วิษณุ เครืองาม – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 09 Jan 2024 12:52:51 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในสายตา วิษณุ เครืองาม เนติบริกรผู้ค้ำจุน 8 นายกฯ https://thestandard.co/prayut-chanocha-in-the-eyes-of-wissanu/ Tue, 09 Jan 2024 12:52:51 +0000 https://thestandard.co/?p=885852 วิษณุ ประยุทธ์

เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก คือชื่อหนังสือเล่มใหม่ของ วิษณุ เค […]

The post พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในสายตา วิษณุ เครืองาม เนติบริกรผู้ค้ำจุน 8 นายกฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิษณุ ประยุทธ์

เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก คือชื่อหนังสือเล่มใหม่ของ วิษณุ เครืองาม ที่ตีพิมพ์ในปี 2566 โดยใช้สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา (สำนักพิมพ์ ครม.) เป็นผู้จัดพิมพ์ หน่วยงานแห่งนี้เองที่ ‘เนติบริกร’ นั่งทำงานยาวนานกว่า 11 ปี ทั้งในฐานะรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ปี 2534-2536) และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ปี 2536-2545)

 

 

ดร.วิษณุ เครืองาม เป็นศาสตราจารย์ในปี 2526 หรือเมื่ออายุเพียง 32 ปี โดยเป็นอาจารย์ประจำที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนโอนไปเป็นรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล ชาติชาย ชุณหะวัณ และก้าวขึ้นเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเต็มตัวในรัฐบาล ชวน หลีกภัย ต่อมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล 4 คณะ

 

วิษณุได้สรุปรวมความไว้ว่า “นับรวมเวลาที่ผมนั่งอยู่ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในฐานะต่างๆ กันจนถึงปี 2566 นานถึง 25 ปี ภายใต้รัฐบาล 12 คณะ นายกรัฐมนตรี 8 คน” (หน้า 150)

 

เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก บันทึกความเป็นไปในหลายมิติของรัฐบาลประยุทธ์ 2 (ปี 2562-2566) ผ่านสายตาของวิษณุ ซึ่งได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กลับมานั่งในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเป็นหนที่ 2 หลังเคยนั่งในรัฐบาลประยุทธ์ 1 ถือเป็นการดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลคณะที่ 4 ของวิษณุ หลังเคยนั่งตำแหน่งเดียวกันนี้ในรัฐบาลทักษิณทั้งสองสมัย

 

“ระหว่างที่นายกฯ คนใหม่กำลังพิจารณาตั้งรัฐบาลอยู่นั้น ท่านก็ปรารภให้ผมฟังเป็นระยะๆ ว่าใครควรจะไปอยู่กระทรวงใด และขอให้ผมช่วยกำกับดูแลสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรีใหม่ด้วย โดยไม่เคยเอ่ยว่าจะให้ผมจัดการกับชีวิตต่อไปอย่างไร จนเมื่อผมได้รับรายชื่อรัฐมนตรีมาครบคณะเพื่อตรวจคุณสมบัติ จึงได้เห็นชื่อของผมว่าเป็นรองนายกรัฐมนตรีอย่างเดิม ผมออกตัวว่ามีปัญหาสุขภาพ ท่านบอกว่าถ้าไม่ล้มหมอนนอนเสื่อก็ช่วยๆ ไปก่อน พี่ป้อม พี่ป๊อก อาจารย์สมคิด ยังอยู่ช่วยผมเลย” (หน้า 39)

 

และหลังจากนี้คือ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในสายตาของ วิษณุ เครืองาม

 

บรรยากาศการประชุม ครม.

 

“บรรยากาศการประชุม ครม. สมัยประยุทธ์ 2 ใกล้เคียงกับสมัยประยุทธ์ 1 คือเริ่มด้วยการที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ซึ่งหนักไปในทางรายงานภาวะเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ และรายงานสถานการณ์ต่างๆ สังเกตว่าในระยะแรกๆ ทุกคนตั้งอกตั้งใจฟังดีอยู่ แต่พอนานเข้า รายงานเหล่านี้มักจะมีมากขึ้น ท่านนายกฯ ก็พยายามจะให้ทุกคนรู้เท่าที่ท่านรู้ ท่านจึงลงมือก้มหน้าก้มตาอ่านเอาๆ จนรัวและรวดเร็วในแบบสไตล์การพูดของท่าน จนหลายคนแอบบ่นว่าจับความตามได้ไม่ทัน” (หน้า 116)

 

 “ท่านนายกฯ ประยุทธ์ เป็นคนควบคุมการประชุมได้ดีพอสมควร อย่างน้อยก็คนละสไตล์กับเวลาที่ท่านทำงานอื่นๆ เช่น ให้สัมภาษณ์ ในการประชุมท่านจะอดทน ใจเย็น และปล่อยให้ทุกคนพูด ท่านจะขัดจังหวะต่อเมื่อเห็นว่าการแสดงความเห็นมีการแขวะกัน หรือหากหลุดออกไปล่วงรู้ถึงภายนอกจะกลายเป็นความขัดแย้ง คนที่นั่งขนาบข้างซ้ายขวาท่านนายกฯ คือ รองนายกฯ ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ถ้ามีปัญหาความมั่นคงหรือเศรษฐกิจ ท่านก็จะหารือกับสองท่านนี้ ถ้ามีแง่มุมทางกฎหมาย ท่านก็จะชะโงกหน้ามาถามผมหรือเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา” (หน้า 118)

 

วิบากกรรมของนายกฯ 

 

วิษณุเล่าต่อไปว่า ในห้วงเวลา 4 ปีนี้ พล.อ. ประยุทธ์ ถูกฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 4 คดี ซึ่งทุกคดีล้วนกระทบต่อสถานภาพการเป็นนายกรัฐมนตรีและการดำรงสถานะของรัฐบาลทั้งคณะ

 

คดีถวายสัตย์ปฏิญาณยุติลงด้วยคำวินิจฉัยว่า การถวายสัตย์ฯ เป็นการกระทำทางการเมืองของคณะรัฐมนตรีที่เป็นองค์กรฝ่ายบริหารในความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการกระทำของรัฐบาล ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

 

คดีการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐยุติลงด้วยคำวินิจฉัยว่า หัวหน้า คสช. ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลของรัฐหรือหน่วยงานใด ไม่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย ไม่มีกฎหมายกำหนดกระบวนวิธีการได้มาหรือการเข้าสู่ตำแหน่ง จึงไม่เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญ

 

คดีการอยู่บ้านพักรับรองของทางราชการยุติลงด้วยคำวินิจฉัยว่า นายกรัฐมนตรีเคยเป็น ผบ.ทบ. และมีสิทธิ์อาศัยอยู่ในบ้านพักรับรองกองทัพบก

 

คดีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบกำหนด 8 ปี ยุติลงด้วยคำวินิจฉัยว่า การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องนับเวลาสมัยรัฐบาลประยุทธ์ 1 ระหว่างปี 2557-2562 รวมกันด้วย ดังนั้นเมื่อมาถึงปี 2565 พล.อ. ประยุทธ์ จึงดำรงตำแหน่งได้ไม่ครบ 8 ปี  

 

ผลของคำวินิจฉัยในทั้ง 4 คดี จึงทำให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีไม่สิ้นสุดลง

 

ความเป็นผู้นำของ พล.อ. ประยุทธ์

 

วิษณุเล่าว่า หนหนึ่งเคยโดนถามว่า “นายกรัฐมนตรีคนใดที่ดีที่สุดในสายตาของท่าน” เขาตอบคำถามข้อนี้โดยดึงจุดเด่นของผู้นำทางการเมืองทั้งหลายออกมาเป็นคำตอบ 

 

“ถ้าเมืองไทยมีผู้นำที่ซื่อสัตย์สุจริต อดทน อดกลั้น และจงรักภักดี อย่างนายกฯ เปรม, มีผู้นำที่กล้าได้กล้าเสีย มองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ อย่างนายกฯ ชาติชาย และนายกฯ ทักษิณ

 

“รู้จักใช้คนให้เหมาะกับงาน รู้จักคิดนอกกรอบและสร้างสิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็วทันใจ อย่าง จอมพล ป. หรือจอมพล สฤษดิ์

