อาหาร – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 23 Apr 2025 06:09:12 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 คู่มือเอาตัวรอดจากคลื่นความร้อนตลอดเดือนนี้ https://thestandard.co/life/surviving-heat-wave-guide Wed, 23 Apr 2025 06:09:12 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1067264 วิธีรับมือกับ คลื่นความร้อน ในช่วงเดือนเมษายน ด้วย 6 เทคนิคเอาตัวรอดจากอากาศร้อนจัด

ในช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะในเดือนเมษายนข […]

The post คู่มือเอาตัวรอดจากคลื่นความร้อนตลอดเดือนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิธีรับมือกับ คลื่นความร้อน ในช่วงเดือนเมษายน ด้วย 6 เทคนิคเอาตัวรอดจากอากาศร้อนจัด

ในช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะในเดือนเมษายนของทุกปี การดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากความร้อนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคลื่นความร้อนสามารถส่งผลต่อสุขภาพให้แย่ลงและเป็นอันตรายได้ LIFE จึงรวบรวมวิธีรับมือกับคลื่นความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมคำแนะนำที่ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญมาฝากผู้อ่าน เพื่อให้นำไปปรับใช้ในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในเดือนที่คาดว่าจะร้อนที่สุด

 

1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงอากาศร้อน เพราะร่างกายสูญเสียน้ำผ่านเหงื่อมากกว่าปกติ ควรจิบน้ำเป็นประจำตลอดวัน ไม่ควรรอจนกระหายน้ำจึงดื่ม เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายเริ่มขาดน้ำแล้ว

 

2. เลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม

สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน เนื้อผ้าโปร่ง และหลวมสบายที่ช่วยระบายอากาศได้ดี ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเข้มและรัดรูปในช่วงอากาศร้อน

 

3. หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุด

ลดการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงที่สุด หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ควรสวมหมวก แว่นกันแดด และทาครีมกันแดดให้ทั่วผิวที่จะสัมผัสแสงแดด

 

4. รับประทานอาหารที่เหมาะสม

เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและมีน้ำเป็นส่วนประกอบสูง เช่น ผักสด ผลไม้ และซุปใส ลดการบริโภคอาหารทอดหรืออาหารไขมันสูง เนื่องจากอาหารเหล่านี้เพิ่มความร้อนให้กับร่างกายในกระบวนการย่อย

 

5. มีอุปกรณ์ช่วยคลายร้อนติดตัว

พกพาอุปกรณ์ช่วยคลายร้อน เช่น สเปรย์น้ำแร่ พัดลมมือถือ หรือผ้าเย็น เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกายเมื่อจำเป็น อุปกรณ์เหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาความร้อนได้อย่างรวดเร็ว

 

6. สังเกตอาการผิดปกติ

เฝ้าระวังอาการบ่งชี้ของภาวะเจ็บป่วยจากความร้อน เช่น อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลียผิดปกติ หากมีอาการเหล่านี้ ควรหยุดพักในที่ร่ม ดื่มน้ำ และหากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว

 

ภาพ: Shutterstock

The post คู่มือเอาตัวรอดจากคลื่นความร้อนตลอดเดือนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมื่อความมั่นคงทางอาหารโลก ‘ยังสั่นคลอน’ https://thestandard.co/global-food-security-crisis-climate-change-impact/ Sat, 29 Mar 2025 08:23:40 +0000 https://thestandard.co/?p=1058037 โลกรวนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก เกษตรกรเผชิญภัยแล้ง น้ำท่วม และสภาพอากาศแปรปรวน

เรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เป็นสิ่งสำคัญเ […]

The post เมื่อความมั่นคงทางอาหารโลก ‘ยังสั่นคลอน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
โลกรวนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก เกษตรกรเผชิญภัยแล้ง น้ำท่วม และสภาพอากาศแปรปรวน

เรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นเป้าหมายข้อที่ 2 เรื่องการขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) จากทั้งหมด 17 ข้อของ SDGs ที่ 195 ประเทศได้ทำข้อตกลงกันจะช่วยให้บรรลุในปี 2573 แต่ปัจจุบันมีหลายอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ได้ค่อนข้างเป็นไปตามข้อตกลงได้ยาก โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

 

Climate Change กระทบคลังอาหารโลก

 

UNDP Thailand เปิดเผยข้อมูลที่อ้างอิงจาก Food and Agriculture Organization of the United Nations ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารทั่วโลกมากขึ้น จากฐานปี 2561 พบว่า 820 ล้านคนทั่วโลกต้องเผชิญการขาดสารอาหาร แต่ภาวะโลกรวนได้มาเป็นปัจจัยซ้ำเติมเรื่องความไม่มั่นคงทางอาหารไปอีก โดยคาดว่าอีก 25 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2593 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้ราคาธัญพืชและผลผลิตพืชสำคัญมีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 29% ขณะที่ปริมาณการผลิตก็จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งทำให้เกิดโรคระบาดในสัตว์และศัตรูพืชแพร่กระจายข้ามพรมแดนเร็วขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาการเกิดโรคในพืชส่งผลกระทบจนสร้างมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี 

 

 

 

80% ประชากรโลกเผชิญความไม่แน่นอนทางอาหาร 

 

โดยมี 80% ของประชากรโลกที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมีความเสี่ยงที่พืชผลทางการเกษตรจะเสียหายใน 3 พื้นที่ คือ แอฟริกาใต้ซาฮารา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เกษตรกรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 100 ล้านคน ต้องเจอความแปรปรวนของอากาศ ตั้งแต่อุณหภูมิสูงขึ้นและฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ขณะที่อินเดียและปากีสถานเจอคลื่นความร้อนและน้ำท่วมรุนแรงเมื่อปี 2565-2566 ทำให้ผลผลิตทางเกษตรลดลง จนอินเดียต้องจำกัดการส่งออกข้าว และเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น หรือในเอธิโอเปีย เคนยา โซมาเลีย มีผู้คนกว่า 22.5-23.4 ล้านคน ต้องขาดแคลนอาหารเนื่องจากต้องเจอภาวะแล้งหนัก

 

การประเมินความมั่นคงทางอาหาร

 

Economist Impact ได้มีการวิเคราะห์และประเมินความมั่นคงทางอาหารตาม รายงานดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของโลกปี 2565 (Global Food Security Index : GFSI) โดยใช้หลักการประเมินครอบคลุมทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความสามารถในการซื้ออาหาร (Food Affordability) 2. ความมีอยู่อย่างสมบูรณ์ของอาหาร (Availability) 3. คุณภาพและความปลอดภัย (Quality and Safety) และ 4. ความยั่งยืนและการปรับตัว (Sustainability and Adaptation) 

 

ทั้งนี้ พบว่า ปัญหาหรืออุปสรรคในการสร้างความมั่นคงทางอาหารโลกและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกมีอยู่ 3 หัวข้อหลักคือ 

 

  • ความอ่อนแอในด้านความมั่นคงทางอาหาร พบว่า ยังคงลดลงจากระดับสูงสุดในปี 2562 สาเหตุหลักเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นและการระบาดของโควิด 
  • การเผชิญหน้ากับแรงกระแทกจากผลกระทบของวิกฤตต่างๆ ที่มีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น เช่น การแพร่ระบาดของโรค เหตุความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ระบบอาหารโลกอ่อนแอลง 
  • ความจำเป็นในการสร้างการตั้งรับปรับตัว (Resilience) จำเป็นต้องมีการดำเนินการที่หลากหลายและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างการตั้งรับปรับตัวให้เกิดขึ้นในระบบอาหาร

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตด้านอาหาร 2567 

 

แต่รายงานวิกฤตการณ์อาหารโลก ปี 2567 (Global Report on Food Crises : GRFC) ได้ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านอาหารในปี 2567 ได้แก่ 

 

  • ปัญหาความขัดแย้ง ทำให้ 135 ล้านคน ใน 20 ประเทศและเขตแดนเผชิญความไม่มั่นคงทางอาหารเฉียบพลัน โดยเฉพาะประเทศซูดานมากถึง 8.6 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับสูง เมื่อเทียบปี 2566 ที่คนศรีลังกาเจอความหิวโหย
  • เหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว คนกว่า 77 ล้านคน ใน 18 ประเทศและเขตแดนต้องขาดแคลนอาหาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จาก 57 ล้านคน ใน 12 ประเทศและเขตแดน ซึ่งปี 2566 เป็นปีที่โลกมีสภาพอากาศที่ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ และยังเจอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้วทั้งเกิดน้ำท่วมรุนแรง พายุ ความแห้งแล้ง ไฟป่า โรคและการระบาดศัตรูพืช
  • ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ที่กระทบคนกว่า 75 ล้านคน ใน 21 ประเทศต้องขาดอาหาร โดยต้องนำเข้าอาหารและปัจจุบันยังเจอความท้าทายต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ค่าเงินอ่อนค่า สินค้ามีราคาสูง และภาวะหนี้สูง

 

ความมั่นคงทางอาหารของไทย

 

รายงานดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของโลก ปี 2565 จาก 113 ประเทศ ไทยอยู่อันดับที่ 64 ระดับเดียวกับประเทศโคลอมเบีย และตกลงมาถึง 13 อันดับจากเดิมในปี 2564 ที่อยู่อันดับ 51 ทั้งนี้ แม้ไทยจะมีคะแนนโดดเด่นประเด็นการเข้าถึงอาหารที่ 83.7 คะแนน แต่ประเด็นคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารกลับอ่อนแอสุดที่ 45.3 คะแนน หมายความว่า ทุกครัวเรือนสามารถเข้าถึงอาหารได้ แต่อาหารนั้นยังไม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีพอ อีกกำลังเจอปัญหาการบริหารจัดการน้ำไม่มีประสิทธิภาพและความไม่พร้อมเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการเกษตรและการผลิตหยุดชะงักลงได้ ถือเป็นความเสี่ยงต่อการผลิตอาหารในระยะยาว 

 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก&โลกรวนในไทย

 

จากข้อมูลทาง UNDP Thailand ระบุว่า ระยะ 22 ปี ตั้งแต่ปี 2543-2565 ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก จาก 245,899.56 กิกะกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เพิ่มขึ้นเป็น 372,648.77 กิกะกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.34 % ต่อปี หรือเท่ากับจำนวนก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ทั้งหมด 81 ล้านคัน โดยภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือ ภาคพลังงาน 65.89 % ส่วนภาคเกษตรกรรมนั้นเป็นอันดับสอง 17.86 % จากกิจกรรม เช่น การเผาไร่ การปลูกข้าว การเลี้ยงสัตว์ รองลงมาคือ ภาคอุตสาหกรรม 10.50 % และ ภาคของเสีย 5.75 % 

 

และตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดในหลายมิติ อุณหภูมิเฉลี่ยในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2554-2564 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 0.09 องศาเซลเซียส และ ปริมาณน้ำฝนก็มีความผันผวนรุนแรงมากขึ้น โดยปี 2562 ฝนตกในไทยน้อยที่สุดในรอบ 40 ปี และในปี 2560 ปริมาณน้ำฝนรายปีกลับมีปริมาณสูงสุดนับแต่มีการบันทึกเมื่อปี 2494 

 

นอกจากนี้ สภาพภูมิอากาศในประเทศไทยยังเผชิญความแปรปรวน เช่น จำนวนวันที่ร้อนเกิน 35 องศาเซลเซียส เพิ่มจาก 1.9 วัน ในปี 2493 เป็น 49.43 วัน ในปี 2563 อีกทั้งจำนวนวันที่ฝนตกติดต่อกันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนสะสมสูงสุดใน 5 วันของแต่ละช่วงเวลาก็มีความแปรปรวนมากขึ้นจากอดีต และอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติอย่างต่อเนื่อง

 

โลกรวนทำผลผลิต เกษตร-ปศุสัตว์-ประมง ลด

 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ย่อมส่งผลกระทบรอบด้านทั้งต่อการเพาะปลูก ปศุสัตว์ และการประมง เพราะต่างต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศ 

 

โลกรวนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก เกษตรกรเผชิญภัยแล้ง น้ำท่วม และสภาพอากาศแปรปรวน

 

ที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อภาคการเกษตรจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแง่งบประมาณรัฐ ตั้งแต่ปี 2551-2564 ภาครัฐช่วยเหลือเฉลี่ย 8,182 ล้านบาทต่อปี โดยปี 2553 และ 2554 คือปีที่ภาครัฐให้เงินช่วยเหลือภัยพิบัติด้านเกษตรสูงสุดที่ 21,685 และ 33,764 ล้านบาท ตามลำดับ อีกทั้งมีการประเมินต้นทุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ที่ 14,000 ล้านบาท ซึ่งจะกระทบเชิงเศรษฐกิจจากผลผลิตต่อไร่ที่เปลี่ยนแปลงจะมีมูลค่าความเสียหาย 1,800-3,000 ล้านบาท 

 

พร้อมกับคาดว่า มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจของภาคเกษตรกรไทยตั้งแต่ 2554/2555 ถึง 2584-2593 จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ระหว่าง 18,000 ถึง 84,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการคาดการณ์ทั้งย้อนหลังและล่วงหน้าประมาณ 40 ปี (2553-2593) ได้แก่ 

 

 

 

ตั้งการ์ดลดก๊าซเรือนกระจก & เสริมความมั่นคงทางอาหาร

 

ถึงเวลาต้องเร่งร่วมมือกันทุกส่วนเพื่อช่วยให้โลกนี้น่าอยู่และมีความมั่นคงทางอาหาร เพราะเชื่อแน่ว่า ถ้าเกิดวิกฤตใดๆ ขึ้นมา แหล่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติหรือแหล่งอาหารย่อมจะเป็นที่ปลอดภัยที่ดีของประชากรทั้งในประเทศและโลก 

 

  1. เร่งการวิจัยและพัฒนา นำนวัตกรรมเข้าไปช่วยในการผลิตมากขึ้น ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและรายย่อย พร้อมมีหน่วยงานสนับสนุนเงินทุนการวิจัย

 

  1. ถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีเข้าไปสู่การผลิตต้นทางแก่เกษตรกรเพื่อช่วยประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และต้นทุนการผลิต เช่น การทำสมาร์ท ฟาร์มเมอร์หรือทำระบบควบคุมแบบอัตโนมัติเพิ่มปริมาณออกซิเจนกับการเพาะสัตว์น้ำ

 

  1. สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนทุกห่วงโซ่การผลิตเพื่อสร้างฐานความมั่นคงทางอาหารตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ 

 

  1. ศึกษาและพัฒนาเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นทนทานต่อโรคของผลผลิตทางการเกษตร พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงสุดขั้ว

 

  1. อย่าปล่อยให้บทเรียนภัยธรรมชาติที่มีแต่จะขึ้นบ่อยและรุนแรงมากขึ้นผ่านไปโดยไม่เกิดการเรียนรู้ เช่น วางแผนและทบทวนการปฏิบัติเพื่อรองรับกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ และแผ่นดินไหว

 

  1. สนับสนุนให้เอกชนทั้งรายใหญ่และรายเล็ก ปรับตัวตลอดห่วงโซ่การทำธุรกิจเพื่อปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง 

 

  1. ภาคชุมชนควรให้เกิดการผลักดันหรือสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างคลังอาหารด้วยตัวเองง่ายๆ ภายในครัวเรือน เช่น การสอนหรือแนะนำวิธีการทำสวนครัวแบบแนวตั้ง การปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ขนาดเล็กภายในที่อยู่อาศัย 

 

  1. สร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำงานหรือการถ่ายทอดเรื่องราวซึ่งกันและกันของคนรุ่นก่อนและรุ่นปัจจุบัน เพื่อให้เกิดคลังอาหารที่มั่นคงได้ในระยะยาว 

 

  1. เอาจริงกับบทลงโทษของผู้ที่ไม่รู้จักรับผิดชอบทางสังคมและทำลายระบบนิเวศพื้นที่สาธารณะ เช่น บุกรุกพื้นที่ป่าด้วยการเผา การออกเอกสารสิทธิ์ให้เป็นที่ของตัวเอง โรงงานหรือโรงแรมที่ปล่อยน้ำเสียโดยไม่ผ่านการบำบัด

 

  1. เริ่มที่ตัวเราตั้งแต่ปรับ Mindset และเริ่มช่วยโลกจากการสร้างจิตสำนึกด้วยตัวเอง ตั้งแต่กินอาหารแต่พอดี เรียนรู้ที่จะกำจัดเศษอาหารให้เกิดเป็นวงจรที่ดีต่อโลก แยกขยะ ไม่ใช่พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

 

เมื่อเหตุการณ์หลายอย่างบนโลกขณะนี้เหมือนส่งสัญญาณให้เราต้องพร้อมเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ที่จะเผชิญเหตุมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ การถามตัวเองว่า วันนี้เราเริ่มสตาร์ทช่วยโลกแล้วหรือยัง เพราะถ้าโลกเพี้ยนเราก็จะแย่ตามไปด้วยอย่างแน่นอน

 

ภาพ: Anton Petrus / Getty Images

อ้างอิง: 

The post เมื่อความมั่นคงทางอาหารโลก ‘ยังสั่นคลอน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Stress Eating: ทำไมเครียดแล้วกินแหลก (และวิธีหยุดวงจรนี้) https://thestandard.co/life/stress-eating-causes-solutions Wed, 19 Mar 2025 08:14:56 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1053902 ภาพประกอบแสดงความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดและพฤติกรรมการกินอาหารที่ให้พลังงานสูง

เคยสังเกตไหมว่าเมื่อไรที่เครียด มือเราจะคว้าหาของกินโดย […]

The post Stress Eating: ทำไมเครียดแล้วกินแหลก (และวิธีหยุดวงจรนี้) appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาพประกอบแสดงความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดและพฤติกรรมการกินอาหารที่ให้พลังงานสูง

เคยสังเกตไหมว่าเมื่อไรที่เครียด มือเราจะคว้าหาของกินโดยอัตโนมัติ? โดยเฉพาะอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง นี่ไม่ใช่ความอ่อนแอทางใจ แต่เป็นกลไกการป้องกันตัวของร่างกายต่างหาก นักประสาทวิทยาพบว่า สมองของเราถูกตั้งโปรแกรมให้แสวงหาอาหารที่ให้พลังงานสูงเมื่อรู้สึกเครียด เพราะในอดีตความเครียดมักมาพร้อมกับการต้องใช้พลังงานมหาศาลนั่นเอง

 

