Market – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 24 Jan 2025 09:57:10 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: ลุยหุ้นนอกแบบมือใหม่ รวมทริกที่นักลงทุนต้องรู้ | NEW GEN INVESTOR MEDLEY#2 https://thestandard.co/new-gen-investor-medley-2/ Sat, 25 Jan 2025 03:03:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1034066

ในคลิปนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับการลงทุนในตลาดหุ้นต […]

The post ชมคลิป: ลุยหุ้นนอกแบบมือใหม่ รวมทริกที่นักลงทุนต้องรู้ | NEW GEN INVESTOR MEDLEY#2 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในคลิปนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศสำหรับมือใหม่ พร้อมทั้งแชร์ทริกและเทคนิคที่นักลงทุนรุ่นใหม่ต้องรู้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนและลดความเสี่ยงให้มากที่สุด! ไม่ว่าคุณจะเริ่มต้นลงทุนหุ้นนอกจากศูนย์หรือมีประสบการณ์บ้างแล้ว คลิปนี้มีคำแนะนำที่เข้าใจง่ายและนำไปใช้ได้จริงในทุกขั้นตอนของการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ อย่าพลาด!

The post ชมคลิป: ลุยหุ้นนอกแบบมือใหม่ รวมทริกที่นักลงทุนต้องรู้ | NEW GEN INVESTOR MEDLEY#2 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ความเสี่ยง Provident Fund ที่ยังลงทุนกระจุก! บลจ.กสิกรไทย คาด หุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า https://thestandard.co/wealth-in-depth-thai-stocks-5-percent/ Fri, 24 Jan 2025 08:18:09 +0000 https://thestandard.co/?p=1034025

บลจ.กสิกรไทย คาด ผลตอบแทนหุ้นไทยในอีก 10-15 ปีข้างหน้าจ […]

The post ความเสี่ยง Provident Fund ที่ยังลงทุนกระจุก! บลจ.กสิกรไทย คาด หุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>

บลจ.กสิกรไทย คาด ผลตอบแทนหุ้นไทยในอีก 10-15 ปีข้างหน้าจะลดลงเหลือเพียง 5% ต่อปี และผลตอบแทนส่วนใหญ่มาจากเงินปันผลแทนที่การเติบโต แนะนักลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบันมุ่งลงทุนต่างประเทศ 

 

จากบทวิจัย KAsset Capital Market Assumptions (KCMA) ที่จัดทำโดย บลจ.กสิกรไทย ร่วมกับ J.P. Morgan Asset Management เพื่อนำเสนอมุมมองเชิงลึกที่ครอบคลุมแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ผลตอบแทน และความเสี่ยง ของสินทรัพย์กว่า 100 ประเภทในระยะเวลา 10-15 ปีข้างหน้า 

 

ปณตพล ตัณฑวิเชียร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน กล่าวว่า ผลตอบแทนรวม (Total Return) ของหุ้นไทยในอนาคตจะอยู่ที่ราว 5% ต่อปี โดยผลตอบแทนส่วนใหญ่ราว 3.9% จะมาจากเงินปันผล ขณะที่รายได้ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยน่าจะเติบโตเฉลี่ย 4.7% 

 

หากมองในแง่ดี หุ้นไทยจะกลายเป็นสวรรค์ของเงินปันผล เพราะหุ้นไทยส่วนใหญ่อยู่ในเศรษฐกิจยุคเก่า (Old Economy) และบริษัทขนาดใหญ่หลายรายเป็นธุรกิจที่สร้างกระแสเงินสดได้สม่ำเสมอ 

 

“แม้จะขาดปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่โดดเด่น แต่ยังมีข้อดีสำหรับการลงทุนในหุ้นไทยนั่นคือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล โดยบริษัทจดทะเบียนไทยมีแนวโน้มจะเพิ่มอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลจาก 60% เป็น 63% ของกำไรสุทธิ” บทวิจัยระบุว่า

 

ปณตพลกล่าวต่อว่า การให้มูลค่าหุ้นไทยสะท้อนผ่านค่า P/E จะลดลงสู่ระดับ 14.5 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา โดยหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญคือผลิตภาพ (Productivity) โดยรวมของประเทศที่ค่อนข้างต่ำอยู่ที่ระดับ 0.49 ต่ำกว่าประเทศอย่างมาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไต้หวัน 

 

วจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า GDP ของไทยจะเติบโตเฉลี่ย 2.4% ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า เนื่องจากความท้าทายหลายด้าน เช่น สังคมสูงอายุ ธุรกิจส่วนใหญ่ที่อยู่ในเศรษฐกิจเก่า รวมทั้งการเข้ามาตีตลาดของสินค้าต่างประเทศ 

 

ความท้าทายเหล่านี้ทำให้ผลตอบแทนที่คาดหวังของหุ้นไทยอยู่ที่เพียง 5% ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาจากเงินปันผลมากกว่าการเติบโตของกำไร เพราะฉะนั้นการลงทุนในหุ้นไทยต้องเน้นหุ้นที่มีคุณภาพสูง แต่ก็ไม่ได้มีตัวเลือกมากนัก ทำให้การลงทุนจะกระจุกตัว

 

“ที่น่ากังวลมากกว่านั้นคือ นักลงทุนไม่ว่าจะสถาบันหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ซึ่งจะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนไทยในอีก 20-30 ปีข้างหน้า ยังกระจุกอยู่กับสินทรัพย์ไทย น่าจะให้ผลตอบแทนไม่เพียงพอ และทางเลือกในการลงทุนก็ค่อนข้างน้อย”

 

ด้าน ดร.แมน ชุติชูเดช รองเลขาธิการกลุ่มงานกลยุทธ์ลงทุนและบริหารผู้จัดการกองทุน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า ปัจจุบันกองทุนลงทุนในหุ้นไทยเพียง 3-4% จากตราสารทุนทั้งหมด 40% เนื่องจากหุ้นไทยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Old Economy ทำให้เราต้องกระจายการลงทุนไปยังหุ้นต่างประเทศมากขึ้น 

 

ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนของ กบข. อยู่ที่ราว 40% ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้สูงสุด ส่วนอีก 60% ยังอยู่ในตราสารหนี้ แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนโลกเพิ่มขึ้นจากต่ำกว่า 3% มาเป็นกว่า 15% ขณะที่ตราสารหนี้เอกชนและรัฐบาลไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 