 

“สมถะ สุภาพ อ่อนโยน ให้เกียรติคนอื่น และดูแลผลประโยชน์ของแผ่นดิน อย่างนายกฯ ธานินทร์ กรัยวิเชียร และนายกฯ ชวน

 

“ขยันทำงานหนัก เกาะติดปัญหาชนิดแก้ไม่ได้ไม่ปล่อย และใส่ใจรายละเอียดของงานทุกชนิดที่ถาโถมเข้ามา อย่างนายกฯ บรรหาร และนายกฯ ประยุทธ์

 

“ประนีประนอม ไม่ก้าวร้าว รู้จักยอมถอย และปล่อยวาง อย่างนายกฯ ชวลิต

 

“รับฟังความเห็นต่าง มีความเป็นสากล และสง่างามในทุกมิติ อย่างนายกฯ อานันท์

 

“เฉลียวฉลาด อยู่ในวัยที่เหมาะแก่การทำงาน และเรียนรู้เร็ว อย่างนายกฯ อภิสิทธิ์

 

“หากได้ทุกอย่างตามนี้มาผสมกันอยู่ในคนเดียว ประเทศไทยก็จะมีผู้นำที่สมบูรณ์แบบ” (หน้า 163)

 

วิษณุเล่าถึงความเป็นผู้นำของ พล.อ. ประยุทธ์ ไว้ในหลายแง่มุม เช่น

 

“รัฐบาลนายกฯ ประยุทธ์ ผมอยู่กับท่านมาตั้ง 9 ปี จึงคุ้นเคยกันทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน พระท่านว่า วิสฺสาสปรมา ญาติ (วิสสาสะปรมา ญาติ) ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง ท่านอาจจะผลีผลามหรือดุดันกับคนอื่น แต่กับผมท่านดูจะเกรงใจและเป็นห่วงสารทุกข์สุกดิบอยู่มาก รู้ว่าเจ็บไข้ได้ป่วยท่านก็ถามไถ่ และยังใส่ใจไปถึงลูกเมียผมด้วย” (หน้า 160)

 

“นายกฯ ประยุทธ์ ขึ้นมาเป็นนายกฯ พร้อมกับการเป็นหัวหน้า คสช. ซึ่งมีอำนาจมาก จึงถูกมองว่าเป็นเผด็จการมาตั้งแต่ปีแรก ประกอบกับบุคลิกภาพเป็นคนใจร้อน พูดเร็ว คิดเร็ว ทำเร็ว ขึงขัง เด็ดขาด ใครว่าอะไรจะตอบทุกเม็ด ชนิด ‘เราก็ชายหมายมาดว่าชาติเชื้อ ถึงปะเสือก็จะสู้ดูสักหน’

 

“ทั้งที่ถ้าทำงานด้วยแล้วจะรู้ว่าเป็นคนมีอารมณ์ขัน เป็นกันเอง ยอมให้คนยั่วเย้า และท่านเองก็ชอบกระเซ้าเย้าแหย่คนอื่น ยกเว้นเวลาทำงานจะเป็นคนเด็ดขาด จริงจัง ตัดสินใจแล้ว แต่ไม่เคอะเขิน ถ้าผิดพลาดก็ยอมแก้ไขใหม่ พูดใหม่ จึงถูกใจบางกลุ่ม แต่อาจน่าหมั่นไส้สำหรับบางกลุ่ม ที่จริงนายกฯ สมัคร ก็เป็นเช่นนี้ แต่นายกฯ สมัคร เป็นนายกฯ ที่มาจากการหาเสียงเลือกตั้งแล้วได้รับเลือกเข้ามา คนจึงคุ้นชินมาแต่อ้อนแต่ออกตั้งแต่ยังไม่เป็นผู้นำ” (หน้า 166)

 

“นายกฯ ประยุทธ์ ไม่ใช่คนพูดเก่ง ทั้งยังมักจะพูดเร็วปรื๋อ แต่ก็มีเสน่ห์อีกแบบ มีคนบอกว่าแสดงความจริงใจ เพราะพูดอย่างที่คิด เมื่อคิดเร็วก็พูดเร็ว ความจริงก็เป็นคนอารมณ์สุนทรีคนหนึ่ง ชอบเขียนกลอน ชอบแต่งเพลง ฟังเพลง ดูหนังช่อง Netflix เล่นกีฬา ชอบกอล์ฟ ฟุตบอล มวยไทย เรียกว่าใจนักเลง ใจนักกีฬา และมีอารมณ์ขัน แต่พอสั่งงานจะหน้าเข้ม เสียงดุ” (หน้า 177)

 

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นผู้นำที่ดีได้หรือไม่ในยามอื่นๆ เช่น ยามเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือยามเกิดความไม่สงบเรียบร้อย ประท้วงต่อต้านกันทั่ว ก็สุดแต่จะวิจารณ์กันไป แต่ในยามเกิดโรคระบาดชนิดใหม่ที่ชื่อโควิด-19 นี้ ต้องนับว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้ใช้ความอดทน ความพยายาม และความเข้มแข็งเด็ดขาดพอสมควร” (หน้า 225)

 

      

จุดแข็ง-จุดอ่อนของรัฐบาลประยุทธ์ 2

 

วิษณุเสนอว่า รัฐบาลประยุทธ์ 2 มีจุดแข็งอยู่ 2 ประการ

 

หนึ่งคือ ความเป็นผู้นำที่มีบารมีและอำนาจเก่า อันเนื่องมาจากบุคลิกภาพเข้มแข็งเด็ดขาดและภาพลักษณ์ความไม่ด่างพร้อยตั้งแต่ครั้งสมัยรัฐบาลประยุทธ์ 1

 

สองคือ ภาพลักษณ์สะสมผลงาน ได้แก่ การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ดี การดูแลรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้พอสมควร และการดูแลรักษาสวัสดิภาพและสวัสดิการทางสังคมได้พอประมาณ

 

ทว่ามีจุดอ่อน 2 ประการ

 

หนึ่งคือ การอ่อนในเชิงบริหารงานการเมือง

 

“การทำภารกิจบริหารการเมืองอาจหย่อนยานไปบ้างในระบบที่พรรคการเมืองมีบทบาทสูง แม้หัวหน้าหรือผู้ใหญ่แต่ละพรรคจะมีโอกาสเข้าพบและหารือปัญหากับท่านบ่อยครั้ง แต่ก็เป็นรายๆ ไป โอกาสประชุม ปรึกษาหารือ ร่วมกันวางแผนระดมสมอง ช่วยกันคิดหรือถกแถลงแก้ปัญหาการเมืองของรัฐบาลในลักษณะเป็นคณะยังน้อยกว่าที่ควร แม้แต่ข่าวการพบปะสังสรรค์และรับประทานอาหารระหว่างสมาชิกพรรคหรือแกนนำของพรรคร่วมกันก็แทบจะไม่ปรากฏให้เห็น ซึ่งเรื่องพวกนี้จะว่าไม่สำคัญก็ไม่ได้ เพราะในระบบพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเบื่อ รำคาญ หรือหงุดหงิด เพียงใดก็ต้องอดทน อดกลั้น และอดออม ทั้งทีท่าและวาจาคำพูดเข้าไว้” (หน้า 275)

            

วิษณุบันทึกไว้ด้วยว่า ตัวประยุทธ์เองได้รับแรงกดดันทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่บางคนในซีกรัฐบาลเข้าร่วมกับฝ่ายค้านในการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออก, ความพยายามจะล้มร่างพระราชบัญญัติสำคัญของรัฐบาล, คดีการดำรงตำแหน่ง 8 ปี, การใช้พลังมวลชนเข้ากดดัน ไปจนถึงแยกนายกรัฐมนตรีออกจากพรรคพลังประชารัฐ จนนายกรัฐมนตรีต้องหันไปอยู่พรรครวมไทยสร้างชาติ ทว่า “พล.อ. ประยุทธ์ เหมือนนายกฯ อีกหลายคนคือ ยิ่งกดดันท่านยิ่งฮึดสู้” (หน้า 265)

 

