Wealth Management – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 31 Mar 2024 06:29:16 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 เผยเคล็ดไม่ลับการบริหารเงินเพื่อคน Gen Z ในยุคค่าครองชีพพุ่ง เงินออมลดฮวบ https://thestandard.co/gen-z-money-management-tip/ Sun, 31 Mar 2024 06:29:16 +0000 https://thestandard.co/?p=917557 Gen Z

หนึ่งในความท้าทายที่หนักหนาสาหัสสำหรับวัยรุ่น Gen Z ยุค […]

The post เผยเคล็ดไม่ลับการบริหารเงินเพื่อคน Gen Z ในยุคค่าครองชีพพุ่ง เงินออมลดฮวบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Gen Z

หนึ่งในความท้าทายที่หนักหนาสาหัสสำหรับวัยรุ่น Gen Z ยุคปัจจุบันก็คือ การบริหารจัดการวางแผนการเงินของตนเองเพื่อให้มีเพียงพอต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงลิ่ว สวนทางกับค่าจ้างเงินเดือนที่ยังคงเท่าเดิมหรือลดลง และภาระหนี้ต่างๆ ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ คนในการจัดการงบการเงินของตนเอง จนกระทบต่อแผนการใช้จ่ายสำคัญอย่างการซื้อบ้านและการออมเพื่อการเกษียณ รวมถึงทำให้มีแนวโน้มที่คนหนุ่มสาวเหล่านี้ต้องพึ่งพาธนาคาร หรือเหล่าบุพการีของตนเองเป็นเวลานานขึ้น และในกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็คือ การใช้จ่ายแบบชักหน้าไม่ถึงหลัง ‘Doom Spending’ เพื่อเอาตัวรอดไปวันๆ 

 

งานนี้ทางทีมข่าว Bloomberg ได้รวบรวมเคล็ดลับความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการเงินว่าการจัดการวางแผนการเงินอย่างสมเหตุสมผลในยุคค่าครองชีพสูงต้องทำอย่างไร 

 

Mark Struthers ผู้ก่อตั้งบริษัทวางแผนการเงิน Sona Wealth กล่าวว่า ประการแรกที่ต้องทำคือ กำหนดกฎพื้นฐานในการใช้จ่ายขึ้นมาก่อนว่าจะใช้ จะเก็บ จะลงทุน ด้วยสัดส่วนเท่าใด โดยส่วนตัว Struthers แนะนำกฎ 50-30-20 กล่าวคือ แบ่งรายได้ 50% ไว้สำหรับความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น บิล ค่าเช่า และค่าดูแลเด็ก 30% สำหรับความต้องการ เช่น ร้านอาหาร และการเดินทาง และ 20% สำหรับเงินออม

 

แน่นอนว่าด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกวันในปัจจุบัน กฎ 50-30-20 อาจเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน Struthers ก็แนะนำให้ปรับแก้ได้ เช่น สัดส่วนอาจเปลี่ยนเป็น 70-20-10 หรือ 80-10-10 เป็นต้น ก่อนย้ำว่า แม้ว่ากฎทั่วไปจะไม่พอดีกันนัก แต่ก็มักจะดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

 

ด้าน Douglas Boneparth ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน Bone Fide Wealth กล่าวว่า เคล็ดลับการวางแผนทางการเงินที่ดีมากอีกประการหนึ่งก็คือ Track Expenses การติดตามค่าใช้จ่ายจริง โดยจดรายละเอียดของการใช้จ่ายในแต่ละวันเป็นเวลาสัก 6-12 เดือน เพื่อดูว่าเงินของคุณไปที่ไหน ซึ่งวิธีการนี้สามารถช่วยให้คุณเข้าใจได้ดีขึ้นว่าคุณใช้เงินไปกับอะไร และตัดสินใจว่าจะจัดสรรการใช้จ่ายไปที่ใด

 

Sarah Paulson เจ้าของที่ปรึกษาทางการเงิน Valkyrie Financial แนะให้ลองแบ่งงบออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนค่าใช้จ่ายที่คงที่ (Fixed Cost) กับค่าใช้จ่ายที่ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ ด้วยการตั้งค่าการชำระเงินอัตโนมัติสำหรับจำนวนเงินคงที่ทุกๆ เดือน เช่น ค่าสมัครสมาชิก ค่าเช่า และเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ควบคู่ไปกับการหักเงินเข้าบัญชีออม ซึ่งรายได้ส่วนที่เหลือเป็นส่วนยืดหยุ่นสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นส่วนที่ยืดหยุ่นที่สามารถใช้จ่ายได้ตามต้องการ 

 

ด้าน Selina Flavius ผู้ก่อตั้ง Black Girl Finance ที่ปรึกษาในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมพื้นที่สำหรับค่าใช้จ่ายที่มาปีละครั้ง เช่น วันหยุด วันเกิด ค่าบำรุงรักษารถยนต์ ประกันที่อยู่อาศัย และภาษี ซึ่งการใช้จ่ายในส่วนนี้มักมีผลกระทบต่อแผนการเงินโดยรวมเพียงเล็กน้อย เพราะมักจะมีแค่ปีละครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น ไม่ใช่ทุกเดือน แต่ก็เป็นการดีที่จะวางแผนล่วงหน้าและกันเงินไว้ทุกเดือนเมื่อค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาถึง

 

นอกจากนี้ บรรดาที่ปรึกษาทางการเงินยังแนะนำให้จัดสรรเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายสนุกๆ เช่น ค่าเดินทาง ดูหนัง หรือร้านอาหาร เป็นครั้งคราว เพราะการมีแผนการเงินที่ไม่เหลือพื้นที่ให้ซื้อของสนุกๆ อาจจบลงด้วยความล้มเหลว เนื่องจากผู้คนมักจะยอมแพ้และใช้จ่ายเกินควร และการมีเงินเพื่อใช้จ่ายสำหรับเรื่อง ‘สนุกสนาน’ บ้างบางครั้งจะช่วยให้คุณมีแรงบันดาลใจและบรรลุเป้าหมายในระยะยาว

 

ภาพ: Bulat Silvia / Getty Images 

อ้างอิง​: 

The post เผยเคล็ดไม่ลับการบริหารเงินเพื่อคน Gen Z ในยุคค่าครองชีพพุ่ง เงินออมลดฮวบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คุยกับทายาทพะเนียงเวทย์ ส่งต่อความใฝ่รู้คือมรดกที่มีค่าที่สุด [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/knowledge-is-the-most-valuable-legacy/ Mon, 18 Mar 2024 02:30:49 +0000 https://thestandard.co/?p=906451 พะเนียงเวทย์

ถ้าต้องเลือกมรดกเพียง 1 อย่างเพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน คุณจ […]

The post คุยกับทายาทพะเนียงเวทย์ ส่งต่อความใฝ่รู้คือมรดกที่มีค่าที่สุด [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
พะเนียงเวทย์

ถ้าต้องเลือกมรดกเพียง 1 อย่างเพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน คุณจะเลือกอะไร?

 

เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา THE STANDARD WEALTH มีโอกาสได้สนทนากับทายาทของตระกูล ‘พะเนียงเวทย์’ ผ่านคำชวนของ KRUNGSRI PRIVATE BANKING จนได้ค้นพบว่า มรดกที่ทรงคุณค่าที่สุดอย่างหนึ่งคือ ความใฝ่รู้

 

“ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เราต้องเรียนรู้ในทุกๆ วัน ไม่มีใครที่เรียนจบปริญญาหลายปีก่อนแล้วจะไม่ต้องเรียนรู้อะไรอีก ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง โลกหมุนไปข้างหน้า ถ้าเราหยุดอยู่กับที่ คิดว่าสำเร็จแล้ว เราจะถอยหลังทันที เพราะคนอื่นกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า”

 

คำพูดของ พจนา พะเนียงเวทย์ เป็นเหมือนบทสรุปที่ช่วยย่อยเรื่องราวของการสนทนาในครั้งนี้ ขณะที่นิสัยของความใฝ่รู้ที่ถูกปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่นของตระกูลพะเนียงเวทย์ก็สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนผ่าน กมลพรรณ เลิศประภาพงศ์ ลูกสาวคนโตที่เป็นอีกหนึ่งคู่สนทนาของพวกเรา

 

พจนาและกมลพรรณเป็นลูกสาวและหลานสาวของ พิพัฒ พะเนียงเวทย์ ผู้ร่วมบุกเบิกแบรนด์มาม่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเมืองไทย แต่จุดโฟกัสของพวกเราในครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่ธุรกิจของมาม่า

 

บทสนทนาระหว่างเราเริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนไปถึงชีวิตในวัยเด็กของคุณแม่พจนา ซึ่งเติบโตขึ้นมาในครอบครัวใหญ่ ชีวิตประจำวันมีระเบียบแบบแผนพอสมควร มีตารางเวลาชัดเจนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ทั้งเรื่องของกีฬา ดนตรี และการเรียน

 

“ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องบังคับให้เรียนดนตรี เล่นกีฬา และต้องเรียนให้ดีด้วย ก่อนที่จะมาเข้าใจตอนหลัง” อย่างเช่น การเรียนดนตรีเป็นสิ่งที่ช่วยฝึกสมาธิ ฝึกความจำ และสร้างความรับผิดชอบไปพร้อมๆ กัน พจนาบอกว่า “เมื่อความจำดีและมีวินัยในตัวเอง เท่านั้นแหละการเรียนหนังสือก็จะดีตามมาเอง”

 

นอกจากเรื่องวินัยแล้ว สิ่งที่ติดตัวพจนามาตั้งแต่เด็กคือ การเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว

 

“สมัยก่อนที่คุณพ่อเคยพาไปเที่ยวก็มักจะสอดแทรกเรื่องการเรียนรู้อยู่ตลอด แม้แต่การอ่านหลักกิโลเมตรระหว่างทาง” 

 

เมื่อมาถึงรุ่นลูก กมลพรรณบอกว่าแนวทางเหล่านี้ก็ยังคงถูกใช้อยู่ ตอนเด็กๆ เธอและน้องๆ ก็เล่นกีฬา ฝึกดนตรี และมีตารางเวลาการอ่านหนังสือไม่ต่างกัน เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่จะย้ำเสมอว่า การทำทุกอย่างอย่างเต็มที่ ท้ายที่สุดแล้วผลลัพธ์จะย้อนกลับมาหาตัวเราเอง

 

ครอบครัวพะเนียงเวทย์ให้ความสำคัญกับเรื่องของการศึกษาเป็นอย่างมาก มากจนถึงขนาดที่ว่าพจนาเคยคิดจะย้ายครอบครัวไปอยู่ต่างประเทศ

 

“เคยอยากย้ายครอบครัวไปอยู่ต่างประเทศ ส่วนตัวเคยไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาแล้วรู้สึกว่าเขาล้ำหน้าเราไปเยอะมาก”

  

พจนาเล่าว่า ตอนที่ไปเรียน Computer Graphic ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1989 ตอนนั้นอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายแล้วในสหรัฐฯ อาจารย์บอกว่าไม่ต้องมาโรงเรียนก็ได้ สามารถซื้อคอมพิวเตอร์แล้วเรียนจากที่บ้านได้เลย

 

“ถ้าพูดถึงเมื่อ 35 ปีที่แล้วมันเทียบกันไม่ได้ ก็เลยคิดว่าอยากให้ลูกมีการศึกษาที่ล้ำหน้า”

 

วิธีคิดในการสอนลูกเรื่องการศึกษาคือ เราจะสอนให้เป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องการโอบรับความแตกต่างและหลากหลายแล้ว ยังช่วยเปิดโอกาสให้เราเข้าถึงความรู้ใหม่ๆ ที่นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ในเมืองไทย 

 

ความใฝ่รู้ที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ทายาทรุ่นที่ 3 อย่างกมลพรรณเชื่อว่า เธอยังต้องเรียนรู้อะไรอีกมากมายหากหวังจะสร้างมรดกของตัวเองขึ้นมา

 

“เราพยายามทำตัวเองให้เหมือนฟองน้ำ คุณแม่จะสอนตลอดว่าให้ฟังเยอะๆ ถ้าเรายังเรียนรู้ไม่พอแล้วปิดกั้นตัวเอง จะทำให้เราไม่เติบโต เพราะฉะนั้นเราต้องออกไปเรียนรู้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของคนอื่นหรือประสบการณ์ของตัวเอง” 

 

เมื่อถามถึงเคล็ดลับในการพัฒนาตัวเอง กมลพรรณตอบว่า “คือการเคารพตัวเอง หมายความว่าถ้าเราอยากเป็นคนเก่ง ทำอย่างไรให้เราเก่ง ถ้าอยากเป็นคนสุขภาพดี เราควรเคารพตัวเองให้ใช้ชีวิตอย่างไรเพื่อที่จะมีสุขภาพดี”

 

อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจเกี่ยวกับกมลพรรณคือ เธอจะแบ่งเงิน 10-20% มาลงทุนเพื่อการเรียนรู้ของตัวเอง เช่น การลงคอร์สเรียนต่างๆ และการเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน

 

การรู้จักใช้เงินเป็นเหมือนนิสัยติดตัวของคนในครอบครัวพะเนียงเวทย์ เพราะในรุ่นคุณแม่พจนาก็ได้รับการสอนให้แบ่งเงิน 10% เพื่อเก็บออม อีก 10% ให้พ่อแม่ และอีก 10% ใช้เป็นค่าผ่อนซื้อบ้าน ก่อนที่จะใช้จ่ายส่วนตัว

 