 

ทั้งนี้ กบข. ได้จัดให้มีแผนการลงทุนสำหรับสมาชิก เพื่อเพิ่มทางเลือกและตอบสนองความต้องการของสมาชิกที่ประสงค์จะลงทุนตามความต้องการของตัวเอง โดยสมาชิกต้องพิจารณาผลตอบแทนที่คาดหวังและความเสี่ยงของแต่ละแผนการลงทุนควบคู่กันด้วย ซึ่งมีให้เลือกลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์​ ไม่ว่าจะเป็นตราสารทุนไทยและต่างประเทศ ตราสารหนี้ไทยและต่างประเทศ หรือทองคำ เป็นต้น

 

ธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุนต่างประเทศเป็นทางเลือกที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับนักลงทุนไทย รวมทั้งการลงทุนผ่าน Provident Fund 

 

“ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า Provident Fund กระจายไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นและเติบโตค่อนข้างสูง แต่ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนทั้งหมดก็ถือว่ายังต่ำ เพราะไม่ใช่นายจ้างทุกรายจะเปิดทางเลือกนี้” 

 

สำหรับกองทุน Provident Fund ที่ต้องการเพิ่มทางเลือกการลงทุนต่างประเทศให้กับผู้ลงทุน ก็สามารถทำได้หากคณะกรรมการกองทุนมีมติอนุมัติเพิ่มทางเลือก โดยสามารถปรึกษากับ บลจ. ที่ให้บริการอยู่ 

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการให้ความรู้กับผู้ลงทุน เพราะแน่นอนว่าตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงก็จะมาพร้อมกับความผันผวนที่สูงขึ้นด้วย 

 

“การเลือกแผนการลงทุนสำหรับแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยง ถ้าอายุยังไม่มาก เพิ่งเริ่มทำงาน ก็รับความเสี่ยงได้มากกว่า อาจเลือกลงทุนตราสารทุนมากกว่า ทั้งหุ้นไทยและต่างประเทศ โดยกระจายเป็นการลงทุนตามสัดส่วนหุ้นทั่วโลกน่าจะดีกว่า แต่หากเป็นคนที่ใกล้เกษียณก็อาจเลือกลงทุนตราสารหนี้มากขึ้น” 

 

ภาพ: Alexander Spatari / Getty Images

The post ความเสี่ยง Provident Fund ที่ยังลงทุนกระจุก! บลจ.กสิกรไทย คาด หุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
11 แบงก์ไทย ทำกำไร 2.52 แสนล้านบาท โต 7% ในปี 67 จากรายได้ 1 ล้านล้านบาท https://thestandard.co/11-thai-banks-profit-2567-info/ Thu, 23 Jan 2025 14:38:28 +0000 https://thestandard.co/?p=1033773

ในปี 2567 แบงก์พาณิชย์ไทย 11 แห่ง สร้างรายได้จากการดำเน […]

The post 11 แบงก์ไทย ทำกำไร 2.52 แสนล้านบาท โต 7% ในปี 67 จากรายได้ 1 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในปี 2567 แบงก์พาณิชย์ไทย 11 แห่ง สร้างรายได้จากการดำเนินงานรวม 1.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% ก่อนแปรมาเป็นกำไรสุทธิรวม 2.52 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.2% จากปีก่อน 

 

โดยธนาคารกสิกรไทยมีกำไรมากที่สุด 4.8 หมื่นล้านบาท โดย 7 จาก 11 แบงก์ มีกำไรเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ขณะที่ NPL ของแต่ละแบงก์อยู่ในกรอบ 2-5%

 

 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

The post 11 แบงก์ไทย ทำกำไร 2.52 แสนล้านบาท โต 7% ในปี 67 จากรายได้ 1 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
BBL – 4Q67 มีเซอร์ไพรส์เชิงบวกจากคุณภาพสินทรัพย์และ NIM https://thestandard.co/bbl-q4-67/ Thu, 23 Jan 2025 00:51:53 +0000 https://thestandard.co/?p=1033285 BBL-Q4-67

เกิดอะไรขึ้น:   เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 บมจ.ธนา […]

The post BBL – 4Q67 มีเซอร์ไพรส์เชิงบวกจากคุณภาพสินทรัพย์และ NIM appeared first on THE STANDARD.

]]>
BBL-Q4-67

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (BBL) รายงานกำไรสุทธิ 4Q67 ที่ 1.04 หมื่นล้านบาท (ลดลง 17%QoQ, เพิ่มขึ้น 17%YoY) สูงกว่าคาด ผลประกอบการโดยรวมออกมาดี โดยสะท้อนถึงเซอร์ไพรส์เชิงบวกจาก NIM ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 4% bps QoQ) และ NPL ที่ลดลง (ลดลง 17% QoQ) Credit Cost ที่ลดลง (ลดลง 8 bps QoQ) สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 2%QoQ, เพิ่มขึ้น 1%YoY) Non-NII ที่ลดลง 13%QoQ (จากกำไรและรายได้เงินปันผล) 

 

โดยรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (เพิ่มขึ้น 1%QoQ, เพิ่มขึ้น 4%YoY) และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่เพิ่มขึ้น 536 bps QoQ ตามฤดูกาล แต่ลดลง 293 bps YoY NIM ที่มากกว่าคาดถูกหักล้างโดยกำไรจากเครื่องมือทางการเงินและเงินลงทุนที่น้อยกว่าคาด

 

คุณภาพสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ NPL ของ BBL ลดลง 17% หรือ 1.82 หมื่นล้านบาท QoQ ใน 4Q67 Credit Cost ลดลง 8 bps QoQ (เพิ่มขึ้น 6 bps YoY) มาอยู่ที่ 1.15% ใน 4Q67 ตามคาด LLR Coverage เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 254% ใน 3Q67 มาอยู่ที่ 334% ดีกว่าคาดค่อนข้างมาก และสูงที่สุดในกลุ่มธนาคาร InnovestX Research ยังคงประมาณการไว้ว่า Credit Cost จะลดลง 20 bps มาอยู่ที่ 1.1% ในปี 2568 จาก 1.3% (เพิ่มขึ้น 4 bps) ในปี 2567

