ประกันสินเชื่อ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 30 Mar 2022 06:58:44 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 ขายส่งประกันชีวิตกับ ‘ธุรกิจประกันชีวิตต่อ’ ในประเทศไทย https://thestandard.co/wholesale-life-insurance-and-reinsurance-business/ Tue, 01 Mar 2022 10:39:37 +0000 https://thestandard.co/?p=600549 ธุรกิจประกันชีวิตต่อ

โดยปกติธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันชีวิตต่อจะมีการเ […]

The post ขายส่งประกันชีวิตกับ ‘ธุรกิจประกันชีวิตต่อ’ ในประเทศไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธุรกิจประกันชีวิตต่อ

โดยปกติธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันชีวิตต่อจะมีการเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในระยะหลังมานี้ ‘ธุรกิจประกันชีวิตต่อ’ ในไทยกลับมียอดขายเติบโตสูงกว่าบริษัทประกันชีวิตและกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บทความนี้จะมาอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงวิเคราะห์โอกาสที่ธุรกิจประกันชีวิตต่อของไทยจะกลายเป็นเสือติดปีกที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้ในอนาคต

 

ธุรกิจประกันชีวิตต่อ (Life Reinsurer) นั้นจะมีลูกค้ามาจากบริษัทประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัยต่อ (Non-Life Reinsurer) จะมีลูกค้าที่มาจากบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนั้น มีลักษณะการบริหารและอยู่ภายในกรอบของกฎหมายที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยจะเห็นว่า THRE ถือหุ้น THREL เพียงแค่ 10% และตั้งอยู่ในสถานที่คนละแห่ง มีผู้บริหารคนละชุด และมีความอิสระออกจากกันอย่างสิ้นเชิง 

 


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


 

ปกติแล้ว บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยจะรับความเสี่ยงทุนประกันชีวิตเอาไว้ ไม่เกิน 1-4 ล้านบาทต่อกรมธรรม์ ดังนั้นส่วนเกินของทุนประกันชีวิตที่เหลือนั้นจะต้องส่งให้กับบริษัทประกันชีวิตต่อออกไปทั้งหมด ซึ่งบริษัทประกันชีวิตต่อในไทยเองก็จะมีพันธมิตรในต่างประเทศที่แบ่งรับในสัดส่วนที่ตัวเองรับไหว บริษัทประกันชีวิตต่อยิ่งมีเงินทุนหนาขึ้นก็จะได้เปรียบมากขึ้น

 

ซึ่งในช่วงนี้จะเห็นว่าธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างชัดเจนนั้นจะเป็นธุรกิจประเภทที่รับเงินมาก่อนและต้นทุนเกิดขึ้นทีหลัง (เอาเงินมาหมุนก่อน) เช่น บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิตต่อ บริษัทประกันวินาศภัย และบริษัทประกันวินาศภัยต่อ เพราะหนึ่งในผลกำไรของบริษัทประกันภัยก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนนั่นเอง 

 

นอกจากบริษัทประกันชีวิตจะได้รับอานิสงส์ไปแล้ว บริษัทประกันภัยชีวิตต่อก็ได้รับอานิสงส์ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าบริษัทประกันชีวิตมีการเติบโตที่ดี (จากการที่มีเงินสำรองลดลง) มีกำลังซื้อที่สูงขึ้น ก็จะทำให้บริษัทประกันชีวิตมีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่หลากหลายและน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น และประกันชีวิตทุกตัวก็จำเป็นจะต้องมีประกันภัยต่อเป็นเงาตามตัวเพื่อบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม

 