สองคือ ระยะเวลา 4 ปีของรัฐบาลประยุทธ์ 2 เป็นช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตกันไปทั่วโลกจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนผู้คนเจ็บป่วยล้มตายอย่างมาก ที่สำคัญส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ผู้คนทำมาหากินไม่ได้ รัฐบาลต้องกู้เงินนับล้านล้านบาทมาพยุงเศรษฐกิจและเยียวยาช่วยเหลือ ทำให้รัฐบาลเองก็ขาดงบมาผลักดันนโยบายอื่น และประชาชนที่ได้รับผลกระทบย่อมเกิดความไม่พอใจรัฐบาลเป็นธรรมดา

 

 

ไม่ใช่คนแปลกหน้าของราชสำนัก

 

วิษณุให้ความรู้ว่า ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญคือ พระราชสิทธิที่จะทรงได้รับรายงานข้อราชการจากรัฐบาล, พระราชสิทธิที่จะทรงแนะนำตักเตือนรัฐบาล และพระราชสิทธิที่จะพระราชทานกำลังใจและสนับสนุนรัฐบาล

 

“ในการปฏิบัติ รัฐบาล พล.อ.​ ประยุทธ์ 2 ยังคงเคารพพระราชสิทธิเหล่านี้ ดังที่มักมีหนังสือกราบบังคมทูลถวายรายงานข้อราชการเป็นระยะๆ เสมอมา บางครั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานด้วยตนเอง แต่เมื่อพระราชทานคำแนะนำอย่างไรแล้ว ย่อมอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล จะนำไปอ้างไม่ได้

 

พล.อ. ประยุทธ์ ไม่ใช่คนแปลกหน้าของราชสำนักและข้าราชการในพระองค์ เพราะเคยถวายงานด้วยความจงรักภักดีและใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ข้อนี้จะนับว่าเป็นจุดแข็งของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ทั้ง 1 และ 2 เลยก็ว่าได้” (หน้า 256)

 

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณใหญ่หลวงต่อรัฐบาล คราวเกิดอุทกภัย เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ก็พระราชทานคำแนะนำต่างๆ แก่นายกรัฐมนตรี รับสั่งเสมอว่า “ถ้าทำได้เองก็ให้ทำไป หากมีอะไรจะให้ช่วยเหลือก็มาบอก” บางครั้งพระราชทานกำลังใจแก่รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ นับเป็นความสัมพันธ์และพระมหากรุณาธิคุณที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนที่ว่ารัฐบาลจะสนองพระมหากรุณาธิคุณได้มากน้อยเพียงใด เป็นเรื่องของรัฐบาลเอง พระมหากรุณาธิคุณเช่นนี้ย่อมมีแก่ทุกรัฐบาลเสมอกัน” (หน้า 258)

 

จนถึงวันนี้ ทั้ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ วิษณุ เครืองาม ยังคงโลดแล่น มีบทบาทการนำ และมีบารมีอย่างสูงในทางการเมือง

 

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติผู้นี้ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น องคมนตรี

 

และก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 วิษณุ เครืองาม เนติบริกร, อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรีผู้นี้ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ต่อมายังดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2 (กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน)

 

ทั้งคู่ล้วนยังคงมีภารกิจที่จะสนองพระมหากรุณาธิคุณต่อไป

 

The post พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในสายตา วิษณุ เครืองาม เนติบริกรผู้ค้ำจุน 8 นายกฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘วิษณุ’ แจกลายเซ็นหนังสือ ‘เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก’ บอกเล่าการทำงานของรัฐบาลประยุทธ์ 2 เตรียมแต่งนิยายเรื่องใหม่อิงเหตุการณ์ 2475 https://thestandard.co/wissanu-signs-book-autographs/ Mon, 25 Dec 2023 07:36:05 +0000 https://thestandard.co/?p=880680

วันนี้ (25 ธันวาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล วิษณุ เครืองาม อดี […]

The post ‘วิษณุ’ แจกลายเซ็นหนังสือ ‘เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก’ บอกเล่าการทำงานของรัฐบาลประยุทธ์ 2 เตรียมแต่งนิยายเรื่องใหม่อิงเหตุการณ์ 2475 appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (25 ธันวาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อแจกลายเซ็นให้กับผู้ที่ซื้อหนังสือ ‘เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก’ ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่าย รายได้ทั้งหมดจะมอบเป็นสวัสดิการให้กับข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)

 

วิษณุเปิดเผยว่า ตนมีเวลาว่างเลยเขียนหนังสือเล่มที่ 2 ในการทำงานกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับรัฐบาลว่ารัฐบาลทำอะไร เนื้อหาสนุก ไม่ได้เป็นสารคดี ตอนแรกจะให้ชื่อว่า ‘ลงเรือเหล็ก’ เพื่อให้สอดคล้องกับหนังสือเล่มเดิม (หนังสือเรื่อง ‘ลงเรือแป๊ะ’) แต่คิดไปคิดมาอาจมีคนถามว่าครั้งหน้าจะเขียนเรื่องเรืออะไรอีก จึงนึกได้ว่าทำเนียบรัฐบาลคือบ้านเลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก ซึ่งหลายคนไม่รู้ และตนเคยเห็นหนังสือเล่มหนึ่งที่อังกฤษซึ่งใช้ชื่อตามทำเนียบรัฐบาลอังกฤษ คือเลขที่ 10 ถนนดาวนิง ลอนดอน มีเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลอังกฤษ จึงคิดได้ว่ารัฐบาลเป็นชุดที่ 2 ที่เกิดขึ้นในทำเนียบรัฐบาล น่าจะเขียนขึ้นใหม่สักเล่มหนึ่ง 

 

ขณะเดียวกันวิษณุเปิดเผยว่า จะเขียนหนังสืออีกเล่มที่เป็นนวนิยายเกี่ยวกับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับนวนิยายเรื่องก่อนๆ ที่เคยเขียน โดยเนื้อเรื่องจะมีพระเอก นางเอก เป็นเนื้อเรื่องสนุก และมีเหตุการณ์บ้านเมืองมาสอดแทรก พระเอกเป็นทหารชั้นผู้น้อยไปรักกับลูกสาวเจ้าพระยา แต่ตอนหลังเข้าร่วมเป็นคณะราษฎรยึดอำนาจ ส่วนจะตีพิมพ์เมื่อไรยังไม่ทราบ และยังไม่ได้มองว่าจะใช้สำนักพิมพ์ใดเป็นผู้ตีพิมพ์

 

ทั้งนี้ หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นการเขียนถึงการทำงานในสมัยรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ 2 เช่น การบริหารราชการแผ่นดิน บรรยากาศการประชุมคณะรัฐมนตรี วิบากกรรมของนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีกับความเป็นผู้นำ และจุดแข็งจุดอ่อนของรัฐบาล 

 

โดยในสมัยแรกได้เขียนหนังสือเรื่อง ‘ลงเรือแป๊ะ’ ซึ่งมีความต่อเนื่องกับหนังสือชื่อ ‘ชีวิตดั่งหาดทรายและทะเล’ ซึ่งเป็นชีวประวัติในการทำงาน เนื่องในวาระอายุครบ 72 ปีที่ผ่านการทำงานกับนายกรัฐมนตรีมา 8 คน 12 คณะรัฐมนตรี ไม่มีจัดจำหน่าย เป็นหนังสือแจกฟรีให้กับคนที่รักใคร่ชอบพอเท่านั้น

The post ‘วิษณุ’ แจกลายเซ็นหนังสือ ‘เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก’ บอกเล่าการทำงานของรัฐบาลประยุทธ์ 2 เตรียมแต่งนิยายเรื่องใหม่อิงเหตุการณ์ 2475 appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิษณุ​ปัดพยากรณ์​การเมืองปีหน้า​ ชี้เป็นธรรมเนียมหาก พ.ร.บ.กู้เงินไม่ผ่านวาระแรก​ เศรษฐาต้องลาออก​หรือ​ยุบสภา​ แต่ไร้กฎหมายบังคับ​ https://thestandard.co/wissanu-does-not-predict-politics-next-year/ Mon, 25 Dec 2023 07:23:17 +0000 https://thestandard.co/?p=880665

วันนี้ (25 ธันวาคม) วิษณุ​ เครืองาม​ อดีตรองนายกรัฐมนตร […]

