Business – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 28 Apr 2024 09:18:58 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 Swensen’s เปิด Pop-up ขายแค่เมนู ‘ทุเรียน’ ทั้งแบบไอศกรีมและสดๆ เปิดขายแห่งเดียวที่เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค https://thestandard.co/swensens-pop-up-only-durian-menus/ Sun, 28 Apr 2024 09:18:58 +0000 https://thestandard.co/?p=927690

‘ทุเรียน’ กลายเป็นธีมสำหรับการเปิด Pop-up ครั้งที่ 4 ขอ […]

The post Swensen’s เปิด Pop-up ขายแค่เมนู ‘ทุเรียน’ ทั้งแบบไอศกรีมและสดๆ เปิดขายแห่งเดียวที่เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘ทุเรียน’ กลายเป็นธีมสำหรับการเปิด Pop-up ครั้งที่ 4 ของ Swensen’s ซึ่งมีทั้งการสร้างไอศกรีมรสชาติใหม่ เมนูใหม่ และยังเป็นครั้งแรกที่ขายทุเรียนสดด้วย

 

“สิ่งที่เราได้เรียนรู้ตลอดการทำ Pop-up ในช่วง 3 ครั้งก่อนคืออย่างไร Swensen’s ก็ต้องเป็นไอศกรีม” อนุพนธ์ นิธิยานันท์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท สเวนเซ่นส์ (ไทย) จำกัด กล่าว “ครั้งนี้ที่เราเลือกทุเรียนเป็นเพราะนี่คือหนึ่งในไอศกรีมผลไม้ที่ได้รับความนิยมเหมือนกับมะม่วง มะพร้าว หรือสตรอว์เบอร์รี”

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

Pop-up ครั้งแรกของ Swensen’s นั้นเป็นการขายครัวซองต์ฝรั่งเศส ต่อมาเป็นเมนูที่ผสมผสานครีมไข่เข้ากับเครื่องดื่มหลากหลายชนิด และปลายปีที่แล้วเปิดขาย ‘ไอศกรีม 101 รสชาติ’

 

อนุพนธ์ย้ำว่า การทำตลาดยุคนี้ต้องมีทั้งกระแสและกระสุน Pop-up ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ Swensen’s สร้างกระแสเพื่อหล่อเลี้ยงแบรนด์ได้ ซึ่งช่วงที่เหมาะสมนั้นจะอยู่ที่ราว 6 เดือนต่อครั้ง มากกว่านี้จะไม่ได้ทำให้ลูกค้าตื่นเต้น

 

สำหรับ Pop-up ครั้งนี้ใช้ชื่อ ‘ทุเรียนทาวน์’ โดยจะขายรสชาติทุเรียนล้วนๆ ทั้งหมด 16 รสชาติ ในจำนวนนี้ 15 รสชาติเป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่เลย พร้อมกับ 15 เมนูที่มีท็อปปิ้งเด็ดอย่างข้าวเหนียวอัญชัน บัวลอยไข่เค็ม ทุเรียนทอดกรอบ หรือแม้แต่เนื้อทุเรียนหมอนทองสดๆ

 

เพื่อทำให้ Pop-up โดดเด่นมากขึ้น จึงได้ร่วมมือกับ ‘หอการค้าจังหวัดจันทบุรี’ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อด้านทุเรียน สะท้อนจากยอดขายกว่า 1.3 แสนล้านบาทในปีที่ผ่านมา โดยเลือกทุเรียนทั้ง 3 สายพันธุ์หายากมาขายแบบสดได้แก่ พันธุ์นกหยิบ พวงมณี และมูซังคิง ที่นับว่าเป็นทุเรียนพันธุ์ส่งออกที่หารับประทานได้ยาก

 

“เราจะนำเข้ามาขายรอบละ 100 ลูกในช่วงแรก ซึ่งหากหมดแล้วเราก็จะสั่งมาอีก” อนุพนธ์กล่าว ในขณะที่ตัว Pop-up นั้นตั้งเป้าหมายยอดขายเดือนละ 2 ล้านบาท

 

สำหรับ Swensen’s ทุเรียนทาวน์ เปิดขายตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน – 25 มิถุนายน 2567 ที่เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค ชั้น G (ตรงข้าม Gourmet Eats) นอกจากนี้ยังมีอีกแห่งที่เปิดขายคือ Swensen’s สาขาเซ็นทรัล จันทบุรี โดยจะเป็นเมนูเดียวกันแต่ไม่ได้เปิดเป็น Pop-up

 

ในภาพรวมของ Swensen’s ไตรมาสแรกมียอดขายดับเบิลดิจิ โดยมียอดขายต่อบิลอยู่ที่ราว 200 กว่าบาท ส่วนทั้งปีตั้งเป้าการเติบโตจากยอดขายจากสาขาเดิม (Same Store Sales Growth) 15% ด้วยกัน

