วสันต์ ภัยหลีกลี้ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 09 Feb 2024 05:59:57 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 กสม. แนะราชทัณฑ์ยกเลิกกฎห้ามผู้ต้องขังติดต่อผู้ที่ไม่ใช่ญาติทางสายเลือดทุกเรือนจำทั่วประเทศ https://thestandard.co/recommend-corrections-to-cancel-the-rule/ Fri, 09 Feb 2024 05:59:57 +0000 https://thestandard.co/?p=897852

วันนี้ (9 กุมภาพันธ์) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ก […]

The post กสม. แนะราชทัณฑ์ยกเลิกกฎห้ามผู้ต้องขังติดต่อผู้ที่ไม่ใช่ญาติทางสายเลือดทุกเรือนจำทั่วประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (9 กุมภาพันธ์) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดย วสันต์ ภัยหลีกลี้ และ สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่ กสม. เสนอกรมราชทัณฑ์และเรือนจำกลางบางขวาง ยกเลิกข้อบังคับให้ผู้ต้องขังติดต่อทางจดหมายได้เฉพาะญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเท่านั้น

 

วสันต์กล่าวว่า กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องรายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดของเรือนจำกลางบางขวาง เมื่อเดือนเมษายน 2566 ระบุว่า ปัจจุบันผู้ร้องถูกควบคุมตัวอยู่แดน 2 เรือนจำกลางบางขวาง เมื่อปี 2564 ทางเรือนจำออกข้อบังคับให้ผู้ต้องขังติดต่อบุคคลภายนอกได้เฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเท่านั้น ทำให้ผู้ร้องไม่สามารถติดต่อบุคคลอื่นได้ 

 

เนื่องจากบิดาและมารดาของผู้ร้องเสียชีวิตแล้ว นอกจากนี้ ผู้ร้องยังไม่สามารถส่งจดหมายติดต่อเพื่อนหรือบุคคลที่ผู้ร้องรู้จักได้ เนื่องจากเรือนจำมีข้อบังคับเพื่อป้องกันผู้ต้องขังส่งข้อความที่อาจผิดกฎหมายไปยังบุคคลภายนอก ผู้ร้องเห็นว่า เรือนจำสามารถตรวจสอบข้อความในจดหมายได้อยู่แล้ว ประกอบกับเรือนจำอื่นๆ อนุญาตให้ผู้ต้องขังติดต่อกับบุคคลภายนอกได้ จึงขอให้ตรวจสอบเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องขังที่พึงได้รับตามที่กฎหมายบัญญัติ 

 

กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 36 บัญญัติรับรองให้บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกัน การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อให้ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ 

 

สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 17 ที่รับรองว่า บุคคลจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัวหรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ โดยพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 60 ได้บัญญัติรับรองสิทธิของผู้ต้องขังที่จะได้รับอนุญาตให้ติดต่อกับบุคคลภายนอกได้ โดยบุคคลที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเรือนจำเพื่อเยี่ยมผู้ต้องขังจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ที่ประกาศไว้ 

 

นอกจากนี้ ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำแห่งองค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (United Nations Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners) หรือข้อกำหนดแมนเดลา ข้อ 58 ยังกำหนดให้ผู้ต้องขังต้องได้รับอนุญาตให้สื่อสารกับครอบครัวและเพื่อนตามระยะเวลาที่เหมาะสม โดยมีการกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น ทั้งในรูปแบบการเขียนจดหมายและการเยี่ยม 

 

วสันต์กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบปรากฏว่า พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของผู้ต้องขังกับบุคคลภายนอก กรณีสื่อสารทางจดหมาย ไม่ได้กำหนดให้ผู้ต้องขังสามารถติดต่อได้เฉพาะญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด ยกเว้นกรณีติดต่อสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์หรือเครือข่ายคมนาคมที่เรือนจำจะอนุญาตให้ผู้ต้องขังติดต่อเฉพาะญาติเท่านั้น ส่วนกรณีการจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลภายนอกที่จะติดต่อกับผู้ต้องขังไว้ล่วงหน้า เรือนจำสามารถกำหนดให้ผู้ต้องขังแจ้งรายชื่อบุคคลภายนอกที่จะติดต่อกันไว้ล่วงหน้า จำนวนไม่เกิน 10 รายชื่อ ซึ่งเป็นการดำเนินการกรณีบุคคลเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังในเรือนจำเท่านั้น โดยไม่มีระเบียบใดกำหนดให้ผู้ต้องขังต้องแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะสื่อสารทางจดหมายไว้ล่วงหน้า

 

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการคุมขังและปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในแดนความมั่นคงสูงสุด และเรือนจำความมั่นคงสูงสุด พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้เรือนจำความมั่นคงสูงสุด 5 แห่ง ได้แก่ เรือนจำกลางเขาบิน เรือนจำกลางระยอง เรือนจำกลางพิษณุโลก เรือนจำกลางคลองไผ่ และเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช จัดให้ผู้ต้องขังพึงได้รับการเยี่ยมเยือนหรือติดต่อบุคคลภายนอก ก็กำหนดเพียงให้เรือนจำแต่ละแห่งจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนรายชื่อญาติเพื่อสิทธิในการเยี่ยมผู้ต้องขังผ่านจอภาพ 

 

โดยพบว่ามีเพียงเรือนจำกลางเขาบินที่มีข้อบังคับกำหนดให้ผู้ต้องขังจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่จะติดต่อทางจดหมาย เพื่อยืนยันว่าบุคคลที่จะติดต่อมีความสัมพันธ์กับผู้ต้องขังจริง แต่จะอนุญาตให้ผู้ต้องขังเปลี่ยนแปลงรายชื่อบุคคลในบัญชีได้เดือนละ 1 ครั้ง ขณะที่เรือนจำความมั่นคงสูงสุดอีก 4 แห่ง ไม่มีข้อบังคับกำหนดให้ผู้ต้องขังต้องจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่จะติดต่อทางจดหมาย และอนุญาตให้ผู้ต้องขังสื่อสารทางจดหมายกับบุคคลที่ไม่ใช่ญาติได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาในจดหมายตามระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องก่อน

 

วสันต์กล่าวว่า การที่เรือนจำกลางบางขวางซึ่งไม่ได้เป็นเรือนจำความมั่นคงสูงสุด ออกข้อบังคับกำหนดให้ผู้ต้องขังต้องส่งบัญชีรายชื่อผู้ที่จะติดต่อสื่อสารทางจดหมายไว้ และบุคคลดังกล่าวต้องมีความสัมพันธ์เป็นบิดา มารดา ภรรยา บุตร พี่น้องร่วมบิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา และหลานของผู้ต้องขังเท่านั้น แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการลักลอบสื่อสารข้อความที่อาจนำไปสู่การกระทำผิดกฎหมายก็ตาม แต่เรือนจำกลางบางขวางในฐานะผู้ถูกร้องก็สามารถใช้อำนาจในการตรวจสอบจดหมายของผู้ต้องขังเพื่อดูเนื้อความในจดหมายได้ตามกฎหมาย และหากตรวจสอบพบว่าเนื้อความในจดหมายเป็นการสื่อสารที่ก่อให้เกิดการกระทำผิดกฎหมาย เรือนจำฯ ย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องขังแก้ไข ระงับการส่ง สั่งให้ทำลาย หรือดำเนินการสอบสวนหรือส่งเรื่องฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เพื่อป้องกันเหตุข้างต้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้ต้องขังจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่จะติดต่อสื่อสารทางจดหมายไว้ล่วงหน้า 