เมื่อเรากินตามอารมณ์ สมองจะหลั่งสารโดพามีนและเซโรโทนิน ช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว แต่เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดตกลงอย่างรวดเร็ว (Sugar Crash) เราจะรู้สึกแย่กว่าเดิม กลายเป็นวงจรที่ทำให้เรากินมากขึ้นและเครียดหนักขึ้นไปอีก แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ได้โดยไม่ต้องทรมานตัวเองเลย

 

เข้าใจกลไก Stress Eating

 

Stress Eating ไม่ใช่แค่เรื่องของความอ่อนแอทางใจหรือขาดวินัย แต่มีรากฐานมาจากชีววิทยาและการอยู่รอดของมนุษย์ คือพอเราเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งกระตุ้นความหิวและทำให้เราอยากกินอาหารที่มีแคลอรีสูง โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตและไขมัน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน นี่คือระบบป้องกันตัวที่ถูกออกแบบมาเพื่อการอยู่รอดในสมัยก่อน

 

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า 80% ของคนเมืองมีพฤติกรรมกินตามอารมณ์ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเครียดจากการทำงาน การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าอาหารแปรรูปสูง (Ultra-Processed Food) ไม่เพียงแต่เพิ่มน้ำหนักแต่ยังส่งผลต่อระบบประสาทและฮอร์โมน ทำให้เกิดวงจรเครียด-กิน-เครียดมากขึ้น-กินมากขึ้น ที่ยากจะหลุดออกมา

 

อาหารที่ทำให้ความเครียดหนักขึ้น

 

  1. อาหารที่มีน้ำตาลสูง ขนมหวาน เบเกอรี และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก ให้ความสุขชั่วครู่แต่นำไปสู่ Sugar Crash ที่ทำให้อารมณ์แย่ลงและเพิ่มความเครียด

  2. คาเฟอีนมากเกินไป ถึงแม้กาแฟจะช่วยให้ตื่นตัว แต่การดื่มมากเกินไปจะกระตุ้นการหลั่งคอร์ติซอล ทำให้หัวใจเต้นเร็ว วิตกกังวล และนอนไม่หลับ ซึ่งล้วนเพิ่มความเครียด

  3. อาหารแปรรูปสูง ขนมกรุบกรอบ อาหารจานด่วน อาหารแช่แข็งสำเร็จรูป มักมีไขมันทรานส์ สารเคมี และโซเดียมสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตในระยะยาว

  4. แอลกอฮอล์ ถึงจะรู้สึกผ่อนคลายในตอนแรก แต่แอลกอฮอล์เป็นสารกดประสาทที่รบกวนการหลับ ทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่ และเพิ่มความเครียดในวันถัดไป

 

เทคนิคแก้ Stress Eating โดยไม่ต้องอด

 

  1. Mindful Eating ฝึกกินอย่างมีสติ สังเกตความรู้สึกหิวและอิ่มที่แท้จริง แยกแยะระหว่างความหิวทางกายและความหิวทางใจ ลองถามตัวเองว่า “ฉันหิวจริงๆ หรือแค่เครียด/เบื่อ/เศร้า?”

  2. เตรียมอาหารทางเลือกไว้บรรเทา แทนที่จะห้ามตัวเองกินโดยสิ้นเชิง ลองเตรียมอาหารที่กินแล้วรู้สึกดีไว้ให้พร้อม เช่น ผลไม้สด ถั่ว โยเกิร์ตธรรมชาติ หรือดาร์กช็อกโกแลต ช่วยตอบสนองความอยากโดยไม่ทำร้ายร่างกาย

  3. สร้างกิจกรรมทดแทนเมื่อเครียด หากิจกรรมที่ช่วยลดความเครียดแทนการกิน เช่น เดินสั้นๆ 5 นาที ฝึกหายใจลึกๆ เขียนบันทึก หรือคุยกับเพื่อน การเปลี่ยนเส้นทางความเครียดไปสู่กิจกรรมอื่น จะช่วยตัดวงจร Stress Eating ได้

  4. ปรับสภาพแวดล้อม จัดบ้านหรือที่ทำงานให้ห่างไกลจากสิ่งยั่วยุ เก็บขนมหรืออาหารขยะให้พ้นสายตา แต่วางผลไม้หรือถั่วไว้ใกล้มือ การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมจะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมโดยอัตโนมัติ

  5. ขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ถ้าพบว่า Stress Eating กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ควบคุมไม่ได้ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักโภชนาการหรือนักจิตวิทยา อาจเป็นทางออกที่ดีที่สุด บางครั้งความเครียดที่รุนแรงต้องการการดูแลเฉพาะทาง

The post Stress Eating: ทำไมเครียดแล้วกินแหลก (และวิธีหยุดวงจรนี้) appeared first on THE STANDARD.

]]>
สงกรานต์นี้เงินสะพัด! TikTok เผย นักช้อปพร้อมเปย์ บิวตี้-อาหาร-เที่ยว แบรนด์ต้องสร้างคอนเทนต์โดนใจ ใช้ครีเอเตอร์ให้เป็น https://thestandard.co/tiktok-songkran-spending-2025/ Mon, 17 Mar 2025 13:23:26 +0000 https://thestandard.co/?p=1053285 TikTok สงกรานต์ การใช้จ่าย: ภาพแสดงกลุ่มคนรุ่นใหม่ใช้สมาร์ทโฟนดูคอนเทนต์บน TikTok เพื่อช้อปปิ้งสินค้าเทศกาลสงกรานต์และซัมเมอร์

สงกรานต์และซัมเมอร์ 2025 กำลังจะมาถึง และข่าวดีสำหรับแบ […]

The post สงกรานต์นี้เงินสะพัด! TikTok เผย นักช้อปพร้อมเปย์ บิวตี้-อาหาร-เที่ยว แบรนด์ต้องสร้างคอนเทนต์โดนใจ ใช้ครีเอเตอร์ให้เป็น appeared first on THE STANDARD.

]]>
TikTok สงกรานต์ การใช้จ่าย: ภาพแสดงกลุ่มคนรุ่นใหม่ใช้สมาร์ทโฟนดูคอนเทนต์บน TikTok เพื่อช้อปปิ้งสินค้าเทศกาลสงกรานต์และซัมเมอร์

สงกรานต์และซัมเมอร์ 2025 กำลังจะมาถึง และข่าวดีสำหรับแบรนด์คือ ผู้บริโภคพร้อมควักกระเป๋ามากกว่าที่คิด! TikTok ประเทศไทย เพิ่งเปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคล่าสุดพร้อมกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์ไม่ควรพลาด เพื่อช่วยให้แบรนด์สามารถวางแผนการตลาดและการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงเทศกาลแห่งความสุขนี้

 

ข้อมูลจาก Kantar ชี้ว่า 63% ของผู้ใช้ TikTok ใช้เวลาบนแพลตฟอร์มมากขึ้นในช่วงสงกรานต์ และที่น่าสนใจกว่าคือ 98% วางแผนที่จะใช้จ่ายเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม นับเป็นโอกาสทองสำหรับแบรนด์ทุกขนาดที่จะปักธงเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังรอคอยการจับจ่ายในช่วงเทศกาล

 

สิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing, TikTok Thailand กล่าวว่า “สงกรานต์และซัมเมอร์ที่กำลังจะถึงนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้บริโภคพร้อมที่จะใช้จ่ายมากขึ้น จึงเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ในการสร้างการรับรู้และความชื่นชอบในแบรนด์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และสร้างการมีส่วนร่วมที่แข็งแกร่งขึ้น”

 

ผู้ใช้งาน TikTok มีพฤติกรรมการดูคอนเทนต์ในช่วงสงกรานต์และซัมเมอร์อย่างไร? ผลสำรวจพบว่า พวกเขามักใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่ออัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นร่วมสมัยผสมวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ หรือเมนูอาหารและร้านเด็ดไวรัล 

 

รวมถึงหาแรงบันดาลใจในการท่องเที่ยวผ่านรีวิวจากครีเอเตอร์ แพ็กเกจท่องเที่ยว และโปรโมชันพิเศษที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังนิยมเลือกชมสินค้าคอลเล็กชันใหม่ๆ ตามเทศกาล โดยเฉพาะสกินแคร์และเครื่องดื่มลิมิเต็ดเอดิชัน ตลอดจนค้นหาไอเดียและติดตามเทรนด์ความงามและแฟชั่น เช่น เทคนิคการแต่งหน้าหน้าร้อน หรือสไตล์การแต่งตัวให้เหมาะกับกิจกรรมต่างๆ

 

หลังจากดูคอนเทนต์แล้ว ผู้ใช้ TikTok มักจะดำเนินการต่อโดย 70% มองหาโปรโมชันหรือส่วนลด เพื่อค้นหาข้อเสนอที่ดีที่สุด ขณะที่ 64% ค้นหารีวิวและคำแนะนำผลิตภัณฑ์เพื่อชมประสบการณ์ใช้งานจริง และอีก 52% ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกก่อนตัดสินใจควักกระเป๋าซื้อสินค้า

 

ที่น่าสนใจคือ 58% ของผู้ใช้ TikTok วางแผนที่จะซื้อสินค้าในช่วงเวลานี้ผ่าน TikTok Shop นั่นหมายความว่าแบรนด์ที่มีเนื้อหาน่าสนใจบนแพลตฟอร์มสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อได้โดยตรง

 