ทิศทางของบริษัทประกันชีวิตต่อในจังหวะนี้นั้นจึงอยู่ที่การ Scaling ให้ใหญ่ขึ้น เหมือนฝนที่กำลังจะตกลงมา เพียงแค่ขยายตุ่มรับน้ำให้ใหญ่ขึ้นก็จะเป็นโอกาสในการตักตวงกำไรในอนาคต ดังจะเห็นได้ว่าบริษัทประกันชีวิตต่อในระยะหลังนี้มียอดขายเติบโตสูงกว่าบริษัทประกันชีวิตด้วยซ้ำ เนื่องจากธุรกิจประกันชีวิตต่อในไทยยังมีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก และกำลังขยายตัวเป็น Growth Company เพื่อรองรับธุรกิจให้กับบริษัทประกันชีวิตได้กำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

และนอกจากผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นแล้ว หนึ่งในเครื่องยนต์บูสเตอร์ในการทำกำไรของบริษัทประกันชีวิตต่อที่มีมาตั้งแต่ในอดีตก็คือ ประกันสินเชื่อ (จ่ายทุนประกันชีวิตเพื่อชดใช้หนี้คงค้างที่เหลืออยู่ เวลาที่ลูกหนี้เกิดเสียชีวิต) โดยเฉพาะพวก SMEs Loan ที่ผูกกับสภาพเศรษฐกิจที่ทางสถาบันการเงินเตรียมปล่อยกู้สินเชื่อ Booster นี้จึงมีข้อเสียอยู่ที่การต้องรอให้การปล่อยกู้นั้นกลับมาเหมือนเมื่อก่อน แต่ข้อดีจะอยู่ที่ Profit Margin สูง เพราะเป็นแพ็กเกจที่ต้องซื้อพร้อมกับการยื่นขอกู้เงินไปทำธุรกิจ

 

ส่วนประกันสุขภาพก็เริ่มเข้ามามีบทบาทสำหรับธุรกิจประกันชีวิตต่อมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และกลายเป็นเครื่องยนต์ตัวใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาในช่วง 2-3 ปีที่แล้ว จนมีตลาดที่ใหญ่และกว้างขึ้น เพื่อทดแทนการประกันสินเชื่อ (ประกันชีวิตที่ขายพร้อมการปล่อยกู้สินเชื่อ) ที่ลดลงในช่วงโควิดที่ผ่านมา การประกันชีวิตต่อทางด้านประกันสุขภาพจึงเป็นตลาดที่เติบโตเร็วและมีความน่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงหลังยุคโควิดที่ทุกคนเริ่มมองหาประกันสุขภาพกันมากขึ้น และคาดว่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 

 

การกำกับดูแลด้านการบริหารความเสี่ยงผ่านประกันภัยต่อก็มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยมา โดยเฉพาะต่อจากนี้ บริษัทประกันชีวิตจะมีความต้องการซื้อประกันชีวิตต่อเพื่อบริหารความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น เช่น บริษัทประกันชีวิตต้องยื่นแผนการบริหารความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือประกันชีวิตต่อ และอาจต้องทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ให้เหมาะสม อีกทั้งประกันชีวิตต่อจะถูกบรรจุในวาระของการอนุมัติออกแบบประกันชีวิตทุกตัว (ซึ่งปัจจุบันก็ทำกันอยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่) 

 

นอกจากนี้ ธุรกิจประกันชีวิตต่อ ในประเทศไทยนั้นยังมีพื้นที่ให้สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐในการเอื้ออำนวยความสะดวกให้บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย ได้เข้าถึงประกันชีวิตต่อในประเทศมากกว่าไปส่งประกันชีวิตต่อออกนอกประเทศมากจนเกินไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ภาครัฐในแต่ละประเทศมุ่งส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิตต่อในประเทศของตัวเองให้แข็งแกร่งมากขึ้น 

 

ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันนี้ บริษัทประกันชีวิตที่ซื้อประกันชีวิตต่อกับบริษัทในประเทศจะถือเงินดำรงกองทุนความเสี่ยงขั้นต่ำได้ในเรตต่ำกว่าไปซื้อกับบริษัทต่างชาติ และหากขอความช่วยเหลือจากภาครัฐให้ส่งเสริมศักยภาพของบริษัทประกันชีวิตต่อในประเทศสามารถให้รับงานประกันชีวิตต่อจากต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้นก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก

 

สุดท้ายนี้ ตามธรรมชาติของ ‘ธุรกิจประกันชีวิตต่อ’ จะมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่คือ การที่บริษัทประกันชีวิตต่อสามารถที่จะวิ่งขายงานในต่างประเทศได้อย่างอิสระมากกว่าบริษัทประกันชีวิต เหมือนที่บริษัทประกันชีวิตต่อต่างประเทศเคยบุกเข้ามาในตลาดไทยตั้งแต่ในอดีต และมันอาจจะถึงเวลาแล้วที่บริษัทประกันชีวิตต่อสัญชาติไทยจะได้ผงาดเข้าไปแข่งขันสู่เวทีโลกที่ต้องมองหาธุรกิจในต่างประเทศบ้าง ซึ่งสัญญาณอันดีคงอยู่ที่บริษัทประกันชีวิตต่อเริ่มเข้าไปทำสัญญาเจรจาขายประกันภัยต่อกัมพูชาในช่วงที่ผ่านมา และกำลังบุกตลาดเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไต้หวันเพิ่มเติมในช่วงนี้ เป็นต้น

 

สรุปว่า ธุรกิจประกันชีวิตต่อ (Life Reinsurer) จะกลับมาดี โดยแหล่งเครื่องยนต์ทำกำไรของธุรกิจประกันชีวิตต่อก็จะมีผลตอบแทนจากการลงทุน เบี้ยประกันชีวิตต่อจากแบบประกันต่างๆ ของบริษัทประกันชีวิต เบี้ยประกันชีวิตต่อจากประกันสุขภาพที่สร้างฐานขึ้นมาในช่วงที่ผ่านมา และเบี้ยประกันสินเชื่อที่คอยการกลับมาของการปล่อยกู้สินเชื่อที่อั้นมานาน เป็นต้น และยิ่งถ้าธุรกิจนี้ไปขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐมากขึ้นก็จะยิ่งกลายเป็นเสือติดปีกที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศได้เหมือนที่บริษัทประกันชีวิตต่อในต่างประเทศเป็นกัน 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post ขายส่งประกันชีวิตกับ ‘ธุรกิจประกันชีวิตต่อ’ ในประเทศไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ออมสินแจงคิดดอกเบี้ยครูแค่ 5-6% ต่อปี ผ่อนนาน 30 ปี ไม่บังคับทำประกัน พร้อมช่วยเหลือครูที่เดือดร้อน https://thestandard.co/gsb-interest-rate-teacher-loan/ https://thestandard.co/gsb-interest-rate-teacher-loan/#respond Fri, 20 Jul 2018 08:45:38 +0000 https://thestandard.co/?p=108996

สำหรับความคืบหน้ากรณีที่องค์กรวิชาชีพครูรวมตัวกันประมาณ […]

The post ออมสินแจงคิดดอกเบี้ยครูแค่ 5-6% ต่อปี ผ่อนนาน 30 ปี ไม่บังคับทำประกัน พร้อมช่วยเหลือครูที่เดือดร้อน appeared first on THE STANDARD.

]]>

สำหรับความคืบหน้ากรณีที่องค์กรวิชาชีพครูรวมตัวกันประมาณ 100 คน เรียกร้องให้รัฐบาลและธนาคารออมสินพักหนี้โครงการ ช.พ.ค. พร้อมเชิญชวนครูทั่วประเทศยุติชำระหนี้กับธนาคารออมสิน โดยอ้างว่าดอกเบี้ยสูงเกินไป ล่าสุดธนาคารออมสินได้ออกหนังสือชี้แจงว่า

 

