สาทรซอย 1 ตั้งแต่วันนี้ถึง 4 กรกฎาคม 2564 เปิดทำการวันพุธถึงวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 13.00-19.00 น. งานเข้าชมฟรี เพื่อความปลอดภัยของผู้เช้าชม จำกัดจำนวนผู้เข้าชมนิทรรศการ ติดต่อ www.facebook.com/bangkokcitycity/ เพื่อนัดหมายการเข้าชมล่วงหน้า

 

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

Nowhere Special

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ‘Nowhere Special’ บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางผ่านฝีแปรง โดย ‘เต้-ภาวิต พิเชียรรังสรรค์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นิทรรศการแสดงเดี่ยว Monument of Hope โดยศิลปินแนวสตรีทอาร์ต Alex Face เริ่มแล้ว https://thestandard.co/monument-of-hope-alex-face/ Tue, 03 Nov 2020 10:27:11 +0000 https://thestandard.co/?p=416468 Monument of Hope

ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี BANGKOK CITYCITY GALLERY จะไม่ […]

The post นิทรรศการแสดงเดี่ยว Monument of Hope โดยศิลปินแนวสตรีทอาร์ต Alex Face เริ่มแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
Monument of Hope

ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี BANGKOK CITYCITY GALLERY จะไม่มีคำว่าเงียบเหงา เพราะเด็กน้อยหน้าบึ้งในชุดกระต่าย รอต้อนรับพวกเราอยู่ที่งาน Monument of Hope นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งล่าสุดของ Alex Face (พัชรพล แตงรื่น) 

ศิลปินแนวสตรีทอาร์ตชื่อดังของไทย 

 

Monument of Hope เป็นนิทรรศการล่าสุดของศิลปินแนวสตรีทอาร์ตอย่าง Alex Face ที่สร้างชื่อมาจากคาแรกเตอร์เด็กน้อยในชุดกระต่าย หลังใช้เวลาในช่วงกักตัวที่บ้านกับภรรยาและลูกสาว สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความวิตกกังวลในช่วงเวลานั้น ผ่านงานจิตรกรรมที่ผสมทักษะการวาดภาพแนวสตรีทอาร์ตที่ตนเองถนัด เข้ากับเทคนิคการจัดวางองค์ประกอบในงานจิตรกรรมของจิตรกรชาวดัตช์ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเจ้าตัวชื่นชอบ ผลงานที่ปรากฏให้เห็นจึงต่างจากงานกราฟฟิตี้ ที่เราคาดหวังว่าจะได้เห็นจากศิลปินแนวนี้ หากแต่เป็นความโรแมนติก ถ่อมตน แฝงไปด้วยสัญลักษณ์อย่างดอกไม้ ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่จีรังของชีวิต 

 

ในขณะที่ห้องจัดแสดงหลักได้จำลองประสบการณ์ที่เคยสัมผัสจากการได้เข้าชมงานศิลปะในหอศิลป์แห่งชาติต่างๆ ในยุโรป ที่เกิดขึ้นบนความเงียบและความคิดคำนึง โดยมีฉากหลังที่มืดทึบ สิ่งเดียวที่สว่างไสวคือมวลหมู่ไม้ในภาพวาด และประติมากรรมบรอนซ์ขนาดใหญ่ที่ถือเป็นอีกหนึ่งภาพจำ ทำให้คนส่วนใหญ่จดจำเขาได้ในฐานะศิลปินแห่งยุคสมัยปัจจุบัน 

 

Monument of Hope จัดแสดงที่ BANGKOK CITYCITY GALLERY สาทร ซอย 1 ตั้งแต่วันนี้ – 27 ธันวาคม 2563 เปิดทำการทุกวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 13.00-19.00 น. เป็นต้นไป 

 

 

ภาพ: เพจ BANGKOK CITYCITY GALLERY

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post นิทรรศการแสดงเดี่ยว Monument of Hope โดยศิลปินแนวสตรีทอาร์ต Alex Face เริ่มแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
เต๋อ นวพล ชวนคุณมาบริจาคบทสนทนาในนิทรรศการใหม่ รับประกันไม่เจ็บตัว https://thestandard.co/ter-nawapol-second-hand-dialogue/ Fri, 31 May 2019 15:10:35 +0000 https://thestandard.co/?p=257093 Second Hand Dialogue

ผู้กำกับ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ แปลงพื้นที่ Bangkok Ci […]

The post เต๋อ นวพล ชวนคุณมาบริจาคบทสนทนาในนิทรรศการใหม่ รับประกันไม่เจ็บตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
Second Hand Dialogue

ผู้กำกับ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ แปลงพื้นที่ Bangkok Citycity Gallery ใจกลางซอยสาทร 1 สำหรับนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 2 ในชื่อ Second Hand Dialogue ให้กลายเป็นศูนย์ขอรับบริจาคบทสนทนาทางโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถติดวันนี้ ปั่นงานไม่ทัน วันลาไม่พอ ชานมไข่มุกร้านไหนอร่อยสุด ไม่รู้จะอ่านหนังสืออะไรดี หรือเรื่องอะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน บทสนทนาเหล่านี้จะถูกแปลงไปอยู่ในรูปแบบอื่นๆ ผ่านกระบวนการถอดเทปและเผยแพร่ ซึ่งไม่มีการเปิดเผยชื่อเจ้าของบทสนทนา

 

ใครสนใจจะบริจาคบทสนทนา สามารถนัดหมายล่วงหน้าก่อนได้ที่ secondhanddialogue.com มีค่าใช้จ่าย 250 บาท ซึ่งผู้เข้าร่วมบริจาคจะได้รับหนังสือรวมเล่มบทสนทนาทั้งหมดเป็นของที่ระลึกอีกด้วย (จัดส่งหลังจบงาน) ส่วนใครอยากมาชมและรับฟังบทสนทนา ขอเชิญที่ห้อง Visitor Room เปิดต้อนรับทุกคนพร้อมแอร์เย็นฉ่ำ

 

แต่ถ้าใครยังงุนงงว่าที่มาที่ไปของนิทรรศการนี้คืออะไร ถ้ามาแล้วต้องทำอะไรบ้าง โทรหาใครดี สามารถอ่านบทสัมภาษณ์เบื้องหลังแบบจัดเต็มได้ที่ thestandard.co/second-hand-dialogue

 

Second Hand Dialogue

Second Hand Dialogue

Second Hand Dialogue

Second Hand Dialogue

Second Hand Dialogue

Second Hand Dialogue

Second Hand Dialogue

Second Hand Dialogue

Second Hand Dialogue

Second Hand Dialogue

 

When: 1-23 มิถุนายน 2562 เฉพาะวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 13.00-19.00 น.

Where: Bangkok Citycity Gallery ซอยสาทร 1

The post เต๋อ นวพล ชวนคุณมาบริจาคบทสนทนาในนิทรรศการใหม่ รับประกันไม่เจ็บตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
Second Hand Dialogue นิทรรศการที่ ‘เต๋อ นวพล’ ขออนุญาตฟัง (เสือก) คุณอย่างเป็นทางการ https://thestandard.co/second-hand-dialogue/ Fri, 31 May 2019 14:15:56 +0000 https://thestandard.co/?p=257013 Second Hand Dialogue

“ขยับไปตรงนั้นดีกว่า” เสียงหนึ่งดังขึ้นในห้องแกลเลอรีหล […]

The post Second Hand Dialogue นิทรรศการที่ ‘เต๋อ นวพล’ ขออนุญาตฟัง (เสือก) คุณอย่างเป็นทางการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Second Hand Dialogue

“ขยับไปตรงนั้นดีกว่า” เสียงหนึ่งดังขึ้นในห้องแกลเลอรีหลัก ระหว่างที่เขาและทีมงานลองย้ายโต๊ะอยู่หลายหน โดยมีฉากหลังเป็นเสียงก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ในนิทรรศการ ซึ่งจะเปิดให้สาธารณชนเข้าชมกันวันที่ 1 มิถุนายนนี้ เราจึงขโมยเสียงนี้มาเปิดบทความ

 

พอได้ยินข่าวว่า เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ จะมีนิทรรศการใหม่ที่ Bangkok Citycity Gallery อีกครั้ง เราก็อดสงสัยไม่ได้ว่าคราวนี้เขาจะมีอะไรมาเซอร์ไพรส์อีก หลังจากสวมบทบาทเป็น ‘พระเจ้า’ หยิบยืมตัวละคร ซึ่งก็คือผู้ชมที่เดินอยู่ในแกลเลอรีไปสร้างเรื่องและกำกับกันแบบสดๆ ในนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรก i write you a lot.