 

การออกข้อบังคับของเรือนจำกลางบางขวางที่กำหนดให้ผู้ต้องขังทำบัญชีส่งรายชื่อผู้ที่จะติดต่อสื่อสารทางจดหมาย รวมทั้งกำหนดให้บุคคลนั้นต้องเป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเท่านั้น จึงเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารของผู้ร้อง รวมถึงผู้ต้องขังรายอื่นโดยไม่จำเป็น เป็นการเพิ่มภาระและจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 26 ไม่สอดคล้องกับระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการตรวจสอบจดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่น หรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารทางโทรคมนาคม ซึ่งมีถึงหรือจากผู้ต้องขังในสถานที่กักขัง พ.ศ. 2561 รวมทั้งข้อกำหนดแมนเดลา การกระทำของเรือนจำกลางบางขวาง ผู้ถูกร้อง จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน 

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าว กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 จึงมีข้อเสนอแนะให้เรือนจำกลางบางขวางและกรมราชทัณฑ์สั่งการเรือนจำทั่วประเทศพิจารณาทบทวน ปรับปรุง หรือยกเลิกข้อบังคับเรือนจำที่กำหนดให้ผู้ต้องขังจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่จะติดต่อสื่อสารทางจดหมาย ซึ่งจำกัดเพียงญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเท่านั้น โดยพิจารณาตามความเหมาะสมกับระดับความมั่นคงของแต่ละเรือนจำต่อไป

The post กสม. แนะราชทัณฑ์ยกเลิกกฎห้ามผู้ต้องขังติดต่อผู้ที่ไม่ใช่ญาติทางสายเลือดทุกเรือนจำทั่วประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. ส่งหนังสือด่วนที่สุด ขอให้ตรวจสอบการทำงานตำรวจคดี ‘ป้าบัวผัน’ กังวลชาวเน็ตเปิดข้อมูลเยาวชนที่ก่อเหตุ https://thestandard.co/nhrc-auntie-bua-pan-case/ Fri, 26 Jan 2024 07:57:32 +0000 https://thestandard.co/?p=892553

วันนี้ (26 มกราคม) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยช […]

The post กสม. ส่งหนังสือด่วนที่สุด ขอให้ตรวจสอบการทำงานตำรวจคดี ‘ป้าบัวผัน’ กังวลชาวเน็ตเปิดข้อมูลเยาวชนที่ก่อเหตุ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (26 มกราคม) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีความเห็นต่อคดีเยาวชนก่อเหตุทำร้ายร่างกายและฆ่า บัวผัน  ตันสุ หรือ ป้าบัวผัน ซึ่งต่อมาปรากฏว่า ปัญญา คงคำแสน หรือ ลุงเปี๊ยก สามีของผู้ตายถูกกระทำทรมานและบังคับข่มขู่เพื่อให้รับสารภาพว่าก่อเหตุ ว่าเป็นการละเมิดต่อสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลย 

 

วสันต์ระบุว่า ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 24 มกราคม 2567 เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ถึงอัยการสูงสุด และประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เข้าองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และกำหนดมาตรการฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้แก่ผู้เสียหายแล้ว

 

ขณะเดียวกัน กสม. มีความห่วงกังวลกรณีที่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์และเพจต่างๆ ได้เผยแพร่ภาพที่เป็นการเปิดเผยอัตลักษณ์ ตลอดจนข้อมูลส่วนบุคคลของเยาวชนผู้ก่อเหตุและครอบครัวอย่างแพร่หลาย อันกระทบต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศชื่อเสียง และครอบครัว ตามที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 32 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 

 

ทั้งยังขัดต่อหลักอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่ระบุว่า เด็กมีสิทธิที่จะได้รับความเคารพในความเป็นส่วนตัวในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม และแม้แต่ในกระบวนการชั้นพิจารณาก็สมควรจะต้องหลีกเลี่ยงการแสดงตัวเด็กต่อสาธารณชน โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับรูปพรรณสัณฐานและชื่อของเด็ก

The post กสม. ส่งหนังสือด่วนที่สุด ขอให้ตรวจสอบการทำงานตำรวจคดี ‘ป้าบัวผัน’ กังวลชาวเน็ตเปิดข้อมูลเยาวชนที่ก่อเหตุ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. ชี้กรณีตำรวจและบุคลากรทางการศึกษาขัดขวาง-คุกคามการชุมนุมโดยสงบของเด็ก ละเมิดสิทธิฯ แนะระวังในการจับกุม https://thestandard.co/nhrct-on-blocking-juvenile-rally/ Fri, 20 Oct 2023 00:46:29 +0000 https://thestandard.co/?p=856643 กสม. เผยถึงการ ละเมิดสิทธิ การชุมนุมโดยสงบ ของเด็ก

วานนี้ (19 ตุลาคม) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยช […]

The post กสม. ชี้กรณีตำรวจและบุคลากรทางการศึกษาขัดขวาง-คุกคามการชุมนุมโดยสงบของเด็ก ละเมิดสิทธิฯ แนะระวังในการจับกุม appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. เผยถึงการ ละเมิดสิทธิ การชุมนุมโดยสงบ ของเด็ก

วานนี้ (19 ตุลาคม) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 จากผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า นับตั้งแต่เกิดการชุมนุมที่ส่วนใหญ่มีเด็กเข้าร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมาก เมื่อปี 2563-2564 มีเด็กบางส่วนแสดงออกถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตนเองทั้งในโรงเรียนและพื้นที่สาธารณะ แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและบุคลากรทางการศึกษาข่มขู่ คุกคาม ใช้ความรุนแรง รวมทั้งใช้วิธีการต่างๆ เพื่อปราบปรามการแสดงออกของเด็ก ผู้ร้องเห็นว่าการกระทำดังกล่าวส่งผลให้เกิดความกังวลและความหวาดกลัวต่อเด็กที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพของตน จึงขอให้ตรวจสอบ 

 

วสันต์กล่าวว่า กสม. ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์และลงพื้นที่สังเกตการณ์การชุมนุม พิจารณาหลักกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนข้อเท็จจริงจากหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้ว มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่ตำรวจและบุคลากรทางการศึกษาได้กระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเด็กที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมหรือไม่ 

 