The post วิษณุ​ปัดพยากรณ์​การเมืองปีหน้า​ ชี้เป็นธรรมเนียมหาก พ.ร.บ.กู้เงินไม่ผ่านวาระแรก​ เศรษฐาต้องลาออก​หรือ​ยุบสภา​ แต่ไร้กฎหมายบังคับ​ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (25 ธันวาคม) วิษณุ​ เครืองาม​ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย​ กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา (สว.​) จะหมดวาระในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 ว่า มี สว. ใหม่เข้ามา แต่มีบทบาทอีกแบบหนึ่งจึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ เพียงแต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญจะยังไม่แล้วเสร็จ เพียงแต่เดินหน้าไปถึงจุดหนึ่ง ส่วนรัฐบาลปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่​ ตนก็ยังไม่ทราบและเรื่องนี้อยู่ที่นายกรัฐมนตรี จึงคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันไม่ขอประเมินว่าสถานการณ์ทางการเมืองในปีหน้าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง

 

เมื่อถามย้ำว่าหาก สว. หมดวาระวันที่ 11 พฤษภาคม 2567​ ไม่มีอำนาจในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่​ วิษณุ​ระบุว่าไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี​ แต่ยังคงทำหน้าที่ สว. ต่อไป​จนกว่าจะมีการประกาศ สว. ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 2 เดือน จนกว่าจะประกาศใบเหลืองใบแดงแล้วเสร็จ

 

วิษณุ​ยังกล่าวถึงกรณีที่หากร่าง พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตไม่ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือไม่ว่า​ หากไม่ผ่านในวาระแรกก็เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล คือยุบสภาหรือลาออก เพราะถือว่าไม่ไว้ใจรัฐบาล โดยตามธรรมเนียมเป็นเช่นนั้น ซึ่งไม่ถือว่ากฎหมายบังคับ แต่หากไม่ผ่านในวาระ 2, 3 หรือไม่ผ่านในชั้นวุฒิสภานั้นไม่เป็นไร เพราะหากสภารับหลักการในวาระที่ 1 แล้ว กฎหมายนั้นก็จะเป็นของสภา​ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล

 

เมื่อถามย้ำว่าหากไม่ผ่านในวาระรับหลักการแล้วจะไม่ลาออกได้หรือไม่​ วิษณุ​กล่าวว่ากรณีดังกล่าวเป็นธรรมเนียมประเพณี​ ไม่เช่นนั้นจะถูกตำหนิติเตียน พร้อมยกตัวอย่างในสมัย จอมพล ป.​ พิบูลสงคราม​ เมื่อกฎหมายไม่ผ่านก็ลาออก ขณะที่ พล.อ. เปรม​ ติณสูลานนท์ เมื่อเสนอกฎหมายเข้าไปแล้วไม่ผ่านก็ประกาศยุบสภา และในประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นก็เป็นเช่นนั้น ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ส่วนการประเมินการทำงานของรัฐบาลเศรษฐาในรอบ 3 เดือนนั้น ตนไม่ขอประเมิน ต้องให้ความเป็นธรรมกับรัฐบาล จึงไม่สามารถที่จะพูดได้

 

ชี้ช่อง ‘ยิ่งลักษณ์’ หากจะถวายฎีกาต้องกลับมามอบตัวเป็นนักโทษก่อน

 

วิษณุยังกล่าวถึงกรณีหาก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะขอพระราชทานอภัยโทษเหมือนกับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้หรือไม่ว่า การขอพระราชทานอภัยโทษมีลำดับคือ

  1. ต้องกลับเข้ามาในประเทศ
  2. ต้องมามอบตัวเป็นนักโทษแล้วจึงจะถวายฎีกาได้ ถ้าหากยังไม่ได้รับโทษก็ยังถวายฎีกาไม่ได้ จะไม่เรียกว่าฎีกา เพราะฎีกานั้นคือสิ่งที่นักโทษเด็ดขาดเป็นผู้ถวายขึ้นไป

 

เมื่อถามว่าขั้นตอนจะเหมือนทักษิณหรือไม่ วิษณุกล่าวว่าตนไม่ทราบ ส่วนจะโปรดเกล้าฯ หรือไม่ แล้วแต่พระมหากรุณาฯ

The post วิษณุ​ปัดพยากรณ์​การเมืองปีหน้า​ ชี้เป็นธรรมเนียมหาก พ.ร.บ.กู้เงินไม่ผ่านวาระแรก​ เศรษฐาต้องลาออก​หรือ​ยุบสภา​ แต่ไร้กฎหมายบังคับ​ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดวิวาทะและเสียงวิจารณ์ หลังนายกฯ แถลงชี้แจงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต https://thestandard.co/digital-wallet-quotes-and-criticism/ Tue, 14 Nov 2023 00:50:50 +0000 https://thestandard.co/?p=865328 ดิจิทัลวอลเล็ต

สิ้นเสียงการแถลงและชี้แจงรายละเอียดโครงการแจกเงินดิจิทั […]

The post เปิดวิวาทะและเสียงวิจารณ์ หลังนายกฯ แถลงชี้แจงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดิจิทัลวอลเล็ต

สิ้นเสียงการแถลงและชี้แจงรายละเอียดโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

 

ตามมาด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทุกทิศทาง โดยเฉพาะเรื่องการออกกฎหมายเพื่อกู้เงินมาใช้ในโครงการ

 

THE STANDARD เปิดวิวาทะหลังนายกรัฐมนตรีแถลงชี้แจงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 

 

 

“วันนี้ คำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดในการดำเนินนโยบายนี้ คือการออก พ.ร.บ. (กู้) วงเงิน 500,000 ล้านบาท”

 

– เศรษฐา ทวีสิน

นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

กล่าวระหว่างการแถลงชี้แจงรายละเอียดโครงการ

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

 

 

“หรือนี่เป็นเพียงการสร้างภาพให้ความมั่นใจกับประชาชนว่ากำลังจะได้เงิน ทั้งๆ ที่รู้ดีว่าไปไม่รอดแน่ เป็นการสร้างกับดักเพื่อที่ในอนาคตหากมีบรรดานักร้องหรือผู้ตรวจการแผ่นดินไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะสามารถอ้างได้ว่าเป็นความผิดของศาลรัฐธรรมนูญในการปัดตกร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาล”

 

– ศิริกัญญา ตันสกุล 

สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล

ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

 

 

“ต้องบอกด้วยความเคารพว่าแทบจะไม่เข้าเงื่อนไข (ตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561) สักประการ”

 

– คำนูณ สิทธิสมาน

สมาชิกวุฒิสภา (สว.) 

โพสต์ข้อผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566

 

 

“(การกู้เงิน) กระทำไม่ได้…ผมจึงขอให้ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์แก่สำนักงานกฤษฎีกา และแก่รัฐมนตรีที่จะร่วมพิจารณาเรื่องนี้”

 

– ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ 

และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 

โพสต์ข้อผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566

 

 

“ไม่แน่นัก การรู้ว่าการออก พ.ร.บ. มันยากเย็นขนาดนี้ อาจเป็นการหาทางลงที่ไม่ใช่ทางออกของคนยิ้มซื่อๆ ที่ชื่อ เศรษฐา ทวีสิน”

 

– สมชัย ศรีสุทธิยากร 

อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 

โพสต์ข้อผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566

 

 

“อย่าเอามาตรฐานความคิดของตัวเองมาหวังว่าคนอื่นเขาจะเป็นเหมือนกัน อย่ามองความตั้งใจที่บริสุทธิ์ และความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน มาเป็นมุมการเมืองที่สร้างความสับสนให้กับประชาชนเลยครับ”

 

– เศรษฐา ทวีสิน

นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

โพสต์ข้อความผ่าน X (Twitter) 

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566

 

 

รัฐบาลเขาคงถือว่าดูดีแล้วว่าไม่ขัด พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 6 และมาตรา 9 แต่อีกฝ่ายบอกว่าขัด เพราะมีประโยคต้องแปลกัน ระบุว่าต้องไม่ใช้ประโยชน์ไปในการหาเสียง หาคะแนนนิยม

 