 

“เราว่างานนี้อธิบายยากมาก” เขากล่าว เราพยักหน้า หลังจากอ่านข้อมูลบนเฟซบุ๊กหลายรอบ แต่พอได้คุยกัน เราพบว่ามันไม่ได้ยากขนาดนั้น

กลายมาเป็นไอเดียของการบริจาคบทสนทนา ซึ่งคล้ายกับการบริจาคเลือด เพราะว่าเลือดมันอยู่ข้างในร่างกาย บทสนทนามันก็ต้องกลั่นออกมาจากข้างในเหมือนกัน

Second Hand Dialogue

 

อธิบายอย่างง่าย นวพลแปลงแกลเลอรีให้กลายเป็นศูนย์ขอรับบริจาคบทสนทนาทางโทรศัพท์ กึ่งๆ ศูนย์บัญชาการ ต่างจากศูนย์รับบริจาคเลือดตรงสิ่งที่บริจาคคือบทสนทนาทางโทรศัพท์ ใครอยากบริจาคก็แค่ลงทะเบียนนัดวันล่วงหน้า มีเงื่อนไขว่าฝ่ายคนโทรไปและคนรับสายจะต้องเซ็นสัญญายินยอมให้นำบทสนทนานี้ไปใช้ต่อได้ (ค่าใช้จ่าย 250 บาท) พอถึงวันนัดหมายก็เดินเข้ามาในห้องอัดเสียง ส่วนใครอยากมาชมหรือดูลาดเลาก่อนก็สามารถเข้ามาฟังบทสนทนาและชมกระบวนการแปรรูปบทสนทนาได้ในห้องเยี่ยมชม

 

ถ้ายังรู้สึกว่าเข้าใจยาก เราขอให้วางความงงนั้นลงก่อน เพราะไอเดียตั้งต้นของนิทรรศการนี้แสนจะเรียบง่าย

 

“เริ่มจากไปนั่งอึแล้วห้องข้างๆ คุยโทรศัพท์ แล้วแม่งไม่แคร์ นึกออกไหม เราเผอิญฟังแล้วมันสนุกดี (หัวเราะ) เราจะค่อยๆ ปะติดปะต่อเรื่องได้เองโดยที่เราไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร มันเหมือนกับสตอรีเสียง”

 

และนี่คือบทสนทนาว่าด้วยงานศิลปะชิ้นใหม่ของ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ซึ่งผ่านการบันทึก คัดกรอง แปรรูป และเผยแพร่ โดยได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่ายแล้ว

เราแค่ต้องการบทสนทนาธรรมดาๆ ด้วยซ้ำ เราไม่อยากให้คนมาแล้วรู้สึกว่าจะต้องพูดอะไรที่มันเจ๋งที่สุด เพราะว่านั่นก็ไม่ธรรมชาติแล้ว

Second Hand Dialogue

 

New Recording 01

 

ช่วยเล่าการเดินทางระหว่าง i write you a lot. มาถึงนิทรรศการนี้ให้ฟังหน่อยได้ไหม

จริงๆ แล้ว i write you a lot. กับ Second Hand Dialogue มีความทับซ้อนกันในแง่ที่มันเป็นงาน Art Exhibtion ที่สร้างขึ้นจากวิธีการทำงานของเราในการทำหนังหรืออะไรก็ตาม i write you a lot. มันคือการมองเห็นและเขียน แต่ Second Hand Dialogue คือการฟังแล้วค่อยนำไปเขียนทีหลัง จริงๆ มันเป็นกระบวนการปกติของเราในการหาแรงบันดาลใจหรือหยิบยืมความจริงที่อยู่รอบๆ มาทำให้เป็นเรื่องแต่งอีกที มีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็แตกต่างในเรื่องการรับรู้ การได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆ รอบนี้จะค่อนข้างคาบเกี่ยวกับโลกความเป็นจริงมากขึ้น เพราะว่าเราเอาสิ่งที่เป็นส่วนตัวจากคนดูมากกว่ารอบที่แล้ว ซึ่งเราเห็นอะไรแล้วก็คว้ามาเขียนเลยเท่าที่ตาเห็น และผสมกับความคิดของเราเข้าไป แต่รอบนี้เราต้องการเสียงของเขาจริงๆ มันเลยเหมือนกับการช้อนหรือคว้านเข้าไปในตัวคนดู

 

กลายมาเป็นไอเดียของการบริจาคบทสนทนา ซึ่งคล้ายกับการบริจาคเลือด เพราะว่าเลือดมันอยู่ข้างในร่างกาย บทสนทนามันก็ต้องกลั่นออกมาจากข้างในเหมือนกัน พวกเสียงหรือโทนเสียงของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ส่วนประสบการณ์ ภาษา หรือวัฒนธรรมที่เขาเติบโตมาก็ทำให้เกิดบทสนทนา การใช้คำ และจังหวะพูดด้วยเหมือนกัน เรารู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของส่วนตัวและบริจาคให้กันได้ เราเลยเรียกว่าการบริจาคบทสนทนา

 

บทสนทนาแรกที่ทำให้เกิดนิทรรศการนี้คืออะไร

ง่ายมาก เริ่มแล้วดูไม่เป็นศิลปะเท่าไรเลย เริ่มจากการไปนั่งอึ แล้วห้องข้างๆ คุยโทรศัพท์ แล้วแม่งไม่แคร์ นึกออกไหม เราก็เลยฟัง แล้วก็สนุกดี (หัวเราะ) ก็จะค่อยๆ ปะติดปะต่อเรื่องไปได้เอง แต่รู้สึกว่ามันเหมือนเป็นสตอรีเสียง แล้วเราก็ไม่รู้ว่าใคร นึกออกไหม ก็คงสักคนหนึ่งในนั้น เผอิญฟังแล้วมันเพลินเหมือนกันเนอะ ลักษณะในห้องน้ำมันมีความเป็นบูธ ดูเป็นกิจจะลักษณะ มันไม่ใช่ว่าเราบังเอิญเดินตามท้องถนน นั่นคือเราได้ยินตามปกติ แต่อันนี้มันดูมีฟอร์มขึ้นมา ดูมีการจัดการพื้นที่เหมือนกันเนอะ เราก็เลย เออ ถ้าทำให้มันเป็นกิจจะลักษณะก็สนุกดีเหมือนกันนะ (หัวเราะ) คือมันเกิดจากกิจกรรมเดิม แต่ในสถานที่ที่แปลกขึ้น ดูเป็นทางการมากขึ้น

 

ฟังจนเขาพูดจบเลยไหม

ฟังจนเราอึจบ (หัวเราะ) เขาก็ยังพูดไม่จบเลยนะ แต่เราต้องออกไปทำงาน มันก็แปลกดี คนจะคุยมันก็คุย เขาไม่ได้แคร์ว่าห้องข้างๆ มีคนอยู่หรือเปล่า เคสล่าสุดที่เจอตอนกำลังสร้างงานนี้อยู่ เราไปเข้าห้องน้ำในห้าง มีเพื่อน 2 คนเข้าห้องน้ำพร้อมกันแล้วคุยกันข้ามห้อง โห มึง (หัวเราะ) ไม่แคร์สิ่งใด เราคิดว่ามันควรจะเป็นพื้นที่ส่วนตัวด้วยมั้ง ไม่ควรจะคุยข้ามกันขนาดนี้ แต่ว่ามนุษย์มันก็ทลายเส้นแบ่งตรงนั้นไปหมดเลย เราเลยรู้สึกว่าเสียงมันไม่มีขอบเขตเท่าไร ถ้าไม่ได้ไปปิดหรือทำให้มันเงียบ มันทะลุมาได้หมด บางทีเราได้ยินเสียง แต่ว่าเราไม่ได้ยินคนพูด ในฐานะคนฟังก็รู้สึกว่าฟังได้ เพราะว่าเราดูไม่รบกวนเขามาก คนพูดก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใครอยู่ห้องข้างๆ แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องสำคัญมากกูก็ไม่แคร์ เราก็รู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องน่าสนใจเหมือนกัน

 

Second Hand Dialogue

 

ทำไมถึงทำให้กระบวนการมันซับซ้อนมากขึ้นด้วย เช่น การนัดหมาย ถอดเทปบทสนทนา

ที่จริงบทสนทนาระหว่างคนสองคนมันค่อนข้างส่วนตัวมาก และค่อนข้างเป็นธรรมชาติ แต่มันจะธรรมชาติที่สุดเมื่อสองคนนั้นไม่รู้ว่ามีอีกคนกำลังดึงสิ่งนี้ไป เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับคนสองคน กึ่งว่าจะไม่รู้ตัวทั้งคู่ นิทรรศการนี้ก็เลยค่อนข้างพัวพันกับเรื่องความเป็นส่วนตัวมากขึ้น อันนี้อนุญาตให้ ‘ใช้ได้’ หรือ ‘ใช้ไม่ได้’ เราเลยต้องพยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำได้โดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิด และได้ความเป็นธรรมชาติมาด้วย