ข้อมูลจาก TikTok ยังเผยให้เห็นว่า สินค้ายอดนิยม 5 อันดับแรกที่ผู้ใช้ TikTok มักซื้อก่อนและระหว่างช่วงสงกรานต์ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มบรรจุกล่อง ตามมาด้วยบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและการท่องเที่ยว อันดับที่ 3 คือสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนผสมและเครื่องปรุงต่างๆ 

 

ตามด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับในอันดับที่ 4 และปิดท้ายด้วยเครื่องสำอาง ครีมกันแดดและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทางและกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเทศกาลและฤดูร้อน

 

การสำรวจยังได้เจาะลึกลงไปในสามกลุ่มธุรกิจที่มาแรงในช่วงสงกรานต์และซัมเมอร์บน TikTok เริ่มจากกลุ่มความงามและสกินแคร์ พบว่า 96% ของผู้ใช้ตั้งใจจะใช้จ่ายเท่าเดิมหรือมากขึ้นสำหรับสินค้าความงามในช่วงเทศกาลนี้ 

 

โดยกลุ่ม ‘อายุ 25-34 ปี’ เป็นกลุ่มที่มีการจับจ่ายสูงสุด มากกว่า 50% วางแผนใช้จ่ายเกิน 3,400 บาท และที่น่าสนใจคือผู้ใช้มากกว่า 90% พร้อมทดลองแบรนด์และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นับเป็นโอกาสทองสำหรับแบรนด์ที่ต้องการแนะนำนวัตกรรมใหม่

 

ในส่วนของกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ใช้ TikTok วางงบประมาณสำหรับการจับจ่ายในหมวดนี้สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ TikTok ถึง 25% โดยกลุ่มอายุ 25-34 ปี มีแผนการใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 4,200 บาทต่อคน และมีความตั้งใจอย่างเห็นได้ชัดในการค้นหาและทดลองแบรนด์ใหม่ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปิดรับประสบการณ์แปลกใหม่มากขึ้น

 

สำหรับกลุ่มการท่องเที่ยวซึ่งเป็นธุรกิจที่เฟื่องฟูในช่วงสงกรานต์ พบว่ามากกว่า 90% ของผู้ใช้ TikTok วางแผนท่องเที่ยวเป็นกลุ่มใหญ่กับครอบครัวหรือเพื่อน โดยกลุ่มอายุ 25-34 ปี ยังคงเป็นผู้นำเทรนด์การท่องเที่ยวและเป็นนักเดินทางที่แอ็กทีฟที่สุด สังเกตได้จาก 37% วางแผนท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ 

 

โดยผู้ใช้ TikTok มีแนวโน้มใช้เวลาประมาณ 3-6 วันในการเดินทางช่วงเทศกาล และส่วนใหญ่เตรียมงบประมาณไว้ใช้จ่ายราว 17,000-34,000 บาท นับเป็นตัวเลขที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

 

TikTok ไม่เพียงแต่แบ่งปันอินไซต์ผู้บริโภคที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ยังมีเคล็ดลับสำคัญสำหรับแบรนด์ในการพัฒนาคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ เพื่อสร้างความรักในแบรนด์และพิชิตใจลูกค้า

 

เรื่องแรกการใช้พลังจากครีเอเตอร์ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม ข้อมูลจาก TikTok พบว่า หลังจากเห็นวิดีโอจากครีเอเตอร์ 55% ของผู้ใช้รู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น 56% ได้รับแรงบันดาลใจให้ลองใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่

 

และอีก 1 ใน 3 ของผู้ใช้ TikTok ค้นหาแบรนด์อย่างตั้งใจอีกด้วย ตัวเลขเหล่านี้ชี้ว่าครีเอเตอร์ไม่เพียงแต่สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ แต่ยังสามารถสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ในสายตาผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจคือการเพิ่มการไลฟ์เป็นทางเลือก ซึ่งพบว่า 95% ของผู้ใช้ TikTok สนใจดู Livestream หรือ Live Shopping ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และซัมเมอร์ โดยมี 3 ปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้ผู้ชมตัดสินใจซื้อสินค้าระหว่างรับชมไลฟ์ ได้แก่ โปรโมชันที่น่าดึงดูดและคุ้มค่า คุณภาพของสินค้าหรือบริการที่ดีเยี่ยม และที่ขาดไม่ได้คือ Host ที่มีความน่าเชื่อถือและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นจริง 

 

ทั้งนี้ การไลฟ์นอกจากจะช่วยกระตุ้นยอดขายแล้ว ยังเป็นช่องทางที่ช่วยให้แบรนด์สามารถโต้ตอบกับลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

 

ภาพ: Lam Yik / Reuters

The post สงกรานต์นี้เงินสะพัด! TikTok เผย นักช้อปพร้อมเปย์ บิวตี้-อาหาร-เที่ยว แบรนด์ต้องสร้างคอนเทนต์โดนใจ ใช้ครีเอเตอร์ให้เป็น appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับตาโจทย์ใหญ่และความท้าทายครั้งใหม่ของกลุ่มธุรกิจ TCP เมื่อองค์ความรู้และเทคนิควิศวกรรมขั้นสูงจากการพัฒนาอุปกรณ์ดาราศาสตร์จะถูกนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/tcp-business-challenges-innovation/ Fri, 07 Feb 2025 07:00:07 +0000 https://thestandard.co/?p=1039046

องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิควิศวกรรมศาสตร์ขั้นสู […]

The post จับตาโจทย์ใหญ่และความท้าทายครั้งใหม่ของกลุ่มธุรกิจ TCP เมื่อองค์ความรู้และเทคนิควิศวกรรมขั้นสูงจากการพัฒนาอุปกรณ์ดาราศาสตร์จะถูกนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิควิศวกรรมศาสตร์ขั้นสูงจากการพัฒนาอุปกรณ์ดาราศาสตร์ จะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างไร?

 

สำหรับกลุ่มธุรกิจ TCP นี่ไม่ใช่คำถามแต่คือ ‘โจทย์’ ใหญ่และความท้าทายครั้งใหม่ ในฐานะองค์กรที่มุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการ ‘ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า’ จึงมุ่งเน้นด้านการคิดค้นและมองหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาด้านอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย ตอกย้ำความเป็น ‘House of Great Brands’ ตลอด 6 ทศวรรษ

 

 

การผนึกกำลังระหว่างกลุ่มธุรกิจ TCP และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีขั้นสูง และนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของประเทศ ยกระดับมาตรฐานและกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ระดับสากล

 

สราวุฒิ อยู่วิทยา

 

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “นับเป็นก้าวสำคัญและความท้าทายครั้งใหม่ของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของประเทศ ผ่านการนำเทคโนโลยีขั้นสูงจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติมาปรับใช้ในโรงงานของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่จังหวัดปราจีนบุรี เพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธุรกิจ TCP พัฒนาขีดความสามารถในด้านเทคโนโลยีการผลิตของบุคลากรภายใน เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ จากต่างประเทศ ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน รวมไปถึงพัฒนาขีดความสามารถในด้านเทคโนโลยีการผลิตของบุคลากรภายใน ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการพัฒนาบุคลากรร่วมกันอีกด้วย”

 

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา

 

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT) เผยว่า “การถ่ายทอดองค์ความรู้ในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิควิศวกรรมศาสตร์ขั้นสูงจากการพัฒนาอุปกรณ์ดาราศาสตร์ เพื่อผลักดันให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย สอดคล้องไปกับเจตนารมณ์ของ NARIT ที่ต้องการผลักดันนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล”

 

TCP และ NARIT

 

ที่สำคัญ การจับมือปลุกพลังความยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจ TCP และ NARIT ครั้งนี้จะผลักดันภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยให้เติบโตในเวทีโลกอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่มุ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอดด้วยเช่นกัน

The post จับตาโจทย์ใหญ่และความท้าทายครั้งใหม่ของกลุ่มธุรกิจ TCP เมื่อองค์ความรู้และเทคนิควิศวกรรมขั้นสูงจากการพัฒนาอุปกรณ์ดาราศาสตร์จะถูกนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดใจเจ้าของ ‘ลัคกี้ สุกี้’ ใช้เวลา 3 ปี กวาดยอดขายแตะ 1,000 ล้านบาท โตเร็วจนนักลงทุนรายใหญ่รุมจีบ https://thestandard.co/lucky-suki-billion-success-story/ Wed, 29 Jan 2025 03:08:23 +0000 https://thestandard.co/?p=1035607 รสรินทร์ ติยะวราพรรณ เจ้าของลัคกี้สุกี้ เปิดเผยความสำเร็จธุรกิจ

เปิดใจเจ้าของ ‘ลัคกี้ สุกี้’ ที่ไม่เคยทำธุรกิจอาหารมาก่ […]

The post เปิดใจเจ้าของ ‘ลัคกี้ สุกี้’ ใช้เวลา 3 ปี กวาดยอดขายแตะ 1,000 ล้านบาท โตเร็วจนนักลงทุนรายใหญ่รุมจีบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รสรินทร์ ติยะวราพรรณ เจ้าของลัคกี้สุกี้ เปิดเผยความสำเร็จธุรกิจ