 

“ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นตัวเลขที่ท้าทายไม่น้อย ท่ามกลางกำลังซื้อของลูกค้าที่ยังไม่นิ่งจากเศรษฐกิจที่ผันผวน” อนุพนธ์กล่าว อย่างไรก็ตาม ปีนี้ Swensen’s จะเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีก 10 สาขา ทำให้สิ้นปีนี้จะมีสาขารวม 345 สาขาด้วยกัน

 

 

The post Swensen’s เปิด Pop-up ขายแค่เมนู ‘ทุเรียน’ ทั้งแบบไอศกรีมและสดๆ เปิดขายแห่งเดียวที่เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้ใช้ iPhone เตรียมเฮ! Apple เร่งเจรจา OpenAI หวังเพิ่มฟีเจอร์ AI ใน iOS 18 ปลายปีนี้ https://thestandard.co/apple-renews-talks-with-openai-iphone-generative-ai-features/ Sun, 28 Apr 2024 06:23:59 +0000 https://thestandard.co/?p=927573 iPhone Apple OpenAI

Apple Inc. บริษัทผู้ผลิต iPhone สัญชาติอเมริกัน ได้เร่ง […]

The post ผู้ใช้ iPhone เตรียมเฮ! Apple เร่งเจรจา OpenAI หวังเพิ่มฟีเจอร์ AI ใน iOS 18 ปลายปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
iPhone Apple OpenAI

Apple Inc. บริษัทผู้ผลิต iPhone สัญชาติอเมริกัน ได้เร่งหารือกับ OpenAI อีกครั้งเกี่ยวกับการปรับใช้ Generative AI ของ OpenAI เพื่อขับเคลื่อนคุณสมบัติหรือฟีเจอร์ใหม่บางอย่างที่จะเปิดตัวในปลายปีนี้

 

Bloomberg รายงานว่า ทั้ง 2 บริษัทตอนนี้ได้เริ่มหารือเกี่ยวกับเงื่อนไขของข้อตกลงที่เป็นไปได้ รวมไปถึงวิธีที่ฟีเจอร์ต่างๆ ของ OpenAI จะรวมเข้ากับระบบปฏิบัติการใหม่ของ Apple ที่กำลังจะออกมาอย่าง iOS 18

 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนว่า Apple ไม่ได้นิ่งนอนใจและพยายามเพิ่มฟีเจอร์ AI เข้ามาในระบบปฏิบัติการ หลังจากเมื่อเดือนที่แล้ว Bloomberg รายงานว่า Apple กำลังเจรจาเพื่อขอใบอนุญาตแชตบอต Gemini ของ Google สำหรับฟีเจอร์ใหม่ของ iPhone

 

ในรายงานของ Bloomberg ยังกล่าวว่า ตอนนี้ Apple ยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะใช้พันธมิตรรายใด และอาจบรรลุข้อตกลงกับทั้ง OpenAI และ Alphabet Inc. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Google 

 

Apple ถือว่าเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ Generative AI ได้ค่อนข้างช้ากว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งอื่นๆ อย่าง Microsoft และ Google ซึ่งกำลังสานต่อสิ่งเหล่านี้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

 

ด้าน ทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Apple กล่าวไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า บริษัทกำลังลงทุน ‘อย่างมีนัยสำคัญ’ ใน Generative AI และจะเปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการนำเทคโนโลยีไปใช้ในปลายปีนี้

 

อ้างอิง:

The post ผู้ใช้ iPhone เตรียมเฮ! Apple เร่งเจรจา OpenAI หวังเพิ่มฟีเจอร์ AI ใน iOS 18 ปลายปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: อนาคต TikTok ที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายความเสี่ยงที่โดนแบนจากสหรัฐฯ-ยุโรป | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-28042024/ Sun, 28 Apr 2024 00:00:44 +0000 https://thestandard.co/?p=927143

TikTok กำลังเจอกับศึกการกีดกันรอบด้านในการดำเนินธุรกิจก […]

The post ชมคลิป: อนาคต TikTok ที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายความเสี่ยงที่โดนแบนจากสหรัฐฯ-ยุโรป | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

TikTok กำลังเจอกับศึกการกีดกันรอบด้านในการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าฝั่งตะวันตกทั้งในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ล่าสุด โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามอนุมัติร่างกฎหมายแบน TikTok แล้ว ฟาก TikTok จะแก้เกมอย่างไร ติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: อนาคต TikTok ที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายความเสี่ยงที่โดนแบนจากสหรัฐฯ-ยุโรป | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
เกิดอะไรขึ้นกับ Boeing? ถูกหั่นเครดิตเรตติ้ง-มุมมองรัวๆ ขาดสภาพคล่องหนัก กลางกองหนี้ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ใกล้ครบกำหนด https://thestandard.co/what-happened-to-boeing/ Sat, 27 Apr 2024 09:12:31 +0000 https://thestandard.co/?p=927446