 

มันอาจไม่เหมือนกับชีวิตจริง เพราะเราได้ยินแล้วก็ขโมยมาเลย ตอนแรกก็กะว่าจะทำแบบนั้น แต่ว่าพอมันเป็นงานศิลปะก็จะเริ่มมีคำถาม มีเรื่องกฎหมาย การเซ็นสัญญายินยอมทั้งหลาย ซึ่งก็ช่วยลดปริมาณของพวก Prank Call หรือโทรแกล้งเพื่อนด้วยจำนวนหนึ่ง ซึ่งงานนี้เรายังไม่ได้ต้องการขนาดนั้น

 

เราแค่ต้องการบทสนทนาธรรมดาๆ ด้วยซ้ำ เราไม่อยากให้คนมาแล้วรู้สึกว่าจะต้องพูดอะไรที่มันเจ๋งที่สุด เพราะว่านั่นก็ไม่ธรรมชาติแล้ว เราเลยพยายามบอกคนที่จะมาว่าคุยเหมือนปกติแหละ ไม่ต้องพูดให้มันฮา เพราะเราไม่ได้ต้องการสิ่งนั้น ยกเว้นมันฮาอัตโนมัติ เราแค่ต้องการชีวิตประจำวันจริงๆ

 

Second Hand Dialogue

 

แต่คนที่จะมาก็ต้องคิดก่อนว่าจะโทรหาใคร คุยเรื่องอะไร ต้องเตรียมตัวมาก่อนด้วยหรือเปล่า

มันเป็นเรื่องการจัดการ คนโทรไปก็ต้องทำตัวให้ปกติ เพราะอีกฝั่ง (คนรับสาย) จะไม่รู้ว่าเขาจะโทรมาวันไหน จริงอยู่ที่เขาคงคิดหัวข้อมาแล้ว แต่ว่าสิ่งที่เขาควบคุมไม่ได้คือ ‘ระหว่างนั้น’ เวลาเราพูดอะไรไป อีกฝ่ายจะตอบว่าอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่สิ่งที่เราได้แน่ๆ คือปฏิกิริยาระหว่างสองคนนี้ คนหนึ่งชอบพูด ‘เอ่อ อ่า’ อีกคนพูด ‘แบบว่า’ คนนี้ชอบพูดซ้อนตอนอีกคนยังพูดไม่จบ มันมีปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน คุณอาจจะคิดคอนเทนต์มาแล้ว แต่ระหว่างทางคุณกำหนดไม่ได้อยู่แล้ว หรือไม่สามารถควบคุมธรรมชาติของตัวเองได้ คนพูดเร็วก็คือคนพูดเร็ว พูดช้าก็พูดช้า

หรือจังหวะที่พูดไปแล้วไม่ตอบเลย เว้นไป 3 วินาทีแล้วค่อยตอบ แม่งคนละเรื่องกับถามแล้วตอบเลย เรารู้สึกว่าเรื่องพวกนี้มันน่าสนใจมากๆ ในฐานะคนทำงานภาพยนตร์

Second Hand Dialogue

 

New Recording 02

 

ทำไมถึงสนใจสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างบทสนทนา

มันอาจจะสัมพันธ์กับตอนที่เราทำหนังด้วยมั้ง ปกติเราจะฟังเสียงรอบๆ อยู่แล้ว ก็กึ่งเสือกนิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้ไปเงี่ยหูฟังเขา เพียงแต่ว่าบางครั้งเผอิญได้ยิน แล้วเราก็รู้สึกว่าสิ่งนี้น่าสนใจที่จะบันทึกไว้ สำหรับเรา การแสดงแบบธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติมันจะอยู่ที่เสียงพอๆ กับการแสดงออกบนใบหน้า เสียงอาจจะครึ่งหนึ่งหรือว่ามากกว่าด้วยซ้ำ พูดคำเดียวกัน แต่ว่าอีกคนพูดอึกอัก ฟังดูเศร้ากว่าร้องไห้อีก เราเลยรู้สึกว่าเรื่องเสียงโคตรสำคัญ เพราะมันบรรจุไว้หมดเลย พูดจริงหรือไม่จริง กลบเกลื่อนหรือไม่กลบเกลื่อน

 

บางทีเราเห็นการแสดงที่คนร้องไห้ แต่เสียงไม่จริง ก็จะรู้สึกแปลกๆ ขณะที่บางคนไม่ได้ร้องไห้ แต่เสียงสั่นไปแล้ว ซึ่งเรารับรู้ได้โดยที่ไม่ต้องเห็นว่าดวงตาหรือว่าหน้าเขาเป็นยังไงด้วยซ้ำ หรือจังหวะที่พูดไปแล้วไม่ตอบเลย เว้นไป 3 วินาทีแล้วค่อยตอบ แม่งคนละเรื่องกับถามแล้วตอบเลย เรารู้สึกว่าเรื่องพวกนี้มันน่าสนใจมากๆ ในฐานะคนทำงานภาพยนตร์

 

เรารู้สึกว่ามันเป็นกระบวนการที่น่าสนใจ ก็เลยทำให้เป็นชิ้นงานไปเลย จัดให้มีห้องสำหรับบันทึกเสียง หลังจากนั้นไฟล์เสียงหรืออะไรก็ตามจะถูกนำไปถอดเทป และนำไปใช้ต่อในกิจกรรมอื่นๆ เช่น ในการแสดง การกระจายเสียงออกไปข้างนอกแกลเลอรี

ปัญหาบนโลกใบนี้ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ก็คือเท็กซ์มันไม่มีเสียง เราก็อ่านแบบที่เราอยากได้ยิน จริงๆ แล้วนั่นคือเสียงของเรา

Second Hand Dialogue

 

New Recording 03

 

ถ้าเทียบกัน การกำกับหนังกับทำงานศิลปะ หนังจะมีความเป็นส่วนตัว เป็นเรื่องตัวตนของคุณมากกว่าหรือเปล่า

สำหรับเราคือเท่ากัน แต่ทำออกมาไม่เหมือนกัน มันมีความเป็นโลกความเป็นจริงนิดหนึ่ง ต่อให้เราเปลี่ยนแกลเลอรีให้เป็นศูนย์บริจาค เราก็ไม่ได้ทำให้มันดูเป็นเรื่องแต่งขนาดนั้น คุณต้องลงทะเบียนจริง และกฎหมายก็ไม่ได้สร้างขึ้นมา แต่มันมีจริงๆ

 

กลุ่มคนที่มาบริจาคก็จะได้รับประสบการณ์ของการบริจาค ซึ่งมันเป็นประสบการณ์แปลกๆ เหมือนกัน เวลารู้สึกว่ามีการบันทึกเสียงเกิดขึ้น ในทางหนึ่งคนรับสายก็จะไม่รู้ว่าอีกฝั่งจะโทรมาวันไหน ระหว่างนั้นเขาก็จะคิดว่าสายนี้หรือเปล่าวะ มันก็จะเป็นอีกความรู้สึกหนึ่ง

ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นอยู่ในเฟซบุ๊กอยู่แล้วนะ ทุกคนกด accept ร่วมกันเพื่อเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มนี้ แล้วมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก็เอาข้อมูลทุกอย่างไปใช้ แต่เขาเอาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ไง เราไม่ได้ใช้เท่านั้นเอง จริงๆ มันก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เราอาจจะโดนดักฟัง โดนล้วงข้อมูลทางไซเบอร์ แต่เราก็อยู่กับมันเหมือนกัน

 

สำหรับเรา งานนี้มันพูดได้ตั้งแต่เรื่องที่เล็กที่สุดไปจนถึงเรื่องที่ใหญ่ที่สุด เราถึงบอกว่ามันเกี่ยวพันกันหลายเลเยอร์มากๆ มันไม่ง่ายเท่ารอบที่แล้ว แต่การที่มันไม่ง่ายก็น่าจะสร้างอะไรได้มากกว่ารอบที่แล้ว มันมีสิ่งที่คุณต้องปฏิบัติหรือมีคำสั่งที่คุณต้องเดินตาม ซึ่งก็คล้ายๆ กับการบริจาคเลือด คุณต้องกินน้ำมาให้พอ ไปตรวจค่าเลือดโน่นนี่

 

Second Hand Dialogue

 

แสดงว่าจักรวาลในหนังกับจักรวาลในนิทรรศการของนวพลมันไม่ได้ต่างกันมาก

สำหรับเราไม่ได้ต่างกันมาก เพราะว่ามันเชื่อมโยงถึงกัน นิทรรศการคือกระบวนการทำงานของเรา หนังมันคือหลังจากกระบวนการนี้เกิดขึ้นแล้วมันเกิดเป็นหนัง เพราะว่าไดอะล็อกหลายๆ เรื่องของหนังเรามันก็ได้มาจากชีวิตจริง จากการเผอิญได้ยินทั้งหลายแหล่ แต่เรารู้สึกว่ากระบวนการนี้น่าสนใจเท่านั้นเอง ก็เลยหยิบมาขยายให้เป็นนิทรรศการ