 

เซอร์ไพรส์เชิงบวกเกี่ยวกับ NIM ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นใน 4Q67 NIM ของ BBL เพิ่มขึ้น 4 bps QoQ ใน 4Q67 ดีกว่าคาด ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง (20 bps สำหรับ MLR และ MOR และ 5 bps สำหรับ MRR) แต่อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงเพียง 2 bps QoQ ใน 4Q67 

 

ต้นทุนทางการเงินลดลง 6 bps QoQ ใน 4Q67 เนื่องจาก BBL เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่ปรับลดทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ (ปรับลง 10 bps) และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ (ปรับลง 20 bps) ในเดือนตุลาคม ทั้งนี้ คาดว่า NIM จะหดตัวลง 13 bps ในปี 2568 (น้อยกว่าธนาคารขนาดใหญ่อื่นๆ) เนื่องจากคาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง 75 bps ในปี 2568 

 

การเติบโตของสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น สินเชื่อเพิ่มขึ้น 2%QoQ และ 1%YoY ใน 4Q67 ตามคาด หลักๆ ได้แรงหนุนจากสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่และสินเชื่อกิจการต่างประเทศ BBL ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อปี 2568 ที่ 3-5% 

 

โดยหลักๆ คาดว่าสินเชื่อกิจการต่างประเทศและสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่จะหนุนให้การเติบโตของสินเชื่อเพิ่มขึ้นใน 4Q67 BBL พบว่าดีลสินเชื่อกิจการต่างประเทศใน Pipeline เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ BBL ยังอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะได้รับประโยชน์จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่เพิ่มขึ้นในอาเซียน 

 

มีโอกาสปรับเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผล BBL อาจปรับอัตราการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นเป็น 40% เทียบกับประมาณการที่ 34% ในปี 2567 เนื่องจากอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนกลับมาอยู่ในระดับที่ธนาคารเห็นว่าเหมาะสมก่อนการเข้าซื้อ Permata ที่ 20.4% (เงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 17.4%) ณ 4Q67 InnovestX Research คาดการณ์เงินปันผลงวด 2H67 ที่ 6 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผล 4%  

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น BBL ปรับขึ้น 1.34% สู่ 151.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 0.92% สู่ 1,352.53 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2568:

 

InnovestX Research ปรับประมาณการกำไรปี 2568 เพิ่มขึ้น 2% โดยปัจจุบันคาดว่ากำไรจะเติบโต 3% โดยเกิดจากการเติบโตของสินเชื่อที่ 3% NIM ที่หดตัวลง 13 bps Credit Cost ที่ลดลง 20 bps Non-NII ที่เพิ่มขึ้น 2% และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่สูงขึ้น

 

ปัจจุบันหุ้น BBL ซื้อขายที่ PE (PBV/ROE) ต่ำสุดที่ 6 เท่า สำหรับปี 2568 (เทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 8 เท่า) และ PBV ที่ 0.45 เท่า (เทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 0.8 เท่า) Valuation ที่น่าสนใจสนับสนุนให้ยืนยันคำแนะนำ Outperform สำหรับ BBL โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 180 บาทต่อหุ้น

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ 1. ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 2. ความเสี่ยงด้าน NIM จากการลดอัตราดอกเบี้ย 3. การขยายสินเชื่อได้ช้ากว่าคาด เนื่องจากความต้องการสินเชื่อชะลอตัว และ 4. ความเสี่ยงด้าน ESG จากการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct)

 

Cafe Invest แหล่งรวมข้อมูลการลงทุนและบทวิเคราะห์คุณภาพ โดย InnovestX 🚀 คลิกเลย BBL – 4Q67 มีเซอร์ไพรส์เชิงบวกจากคุณภาพสินทรัพย์และ NIM 

The post BBL – 4Q67 มีเซอร์ไพรส์เชิงบวกจากคุณภาพสินทรัพย์และ NIM appeared first on THE STANDARD.

]]>
KKP – 4Q67 ดีกว่าคาดเพราะกำไร FVTPL; แนวโน้มทรงตัว https://thestandard.co/kkp-q4-67/ Thu, 23 Jan 2025 00:43:21 +0000 https://thestandard.co/?p=1033281 KKP-Q4-67

เกิดอะไรขึ้น:   เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 บมจ.ธนา […]

The post KKP – 4Q67 ดีกว่าคาดเพราะกำไร FVTPL; แนวโน้มทรงตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
KKP-Q4-67

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 บมจ.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) รายงานกำไรสุทธิ 4Q67 อยู่ที่ 1.41 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 8%QoQ, เพิ่มขึ้น 110%YoY) สูงกว่าคาด 60% และสูงกว่า Consensus คาด 37% กำไรสุทธิที่ออกมาสูงกว่าคาด เกิดจากกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVTPL) ที่สูงกว่าคาด

 

รายการที่สำคัญ:

  1. คุณภาพสินทรัพย์: NPL อยู่ในระดับทรงตัว QoQ Credit Cost (รวมขาดทุนจากการขายรถยึด) เพิ่มขึ้น 23 bps QoQ (ลดลง 65 bps YoY) มาอยู่ที่ 2.19% ใน 4Q67 ECL เพิ่มขึ้น 34%QoQ แต่ขาดทุนจากการขายรถยึดลดลง 7%QoQ LLR Coverage เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 134% จาก 131% ใน 4Q67 โดยคาดว่า Credit Cost จะลดลงจาก 2.3% ในปี 2567 มาอยู่ที่ 2.2% ในปี 2568 

 

  1. การเติบโตของสินเชื่อ: ลดลง 2%QoQ, ลดลง 8%YoY คาดการณ์การเติบโตของสินเชื่อปี 2568 ที่ลดลง 2% เทียบกับลดลง 8% ในปี 2567 

 

  1. NIM: ลดลง 12 bps QoQ (ลดลง 40 bps YoY) ใน 4Q67 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง 11 bps QoQ ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น 2 bps QoQ ขณะที่คาดว่า NIM จะเพิ่มขึ้น 4 bps ในปี 2568 เนื่องจากคาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง 75 bps ในปี 2568

 