โดยเห็นว่าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) กำหนดว่า เด็ก หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี การกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็กนั้น ผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก เด็กมีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีในทุกๆ เรื่องที่มีผลกระทบต่อตนเอง ทั้งยังมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมโดยสงบ และจะไม่ถูกแทรกแซงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในความเป็นอยู่ส่วนตัว ครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ 

 

ทั้งนี้ ในการจับกุม กักขัง หรือจำคุกเด็กต้องเป็นไปตามกฎหมาย โดยจะใช้เป็นมาตรการสุดท้ายและให้มีระยะเวลาที่สั้นที่สุด โดยต้องถูกแยกและได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ 

 

วสันต์กล่าวอีกว่า ขณะที่พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ประกอบกับพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้กำหนดหลักการที่สอดคล้องกันกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยกำหนดห้ามไม่ให้จับกุมเด็ก (ผู้ที่อายุต่ำกว่า 15 ปี) ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่เด็กนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีหมายจับหรือคำสั่งของศาล 

 

ส่วนการจับกุมเยาวชน (ผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปจนถึง 18 ปี) ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในการจับกุมเด็กต้องกระทำอย่างละมุนละม่อมและคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก โดยเด็กต้องได้รับแจ้งการจับ ได้รับแจ้งข้อกล่าวหา รวมทั้งสิทธิตามกฎหมายด้วย

 

วสันต์ระบุว่า จากการตรวจสอบ กสม. มีความเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเด็กที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุม สรุปได้ดังนี้

 

1. ประเด็นการจับกุมเด็ก ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในช่วงที่เด็กออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างแพร่หลายในพื้นที่สาธารณะ ระหว่างปี 2563-2564 พบกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าจับกุมเด็กด้วยความรุนแรงเกินกว่าเหตุเป็นจำนวนมาก บางรายไม่ได้รับการแจ้งสิทธิระหว่างจับกุม พบการรัดข้อมือเด็กด้วยสายรัดพลาสติกระหว่างควบคุมตัว

 

และโดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอในการตรวจสอบว่าผู้ถูกจับกุมเป็นบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปีหรือไม่ ทำให้เด็กถูกควบคุมตัวรวมกับผู้ถูกจับกุมที่เป็นผู้ใหญ่ อันเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และ ‘หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก’ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายและกติการะหว่างประเทศ

2. ประเด็นการดำเนินคดีอาญาต่อเด็ก นับตั้งแต่ปี 2563 ถึงต้นปี 2566 มีเด็กประมาณ 300 คน ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุม โดยเด็กบางรายถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายคดี ฐานความผิดส่วนใหญ่มีโทษจำคุก ในจำนวนนี้มีหลายฐานความผิดที่กำหนดโทษไว้สูง และประมาณ 3 ใน 4 ของคดีทั้งหมดเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ดังนั้นคดีที่ยังคงค้างอยู่ในกระบวนการพิจารณาคดีชั้นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชั้นสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพนักงานอัยการ หรือการพิจารณาคดีของศาล จึงอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อไปอีก

 

รวมทั้งหากพิจารณาชั่งน้ำหนักอย่างถี่ถ้วน เพื่อประเมินผลประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจากการดำเนินคดีต่อเด็ก กับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กหากปล่อยให้เด็กที่ถูกดำเนินคดีดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไปจนจบสิ้นกระบวนการทุกรายแล้ว ก็อาจเล็งเห็นได้ว่าจะไม่เกิดผลดีกับเด็กมากนัก และอาจเป็นการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับ ‘หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก’ ตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

 

3. ประเด็นการข่มขู่คุกคามเด็ก จากการตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ปรากฏพฤติการณ์ของบุคลากรทางการศึกษามากกว่า 100 กรณี แสดงออกในลักษณะของการสั่งห้าม ขัดขวาง ตำหนิด้วยถ้อยคำรุนแรง ยึดอุปกรณ์และสิ่งของ หรืออนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาสอดส่องและกดดันนักเรียนภายในโรงเรียน เพื่อไม่ให้ทำกิจกรรมทางการเมืองหรือเรียกร้องต่างๆ



ส่วนกรณีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการเข้าไปถ่ายภาพนักเรียนที่จัดกิจกรรมในสถานศึกษา มีการกดดันผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงครอบครัวของนักเรียนไม่ให้จัดหรือเข้าร่วมกิจกรรมและการชุมนุม รวมทั้งมีการเฝ้าติดตามเด็กที่เคยร่วมกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดกับหน้าที่พื้นฐานของรัฐที่จะต้องละเว้นไม่เข้าไปแทรกแซงการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบโดยไม่มีเหตุจำเป็น ทั้งยังกระทบต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของเด็ก จึงรับฟังได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

วสันต์กล่าวว่า ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 จึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ สภาผู้แทนราษฎร กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปดังนี้

 

1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ดำเนินการกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความระมัดระวังในการใช้กำลังจับกุมผู้ชุมนุม โดยต้องตรวจสอบก่อนว่าผู้ที่กำลังจะจับกุมเป็นบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปีหรือไม่ หากเป็นการจับกุมเด็กและเยาวชนจะต้องกระทำโดยละมุนละม่อม คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และพอสมควรแก่เหตุกับพฤติการณ์ของผู้ถูกจับ โดยต้องแจ้งให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เด็กและเยาวชนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมตัวทันที งดเว้นการใช้เครื่องพันธนาการกับเด็กและเยาวชนทั้งในขณะที่จับกุมและระหว่างควบคุมตัว แยกพื้นที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาเด็กไม่ให้ปะปนกับผู้ใหญ่

 

งดเว้นการเข้าไปติดตาม สอดส่อง หรือรบกวนพื้นที่ชีวิตส่วนตัวเกินกว่าเหตุโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ รวมทั้งเร่งรัดการสืบสวนหาข้อเท็จจริง กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติงานอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเด็กและเยาวชนในการชุมนุมระหว่างปี 2563-2564 หากพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใดกระทำการดังกล่าว ก็ให้ดำเนินการลงโทษตามสัดส่วนของความรับผิด เพื่อป้องปรามเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนให้สอดคล้องกับกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด

 

2. กระทรวงศึกษาธิการ ทบทวนและเพิ่มเติมมาตรการกำกับดูแลสถานศึกษาในสังกัด เพื่อสร้างหลักประกันไม่ให้เกิดกรณีการข่มขู่ คุกคาม หรือลงโทษนักเรียนที่เข้าร่วมการชุมนุมหรือแสดงออกถึงประเด็นปัญหาต่างๆ และเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ

 

3. สภาผู้แทนราษฎร ควรเร่งดำเนินการศึกษาข้อมูลและข้อเท็จจริงในรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี เพื่อให้เกิดการตรากฎหมายยุติการดำเนินคดีต่อเด็กและเยาวชน รวมทั้งการนิรโทษกรรมให้แก่เด็กและเยาวชนที่ได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามกฎหมาย ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เพื่อให้การปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมไม่เป็นภาระต่อเด็กเกินสมควร 