 

คิดว่ากระบวนการแบบนั้นมันอาจเกิดขึ้นในงานนี้ด้วยไหม แล้วคุณจะอยู่ตรงไหนในงาน

รอบนี้เราอาจจะเป็นแค่ปลายทาง หรือเป็นผู้รับมาแล้วคิดว่าจะเอาไปทำอะไรต่อ แต่เราคิดว่าคนที่มาบริจาคเขามาด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน โทรไปหาคนที่แตกต่างกัน จะมีปฏิกิริยาแตกต่างกัน งานนี้มันหลวมๆ กว่านิดหนึ่ง

 

การทำงานแนวนี้ ก่อนเปิดมันจะไม่รู้อะไรเลย จะออกมาดีหรือเปล่าก็ไม่รู้ สวยหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะว่ามันไม่ใช่งานที่เสร็จแล้วมาโชว์ มันคืองานที่แบบ ‘มาทำด้วยกันสิ’ ซึ่งไม่สามารถรู้ได้ว่าผลสุดท้ายมันคืออะไร แต่ไม่ว่าผลสุดท้ายจะออกมาเป็นยังไง สำหรับเรามันมีพลังประมาณหนึ่ง อย่างน้อยก็มีพลังกับเรา เพราะการได้นั่งฟังบทสนทนาพวกนี้ สำหรับเรามันโอเคมากเลย แค่บทสนทนาทางโทรศัพท์ถูกกระจายเสียงออกนอกตึก เราว่ามันเป็นเซนส์ที่ประหลาดพอแล้ว เพราะว่ามันไม่มีใครเอาเสียงโทรศัพท์ตัวเองไปออนแอร์ ไม่เหมือนกับคนทางบ้านโทรเข้าไปหาดีเจ เพราะนั่นคือรู้เลยว่ามันออกสู่สาธารณะ

 

เราสนใจว่านอกจากบทสนทนาจากโทรศัพท์จะถูกนำไปใช้อย่างอื่นแล้ว มันถูกเปลี่ยนบริบทของมันด้วย แทนที่จะจบกันแค่สองคน ในห้อง ในรถ หรืออะไรก็ตาม แต่มันออกไปข้างนอก แล้วผู้คนก็สามารถเอาสิ่งนั้นไปใช้ต่อ ฟังเพื่อความบันเทิงหรือเปล่า หรือฟังเพื่อได้อะไรบางอย่าง

 

ถ้านึกไม่ออกว่าจะโทรหาใคร หรือไม่อยากให้คนที่เราโทรหารู้ว่าเราเป็นใคร ต้องทำอย่างไร

จริงๆ คนที่บริจาคเสียงมาแล้วเขาจะไม่ถูกระบุชื่อ เราจะเอาไปแค่บทสนทนาเฉยๆ ฟังตอนแรกดูเหมือนว่าเป็นงานที่ต้องเล่นกันสองคนคือคนโทรกับคนรับใช่ไหม แต่จริงๆ มันมีอีกโหมดหนึ่งซึ่งเรียกว่า Emergency Call ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะโทรหาใคร คุณมี Emergency Call เหงาๆ ก็มาเล่นได้ เราจะมีเบอร์ให้ไปคุยกับอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร และเขาก็จะไม่รู้ว่าคุณเป็นใครเหมือนกัน ก็เป็นบทสนทนาอีกแบบหนึ่งเหมือนกัน มันก็จะมีให้เลือกเล่น

 

ทำไมถึงไม่ใช้วิธีดึงข้อมูลที่มีอยู่แล้วบนโลกออนไลน์ ทำไมเราต้องให้คนผลิตข้อมูลหรือบทสนทนาขึ้นมาอีกรอบ ในเมื่อโลกนี้ก็เต็มไปด้วยบทสนทนาอยู่แล้ว

เพราะว่ามันคนละมีเดียเหมือนกัน หมายถึงนี่คือเสียง และอย่างที่บอกว่าในน้ำเสียงมันบรรจุอะไรได้อีกมากมาย เช่น อารมณ์ หรือความสัมพันธ์ของการคุยกันระหว่างคนสองคน ปัญหาบนโลกใบนี้ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ก็คือเท็กซ์มันไม่มีเสียง เราก็อ่านแบบที่เราอยากได้ยิน จริงๆ แล้วนั่นคือเสียงของเรา และเราอาจจะเคยทำประเด็นนี้ตอน Mary is Happy, Mary is Happy. คือการเอาทวิตเตอร์มาทำเป็นหนังไง มันเป็นการจินตนาการต่อจากข้อความนั้น

คุณควรจะโทรไปหาใครที่ใกล้ตัวขึ้น และสิ่งที่คุณพูดคือสิ่งที่คุณต้องรับผิดชอบ

Second Hand Dialogue

 

คนทำหนังก็เป็นนักขโมยเหมือนกัน จะรู้สึกโกรธไหมถ้ามีคนถามว่าคุณขโมยหรือไปหยิบยืมเรื่องราวของคนอื่นมาสร้างงาน

เรารู้สึกว่ากระบวนการของมนุษย์ทุกคนก็ใช้วิธีการนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าได้มาจากไหน จากการไปเรียนหนังสือ แม่บอก หรืออะไรก็ตาม แต่ว่าที่เหลือเราก็ขโมยเหมือนกันนะ เราจำมา สำหรับการผลิตงาน มันเหมือนเราหยิบยืมจากความจริงมาสร้างงานได้ แต่เราไม่สามารถหยิบยืมจากงานคนอื่นมาสร้างงานเราได้ เพราะนั่นคือการก๊อบปี้ แต่ถ้าเกิดเราเอาจากธรรมชาติ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่สร้างงานจากธรรมชาติหรือเอามาจากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่เขาอยู่ ถ้ามันมาจากชีวิตจริงของเรา เราว่านั่นเป็นเรื่องปกติที่คนทำงานควรจะทำอยู่แล้ว เอาจากสิ่งที่คุณเป็นกับสิ่งที่คุณรู้เลย

 

ทำไมถึงสนใจเรื่องการยินยอมมากขึ้น นิทรรศการครั้งที่แล้วยังไม่มี

เหมือน i write you a lot. มันไม่ได้ล้วงลึกด้วยมั้ง มันไม่ส่วนตัวขนาดนั้น ตอน i write you a lot. คนถูกขโมยไปแล้วเขาเห็นตรงหน้าเลยว่า ‘กูไปอยู่บนจอแล้ว’ แค่นี้แล้วจบเลย แต่นี่มันมีคำถามแบบ ‘แล้วยังไงต่อ ฝั่งนั้นโอเคไหม’ ตอนแรกเราอยากจะทำแบบไม่มีการยินยอมด้วยซ้ำ ซึ่งจะได้อะไรที่มันสดมาก แต่เราว่าปัญหาจะตามมามหาศาล เพราะอีกฝั่งหนึ่งเขาก็ไม่รู้จริงๆ แล้วไหนจะเป็น Prank Call ทั้งหลายแหล่ เราว่ามีแน่ๆ แต่การมีการยินยอมทำให้กรองหนึ่งชั้นว่าคุณควรจะโทรไปหาใครที่ใกล้ตัวขึ้น และสิ่งที่คุณพูดคือสิ่งที่คุณต้องรับผิดชอบ มันคือการกันนอกลู่นอกทางนิดหนึ่ง เพราะเราอาจจะไม่ต้องการถึงขั้นนอกลู่นอกทางขนาดนั้น เพราะว่ามันจะไปทำร้ายคนอื่น เราต้องการได้ธรรมชาติของบทสนทนาโดยที่ทุกคนโอเคกับเราเหมือนกัน เราไม่ได้ต้องการให้งานมันเป็นแบบรายการ แฉแต่เช้า หรือว่าประกาศข้อความอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจผิดจุดประสงค์ไปด้วยเหมือนกัน

 

เห็นว่ามีกิจกรรมที่ชวนน้องชาย (ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์) มาเสวนาประกอบนิทรรศการด้วย

การคุยกับเต้ซึ่งเป็นน้องชายเรา วิชาที่เขาสอนหรือองค์ความรู้ที่เขามีมันจะค่อนข้างใกล้เคียงกับงานของเรา มันเป็นเรื่อง Data Collection ของเรามันเป็นเชิงการผลิตงานศิลปะแบบเรียลไทม์หรือการทำภาพยนตร์ แต่ของเขาจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ โซเชียลมีเดีย การผลิตเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่ เช่น AI การสอนให้ระบบเข้าใจภาษามนุษย์ ซึ่งเป็นประเด็นที่คนตื่นตัวกันมากขึ้น นอยด์ๆ ว่าตกลงไมโครโฟนในมือถือมันอัดเสียงเราหรือเปล่า คนตื่นตัวกันมากขึ้น แต่เราก็ยังอยู่กับมันด้วยนะ กลายเป็นว่าเทคโนโลยีกับชีวิตคนสัมพันธ์กันโดยอัตโนมัติ