  1. Non-NII: เพิ่มขึ้น 30%QoQ (เพิ่มขึ้น 55%YoY) ใน 4Q67 หลักๆ เกิดจากรายได้ค่าธรรมเนียมและกำไรจาก FVTPL รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้น 9%QoQ (เพิ่มขึ้น 21%YoY) คาดว่า Non-NII จะเพิ่มขึ้น 2% ในปี 2568 เทียบกับเพิ่มขึ้น 7% ในปี 2567

 

  1. อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้: ลดลง 333 bps QoQ (ลดลง 40 bps YoY) มาอยู่ที่ 44.2% OPEX ลดลง 4%QoQ (ลดลง 5%YoY) 

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น KKP ปรับขึ้น 3.52% สู่ 51.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 1.80% สู่ 1,340.50 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2568:

 

InnovestX Research ปรับประมาณการกำไรปี 2568 เพิ่มขึ้น 3% เพื่อสะท้อนผลประกอบการ 4Q67 โดยปัจจุบันคาดว่ากำไรปี 2568 จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัว โดยเกิดจากการเติบโตของสินเชื่อที่ลดลง 2% NIM ที่เพิ่มขึ้น 4 bps Credit Cost ที่ลดลง 15 bps Non-NII ที่เพิ่มขึ้น 2% และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่สูงขึ้น 

 

กลยุทธ์การลงทุนยังคงคำแนะนำ Neutral สำหรับ KKP และปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นจาก 47 บาท มาอยู่ที่ 50 บาทต่อหุ้น (อิงกับ P/BV ปี 2568 ที่ 0.65 เท่า) 

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ 1. ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง 2. ราคารถมือสองลดลง 3. ตลาดทุนผันผวน และ 4. ความเสี่ยงด้าน ESG จากการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct)

 

Cafe Invest แหล่งรวมข้อมูลการลงทุนและบทวิเคราะห์คุณภาพ โดย InnovestX 🚀 คลิกเลย 👉 KKP – 4Q67 ดีกว่าคาดเพราะกำไร FVTPL; แนวโน้มทรงตัว

 

The post KKP – 4Q67 ดีกว่าคาดเพราะกำไร FVTPL; แนวโน้มทรงตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทรัมป์ส่งสัญญาณเก็บภาษีสินค้าจีนเพิ่ม 10% เริ่ม 1 ก.พ. ฉุดหุ้นจีนดิ่งกว่า 1% ติดลบครั้งแรกในรอบ 5 วัน https://thestandard.co/trump-china-tariff-increase-announcement/ Wed, 22 Jan 2025 07:09:26 +0000 https://thestandard.co/?p=1033055 ภาษีสินค้าจีน

ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปรับตัวลดลงกว่า 1% ในวันนี้ (22 มกร […]

The post ทรัมป์ส่งสัญญาณเก็บภาษีสินค้าจีนเพิ่ม 10% เริ่ม 1 ก.พ. ฉุดหุ้นจีนดิ่งกว่า 1% ติดลบครั้งแรกในรอบ 5 วัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาษีสินค้าจีน

ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปรับตัวลดลงกว่า 1% ในวันนี้ (22 มกราคม) หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ย้ำคำขู่ที่จะเก็บภาษีเพิ่มเติม 10% สำหรับสินค้าจากจีน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้

 

ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงลดลงมากถึง 1.8% ในระหว่างวันนี้ ขณะที่ Hang Seng China Enterprises Index ซึ่งเป็นดัชนีวัดผลของบริษัทจีนขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในฮ่องกง ลดลง 2.1%

 

หุ้นในจีนก็ลดลงเช่นกัน โดยดัชนี CSI 300 ซึ่งติดตามบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น ลดลง 1.1% ถือเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 วันทำการ

 

ขณะที่ค่าเงินหยวนในตลาดนอกประเทศซึ่งมีการซื้อขายเสรีอ่อนค่าลงมาที่ระดับ 7.2870 ต่อดอลลาร์สหรัฐ

 

คำขู่เกี่ยวกับภาษีสินค้าจีนเกิดขึ้นหลังจากที่ทรัมป์กล่าวว่าจะเก็บภาษี 25% สำหรับสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์

 

ซินเหยาอึ้ง ผู้อำนวยการด้านการลงทุนจาก abrdn Plc ในสิงคโปร์ กล่าวว่า “จากนี้ไปมันจะยิ่งยากขึ้น นี่เป็นการเตือนว่าทรัมป์จะลงมือทำอะไรบางอย่าง เพราะวันแรกอาจทำให้บางคนเข้าใจผิดว่าเขาอาจไม่ทำอะไร การใช้ภาษีแบบค่อยเป็นค่อยไปอาจชะลอหรือบรรเทาความรุนแรงของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตลาดต้องการ”

 

ในมุมกลับกัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นได้อย่างร้อนแรงเมื่อคืนนี้ นำโดยดัชนี Dow Jones ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 500 จุด หรือราว 1.2% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ก็ปรับตัวขึ้นได้ 0.6% ส่วนดัชนี S&P 500 ปิดทรงตัวจากวันก่อนหน้า ส่วนหุ้นขนาดเล็กในสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างโดดเด่น สะท้อนจากดัชนี Russell 2000 ที่ปรับตัวขึ้น 1.9%

 

แรงหนุนสำคัญมาจากความคาดหวังเกี่ยวกับนโยบายของทรัมป์ที่จะผลักดันการลงทุนใหม่สำหรับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) หนุนหุ้นอย่าง SoftBank Group Corp. และ Oracle Corp. ขณะที่กองทุน ETF ที่ติดตามบริษัทด้าน AI แตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี

 

ขณะที่หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่หลายตัวก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดย Amazon และ NVIDIA ต่างก็พุ่งขึ้นมากกว่า 2% ส่วนหุ้นขนาดเล็กพุ่งสูงขึ้นจากการคาดการณ์ว่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายคุ้มครองการค้า แต่หุ้น Apple ดิ่งลงกว่า 3% จากการปรับลดคาดการณ์กำไรของนักวิเคราะห์จากยอดขาย iPhone ที่ลดลง

 

หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงอย่างหนัก หลังจากที่ทรัมป์ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานแห่งชาติ เนื่องจากเขาต้องการเพิ่มการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นอาจกดดันราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หุ้นอย่าง Devon Energy ลดลง 3% ในขณะที่ Occidental Petroleum และ APA ลดลงประมาณ 2.5%

 

ภาพ: Dilok Klaisataporn / Shutterstock

อ้างอิง:

The post ทรัมป์ส่งสัญญาณเก็บภาษีสินค้าจีนเพิ่ม 10% เริ่ม 1 ก.พ. ฉุดหุ้นจีนดิ่งกว่า 1% ติดลบครั้งแรกในรอบ 5 วัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลสั่งไม่เห็นชอบ ‘คลัง’ ชงแก้แผนฟื้นฟูฯ ส่งตัวแทน 2 ชื่อนั่งเพิ่มในคณะผู้บริหารแผน ‘การบินไทย’ https://thestandard.co/wealth-in-depth-court-finance-thai/ Tue, 21 Jan 2025 13:47:46 +0000 https://thestandard.co/?p=1032850

วันนี้ (21 มกราคม) ศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาฟังคำสั่งจา […]

The post ศาลสั่งไม่เห็นชอบ ‘คลัง’ ชงแก้แผนฟื้นฟูฯ ส่งตัวแทน 2 ชื่อนั่งเพิ่มในคณะผู้บริหารแผน ‘การบินไทย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (21 มกราคม) ศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาฟังคำสั่งจากกรณีที่เจ้าหนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI รวมตัวกันยื่นเรื่องร้องขอคัดค้านการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทั้ง 3 วาระต่อศาล ถึงมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ออกมาแล้ว เพื่อขอให้ศาลล้มละลายกลางไต่สวนกรณีที่กระทรวงการคลังโหวตในการประชุมเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ว่าสามารถทำได้หรือไม่ 

 

โดยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ในการประชุมเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย ที่ประชุมเห็นชอบให้แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ทั้ง 3 วาระ ดังนี้

 

  1. แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อกำหนดให้ผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ มีอำนาจลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม

 

  1. แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อเพิ่มข้อกำหนดให้ชัดเจนว่า เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ จะได้รับชำระหนี้ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินปันผลที่จะเสนอจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ

 

  1. กระทรวงการคลังเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 คน ได้แก่ ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม และ พลจักร นิ่มวัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง

 

โดยก่อนวันประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังซึ่งเดิมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนแล้วทั้งจำนวนในสัดส่วนเต็ม 100% ก่อนวันประชุมดังกล่าว ตามแผนการปรับโครงสร้างทุนและเงื่อนไขของแผนฟื้นฟูฯ ส่งผลให้ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งมีการประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ กระทรวงการคลังไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิออกเสียงโหวตแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว

 

อีกทั้งฝ่ายกฎหมายของ บมจ.การบินไทย ยังลงความเห็นไปแล้วด้วยว่า กระทรวงการคลังไม่มีสิทธิโหวตลงคะแนนในวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย แล้ว แม้ในวันดังกล่าวกระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้รับเพิ่มทุนจดทะเบียนก็ตาม

 

ศาลไม่เห็นชอบ ‘คลัง’ ชง 2 ชื่อเพิ่มนั่งผู้บริหารแผน ชี้กระทบการทำงาน

 

ล่าสุดวันนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่เห็นชอบในวาระที่ 3 ที่กระทรวงการคลังเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 คน 

 

โดยสาระสำคัญ ศาลให้เหตุผลว่าภายใต้แผนฟื้นฟูฯ ของ บมจ.การบินไทย ที่ศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 กำหนดให้มีผู้บริหารแผนจำนวน 5 คน ปัจจุบันคงเหลือผู้บริหารแผนจำนวน 3 คน

 

ทั้งนี้ ผู้บริหารแผนที่เหลืออยู่ เมื่อพิจารณารายงานผลการปฏิบัติงานแล้วสามารถดำเนินการได้ตามสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูฯ โดยไม่มีปัญหาขัดข้องหรือติดขัดจากการที่มีผู้บริหารแผนจำนวน 3 คน

 

นอกจากนี้ หากเพิ่มผู้บริหารแผนอีก 2 คน จะต้องจัดประชุมผู้บริหารแผนเพื่อตั้งประธานคณะผู้บริหาร เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของประธานคณะผู้บริหารแผนและผู้บริหารแผนแต่ละคน และกำหนดกรอบวิธีการดำเนินการของผู้บริหารแผนตามที่ระบุในแผนฟื้นฟูฯ จะเป็นการเพิ่มกระบวนการและขั้นตอนในการบริหารงานของผู้บริหารชุดเดิมให้มีความยุ่งยากมากขึ้น และทำให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาตัดสินใจในการบริหารงานต่างๆ เนื่องจากผู้บริหารแผนทั้ง 2 คนที่ถูกเสนอเพิ่มเติมเข้ามา ปัจจุบันปฏิบัติงานอยู่ในส่วนงานของภาครัฐ ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานของการบินไทยมาก่อน ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการภายในไม่คล่องตัวเท่าเดิม 

 

อีกทั้งการเพิ่มผู้บริหารแผนยังเป็นการเพิ่มรายจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนให้ผู้บริหารแผน ซึ่งตามแผนฟื้นฟูฯ กำหนดว่าผู้บริหารแผนจะได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อคนต่อปี 

 

นอกจากนี้ ตามข้อเท็จจริงตามรายงานตั้งแต่เหลือผู้บริหารแผนจำนวน 3 คน ค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนของผู้บริหารแผนลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากเดิม โดยการปรับลดค่าใช้จ่ายนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะส่งผลให้แผนฟื้นฟูฯ สำเร็จ

 

ประกอบกับการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯ ของการบินไทยที่ดำเนินมาถึงปีที่ 4 สามารถทำได้ตามสาระสำคัญของแผนมาโดยตลอด และไม่เกิดการผิดนัดชำระหนี้ คาดว่าจะสามารถยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลยกเลิกแผนฟื้นฟูฯ ได้ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ ดังนั้นการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ในประเด็นนี้จึงไม่มีความจำเป็น

 