“ไม่ว่าเรามีเท่าไร ถ้าเราใช้ได้น้อยกว่า ทุกคนมี Wealth หมดเลย ไม่ว่าจะระดับไหนก็ตาม คนส่วนมากที่มีปัญหาคือ เงินมีน้อยแต่ต้องการจะใช้เยอะ ถ้าเรามีเงิน 100 บาท แล้วใช้ 101 บาท เราจนทันที พื้นฐานของการสร้าง Wealth คือการเข้าใจระหว่างการใช้เงินในสิ่งที่จำเป็นและไม่จำเป็น” นี่คือสิ่งที่พจนาพยายามบอกกับพนักงานทุกๆ คน ไม่ใช่แค่กับลูกๆ

 

เมื่อถามว่า อะไรคือมรดกที่อยากจะส่งต่อให้ลูกมากที่สุด พจนาตอบอย่างชัดเจนว่า ‘วิธีการใช้ชีวิต’ อย่างเช่น เรื่องของการทำงาน “เราไม่ได้เป็นคนเก่ง แต่เป็นคนทำเต็มที่ ทำด้วยจิตและวิญญาณ” 

 

มาม่าทุกวันนี้ไม่ใช่ Family Business แต่เป็น Family in Business เพราะที่ผ่านมาเป็นจังหวะที่พี่น้องเกือบทุกคนเข้ามาช่วยกันทำธุรกิจ แต่ปัจจุบันมาม่าเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งคนที่จะมารับช่วงต่อไม่ได้จำกัดแค่คนในตระกูลเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนที่เหมาะกับธุรกิจนี้จริงๆ

 

การเป็นคนใฝ่รู้และคอยเติมความสามารถให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา หากต้องการเข้ามาสานต่อธุรกิจมาม่าก็ย่อมทำได้ หรือหากต้องไปเติบโตในเส้นทางอื่นก็ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน 

 

อย่างเช่น กรณีของกมลพรรณที่เริ่มเข้ามาช่วยงานที่มาม่า แต่ใครจะนึกว่าสิ่งที่ทำคือ การสร้างและบริหารกองทุน Venture Capital (VC) 

 

เมื่อความสามารถมีมากพอและสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย การต่อยอดสิ่งใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมาได้เสมอ 

 

 

Wealth Management

 

การสนทนาในครั้งนี้คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก KRUNGSRI PRIVATE BANKING จริงๆ แล้วคอนเซปต์ที่กรุงศรีตั้งไว้ตั้งแต่ต้น เพื่อเป็นกรอบของการพูดคุยในครั้งนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก

 

‘LIVE YOUR LEGACY’ ต่อยอดสิ่งที่คุณสร้างให้งอกงามไม่สิ้นสุด

 

เมื่อพูดถึงคำว่า Legacy หรือมรดก เราก็มักจะนึกถึงเรื่องเงินและความมั่งคั่งเป็นสิ่งแรก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า Legacy ยังครอบคลุมไปถึงผลจากการกระทำหรือเหตุการณ์ที่จะส่งผลต่อไปไม่สิ้นสุด 

 

 

ระหว่างการสนทนาคุณพจนาย้ำเสมอว่า เธอไม่ใช่คนเก่งไปทั้งหมด อะไรที่เราไม่ถนัดก็ต้องเปิดให้คนอื่นเข้ามาช่วย ซึ่งก็รวมถึงเรื่องการบริหารความมั่งคั่งส่วนตัว ทำให้ครอบครัวเลือกใช้บริการ Wealth Management ของ KRUNGSRI PRIVATE BANKING

 

กมลพรรณบอกว่า การใช้บริการ Wealth Management จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่เรื่องการบริหารพอร์ตลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการบริหารจัดการเงินในทุกๆ ด้านที่ออกแบบตามความต้องการของเรา โดยอาจครอบคลุมทั้งเรื่องประกัน ภาษี หรือแม้แต่การเสริมไอเดียการลงทุนใหม่ๆ

 

โดยส่วนตัวเริ่มรู้จักกับกรุงศรีเพราะสนใจและเข้าร่วมลงทุนในกองทุน Finnoventure Private Equity Trust I ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ

The post คุยกับทายาทพะเนียงเวทย์ ส่งต่อความใฝ่รู้คือมรดกที่มีค่าที่สุด [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘อย่าจับจังหวะเก็งกำไร เน้นกระจายความเสี่ยง และ Stay Invested’ 3 บทเรียนลงทุนปี 2566 จาก SCB WEALTH https://thestandard.co/3-investment-lessons-in-2023-from-scb-wealth/ Wed, 07 Feb 2024 09:53:44 +0000 https://thestandard.co/?p=897167

การลงทุนในปี 2566 พบ 3 ประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาถอดบทเร […]

The post ‘อย่าจับจังหวะเก็งกำไร เน้นกระจายความเสี่ยง และ Stay Invested’ 3 บทเรียนลงทุนปี 2566 จาก SCB WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

การลงทุนในปี 2566 พบ 3 ประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาถอดบทเรียน เพื่อนำมาปรับใช้กับการลงทุนในปี 2567 เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีเสถียรภาพ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้แม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน ได้แก่ 

 

1. การจับจังหวะลงทุนและเก็งกำไรตลอดเวลาไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม จากการพิจารณาดัชนี S&P 500 เทียบกับมูลค่าการซื้อ-ขายในแต่ละวันพบว่า ในวันที่หุ้นปรับขึ้นมาก มูลค่าการซื้อ-ขายจะสูงขึ้น สะท้อนว่ามีการเข้าไปซื้อ-ขายเพื่อเก็งกำไรสูงขึ้น ซึ่งการจับจังหวะช่วงที่ตลาดขึ้นสูงมีโอกาสเผชิญความผันผวนได้มากกว่าช่วงที่ตลาดย่อตัวลงมา ดังนั้นการลงทุนควรพิจารณาลงทุนในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง ซึ่งมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้มากกว่า 

 

2. การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการลงทุน หากย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2566 จะพบว่า ตลาดมีการคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน โดยมองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงและคงอยู่ในระดับสูง จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีความผันผวนจากต้นทุนดอกเบี้ยของบริษัทต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท และสะท้อนมาที่ดัชนีในตลาดต่างๆ ของสหรัฐฯ  อาจจะยังไม่น่าสนใจสำหรับการลงทุน แต่ปรากฏว่า ในปลายปี 2566 ดัชนี S&P 500 ปรับเพิ่มขึ้น 24.7% ดัชนี Nasdag เพิ่มขึ้น 44.5% และดัชนี Dow Jones Industrial (DJI) เพิ่มขึ้น 13.70% ทางด้านตลาดหุ้นจีนมองว่าจะได้รับผลดีจากการเปิดประเทศ จะส่งผลให้ภาคบริโภคฟื้นตัว แต่ปรากฏว่าดัชนี CSI 300 ผลตอบแทน -11.7%   

 

ส่วนเศรษฐกิจไทยคาดการณ์ว่าจะดีจากอานิสงส์ที่จีนเปิดประเทศและการท่องเที่ยวไทยจะบูม แต่ปรากฏว่าดัชนีหุ้นไทย -15.6% ด้านราคาทองคำคาดว่าดอกเบี้ยที่สูงจะกดดันราคาทองคำให้ลดลง แต่ปรากฏว่าราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น 12% ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าวนักลงทุนควรยึดมั่นอยู่ในหลักการสำคัญคือ การกระจายความเสี่ยงลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย สำหรับ Core Portfolio เพื่อให้การลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้ ไม่ว่าตลาดจะผันผวนไปในทิศทางใดก็ตาม 

 

3. ไม่หลีกหนี Stay Invested หากในปีที่ผ่านมาผู้ลงทุนยังคงเชื่อมั่นศักยภาพและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ การลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ไม่ได้มีการปรับพอร์ตหรือลดสัดส่วนลง เชื่อว่าผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่ดี แต่ทั้งนี้ จากสถิติในปี 2566 การลงทุนในกองทุนประเภท Money Market เพิ่มสูงขึ้น ทำให้สะท้อนว่า นักลงทุนส่วนใหญ่เมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวน ก็จะปรับพอร์ตหรือปรับสัดส่วนการลงทุน (Not Stay Invested) ทั้งนี้ คาดว่าหากอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางหลายแห่งปรับตัวลดลง นักลงทุนอาจหันกลับเข้ามาทยอยลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป 

 

หลังจากการถอดบทเรียนในปี 2566 เพื่อนำมาปรับสำหรับจัดพอร์ตในปี 2567 SCB WEALTH มองพอร์ตการลงทุนควรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  

1. การสร้างพอร์ตการลงทุนแกนกลาง (Core Portfolio) ที่ผสมผสานระหว่างสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อกระจายความเสี่ยง ทั้งตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายการลงทุนระยะกลางถึงยาว (ประมาณ 3-5 ปี) และไม่จับจังหวะเข้าออกมากเกินไป 

 

โดยสินทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุน ได้แก่ กองทุน SCBGA ที่มีผู้จัดการกองทุนปรับน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้อยู่แล้ว ส่วนตราสารหนี้แนะนำกองทุน SCBDBOND (A) ซึ่งผู้จัดการกองทุนปรับสัดส่วนและน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ตามภาวะตลาดที่เหมาะสม   

 

สำหรับลูกค้ากลุ่มที่มีความมั่งคั่งระดับสูง (Ultra High Net Worth) อาจแบ่งเงินส่วนหนึ่งใน Core Portfolio ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกนอกตลาด ประเภท Private Asset เช่น BCRED-O เป็นต้น

 

2. Opportunistic การจัดแบ่งเงินลงทุนบางส่วนเพื่อลงทุนตามมุมมองของที่ปรึกษาการลงทุนต่างๆ โดยอาจคัดเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่ากองทุนแกนกลางได้บ้าง เพื่อหวังผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้น ทั้งนี้ หากเกิดผลลบต่อการลงทุนและไม่เป็นไปตามคาดหวัง สัดส่วนเงินลงทุนที่น้อยจะไม่กระทบกับความคาดหวังการลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์แกนกลาง  

 

ในส่วนนี้ SCB WEALTH ขอแนะนำการลงทุนในกองทุน KT-INDIA ที่มีผลการดำเนินงานค่อนข้างสม่ำเสมอ และมีนโยบายลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นอินเดีย  

ส่วนการลงทุนในผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ (Structure Product) และ Dual Currency Note Pricing (DCI) ที่จะให้ผลตอบแทนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนที่ลูกค้าต้องการแลก รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ผู้ลงทุนสามารถติดต่อตัวแทนของธนาคาร เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ก่อนตัดสินใจลงทุน

 

คำเตือน: 

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน / หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • การลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนสูงมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน
  • ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 0 2777 7777

 

ภาพ: Jose Luis Pelaez Inc / Getty Images

The post ‘อย่าจับจังหวะเก็งกำไร เน้นกระจายความเสี่ยง และ Stay Invested’ 3 บทเรียนลงทุนปี 2566 จาก SCB WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
9 หนังสือที่ต้องอ่าน หากต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในปี 2024 https://thestandard.co/financial-goal-books-recommended-2024/ Sun, 28 Jan 2024 03:09:19 +0000 https://thestandard.co/?p=893085

เมื่อเราเริ่มต้นปีใหม่ การแสวงหาความสำเร็จทางการเงินกลา […]

The post 9 หนังสือที่ต้องอ่าน หากต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในปี 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อเราเริ่มต้นปีใหม่ การแสวงหาความสำเร็จทางการเงินกลายเป็นหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนที่มีประสบการณ์ หรือเพิ่งเริ่มต้นเส้นทางสู่ความมั่งคั่ง การมีแผนกลยุทธ์เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง นี่คือรายการหนังสือที่คัดเลือกมาอย่างรอบคอบ ซึ่งให้มุมมองที่หลากหลายและข้อมูลที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อช่วยคุณในการนำทางบนภูมิทัศน์ทางการเงินอันวุ่นวายในปี 2024

 

1. The Family Bank: The Key to Generational Wealth โดย จอห์น เอช. เนเบเกอร์

 

ด้วยตัวอย่างจากชีวิตจริงและมุมมองทางประวัติศาสตร์ เนเบเกอร์ไม่เพียงเน้นย้ำถึงจุดอ่อนที่นำไปสู่การสูญเสียทรัพย์สมบัติของครอบครัว แต่ยังเปิดเผยความลับของครอบครัวที่สามารถสร้างและสืบทอดทรัพย์สมบัติได้เป็นเวลาหลายศตวรรษ หนังสือเล่มนี้จึงโดดเด่นด้วยการนำเสนอแนวคิดที่เปิดประตูสู่ศักยภาพทางการเงิน และยังส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อีกด้วย

 

2. The 9 Steps to Financial Freedom โดย ซูซ ออร์แมน

 

คู่มือที่ครอบคลุมของออร์แมนให้คำแนะนำที่ปฏิบัติได้จริง เนื้อหาครอบคลุมหัวข้อสำคัญ เช่น การกำหนดงบประมาณที่เป็นจริงได้ การกำจัดหนี้สิน และการสร้างฐานทางการเงินที่มั่นคง หนังสือขายดีเล่มนี้ถือเป็นเวทีตั้งต้นสำหรับความสำเร็จทางการเงินอย่างยั่งยืน

 

3. The Automatic Millionaire โดย เดวิด บาค

 

บาคนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการทำให้การสร้างความมั่งคั่งเป็นไปโดยอัตโนมัติ ค้นหาวิธีที่การกระทำเล็กๆ อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลานานสามารถนำไปสู่ความสำเร็จทางการเงินได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก

 

4. The Total Money Makeover โดย เดฟ แรมซีย์

 

หนังสือเล่มนี้จะเข้ามาเป็นหลักสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแนวทางทีละขั้นตอนเพื่อสร้างเสรีภาพทางการเงิน เขาให้วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำจัดหนี้ การสร้างกองทุนเงินฉุกเฉิน และการสร้างความมั่งคั่ง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมชะตากรรมทางการเงินของคุณเอง

 