 

เราเลยคิดว่าถ้าเกิดจะมีงานบรรยายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีก็ดี เพราะเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมันเกี่ยวข้องกับเราแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันอยู่แล้ว

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post Second Hand Dialogue นิทรรศการที่ ‘เต๋อ นวพล’ ขออนุญาตฟัง (เสือก) คุณอย่างเป็นทางการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Revisited < > Departed นิทรรศการของ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ที่พาผู้ชมเดินทางกลับสู่ภายในและทบทวนห้วงเวลาที่จากมา https://thestandard.co/revisited-departed/ https://thestandard.co/revisited-departed/#respond Wed, 06 Mar 2019 11:44:09 +0000 https://thestandard.co/?p=216170 Bangkok Citycity Gallery

1. คำสารภาพ สารภาพว่าหลังจากชมนิทรรศการ Revisited < […]

The post Revisited < > Departed นิทรรศการของ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ที่พาผู้ชมเดินทางกลับสู่ภายในและทบทวนห้วงเวลาที่จากมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
Bangkok Citycity Gallery

1. คำสารภาพ

สารภาพว่าหลังจากชมนิทรรศการ Revisited < > Departed ที่ Bangkok Citycity Gallery ผู้เขียนใช้เวลาทบทวนอยู่นานว่าจะเขียนบทความนี้ออกมาอย่างไรดี ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรให้เขียนถึง เพราะนิทรรศการนี้เต็มไปด้วยเรื่องราว ถ้าเป็นคนทำงานสายนักเขียนนักข่าวก็คงจะมองว่าเป็นงานที่เต็มไปด้วยคอนเทนต์ จะเดินชม 1-2 รอบก็ยังไม่มากพอที่จะเก็บเกี่ยวและเรียบเรียงเรื่องราวที่พรั่งพรูออกมาได้

 

‘กลับไป จากมา’ หรือ ‘Revisited < > Departed’ เป็นการกลับมาอีกครั้งของ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปินไทยชื่อดัง หลังจากที่ห่างหายจากการจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวในกรุงเทพฯ ไปนาน การกลับมาครั้งนี้จึงสร้างความตื่นเต้นให้กับคนที่รู้จักและติดตามผลงานของเขาอยู่ไม่น้อย

 

คงไม่ต้องเท้าความถึงประวัติความเป็นมาให้ยืดยาว นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล เป็นที่รู้จักจดจำในหลายคำนิยาม เป็นเจ้าของรางวัลศิลปาธร ปี 2553 เป็นตัวแทนศิลปินไทยที่ได้รับเชิญไปแสดงผลงานใน Venice Biennale ครั้งที่ 54 เป็นคนไทยเชื้อสายฮินดู-ปัญจาบี เป็นคนทำงานศิลปะ เป็นศิลปินที่พาตัวเองเข้าไปอยู่ในผลงาน เป็นผู้ก่อตั้งสตูดิโอเค เป็นนักสำรวจที่ออกตามหาตัวตน และเป็นอีกหลายๆ อย่างที่ไม่ได้พูดถึง

 

Bangkok Citycity Gallery

 

2. พื้นที่ของพ่อและพื้นที่ของครู

ในขณะเดียวกันนาวินก็ไม่ต่างจากคนทั่วไป ที่มีบุคคลผู้เป็นที่รักและหล่อหลอมตัวตน ความคิด ความฝัน และการทำงานมาจนถึงวันนี้ สำหรับเขาคือ มณเฑียร บุญมา ศิลปินชั้นครูผู้ล่วงลับ กับคุณพ่อของเขาเอง นิทรรศการนี้ได้ร้อยเรียงเรื่องราวในความทรงจำเกี่ยวกับบุคคลทั้งสอง โดยศิลปินได้ย้อนกลับไปสำรวจเบื้องลึกของตนเองและนำเอาห้วงเวลาบางส่วนกลับมาจำลอง ทำซ้ำ หรือประกอบขึ้นบนพื้นที่ใหม่ ในบริบทที่แตกต่างไป เป็นกระบวนการที่ทำซ้ำเพื่อ ‘กลับไป’ และนึกถึง ‘คนที่จากมา’

 

Bangkok Citycity Gallery

 

ตัวนิทรรศการแบ่งออกเป็น 2 ห้อง คือ Front Gallery ซึ่งอุทิศพื้นที่ให้กับการระลึกถึงครูผู้ล่วงลับ ผ่านการแสดงงานบางส่วนของมณเฑียร เช่น Montien Boonma’s Fabrix for Room ซึ่งเป็นผืนผ้าฝ้ายที่มีลวดลายเครื่องหมาย ‘!?’ แขวนอยู่หน้าบานกระจก รวมทั้งผลงานที่นาวินมีส่วนร่วมด้วย ขณะที่ Main Gallery เปรียบได้กับการจำลองฉากในแต่ละช่วงชีวิตของศิลปินที่พันผูกกับคุณพ่อและอาจารย์มณเฑียร เช่น ‘ร้านโอเค’ ร้านขายผ้าของครอบครัวในตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเคยจัดแสดงในนิทรรศการ ‘เรื่องเล่าบ้านบ้าน’ เมื่อปี 2558 ก็ถูกนำกลับมาไว้ในงานนี้อีกครั้ง

 

Bangkok Citycity Gallery

 

แต่การกลับมาครั้งนี้ยิ่งตอกย้ำความจริงที่ว่า กิจการนี้จะสิ้นสุดลงในวันหนึ่ง การจำลองทั้งสภาพร้านและบรรยากาศภายในทำให้เรารู้สึกเหมือนกับได้ไปเยือนร้านโอเคจริงๆ ถึงข้าวของแต่ละชิ้นจะผ่านกาลเวลามานาน แต่ก็ยังมีชีวิต ตั้งแต่ม้วนผ้า ชั้นวาง ปฏิทิน ถุงกระดาษสีน้ำตาลพิมพ์ลาย ไล่ไปจนถึงข้าวของกระจุกกระจิก ราวกับทุกรายละเอียดยังคงวางอยู่ในตำแหน่งเดิม สะท้อนความธรรมดาของชีวิตประจำวันที่สุกสกาวขึ้นเมื่อกลายเป็น ‘ความทรงจำ’

 

Bangkok Citycity Gallery

 

3. ชีวิตเต็มไปด้วยคำถามและเรื่องน่าประหลาดใจที่อาจไม่มีคำตอบ

นอกจากอดีตและปัจจุบัน ในนิทรรศการนี้ นาวิน ในวัยปลาย 40 ได้ตั้งคำถามและสำรวจมุมมองต่ออนาคตที่ยังเดินทางมาไม่ถึง ผ่านผลงานอย่าง ‘พ่อ แม่ และตัวฉัน’ ซึ่งนำเสนอรูปภาพของพ่อแม่ กับภาพสแกนกะโหลกของตัวเขาเอง โดยใช้เศษผ้าของร้านโอเค ถักทอขึ้นมาแทนผืนผ้าใบ อาจเรียกได้ว่านี่คือการนึกถึงความตายของศิลปินที่ปราศจากความฟูมฟายรูปแบบหนึ่ง

 

Bangkok Citycity Gallery

Bangkok Citycity Gallery

 

เรื่องราวทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ถูกเชื่อมโยงด้วยจดหมายที่นาวินเขียนสะสมไว้ (ซึ่งเราขอไม่ลงรายละเอียด แค่อยากแนะนำให้เผื่อเวลาอ่านจดหมายทั้งหมดในนิทรรศการนี้สักเล็กน้อย) ประสานไปกับเสียงบรรเลงเปียโน Funeral March ของเฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง คีตกวีนามอุโฆษ ซึ่งเปิดคลอในนิทรรศการ เพลงนี้เป็นบทเพลงที่ภรรยาของ มณเฑียร บุญมา มักจะเล่นเปียโนให้ฟัง ซึ่งยิ่งขับเน้นบรรยากาศของการอาลัยผู้จากไป

 

อีกหนึ่งจุดเชื่อมโยงที่พบเห็นได้ในแกลเลอรีทั้งสองห้องเช่นกันก็คือ เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) และเครื่องหมายปรัศนี (?) ซึ่งปรากฏอยู่ทั้งในผลงานของ มณเฑียร บุญมา และ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ราวกับจะบอกผู้ชมว่าในแต่ละช่วงชีวิตคนเราย่อมพบเจอเหตุการณ์เรื่องราวที่น่าตื่นเต้นประหลาดใจและคาดไม่ถึง แม้เราอาจจะพบ หรือกระทั่งไม่พบคำตอบเลยก็ตาม แต่นั่นก็เป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งของชีวิต