 

ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เร่งดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ กสม. ได้เสนอไว้จากการประชุมเพื่อแสวงหาทางออกกรณีสิทธิเด็กกับสถานการณ์การชุมนุม และการลงพื้นที่สังเกตการณ์การชุมนุมแต่ละครั้ง เพื่อสอดส่องดูแล และร่วมกันวางแนวปฏิบัติต่อเด็กในพื้นที่การชุมนุมให้เป็นไปอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับกฎหมายและหลักสากล

The post กสม. ชี้กรณีตำรวจและบุคลากรทางการศึกษาขัดขวาง-คุกคามการชุมนุมโดยสงบของเด็ก ละเมิดสิทธิฯ แนะระวังในการจับกุม appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. ชี้วิจิตรศิลป์ มช. ไม่แจ้งผลพิจารณาคำขอใช้พื้นที่ และขัดขวางไม่ให้นักศึกษาเข้าใช้พื้นที่จัดแสดงผลงานศิลปะที่หอศิลปวัฒนธรรม เป็นการละเมิดเสรีภาพวิชาการ https://thestandard.co/nhrc-say-fine-arts-space-rental/ Fri, 19 May 2023 14:36:32 +0000 https://thestandard.co/?p=792940 วสันต์ ภัยหลีกลี้

วันนี้ (19 พฤษภาคม) เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยช […]

The post กสม. ชี้วิจิตรศิลป์ มช. ไม่แจ้งผลพิจารณาคำขอใช้พื้นที่ และขัดขวางไม่ให้นักศึกษาเข้าใช้พื้นที่จัดแสดงผลงานศิลปะที่หอศิลปวัฒนธรรม เป็นการละเมิดเสรีภาพวิชาการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วสันต์ ภัยหลีกลี้

วันนี้ (19 พฤษภาคม) เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดย วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 18/2566 โดยกล่าวว่า

 

จากกรณีนักศึกษาสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ขอใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมเพื่อจัดแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 แต่คณะวิจิตรศิลป์ไม่พิจารณาอนุญาตให้ใช้พื้นที่ และต่อมาคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับนักศึกษาและอาจารย์ที่ร่วมกันเข้าไปในหอศิลปวัฒนธรรม ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุก 

 

กระทั่งพนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกให้นักศึกษาและอาจารย์เข้ารับทราบข้อกล่าวหา เหตุเกิดระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564 กสม. เห็นว่าการขัดขวางไม่ให้นักศึกษาแสดงผลงานศิลปะในพื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม และการแจ้งความดำเนินคดีดังกล่าว อาจขัดต่อหลักเสรีภาพทางวิชาการ จึงมีมติหยิบยกตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560  

 

กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ได้รับรองสิทธิของบุคคลที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และมีเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงมีเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นทุกประเภทโดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ในรูปศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก

 

จากการตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ ได้มีหนังสือถึงคณะวิจิตรศิลป์เพื่อขอใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมให้นักศึกษาจัดแสดงผลงานและให้อาจารย์ประจำสาขาวิชาตรวจให้คะแนน โดยกำหนดจัดแสดงผลงานระหว่างวันที่ 16-22 ตุลาคม 2564 ซึ่งในขั้นตอนการพิจารณาก่อนมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ คณะกรรมการดำเนินงานหอศิลปวัฒนธรรมได้มีหนังสือขอให้นักศึกษาจัดส่งรายละเอียดผลงานศิลปะและเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง แต่ยังไม่พิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ โดยในการขอใช้พื้นที่ของนักศึกษาได้ระบุระยะเวลาการขอใช้พื้นที่ไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งประธานกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปบัณฑิตได้มีหนังสือสอบถามผลการพิจารณาและขอให้แจ้งผลอย่างเร่งด่วน เพื่อให้นักศึกษาได้จัดเตรียมติดตั้งผลงานให้ทันตามกำหนดระยะเวลา นอกจากนี้ การที่คณะวิจิตรศิลป์ได้ล็อกประตูรั้ว ประตูทางเข้า และตัดน้ำ ตัดไฟ ส่งผลเป็นการขัดขวางไม่ให้นักศึกษาเข้าไปใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม ทั้งที่เคยเปิดให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าไปปฏิบัติงานได้เป็นการทั่วไป จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่อาจารย์และนักศึกษาต้องตัดโซ่ล็อกประตูรั้วและประตูทางเข้าเพื่อเข้าไปใช้พื้นที่ และเป็นที่มาของการแจ้งความดำเนินคดีกับอาจารย์และนักศึกษาซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นการที่คณะวิจิตรศิลป์โดยคณะกรรมการฯ ไม่แจ้งผลการพิจารณาให้นักศึกษาทราบในเวลาอันสมควร และขัดขวางไม่ให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าไปใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมในการจัดแสดงผลงานศิลปะ จึงกระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการ อันเป็นการกระทำหรือละเลยการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน 

 

อย่างไรก็ดี แม้ว่าท้ายที่สุดนักศึกษาจะสามารถเข้าไปจัดแสดงผลงานศิลปะในหอศิลปวัฒนธรรม และผลการศึกษาผ่านการรับรองจากคณะวิจิตรศิลป์ อันถือได้ว่ามีการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมแล้ว แต่เมื่อพิจารณาขั้นตอนการพิจารณาคำขออนุญาตใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมของคณะวิจิตรศิลป์ การขอใช้พื้นที่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดหรือหลักเกณฑ์ให้ผู้ขอใช้พื้นที่ต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานประกอบการขออนุญาตไว้ให้ชัดเจน และไม่มีการแจ้งมาตรการว่าหากผู้ยื่นคำขออนุญาตใช้พื้นที่ไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าวจะมีผลต่อการพิจารณาอนุญาตอย่างไร รวมทั้งไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการพิจารณาคำขอที่ชัดเจน แต่ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการฯ เพียงฝ่ายเดียว จึงอาจทำให้การพิจารณาคำขอล่าช้า ไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาในการขอใช้พื้นที่ และอาจส่งผลให้มีการใช้ดุลพินิจที่ก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ขอใช้พื้นที่เกินความจำเป็น 

 

สำหรับประเด็นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แจ้งความเพื่อให้ดำเนินคดีกับอาจารย์และนักศึกษาที่ร่วมเข้าไปในพื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์นั้น เป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเรียกหลักฐานเพิ่มเติม หากอาจารย์และนักศึกษาที่ถูกดำเนินคดีเห็นว่าตนเองถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ก็สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าว กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะไปยังผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ใช้ความระมัดระวังในการใช้ดุลพินิจที่อาจกระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการ และให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะวิจิตรศิลป์ ปรับแก้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเกี่ยวกับขั้นตอนการขอใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมเพื่อจัดแสดงผลงานของนักศึกษา และกำหนดกรอบระยะเวลาการยื่นคำขอและระยะเวลาในการพิจารณาคำขออนุญาตให้ชัดเจน รวมทั้งให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ประจำสาขาวิชา และ/หรือนักศึกษาที่ขอใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม ได้เข้าชี้แจงหรือแสดงความเห็นต่อคณะกรรมการดำเนินงานหอศิลปวัฒนธรรมเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอ โดยให้คำนึงถึงเสรีภาพทางวิชาการด้วย ทั้งนี้ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้