5. Rich Woman: A Book on Investing for Women โดย คิม คิโยซากิ

 

คิโยซากินำเสนอมุมมองที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้หญิงเกี่ยวกับการลงทุน เนื้อหาครอบคลุมกลยุทธ์ในการสร้างความมั่งคั่ง การบรรลุอิสระทางการเงิน และการนำทางในโลกของการลงทุนอย่างมั่นใจ เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเงินของตัวเอง

 

6. Rich AF: The Winning Money Mindset That Will Change Your Life โดย วิเวียน ตู

 

หนังสือนี้เขียนโดยตู ผู้เป็นดาว TikTok และผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน เธอนำเสนอประสบการณ์จากวอลล์สตรีท และให้ข้อมูลที่มีค่าซึ่งเสริมพลังให้ผู้อ่านจากทุกสาขาอาชีพ ลักษณะเด่นของหนังสือประกอบด้วยการเพิ่มรายได้ นิสัยการเงินที่ฉลาด กลยุทธ์ทางภาษี การเอาชนะความกลัวในการลงทุน และการปลูกฝังทัศนคติแห่งความมั่งคั่ง หนังสือเล่มนี้ให้ความบันเทิงพร้อมทั้งมอบมุมมองใหม่เกี่ยวกับเครื่องมือและความรู้ที่จำเป็นในการสร้างกลยุทธ์ทางการเงินที่มั่นคง

 

7. The Total Money Makeover โดย เดฟ แรมซีย์

 

หนังสือคลาสสิกที่ไม่มีวันล้าสมัยโดยแรมซีย์ยังคงเป็นหนังสืออ้างอิงหลักสำหรับผู้ที่กำลังมองหาคู่มือทีละขั้นตอนสู่อิสระทางการเงิน วิธีการปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ของแรมซีย์ในการกำจัดหนี้สิน การสร้างกองทุนฉุกเฉิน และการสร้างความมั่งคั่ง ได้ทำให้หนังสือเล่มนี้กลายเป็นแหล่งข้อมูลที่หลายคนพึ่งพาเพื่อควบคุมชะตากรรมทางการเงินของตนเอง

 

8. Rich Dad Poor Dad โดย โรเบิร์ต คิโยซากิ

 

ถือเป็นหนังสือหลักที่ยืนหยัดในด้านวรรณกรรมการเงินส่วนบุคคล ท้าทายความเชื่อแบบดั้งเดิมเกี่ยวกับเงินและการลงทุน ตั้งแต่เริ่มตีพิมพ์ในปี 1997 หนังสือเล่มนี้ยังคงเป็นคู่มือคลาสสิกและมีข้อมูลที่ยังคงใช้ได้จริงในปัจจุบัน แถมสะท้อนความรู้สึกของผู้อ่านหลายรุ่น

 

9. Breaking Free from Broke: The Ultimate Guide to More Money and Less Stress โดย จอร์จ คาเมล

 

หนังสือของคาเมลทำลายล้างตำนานทางการเงิน และเปิดเผยกับดักต่างๆ ครอบคลุมหัวข้อตั้งแต่บัตรเครดิตและเงินกู้ การลงทุน และกลยุทธ์การบริโภค คาเมลนำประสบการณ์ส่วนตัวของเขามาเพื่อแนะนำผู้อ่านให้สร้างความมั่งคั่งและกำจัดหนี้สิน เขาทำลายข้อแก้ตัวและให้ข้อมูลเชิงปฏิบัติ และช่วยให้ผู้อ่านมีความมั่นใจในการหลุดพ้นจากระบบการเงินที่เป็นพิษและบรรลุความสำเร็จทางการเงิน

 

เมื่อเราก้าวเข้าสู่ปี 2024 หนังสือเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นแผนที่นำทางไปสู่ความสำเร็จทางการเงิน โดยแต่ละเล่มมีมุมมองที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการปลดล็อกศักยภาพทางการเงินผ่านความผูกพันในครอบครัว การค้นพบรหัสสู่ความสำเร็จทางการเงิน หรือการปฏิบัติตามหลักการที่ได้รับการทดสอบด้วยเวลาของกูรูทางการเงิน คำแนะนำเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่การนำทางคุณสู่ปีที่มั่งคั่งสำหรับตัวคุณเอง

 

อ้างอิง:

The post 9 หนังสือที่ต้องอ่าน หากต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในปี 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
9 บทเรียนแหวนแห่งอำนาจการเงินที่เรียนรู้ได้จาก The Lord of the Rings https://thestandard.co/9-lessons-the-lord-of-the-rings/ Sun, 21 Jan 2024 12:00:04 +0000 https://thestandard.co/?p=890341

“ของรักของข้า”   เชื่อว่าหลายคนน่าจะต้องเคยได้อ่าน […]

The post 9 บทเรียนแหวนแห่งอำนาจการเงินที่เรียนรู้ได้จาก The Lord of the Rings appeared first on THE STANDARD.

]]>

“ของรักของข้า”

 

เชื่อว่าหลายคนน่าจะต้องเคยได้อ่านสุดยอดวรรณกรรมที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดระดับตำนาน The Lord of the Rings หรือ อภินิหารแหวนครองพิภพ ซึ่งเป็นผลงานของ J.R.R. Tolkien กันมาบ้างแน่นอน

 

ความมหัศจรรย์ของเรื่องนี้ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของมหากาพย์การเดินทางที่ทั้งน่าอัศจรรย์ใจและเหนื่อยยากของโฟรโด สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่ต้องแบกรับภาระที่หนักอึ้งที่สุดบนโลก หรือการต่อสู้ที่กล้าหาญของเหล่า ‘พันธมิตรแห่งแหวน’ ที่นำโดยพ่อมดแกนดัล์ฟ, เลโกลัส เอลฟ์ผู้กล้าหาญ, กิมลี คนแคระผู้แกร่งกล้า, อารากอร์น ผู้มีสิทธิ์ครองบัลลังก์แห่งนครกอนดอร์เท่านั้น

 

แต่ในเรื่อง The Lord of the Rings ยังแทรกแง่คิดและบทเรียนเอาไว้อย่างมากมาย ซึ่งก็มีให้คิดถึงได้แม้แต่ในเรื่องที่ไม่น่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องกันได้อย่างเรื่องการเงิน

 

และนี่คือ 9 บทเรียนทางการเงินที่เราเรียนรู้ได้จากมหากาพย์เรื่องนี้ ซึ่งจะเท่ากับจำนวนแหวน 9 วงที่ถูกสร้างและมอบให้แก่กษัตริย์ชาวมนุษย์ทั้ง 9 แห่งมัชฌิมโลก

 

แหวนวงที่ 1: จงกระจายความเสี่ยง

 

แต่ในเรื่อง The Lord of the Rings แหวนที่เป็นสุดยอดคือแหวนเอกธำมรงค์ของจอมมารเซารอน

 

แหวนวงนี้เขาเล่าขานกันว่า “วงเดียวเพื่อครองพิภพ วงเดียวเพื่อค้นพบจบหล้า วงเดียวเพื่อสาปสิ้นทุกวิญญาณ พันธนาไว้ในความมืดมน”

 

แต่รู้ไหมว่าสิ่งที่ทำให้เซารอนพ่ายแพ้ในเรื่องก็คือการที่เขาเอาอำนาจสูงสุดทุกอย่างใส่ไว้ในแหวนเพียงแค่วงเดียวเท่านั้น เรื่องนี้ในเชิงกลยุทธ์ของเซารอนในการทุ่มสุดตัวทุกอย่างลงไปในหุ้นหรือสินทรัพย์เพียงอย่างเดียวมันอาจจะให้ผลตอบแทนที่สูง แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงมากมายมหาศาลด้วยเช่นกัน

 

เมื่อ โฟรโด แบ็กกินส์ ฮอบบิทจากแคว้นไชร์ทำภารกิจสำเร็จในการเดินทางมาถึงหุบเขามรณะในมอดอร์ ก่อนที่อสุรกายกอลลัมจะชิงแหวนจากนิ้วแล้วพลัดตกลงไปในหุบเขาซึ่งเป็นสถานที่เดียวที่จะทำลายแหวนวงนี้ได้

 

แหวนเอกธำมรงค์ที่ถูกทำลายก็ไม่ต่างอะไรจากทรัพย์สินการลงทุนทุกอย่างที่สูญสลายไปในพริบตา

 

หากเซารอนกระจายความเสี่ยงออกไปบ้างเรื่องก็อาจจะจบลงอีกแบบก็ได้ ดังนั้นทรัพย์การลงทุนต่างๆ กระจายเอาไว้ในหุ้น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ หรืออะไรก็ตาม เพราะหากส่วนใดส่วนหนึ่งประสบปัญหาก็ยังเหลือส่วนอื่นอยู่ให้เริ่มต้นกันใหม่ได้ง่ายกว่าเดิม

 

 

แหวนวงที่ 2: บริหารงบประมาณและทรัพยากรอย่างเหมาะสม

 

ปกติแล้วฮอบบิทเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย (อาจจะยกเว้นเมอร์รีกับปิ๊ปปินไว้) เช่น บิลโบ แบ็กกินส์ นักผจญภัยผู้เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งปวง แม้จะร่ำรวยด้วยเงินทองทรัพย์สมบัติที่ได้มาจากขุมทรัพย์แห่งเอเรบอร์ แต่ก็ไม่เคยใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย ซ้ำกลับประหยัดมัธยัสถ์และเลี่ยงการใช้จ่ายอะไรที่เกินตัว

 

ตัวอย่างการบริหารทรัพยากรที่ดีอีกคนคือ แซม แกมจี ผู้ร่วมเดินทางของโฟรโดที่มีหนึ่งในหน้าที่สำคัญคือการจัดการขนม ‘เลมบัส’ ขนมปังล้ำค่าที่ได้รับจากท่านหญิงกาลาดริเอล เอลฟ์ผู้สูงศักดิ์แห่งลอธลอริเอน

 

เลมบัสเป็นขนมปังวิเศษที่บิกินเพียงแค่นิดเดียวก็ช่วยให้หายหิวและมีเรี่ยวแรง ซึ่งแซมจะทำหน้าที่ในการคำนวณว่าในแต่ละวันจะบิเลมบัสกินได้เท่าไร โดยไม่ได้คิดถึงเพียงแค่การเดินทางไปทำลายแหวนที่หุบเขามรณะ แต่คิดจนถึงวันที่จะเดินทางกลับแคว้นไชร์ด้วยกัน และเผื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันด้วย

 

ถ้าเราบริหารจัดการเงินเดือนได้เหมือนที่แซมคำนวณเรื่องเลมบัส รับประกันได้เลยว่าอาหารในช่วงปลายเดือนจะไม่ใช่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอย่างแน่นอน

 

แหวนวงที่ 3: การไม่เป็นหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ

 

ความลุ่มหลงของกอลลัมที่มีต่อแหวนเอกธำมรงค์ ไปจนถึงคำสาบานที่มิอาจเติมเต็มต่ออิซิลดูร์ของกองทัพแห่งความตาย เป็นการสอนเรื่องของการบริหาร ‘หนี้’ ได้ดี

 

เพราะมันแสดงให้เห็นว่าหนี้นั้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม สามารถมีอิทธิพลและครอบงำชีวิตของเราได้ในทุกมิติ

 

การบริหารจัดการหนี้ที่ดีจำเป็นที่จะต้องมีทักษะในด้านการประเมินธรรมชาติของหนี้ ซึ่งจะเหมือนกับการทำความเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของแหวนแห่งอำนาจว่าสำคัญแค่ไหนในมัชฌิมโลก

 

ดังนั้นการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเงื่อนไขของหนี้ ดอกเบี้ยของหนี้ และผลกระทบระยะยาวหากเป็นหนี้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด มันจะทำให้เรารู้จักการวางแผนโครงสร้างการชำระหนี้ การให้ความสำคัญกับหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง หรือการปรับโครงสร้างหนี้ก็จะเป็นกลยุทธ์ที่ดีเช่นกัน

 

 

แหวนวงที่ 4: หลักประกันแห่งชีวิตพึงต้องมี

 

ในช่วงการเดินทางผ่านเหมืองมอเรีย นครใต้ดินอันลึกลับของเผ่าคนแคระ พันธมิตรแห่งแหวนต้องพยายามหนีเอาตัวรอดจาก ‘บัลร็อก’ อสุรกายโบราณในตำนาน จนทำให้พ่อมดเทาแกนดัล์ฟ ผู้นำของคณะต้องยอมพลีชีพเพื่อขัดขวาง

 

“You Shall Not Pass” แกนดัล์ฟร่ายมนตร์วิเศษไม่ยอมให้บัลร็อกฝ่าไปทำร้ายชาวคณะได้ และทำได้สำเร็จ เพียงแต่อสุรกายใต้พิภพได้ตวัดแส้เพลิงลากขาพ่อมดเทาจนร่วงหล่นลงไปด้วย

 

เรื่องนี้น่าจะจบแบบโศกนาฏกรรม แต่โชคดีที่แกนดัล์ฟนอกจากจะรอดชีวิตกลับมาได้ยังปราบบัลร็อกลงได้สำเร็จ ซึ่งแม้จะต้องแลกด้วยลมหายใจของตัวเองแต่ก็เปลี่ยนเป็นพ่อมดขาวผู้ทรงอำนาจยิ่งกว่าเดิมแทน

 

ประหนึ่งว่าแกนดัล์ฟเหมือนทำประกันชีวิตไว้ ทำให้ต่อให้มีเหตุที่ไม่คาดฝันซึ่งเกิดขึ้นได้ในทุกจังหวะของชีวิต อย่างน้อยก็ยังมีหลักประกันอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะสำหรับตัวเอง (ประกันสุขภาพ) หรือสำหรับคนที่คุณรัก ไว้เป็นต้นทุนสำหรับการเริ่มต้นใหม่ในชีวิต