 

นาวินยังคงเก่งกาจในการรังสรรค์และถ่ายทอด ‘โลกทรงจำของตนเอง’ โดยนำเสนอบนพื้นที่และบริบทใหม่ ผ่านกระบวนการสำรวจอดีตด้วยการกลับไปยืนในพื้นที่เดิม และนำก้อนประสบการณ์ใหม่มาถ่ายทอด กระบวนการทำงานนี้เองเปรียบได้กับการบำบัดตัวเอง โดยเดินทางเข้าไปสำรวจภายใน ตั้งคำถามถึงวันพรุ่งนี้ และส่งต่อสิ่งที่คงอยู่ไปสู่เจเนอเรชันต่อไป การชูประเด็นเรื่อง ‘บุคคลที่มีอิทธิพลต่อชีวิต’ ก็สามารถทำให้ผู้ชม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่อาจไม่เคยรู้จักศิลปินมาก่อน เข้าถึงโลกของนาวินได้ โดยมองผ่านประสบการณ์ของตัวเอง รวมทั้งได้ทำความรู้จักกับศิลปินชั้นครูอย่าง มณเฑียร บุญมา ผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปะไทยในคราวเดียวกัน

 

แม้บรรยากาศและบทเพลงในนิทรรศการจะชวนเรียกน้ำตาได้ง่าย แต่นาวินบอกกับเราว่า ที่จริงแล้วนิทรรศการนี้ไม่ได้เศร้าสำหรับเขาแม้แต่น้อย หากเป็นการสำรวจภายในมากกว่า

 

“คุณได้พบคำตอบอะไรระหว่างทำนิทรรศการนี้” เราถาม

 

“จริงๆ ผมไม่ได้คิดว่าเราต้องไปค้นพบอะไร บางอย่างที่เรานำมาแสดง เพราะเราอยากสื่อสารกับผู้ชม แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ไม่ได้บอกว่าเราคิดได้แล้ว แต่เป็นประสบการณ์ในช่วงวัยนี้ด้วยมากกว่า” นาวินกล่าวทิ้งท้าย

 

Bangkok Citycity Gallery

Bangkok Citycity Gallery

Bangkok Citycity Gallery

 

ภาพเปิด: Ketsiree Wongwan

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post Revisited < > Departed นิทรรศการของ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ที่พาผู้ชมเดินทางกลับสู่ภายในและทบทวนห้วงเวลาที่จากมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/revisited-departed/feed/ 0
รีวิวอาร์ตบุ๊กน่าสนใจจากงาน Bangkok Art Book Fair 2018 https://thestandard.co/bangkok-art-book-fair-2018-art-book-review/ https://thestandard.co/bangkok-art-book-fair-2018-art-book-review/#respond Fri, 07 Sep 2018 12:26:41 +0000 https://thestandard.co/?p=119813

งาน Bangkok Art Book Fair กลับมาเป็นปีที่ 2 ปีนี้นอกจาก […]

The post รีวิวอาร์ตบุ๊กน่าสนใจจากงาน Bangkok Art Book Fair 2018 appeared first on THE STANDARD.

]]>

งาน Bangkok Art Book Fair กลับมาเป็นปีที่ 2 ปีนี้นอกจากจะเป็นงานโชว์เคสของนักทำหนังสืออิสระบ้านเราแล้ว ทางผู้จัดงานยังเชิญชวนนักทำหนังสืออิสระที่น่าสนใจจากหลายประเทศทั่วโลกมาร่วมงาน ซึ่งมีทั้งนำผลงานมาแสดง ขาย และยังร่วมกิจกรรมเสวนาในประเด็นเกี่ยวกับวงการสิ่งพิมพ์อีกด้วย

 

Bangkok Art Book Fair 2018 จัดที่ Bangkok CityCity Gallery แถวสีลม จนถึงวันที่ 9 กันยายนนี้ ใครสนใจก็แวะไปช้อปและชมกันได้ แต่ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าในงานมีอะไรให้ชม THE STANDARD POP ขอนำอาร์ตบุ๊กบางเล่มมารีวิวให้ดูก่อนแล้วกัน

 

 

TOKYO / JAPAN – Einstein Studio

โฟโต้บุ๊กจาก Einstein Studio สตูดิโอกราฟิกและภาพถ่ายจากย่านชินจูกุ โตเกียว เล่มนี้เป็นหนังสือชุดต่อเนื่องที่ทางทีมงานรวบรวมภาพจากช่างภาพหลายสิบคนที่บันทึกเรื่องราวในเมืองโตเกียวเอาไว้เดือนละ 1 เล่ม โดยเล่มล่าสุดคือ June 2018 และยังมีแผนจะทำต่อไปเรื่อยๆ เดือนละเล่ม

 

 

CARS / JAPAN – Einstein Studio

โฟโต้บุ๊กจากค่าย Einstein Studio เช่นกัน แต่คราวนี้มาในธีมรูปถ่ายรถยนต์ ด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ มีแบรนด์รถยนต์ชั้นนำเป็นจำนวนมาก แถมที่ญี่ปุ่นก็มีรถยนต์เยอะมาก ทีมงาน Einstein เลยนึกสนุกนำรูปถ่ายรถยนต์จากช่างภาพจำนวนมากทั่วญี่ปุ่น (คราวนี้ไม่ได้จำกัดแค่ในโตเกียวเหมือนเล่มที่แล้ว) มาจัดเลย์เอาต์เข้าด้วยกันเป็นหนังสือเล่มนี้

 

 

Marina Abramovic – Onestar Press

อาร์ตบุ๊กจากสำนักพิมพ์ฝรั่งเศส Onestar Press หนังสือเล่มนี้ทำขึ้นจากตัวของ มารินา อบราโมวิช ศิลปินอาร์ตตัวแม่ชาวเซอร์เบียที่มีชื่อเสียงมากในช่วงยุค 70s ด้วยการแสดงที่มักเล่นกับจิตวิทยาของคนดูและทดลองการใช้งานของร่างกายให้ไปถึงขีดสุด หนึ่งในงานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือการไปนั่งเฉยๆ ให้คนอื่นมานั่งเผชิญหน้ากับเธอ ผลคือบางคนเศร้า บางคนร้องไห้ ไม่แปลกเลยที่เธอจะกลายเป็นเหมือนผู้นำทางจิตวิญญาณที่มีคนคลั่งไคล้มากมาย และหนังสือเล่มนี้ได้นำเอาคำขึ้นต้นจดหมายที่มารินาได้รับในช่วงปี 1965-1979 ที่เธอกำลังดังสุดๆ ซึ่งหลายคำขึ้นต้นก็น่าติดตามเหลือเกินว่าคนส่งจดหมายเขียนอะไรถึงเธอต่อจากนั้น เป็นงานที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นและจินตนาการได้ดีมาก

 

 

Scala – ฐิตินันท์ พงษ์จารุวัฒน์, วิมลพร รัชตกนก

ซีนจากค่าย Spacebar Design Studio ที่เป็นขาประจำงานซีนเกือบทุกงานในบ้านเรา Scala เล่าเรื่องของโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนสุดคลาสสิกประจำย่านสยามแห่งนี้ที่เพิ่งปิดตัวลงไป ทั้งในแง่สถาปัตยกรรม แง่ความโรแมนติก แง่คนทำงานในโรงภาพยนตร์ รวมถึงแง่ของคนดูที่ต่างเติบโตมาเป็นบุคลากรในวงการหนังเป็นจำนวนมาก เราอาจเห็นหนังสือ Scala เล่มนี้ตามสื่อหลายครั้งแล้วในช่วงที่โรงภาพยนตร์สกาลากำลังจะปิดตัวลง ซึ่งใครยังไม่ได้จับจองเป็นเจ้าของก็สามารถมาซื้อกันในงานนี้ได้เลย

 

 

Eros – Oat Montien

หนังสือภาพวาดและบทกวีของ โอ๊ต มณเฑียร ที่ทั้งพิมพ์เอง จัดจำหน่ายเอง และดูแลการผลิตเอง ด้วยคอนเซปต์ภาพวาดนายแบบ 22 คนจากลอนดอนที่นำเสนอผ่านไพ่ทาโรต์ 22 ใบ เป็นภาพวาดที่เกิดขึ้นในช่วงปีสุดท้ายที่โอ๊ตใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอน ที่ซึ่งเขาหล่อหลอมเทคนิคการวาดเฉพาะตัวขึ้นมา และเป็นแรงผลักดันให้เขาได้ทำงานศิลปะต่อมาจนถึงทุกวันนี้

 

 

Short Haired Girls on Films. – Senkhobfahb

ซีนภาพวาดที่รวมเอาสาวๆ ผมสั้นที่น่าจดจำบนแผ่นฟิล์มมาบันทึกรวมกันลงในซีนเล่มนี้ ตั้งแต่ เอมิลี จากเรื่อง Amelie, มีอา วอลเลซ จาก Pulp Fiction ไปจนถึงเฟย์ หว่อง จาก Chungking Express หนังคลาสสิกของหว่องกาไว หรือแมรี่ จาก Mary is happy, Mary is happy.