ส่วนการดำเนินการในวาระที่ 1 คือ ผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ มีอำนาจลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม กับวาระที่ 2 คือ เพิ่มข้อกำหนดให้ชัดเจนว่าเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ จะได้รับชำระหนี้ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินปันผลที่จะเสนอจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ ให้เป็นอำนาจของคณะผู้บริหารแผนปัจจุบันดำเนินการได้

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ของ บมจ.การบินไทย ประกอบด้วยผู้บริหารแผนจำนวน 3 คน ดังนี้

 

  1. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผน
  2. ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ผู้บริหารแผน
  3. พรชัย ฐีระเวช ผู้บริหารแผน

 

ซีอีโอ ‘การบินไทย’ ย้ำ ออกจากแผนฟื้นฟูฯ ได้ตามกำหนด

 

ด้าน ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ออกมาถือว่าเป็นที่สิ้นสุด ส่งผลให้คณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ของบริษัทยังคงมีจำนวนเท่าเดิมที่ 3 คน สามารถดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯ ได้ต่อเนื่อง

 

ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันตามเงื่อนไขหลักในการดำเนินการเพื่อออกจากแผนฟื้นฟูฯ บริษัทสามารถดำเนินการได้ครบทุกเงื่อนไขแล้ว เหลือเพียงอีกหนึ่งเงื่อนไขเท่านั้นคือ การแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดใหม่ของการบินไทย ซึ่งจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้พิจารณาอนุมัติในวันที่ 18 เมษายนนี้ จากนั้นขั้นตอนต่อไปจะเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ และนำหุ้นของ THAI กลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/68 เป็นไปตามแผนงานที่บริษัทวางไว้

 

ภาพ: Aerial Mike / Shutterstock

The post ศาลสั่งไม่เห็นชอบ ‘คลัง’ ชงแก้แผนฟื้นฟูฯ ส่งตัวแทน 2 ชื่อนั่งเพิ่มในคณะผู้บริหารแผน ‘การบินไทย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดผันผวนหนักหลังทรัมป์รับตำแหน่งวันแรก ทองคำ-น้ำมัน-บิทคอยน์ ย่อตัว ส่วนหุ้นไทยฟื้นตัวบวก 12 จุด https://thestandard.co/market-volatility-trump-inauguration-impact/ Tue, 21 Jan 2025 10:59:13 +0000 https://thestandard.co/?p=1032786 ตลาดผันผวน

โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป […]

The post ตลาดผันผวนหนักหลังทรัมป์รับตำแหน่งวันแรก ทองคำ-น้ำมัน-บิทคอยน์ ย่อตัว ส่วนหุ้นไทยฟื้นตัวบวก 12 จุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดผันผวน

โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งก็ตามมาด้วยคำสั่งสำคัญบางอย่าง ได้แก่ การลงนามเพื่อให้สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศปารีส (Paris Agreement) และเตรียมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานแห่งชาติ เพื่อขยายการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 

 

อีกประเด็นที่สำคัญคือการเตรียมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ชายแดนเม็กซิโก พร้อมกล่าวว่าการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายทั้งหมดจะถูกระงับทันที และจะเริ่มส่งอาชญากรต่างด้าวคืนจำนวนหลายล้านรายกลับไปยังประเทศเดิม รวมทั้งการขู่จะเก็บภาษี 25% กับการนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกและแคนาดาภายในไม่กี่สัปดาห์

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ดูเหมือนจะเป็นเชิงบวกคือความสัมพันธ์กับจีน โดยทรัมป์ไม่ได้กล่าวถึงแผนการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มเติม แต่มีคำสั่งเพียงการให้ตรวจสอบว่าจีนได้ปฏิบัติตามข้อตกลงทางการค้าที่ลงนามไว้ในช่วงระหว่างการดำรงตำแหน่งสมัยแรกหรือไม่ 

 

ขณะที่ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์-น้ำมันร่วงลง เนื่องจากผู้ค้าประเมินคำมั่นสัญญาและคำสั่งบริหารจำนวนมากจากทรัมป์ รวมถึงแผนการเพิ่มการผลิตภายในประเทศ โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.7% มาอยู่ที่ 76 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับทองคำและบิทคอยน์ที่ปรับตัวลงเช่นกัน โดยบิทคอยน์ที่พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ที่เกือบ 110,000 ดอลลาร์ ย่อตัวลงมาอยู่ที่ 102,700 ดอลลาร์ ส่วนทองคำย่อลงมาอยู่ที่ 2,732 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

สำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) หุ้นสหรัฐฯ ผันผวนระหว่างแดนบวกและลบ สวนทางกับหุ้นจีนและฮ่องกงที่ปรับตัวขึ้นเกือบ 1% ส่วนหุ้นยุโรปทรงตัว ขณะที่หุ้นในเอเชียผสมผสานทางบวกและลบในวันนี้ โดยตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวลงแรงกว่า 1% ส่วนตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้น 12 จุด มาปิดที่ 1,352.53 จุด 

 

เงินดอลลาร์แคนาดาและเปโซเม็กซิโกร่วงลงมากถึง 1.4% หลังจากคำขู่เรื่องภาษีของทรัมป์ ดัชนีดอลลาร์ของ Bloomberg เพิ่มขึ้น 0.5% ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดลง 0.09% มาอยู่ที่ 4.54% เนื่องจากความเสี่ยงเงินเฟ้อที่ลดลง 

 

เงินเยนเป็นสกุลเงินเดียวในกลุ่ม G10 ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เนื่องจากผู้ค้ามองไปยังโอกาสที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ (24 มกราคม)

 

ภาพ: Chip Somodevilla / Staff / Getty Images 

อ้างอิง:

The post ตลาดผันผวนหนักหลังทรัมป์รับตำแหน่งวันแรก ทองคำ-น้ำมัน-บิทคอยน์ ย่อตัว ส่วนหุ้นไทยฟื้นตัวบวก 12 จุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯ พุ่ง Bitcoin ทำสถิติสูงสุดตลอดกาลใหม่ ก่อนพลิกตัวกลับ หลัง Trump สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ https://thestandard.co/us-futures-bitcoin-trump/ Tue, 21 Jan 2025 02:45:47 +0000 https://thestandard.co/?p=1032537 us-futures-bitcoin-trump

สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหุ้นสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้น หลังจาก Dona […]