The post กสม. ชี้วิจิตรศิลป์ มช. ไม่แจ้งผลพิจารณาคำขอใช้พื้นที่ และขัดขวางไม่ให้นักศึกษาเข้าใช้พื้นที่จัดแสดงผลงานศิลปะที่หอศิลปวัฒนธรรม เป็นการละเมิดเสรีภาพวิชาการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. ผิดหวัง ครม. เลื่อนบังคับใช้กฎหมายป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย กระทบสิทธิประชาชนและความน่าเชื่อถือประเทศ https://thestandard.co/cabinet-postpone-law-enforcement/ Thu, 16 Feb 2023 05:59:03 +0000 https://thestandard.co/?p=751311 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

วันนี้ (16 กุมภาพันธ์) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมน […]

The post กสม. ผิดหวัง ครม. เลื่อนบังคับใช้กฎหมายป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย กระทบสิทธิประชาชนและความน่าเชื่อถือประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

วันนี้ (16 กุมภาพันธ์) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งเดิมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 โดยให้ขยายกำหนดเวลาการมีผลบังคับใช้ของมาตรา 22-25 ซึ่งเป็นมาตราที่สำคัญ ออกไปเป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2566 นั้น 

 

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผิดหวัง และเป็นห่วงว่าประชาชนยังอาจถูกละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายโดยกระบวนการจับกุมและสอบสวนที่ขัดต่อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันก็เป็นห่วงถึงผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศในเรื่องความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะผลักดันให้มีกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีมาตั้งแต่ปี 2550 และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (ICPPED) ที่ไทยได้แสดงเจตนารมณ์เข้าเป็นภาคีไว้ตั้งแต่ปี 2555

 

สำหรับประเด็นที่มีข้อถกเถียงว่าการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวเพื่อขยายระยะเวลาบังคับใช้กฎหมาย เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้หรือไม่นั้น เพื่อให้สิ้นความสงสัยและเป็นบรรทัดฐานในโอกาสต่อๆ ไป กสม. เห็นควรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเสนอเรื่องนี้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยด้วย

 

“กสม. ได้รับทราบปัญหาและข้อจำกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในเรื่องความพร้อมด้านอุปกรณ์การบันทึกภาพและเสียง ความพร้อมของบุคลากรในการปฏิบัติตามกฎหมาย และความไม่ชัดเจนในแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานกลาง อย่างไรก็ดี กสม. และผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเห็นว่าปัญหาดังกล่าวมีทางออกและข้อยกเว้นอยู่แล้ว และเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายที่ล่าช้าออกไปจะส่งผลกระทบมากกว่า โดยเฉพาะต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของประชาชน” วสันต์กล่าว

 

วสันต์ยังกล่าวอีกว่า ระหว่างที่มีการเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายมาตราที่สำคัญออกไป ขอให้รัฐบาลเร่งเตรียมความพร้อมและแก้ปัญหาข้อจำกัดในทุกด้าน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะไม่มีการขอเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายออกไปอีก

The post กสม. ผิดหวัง ครม. เลื่อนบังคับใช้กฎหมายป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย กระทบสิทธิประชาชนและความน่าเชื่อถือประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. ชี้ สถานปฏิบัติธรรมให้ผู้ที่ต้องการบวชแสดงผลตรวจ HIV เป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งสุขภาพ https://thestandard.co/nhrc-hiv-result/ Thu, 08 Dec 2022 08:41:29 +0000 https://thestandard.co/?p=721367 กสม.

วันนี้ (8 ธันวาคม) เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน […]

The post กสม. ชี้ สถานปฏิบัติธรรมให้ผู้ที่ต้องการบวชแสดงผลตรวจ HIV เป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งสุขภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม.

วันนี้ (8 ธันวาคม) เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดย วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ บุญเกื้อ สมนึก ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 43/2565 

 

วสันต์เปิดเผยว่า กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือนมกราคม 2564 เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งสุขภาพ ระบุว่า เว็บไซต์ของสถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งได้แจ้งให้ผู้หญิงที่สนใจจะบวชชีกับสถานปฏิบัติธรรมแห่งนั้น ต้องแสดงหนังสือรับรองของแพทย์ที่ระบุถึงผลตรวจเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) ประกอบการพิจารณาขอรับบวชด้วย ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า การกำหนดหลักเกณฑ์ในลักษณะดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ประสงค์จะบวช จึงขอให้ตรวจสอบ

 

กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 ให้การรับรองว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิ เสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกายหรือสุขภาพ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ นอกจากนี้มาตรา 31 ยังให้การรับรองเสรีภาพของบุคคลในการนับถือศาสนา ซึ่งย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน ด้วย 

 

จากการตรวจสอบและการรับฟังข้อเท็จจริง สถานปฏิบัติธรรมผู้ถูกร้องชี้แจงว่า ไม่ได้มีเจตนาลิดรอนสิทธิของผู้ติดเชื้อ HIV การขอให้ผู้ที่ประสงค์จะบวชชีตรวจโรคต่างๆ ได้แก่ HIV, วัณโรค, ไวรัสตับอักเสบ และสารเสพติด เป็นไปเพื่อการดูแลคนที่มาอยู่รวมกันหมู่มาก ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างถูกสุขอนามัยเท่านั้น 

 

ด้านกระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับการแพร่เชื้อ HIV สรุปได้ว่า เชื้อ HIV จะไม่ติดต่อจากการทำกิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น การจับมือ การใช้ห้องน้ำ การรับประทานอาหารร่วมกัน การสัมผัสเหงื่อ น้ำตา น้ำลายที่ไม่มีเลือด หรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อ เป็นต้น และไม่ติดต่อผ่านทางระบบหายใจ แต่จะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ หรือการได้รับเลือดจากผู้ติดเชื้อเท่านั้น 

 

อีกทั้งเชื้อ HIV เป็นเชื้อที่ตายง่ายเมื่ออยู่นอกร่างกาย หากผู้ติดเชื้อ HIV ได้รับประทานยาต้านเชื้ออย่างต่อเนื่อง ก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรง ใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป และอาจตรวจไม่พบเชื้อหรือพบแต่น้อยมากในระดับที่ไม่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้

 