เกิดอะไรขึ้นกับ Boeing? ทำไมถูกเครดิตเรตติ้งเอเจนซีแห่ […]

The post เกิดอะไรขึ้นกับ Boeing? ถูกหั่นเครดิตเรตติ้ง-มุมมองรัวๆ ขาดสภาพคล่องหนัก กลางกองหนี้ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ใกล้ครบกำหนด appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้นกับ Boeing? ทำไมถูกเครดิตเรตติ้งเอเจนซีแห่ Downgrade รัวๆ หลังขาดสภาพคล่องหนัก ท่ามกลางกองหนี้ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ใกล้ครบกำหนด

 

Fitch Ratings สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อระดับโลก ได้ปรับลดมุมมอง (Outlook) ของ Boeing บริษัทผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกสู่ ‘เชิงลบ’ (Negative) จาก ‘มีเสถียรภาพ’ (Stable) ในวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 เมษายน) ท่ามกลางผลกระทบจากวิกฤตด้านความปลอดภัยที่ส่งผลกระทบต่อการผลิต และกระแสเงินสดบริษัท

 

การปรับลดอันดับของ Fitch เกิดขึ้นหลังจาก S&P สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำอีกแห่งได้ปรับลดมุมมอง (Outlook) สู่ ‘เชิงลบ’ จาก ‘มีเสถียรภาพ’ เมื่อวันที่ 25 เมษายน ทำให้ Boeing เสี่ยงถูกดาวน์เกรดลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) สู่ระดับขยะ (Junk)

 

โดย S&P ระบุว่า Boeing น่าจะไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดอิสระได้เพียงพอในปีนี้ เพื่อรองรับการครบกำหนดชำระหนี้ที่กำลังใกล้เข้ามา และมีสัญญาณความไม่แน่นอนของผู้บริหาร หลังจาก Dave Calhoun ซีอีโอกล่าวว่าจะลาออกภายในสิ้นปีนี้

 

ย้อนกลับไปในวันติดๆ กัน เมื่อวันที่ 24 เมษายน Moody’s เครดิตเรตติ้งเอเจนซีอีกแห่งก็ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) ของ Boeing ลงจาก Baa2 สู่ Baa3 ซึ่งนับเป็นอันดับ Investment Grade ขั้นสุดท้ายก่อนระดับขยะ (Junk) เช่นกัน หลังจาก Boeing รายงานว่า บริษัทใช้กระแสเงินสดอิสระไปถึง 3.93 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก

 

ปัจจุบัน Boeing อยู่ภายใต้การตรวจสอบด้านกฎระเบียบอย่าง ‘เข้มงวด’ ทำให้ต้องลดการผลิตเครื่องบินลำตัวกว้างรุ่น 787 ลงด้วย พร้อมๆ กับรุ่น 737 MAX

 

หลังจากเกิดกรณีประตูห้องโดยสารของเครื่องบินที่ดำเนินการโดยสายการบิน Alaska Airlines หลุดออกไป ซึ่งนับเป็นอีกเหตุการณ์ที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นของบริษัท

 

จับตาอนาคตของของ Boeing

 

Reuters รายงานว่า จากการพูดคุยกับนักวิเคราะห์หลายคน คาดว่า Boeing น่าจะแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพและห่วงโซ่อุปทานได้ รวมไปถึงน่าจะเพิ่มการผลิต เพื่อสร้างกระแสเงินสดที่จำเป็น ก่อนที่จะมีการดาวน์เกรดที่ร้ายแรงกว่านี้ได้

 

อย่างที่ Fitch ระบุว่าจะปรับ Outlook กลับมาเป็น Stable หากบริษัทขายหรือหาเงินจากเครื่องบิน 737 MAX ได้มากกว่า 100 ลำ รวมถึงรุ่น 787 ได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนในคลัง ก่อนช่วงต้นปี 2025 พร้อมๆ กับเพิ่มการผลิตเครื่องบินรุ่น MAX ให้ได้ 38 ลำต่อเดือน

 

นอกจากนี้ Boeing ยังน่าจะระดมทุนผ่านตลาดบอนด์ เพื่อชำระหนี้รวมกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ที่จะครบกำหนดในปี 2025 และ 2026 ได้

 

Tony Bancroft ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอของ Gabelli Funds กล่าวว่า หาก Boeing สามารถที่จะสร้างกระแสเงินสดได้ โดยสามารถปรับปรุงการส่งมอบในช่วงครึ่งหลังของปีด้วย 737 และ 787

 