เปิดใจเจ้าของ ‘ลัคกี้ สุกี้’ ที่ไม่เคยทำธุรกิจอาหารมาก่อน ใช้เวลา 3 ปีขยายร้านมากกว่า 20 สาขา กวาดยอดขายแตะ 1,000 ล้านบาท จนนักลงทุนรายใหญ่รุมจีบ พร้อมย้ำว่าอนาคตจะต้องมีพาร์ตเนอร์ช่วยนำแบรนด์เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

 

รสรินทร์ ติยะวราพรรณ กรรมการบริหาร บริษัท มิราเคิล แพลนเนท จำกัด ฉายภาพว่า ก่อนที่จะมาทำแบรนด์ลัคกี้ สุกี้ หุ้นส่วนทุกคนไม่เคยมีประสบการณ์การทำธุรกิจอาหารมาก่อน แต่มีเป้าหมายอยากลงทุนทำธุรกิจร่วมกัน และทุกคนต่างหลงใหลในการกินอาหาร จึงมองไปในทิศทางเดียวกันว่าตลาดชาบูและสุกี้ยังมีช่องว่างและโอกาสที่จะสร้างการเติบโต เพราะในวันนี้รู้แล้วว่าชาบูและสุกี้ไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นอาหารที่ผู้คนกินได้บ่อย ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่สดใสมากนัก ทำให้คนระมัดระวังการใช้จ่าย และเน้นจ่ายกับสิ่งที่คุ้มค่าให้กับตัวเอง

 

ด้วยแนวคิดดังกล่าว กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดร้านลัคกี้ สุกี้ ที่แปลตรงตัวว่า ‘โชคดี’ สาขาแรกในช่วงเดือนมกราคมที่อ่อนนุช เป็นร้านให้บริการรูปแบบบุฟเฟต์ ราคา 219 บาทต่อคน เปิดถึงตี 2 ของทุกวัน ต้องยอมรับว่าการเปิดร้านช่วงแรกๆ เจอปัญหาหลายอย่าง ทางทีมผู้บริหารพยายามเรียนรู้จากลูกค้าและนำมาปรับ

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ใช้เวลาอยู่ประมาณ 8 เดือน ถึงเริ่มขยายมาเปิดสาขาที่ 2 ช่วงนั้นการหาโลเคชันยากมาก เพราะแบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด ในวันที่เข้าไปติดต่อขอเช่าพื้นที่ 500 ตารางเมตร เจ้าของพื้นที่เช่ายังไม่รู้ว่าเราเป็นใคร ทุกคนปฏิเสธเราหมด จนถึงวันนี้ชื่อแบรนด์เริ่มติดตลาดแล้ว จึงเริ่มขยายสาขาอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันลัคกี้ สุกี้ มีทั้งหมด 15 สาขา ส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

 

ในช่วงเวลาเดียวกันก็เปิดแบรนด์ใหม่ชื่อ ‘ลัคกี้ บาร์บีคิว’ เป็นร้านสไตล์ปิ้งย่างยากินิกุ โดยการบริหารร้านใช้แนวคิดแบบเดียวกับสุกี้ คือคุ้มค่าและเป็นทางเลือกใหม่ มีราคาเริ่มต้น 299 บาท สูงกว่าร้านลัคกี้ ชาบู ประมาณ 50-60 บาท ปัจจุบันเปิดไปแล้ว 5 สาขา

 

เรียกได้ว่าภาพรวมของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว จนถึงวันนี้ครบรอบ 3 ปี มีรายได้แตะ 1,000 ล้านบาท ในปีนี้ตั้งเป้าจะขยายสาขาเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 16-20 สาขา ทั้งลัคกี้ สุกี้ และลัคกี้ บาร์บีคิว โดยสาขาที่เปิดใหม่จะเน้นเปิดในคอมมูนิตี้ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่มีศักยภาพและต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็น Real Target ได้อย่างครอบคลุม

 

รสรินทร์ หนึ่งในหุ้นส่วนของแบรนด์กล่าวต่อว่า การขยายสาขาจำนวนมากนั้นไม่ง่าย โดยเฉพาะการควบคุมมาตรฐานอาหารให้ได้เท่ากันหมด แม้ในวันที่ต้นทุนวัตถุดิบจะสูงขึ้นก็ตาม และอีกสิ่งที่ต้องเจอคือตลาดสุกี้ในประเทศไทยที่มีมูลค่าประมาณ 23,000-25,000 ล้านบาท ท้าทายมากขึ้นจากการแข่งขันที่ดุเดือด และคาดว่าจะยิ่งรุนแรงขึ้นทุกปี

 

ดังนั้นในปี 2025 จึงใช้กลยุทธ์เปิดตัว THEMATIC Campaign ‘รักเธอไม่มีหมด’ มุ่งสร้างประสบการณ์ในร้าน ควบคู่กับนำเสนอเมนูและวัตถุดิบ และใช้ระบบ CRM ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดจะช่วยให้แบรนด์รักษาฐานลูกค้าเก่าและเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ โดยเป้าหมายของบริษัทต้องการเติบโตเป็นเท่าตัว ทั้งในแง่ของสาขาและยอดขาย

 

อีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ในอนาคต คือการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะอีกนานแค่ไหน แต่ก็ต้องบอกว่าเมื่อบริษัททำรายได้ถึง 1,000 ล้าน ทำให้มีนักลงทุนรายใหญ่ๆ สนใจที่จะเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์กับเรา ซึ่งพาร์ตเนอร์ที่จะเข้ามาเราจะไม่เลือกมองที่เม็ดเงินอย่างเดียว แต่ต้องมีแพสชันและกลยุทธ์สอดรับกับแผนงานของบริษัท ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์วิ่งไปได้ไกลกว่าเดิม

The post เปิดใจเจ้าของ ‘ลัคกี้ สุกี้’ ใช้เวลา 3 ปี กวาดยอดขายแตะ 1,000 ล้านบาท โตเร็วจนนักลงทุนรายใหญ่รุมจีบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
10 Food Trends in 2025 เทรนด์อาหารที่เราคิดว่า ‘มันต้องมาแรง!’ https://thestandard.co/life/food-trends-2025 Tue, 07 Jan 2025 00:00:50 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1027257 10 food trends 2025

ในปีนี้จะมีอะไรน่าจับตาดู (เดา) มากไปกว่าเทรนด์อาหารและ […]

The post 10 Food Trends in 2025 เทรนด์อาหารที่เราคิดว่า ‘มันต้องมาแรง!’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
10 food trends 2025

ในปีนี้จะมีอะไรน่าจับตาดู (เดา) มากไปกว่าเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่จะมาแรงอีก เพราะเราเชื่อว่าวงการอาหารและเครื่องดื่มก็ไม่ต่างจากวงการแฟชั่นที่จะเปลี่ยนเทรนด์ยอดนิยมไปเรื่อยๆ ทุกปี จึงเป็นเรื่องน่าสนุกที่พวกเราจะมาเดากันว่าในปี 2025 นักดื่มและนักชิมจะให้ความสนใจกับอาหารและเครื่องดื่มในรูปแบบใดบ้าง

 

เพราะฉะนั้น เชิญทุกคนพบกับ 10 Food Trends in 2025 เทรนด์อาหารที่เราคิดว่า ‘มันต้องมาแรง!’

 

วัตถุดิบจากน้ำ / ท้องทะเล จะกลายเป็นอาหารใหม่ๆ

 

  1. วัตถุดิบจากน้ำ / ท้องทะเล จะกลายเป็นอาหารใหม่ๆ 

 

เราเชื่อว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับหลายๆ คนอย่างแน่นอน ทว่าในอนาคตที่กำลังมาถึง ทุกคนจะได้เห็นอาหารใหม่ๆ ที่ใช้วัตถุดิบจากแหล่งน้ำมากขึ้น อาจเป็นจำพวกสาหร่าย จอกแหน หรือพืชน้ำชนิดต่างๆ ที่มีประโยชน์มากกว่าหรือเท่ากับอาหารที่พวกเรากินอยู่ในทุกๆ วัน เช่น ‘ไข่ผำ’ ที่เริ่มเห็นหลายร้านอาหารนำมาใช้ ทั้งในอาหาร ขนม หรือทำเป็นโปรตีนจากพืช หรือ ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดใหม่ที่มีโปรตีนสูง และเชื่อว่าจะต้องกลายเป็นอาหารแห่งโลกอนาคตเช่นกัน

 

ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่ผู้คนเริ่มหันมาวิจัยและใช้พืชน้ำเหล่านี้ในอาหารมากขึ้นก็อาจเพราะเลี้ยงง่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะปล่อยคาร์บอนน้อย แต่ได้ผลผลิตมากในครั้งเดียว ซึ่งเหมาะกับโลกยุคปัจจุบันที่มีประชากรเยอะ ตรงข้ามกับปริมาณอาหาร 

 

อีกทั้งพืชเหล่านี้ยังมาจากธรรมชาติ สามารถกลายเป็นซูเปอร์ฟู้ดได้ และน่ากินมากกว่าอาหารจากห้องทดลองด้วย

 

ติดแกลมแบบ (งบ) เอื้อมถึง

 

  1. ติดแกลมแบบ (งบ) เอื้อมถึง

 

แน่นอนว่าร้านอาหารหรูหราต่างๆ จะยังคงมีลูกค้านึกถึงอย่างแน่นอน เพราะใครๆ ก็อยากกินอาหารดีๆ ในบรรยากาศพิเศษๆ แต่ในปี 2025 คนส่วนใหญ่จะหันมาเลือกร้านอาหารสไตล์แคชวลที่ตกแต่งดูดี มีคอนเซปต์ รวมถึงมาพร้อมเมนูอาหารที่รสชาติน่าพอใจและหน้าตาสวยงามไม่แพ้ร้านหรูหราราคาแพง เช่น Luigi, rose and ray, Kasnas, BIRDIES Bangkok และ AMI Brunch & Bubbles 