เมื่อตรวจสอบระเบียบปฏิบัติของมูลนิธิสถาบันแม่ชีไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กำหนดหนึ่งในคุณลักษณะของผู้ที่ประสงค์จะบวชชีไว้ในระเบียบว่า มิได้เป็นโรคที่ต้องห้าม อันเป็นโรคร้ายแรงหรือโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ ประกอบกับปรากฏข้อเท็จจริงว่า สำนักชีแห่งหนึ่งซึ่งลงทะเบียนกับมูลนิธิสถาบันแม่ชีไทยเคยอนุญาตให้ผู้ติดเชื้อ HIV บวชชีได้ในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากไม่ได้ขัดต่อระเบียบปฏิบัติ อีกทั้งการปฏิบัติธรรมในระหว่างการบวชชีไม่มีกิจกรรมใดที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ของเชื้อ

 

ขณะเดียวกันสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ให้ข้อเท็จจริงว่า กฎ ระเบียบ และพุทธบัญญัติ ไม่มีการบัญญัติกรณีการบรรพชาอุปสมบทให้กับผู้ติดเชื้อ HIV มีเพียงแนวทางการปฏิบัติในปัจจุบันที่การบรรพชาอุปสมบทให้กับผู้ที่ติดเชื้อ HIV ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของพระอุปัชฌาย์ในการพิจารณาว่า อาการเจ็บป่วยของโรคเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาพระธรรมหรือไม่ 

 

นอกจากนี้กฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับการบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุสงฆ์ก็กำหนดเพียงว่า ผู้ประสงค์จะบรรพชาต้องเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ และมีเพียงข้อห้ามของมหาเถรสมาคมที่ไม่อนุญาตให้บรรพชาอุปสมบทกับคนที่มีโรคติดต่อเป็นที่น่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย เท่านั้น 

 

ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. จึงเห็นว่า การกำหนดให้ผู้ประสงค์จะบวชชีต้องแสดงเอกสารตรวจสุขภาพ โดยระบุให้ตรวจเชื้อ HIV ก่อนจะรับเข้าบวช เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่เกินสมควรแก่ความจำเป็น จึงเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมโดยอาศัยเหตุแห่งสุขภาพ 

 

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 พบว่า สถานปฏิบัติธรรมผู้ถูกร้องได้ยกเลิกเงื่อนไขให้ผู้ประสงค์จะบวชชีต้องแสดงหนังสือรับรองผลการตรวจเชื้อ HIV แล้ว จึงถือว่าข้อร้องเรียนได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมแล้ว 

 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โดยให้ทั้งสองหน่วยงานประสานกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ให้กับหน่วยงานศาสนาต่างๆ เช่น วัดพระพุทธศาสนา, สำนักสงฆ์, สำนักชีไทย, สถานที่ปฏิบัติธรรม และอื่นๆ เพื่อให้มีความเข้าใจและมิให้มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม โดยอาศัยเหตุแห่งการติดเชื้อ HIV มาเป็นข้อจำกัดที่ลิดรอนโอกาสในการเข้าถึงเสรีภาพในการปฏิบัติตามหลักศาสนาทุกศาสนา

The post กสม. ชี้ สถานปฏิบัติธรรมให้ผู้ที่ต้องการบวชแสดงผลตรวจ HIV เป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งสุขภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. ชี้เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีมีภาระงานหนัก กระทบสิทธิในการพักผ่อนและสร้างครอบครัว ถือเป็นการละเมิดสิทธิฯ https://thestandard.co/legal-execution-department-011265/ Thu, 01 Dec 2022 07:44:42 +0000 https://thestandard.co/?p=718507 กรมบังคับคดี

วันนี้ (1 ธันวาคม) เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน […]

The post กสม. ชี้เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีมีภาระงานหนัก กระทบสิทธิในการพักผ่อนและสร้างครอบครัว ถือเป็นการละเมิดสิทธิฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมบังคับคดี

วันนี้ (1 ธันวาคม) เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยวสันต์ ภัยหลีกลี้ และ ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2565 โดยมีวาระสำคัญ เรื่องผลการตรวจสอบกรณีเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีมีภาระงานหนัก ไม่ได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาที่เหมาะสม กระทบสิทธิในการพักผ่อนและการสร้างครอบครัว เป็นการละเมิดสิทธิ

 

วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 จากประชาชนผู้ไปติดต่อราชการกับสำนักงานบังคับคดีจังหวัดระยอง กรมบังคับคดี โดยเห็นว่าเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าวมีภาระงานมาก ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน และพบว่าเจ้าหน้าที่บางส่วนแม้จะต้องทำงานหนักแต่ยังไม่ได้บรรจุเข้ารับราชการ ประกอบกับการได้รับรายได้น้อยส่งผลกระทบต่อการสร้างครอบครัว จึงขอให้ตรวจสอบ

 

กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า บุคคลมีสิทธิที่จะมีสภาพการทำงานที่ยุติธรรมและน่าพึงพอใจ โดยเฉพาะการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เท่าเทียมกันสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่ากัน มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมสำหรับตนเองและครอบครัวในการดำรงชีวิต ตลอดจนมีสิทธิในการพักผ่อน มีเวลาว่าง และข้อจำกัดที่สมเหตุผลในเรื่องเวลาทำงาน และมีวันหยุดเป็นครั้งคราวโดยได้รับค่าตอบแทน ดังที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ให้การรับรองไว้ ประกอบกับการจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนนอกเหนือจากต้องมุ่งเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐแล้ว จะต้องเป็นไปเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย โดยเป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 34 และ 72 และหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีด้วย 

 

แม้กรมบังคับคดีจะตระหนักถึงปัญหาภาระงานที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนเจ้าหน้าที่และปัญหาค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดระยอง รวมถึงสำนักงานบังคับคดีประจำจังหวัดทั่วประเทศเป็นอย่างดี และได้พยายามดำเนินการแก้ไขปัญหามาโดยตลอดภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยอยู่ระหว่างศึกษาการจัดทำร่างพระราชบัญญัติพนักงานบังคับคดี เพื่อปรับปรุงวิธีการได้มาและการดำรงตำแหน่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้การทำงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมชั้นสูง เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการบังคับคดีที่มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานสากล อีกทั้งยังรักษาไว้ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่มีประสบการณ์ทำงานสูง และสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานโดยได้กำหนดหลักการในการได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ซึ่งจะได้ปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

 

แต่ทั้งนี้ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีที่ผ่านมาและปัจจุบันยังคงมีภาระงานหนักและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งไม่สอดคล้องกับค่าตอบแทนที่ได้รับ โดยเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลามากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน แต่สามารถเบิกค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการได้เพียงไม่เกินวันละ 3 ชั่วโมงต่อวัน อีกทั้งมีเพียงข้าราชการในตำแหน่งนิติกรเท่านั้นที่สามารถได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพิเศษตามระเบียบของข้าราชการพลเรือน แต่ก็ยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายประการ เช่น เงื่อนไขที่ต้องผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ ทำให้บางส่วนยังไม่ได้รับเงินเพิ่มที่ควรได้ กรณีนี้จึงกระทบต่อสิทธิในความเป็นอยู่ที่เหมาะสมสำหรับตนและครอบครัวในการดำรงชีวิต ตลอดจนสิทธิในการพักผ่อน มีเวลาว่าง ซึ่งไม่สอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ตลอดจนหลักการจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดระยองและเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดของกรมบังคับคดี

 

ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการในการป้องกันหรือการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สรุปได้ดังนี้ 

 

  1. มาตรการในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ให้กรมบังคับคดีสำรวจข้อมูล ข้อจำกัด และดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีข้าราชการตำแหน่งนิติกรบางส่วนที่ยังไม่สามารถได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ และประสานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เพื่อขอคำแนะนำและดำเนินการจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอเรื่องพิจารณาเพิ่มเติมตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากข้าราชการตำแหน่งนิติกรให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ และรวมถึงกรณีขอเพิ่มเติมตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่มของพนักงานราชการตามกระบวนการที่สำนักงาน ก.พ. ให้คำแนะนำด้วย

 

นอกจากนี้ให้สำนักงาน ก.พ. ทบทวนข้อจำกัด และปรับปรุงการเข้าถึงการได้รับการอบรมหลักสูตรนักกฎหมายภาครัฐหรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่า ซึ่ง ก.พ. กำหนดหรือรับรองไว้เป็นส่วนหนึ่งในคุณสมบัติของข้าราชการพลเรือนตำแหน่งนิติกรที่ขอรับการคัดเลือกให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่กรมบังคับคดีในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อเสนอพิจารณาเพิ่มเติมตำแหน่งให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตลอดทั้งกรณีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. …. ด้วย

 

  1. มาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  

ให้กรมบังคับคดีเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีลักษณะงานไม่สอดคล้องกับค่าตอบแทนเพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงาน อาทิ การร่างพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. …. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกระบวนการ ขั้นตอน และกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมตามกฎหมายกำหนด

 

รวมทั้งให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ พิจารณาเรื่องที่เสนอให้มีการปรับปรุง หรือเพิ่มเติมสวัสดิการ ค่าตอบแทน ตำแหน่ง อัตรากำลังของกรมบังคับคดีและหน่วยงานภาครัฐอื่นใด โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงเรื่องความยากง่าย ความหนักเบาของภาระงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้ ให้มีความสอดคล้องและเทียบเท่ากับงานในลักษณะเดียวกันกับหน่วยงานอื่นด้วย

The post กสม. ชี้เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีมีภาระงานหนัก กระทบสิทธิในการพักผ่อนและสร้างครอบครัว ถือเป็นการละเมิดสิทธิฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. เผย มติ ครม. เพิ่ม ‘โรคจิต-โรคอารมณ์’ ห้ามรับราชการ ชี้เลือกปฏิบัติ ขัดแย้งนโยบายส่งเสริมคนพิการทำงานของหน่วยงานรัฐ https://thestandard.co/nhrc-cabinet-psychosis-mood-disorder/ Thu, 20 Oct 2022 07:32:40 +0000 https://thestandard.co/?p=697751 วสันต์ ภัยหลีกลี้

วันนี้ (20 สิงหาคม) เวลา 10.30 น. วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรร […]

The post กสม. เผย มติ ครม. เพิ่ม ‘โรคจิต-โรคอารมณ์’ ห้ามรับราชการ ชี้เลือกปฏิบัติ ขัดแย้งนโยบายส่งเสริมคนพิการทำงานของหน่วยงานรัฐ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วสันต์ ภัยหลีกลี้

วันนี้ (20 สิงหาคม) เวลา 10.30 น. วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 เห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เสนอปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน 

 

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจโรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติโดยคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ก่อนประกาศราชกิจจานุเบกษา สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าว มีการยกเลิก ‘โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ’ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ออกจากลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน ขณะที่มีการเสนอให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ เป็นลักษณะต้องห้าม 

 

ต่อมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ กรณีการแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรคดังกล่าว ว่าอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงการมีงานทำของกลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยโรคจิตและโรคอารมณ์ผิดปกติ และอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและตีตราว่าบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้ อันนำไปสู่การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการหรือสุขภาพ 

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา กสม. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อกรณีการกำหนดให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติ เป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้ารับราชการพลเรือน โดยมีผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนหน่วยงานด้านสุขภาพจิต คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ วุฒิสภา และภาคีเครือข่ายคนพิการ ร่วมให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ 

 

ผลจากการประชุมหารือปรากฏรายงานข้อเท็จจริงยืนยันว่า กลุ่มคนพิการทางจิตสังคมและกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวชฯ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและหายขาดจากโรคได้ หากได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟูต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ปฏิบัติงานได้

 

ในทางกลับกัน ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. …. กลับไม่ได้ระบุลักษณะของโรคร้ายแรงอื่นที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้ด้วย ดังนั้น การระบุชื่อ ‘โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติ’ ไว้เป็นการเฉพาะ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการหรือสุขภาพ และอาจเป็นการเปิดช่องให้มีการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน อันส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพของกลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวช โรคจิตฯ 

 

ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการในหน่วยงานของรัฐ และไม่สอดคล้องตามหลักการไม่เลือกปฏิบัติ ดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีให้การรับรอง 

 

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นว่าการระบุให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน อาจส่งผลให้กลุ่มคนพิการทางจิตสังคมและกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวชฯ ปฏิเสธการเข้าสู่กระบวนการรักษา และทำให้สถานการณ์ความเจ็บป่วยทางจิตเวชในสังคมมีความรุนแรงมากขึ้น 

 

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวต่อไปว่า ในเบื้องต้นที่ประชุมจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. …. ข้อ 4.2 โดยนำชื่อ ‘โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders)’ ออกจากร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าว และนำข้อความในกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 ข้อ 5 ‘โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ ก.พ. กำหนด’ มาใช้ มีความครอบคลุมโรคโดยรวมแล้ว และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอย่างแท้จริงได้ 

 

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้สำนักงาน ก.พ. ศึกษาและพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งความพิการหรือสุขภาพ 

 

“การกำหนดให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง เป็นลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน ต้องคำนึงถึงสิทธิของคนพิการ ซึ่งรวมถึงสิทธิของผู้ป่วยทางจิตเวช โรคจิต และโรคอารมณ์ผิดปกติ โดยเฉพาะประเด็นสิทธิในการทำงาน สิทธิในโอกาสที่จะหาเลี้ยงชีพโดยงานซึ่งตนเลือกหรือรับอย่างเสรี รวมถึงการที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสุขภาพด้วย ทั้งนี้ กสม. จะรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เสนอต่อนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการ ก.พ. ต่อไป” วสันต์กล่าว