– วิษณุ เครืองาม 

อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการกฤษฎีกา 

กล่าวเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566

 

 

“ศิริกัญญาเองก็ขอให้เราทำโครงการนี้ เพียงแต่ขอให้ปรับลดเพดานเงินลง แสดงให้เห็นว่าศิริกัญญาเองก็เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว”

 

– ภูมิธรรม เวชยชัย 

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 

โพสต์ข้อความผ่าน X (Twitter) 

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566

 

 

“ดิฉันไม่เคย ‘ขอ’ ให้ทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แต่เมื่อจะร่วมรัฐบาลกัน ในการร่วมประชุมเพื่อวางแผนงบปี 67 อยากให้งบครอบคลุมโครงการของพรรคร่วม และเห็นว่านโยบายนี้เป็นนโยบายเรือธงที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียง จึงเสนอว่าหากจะทำก็ได้ แต่งบประมาณไม่พอ ถ้าจะทำจริงต้องปรับลดงบลงมา”

 

– ศิริกัญญา ตันสกุล 

สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล

โพสต์ข้อความผ่าน X (Twitter) 

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566

 

 

“เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้บอกว่าไม่เห็นด้วยแล้วขอให้บันทึกการประชุม แต่พูดตอนท้ายการประชุมว่ามีหน้าที่ดูแลทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมาย และปกป้องทุกคนในที่ประชุม โดยจะนำเรื่องไปหารือในคณะกรรมการกฤษฎีกา”

 

– นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช 

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 

ให้สัมภาษณ์ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566

 

 

“ทำไมพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลจึงคิดทำต่อ ทุกวันนี้ยังไม่ได้รับเหตุผลใดๆ กลับมา เพียงมีการขุดอดีตไล่ความชอบธรรมว่าตนเองเคยเห็นด้วย”

 

– ศิริกัญญา ตันสกุล 

สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล

โพสต์ข้อความผ่าน X (Twitter) 

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566

 

 

“แหล่งเงินที่จะนำมาแจกคือ การออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ เศรษฐาพูดมาโดยตลอดว่าจะไม่กู้เงินมาดำเนินการโครงการนี้แต่อย่างใด อันถือเป็นการตระบัดสัตย์ของผู้นำประเทศ ที่ทำให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรง” 

 

– ศรีสุวรรณ จรรยา 

ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน 

กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566

 

 

“ผมมาร้อง (ต่อ กกต.) เพื่อไม่ต้องการให้การเลือกตั้งครั้งต่อไป (มีพรรคการเมือง) ประกาศ 15 ชั้นฟ้า 14 ชั้นดินว่าทำได้ แต่เมื่อถึงเวลาแล้วทำไม่ได้ แล้วพี่น้องประชาชนก็จะเสียหาย จะเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย” 

 

– สนธิญา สวัสดี 

สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ 

กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566

The post เปิดวิวาทะและเสียงวิจารณ์ หลังนายกฯ แถลงชี้แจงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐา-คนเพื่อไทยดวลวาทะชนศิริกัญญา ปมนโยบายแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กับข้อสรุปรัฐบาลกู้เงินได้หรือไม่ https://thestandard.co/pheu-thai-people-duel-sirikanya/ Mon, 13 Nov 2023 10:48:07 +0000 https://thestandard.co/?p=865279 เศรษฐา-ศิริกัญญา

หลังจบการแถลงและชี้แจงรายละเอียดโครงการแจกเงินดิจิทัลวอ […]

The post เศรษฐา-คนเพื่อไทยดวลวาทะชนศิริกัญญา ปมนโยบายแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กับข้อสรุปรัฐบาลกู้เงินได้หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐา-ศิริกัญญา

หลังจบการแถลงและชี้แจงรายละเอียดโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

 

ศิริกัญญา ตันสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะทีมเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกล ออกมาให้ความเห็นทันทีต่อโครงการนี้ว่า การที่รัฐบาลเลือกใช้วิธีการกู้เงินเพื่อนำมาใช้แจกในโครงการนี้อาจจะผิดกฎหมายวินัยการเงินการคลัง-ขัดรัฐธรรมนูญ และนี่อาจเป็นทางลงของโครงการที่รัฐบาลจะยืมมือองค์กรต่างๆ ตีตกกฎหมายการกู้เงิน

 

เศรษฐา-คนเพื่อไทยทวีตโต้ศิริกัญญา

 

เช้าวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน เศรษฐาได้โพสต์ข้อความผ่าน X (ทวิตเตอร์) โดยโควตข่าวการให้สัมภาษณ์ของศิริกัญญาว่า “อย่าเอามาตรฐานความคิดของตัวเองมาหวังว่าคนอื่นเขาจะเป็นเหมือนกัน อย่ามองความตั้งใจที่บริสุทธิ์ และความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน มาเป็นมุมการเมืองที่สร้างความสับสนให้กับประชาชนเลยครับ”

 

นอกจากตัวเศรษฐาแล้วยังมีคนในพรรคเพื่อไทย เช่น ขัตติยา สวัสดิผล, ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์, จิราพร สินธุไพร และ ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ มาร่วมทวีตตอบโต้ศิริกัญญาอีกด้วย

 

บ่ายวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงพาณิชย์ หนึ่งในแกนนำสำคัญของพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กับมติชน โดยระบุว่า หากเสียงวิจารณ์โครงการดิจิทัลวอลเล็ตเป็นประโยชน์กับประเทศและประชาชน รัฐบาลยินดีรับฟังอยู่แล้ว แต่หากจะวิจารณ์แค่ว่าเราผิด หรือแค่หาทางลงนั้น ไม่อยากให้คิดแค่เพียงนำความได้เปรียบทางการเมืองมาดิสเครดิตรัฐบาล

 

นอกจากนี้ยังได้พาดพิงศิริกัญญาด้วยว่า สมัยพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล “ศิริกัญญาเองก็ขอให้เราทำโครงการนี้ เพียงแต่ขอให้ปรับลดเพดานเงินลง แสดงให้เห็นว่าศิริกัญญาเองก็เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว”

 

ทำให้ศิริกัญญาได้โควตข่าวดังกล่าวพร้อมข้อความว่า “ดิฉันไม่เคย ‘ขอ’ ให้ทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แต่เมื่อจะร่วมรัฐบาลกัน ในการร่วมประชุมเพื่อวางแผนงบปี 67 อยากให้งบครอบคลุมโครงการของพรรคร่วมและเห็นว่านโยบายนี้เป็นนโยบายเรือธงที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียง จึงเสนอว่าหากจะทำก็ได้ แต่งบประมาณไม่พอ ถ้าจะทำจริงต้องปรับลดงบลงมา

 

“และก็เป็นพรรคเพื่อไทยเองที่ปฏิเสธไม่ยอมทำ ถ้าอยากให้ดิฉันหยุดพูดเรื่องนี้ก็เปิดเผยรายงานการประชุมและมติที่ประชุมคณะกรรมการมาว่าตัวแทนกฤษฎีกาในคณะกรรมการชุดใหญ่พูดว่าอะไร ถึงเชื่อว่าทำได้ถูกกฎหมาย ไม่ใช่มาขุดอดีตหาความชอบธรรม”

 

ก่อนที่ภูมิธรรมจะโควตข้อความของศิริกัญญา และตอบกลับว่า “ต้องพูดความจริงให้หมดครับ ผมบอกคุณไหมว่าลดไม่ได้ เพราะโครงการนี้ไม่ใช่แจกเงิน แต่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ต้องใช้ 10,000 บาท ให้ประชาชนร่วมกระตุ้น เศรษฐกิจเพื่อเพิ่มกำลังซื้อ ถ้าให้ทำก็ต้องทำตามที่เราเสนอ ถ้าต้องลดแล้วผิดวัตถุประสงค์เราคงไม่ทำ

 

“ที่จริงต้องพูดว่าคุณไหมมาพูดกับผมตอนพบกันครั้งที่ 2 หลังทราบว่าประชาชนต้องการดิจิทัลวอลเล็ต จึงขอผมว่าดิจิทัลวอลเล็ตให้ทำต่อได้ไหม แต่ขอลดเพดานลงจาก 10,000 บาทให้น้อยลงหน่อย ผมจึงตอบกลับว่าถ้าทำต้องทำตามที่เราคิดมา ลดไม่ได้ เพราะไม่ใช่การแจกเงินสร้างความนิยม แต่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ”