The post ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯ พุ่ง Bitcoin ทำสถิติสูงสุดตลอดกาลใหม่ ก่อนพลิกตัวกลับ หลัง Trump สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
us-futures-bitcoin-trump

สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหุ้นสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้น หลังจาก Donald Trump เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นสมัยที่ 2 โดยนักลงทุนต่างคาดเดาว่าการดำเนินการในตอนนี้ของ Trump จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกา โดยเฉพาะในภาคการธนาคารและพลังงาน

 

นอกจากนี้นักลงทุนน่าจะมีกำลังใจจากข่าวที่ว่า Trump จะยังไม่กำหนดนโยบายภาษีศุลกากรใหม่ทันทีตั้งแต่วันแรก

 

ดัชนี Dow Jones Industrial Average Futures เพิ่มขึ้น 167 จุด หรือ 0.4% ดัชนี S&P 500 Futures เพิ่มขึ้น 0.4% ดัชนี Nasdaq-100 Futures เพิ่มขึ้น 0.4% การซื้อขายปกติในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กและ Nasdaq ปิดทำการเนื่องในวัน Martin Luther King Day Holiday แต่ตลาดฟิวเจอร์เปิดทำการ

 

ราคาน้ำมันดิบปิดตลาดปรับตัวลดลงในวันจันทร์ หลังจาก Trump เข้ารับตำแหน่งเป็นครั้งที่ 2 และกล่าวว่าเขาจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานแห่งชาติทันที โดยให้คำมั่นว่าจะเติมเต็มสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์และส่งออกพลังงานของสหรัฐฯ ไปทั่วโลก

 

ฟิวเจอร์สราคาน้ำมันดิบเบรนต์ปิดตลาด ลดลง 64 เซนต์ หรือ 0.8% แตะที่ 80.15 ดอลลาร์ในช่วงเช้า เนื่องจากวัน Martin Luther King Day Holiday ขณะที่ฟิวเจอร์สราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอินเตอร์มีเดียต (WTI) ของสหรัฐฯ ลดลง 1.30 ดอลลาร์ หรือ 1.7% แตะที่ 76.58 ดอลลาร์

 

ทางด้านสกุลเงินดิจิทัล ราคา Bitcoin (BTC) พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดตลอดกาลใหม่ (All-Time High) เมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 109,588 ดอลลาร์ แต่กลับตัวลดลงหลังจาก Trump เข้ารับตำแหน่ง

 

ตามข้อมูลของ Coin Metrics ณ เวลา 05.40 น. ราคา BTC ร่วงลงมากกว่า 2.65% เหลือ 103,170 ดอลลาร์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นการ ‘ซื้อตามข่าวลือ ขายตามข่าว’ (Buy the Rumor Sell the News) ในช่วงข้ามคืนที่ผ่านมา

 

Bitcoin ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเทรดเดอร์ต่างรอคอยการเข้ารับตำแหน่งของ Trump ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของยุคทองใหม่ของอุตสาหกรรมคริปโตในสหรัฐอเมริกา นักลงทุนคาดหวังว่า Trump อาจประกาศคำสั่งฝ่ายบริหารเกี่ยวกับคริปโตในช่วงต้นวาระใหม่ของเขาเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่ชื่นชอบต่างหวังว่าจะได้เห็นเขาจัดตั้งสภาที่ปรึกษาคริปโต และจัดตั้งคลังหรือสำรองคริปโตแห่งชาติ

 

วันจันทร์นี้จะมีการเปิดเผยมาตรการบริหารต่างๆ เพื่อให้นักลงทุนประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจะยังไม่มีการกำหนดภาษีศุลกากรในบันทึกข้อตกลงการค้าจากรัฐบาลชุดใหม่ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะเรียกร้องให้มีการสอบสวนจีน แคนาดา และเม็กซิโก เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมและนโยบายสกุลเงิน

 

Trump กล่าวระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์รับตำแหน่งว่าเขาจะปฏิรูประบบการค้า โดยแทนที่จะเก็บภาษีพลเมืองสหรัฐฯ เพื่อทำให้ประเทศอื่นร่ำรวยขึ้น เขาจะเก็บภาษีจากต่างประเทศเพื่อทำให้พลเมืองอเมริกันร่ำรวยขึ้น

 

Trump ยังเตรียมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานระดับชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนที่สูง ซึ่งจะขยายทางเลือกทางกฎหมายของประธานาธิบดีในการอนุญาตให้ขุดเจาะน้ำมันในอลาสก้าและพื้นที่อื่นๆ นอกจากนี้การดำเนินการของฝ่ายบริหารอื่นๆ ที่จะมีขึ้นในวันจันทร์มีแนวโน้มที่จะแก้ไขการยกเลิกกฎระเบียบทางธุรกิจและข้อจำกัดด้านการย้ายถิ่นฐาน

 

ภาพ: Christopher Furlong / Staff / Getty Images 

 

อ้างอิง:

 

The post ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯ พุ่ง Bitcoin ทำสถิติสูงสุดตลอดกาลใหม่ ก่อนพลิกตัวกลับ หลัง Trump สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
CPAXT – เปิดเผยเป้าหมายปี 68 เชิงบวก https://thestandard.co/market-focus-cpaxt-5/ Mon, 20 Jan 2025 10:15:47 +0000 https://thestandard.co/?p=1032290 CPAXT

เกิดอะไรขึ้น:   การประชุมเมื่อวันที่ 16 มกราคม 256 […]

The post CPAXT – เปิดเผยเป้าหมายปี 68 เชิงบวก appeared first on THE STANDARD.