The post กสม. เผย มติ ครม. เพิ่ม ‘โรคจิต-โรคอารมณ์’ ห้ามรับราชการ ชี้เลือกปฏิบัติ ขัดแย้งนโยบายส่งเสริมคนพิการทำงานของหน่วยงานรัฐ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. แนะ BTS เพิ่มห้องน้ำในสถานีรถไฟฟ้า-ติดตั้งประตูกั้นชานชาลา เพื่อคุ้มครองสิทธิและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ https://thestandard.co/nhrc-advice-bts/ Thu, 29 Sep 2022 06:10:28 +0000 https://thestandard.co/?p=688371 กสม. แนะ BTS

วันนี้ (29 กันยายน) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษย […]

The post กสม. แนะ BTS เพิ่มห้องน้ำในสถานีรถไฟฟ้า-ติดตั้งประตูกั้นชานชาลา เพื่อคุ้มครองสิทธิและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. แนะ BTS

วันนี้ (29 กันยายน) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ระบุว่า ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า BTS ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ถูกร้อง) ไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากบางสถานีไม่มีประตูกั้นชานชาลา และเห็นว่ายังขาดสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะห้องน้ำภายในสถานีที่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการ และไม่ถูกสุขลักษณะ จึงขอให้ตรวจสอบ

 

กสม. ได้พิจารณาคำร้อง บทบัญญัติของกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชนและคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า เรื่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 56 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดหรือดำเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องดูแลมิให้มีการเรียกเก็บค่าบริการจนเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร

 

นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ สิทธิของผู้บริโภคที่ได้รับการรับรองไว้ข้างต้นย่อมมีผลผูกพันให้รัฐ รวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดบริการสาธารณะจะต้องบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิเช่นว่านั้น

 

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ถูกร้องได้จัดให้มีห้องน้ำเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการครบทั้ง 60 สถานี โดยผู้ใช้บริการสามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ประจำสถานีเพื่อขอใช้บริการได้ และมีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดเป็นประจำ

 

สำหรับประเด็นการติดตั้งประตูกั้นชานชาลา แม้ผู้ถูกร้องจะติดตั้งประตูกั้นชานชาลาไว้จำนวน 11 สถานี จากจำนวนสถานีทั้งหมด 60 สถานี คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 18 ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของจำนวนผู้โดยสารแต่ละสถานี แต่ผู้ถูกร้องได้ดำเนินการเพื่อรักษาความปลอดภัยบริเวณสถานีรถไฟฟ้าภายใต้คำแนะนำของบริษัทภายนอกและมีมาตรการลักษณะเดียวกันทุกสถานี ไม่ว่าสถานีนั้นจะมีประตูกั้นชานชาลาหรือไม่ ทั้งยังติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและป้องกันอันตรายให้แก่ผู้ใช้บริการ จึงเห็นว่าผู้ถูกร้องได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ในฐานะผู้บริโภคตามสมควรแก่กรณีแล้ว จึงไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่ผู้ร้องได้ร้องเรียน

 

อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าห้องน้ำบริเวณพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า BTS จำนวนมากเน้นให้บริการพนักงานบริษัทฯ และส่วนใหญ่ไม่มีป้ายแสดงให้ผู้ใช้บริการรับทราบว่ามีห้องน้ำให้บริการอยู่บริเวณใดของสถานี หรือหากต้องการใช้ห้องน้ำจะสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้อย่างไร รวมถึงการมีประตูกั้นชานชาลาเพียง 11 สถานี จาก 60 สถานี อาจทำให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวกที่เพียงพอและอาจเกิดอันตรายที่ไม่คาดคิดได้

 

กสม. จึงเห็นควรให้มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถูกร้อง และกรุงเทพมหานคร (กทม.) สรุปได้ดังนี้

 

ให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ปรับปรุงและเพิ่มห้องน้ำสาธารณะที่สามารถรองรับการใช้งานของประชาชนผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการใช้งานของทุกคนที่มิใช่เพียงพนักงานของบริษัทฯ และประชาสัมพันธ์แก่ผู้ใช้บริการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งและการใช้บริการห้องสุขาภายในสถานีรถไฟฟ้าแต่ละแห่ง

 

ทั้งนี้ให้ กทม. กำกับดูแลการก่อสร้างห้องน้ำสาธารณะให้เพียงพอแก่การอำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้บริการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า BTS ด้วย

 

นอกจากนี้ให้บริษัทฯ ติดตั้งประตูกั้นชานชาลาเพิ่มเติมในสถานีรถไฟฟ้าที่มีข้อมูลแสดงให้เห็นว่ามีจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ในสถานีดังกล่าวมากขึ้นในระดับที่เทียบเคียงกับสถานีที่มีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาอยู่แล้ว

The post กสม. แนะ BTS เพิ่มห้องน้ำในสถานีรถไฟฟ้า-ติดตั้งประตูกั้นชานชาลา เพื่อคุ้มครองสิทธิและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. ขานรับรัฐบาลยกเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมโควิด ชงยุติการดำเนินคดีกับประชาชนผู้ฝ่าฝืน https://thestandard.co/nhrc-emergency-decree/ Thu, 29 Sep 2022 05:56:36 +0000 https://thestandard.co/?p=688364

วันนี้ (29 กันยายน) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษย […]

The post กสม. ขานรับรัฐบาลยกเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมโควิด ชงยุติการดำเนินคดีกับประชาชนผู้ฝ่าฝืน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (29 กันยายน) วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 19) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 รวมทั้งบรรดาข้อกำหนด ประกาศและคำสั่ง ที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจแห่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมด โดยให้มีผลในวันที่ 30 กันยายน 2565 เป็นต้นไปนั้น

 

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เห็นด้วยและขอขอบคุณ ศบค. ที่มีมติดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลายไปมากแล้ว และที่ผ่านมาในหลายกรณีการดำเนินการตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และข้อกำหนดที่ออกตามประกาศดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนและประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่ง กสม. เคยมีข้อเสนอให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ รวมถึงข้อกำหนดฯ (ฉบับที่ 27) ข้อ 11 ด้วยแล้ว

 

กสม. เห็นว่าเมื่อมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ รวมถึงข้อกำหนด ประกาศและคำสั่งต่างๆ แล้ว พนักงานสอบสวนควรยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ หรือคดีเกี่ยวเนื่องกับความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบคดีควรใช้ดุลพินิจในการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี หรือหากเห็นว่าสังคมโดยรวมจะไม่ได้รับประโยชน์หากมีการดำเนินคดีก็ควรเสนอความเห็นไปยังอัยการสูงสุดในการสั่งไม่ฟ้องหรือถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว โดยคำนึงถึงความจำเป็นของการดำเนินคดี รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นสำคัญ

The post กสม. ขานรับรัฐบาลยกเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมโควิด ชงยุติการดำเนินคดีกับประชาชนผู้ฝ่าฝืน appeared first on THE STANDARD.

]]>