 

แหวนวงที่ 5: บริหารจัดการความเสี่ยง

 

ความเสี่ยงนั้นมีอยู่ทุกเวลาและนาที กับพันธมิตรแห่งแหวนเองก็เช่นกัน แม้จะเต็มไปด้วยเหล่านักรบผู้กล้าที่เก่งกาจไปจนถึงพ่อมดผู้ทรงอำนาจ แต่คนที่ได้รับภารกิจในการเดินทางไปทำลายแหวนแห่งอำนาจกลับเป็นโฟรโดจากเผ่าฮอบบิท

 

นั่นเพราะชนเผ่านี้เป็นความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด ทั้งต่อการลอบเดินทางเข้าไปถึงแผ่นดินมืดและในแง่ของการที่ได้รับผลกระทบจากอำนาจล่อลวงแห่งแหวนน้อยที่สุด ดีกว่าจะมอบแหวนฝากไว้กับนักรบที่พร้อมจะตกเป็นทาสของแหวนได้อย่างง่ายดาย เหมือนโบโรเมียร์ที่หวังใช้อำนาจแห่งแหวนในการกอบกู้บ้านเกิดเมืองนอนอย่างนครกอนดอร์

 

แต่ไม่เพียงการฝากภารกิจนี้ให้แก่โฟรโดในฐานะทายาทแห่งแหวนต่อจากบิลโบ การเลือกแซมมาเป็นคู่หูผู้ช่วยก็สะท้อนถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยมเหมือนกัน เพราะนอกจากแซมจะภักดีต่อโฟรโดแล้วยังมีจิตใจกล้าหาญและใสสะอาด พร้อมจะสนับสนุนโฟรโดทุกอย่าง

 

เหมือนตอนที่พวกเขาหลงกลติดเข้าไปในรังของแมงมุมปีศาจยักษ์ชีล็อบ เมื่อโฟรโดถูกทำร้ายแซมก็รับเอาแหวนมาไว้ในครอบครองแทน ซึ่งหากสมมติว่าโฟรโดตายไปเพราะพิษจากชีล็อบจริง แซมก็พร้อมที่จะทำหน้าที่ต่อในทันที

 

 

แหวนวงที่ 6: เตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณ

 

แม้กระทั่งเอลฟ์ผู้ยิ่งใหญ่และมีชีวิตอันยืนยาวอย่างท่านหญิงกาลาดริเอล หรือลอร์ดเอลรอนด์เองก็มีวันที่จะต้องออกเดินทางไปยังอามัน แผ่นดินอมตะที่จะเป็นที่พำนักสุดท้ายของชีวิต

 

และทั้งหมดนั้นไม่ใช่คิดจะไปก็นั่งเรือไปได้ แต่ต้องมีการตระเตรียมการทุกอย่างเป็นอย่างดี จนสุดท้ายก็ได้เดินทางไปยังอามันหลังเสร็จสิ้นสงครามแห่งแหวน โดยมีผู้ที่ได้รับอนุญาตอย่างบิลโบและโฟรโด แบ็กกินส์ รวมถึงแกนดัล์ฟร่วมเดินทางไปด้วย

 

สำหรับเราก็เช่นกัน ถึงจะไม่ต้องเดินทางไปอามันแต่ต้องมีสักวันที่เราต้องคิดถึงชีวิตที่สงบสุขในบั้นปลายอยู่ดี และเราก็ต้องวางแผนเหมือนกัน ซึ่งก็คือการวางแผนในการเกษียณที่แล้วแต่จะเลือกเลยว่าจะทำอย่างไร จะเก็บหอมรอมริบเงินออมเกษียณแบบไหน ทุกคนเลือกได้ทั้งนั้น

 

แหวนวงที่ 7: ไม่ใช่แค่วันข้างหน้า แต่เพื่อวันข้างหน้า

 

หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่มหัศจรรย์ที่สุดในเรื่องของเอนต์ ‘พฤกษบาล’ แห่งป่าฟังกอร์น สิ่งมีชีวิตที่มีอายุยืนยาวเกิดมาพร้อมๆ กับโลก เป็นเหมือนต้นไม้ยักษ์ที่เคลื่อนไหวได้ พูดได้ แต่ภาษาพูดของเอนต์นั้นยืดยาว กว่าจะพูดจบสักคำก็กินเวลายาวนาน ทำให้ไม่มีใครเข้าใจในภาษาของพฤกษบาลเหล่านี้นัก

 

เอนต์ยังเป็นกลาง สิ่งเดียวที่สนใจคือการพิทักษ์และรักษาผืนป่าไว้ให้นานเท่านาน ดังนั้นเมื่อถูกชักชวนจากเมอร์รีและปิ๊บปินให้เข้าร่วมสงครามแห่งแหวน ทรีเบียร์ดผู้นำแห่งเอนต์จึงปฏิเสธก่อนเพราะไม่ใช่เรื่องสำคัญ

 

เพียงแต่เมื่อรู้ว่าถูกพ่อมดขาวซารูมานหักหลัง ไม้น้อยใหญ่ในฟังกอร์นถูกโค่นเพื่อนำไปสร้างอสุรกายอุรุกไฮ ทรีเบียร์ดและเหล่าเอนต์จึงทบทวนและคิดถึงวันข้างหน้าว่าหากปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปฟังกอร์นก็จะสิ้นไม่เหลือ และมันจะกระทบต่อทั้งเอนต์ ทั้งชีวิตในป่าและโลกใบนี้ จึงตัดสินใจเข้าร่วมบุกหอคอยออร์ธังค์ปราบซารูมานและกองทัพจนราบคาบ

 

อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าเรียนรู้จากเอนต์คือเรื่องของความอดทนและการคาดการณ์ล่วงหน้าไปยังอนาคต ไม่ตัดสินใจผลีผลามเพียงเพราะสิ่งที่เห็นในวันนี้ แต่จะเลือกตัดสินใจในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ในระยะยาว

 

บางทีเราอาจจะเลือกการลงทุนที่สูงในช่วงแรก แต่จะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่มากกว่าและคุ้มค่ากว่าในระยะยาว หรือแม้กระทั่งลงทุนกับตัวเองผ่านการศึกษาอบรม ที่อาจจะไม่ได้ผลตอบแทนเป็นตัวเงินกลับมา แต่ก็จะเพิ่มขีดความสามารถ ศักยภาพ และเปิดประตูโอกาสให้ชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิมได้

 

 

แหวนวงที่ 8: มรดกต้องตกถึงผู้ที่เหมาะสม

 

ลอร์ดเอลรอนด์ ผู้ปกครองอาณาจักรแห่งริเวนเดล เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในเรื่อง เพราะนอกจากจะเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สงครามครั้งสุดท้ายของยุคที่ 2 แล้วยังเป็นผู้ปกครองแห่งริเวนเดล สถานที่ประชุมของทุกเผ่าพันธุ์ที่จะตัดสินอนาคตของมัชฌิมโลกไปด้วยกัน อันเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางของพันธมิตรแห่งแหวน

 

แต่อีกบทบาทที่สำคัญมากๆ คือการที่เอลรอนด์เป็นผู้เก็บรักษาซากดาบนาร์ซิลและแหวนแห่งบาราเฮียร์อันเป็นเครื่องหมายของผู้ครอบครองบัลลังก์แห่งกอนดอร์ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มอบให้แก่อารากอร์น บุตรแห่งอาราธอร์น เจ้าผู้ครองนครสีขาว

 

ด้วยดาบนาร์ซิล (ที่ถูกตีขึ้นมาใหม่) และแหวนทำให้อารากอร์นพิสูจน์สถานะรัชทายาทของตัวเองได้ ซึ่งนอกจากจะได้เป็นผู้นำของมนุษย์ในสงครามแห่งแหวน ยังมีส่วนสำคัญในเหตุการณ์การทวงคำสาบานที่ไม่ได้รับการเติมเต็มจากกองทัพผีผู้ตระบัดสัตย์ต่อกอนดอร์ ที่เป็นกำลังสำคัญในการพลิกสถานการณ์ในช่วงหนึ่งของสงคราม

 

เรื่องนี้บอกอะไร? มันคือการบอกว่าเรื่องของมรดกต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีการวางแผนอย่างดี รอบคอบ และชัดเจน ทั้งเรื่องของเอกสาร การพิสูจน์ การเก็บรักษาพินัยกรรมที่จะต้องถูกบันทึกให้ตรงตามกับความปรารถนาของเรา ใครจะได้สิ่งใด ใครจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ต้องชัดเจน

 

ต่อให้เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เรื่องมรดกก็ทำให้พี่น้องแตกกันมานักต่อนัก เหมือนเช่นอารากอร์นที่หากไม่มีดาบนาร์ซิลและแหวนบาราเฮียร์ก็ไม่อาจทวงคืนสิทธิ์แห่งราชบัลลังก์กอนดอร์ได้

 

แหวนวงที่ 9: ฟังคนผิดคิดจนตัวตาย

 

ตัวร้ายที่น่ารังเกียจที่สุดคนหนึ่งของเรื่องคือเวิร์มทัง ผู้รับใช้แห่งซารูมาน ซึ่งได้ลอบเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้แก่กษัตริย์เธโอเดนแห่งโรฮัน และใช้อุบายในการกล่อมจนทำให้เธโอเดนหลงผิด บริหารจัดการแผ่นดินไปคนละทิศละทางกับที่ควรจะเป็น โรฮันจึงตกอยู่ในอันตรายอย่างยิ่งยวด

 

โชคดีที่สุดท้ายแล้วแกนดัล์ฟช่วยปลดปล่อยเธโอเดนจากมนตร์ของเวิร์มทังและซารูมานได้สำเร็จ จนได้กลับมากอบกู้โรฮันและเข้าร่วมสงคราม แม้ว่าจะสิ้นชีพแต่ก็เป็นการจากไปอย่างสมศักดิ์ศรี

 

เรื่องการหาที่ปรึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต เพราะการฟังคนผิดจะทำให้เราคิดจนตัวตาย ซึ่งมันใช้ได้กับทุกเรื่องของชีวิต รวมถึงในเรื่องการเงินด้วย

 

จะอยากรับฟังใครสักคนที่จะคอยชี้แนะ ชี้ทางก็ต้องเลือกคนที่ไว้ใจได้ ตรวจสอบประวัติแล้วไม่ด่างพร้อย มีใบรับรองด้วยก็จะยิ่งดี ดีกว่าที่จะเชื่อโค้ชผู้เก่งกาจทั้งหลายบนโซเชียลมีเดียที่บางครั้งไม่ได้เก่งจริง หรือแย่กว่านั้นเป็น ‘มิจ’ เหมือนเวิร์มทังด้วยซ้ำไป

 

สรุปบทเรียนแห่งแหวน

 

The Lord of the Rings ไม่เพียงแต่จะมอบความบันเทิง ความรู้ สุนทรียศาสตร์จากเรื่องราวอันยิ่งใหญ่แสนมหัศจรรย์จากมันสมองของผู้ประพันธ์ J.R.R. Tolkien ที่ไม่ได้สร้างแค่เรื่องราว แต่สร้างโลกทั้งใบไปจนถึงภาษาที่ใช้ในเรื่อง

 

มากกว่านั้นคือบทเรียนต่างๆ ที่เราเรียนรู้ได้ ไม่เพียงแต่เรื่องของความกล้าหาญ การถ่อมตน ความรักและสามัคคี แต่ยังมีแง่คิดที่สะท้อนกลับมาในรูปแบบของบทเรียนทางการเงินได้ด้วยเช่นกัน

 

หวังว่าบทเรียนแห่งแหวนทั้งเก้าวงดังคำว่า ‘เก้าวงนั้นหนาแด่มนุษย์ผู้ไร้นิรันดร์’ จะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับชาวมัชฌิมโลกทุกคน

 

แหวนสามวงแด่กษัตริย์พรายใต้แผ่นฟ้า,

เจ็ดวงแด่เจ้าชาวแคระในท้องพระโรงศิลา,

เก้าวงนั้นหนาแด่มนุษย์ผู้ไร้นิรันดร์,

วงเดียวแด่เจ้าแห่งอสูรผู้ครองบัลลังก์ดำ

ในแดนมรณะแห่งมอร์ดอร์ที่เงานั้นยังคงอยู่

 

อ้างอิง:

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post 9 บทเรียนแหวนแห่งอำนาจการเงินที่เรียนรู้ได้จาก The Lord of the Rings appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิด 3 กลยุทธ์เลือกตราสารหนี้ ส่ง Bond ดีดี กับ SCBDBOND รับมือทุกสถานการณ์ดอกเบี้ย https://thestandard.co/3-strategies-debt-instruments-with-scbdbond/ Fri, 12 Jan 2024 08:07:41 +0000 https://thestandard.co/?p=886978 SCBDBOND

หากจะมองถึงภาพรวมการลงทุนในปี 2567 ว่ามีความง่ายหรือยาก […]

The post เปิด 3 กลยุทธ์เลือกตราสารหนี้ ส่ง Bond ดีดี กับ SCBDBOND รับมือทุกสถานการณ์ดอกเบี้ย appeared first on THE STANDARD.