 

 

The Meaningful Strangers – Thanachart Siripatrachai

งานคราวนี้ยังมีสำนักพิมพ์ขนาดกลางที่ทำพ็อกเก็ตบุ๊กเป็นงานประจำอย่าง Salmon มาทำหนังสือทำมือจำนวนจำกัดวางขายอีกด้วย เล่มนี้รวบรวมจากงานในโซเชียลมีเดียของ เบนซ์-ธนชาติ ศิริภัทราชัย นักเขียนและผู้กำกับสายยียวน ที่คราวนี้ได้นำคำศัพท์ภาษาอังกฤษยากๆ แบบที่อ่านยังไม่รู้จะอ่านยังไงไปถามหาความหมายจากเจ้าของภาษาเสียเลย เลยได้มาเป็นบันทึกบทสนทนาที่ตัวคู่สนทนาพยายามอธิบายความหมายคำยากๆ ให้เอเชียหัวดำอย่างธนชาติเข้าใจ

 

 

Vietnam Delicious – LȇRin

งานหนังสืออิลลัสเตรชันจากเวียดนามที่กว้านเอาอาหารประจำชาติเวียดนามมาวาดเป็นลายเส้นสีสันสวยงามสดใส ซึ่งมีตั้งแต่ที่คนไทยอย่างเราคุ้นๆ อย่างบั้นหมี่ เฝอ เปาะเปี๊ยะทั้งสดและทอด ไปจนถึงขนมหลากชนิดที่อ่านชื่อแทบไม่ออก แต่อยากไปหากินที่ร้านอาหารเวียดนามใกล้บ้านเสียเดี๋ยวนี้

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post รีวิวอาร์ตบุ๊กน่าสนใจจากงาน Bangkok Art Book Fair 2018 appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/bangkok-art-book-fair-2018-art-book-review/feed/ 0
ภาพบรรยากาศวันเปิดงาน Bangkok Art Book Fair 2018 https://thestandard.co/bangkok-art-book-fair-2018-2/ https://thestandard.co/bangkok-art-book-fair-2018-2/#respond Fri, 07 Sep 2018 01:57:23 +0000 https://thestandard.co/?p=119527

ภาพบรรยากาศวันเปิดงาน Bangkok Art Book Fair 2018 เทศกาล […]

The post ภาพบรรยากาศวันเปิดงาน Bangkok Art Book Fair 2018 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ภาพบรรยากาศวันเปิดงาน Bangkok Art Book Fair 2018 เทศกาลหนังสือและสิ่งพิมพ์ศิลปะ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เป็นการรวบรวมหนังสือศิลปะ สิ่งพิมพ์ศิลปะ จากกลุ่มศิลปิน สตูดิโอออกแบบ ร้านหนังสือ แกลเลอรี และสถาบันการศึกษา ความพิเศษในปีนี้ มีสำนักพิมพ์และสตูดิโออิสระจากต่างประเทศมาเข้าแสดงงานด้วย และยังมีห้องจัดแสดงสิ่งพิมพ์ศิลปะที่น่าสนใจ รวมถึงวงสนทนาแลกเปลี่ยน ‘Platform & Distribution แพลตฟอร์มและการจัดจำหน่ายหนังสือศิลปะ’

 

Bangkok Art Book Fair 2018 จัดขึ้นที่ Bangkok CityCity Gallery สาทร 1 ระหว่างวันที่ 6-9 กันยายน 2561 ค่าธรรมเนียมเข้างาน 60 บาทต่อคน คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: www.bangkokartbookfair.info

 

 

 

ภาพ: วิมลพร รัชตกนก, ปลายฟ้า วงศ์อมรจักร

The post ภาพบรรยากาศวันเปิดงาน Bangkok Art Book Fair 2018 appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/bangkok-art-book-fair-2018-2/feed/ 0
THE STANDARD Art Fest: รวมลิสต์นิทรรศการศิลปะที่ไม่ควรพลาดตลอดเดือนกันยายน 2561 https://thestandard.co/the-standard-art-fest-september-2561/ https://thestandard.co/the-standard-art-fest-september-2561/#respond Thu, 06 Sep 2018 12:44:37 +0000 https://thestandard.co/?p=119474

THE STANDARD Art Fest ชวนคุณไปพบเจอมุมมองและประสบการณ์ใ […]

The post THE STANDARD Art Fest: รวมลิสต์นิทรรศการศิลปะที่ไม่ควรพลาดตลอดเดือนกันยายน 2561 appeared first on THE STANDARD.

]]>

THE STANDARD Art Fest ชวนคุณไปพบเจอมุมมองและประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านนิทรรศการศิลปะที่เรารวบรวมมาให้ ทั้งงานที่ควรรีบไปชมก่อนหมดโอกาส หรืองานน่าสนใจที่จะเกิดขึ้นตลอดเดือนกันยายนนี้ เพราะเราไม่อยากให้พลาดแม้แต่งานเดียว

 

Highly Recommend: งานน่าชมที่เราแนะนำเป็นอย่างยิ่ง 

 

Photo: YELO House  

 

Good Combination

What: การรวมตัวกันของสองศิลปินรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองทั้ง ป่าน-ชนารดี ฉัตรกุล ณ อยุธยา หรือ Juli Baker and Summer และเตว-จารุวัฒน์ น้อมรับพร ซึ่งจัดงานนิทรรศการคู่กันใน ‘Based on True Stories’ ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราว ลายเส้น และโลกของพวกเขาในแบบฉบับที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หยิบจับเรื่องราวและบุคคลรอบๆ ตัวมานำเสนอเพื่อให้เห็นถึงมุมมองที่ศิลปินมีต่อมนุษย์และสังคม และแน่นอนว่าลายเส้นนั้นเน้นสีสัน มีเสน่ห์ และคู่ควรจะไปชมความสดใสกันดูสักครั้ง

When: วันนี้ถึง 23 กันยายน 2561

Where: YELO House ซอยเกษมสันต์ 1 เชิงสะพานหัวช้าง ฝั่งหอศิลปกรุงเทพฯ

How: www.facebook.com/events/480499305802075

Stop: BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ หรือ BTS สถานีราชเทวี

 

Photo: Bangkok Art Book Fair 

 

Bangkok Art Book Fair 2018

What: จัดขึ้นเป็นครั้ง 2 แล้วสำหรับเทศกาล ‘Bangkok Art Book Fair’ เทศกาลหนังสือและสิ่งพิมพ์ศิลปะประจำปีที่มอบโอกาสให้ผู้ที่สนใจหนังสือ สิ่งพิมพ์ และศิลปะ มาพบปะกับศิลปิน ช่างภาพ นักเขียน นักออกแบบกราฟิก และนักวาดภาพประกอบที่ต่างจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานของตนเองได้อย่างน่าสนใจ รวมไปถึงสำนักพิมพ์อิสระ สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก และกลุ่มศิลปะร่วมสมัยทั้งในไทยและนานาชาติที่ต่างมาออกบูธนำเสนอศิลปะของสิ่งพิมพ์ในแง่มุมใหม่ๆ ให้ได้เลือกเก็บกลับบ้านไปอ่าน

When: วันที่ 6-9 กันยายน 2561

Where: Bangkok CityCity Gallery ซอยสาทร 1 กรุงเทพฯ

How: www.facebook.com/events/2147235748682311

Stop: MRT สถานีลุมพินี

 

Photo: Made in – Berlin 

 

Made in Berlin

What: สามารถร้องเป็นเพลงสรรเสริญชาติเช่นเดียวกับวงคาราบาวกันได้เลย เพราะนิทรรศการ ‘Made in Berlin’ นี้เยอรมนีทำเอง กับการรวบรวมผลงานของศิลปินชาวเยอรมันทั้งหมด 7 คนที่มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องอยู่ใน ‘เบอร์ลิน’ เมืองหลวงของประเทศเยอรมนี อันได้แก่ Bora Hong, Dave the Chimp, Dirk Verschure, Daan Botlek, Johan Potma, Marga van den Meydenberg และ Niels Kalk ซึ่งต่างก็เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานและขับเคลื่อนพลังงานอันน่าตื่นเต้นซึ่งทำให้เบอร์ลินเป็นหนึ่งในศูนย์กลางศิลปะและงานออกแบบที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และนิทรรศการครั้งนี้เปิดโอกาสให้ทำความรู้จักกับผลงานศิลปะและงานออกแบบของศิลปินที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายและความเร่าร้อนของเมืองเบอร์ลินผ่านโปสเตอร์ ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย นอกจากนี้เขายังมีตลาดศิลปะให้คุณได้เลือกช้อปด้วย