 

หลายคนจึงเลือกที่จะหันมาติดแกลมด้วยการเช็กอินร้านอาหารเหล่านี้แทน เนื่องจากได้ทั้งบรรยากาศและคอนเทนต์ไม่ต่างกัน ทว่ามาในราคาที่จ่ายน้อยลงกว่าครึ่ง และไปได้บ่อยกว่าร้านอาหารหรูๆ ที่อาจต้องเก็บเงินทั้งเดือนเพื่อจองโต๊ะสำหรับอีก 2-3 เดือนถัดไปด้วย

 

ค็อกเทลใช้ส่วนผสมโลคัล

 

  1. ค็อกเทลที่หยิบของโลคัลมาใช้

 

นี่อาจเป็นสิ่งที่น่าเฝ้ารอที่สุดก็ได้ เพราะทุกคนจะได้รู้จักสปิริตท้องถิ่นใหม่ๆ ของประเทศไทยที่หลายบาร์หยิบมาใช้กันมากขึ้น เนื่องจากบาร์เทนเดอร์หลายคนเริ่มหันมาทำงานร่วมกับชุมชนและชาวบ้านเพื่อผลักดันของคนไทยกันเอง อีกทั้งบางทีสิ่งเหล่านี้ยังแสดงเอกลักษณ์ของบาร์ในประเทศไทยให้คนทั่วโลกได้เห็นชัดขึ้น หรือโชว์ความเป็นตัวเองของบาร์เทนเดอร์คนนั้นๆ ได้ดีกว่าด้วย เช่น Mahaniyom Cocktail Bar, Opium Bar และ CLUB SALVA

 

และอาจไม่ใช่แค่สปิริตท้องถิ่นอย่างเดียวเท่านั้น พวกเราอาจได้เห็น ได้ชิมวัตถุดิบโลคัลอื่นๆ เช่น ผลไม้หรืออาหารทะเลจากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทยอยู่ในเครื่องดื่มอีกเช่นกัน

 

สูตรอาหาร / เครื่องดื่มโดย AI

 

  1. สูตรอาหาร / เครื่องดื่มโดย AI

 

อย่างที่ทุกคนรู้ว่าตอนนี้ Artificial Intelligence หรือ AI ค่อยๆ คืบคลานเข้ามาในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นทุกที จนบางครั้งพวกเราก็เริ่มเคยชินกับการพึ่งพาเจ้าสิ่งไม่มีชีวิตที่แสนฉลาดสิ่งนี้ไปแล้ว และเชื่อไหมว่าสิ่งต่อไปที่คนในวงการ F&B (Food & Beverage) จะเริ่มหันมาพึ่ง AI บ้างก็คือการช่วยคิดค้นสูตรอาหารและเครื่องดื่มใหม่ๆ…หรือบางทีอาจแปลกๆ เพราะหากให้มนุษย์คิดก็อาจคิดไม่ถึง

 

และถ้าหากสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง เราเชื่อว่าพวกเราจะได้เห็นเมนูสนุกๆ ผุดขึ้นมามากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นเรื่องท้าทายคนในวงการอาหารที่ต้องใช้สมองคิดสูตรอาหารและเครื่องดื่มสู้กับหุ่นยนต์

 

การกินดื่มแบบดีต่อโลก

 

  1. การกินดื่มแบบดีต่อโลก

 

คำว่า ‘ความยั่งยืน’ (Sustainable) ในวงการอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นสิ่งที่พวกเราได้ยินกันต่อไปอีกทั้งปี แต่ในปีนี้จะไม่ใช่การใส่ใจเพียงสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เพราะคนส่วนใหญ่จะเริ่มพูดถึงผลกระทบระดับโลกมากขึ้น ซึ่งฟังแล้วอาจดูไกลตัวไปหน่อยจริงๆ นั่นแหละ ทว่าสิ่งนี้ทำได้ง่ายๆ อย่างเช่นการสนับสนุนวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อลดการนำเข้า, การเลือกกินอาหารตามฤดูกาล ทำให้ได้ทั้งรสชาติที่อร่อยและไม่ฝืนธรรมชาติ

 

หรือการสนับสนุนแคมเปญสนุกๆ อย่างเช่น #กินหมดจาน ที่ชวนทุกคนกินอาหารไม่ให้เหลือ เพื่อลดขยะเศษอาหารที่มีอยู่ทุกวัน ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มากหากทุกคนร่วมมือกัน

 

(วัตถุดิบ) น้อย แต่ (ประโยชน์) มาก

 

  1. (วัตถุดิบ) น้อย แต่ (ประโยชน์) มาก

 

หากเป็นเมื่อก่อน คนส่วนใหญ่อาจสนใจเมนูอาหารที่ใส่วัตถุดิบฟูๆ เน้นความเยอะ และรสชาติหลากหลายไว้ก่อน ทว่าตอนนี้หลายคนอาจเริ่มรู้สึกว่าบางวัตถุดิบไม่จำเป็นต้องมี รสชาติก็ยังอร่อยเหมือนเดิม หรือบางอย่างถ้าตัดออกไปแล้วอาจมีประโยชน์เพิ่มขึ้น แถมแคลอรียังลดลงด้วย 

 

ในปี 2025 จึงอาจหมดยุคของเมนูอาหารที่ใส่วัตถุดิบยาวเป็นขบวนรถไฟ เพราะผู้บริโภคจะหันมาเลือกเฉพาะเมนูที่เข้าใจง่าย ใช้วัตถุดิบไม่มาก แต่กินแล้วยังอร่อย หรือเมนูอาหารที่เน้นรสชาติจากธรรมชาติไปเลย ไม่ปรุงแต่งอะไรเพิ่มมากมาย เน้นใช้วัตถุดิบเพียงไม่กี่อย่าง ช่วยดึงรสชาติวัตถุดิบให้อร่อยแทน

 

โปรตีนในรูปแบบขนมและเครื่องดื่ม

 

  1. โปรตีนในรูปแบบขนมและเครื่องดื่ม

 

เชื่อว่าทุกคนคุ้นชินกับอาหารและเครื่องดื่มโปรตีนสูง แต่สิ่งใหม่ที่ทุกคนจะได้เห็นเพิ่มมากขึ้นในอนาคตก็คือโปรตีนที่มาในรูปแบบขนมขบเคี้ยว อาจทำมาจากถั่ว ไข่ขาว หรือเป็นอาหารอบกรอบที่แปะป้ายว่ามีประโยชน์กว่าขนมซองทั่วไป ทำให้คนติดขนมจะต้องหันมาหยิบขนมรูปแบบนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะแก้เหงาปากได้ดี แถมยังมีประโยชน์มากกว่าด้วย

 

แต่สิ่งที่เราว่าน่าสนใจกว่านั้นก็คือ Protein Drink ที่จะมาในรูปแบบใหม่ๆ ให้คนเบื่อเวย์โปรตีนหรืออกไก่ปั่นมีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งรูปแบบหนึ่งที่เริ่มฮิตแล้วในตอนนี้ก็คือโซดาหรือสปาร์กลิงโปรตีน

 

บาร์ที่ให้ประสบการณ์มากกว่าเครื่องดื่มแก้วเดียว

 

  1. บาร์ที่ให้ประสบการณ์มากกว่าเครื่องดื่มแก้วเดียว

 

การเสิร์ฟค็อกเทลดีๆ รสชาติอร่อยๆ เพียงหนึ่งแก้วและจบไป อาจไม่ใช่สิ่งที่ทำให้นักดื่มอยากกลับมาที่บาร์ของคุณอีกในปีนี้ เพราะสิ่งที่พวกเขาเหล่านี้จะมองหาคือ ‘ประสบการณ์การดื่ม’ ที่ทำให้พวกเขารู้สึกคุ้มค่าที่ได้มานั่งใช้เงินและเวลาในบาร์เพื่อจิบค็อกเทลสักแก้ว 

 

ซึ่งนั่นอาจหมายถึงทั้งบรรยากาศ ผู้คน เสียงเพลง หรือการดูแลเอาใจใส่ (Hospitality) ที่ทำให้คุณแตกต่างจากบาร์อื่นๆ อย่างเช่น G.O.D BAR ที่มีค็อกเทลแพริ่งกับอูนิ, Dry Wave Cocktail Studio ที่วาง Journey ของรสชาติให้เลือกง่ายขึ้นด้วยลายเส้นคลื่น หรือ Buddha & Pals บาร์แจ๊สที่คนชอบฟังเพลงนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ และไม่เคยหายไปจากกระแสบาร์ดีมีดนตรีสดเจ๋งๆ เลย

 

ฉะนั้น บาร์เทนเดอร์ที่สามารถเสิร์ฟประสบการณ์ใหม่ๆ ควบคู่ไปกับค็อกเทลดีๆ จะทำให้นักดื่มอยากกลับมานั่งที่บาร์ของคุณซ้ำๆ ได้อีกแน่นอน 

 

ร้านอาหารไทยได้รับความนิยมมาก

 

  1. ร้านอาหารไทยได้รับความนิยมมาก

 