 

ตกลงแล้วรัฐบาลกู้เงินได้หรือไม่

 

วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงนโยบายนี้ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบข้อกฎหมายที่ถูกมองว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญว่า เรื่องนี้ส่งมาที่คณะกรรมการกฤษฎีกาแต่ส่งไปคณะอื่น ไม่ใช่คณะของตน

 

เมื่อสอบถามความเห็นว่าหากว่าออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงินจะทำได้หรือไม่นั้น วิษณุกล่าวว่า ทำได้อยู่แล้ว แต่จะผ่านสภาหรือไม่ หรือว่าอาจมีคนขอส่งศาลรัฐธรรมนูญตอนหลังก็ทำได้ เหมือนการออกกฎหมายทั่วไป

 

เมื่อถามว่าจะเป็นการผิด พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 หรือไม่ วิษณุกล่าวว่า รัฐบาลเขาคงถือว่าดูดีแล้วว่าไม่ขัด พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 6 และมาตรา 9 แต่อีกฝ่ายบอกว่าขัด เพราะมีประโยคต้องแปลกัน ระบุว่าต้องไม่ใช้ประโยชน์ไปในการหาเสียง หาคะแนนนิยม

 

ขณะที่เช้าวันนี้ (13 พฤศจิกายน) นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand กรณีที่มีข่าวว่าเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ระหว่างการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

 

นพ.พรหมินทร์ยืนยันว่าเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้บอกว่าไม่เห็นด้วยแล้วขอให้บันทึกการประชุม แต่พูดตอนท้ายการประชุมว่ามีหน้าที่ดูแลทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมาย และปกป้องทุกคนในที่ประชุม โดยจะนำเรื่องไปหารือในคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

นอกจากนี้ยังมีมุมมองจากคนอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

  • คำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (สว.) “ไม่เข้าเงื่อนไขการตรากฎหมายพิเศษเพื่อกู้เงินตามมาตรา 53 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561”
  • ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มองว่า “กู้มาแจกทำไม่ได้”
  • สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มองว่า “การกู้เงินเป็นเส้นทางวิบาก ไปต่อได้ยาก อาจเป็นทางลงของโครงการ”

 

“ยังไม่มีคำตอบใดๆ” ศิริกัญญาขอความชัดเจนกู้เงินผิดกฎหมายหรือไม่

 

ศิริกัญญาให้สัมภาษณ์ที่พรรคก้าวไกลในช่วง 12.00 น. ของวันนี้ว่า จนถึงตอนนี้รัฐบาลยังไม่มีคำตอบใดๆ ออกมาว่าเหตุใดจึงยังเดินหน้าโครงการต่อ ในเมื่อการออก พ.ร.บ.กู้เงิน ที่อาจขัดต่อกฎหมายวินัยการเงินการคลัง

 

“ทำไมพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลจึงคิดทำต่อ ทุกวันนี้ยังไม่ได้รับเหตุผลใดๆ กลับมา เพียงมีการขุดอดีตไล่ความชอบธรรมว่าตนเองเคยเห็นด้วย ทุกครั้งที่ออกมาแสดงความเห็นเรื่องนี้ไม่เคยพูดคัดค้านแม้แต่ครั้งเดียว เพียงแต่ถามว่างบประมาณมาจากไหน ยังไม่เริ่มคัดค้านจริงๆ จังๆ เลยสักครั้ง”

 

ศิริกัญญายังได้ขอให้รัฐบาลช่วยตอบให้ตรงประเด็นว่าจะไม่ผิดกฎหมายได้อย่างไร เพียงเปิดความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยรายงานการประชุมทั้งในชั้นคณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ออกมาว่าไม่ผิดกฎหมายอย่างไรก็จบแล้ว ตนเองก็จะได้เป็นคนหน้าแตกไปเลย

 

ศิริกัญญาระบุด้วยว่า การทำโครงการนี้ไม่ใช่เรื่องของการเอาชนะของพรรคเพื่อไทย แต่น่าจะเป็นการรักษาคำพูด ซึ่งเป็นจุดอ่อนจุดหนึ่งเหมือนกัน หลังจากที่ไม่ได้รักษาคำพูดมาแล้วครั้งหนึ่งตอนร่วมรัฐบาลและตั้งรัฐบาลมา จำเป็นต้องฟื้นความเชื่อมั่นว่าต้องทำตามที่พูดที่ได้หาเสียงไว้ให้ได้

 


อ่านเพิ่มเติม:


 

The post เศรษฐา-คนเพื่อไทยดวลวาทะชนศิริกัญญา ปมนโยบายแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กับข้อสรุปรัฐบาลกู้เงินได้หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิษณุชี้ รัฐบาลออกกฎหมายกู้เงินเพื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ตได้ แต่ต้องลุ้นว่าจะผ่านสภาและศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ https://thestandard.co/government-can-enact-loan-laws/ Sun, 12 Nov 2023 11:34:43 +0000 https://thestandard.co/?p=864851 วิษณุ เครืองาม

จากที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกมาคัดค้านโครงการแจกเงินดิ […]

The post วิษณุชี้ รัฐบาลออกกฎหมายกู้เงินเพื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ตได้ แต่ต้องลุ้นว่าจะผ่านสภาและศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิษณุ เครืองาม

จากที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกมาคัดค้านโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หลัง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศเงื่อนไขในการใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ตเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น 

 

ล่าสุดวันนี้ (12 พฤศจิกายน) วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทที่อยู่ระหว่างขั้นตอนส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบข้อกฎหมาย ซึ่งถูกมองว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญ ว่า ตนไม่รู้เรื่องนี้และให้ความเห็นไม่ได้ เพราะเมื่อส่งมาที่คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ต้องส่งไปคณะอื่น ไม่ใช่คณะของตน เข้าใจว่าเป็นคณะของ พนัส สิมะเสถียร กรรมการกฤษฎีกา

 

เมื่อถามว่า ในฐานะนักกฎหมายมองเรื่องนี้ในแง่กฎหมายอย่างไร วิษณุกล่าวว่า ไม่รู้ ตนไม่เคยดูเรื่องนี้ เพราะตอนแรกเขาก็พูดกัน ไม่รู้เรื่องว่าคืออะไร มาจากไหน แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าเขาถามไปว่าอย่างไร

 

ออก พ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อใช้ดิจิทัลวอลเล็ตได้ แต่ต้องลุ้นจะผ่านสภาและศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

เมื่อถามว่า ถ้าออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงิน จะทำได้หรือไม่ วิษณุกล่าวว่า “ได้น่ะมันทำได้อยู่แล้ว แต่ว่าจะผ่านสภาหรือไม่ หรือว่าอาจมีคนส่งศาลรัฐธรรมนูญตอนหลังก็ทำได้ เหมือนการออกกฎหมายทั่วไป”

 

เมื่อถามอีกว่า จะเป็นการผิด พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังหรือไม่ วิษณุกล่าวว่า รัฐบาลเขาคงถือว่าเขาดูดีแล้วว่าไม่ขัด พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 6 และมาตรา 9 แต่อีกฝ่ายก็บอกว่าขัดเพราะมันมีประโยคที่ต้องแปลกัน ที่ระบุว่าต้องไม่ไปใช้ประโยชน์ในการหาเสียง หาคะแนนนิยม

The post วิษณุชี้ รัฐบาลออกกฎหมายกู้เงินเพื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ตได้ แต่ต้องลุ้นว่าจะผ่านสภาและศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิษณุคัมแบ็กนั่งกรรมการกฤษฎีกาหลังพ้นรองนายกฯ จับตาหวนคืนเก้าอี้ประธานคณะที่ 2 https://thestandard.co/wissanu-returns-council-of-state/ Tue, 07 Nov 2023 14:19:38 +0000 https://thestandard.co/?p=863477

วันนี้ (7 พฤศจิกายน) มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง […]