สำหรับโครงการ ช.พ.ค. เกิดขึ้นเพื่อจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกเพื่อชำระหนี้ และนำเงินไปพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา รักษาพยาบาล และใช้จ่ายกรณีจำเป็นอื่นๆ รวมถึงใช้หนี้นอกระบบ ซึ่งโดยทั่วไปการให้สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ หรือแม้แต่ธนาคารออมสินเองจะสามารถคิดดอกเบี้ยได้ 15-28% ต่อปี แต่เงินกู้โครงการนี้คิดเพียง 5-6% ต่อปีเท่านั้น ให้ผ่อนชำระนานสูงสุดถึง 30 ปี และเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

 

ซึ่งเหตุผลที่ธนาคารคิดดอกเบี้ยได้ถูก เพราะร่วมมือกับ สกสค. ในการหักเงินเดือนชำระหนี้ให้ จึงมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ โดยในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา มีครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมโครงการมากกว่า 700,000 ราย วงเงินกู้รวมกว่า 700,000 ล้านบาท

 

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่มีโครงการธนาคารออมสินได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ครูมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีปัญหาการผ่อนชำระ หรือชำระไม่ไหว โดยมีเงื่อนไขพิเศษ เช่น พักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี และชำระดอกเบี้ยปกติ 100% กรณีที่รายได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายมากกว่า 30% ของรายได้ หรือกรณีรายได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 15-30% ของรายได้ สามารถพักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี และชำระดอกเบี้ยปกติไม่น้อยกว่า 50% และกรณีรายได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 15% ของรายได้ สามารถพักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี และชำระดอกเบี้ยปกติไม่น้อยกว่า 25%

 

ส่วนกรณีการทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ ธนาคารออมสินชี้แจงว่า เป็นการช่วยเหลือผู้กู้ที่จำเป็นต้องกู้วงเงินสูง แต่ไม่สามารถหาหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือบุคคลค้ำประกันได้ตามเงื่อนไข โดยผู้กู้ต้องสมัครใจโดยที่ธนาคารฯ ไม่ได้บังคับ ซึ่งที่ผ่านมามีครูผู้กู้เลือกทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ คิดเป็นสัดส่วนถึง 85% ของจำนวนผู้กู้ทั้งหมด โดยในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา มีครูเสียชีวิตประมาณ 15,900 คน มีจำนวนครูที่ทำประกันประมาณ 10,800 คน รวมทุนประกันประมาณ 13,000 ล้านบาท ซึ่งครูจะมีหนี้ประมาณ 1 ล้านบาทต่อราย เมื่อเสียชีวิตจะนำเงิน ช.พ.ค. จำนวน 7 แสน บาทต่อรายมาชำระหนี้ปิดบัญชี และจะมีเงินเหลือคืนทายาทรวมประมาณ 9,000 ล้านบาท ทำให้ทายาทและผู้ค้ำประกันไม่เดือดร้อน

 

“สำหรับยอดสินเชื่อของโครงการ ช.พ.ค. ล่าสุด มีผู้กู้รวมประมาณ 433,000 ราย คิดเป็นวงเงินกู้ประมาณ 406,000 ล้านบาท โดยมี NPLs ประมาณ 4,079 ราย คิดเป็น 0.94% ของลูกหนี้ทั้งหมดเท่านั้น

 

“ธนาคารออมสินอยากให้ครูที่มีปัญหาการผ่อนชำระ ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใด ขอให้เข้ามาแจ้งความประสงค์ เพราะธนาคารมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือครูที่ยืดหยุ่นผ่อนคลาย ด้วยอยากให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีวินัยทางการเงิน เพราะครูต้องทำหน้าที่ให้ความรู้ สร้างคนให้เป็นคนดี มีความรู้มีวินัยให้แก่ประเทศชาติต่อไป” นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าว

The post ออมสินแจงคิดดอกเบี้ยครูแค่ 5-6% ต่อปี ผ่อนนาน 30 ปี ไม่บังคับทำประกัน พร้อมช่วยเหลือครูที่เดือดร้อน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/gsb-interest-rate-teacher-loan/feed/ 0