When: วันนี้ถึง 26 กันยายน 2561

Where: ชั้น 5 สยามดิสคัฟเวอรี กรุงเทพฯ

How: www.facebook.com/events/2039624156348107

Stop: BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ หรือสถานีสยาม

 

Your Last Chance: โอกาสสุดท้ายก่อนปิดงาน

 

Photo: Bridge Art Space 

 

A Part of…

What: น่าจะเป็นเพียงโอกาสไม่กี่ครั้งที่คุณจะได้เข้าไปเหยียบพื้นที่ของสาธรยูนีค ทาวเวอร์ หรือตึกร้างสาทรได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในนิทรรศการศิลปะที่ชื่อว่า ‘A/part’ อันเป็นความร่วมมือของ Bridge Art Space และที่นี่จะเป็นหนึ่งในพาวิลเลียนจัดแสดงงานศิลปะของงาน Bangkok Biennale ปีนี้อีกด้วย โดยจำลองพื้นที่อันจำกัดขนาด 3 x 8 x 2.5 เมตร เพื่อสร้างโมเดลงานอื่นๆ เพิ่มเติมผ่านวิสัยทัศน์ของศิลปะหลากแขนง เรียงชื่อกันมาตั้งแต่ ต่อวงศ์ วุฒิวงศ์, พรภพ สิทธิรักษ์, ประเสริฐ ยอดแก้ว ฯลฯ

When: วันนี้ถึง 30 กันยายน 2561

Where: Bridge Art Space ซอยเจริญกรุง 51 กรุงเทพฯ

How: www.facebook.com/events/216159512563960

Stop: BTS สถานีสะพานตากสิน หรือเรือโดยสารเจ้าพระยา ท่าเรือสาทร

 

Photo: RMA Institute

 

Gradiva

What: งานแสดงภาพถ่ายผ่านมุมมองของ เชน บุนนาค นักสร้างภาพยนตร์และช่างภาพชาวไทย-อังกฤษในชื่อ ‘Gradiva’ หรือ ‘นางผู้ก้าวเดิน’ เทพธิดาแห่งสงครามในตำนานร่วมสมัย โดยภาพถ่ายชุดนี้พยายามค้นหาสิ่งที่ปรากฏขึ้นระหว่างความฝันและการตื่น ภาพถ่ายจึงเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง ความโกลาหล ซึ่งรอคอยให้ผู้ชมไปเฝ้ามองและค้นหาคำตอบของเรื่องราวที่แฝงอยู่ในรูปภาพเหล่านั้น

When: วันนี้ถึง 9 กันยายน 2561

Where: RMA Institute ซอยสายน้ำทิพย์ 2 สุขุมวิท 22 กรุงเทพฯ

How: www.facebook.com/events/615675732123169

Stop: BTS สถานีอโศก หรือ MRT สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

Photo: Photo Bangkok 2018 

 

Bangkok Through the Lens

What: โอกาสสุดท้ายแล้วจริงๆ กับนิทรรศการภาพถ่ายใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร โดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ BACC เป็นเจ้าภาพ Photo Bangkok 2018 นิทรรศการที่รวบรวมภาพถ่ายหลากหลายแขนงไว้มากที่สุด ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 แล้ว โดยมุ่งเน้นไปยังเรื่องราวของภาพถ่ายร่วมสมัย ทั้งภาพแนวสตรีท ภาพข่าว และอื่นๆ เพื่อพัฒนาและมีพื้นที่ให้กับศิลปินสายงานนี้ได้แสดงผลงาน และยังมีการแสดงผลงานจากศิลปิน ช่างภาพ ภัณฑารักษ์ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในวงการภาพถ่ายระดับโลก เช่น คริสตินา เดอ มิดเดิล, คริส สโคลส์, ยูมิ โกโตะ และศิลปินไทยอีกมากมายที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ภายในงานมีศิลปินมากกว่า 30 คนจาก 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมจัดแสดงงาน

When: วันนี้ถึง 9 กันยายน 2561

Where: ติดตามสถานที่การจัดงานได้ที่เว็บไซต์หลัก หรือคลิกชม 22 นิทรรศการน่าดูชมที่เรารวบรวมมาให้แล้ว

How: www.photobangkokfestival.com

 

More to See: เดือนนี้ยังมีงานอีกเพียบ!

 

Photo: ID KMITL Thesis Exhibition 2018 

 

บุญมีแต่ลาดบัง

What: ถึงคราวของนักศึกษาภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จะได้โชว์ผลงานวิทยานิพนธ์ของตัวเองในปีนี้ด้วยชื่อเก๋ๆ กำกวมอย่าง ‘บุญมีแต่ลาดบัง’ นำเสนอผลงานของนักศึกษาที่มีความน่าสนใจทั้งฝั่งงานเฟอร์นิเจอร์ ออกแบบสิ่งทอ เครื่องประดับ หรือเซรามิกก็ตาม เด็กๆ ไปดูเอาไอเดียได้ ส่วนผู้ใหญ่ก็ลองไปชื่นชมผลงานเด็กรุ่นใหม่กันสักหน่อยสิ

When: วันที่ 8-11 กันยายน 2561

Where: ชั้น 3 โซนอีเดน เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

How: www.facebook.com/IDkmitlthesisexhibition

Stop: BTS สถานีสยาม หรือ BTS สถานีชิดลม หรือเรือโดยสารคลองแสนแสบ ท่าเรือประตูน้ำ

 

Photo: Courtesy of CMO Group

 

Witness the Thainess

What: ทางฟากงานศิลปะไทยเองในเดือนนี้ก็มีงานที่น่าสนใจอย่าง ‘รากศิลปะไทยจากศตวรรษสู่ศตวรรษ’ ซึ่งนำเสนอศิลปะไทยตั้งแต่ในสมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทำให้ผู้ชมได้เห็นถึงวิวัฒนาการของศิลปะไทยทั้งในแง่ของเทคนิค เรื่องราว และความสวยงาม และหนึ่งงานที่นำมาแสดงคืองาน ‘ภาพประกอบนิทานพื้นบ้าน ปี 2488’ ซึ่งเขียนโดย เหม เวชกร ช่างเขียนที่ได้มีโอกาสฝึกงานกับ คาร์โล ริโกลี ซึ่งเป็นจิตรกรชาวอิตาเลียนที่เขียนจิตรกรรมฝาผนังบริเวณเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม เหม เวชกร จึงเป็นจิตรกรคนสำคัญที่นำเอาเทคนิคตะวันตกมาเล่าเรื่องแบบไทยๆ ไปชมกัน!

When: วันนี้ถึง 4 พฤศจิกายน 2561

Where: ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ

How: www.bacc.or.th

Stop: BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

 

Photo: LiFE THEATRE  

 

The Story of Siblings

What: จะเรียกว่าเป็นละครเวทีที่คุณไม่ควรพลาดชมก็ได้ เพราะการแสดงคราวที่แล้วก็ได้รับเสียงชื่นชมไปอย่างล้นหลามจนต้องกลับมารีสเตจอีกรอบกับ ‘Rose/mary with Roong & Rocket: RX3’ เรื่องราวที่ว่าด้วยสองศรีพี่น้องในวันเฮงซวยที่ต่างกลับมาเจอกันพร้อมปัญหาและเรื่องราวในอดีต ความพิเศษของละครเรื่องนี้คือการแสดงแบบสองเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยนำเสนอผ่านมุมมองของเพศที่หลากหลาย ทั้งพี่น้องผู้หญิงและพี่น้องที่เป็นเควียร์ และเหตุผลที่คุณไม่ควรพลาดคือการรับชมการแสดงที่มีพลังงานมหาศาลจากนักแสดงนำทั้ง 4 ท่าน! อ่านรีวิวย้อนหลังได้ที่นี่

When: 28 กันยายน ถึง 10 ตุลาคม 2561 (เปิดการแสดงเพียง 12 รอบ และงดการแสดงทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี)

Where: Bluebox Studio ภายในโรงละครเอ็มเธียเตอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ

How: บัตรราคา 650 บาท สำรองที่นั่งได้ที่ www.facebook.com/events/686154101735059

Stop: MRT สถานีเพชรบุรี หรือ BTS สถานีเอกมัย

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post THE STANDARD Art Fest: รวมลิสต์นิทรรศการศิลปะที่ไม่ควรพลาดตลอดเดือนกันยายน 2561 appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/the-standard-art-fest-september-2561/feed/ 0