ปีนี้เป็นปีทองของวงการอาหารไทยเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเวทีเล็กหรือใหญ่ ระดับเอเชียหรือระดับโลก ทุกคนจะได้เห็นรายชื่อร้านอาหารจากประเทศไทยติดอันดับอยู่ด้วยทั้งนั้น ซึ่งหนึ่งในร้านที่ฉายแสงให้กับอาหารไทยมากที่สุดในปีนี้ก็คือ ‘Sorn ศรณ์’ ร้านอาหารไทยไฟน์ไดนิ่งที่คว้ารางวัล 3 ดาวมิชลินมาได้เป็นแห่งแรกของโลก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่านักชิมคนไหนต่างก็ต้องอยากเดินทางมาลิ้มลองรสชาติอาหารไทยให้ถึงที่

 

หรืออย่างเวที Asia’s 50 Best Restaurants 2024 ก็มีร้านอาหารไทยติดอันดับอยู่หลายแห่งเช่นกัน ได้แก่ Nusara (อันดับ 6), Sorn (อันดับ 11), Le Du (อันดับ 12), Samrub Samrub Thai (อันดับ 29) และ Baan Tepa (อันดับ 42)

 

งานนี้เราเชื่อว่าตลอดทั้งปี 2025 ร้านอาหารไทยจะต้องเป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งในหมู่คนไทยเอง และคนต่างชาติก็ต้องอยากรู้จักอาหารไทยใหม่ๆ เพิ่มขึ้นแน่นอน

 

มัทฉะ

 

  1. มัทฉะกลายเป็นงานอดิเรกยอดนิยม

 

ถ้าหากเปรียบมัทฉะเป็นคน ก็คงเป็นคนหน้าตาดีที่มองกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ เพราะปีนี้มัทฉะจะกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง โดยเฉพาะหลายคนที่จะหันมาชงมัทฉะเป็นงานอดิเรก อาจเพราะได้ใช้สมาธิไม่แพ้การดริปกาแฟ ทว่าขั้นตอนน้อยกว่า แถมอุปกรณ์ชงมัทฉะยังสวยเก๋ วางเป็นพร็อพตกแต่งในครัวก็ได้ และยังน่าซื้อเพิ่มเรื่อยๆ ไม่แพ้กันด้วย

 

และสิ่งที่จะทำให้มัทฉะกลายเป็นไอเท็มประจำบ้านก็อาจเพราะหลายคนต้องการคาเฟอีนแบบนุ่มนวล ไม่จิบแล้วใจเต้นแรงเท่ากาแฟ เน้นดื่มแล้วกระปรี้กระเปร่ายาวๆ ตลอดทั้งวันให้สมกับการเป็นคนชอบใช้ชีวิตแอ็กทีฟ

 

อ้างอิง:

The post 10 Food Trends in 2025 เทรนด์อาหารที่เราคิดว่า ‘มันต้องมาแรง!’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Eat-fluencer เทรนด์การกินที่สุดของคนไทยในปี 2024 ที่ชุบชีวิตเมนูเก่าเขย่าเมนูธรรมดา ดันยอด ‘ชาชีส-เค้กกล้วยหอม-ไข่พะโล้’ พุ่งกระฉูด https://thestandard.co/line-man-eat-fluencer/ Sat, 21 Dec 2024 05:47:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1022054 Eat-fluencer

LINE MAN แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีสัญชาติไทย สรุปเทรนด์การ […]

The post Eat-fluencer เทรนด์การกินที่สุดของคนไทยในปี 2024 ที่ชุบชีวิตเมนูเก่าเขย่าเมนูธรรมดา ดันยอด ‘ชาชีส-เค้กกล้วยหอม-ไข่พะโล้’ พุ่งกระฉูด appeared first on THE STANDARD.

]]>
Eat-fluencer

LINE MAN แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีสัญชาติไทย สรุปเทรนด์การกินของคนไทยแห่งปี 2024 จากฐานข้อมูลผู้ใช้งานกว่า 10 ล้านคน และร้านอาหารกว่า 5 แสนร้าน ยกให้ปีนี้เป็น ‘ปีแห่ง Eat-fluencer’ ที่อินฟลูเอ็นเซอร์ ‘ปลุกเมนูเก่าเขย่าเมนูธรรมดา’ ให้กลับมาฮิตอีกครั้ง ดันยอดออร์เดอร์ ‘ชาชีส-เค้กกล้วยหอม-ไข่พะโล้-ขนมไข่-ข้าวมันไก่-ข้าวขาหมู’ พุ่งจนกลายเป็นเมนูไวรัลแห่งปี

 

เมนูไวรัลแห่งปี! Eat-fluencer แจ้งเกิดเมนูใหม่ ชุบชีวิตเมนูเก่า

 

LINE MAN เผยว่า พฤติกรรมคนไทยคือการกินตามเทรนด์ ซึ่งปีนี้เห็นได้ว่ากระแสในโลกโซเชียลและอินฟลูเอ็นเซอร์มีบทบาทสำคัญในการแจ้งเกิดให้กับเมนูอาหาร โดย Top 6 เมนูไวรัลสุดปังแห่งปีที่มียอดออร์เดอร์เติบโตสูงที่สุดอันดับ 1 ได้แก่ ‘ชาชีส’ ที่ยอดออร์เดอร์บน LINE MAN เติบโตขึ้นถึง 7 เท่า อีกทั้งจำนวนร้านชาชีสบน LINE MAN เพิ่มขึ้นกว่า 4,000 ร้านทั่วประเทศ โดยร้านติดท็อปขายดีที่สุดทั่วประเทศ ได้แก่ ร้าน OWL CHA, BEARHOUSE และ Nose Tea ที่สั่งได้เฉพาะบน LINE MAN ด้วยเช่นกัน

ต่อมาในอันดับ 2 เค้กกล้วยหอม ที่ปลุกกระแสโดยร้าน Bonnana ที่เจ้าของคืออินฟลูเอ็นเซอร์สายกินชื่อดังอย่าง บิว วราภรณ์ จากกระแสนี้ทำให้มีร้านอาหารที่เพิ่มเมนูเค้กกล้วยหอมกว่า 2,000 ร้าน ส่งผลให้ยอดออร์เดอร์เค้กกล้วยหอมทั่วประเทศเติบโต 115%

เมนู ขนมไข่ ขนมย้อนวัยที่กินกันตอนเด็กๆ ถูกปลุกกระแสให้กลับมาอีกครั้งจากขนมไข่ไส้เนย ต้นตำรับจังหวัดสงขลา ฮิตกินกันทั่วบ้านทั่วเมือง มียอดสั่งเติบโตถึง 50% หนึ่งในร้านบน LINE MAN คือร้านรุน ขนมไข่สงขลา

 

เช่นเดียวกับ หมูเด้ง โกลบอลซูเปอร์สตาร์ระดับโลกที่สร้างกระแสอาหารสุดแปลกกับคนไทยที่มองน้องแล้วนึกถึงข้าวขาหมู จนทำให้มียอดค้นหาบน LINE MAN เพิ่มขึ้น 50 % พุ่งแรงแซงเมนูฮิตอย่าง ชาบู-ซูชิ เป็นประวัติการณ์ 

 

นอกจากนี้ เมนูเบสิกคู่คนไทย ข้าวมันไก่ ก็กลับขึ้นมาอยู่ในลิสต์เมนูมาแรงได้อีกครั้ง หลังจากเจ้าแม่แห่งวงการร้านอาหาร ปลา-อัจฉรา บุรารักษ์ แห่ง iberry Group เปิดร้านอาหารแห่งใหม่ ข้าวมันไก่โต๊ะคิม ยกระดับข้าวมันไก่จานธรรมดาให้อร่อยแบบไม่ธรรมดา บวกกับร้านข้าวมันไก่ระดับพรีเมียมเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านหมึกมันไก่ ร้านบุญตงเกียรติ และ ร้าน FEI JI (เฟ๋ย จี) ข้าวมันไก่สไตล์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นร้านที่สั่งได้เฉพาะบน LINE MAN จนมียอดสั่งข้าวมันไก่ภาพรวมทั่วประเทศเติบโตกว่า 23%

 

ทิ้งท้ายด้วย ไข่พะโล้ เมนูบ้านๆ ที่ถูกชุบชีวิตโดย เอ ศุภชัย ช่วยดันยอดขายร้านข้าวแกงเติบโตแรงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ยอดออร์เดอร์เมนูไข่พะโล้บน LINE MAN โตขึ้นกว่า 2 เท่า ในระยะเวลาเพียงแค่ 1 เดือนช่วงที่มีกระแส (ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2567) ต้องยกให้ เอ ศุภชัย เป็นผู้ทรงอิทธิพลด้านการสร้างกระแสเมนูไวรัลแห่งปี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2567 เมนูอาหารของพี่เอสร้างการมีส่วนร่วมบนโลกโซเชียลไปแล้วกว่า 24 ล้านครั้ง

 