]]>
SCBDBOND

หากจะมองถึงภาพรวมการลงทุนในปี 2567 ว่ามีความง่ายหรือยากกว่าเมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ผ่านมา ก็ต้องบอกว่ามีความท้าทายไม่แตกต่างกัน อย่างเช่น ปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อทิศทางเศรษฐกิจและการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก ที่ในปีนี้ก็คงจะคาดเดาจังหวะที่ Fed จะลดดอกเบี้ยได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับสถานการณ์เงินเฟ้อด้วย ในกรณีที่ Fed ปรับลดดอกเบี้ยเร็วอย่างที่ตลาดคาด ก็อาจจะไปเร่งการบริโภค และทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง และลดดอกเบี้ยต่อได้ยาก

 

ด้วยสถานการณ์แวดล้อมการลงทุนที่ยังมีความท้าทายรออยู่ข้างหน้าเช่นนี้ นักลงทุนจึงต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกสินทรัพย์ และจัดพอร์ตลงทุนให้สอดคล้องกับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 

 

สำหรับประเด็นนี้มองว่า กว่าจะนำผลิตภัณฑ์แต่ละรายการมาเสนอขายต้องผ่านด่านคัดกรอง 3 รายการที่ทีมใช้ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ก่อน ประกอบด้วย


ประเด็นแรก การคำนึงถึงความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของลูกค้า เนื่องจากเราทราบดีว่าลูกค้าแต่ละท่านคาดหวังผลตอบแทนแตกต่างกันไป และมีความสามารถและความยินดีในการรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ส่วนหนึ่งที่เพิ่งก้าวเข้าสู่โลกการลงทุน ก็อาจจะมีคนที่คาดหวังผลตอบแทนสูงโดยไม่มีความเสี่ยงเลยก็ได้เช่นกัน ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า ในโลกความเป็นจริงของการลงทุนไม่มีผลิตภัณฑ์แบบนี้อยู่ ฉะนั้นสิ่งที่เราจะทำได้ดีที่สุดก็คือ การคัดกรองผลิตภัณฑ์ที่นำมาเสนอขายแล้วจะสอดคล้องกับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของลูกค้านั่นเอง  

 

ประเด็นถัดมาคือ ระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ โดยก่อนที่ธนาคารจะนำเสนอผลิตภัณฑ์จะมีการวิเคราะห์เจาะลึกคุณภาพของสินทรัพย์ทุกๆ ประเภทในเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ สินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) หรือสินทรัพย์ทางเลือกอย่างอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ น้ำมัน 

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์เจาะลึก ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรมของหุ้นตัวนั้นๆ แล้วลงลึกวิเคราะห์ศักยภาพของหุ้นรายตัวที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ หากเป็นการวิเคราะห์ตราสารหนี้ก็จะมุ่งเน้นเรื่องการพิจารณาคุณภาพของเครดิต โดยมีจุดมุ่งหมายในการเน้นคัดเลือกตราสารหนี้ที่มีคุณภาพเครดิตเหมาะสมกับลูกค้า Wealth ของธนาคารแต่ละกลุ่ม 

 

หรือกรณีของ Private Asset ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้นอกตลาด (Private Debt) หรือหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ธนาคารก็จะเริ่มพิจารณาจากคุณภาพของสินทรัพย์ก่อน จากนั้นก็ติดตามไปถึงกระบวนการในการคัดเลือกสินทรัพย์เหล่านั้นของผู้จัดการกองทุน ขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพันธมิตร ผู้จัดการกองทุนที่ทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์เหล่านี้ด้วย โดยต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนไทยหรือในระดับสากล    

 

สำหรับประเด็นสุดท้ายคือ จังหวะเวลาในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป้าหมายหลักของธนาคารในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าก็คือ คาดหวังให้ลูกค้าได้เข้าซื้อสินทรัพย์ในราคาถูก และรอขายสินทรัพย์ทำกำไรได้ในจังหวะที่ราคาแพง อย่างไรก็ดี จังหวะที่ราคาถูกนั้นบ่อยครั้งจะเป็นช่วงเวลาที่สินทรัพย์นั้นให้ผลตอบแทนไม่ค่อยน่าพึงพอใจนัก ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับการให้คำแนะนำที่จะทำให้นักลงทุนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในช่วงเวลานั้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องอาศัยความพยายามอย่างมากในการอธิบายข้อมูลต่างๆ กับลูกค้า  

 

รุ่งโรจน์กล่าวว่า ธนาคารจะนำทั้ง 3 ประเด็นนี้ที่ใช้คัดกรองผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า เป็นคัมภีร์ในการไปร่วมมือกับพันธมิตรของธนาคารทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ในไทย หรือ บลจ. จากต่างประเทศ โดยในบางครั้งธนาคารก็จะมีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ บลจ. พันธมิตรนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ทั้ง 3 ประเด็นนี้ด้วย นอกเหนือไปจากการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำอยู่แล้ว 

 

นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคนไทยจำนวนไม่มากที่ได้ไปอบรมและสอบผ่านหลักสูตรเริ่มต้นการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ‘Getting Started In Responsible Investment’ กับ PRI Academy ซึ่งเป็นสถาบันอบรมหลักการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบภายใต้องค์การสหประชาชาติ รุ่งโรจน์ได้นำแนวทางการลงทุนภายใต้กรอบการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในแต่ละขั้นตอนการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ลงทุนด้วยเช่นกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสิ่งที่นำเสนอกับลูกค้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด บนพื้นฐานที่คำนึงถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม 

 

รุ่งโรจน์กล่าวว่า ตัวอย่างหนึ่งของการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เราภูมิใจนำเสนอ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Dynamic Bond หรือ SCBDBOND ที่ธนาคารได้สะท้อนความต้องการของลูกค้าที่มีเกี่ยวกับกองทุนรวมตราสารหนี้ไปยัง บลจ.ไทยพาณิชย์ บริษัทในเครือ โดยลูกค้าต้องการตราสารหนี้คุณภาพดี และเป็นตราสารหนี้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ดอกเบี้ยในแต่ละช่วงเวลาด้วย ซึ่ง บลจ.ไทยพาณิชย์ก็นำไปออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์นี้และนำเสนอมา และเราก็คัดเลือกผลิตภัณฑ์นี้ เพราะสอดคล้องกับแนวคิดที่วางเอาไว้ คือ ‘Bond ดีดี กับ SCBDBOND’ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ก็ได้นำมาเสนอขายให้ลูกค้าต้อนรับปีใหม่ โดยเสนอขายครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2567 นี้ 

 

ทั้งนี้ SCBDBOND มีจุดเด่นที่ดีใน 2 ด้านสำคัญ ดีแรกคือ คุณภาพที่ดี เนื่องจากกองทุน SCBDBOND จะคัดเลือกลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนที่มีคุณภาพสูง อยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงช่วยลดความกังวลต่อเครดิตของตราสารหนี้ให้นักลงทุนได้ระดับหนึ่ง 

 

ส่วนดีต่อมาคือ กลยุทธ์การลงทุนของ SCBDBOND ซึ่งเป็นกองทุนที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ บริษัทในเครือ ทำหน้าที่บริหารกองทุน ซึ่งเรามองว่า จากประสบการณ์ที่สั่งสมมานานทำให้ บลจ. มีความใกล้ชิด เข้าใจตลาด และจะสามารถสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการของลูกค้ากับตลาดได้เป็นอย่างดี สามารถปรับกลยุทธ์เพิ่มหรือลดอายุของตราสารหนี้ (Duration) เพื่อให้สอดคล้องกับจังหวะตลาด ช่วยสร้างผลตอบแทนบนสภาวะดอกเบี้ยในสถานการณ์ดอกเบี้ยทุกรูปแบบ 

 

จะเห็นได้ว่า กว่าที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะนำผลิตภัณฑ์กองทุนรวมรายการหนึ่งมาเสนอขายกับนักลงทุนนั้น ผ่านขั้นตอนการกลั่นกรองมามากทีเดียว เพราะธนาคารก็ต้องการส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีแล้ว สุดท้ายก็จะย้อนกลับมาแสดงผลดีที่ผลการดำเนินงานของธนาคารเอง 

 

คำเตือน 

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุน SCBDBOND เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ มีความเสี่ยงระดับ 4 คือความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
  • เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 0 2777 7777

The post เปิด 3 กลยุทธ์เลือกตราสารหนี้ ส่ง Bond ดีดี กับ SCBDBOND รับมือทุกสถานการณ์ดอกเบี้ย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลงทุน RMF-SSF ทั้งที มีนโยบายให้เลือกเยอะไหม https://thestandard.co/invest-in-rmf-ssf/ Wed, 15 Nov 2023 09:34:46 +0000 https://thestandard.co/?p=865970 ลงทุน RMF-SSF

ช่วงใกล้สิ้นปีมักจะเป็นเวลาที่นักลงทุนซึ่งมีเงินได้พึงป […]

The post ลงทุน RMF-SSF ทั้งที มีนโยบายให้เลือกเยอะไหม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลงทุน RMF-SSF

ช่วงใกล้สิ้นปีมักจะเป็นเวลาที่นักลงทุนซึ่งมีเงินได้พึงประเมินต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มองหาช่องทางการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เป็นสองทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย ตอบโจทย์ได้ครอบคลุมระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ ตั้งแต่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำไปจนถึงความเสี่ยงสูง โดยสามารถแบ่งกลุ่มนโยบายแบบกว้างๆ ได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ นโยบายลงทุนในตราสารหนี้ ลงทุนแบบผสม ลงทุนในหุ้น และลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก

 

นอกจากนี้นักลงทุนยังสามารถเลือกได้ว่าจะลงทุนอย่างต่อเนื่องในกองทุน RMF-SSF กองทุนใดกองทุนหนึ่งไปเลย หรือแบ่งเงินลงทุนในหลายกองทุน เพื่อให้พอร์ตลงทุนระยะยาวตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองได้ตรงใจมากขึ้น รวมทั้งเปลี่ยนใจจากกองทุน RMF-SSF ที่เคยลงทุนอยู่ ไปลงทุนในกองทุน RMF-SSF ใหม่ๆ ที่มีนโยบายตรงใจก็ได้เช่นกัน 

 

อย่างไรก็ดี ในกรณีเปลี่ยนใจแบบใช้เงินก้อนใหม่ลงทุนเพิ่มในกองทุนใหม่ที่ยังไม่เคยลงทุนไว้ ก็เลือกได้ตามสบายว่าจะลงทุนใน RMF หรือ SSF แต่ถ้าคิดจะเปลี่ยนใจแบบสับเปลี่ยนเงินลงทุนจากกองทุนเดิมไปยังกองทุนใหม่ ต้องไม่ลืมว่าสับเปลี่ยนได้เฉพาะกองทุนรวมประเภทเดียวกันเท่านั้นคือ RMF สับเปลี่ยนไป RMF ส่วน SSF ก็สับเปลี่ยนไป SSF เท่านั้น ไม่สามารถสับเปลี่ยนข้ามประเภทได้

 

สำหรับนโยบายการลงทุนกองทุน RMF-SSF 4 ประเภทที่กล่าวไว้นั้นจะตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนแตกต่างกันไป โดยนโยบายแรกที่ลงทุนในตราสารหนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างต่ำ เช่น อาจจะต้องการลงทุน RMF ต่อเนื่องจากที่ลงทุนไปแล้วช่วงที่ผ่านมา โดยที่มีระยะเวลาลงทุนเหลือไม่มาก ใกล้เกษียณอายุแล้ว หรือลงทุนใน SSF ได้นาน 10 ปี แต่ไม่พร้อมรับความเสี่ยงจากความผันผวนของหุ้น ขอเน้นรักษามูลค่าเงินเป็นหลัก นโยบายกลุ่มนี้ก็จะเหมาะสมที่สุด 

 

เพราะตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นหรือสินทรัพย์ทางเลือก ขณะเดียวกันยังเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจมากขึ้นในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยของโลกยังค้างอยู่ในระดับสูง ซึ่ง SCB CIO คาดการณ์ว่า กว่าที่เราจะเริ่มเห็นธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งเป็นธนาคารกลางหลักที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของทั่วโลก เริ่มปรับลดดอกเบี้ยก็น่าจะเป็นในช่วงไตรมาส 3/67 ไปแล้ว 

 

นโยบายถัดมาคือ กองทุนผสม ซึ่งลงทุนสินทรัพย์หลากหลายประเภทในกองทุนเดียว กองทุนประเภทนี้จะมีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูงคือ เสี่ยงกว่ากองทุนตราสารหนี้ แต่ก็ยังน้อยกว่ากองทุนหุ้น โดยผู้จัดการกองทุนจะทำหน้าที่จัดพอร์ต ผสมผสานสินทรัพย์ต่างๆ ในกองทุนให้ ส่วนจะมีสินทรัพย์ประเภทใดในสัดส่วนเท่าไรขึ้นอยู่กับนโยบายที่กำหนดไว้ ซึ่งกองทุนอาจจะกำหนดไว้ชัดเจนว่าลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดสัดส่วนไม่ต่ำกว่าหรือไม่เกินเท่าไร หรืออาจจะกำหนดแบบยืดหยุ่นลงทุนสินทรัพย์ต่างๆ ได้ตั้งแต่ 0-100% ก็ได้ 

 

จุดเด่นของกองทุนผสมคือ ทำให้นักลงทุนสามารถจัดพอร์ตลงทุนแบบเบ็ดเสร็จผ่านการลงทุนในกองทุนเดียวได้เลย โดยมีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่ปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา เพียงแต่ถ้าเป็นนักลงทุนที่ชอบจัดพอร์ตลงทุนเอง กองทุนผสมก็อาจไม่ตรงโจทย์สักเท่าไร

 

นโยบายกลุ่มที่ 3 คือ กองทุนหุ้น ซึ่งเป็นสินทรัพย์เสี่ยงสูง จะมีการแบ่งนโยบายปลีกย่อยได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

 

  1. กองทุนที่ลงทุนในหุ้นรายประเทศ หรือภูมิภาค หรือทั่วโลก เช่น ลงทุนในหุ้นไทย หุ้นสหรัฐฯ หรือหุ้นจีน เป็นต้น
  2. กองทุนที่ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธีมเฉพาะด้าน โดยกองทุนลักษณะนี้จะเน้นคัดเลือกหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับธีม ไม่ได้เน้นจำกัดวงอยู่ในประเทศใดหรือภูมิภาคใดเป็นหลัก เช่น ธีมหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หุ้นกลุ่มสุขภาพ หุ้นที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า หุ้นที่เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน และหุ้นที่เกี่ยวกับเมกะเทรนด์โลก เป็นต้น 