The post วิษณุคัมแบ็กนั่งกรรมการกฤษฎีกาหลังพ้นรองนายกฯ จับตาหวนคืนเก้าอี้ประธานคณะที่ 2 appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (7 พฤศจิกายน) มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มอีก 2 ราย คือ วิษณุ เครืองาม และ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ซึ่งทั้ง 2 รายเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนหมดวาระเนื่องจากการยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่

 

สำหรับสาเหตุที่มีการแต่งตั้ง ในประกาศระบุว่า เนื่องจาก นพนิธิ สุริยะ กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 14 ถึงแก่อนิจกรรม และ อุดม รัฐอมฤต กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 6 ขอลาออกจากตำแหน่ง ประกอบกับตำแหน่งประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 ได้ว่างลง 

 

“บัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งบุคคลทั้ง 2 รายดังกล่าว ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2566” ข้อความท้ายประกาศระบุ

 

อย่างไรก็ตาม วิษณุเคยดำรงตำแหน่งกรรมการกฤษฎีกามาก่อน และได้ยุติบทบาทในช่วงที่ต้องดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ 

 

สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาตามกฎพระราชบัญญัติ คณะกรรมการกฤษฎีกา ปี 2522 มาตรา 74 ระบุว่า คณะกรรมการกฤษฎีกามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

 

  • จัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติของคณะรัฐมนตรี
  • รับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ หรือตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติของคณะรัฐมนตรี
  • เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมาย

 

ขณะที่จากการตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่ปี 2558-2565 บุคคลที่นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 ซึ่งดูแลด้านกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินคือ วิษณุ เครืองาม 

 

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกาชุดใหม่ 136 ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2565 โดยประกาศฉบับดังกล่าวไม่มีรายชื่อของวิษณุ

 

สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เมื่อตรวจสอบพบว่าวิษณุนั่งเป็นกรรมการกฤษฎีกาครั้งแรกในปี 2543 หากนับจนถึงปี 2565 เป็นระยะเวลา 22 ปี นับเป็นครั้งแรกที่การแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกาไม่ปรากฏชื่อวิษณุ

 

อ้างอิง:

The post วิษณุคัมแบ็กนั่งกรรมการกฤษฎีกาหลังพ้นรองนายกฯ จับตาหวนคืนเก้าอี้ประธานคณะที่ 2 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สว. เตรียมรับเงินทุนเลี้ยงชีพ หลังว่างงานปี 67 หมดอำนาจเลือกนายกฯ https://thestandard.co/senator-prepares-to-receive-retirement-funds/ Fri, 20 Oct 2023 12:45:46 +0000 https://thestandard.co/?p=856974 สว. เงินทุนเลี้ยงชีพ

เริ่มนับถอยหลังจากนี้ไปจนกระทั่งวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 […]

The post สว. เตรียมรับเงินทุนเลี้ยงชีพ หลังว่างงานปี 67 หมดอำนาจเลือกนายกฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สว. เงินทุนเลี้ยงชีพ

เริ่มนับถอยหลังจากนี้ไปจนกระทั่งวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 การทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จะหมดวาระลงตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ในบทเฉพาะกาล มาตรา 269 ที่กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของ 250 สว. ชุดเฉพาะกาลไว้ 5 ปี 

 

แต่ สว. ชุดนี้จะยังคงทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมี สว. ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน ซึ่ง วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า สว. ที่อยู่ เขาให้อยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ตามมาตรา 272 ไม่ใช่การเลือกนายกฯ 

 

แม้การทำหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรีของ สว. จะสิ้นสุดลงไม่เกินวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 นับจากวันที่มีรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา แต่ถ้าเราย้อนดูจะพบว่า อำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีของ สว. เกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง แต่กลับเป็น 2 ครั้งที่ทำให้เป็นตัวแปรสำคัญให้พรรคที่ได้รับการเลือกตั้งอันดับ 1 ไม่ได้เป็นรัฐบาลถึง 2 ครา

 

จนนำไปสู่คำถามที่ว่า สว. มีไว้ทำไม ซึ่งในห้วงโอกาสที่ สว. นับถอยหลังการทำหน้าที่ตามวาระ THE STANDARD ขอรวบรวมสิทธิประโยชน์ของ สว. ณ ขณะดำรงตำแหน่งไปจนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งก็ยังได้รับสิทธิพิเศษมาให้รับทราบ 

 

สว. เงินเดือนเท่าไร

 

จากหนังสือสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2556 ระบุ

เงินเดือนและค่าตอบแทน สว. ไว้ดังนี้

 

  • ประธานวุฒิสภา
    เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 74,420 บาท
    เงินเพิ่มเดือนละ 45,500 บาท
    รวมเป็นเดือนละ 119,920 บาท

  • รองประธานวุฒิสภา
    เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท
    เงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท
    รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท

  • สมาชิกวุฒิสภา
    เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาท
    เงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท
    รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท  

 

นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์สวัสดิการรักษาพยาบาล ตรวจสุขภาพประจำปี 7,000 บาท

การรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการและเอกชน

กรณีการรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน

  • ค่าห้องและค่าอาหาร  4,000 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 31 วันต่อครั้ง)
  • ค่าห้อง ICU/CCU 10,000 บาทต่อวัน (สูงสุด 7 วันต่อครั้ง) 
  • ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป 100,000 บาทต่อครั้ง 
  • ค่ารถพยาบาล 1,000 บาท
  • ค่าแพทย์ผ่าตัด 120,000 บาทต่อครั้ง
  • ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ 1,000 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 31 วันต่อครั้ง) 
  • ค่าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค 4,000 บาทต่อครั้ง
  • การรักษาทันตกรรม 5,000 บาทต่อปี
  • การคลอดบุตร คลอดธรรมชาติ 20,000 บาท / คลอดโดยการผ่าตัด 40,000 บาท

กรณีการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก

  • ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป 90,000 บาทต่อปี
  • อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 20,000 บาทต่อครั้ง
     

สิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง เบี้ยประชุม นอกจากนี้ สส. กับ สว. ยังสามารถมีผู้ช่วย 8 คน แบ่งเป็น 

  • ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว 1 คน มีเงินเดือนเดือนละ 24,000 บาท 
  • ผู้ชำนาญการประจำตัว 2 คน มีเงินเดือนเดือนละ 15,000 บาท 
  • ผู้ช่วยดำเนินการประจำตัวอีก 5 คน มีเงินเดือนเดือนละ 15,000 บาท

 

ทั้งหมดนี้เป็นสิทธิในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง สว. แต่รู้หรือไม่ เมื่อ สว. พ้นจากตำแหน่งยังมีสิทธิประโยชน์จากกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ว่าด้วยการบริหาร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการจ่ายเงินช่วยเหลือกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2556 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 

 

เพจ LIRT : คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยสิทธิประโยชน์ที่อดีต สว. จะได้ตามระเบียบว่า 

 

สำหรับผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาตามระเบียบฯ ข้อ 29 ให้ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาตามข้อ 27 มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน โดยให้ได้รับเป็นระยะเวลา 2 เท่าของเวลาสำหรับคำนวณเงินทุนเลี้ยงชีพ ในส่วนของ สว. ที่มีวาระครบ 5 ปีก็จะได้รับสิทธิประโยชน์คือ คำนวณเงินทุนเลี้ยงชีพตั้งแต่ 48 เดือน แต่ไม่ถึง 96 เดือน ให้ได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพในอัตราเดือนละ 12,000 บาท 

 

และเงินกองทุนในส่วนนี้มีที่มาจากเงินทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ 

  • เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
  • เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  • เงินที่สมาชิกรัฐสภาส่งเข้ากองทุนในอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
  • เงินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาตามระเบียบรัฐสภาว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2543
  • เงินและทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน
  • เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค
  • ดอกผลของเงินกองทุน


ทั้งนี้รายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

 

อ้างอิง:

 

The post สว. เตรียมรับเงินทุนเลี้ยงชีพ หลังว่างงานปี 67 หมดอำนาจเลือกนายกฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภูมิธรรมเผย มีผู้ตอบรับร่วมเป็นกรรมการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ​ 20 กว่าคนแล้ว​ เมินข้อเสนอ​วิษณุ​ตัด สสร. https://thestandard.co/phumtham-referendum-constitutional/ Tue, 26 Sep 2023 05:37:45 +0000 https://thestandard.co/?p=846317 ภูมิธรรม