‘ไก่ทอด’ ขึ้นแท่นเมนูขายดีที่สุดแห่งปี


ไก่ทอด ขึ้นแท่นเป็นเมนูอาหารที่มียอดสั่งสูงที่สุดบน LINE MAN เสิร์ฟไปแล้วกว่า 21 ล้านชิ้น เทียบเท่าการเสิร์ฟให้กับคน 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ ตามมาด้วย ตำปูปลาร้า, ข้าวกะเพราหมูสับ/หมูกรอบ, ข้าวมันไก่ และตำป่า ตามลำดับ เมื่อเจาะลึกที่เมนูไก่ทอด พบว่าไก่ทอดอเมริกัน อย่าง KFC หรือ McDonald’s เป็นเมนูไก่ทอดที่เติบโตสูงสุดถึง 90% ตามมาติดๆ ด้วย ไก่ทอดญี่ปุ่น เช่น ปีกไก่ทอดยามะจังจากร้าน Sekai No Yamachan และไก่ทอดเกาหลี

ด้านเมนูหมวดเครื่องดื่มที่มียอดสั่งสูงสุดในปี 2024 อันดับ 1 ได้แก่ กาแฟดำ ตามมาด้วย ชาเขียวนม, เอสเพรสโซ, ชานม และชาไทย ตามลำดับ โดย ‘ชาเขียวนม’ เป็นเมนูชายอดนิยม และ ‘ชาไทย’ ที่เป็นเมนูเครื่องดื่มที่เติบโตแรงที่สุดในปีนี้ ซึ่งจะเห็นว่าร้านเครื่องดื่มและคาเฟ่ต่างพัฒนาเมนูชาไทยให้มีความหลากหลาย เช่น ชาไทยไข่มุก, ชาไทยลาเต้, ชาไทยปั่น หรือแม้กระทั่งชาไทยน้ำช่อดอกมะพร้าว โดยกระแสความนิยมของชาไทยจากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติในปีนี้กำลังส่งสัญญาณว่าปีหน้าอาจจะกลายเป็นเมนูเครื่องดื่มแห่งปี



สำหรับท็อปสินค้าขายดีบน LINE MAN MART

 

ต้นหอม, ผักชี, พริก และชุดเครื่องต้มยำ ติดอันดับสินค้าขายดีแห่งปี สอดคล้องกับกระแสการทำอาหารไทยที่บ้านที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เทรนด์ Pet Parent หรือการเลี้ยงสัตว์เป็นสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้สินค้ากลุ่มสัตว์เลี้ยงเติบโตตามไปด้วย โดย ทรายแมว กลายเป็นสินค้าสัตว์เลี้ยงที่มียอดออร์เดอร์สูงสุด ตามมาด้วยอาหารแมว, อาหารสุนัข, อาหารหนู และอาหารเม่นแคระ แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการเลี้ยงสัตว์ของคนไทยมีการเติบโตอย่างชัดเจน

 

The post Eat-fluencer เทรนด์การกินที่สุดของคนไทยในปี 2024 ที่ชุบชีวิตเมนูเก่าเขย่าเมนูธรรมดา ดันยอด ‘ชาชีส-เค้กกล้วยหอม-ไข่พะโล้’ พุ่งกระฉูด appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ ชวนกิน ‘ต้มยำกุ้ง’ หลัง UNESCO ยกเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มั่นใจเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย https://thestandard.co/unesco-tom-yum-kung-thai-soft-power/ Wed, 04 Dec 2024 00:51:34 +0000 https://thestandard.co/?p=1015707 ต้มยำกุ้ง UNESCO

วันนี้ (4 ธันวาคม) เวลา 02.00 น. ตามเวลาประเทศไทย คณะกร […]

The post นายกฯ ชวนกิน ‘ต้มยำกุ้ง’ หลัง UNESCO ยกเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มั่นใจเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ต้มยำกุ้ง UNESCO

วันนี้ (4 ธันวาคม) เวลา 02.00 น. ตามเวลาประเทศไทย คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนการรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The 19th Session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ประกาศขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) 

 

แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีผ่านระบบวีดิทัศน์ว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติในโอกาสพิเศษนี้ ในนามของรัฐบาลไทยและคนไทยทั้งประเทศ ขอขอบคุณสาธารณรัฐปารากวัยสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้ รวมถึงคณะกรรมการที่ขึ้นทะเบียนให้ต้มยำกุ้งเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ 

 

การขึ้นทะเบียนต้มยำกุ้งถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ต้มยำกุ้งของไทยเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ มีต้นกำเนิดจากภูมิปัญญาและวิถีปฏิบัติอันประณีตของชุมชนริมน้ำในภาคกลางของไทย สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในทุกระดับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และร้านอาหาร จนกลายมาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ต้มยำกุ้งจึงเป็นเครื่องยืนยันอย่างดีถึงมรดกทางวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย 

 

“อาหารไทยจานนี้ยังสะท้อนถึงความเข้าใจในการใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องร่วมกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้งอีกด้วย ทั้งการใช้สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การเพาะเลี้ยงกุ้งน้ำจืด การอนุรักษ์น้ำ ดิน และอากาศ การคัดเลือกและเตรียมวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน และท้ายสุดคือศิลปะการปรุงอาหารไทยที่ผสมผสานรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการอย่างลงตัว”

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ความรู้และแนวปฏิบัติเหล่านี้ไม่เพียงช่วยสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ และความอยู่ดีกินดีของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และความสมานฉันท์ในสังคมอีกด้วย ประเทศไทยจึงมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage: ICH) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติอย่างเต็มที่ และพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศเพื่อรักษา (Safeguard) ICH ในฐานะทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนในทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวเชิญให้ทุกท่านร่วมลิ้มลองต้มยำกุ้งที่ร้านอาหารไทยทั่วโลก หรือค้นหาสูตรอาหารออนไลน์เพื่อทดลองทำต้มยำกุ้งเองที่บ้าน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางอันแสนอร่อยและเต็มไปด้วยรสชาตินี้ด้วยกัน

The post นายกฯ ชวนกิน ‘ต้มยำกุ้ง’ หลัง UNESCO ยกเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มั่นใจเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘อาหาร’ ถือเป็นหนึ่งใน Soft Power และอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนการเติบโตให้เศรษฐกิจไทย https://thestandard.co/market-focus-food-5/ Tue, 03 Dec 2024 09:06:35 +0000 https://thestandard.co/?p=1015518 อาหาร

‘อาหาร’ ถือเป็นหนึ่งใน Soft Power และอุตสาหกรรมเป้าหมาย […]

The post ‘อาหาร’ ถือเป็นหนึ่งใน Soft Power และอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนการเติบโตให้เศรษฐกิจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาหาร

‘อาหาร’ ถือเป็นหนึ่งใน Soft Power และอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการสร้างโอกาสการเติบโตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับไทย เพราะนอกจากอาหารไทยจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกมาอย่างยาวนานแล้ว ประเทศไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทั้งความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของวัตถุดิบ มาตรฐานการผลิตซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งยังมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่แข็งแกร่งและครบวงจรอีกด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนที่ดีในการสนับสนุนและต่อยอดการขับเคลื่อนและส่งออก Soft Power ด้านอาหารของไทย

 

การผลักดันยุทธศาสตร์ Soft Power ด้านอาหาร

 

ทั้งนี้ กลไกในการผลักดันยุทธศาสตร์ Soft Power ด้านอาหารสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมการรับประทานอาหารที่น่าสนใจและมีเอกลักษณ์ผ่านสื่อบันเทิงต่างๆ เช่น ละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์ รวมทั้งการเผยแพร่ผ่านผลงานศิลปะและดนตรี หรือแม้แต่การโปรโมตการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงเข้ากับประเพณี วิถีวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น และกระจายรายได้สู่ชุมชน ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อผู้เล่นที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ยังทำให้ภาคธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย ซึ่งกลไกการผลักดันเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทยดำเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

 

 

การสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Soft Power

 

ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่ากุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จคือการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อและสนับสนุนต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านนี้ เพื่อติดอาวุธและสร้างความได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการไทย โดยมีสิ่งสำคัญที่ประกอบด้วย

  • การพัฒนาคน ด้วยการยกระดับศักยภาพของคนไทยให้เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำเป็นแรงงานทักษะสูง รวมถึงการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะความรู้ความสามารถเชิงสร้างสรรค์และทักษะเฉพาะทาง
  • การจัดตั้งหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Soft Power ซึ่งปัจจุบันมี THACCA ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวก ประสานงานกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในไทย เพื่อปลดล็อกศักยภาพ แก้ปัญหาอุปสรรคด้านกฎหมาย และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร
  • การวางยุทธศาสตร์การส่งออกและการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนและกระบวนการด้านการส่งออกของดีของประเทศไทยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดปลายทาง

 

SCB EIC มองว่าการผลักดัน Soft Power ด้านอาหารจะมีส่วนช่วยสนับสนุนภาคการผลิตและภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์ ร้านอาหาร โรงเรียนสอนทำอาหาร ร้านของฝากและของที่ระลึก หรือแม้แต่การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ความท้าทายสำคัญคือการสร้างมาตรฐานและกำหนดยุทธศาสตร์

 

การดำเนินงานที่มีความสอดคล้องและมีทิศทางเดียวกันทั้ง Ecosystem รวมถึงการทำการตลาดอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อตอกย้ำภาพจำที่เด่นชัดกับผู้บริโภคในตลาดโลก

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://www.scbeic.com/th/detail/product/soft-power-031224?utm_source=Influencer&utm_medium=Link&utm_campaign=INFOCUS_SOFTPOWER_DEC_2024

 

The post ‘อาหาร’ ถือเป็นหนึ่งใน Soft Power และอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนการเติบโตให้เศรษฐกิจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>