 

ส่วนนโยบายกลุ่มสุดท้ายคือ กองทุนสินทรัพย์ทางเลือก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกองทุนสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ โดยสินทรัพย์ทางเลือก ได้แก่ น้ำมัน ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้มักจะมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงให้พอร์ตลงทุนโดยรวม เนื่องจากสินทรัพย์ทางเลือกมักจะมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้สัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับหุ้นหรือตราสารหนี้ แต่มีปัจจัยเฉพาะตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงมีส่วนช่วยประคับประคองหรืออาจเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนได้ในช่วงที่สถานการณ์ส่งผลกระทบต่อมูลค่าตราสารหนี้และหุ้น 

 

ในส่วนของ SCB เราก็นำเสนอขายกองทุน RMF-SSF ค่อนข้างครอบคลุมตั้งแต่นโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงค่อนข้างต่ำไปจนถึงการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกได้ตามโจทย์การลงทุนของตนเอง 

 

ทั้งนี้ มีข้อควรรู้ที่ต้องย้ำเตือนนักลงทุนอย่างสม่ำเสมอคือ กองทุน RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีหรือปีเว้นปี รวมทั้งต้องถือครองจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องถือครองมาอย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน กำหนดให้ลงทุนเพื่อลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท 

 

ส่วน SSF ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ลงทุนเมื่อไรก็ต้องถือครองต่อไปจนครบ 10 ปี โดยนับแบบวันชนวัน โดยลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท 

 

ขณะที่ค่าลดหย่อนจาก RMF เมื่อนำมารวมกับ SSF รวมทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), ประกันบำนาญ และกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ แล้ว จะต้องไม่เกิน 5 แสนบาทด้วย

 

เมื่อทราบแล้วว่านโยบายของ RMF-SSF นั้นมีหลากหลาย และมีความเข้าใจความต้องการของตนเองว่าต้องการลงทุนใน RMF เพื่อเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ หรือลงทุน SSF เพื่อเป้าหมายการใช้เงินในอีก 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งรู้ระดับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้ คราวนี้ท่านก็สามารถเลือกกองทุน RMF-SSF ที่มีนโยบายตรงกับความต้องการได้แล้ว 

 

ผมแนะนำว่า ท่านไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวันสุดท้ายของปีแล้วจึงลงทุน RMF-SSF แต่ควรทยอยลงทุนไปก่อนระหว่างปี เพื่อไม่ให้เสียโอกาสจากการลืมลงทุน รวมทั้งอาจจะได้ลงทุนด้วยมูลค่าที่น่าสนใจมากกว่าด้วย โดยอาจใช้วิธี Dollar Cost Average (DCA) หรือลงทุนสม่ำเสมอด้วยจำนวนเงินเท่ากันทุกงวด เช่น ลงทุนทุกเดือนในวันที่เงินเดือนออกหรือวันที่ที่เป็นวันเกิดก็ได้ ทั้ง RMF และ SSF 

 

การลงทุนด้วยวิธี DCA จะช่วยสร้างวินัยการลงทุน ทำให้ได้ออมก่อนใช้ ทั้งยังทำให้ไม่ต้องไปกังวลกับสภาวะตลาดที่ผันผวน ไม่ต้องกลัวว่าราคาสินทรัพย์จะขึ้นหรือจะลง เพราะกำหนดเอาไว้แล้วว่าจะลงทุนในวันใด โดยไม่สนใจว่าภาวะตลาดวันนั้นจะเป็นอย่างไร ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงจาก Market Timing หรือการเลือกช่วงเวลาการลงทุนได้ ซึ่งการที่เราลงทุนอย่างสม่ำเสมอในหลายๆ ช่วงเวลา จะทำให้เราได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายระดับราคา ซึ่งเมื่อนำต้นทุนทั้งหมดมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ย ก็อาจทำให้ได้ต้นทุนเฉลี่ยของสินทรัพย์ที่ไม่สูงมาก

 

ส่วนท่านใดที่ยังไม่แน่ใจว่าควรลงทุนใน RMF-SSF จำนวนเท่าไร เพื่อไม่ให้เกินสิทธิลดหย่อนที่มี ก็สามารถใช้บริการ EASY Tax Planning Advisory ตัวช่วยคำนวณภาษีออนไลน์ผ่าน SCB Connect ได้เลย ซึ่งก็จะช่วยคำนวณภาษีเบื้องต้นได้ง่ายๆ พร้อมแนะนำผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษีให้ด้วย 

 

คำเตือน: 

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF / SSF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้ 
  • การลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน รวมทั้งไม่ได้อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จึงมีความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน
  • เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน / หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 0 2777 7777

 

The post ลงทุน RMF-SSF ทั้งที มีนโยบายให้เลือกเยอะไหม appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘รวยแล้วทำอย่างไรไม่กลับไปจน’ ถอดบทเรียน ‘นักมวย’ อาชีพสุนัขล่าเนื้อที่ไม่อยากตกอับในบั้นปลายชีวิต https://thestandard.co/boxer-career-wealth-shortage-effect-end-of-life/ Fri, 13 Oct 2023 03:38:39 +0000 https://thestandard.co/?p=854225 ONE championship

ชีวิตของนักกีฬาเปรียบเสมือน ‘สุนัขล่าเนื้อ’ ที่ความสำเร […]

The post ‘รวยแล้วทำอย่างไรไม่กลับไปจน’ ถอดบทเรียน ‘นักมวย’ อาชีพสุนัขล่าเนื้อที่ไม่อยากตกอับในบั้นปลายชีวิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
ONE championship

ชีวิตของนักกีฬาเปรียบเสมือน ‘สุนัขล่าเนื้อ’ ที่ความสำเร็จและเงินทองสามารถได้มาอย่างมหาศาล แต่ถูกจำกัดเพียงช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจุบันมีตัวอย่างนักกีฬาอาชีพหลายคนในอดีตที่เคยประสบความสำเร็จ เป็นฮีโร่ในสนามกีฬา แต่บ่อยครั้งเรากลับเห็นตามหน้าข่าวว่าอดีตนักมวยดังตกอับ มีบั้นปลายชีวิตแสนเศร้า ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก 

 

หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือความรู้ทางการเงิน ที่หลายคนไม่สามารถรักษาหรือทำให้ทรัพย์สินที่ตัวเองหามาระหว่างเส้นทางอาชีพ ต่อยอด งอกเงยจนเกษียณอายุได้ กลายเป็นปัญหาเจ็บปวดของนักกีฬาในทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬามวยไทย

 

ฟุ่มเฟือย โดนโกง ลงทุนพลาด หนี้สิน สารพัดปัญหาจาก ‘ความไม่รู้’

ปฏิเสธไม่ได้ว่านักมวยส่วนใหญ่มักมาจากครอบครัวใหญ่ที่มีฐานะยากจนในต่างจังหวัด ‘อาชีพนักมวย’ เป็นความฝันที่สามารถเปลี่ยนชีวิต จากการสำรวจของโครงการศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2560 พบว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กว่า 2-3 แสนคน เข้าสู่วงการมวยตั้งแต่ยังเล็กมาก เงินทอง ชื่อเสียง หลายครั้งต้องแลกมาด้วยการไม่ได้เข้ารับการศึกษาในระบบอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้เมื่อก้าวหน้าในชีวิตการงาน มีค่าตัวหลักหมื่น หลักแสน หรือบางคนก็ไต่ไปถึงหลักหลายล้าน แต่กลับขาดความรู้ในการดำเนินชีวิตนอกสังเวียน หมดเงินไปกับของฟุ่มเฟือย โดนหลอก โดนโกง ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีอายุมากขึ้น ปัญหาสุขภาพ อุบัติเหตุจากการชกต่อย อาจทำให้จำเป็นต้องเกษียณตัวเองจากสังเวียนเร็วกว่าที่คิด กลายเป็นใช้เงินชักหน้าไม่ถึงหลัง หมดตัว ติดหนี้ ในวันที่ตัวเองหมดแรง 

 

รายได้ก้อนโตจากการเป็นผู้ชนะ จะต่อยอดอย่างไรให้ไม่แพ้ในชีวิตจริง?

รายได้ของนักกีฬามวยมักมาเป็นก้อนใหญ่ แข่งขันหนึ่งครั้งนอกจากค่าตัวที่ได้ ยังมีเงินโบนัส เงินอัดฉีดจากการโชว์ฟอร์มได้ประทับใจคนดู อย่างรายการ ONE championship รายการแข่งขันมวยชื่อดังระดับโลก ตั้งเงินอัดฉีดนักกีฬาสูงถึง 50,000 ดอลลาร์ (ราว 1.8 ล้านบาท) ทุกอีเวนต์ อีกทั้งยังมีโบนัสคูณสอง คูณสาม ทำให้เงินรางวัลต่อครั้งมีจำนวนมาก หากรายได้เหล่านี้ได้รับการจัดการที่ดีย่อมเกิดประโยชน์และทำให้คนคนหนึ่งมีชีวิตสุขสบายหลังเกษียณได้ 

 

XSpring, ONE Championship และสนามมวยเวทีลุมพินี จับมือร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตนักกีฬาไทย ผ่านโครงการ ‘PLAY TO WIN’ Season 1 ภายใต้แคมเปญ ‘สังเวียนชีวิตที่แพ้ไม่ได้’ ส่งต่อความรู้ให้นักมวยอาชีพสามารถบริหารจัดการเงินที่ได้มาอย่างเป็นระบบ สร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนตลอดอาชีพการชกมวย รวมถึงปูทางสู่การวางแผนเกษียณอย่างชาญฉลาด พร้อมเดินหน้าสานต่อโครงการต่อเนื่องทุกปีให้ครอบคลุมทุกประเภทกีฬา เพื่อสร้างความเท่าเทียมทางการเงิน

 

วรางคณา อัครสถาพร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XSpring กล่าวว่า XSpring มีแนวคิดในการส่งต่อความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน (Financial Literacy) ที่มีประสิทธิภาพไปสู่สังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะการส่งต่อความรู้ไปยังกลุ่มนักกีฬา เพราะเป็นกลุ่มที่สามารถสร้างทั้งชื่อเสียง ความสำเร็จ และความมั่งคั่งทางการเงิน แต่พบว่าบ่อยครั้งที่ความสำเร็จเหล่านั้นมักไม่ยั่งยืน โดยตัวโครงการจะมีทั้งการให้ความรู้ทางการเงินกับนักกีฬา รวมถึงการจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้แต่นักกีฬา โดยเริ่มจากกลุ่มนักมวยก่อน และต่อยอดไปกีฬาประเภทอื่นๆ ในอนาคต

 

ทั้งนี้ ได้นักมวยชื่อดังจากเวที ONE ลุมพินี อย่าง ‘ซุปเปอร์เล็ก เกียรติหมู่ 9’ นักมวยเงินล้าน และ ‘รถถัง จิตรเมืองนนท์’ นักมวยเจ้าของค่าตัว 10 ล้านบาท ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องการลงทุน

 

รถถัง จิตรเมืองนนท์

รถถัง จิตรเมืองนนท์ หรือชื่อจริง ทินกร ศรีสวัสดิ์ นักมวยไทยชาวไทยระดับแชมป์โลกรุ่นฟลายเวต ที่ได้รับการกล่าวถึงว่ามีความทรหดและการโจมตีที่รุนแรง

 

ทินกร ศรีสวัสดิ์ (รถถัง จิตรเมืองนนท์) กล่าวว่า ทุกวันนี้มีเพื่อนๆ ชวนไปลงทุนหลากหลายรูปแบบ เนื่องจากตนเองก็มีความคิดที่จะวางแผนการเงินสำหรับช่วงเวลาหลังการเลิกอาชีพนักกีฬา จึงลองเข้าไปลงทุนตามคำชักชวน ซึ่งก็พบว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยังขาดความรู้และความเข้าใจในการลงทุน ทุกวันนี้เงินส่วนใหญ่จากค่าชกของตนก็จะให้ครอบครัว 

 

ส่วนเรื่องการลงทุนเลือกที่จะซื้อที่ดินเก็บไว้ และวางแผนเริ่มทำธุรกิจของตนเองอย่างการสร้างวิลล่าและค่ายมวย ด้านซุปเปอร์เล็กเองก็มีความฝันอยากมีค่ายมวยเป็นของตนเอง

 

“ในความเป็นจริงนักมวยหลายคนก็มีความสนใจลงทุนเพื่อต่อยอดรายได้ที่มีอยู่ แต่บางคนก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากการลงทุนแบบไหนจึงจะเหมาะกับตัวเรา” รถถังกล่าว

 

แผนการเงินที่เหมาะสมกับนักกีฬาคืออะไร? 