วันนี้ (26 กันยายน) ที่ทำเนียบรัฐบาล ภูมิธรรม​ เวชยชัย […]

The post ภูมิธรรมเผย มีผู้ตอบรับร่วมเป็นกรรมการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ​ 20 กว่าคนแล้ว​ เมินข้อเสนอ​วิษณุ​ตัด สสร. appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภูมิธรรม

วันนี้ (26 กันยายน) ที่ทำเนียบรัฐบาล ภูมิธรรม​ เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ​ศึกษาแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการรวบรวมคณะกรรมการชุดดังกล่าวว่า ขณะนี้มีการตอบรับมาแล้ว 20 กว่าคนแล้ว โดยเป็นบุคคลที่จะสร้างความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น กิตติพงษ์​ กิตยารักษ์​ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม รวมไปถึง ชูศักดิ์​ ศิรินิล​ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งได้ตอบรับเรียบร้อยแล้ว

 

ภูมิธรรมกล่าวว่า คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะสามารถนำเสนอรายชื่อให้แก่นายกรัฐมนตรีพิจารณาได้ ซึ่งต้องดูว่านายกรัฐมนตรีจะสามารถเซ็นอนุมัติได้เลยหรือไม่ เนื่องจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้หลักการไว้แล้ว แต่หากไม่สามารถทำได้เลย ก็สามารถนำกลับเข้ามาเสนอที่ประชุม ครม. อีกครั้งได้​

 

ทั้งนี้ ตนจะเป็นประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว โดยมีชูศักดิ์เป็นรองประธานคนที่ 1​ ส่วนเลขานุการ​คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี​ รวมถึงคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีรองเลขาธิการสำนักงานกฤษฎีกาเข้าร่วมด้วย​ ส่วนตำแหน่งโฆษกฯ จะพูดคุยกันอีกครั้งหลังจากที่คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้เริ่มประชุมครั้งแรก ซึ่งจะมีความชัดเจนในหลายๆ เรื่อง​ 

 

โดยภูมิธรรม​ระบุว่า​ แนวคิดการดำเนินการได้เรียนให้กับคณะกรรมการฯ ทราบทั้งหมดแล้ว พร้อมย้ำว่า หลักการของตนในการร่างรัฐธรรมนูญ​และกฎหมายลูกจะต้องจบภายใน 4 ปี​ เพื่อให้การเลือกตั้งสามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายใหม่​ 

 

ส่วนการยื่นขอทำประชามติให้เร็วที่สุด จะให้ ครม. มีมติทำประชามติ เพราะ ครม. เองก็ต้องการดำเนินการให้เร็วที่สุดเช่นกัน เนื่องจากหากใช้วิธีรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 50,000 คน​ หรือนำเข้าสภา ​จะต้องรอการพิจารณาอีกครั้ง

 

เมื่อถามถึงข้อเสนอของ วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ที่อาจขอให้ลดขั้นตอนการทำประชามติ โดยไม่ต้องมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ​ (สสร.) จะสามารถเป็นไปได้หรือไม่​ ภูมิธรรม​ระบุว่า​ หลักการที่พูดไว้แต่เดิมคือ ต้องมี สสร. แต่จะดำเนินการอย่างไรเพื่อลดขั้นตอน ก็จะทำอย่างนั้นอยู่แล้ว

 

เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคก้าวไกลจะเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม รัฐบาลมีแนวทางอย่างไรต่อกรณีดังกล่าว ภูมิธรรม​ระบุว่า ตนยังไม่เห็นรายละเอียด ขอดูรายละเอียดก่อนจึงจะสามารถให้ความเห็นได้

The post ภูมิธรรมเผย มีผู้ตอบรับร่วมเป็นกรรมการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ​ 20 กว่าคนแล้ว​ เมินข้อเสนอ​วิษณุ​ตัด สสร. appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิษณุยืนยันต้องออก พ.ร.บ. โละประกาศ-คำสั่ง คสช. เว้นคำสั่งทางบริหารให้ ครม. ออกมติยกเลิกได้ ชี้รัฏฐาธิปัตย์คือประชาชน https://thestandard.co/wisanu-kreangam-25092023/ Mon, 25 Sep 2023 02:36:35 +0000 https://thestandard.co/?p=845660 วิษณุ เครืองาม

วันนี้ (25 กันยายน) วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี […]

The post วิษณุยืนยันต้องออก พ.ร.บ. โละประกาศ-คำสั่ง คสช. เว้นคำสั่งทางบริหารให้ ครม. ออกมติยกเลิกได้ ชี้รัฏฐาธิปัตย์คือประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิษณุ เครืองาม

วันนี้ (25 กันยายน) วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่รัฐบาลจะดำเนินการทบทวนและยกเลิกประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า การยกเลิกประกาศหรือคำสั่งของ คสช. ฉบับใดที่รัฐบาลเห็นว่าเก่าแก่ ล้าสมัย หรือไม่เป็นธรรมนั้น สามารถดำเนินการได้ด้วยการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เพื่อยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 บัญญัติว่า บรรดาประกาศหรือคำสั่ง คสช. ให้มีผลเหมือนกฎหมาย เว้นแต่ประกาศหรือคำสั่ง คสช. ฉบับใดที่มีสถานะเป็นเหมือนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือคำสั่งทางบริหาร ก็ให้อาศัยการออกเป็นมติ ครม. ไปแก้หรือยกเลิกประกาศหรือคำสั่ง คสช. นั้นๆ ซึ่งขณะนี้ประกาศและคำสั่ง คสช. แบบนั้นได้ยกเลิกไปเสียเองหมดแล้ว อาทิ กรณีคำสั่ง คสช. ที่แต่งตั้ง พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 

 

วิษณุกล่าวอีกว่า คำสั่ง คสช. ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวถือเป็นกฎหมาย ถ้าต้องการจะยกเลิกต้องออกเป็น พ.ร.บ. เพื่อยกเลิกคำสั่งนั้น ทั้งนี้ ในสมัยรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตนได้ยกร่าง พ.ร.บ. เตรียมไว้เพื่อใช้ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่ปรากฏว่าขณะนั้นมีคนแสดงความคิดเห็นว่าวิธีนี้ช้า น่าจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่า พอคิดกันไปคิดกันมา รัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ก็หมดวาระ อย่างไรก็ตาม สำหรับตนคิดว่าเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวนี้ไม่มีวิธีอื่นนอกจากใช้วิธีออกเป็น พ.ร.บ.

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า ครม. ชุดปัจจุบันไม่ใช่รัฏฐาธิปัตย์ใช่หรือไม่ วิษณุกล่าวว่า คำว่า ‘รัฏฐาธิปัตย์’ แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขณะนี้ผู้ที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์คือประชาชน เราจึงเรียกว่า ‘ประชาธิปไตย’ ที่แปลว่าอธิปไตยเป็นของประชาชน แต่ถ้าพระเจ้าแผ่นดินเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เราก็เรียกว่า ‘ราชาธิปไตย’ หรือถ้าคณะบุคคลเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เราเรียกว่า ‘คณาธิปไตย’ หรือถ้าข้าราชการเป็นใหญ่ เราเรียกว่า ‘อำมาตยาธิปไตย’ แต่วันนี้เราเป็นประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจึงเขียนว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แค่นี้ก็แปลว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว ส่วนประชาชนใช้อำนาจผ่านทางผู้แทนราษฎรเพราะผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย และสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยเช่นกัน 

 

เมื่อถามว่า ถ้ามีผู้ก่อรัฐประหาร บุคคลนั้นถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์ใช่หรือไม่ วิษณุกล่าวว่า อย่างนั้นคือใช่ เพราะบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เขียนว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยได้ถูกยกเลิกไปแล้วหลังจากเกิดรัฐประหาร

The post วิษณุยืนยันต้องออก พ.ร.บ. โละประกาศ-คำสั่ง คสช. เว้นคำสั่งทางบริหารให้ ครม. ออกมติยกเลิกได้ ชี้รัฏฐาธิปัตย์คือประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>