]]>
CPAXT

เกิดอะไรขึ้น:

 

การประชุมเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568 เกี่ยวกับกลยุทธ์ปี 2568 บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT ได้ปรับเพิ่มเป้า Synergy เพิ่มขึ้น หลังจากการควบรวมธุรกิจ B2B กับธุรกิจ B2C ที่จะเห็นใน P&L ของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 5.2 พันล้านบาท (2.5 พันล้านบาทจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น และ 2.7 พันล้านบาทจากค่าใช้จ่าย SG&A ที่ลดลง) จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 5 พันล้านบาท (2.5 พันล้านบาทที่จะเห็นใน P&L และ 2.5 พันล้านบาทจากการประหยัด CAPEX) 

 

โดยคาดว่าจะเห็นผลภายในปี 2568-2569 เร็วกว่าเดิมที่มองไว้ในปี 2568-2570 โดย Synergy จะมาจากการค้า (เช่น การกำหนดราคาขายสินค้าข้ามกันระหว่างสองธุรกิจให้มีความเหมาะสม และการจัดซื้อสินค้าร่วมกันโดยเปลี่ยนแหล่งการจัดซื้อเป็น Direct Sourcing) และที่ไม่เกี่ยวกับการค้า (เช่น การประหยัดค่าใช้จ่ายในระบบ IT, Supply Chain ผ่านศูนย์กระจายสินค้าและการจัดการระบบ การจัดส่งสินค้า แม่บ้าน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย) 

 

ในปี 2568 CPAXT ตั้งเป้าการเติบโตของยอดขายเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับสูง YoY สนับสนุนจาก SSS Growth, การเปิดสาขาเพิ่มเป็น 2,778 สาขาในรูปแบบ B2B และ B2C (เพิ่มขึ้น 50 สาขา, เพิ่มจำนวนสาขา เพิ่มขึ้น 2% จากปีก่อน ด้วยการเปิดสาขาขนาดใหญ่ 10-15 สาขา เปิดสาขาขนาดเล็ก 200 สาขา แต่จะปิดสาขาขนาดเล็กที่ไม่ทำกำไรลง), พื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 8 หมื่นตารางเมตร, เพิ่มขึ้น 7%YoY ณ สิ้นปี 2568 จากสิ้นปี 2567) และอัตราการเช่าพื้นที่เพิ่มขึ้น (94% ในปี 2568 เทียบกับ 93% ในปี 2567) 

 

บริษัทตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 60 BPS YoY (35 BPS จากการดำเนินงานที่ดีขึ้นจากการเพิ่มสินค้าอาหารและสินค้าเฮาส์แบรนด์ที่ให้มาร์จิ้นสูง และ 25 BPS จาก Synergy) บริษัทคาดว่า EBITDA จะเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก YoY จากการเติบโตของยอดขาย อัตรากำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้น และอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A ยอดขายที่ลดลงจาก Synergy และค่าใช้จ่าย Omni-Channel ที่เพิ่มขึ้นช้ากว่ายอดขาย Omni-Channel 

 

บริษัทตั้งเป้า CAPEX ไว้ที่ 2.4-2.8 หมื่นล้านบาทในปี 2568 (CAPEX ปกติ 1.8-2.2 หมื่นล้านบาท และการลงทุนใน Habitat ส่วนที่เหลือ 6 พันล้านบาท) เทียบกับปี 2567 ที่ 2.7 หมื่นล้านบาท (CAPEX ปกติ 1.8 หมื่นล้านบาท และการลงทุนใน Habitat 9 พันล้านบาท)

 

การลงทุนในโครงการ Mixed-Use ในอนาคต CPAXT อยู่ในระยะแรกของการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสาขา 16 แห่งที่ตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพให้เป็น Community Center ซึ่งอาจเป็นโครงการ Mixed-Use ขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ ในระยะกลางถึงระยะยาว 

 

เหตุผลที่บริษัทเข้าลงทุนใน Habitat ซึ่งเป็นโครงการ Mixed-Use ที่ CPAXT จะบริหารงานในส่วนของศูนย์การค้าและสำนักงานเองนั้น สอดคล้องกับหนึ่งในแผนธุรกิจของบริษัทในการสร้างศูนย์รวมการใช้ชีวิตแบบสมาร์ทที่ตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ โดยประเมินอัตราผลตอบแทนจากโครงการมากกว่า 10% (สอดคล้องกับเกณฑ์การลงทุนในโครงการอื่นๆ ของบริษัท) และได้ผลตอบแทนจากโครงการลงทุนแบบ Brownfield (ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายใน 1Q69) เร็วกว่า Greenfield (4-5 ปี)

 

สำหรับการลงทุนในโครงการ Mixed-Use ในอนาคตนั้น CPAXT จะเน้นการบริหารงานในส่วนธุรกิจหลัก (ค้าปลีก) เอง และจะให้พาร์ตเนอร์ช่วยบริหารงานในส่วนที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก (โรงแรม ที่พักอาศัย และสำนักงาน)

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น CPAXT ปรับขึ้น 5.61% สู่ 28.25 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 3.08% สู่ 1,352.56 จุด 

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ:

 

InnovestX Research คาดว่ากำไรปกติ 4Q67 จะทำจุดสูงสุดของปี 2567 ที่ 3.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 57%QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และเพิ่มขึ้น 15%YoY จากยอดขายที่ดีขึ้น (SSS ในธุรกิจ B2B และ B2C โต 1.5-2%), อัตรากำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 80 BPS YoY) จากยอดขายสินค้ามาร์จิ้นสูงที่เพิ่มขึ้น) ซึ่งจะมากเกินพอชดเชยอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A / ยอดขายที่สูงขึ้น (เพิ่มขึ้น 60 BPS YoY) ในธุรกิจ B2B จากการเปิดสาขามากขึ้นและค่าใช้จ่าย Omni-Channel 

 

กลยุทธ์การลงทุนยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ CPAXT โดยให้ราคาเป้าหมายกลางปี 2568 อ้างอิงวิธี DCF ที่ 40 บาทต่อหุ้น (WACC 7.1% และการเติบโตระยะยาวที่ 2.5%)

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลและกำลังซื้อ ความเสี่ยง ESG ที่สำคัญคือ การบริหารจัดการพลังงานและของเสีย ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน (E) และการบริหารจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ แนวปฏิบัติด้านแรงงาน และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (S)

 

Cafe Invest แหล่งรวมข้อมูลการลงทุนและบทวิเคราะห์คุณภาพโดย InnovestX 🚀 คลิกเลย CPAXT – เปิดเผยเป้าหมายปี 68 เชิงบวก: https://www.innovestx.co.th/cafeinvest/research/company-analysis/company-update/cpaxt-20250117 

 

The post CPAXT – เปิดเผยเป้าหมายปี 68 เชิงบวก appeared first on THE STANDARD.

]]>