ยศกร ฟอลเล็ต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด หรือ Xspring AM กล่าวถึงแผนการเงินที่เหมาะสมสำหรับนักกีฬาคือ ต้องเป็นการลงทุนที่เข้าใจง่าย เพราะนักกีฬาอาชีพอาจไม่ได้มีความรู้มากเรื่องการลงทุน โดยก่อนการลงทุนต้องทราบก่อนว่าค่าใช้จ่ายของครอบครัวมีเท่าไร ความเสี่ยงที่รับได้ และต้องการผลตอบแทนเท่าไรในแต่ละปี พอมีความรู้ตรงนี้ก็จะสามารถออกแบบพอร์ตการลงทุน ซึ่งต้องผสมผสานระหว่างสินทรัพย์เสี่ยงต่ำและสินทรัพย์เสี่ยงสูง หากเป็นพอร์ตที่เสี่ยงต่ำคือลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย เช่น ตราสารหนี้ 70% ตราสารทุน 30% หากเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูง ก็ลงทุนในตราสารทุน 70% และตราสารหนี้ 30% 

 

อีกสิ่งที่ควรวางแผนคือ หลังวัยเกษียณอยากมีเงินใช้เท่าไร โดยได้แชร์ประสบการณ์ในการลงทุนของตนเองไว้ว่า ส่วนตัววางแผนเกษียณไว้ว่าจะมีเงินไว้ใช้เดือนละ 2 แสนบาท เท่ากับปีหนึ่งต้องมีเงินประมาณ  2.4 ล้านบาท และหากเราคิดยาวไปอีกว่าหลังเกษียณจะมีอายุยืนยาวไปจนถึง 80 ปี ดังนั้นก็ควรจะมีเงินหลังเกษียณที่ 48 ล้านบาท หากเป็นนักมวย เราต้องคำนวณว่าค่าใช้จ่ายในอนาคตข้างหน้าจะมีอะไรบ้างหากไม่ได้ชกมวยแล้ว เงินแค่ไหนถึงจะเพียงพอและจึงมาปรับการลงทุนให้เหมาะสม 

 

หลัก 3 D ของการลงทุน 

นอกจากนี้ยังฝากหลักการลงทุน 3D ไว้ด้วยคือ 

 

  • Discipline – การลงทุนต้องมีวินัย เชื่อว่าการขึ้นมาระดับแชมป์ นักมวยทุกคนต้องมีวินัยมากอยู่แล้ว อย่างถ้าเรามีรายได้เป็นก้อน ไม่ได้มีประจำ ก็สามารถทำพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสม แบ่งเงินลงทุนไปทุกเดือน
  • Determination – ตั้งเป้าหมาย มีความตั้งใจ มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการบริหารจัดการการเงิน 
  • Diversification – มีการกระจายลงทุนให้มีสภาพคล่องที่เหมาะกับไลฟ์สไลต์ชีวิต 

 

มนัสชัย เอี่ยมศิริ

ซุปเปอร์เล็ก หรือชื่อจริง มนัสชัย เอี่ยมศิริ นักมวยไทยและคิกบ็อกซิ่งชาวไทย ปัจจุบันเป็นแชมป์โลกคิกบ็อกซิ่งของ ONE Championship รุ่นฟลายเวต เคยเป็นแชมป์สนามมวยลุมพินี 2 รุ่น และอดีตแชมป์โลกของมวยไทยสภามวยโลก รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวต

 

ด้านมนัสชัย เอี่ยมศิริ (ซุปเปอร์เล็ก) กล่าวว่า ตนในฐานะตัวแทนนักกีฬามวย อยู่ในโลกของวงการมวยมาตั้งแต่เด็ก ได้เห็นปัญหาด้านการบริหารจัดการเงินของเพื่อนร่วมอาชีพมามากมายและตระหนักถึงประเด็นนี้มาตลอด จนกลายเป็นโจทย์ในใจที่ต้องการก้าวข้ามปัญหาด้านการเงิน เพื่อที่จะไม่ซ้ำรอยกับเพื่อนร่วมอาชีพหลายคนที่ก้าวพลาดมาก่อน ซึ่งก็โชคดีที่ XSpring, ONE Championship และสนามมวยเวทีลุมพินี ร่วมกันจัดโครงการ ‘PLAY TO WIN’ สังเวียนชีวิตที่แพ้ไม่ได้ เพื่อให้ความรู้และสร้างวินัยในการวางแผนการเงินให้กับเพื่อนๆ นักมวย

 

“เชื่อว่าโปรเจกต์นี้ไม่ใช่แค่จะให้ความรู้เกี่ยวกับการเงิน แต่จะเป็นการพลิกชีวิตของนักมวยครั้งสำคัญ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ รู้จักวางแผนการออมและการใช้เงิน รู้จักการลงทุน และไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ที่จะมาชักชวนไปลงทุนแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แม้เรื่องการบริหารจัดการด้านการเงินจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ผมในฐานะตัวแทนนักมวยมั่นใจว่านักกีฬามีความพร้อมในการฝึกฝนเรียนรู้กับความรู้ใหม่ๆ ในครั้งนี้ เพื่อให้สังเวียนชีวิตนี้ไม่มีคำว่าแพ้ตลอดไป” ซุปเปอร์เล็กกล่าว

 

การบริหารจัดการการเงินเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไร เพราะการที่เราหาเงินมาได้ไม่ได้การันตีว่าเราจะมีชีวิตหลังเกษียณที่มีความสุข แต่การวางแผนการเงินจะตอบโจทย์การใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข

The post ‘รวยแล้วทำอย่างไรไม่กลับไปจน’ ถอดบทเรียน ‘นักมวย’ อาชีพสุนัขล่าเนื้อที่ไม่อยากตกอับในบั้นปลายชีวิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
เกาะติดการลงทุนเพื่อการออมตามเทรนด์แห่งอนาคต https://thestandard.co/saving-investing-future-trends/ Wed, 11 Oct 2023 07:30:56 +0000 https://thestandard.co/?p=853461

ที่ผ่านมาเรามักเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป […]

The post เกาะติดการลงทุนเพื่อการออมตามเทรนด์แห่งอนาคต appeared first on THE STANDARD.

]]>

ที่ผ่านมาเรามักเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโควิด สงครามการเมือง ภาวะเงินเฟ้อสูง รวมถึงความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจถดถอย ที่ส่งผลกระทบกับเงินในกระเป๋าและการดำเนินชีวิตประจำวัน และเพื่อวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ในอนาคต การลงทุนในกองทุนรวม ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการออมเงินที่ให้โอกาสรับผลตอบแทนเหนืออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวม SSF ช่วยให้มีโอกาสในการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวผ่านธีมการลงทุนระดับโลก พร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี

 

การลงทุนในหุ้นกลุ่มนวัตกรรมแห่งอนาคตถือเป็นธีมการลงทุนที่มาแรงและอยู่ในความสนใจของนักลงทุน สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะนักลงทุนส่วนมากเล็งเห็นโอกาสในการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และแนวโน้มที่สามารถทำกำไรได้ในระยะยาว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลก อย่างเช่น เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) หรือยานพาหนะไฟฟ้า Electric Vehicle (EV) หากการลงทุนกับหุ้นกลุ่มนี้ก็ยิ่งดูจะมีอนาคตที่สดใสสำหรับนักลงทุน

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราจะเห็นการพัฒนาของนวัตกรรมที่ค่อยๆ เพิ่มขีดความสามารถและเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน อีกทั้งการแพร่ระบาดของโควิดยิ่งเป็นตัวเร่งพฤติกรรมของผู้บริโภคให้เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมและธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็น Internet of Things (IoT), Artificial Intelligence (AI) และ 5G เป็นต้น 

 

และแม้วิกฤตโรคระบาดจะคลี่คลายลง แต่โลกของเราก็ยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเข้าสู่สภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน นั่นทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกครั้งในฐานะจุดเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานสะอาด เห็นได้จากกระแสความต้องการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) ที่นับวันก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น นวัตกรรมจึงกลายเป็นเมกะเทรนด์ที่ส่งผลอย่างยิ่งกับเศรษฐกิจ ธุรกิจ และวิถีชีวิตของผู้คนในอนาคต

 

เติบโตไปกับขุมพลังของเทคโนโลยี

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนเป็นที่เรียบร้อย โลกดิจิทัลทำให้ผู้บริโภคขาดสมาร์ทโฟนไม่ได้ เดินทางสู่จุดหมายด้วยยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยี GPS รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต การทำงานที่สะดวกสบายไปอีกขั้นเมื่อมีหุ่นยนต์และ AI เป็นผู้ช่วย หรือแม้แต่เดินทางสู่จุดหมายด้วยยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยี GPS รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลคาดการณ์จาก Statista มองว่า จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2024-2028 กว่า 1,200 ล้านราย หรือเพิ่มขึ้นกว่า 21% ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากเมกะเทรนด์ด้านเทคโนโลยี

 

เบื้องหลังนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนโลกมีขุมพลังเล็กๆ ซ่อนอยู่เรียกว่า เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) หรือชิป ที่เป็นหัวใจของนวัตกรรม เมื่อเทคโนโลยีมีแนวโน้มเติบโต ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ก็สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ภาพรวมการขยายตัวของตลาดเซมิคอนดักเตอร์มีโอกาสเติบโตอีกกว่า 100% ในช่วง 10 ปีนับจากนี้ โดยโตขึ้นจาก 4.67 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 9.4 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าอัตราการเติบโตของ GDP โลก ประกอบกับแรงสนับสนุนจากนานาประเทศทั่วโลกที่ต่างมีนโยบายเสริมศักยภาพการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็ยิ่งทำให้การลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

 

จับทิศทางการลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า

 

สืบเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โลกจึงพบกับจุดเปลี่ยนทางนวัตกรรมครั้งสำคัญนั่นคือ ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อเป็นทางออกให้กับวิกฤตโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นวาระระดับโลก นานาประเทศจึงพร้อมใจตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 

 

ซึ่งการหันมาใช้ Electric Vehicle (EV) ถือเป็นทางเลือกที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในองค์ประกอบของก๊าซเรือนกระจก ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกาที่ออกกฎหมาย Inflation Reduction Act สนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานสะอาดและการให้เครดิตเงินคืนแก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า หรือในประเทศจีนที่มีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 5 ปี และกลุ่มสหภาพยุโรปที่เตรียมหยุดการจำหน่ายเครื่องยนต์สันดาปในปี 2035 

 

ด้าน Bloomberg New Energy Finance คาดว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตสูง สัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 14% ในปี 2022 เป็น 30% ในปี 2026 ธุรกิจที่พร้อมเติบโตไปกับเทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าไม่ได้มีเพียงแค่ผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ที่ใช้เป็นพลังในการขับเคลื่อน ผู้พัฒนาเซ็นเซอร์และระบบประมวลผล หรือเซมิคอนดักเตอร์ ผู้ให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งวัสดุต่างๆ สำหรับประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ เหล่านี้ล้วนเป็นธุรกิจที่สอดรับกับเมกะเทรนด์ด้านเทคโนโลยีระดับโลกเช่นกัน

 

สำหรับผู้ที่ต้องการคว้าโอกาสเติบโตในระยะยาวไปกับธุรกิจที่เป็นอนาคตของมวลมนุษยชาติ การลงทุนในธีมหุ้นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี สามารถพิจารณาการลงทุนในรูปแบบกองทุน SSF เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ด้วยเช่นกัน กองทุนที่แนะนำ ได้แก่ SCBSEMI (SSF) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนหลัก VanEck Vector Semiconductor UCITS ETF โดยลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิต Semiconductor ทั่วโลก เช่น NVIDIA TSMC และ ASML เป็นต้น 

 

และกองทุน SCBEV (SSF) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนหลัก KraneShares Electric Vehicles & Future Mobility Index ETF ที่ลงทุนในธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม EV ทั่วโลก ตั้งแต่สายแร่ที่ใช้ในการผลิต สถานีชาร์จ เซ็นเซอร์ แบตเตอรี่ลิเทียม ไปจนถึงยานยนต์ไฟฟ้า เช่น Tesla, BYD และ XPENG เป็นต้น

 

กองทุน SSF เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะยาวพร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 2 แสนบาท และไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 5 แสนบาทเมื่อรวมกับ RMF กองทุนเพื่อการเกษียณ (ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข. และ กอช.) และประกันบำนาญ ไม่มียอดซื้อขั้นต่ำและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ต้องถือครอง 10 ปีนับจากวันซื้อ (แบบวันชนวัน) 

 

และสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างวินัยการลงทุนและกระจายความเสี่ยงการลงทุนจากความผันผวนของตลาด การลงทุนอย่างต่อเนื่องแบบถัวเฉลี่ยเงินลงทุนเท่าๆ กันในแต่ละเดือน หรือที่เรียกว่า Dollar-Cost Averaging (DCA) ถือเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีและได้รับความนิยมสูง เหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาว 

 

นอกจากนี้ บลจ.ไทยพาณิชย์ ยังมีกองทุนลดหย่อนภาษีทั้ง SSF และ RMF อีกมากมายที่ครอบคลุมหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 66 กองทุนในปัจจุบัน ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายการลงทุน นักลงทุนที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ scbam.com   

 

การลงทุนในกองทุนรวมมิใช่การฝากเงิน และผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ที่สนใจลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษีจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน

 

สอบถามรายละเอียดได้ที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ หรือธนาคารไทยพาณิชย์ โทร. 0 2777 7777

The post เกาะติดการลงทุนเพื่อการออมตามเทรนด์แห่งอนาคต appeared first on THE STANDARD.

]]>
ต่าง Gen ต่างใจ! รวมความเชื่อเรื่องการเงินที่คนแต่ละ Gen มักเข้าใจผิดเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป https://thestandard.co/generation-wealth-believes/ Sat, 07 Oct 2023 03:52:41 +0000 https://thestandard.co/?p=851724 ความเชื่อเรื่องการเงิน

เมื่อเงินเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของชีวิต จังหวะการใช้เงิน […]

The post ต่าง Gen ต่างใจ! รวมความเชื่อเรื่องการเงินที่คนแต่ละ Gen มักเข้าใจผิดเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
ความเชื่อเรื่องการเงิน

เมื่อเงินเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของชีวิต จังหวะการใช้เงินนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ปัญหาที่หลายคนไม่รู้ตัวคือจังหวะการใช้เงินของเราไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน กล่าวคือหลายคนยังคงแนวคิดเดิมแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป เช่น เรารู้ดีว่าเราควรออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ แต่เรากลับรับความเสี่ยงที่ผิดประเภท เมื่อถึงจุดหนึ่งที่แผนการเงินในวัยเด็กของเราไม่สมเหตุสมผล แต่เราก็ยังคงเดินหน้าต่อไป เป็นต้น

 

ที่ปรึกษาทางการเงินกล่าวว่า จังหวะที่ผิดพลาดเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเมื่อคนแต่ละรุ่นจะต้องก้าวเข้าสู่ช่วงใหม่ของชีวิต เช่น Gen Z เกือบครึ่งกำลังเข้าสู่วัยทำงาน คนรุ่น Millennials ที่กำลังสร้างฐานะและครอบครัว Gen X ที่กำลังอยู่จุดสูงสุดของความมั่งคั่ง และกลุ่ม Baby Boomer ที่ทยอยเข้าสู่วัยเกษียณ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในตอนที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดแรงงานเริ่มซบเซาลง และสภาคองเกรสยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าสหรัฐอเมริกาหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้หรือไม่

 

Mark Struthers นักวางแผนการเงินของ Sona Wealth ระบุว่า ปัญหาการวางแผนที่ผิดพลาดมักมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น ในปัจจุบันผู้คนมีอายุยืนขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ค่ารักษาพยาบาล และค่าที่อยู่อาศัยกลับเพิ่มขึ้นเร็วกว่าค่าจ้างที่ได้รับ

 

ในบทความนี้จะยกตัวอย่างความเชื่อทางการเงินของคนแต่ละ Generation ว่าความเชื่อดังกล่าวยังใช้ได้อยู่ในปัจจุบันหรือไม่

 

  1. Gen Z: แรงงานรุ่นใหม่ล่าสุด ผู้เติบโตขึ้นในช่วงเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ Gen Z ช่วงแรกๆ จึงให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยเมื่อเทียบกับคนรุ่นเก่า

 

‘หนี้ทุกรูปแบบเป็นสิ่งไม่ดี’

การรีบเร่งชำระหนี้ก็เป็นกลยุทธ์ที่ดี แต่การจัดการหนี้อย่างแข็งกร้าวเกินไปก็อาจมีข้อเสียที่ไม่คาดคิดได้ เพราะการให้ความสำคัญกับการขจัดหนี้ราคาถูกมากเกินไปอาจทำให้ผู้กู้ยืมไม่สามารถสร้างกองทุนฉุกเฉินหรือบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่สำคัญอื่นๆ ได้

 

Douglas Boneparth จาก Bone Fide Wealth ได้แนะนำว่าให้จัดการกับหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า 7% และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีเงินสดสำรองคงเหลือไว้หลายเดือนก่อนที่จะก่อหนี้รูปแบบใหม่ๆ

 

‘ลงทุนในสิ่งที่รู้จัก’

แม้การลงทุนในสิ่งที่รู้จักตามแนวคิดของ Peter Lynch จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ปัญหาคือ Gen Z อาจมีความรู้ด้านเทคโนโลยีมากเกินไป แม้ว่าบริษัทอย่าง Apple, Alphabet, Microsoft และ Amazon จะดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีอยู่เสมอ

 

Karen Ogden หุ้นส่วนของ Envest Asset Management ระบุว่า นักลงทุน Gen Z ควรทำความเข้าใจว่าบริษัทเทคโนโลยีที่มีการเติบโตจะได้รับผลกระทบในทางลบเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และแนะนำว่าให้กระจายความเสี่ยงด้วยการซื้อหุ้นหลายประเภท

 

‘ตลาดแรงงานมักแข็งแกร่งอยู่เสมอ’

Gen Z เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานที่ถูกกักขังมาจากการระบาดใหญ่ ทำให้ตลาดแรงงานแข็งแกร่ง แต่ประสบการณ์ในช่วงแรกๆ เหล่านี้อาจทำให้คนงานอายุน้อยมีทัศนคติเชิงบวกมากเกินไปเกี่ยวกับอำนาจการเจรจาต่อรองของพวกเขา ซึ่งปัญหาคืออะไรที่มักขึ้นมาก็จะลงไปในที่สุด ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อได้ส่งผลกระทบต่อนายจ้างแล้ว เห็นได้จากการเลิกจ้างจำนวนมากในภาคเทคโนโลยีและธนาคารในปีนี้ หรือการผลักดันของนายจ้างที่ต้องการให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ

 

Sarah Paulson ประธานบริษัท Valkyrie Financial กล่าวว่า แม้ว่าในปัจจุบันการเปลี่ยนงานหรือการต่อรองค่าจ้างให้สูงขึ้นจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่สิ่งที่ทำได้คือหมั่นเรียนรู้และประเมินทักษะใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

  1. Millennials: เป็นวัยที่กำลังเจอกับเหตุการณ์สำคัญ เช่น การแต่งงาน การเป็นเจ้าของบ้าน และการมีลูก แต่ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ที่อยู่อาศัย และการดูแลสุขภาพที่สูงขึ้น ทำให้การประหยัดเงินทำได้ยากขึ้นสำหรับชาว Millennials

 

‘หลีกเลี่ยงความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด’

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า คนรุ่น Millennials ไม่ชอบความเสี่ยงในชีวิตและการลงทุน ซึ่งมักเป็นผลมาจากประสบการณ์ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ แต่การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นยังหมายถึงการมองข้ามโอกาสที่ตามมาด้วย ในช่วงที่ตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรงเมื่อปีที่แล้ว คนรุ่น Millennials มีแนวโน้มละทิ้งตลาดมากกว่าคนรุ่นอื่นๆ ซึ่งก็เป็นการทิ้งโอกาสหลังจากที่ในปีนี้ตลาดหุ้นเริ่มฟื้นตัว

 

Paulson ระบุว่า คนรุ่น Millennials จำนวนมากสนใจในกองทุนเกษียณที่พวกเขาเชื่อว่าให้ผลตอบแทนอย่างมั่นคง แต่เมื่อ Paulson อธิบายไปว่าท้ายที่สุดแล้วกองทุนเหล่านี้ก็คือเงินสดที่มีประสิทธิภาพรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่น่าให้ผลตอบแทนที่เพียงพอในยามเกษียณ ก็ทำให้ความคิดของคนรุ่นนี้เปลี่ยนไป และทำให้เชื่อว่ายังสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงกว่านี้ได้

 

‘อิสระทางการเงินคือเป้าหมายที่สำคัญ’

คนรุ่น Millennials จำนวนมากที่แต่งงาน มีพอร์ตการลงทุนที่แยกออกจากกัน แต่ Ogden มองว่าพอร์ตการลงทุนที่แยกกันอาจทำให้พลาดผลตอบแทนในด้านหนึ่ง หรือรับความเสี่ยงมากเกินไปในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าแนวคิดนี้เป็นอะไรที่อนุรักษนิยมเกินไป

 

ฉะนั้น Ogden ได้แนะนำให้คู่รักตรวจสอบพอร์ตการลงทุนรวมเป็นประจำทุกปีเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาไม่มีจุดบอด ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าพอร์ตการลงทุนไม่ได้ลงทุนแบบเสี่ยงเกินไปหรือระมัดระวังเกินไป

 

‘ไลฟ์สไตล์ควรเป็นเหมือนพ่อแม่แล้ว’

หลายคนที่มีช่วงอายุ 30 ปี หรือ 40 ปี มักมีความเชื่อที่ว่าควรใช้ชีวิตให้เหมือนพ่อแม่ได้แล้ว แต่ปัจจุบันไม่เหมือนอดีตแล้ว คนรุ่น Millennials ต้องจ่ายเงินเฉลี่ย 328,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซื้อบ้าน เทียบกับเพียง 216,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นราคาที่คนรุ่น Baby Boomer ต้องจ่ายเมื่ออายุใกล้เคียงกัน

 

Boneparth กล่าวว่า “เมื่อคุณทำงานหนักและได้รับเงินมากขึ้น มันเป็นเรื่องปกติที่คุณจะยังคงใช้จ่ายมากขึ้น แต่ก็ให้แน่ใจว่าสัดส่วนการลงทุนจะเพิ่มขึ้นไปพร้อมกับการใช้จ่ายเช่นเดียวกัน”

 

  1. Gen X: คนช่วงวัยกลาง 40 ปี และ 50 ปี จำนวนมากกำลังก้าวเข้าสู่บทบาทการเป็นแซนด์วิช กล่าวคือคนเหล่านี้ต้องดูแลเด็กๆ ไปพร้อมกับพ่อแม่วัยชราด้วย

 

‘พ่อแม่คงไม่อยากให้ใครสอดรู้สอดเห็น’

การสนทนาในเรื่องความไว้วางใจ ทรัพย์สิน หรือความต้องการดูแลระยะยาวของพ่อแม่สูงวัยอาจเป็นเรื่องที่น่าอึดอัดใจ ซึ่งเป็นประเด็นที่ Marguerita Cheng ซีอีโอของ Blue Ocean Global Wealth ถูกคน Gen X นำมาปรึกษาเป็นจำนวนมาก แต่การหลีกเลี่ยงการสนทนาในเรื่องเหล่านี้อาจทำให้อะไรหลายๆ อย่างทำได้ยากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น พ่อแม่เกิดมีปัญหาสุขภาพโดยที่ไม่รู้ตัว

 

เคล็ดลับประการหนึ่งที่ Cheng แนะนำคือการใช้เหตุการณ์สำคัญในชีวิตเป็นโอกาสในการหารือถึงการวางแผนที่ยากลำบาก เช่น ใช้การเกิดของลูกคนที่สองเป็นแรงผลักดันให้พ่อแม่ประเมินแผนอสังหาอีกครั้ง

 

‘ควรซื้อบ้านสักหลัง’

การเป็นเจ้าของบ้านถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จและความมั่นคง แต่ความล้มเหลวจากเหตุการณ์ เช่น ฟองสบู่ดอทคอม, วิกฤตอสังหาในปี 2008 และการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้คนกลุ่ม Gen X ออกจากตลาดมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ หากใครมีความคิดที่จะซื้อบ้าน การจำนองบ้าน 30 ปีในช่วงอายุ 40 ปีกลางๆ และ 50 ปี นั่นหมายถึงการจ่ายดอกเบี้ยบ้านไปจนถึงช่วงเกษียณอายุแล้ว

 

Struthers เชื่อว่าการเช่าบ้านอาจเป็นตัวเลือกที่ไม่ย่ำแย่เสมอไป หากตัดอารมณ์ความเป็นเจ้าของบ้านแล้ว ค่าเช่าบ้านมักจะมีราคาถูกกว่าดอกเบี้ยบ้าน และก็นำส่วนต่างเหล่านั้นไปลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าสุทธิของทรัพย์สินได้

 

  1. Baby Boomer: ในฐานะที่เป็นคนกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสงคราม คนกลุ่มนี้จึงได้เข้าสู่วัยเกษียณอย่างแข็งแกร่งโดยได้รับการสนับสนุนจากเงินบำนาญ เงินออม และประกันสังคม แต่ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงอยู่และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เกษียณอาจต้องประเมินแผนทางการเงินใหม่บ้าง

 

‘จะต้องจ่ายค่าบ้านให้หมดก่อนเกษียณให้ได้’

เป้าหมายในการกำจัดค่าที่อยู่อาศัยก่อนเลิกทำงานก็เป็นความคิดที่ดี แต่ผู้ที่เน้นย้ำในเป้าหมายนี้มากเกินไปอาจทำให้สูญเสียความได้เปรียบจากวัฏจักรเศรษฐกิจครั้งก่อน อัตราการจำนองบ้านเคยอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์มานานหลายปี โดยมีช่วงหนึ่งที่มีเพียง 2% การใช้เงินสดเพื่อกำจัดหนี้ราคาถูกออกไปโดยสิ้นเชิงอาจทำให้รู้สึกดี แต่หากนำเงินเหล่านั้นไปลงทุนแทนก็อาจได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าในตลาด หรือแม้แต่บัญชีออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น

 

Cheng เคยให้คำแนะนำแก่ลูกค้าวัยเกษียณอายุที่ต้องการจ่ายเงินค่าบ้านให้หมดไปว่า ลองจ่ายแค่ครึ่งเดียวและนำเงินไปลงทุนบ้าง ผลที่ได้คือลูกค้ามีความพึงพอใจในการชำระหนี้บ้านแม้ในอัตราที่ต่ำลง แต่ก็ยังสร้างผลตอบแทนในตลาดได้มากขึ้น

 

‘แบ่งสัดส่วนการลงทุน โดยใช้เคล็ดลับ 100 – อายุของตนเอง’

เคล็ดลับการจัดสรรสินทรัพย์ที่มีมายาวนานสำหรับคนทั่วไปคือการเอา 100 ลบอายุของตน และลงทุนในเปอร์เซ็นต์ที่ได้ในหุ้น ขณะที่เงินจำนวนอื่นๆ ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เช่น พันธบัตร แต่ปัจจุบันสิ่งต่างๆ เริ่มมีราคาแพงมากขึ้น นักวางแผนหลายคนเชื่อว่าคนรุ่น Baby Boomer อาจต้องการหุ้นในพอร์ตการลงทุนมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ

 

โดย Struthers ประมาณการว่า นักลงทุนรุ่น Baby Boomer ควรเพิ่มการลงทุนในหุ้นประมาณ 30% ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ตการลงทุนด้วยก็ได้ และเชื่อว่าจะส่งผลให้รายได้หลังเกษียณสูงขึ้น

 

อ้างอิง:

The post ต่าง Gen ต่างใจ! รวมความเชื่อเรื่องการเงินที่คนแต่ละ Gen มักเข้าใจผิดเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป appeared first on THE STANDARD.

]]>