Matt Woodruff นักวิเคราะห์จาก CreditSights กล่าวว่า แม้ว่าจะมีการขู่โดนลดอันดับเป็นขยะ แต่ Credit Spread ก็ไม่ได้กว้างขึ้นมากนักในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา 

 

สะท้อนว่า นักลงทุนบอนด์ไม่ได้มีปฏิกิริยาเชิงลบมากเกินไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการรับรู้ว่า Boeing ‘จะฟื้นตัวในที่สุด’

 

อ้างอิง:

The post เกิดอะไรขึ้นกับ Boeing? ถูกหั่นเครดิตเรตติ้ง-มุมมองรัวๆ ขาดสภาพคล่องหนัก กลางกองหนี้ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ใกล้ครบกำหนด appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุปผลประกอบการไตรมาสแรก ปี 2024 ของหุ้นกลุ่ม EV ท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือด https://thestandard.co/q1-2024-ev-stocks/ Sat, 27 Apr 2024 07:08:26 +0000 https://thestandard.co/?p=927403 รถยนต์ไฟฟ้า

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเผชิญกับการแข่งขันอย่างดุเดือด รวมถ […]

The post สรุปผลประกอบการไตรมาสแรก ปี 2024 ของหุ้นกลุ่ม EV ท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>
รถยนต์ไฟฟ้า

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเผชิญกับการแข่งขันอย่างดุเดือด รวมถึงความท้าทายในระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของ EV ที่ชะลอตัวลง, การแข่งขันจากแบรนด์จีนที่ต้องการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำอย่าง Tesla ของอีลอน มัสก์ ได้รายงานรายได้ที่ลดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ทุกบริษัทที่กำลังประสบปัญหา เพราะบางบริษัทมียอดขายจาก EV ที่ช่วยดันรายได้ในไตรมาสแรกของปี 2024 ได้อย่างสวยงาม

 

Tesla ทำรายได้ลดลงมากที่สุดในรอบ 12 ปี

 

บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าของมัสก์รายงานผลประกอบการรายไตรมาส 1 ปี 2024 มีรายได้ลดลง 9% เมื่อเทียบกับปีก่อน และนี่ถือเป็นรายได้ที่ลดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 รายได้ที่อ่อนแอของ Tesla มาจากความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในทะเลแดง, การโจมตีด้วยการวางเพลิงที่ Gigafactory ในกรุงเบอร์ลิน, ต้นทุนการผลิต และความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า

 

ผลประกอบการของ Tesla ยังออกมาแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยรายงานรายได้ 2.13 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก หรือประมาณ 45 เซนต์ต่อหุ้น ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าบริษัทจะมีรายได้อยู่ที่ 2.21 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 51 เซนต์ต่อหุ้น ขณะที่กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) อยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขนี้ยังแย่กว่าการคาดการณ์ และลดลงมากกว่า 50% จากปีที่แล้ว

 

ทั้งนี้ Tesla รายงานยอดส่งมอบรถทั่วโลก 386,810 คันในไตรมาสแรก ต่ำกว่าประมาณการอย่างมากที่ 449,080 คัน และบริษัทยังผลิตรถยนต์ได้ 433,371 คัน ซึ่งต่ำกว่าประมาณการที่ 452,976 คันเช่นกัน ความแตกต่างระหว่างรถยนต์ประมาณ 46,500 คันที่ผลิตเทียบกับยอดขาย ทำให้เกิดความกังวลว่าความต้องการรถยนต์ Tesla ทั่วโลกลดลง นำไปสู่การลดราคาครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (22 เมษายน) Tesla ประกาศลดราคารถยนต์ในสหรัฐอเมริกาและจีน ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลงระหว่างวันหลังจากที่รับรู้ข่าว

 

หุ้น Tesla ร่วง 42% นับแต่ต้นปีที่ผ่านมา

 

ราคาหุ้นของ Tesla (TSLA) ลดลงเกือบ 42% นับแต่ต้นปีที่ผ่านมา และเป็นหนึ่งในหุ้นที่มีผลงานย่ำแย่ที่สุดใน S&P 500 ตั้งแต่เริ่มต้นปี 2024 อย่างไรก็ตาม มัสก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Tesla เปิดเผยข่าวในงานประกาศผลประกอบการว่า บริษัทจะเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ราคาถูกกว่าภายในต้นปีหน้า ข่าวดีนี้ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 11% ในการซื้อขายนอกเวลาทำการของวันที่ประกาศ

 

ยอดขายรถ EV ของ Ford ช่วยดันรายได้ไตรมาสแรกของบริษัท

 

ด้านบริษัทยานยนต์เก่าแก่อย่าง Ford รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (24 เมษายน) ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยยอดขาย EV เพิ่มขึ้น 86% เป็น 20,233 คัน ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2024

 

นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่นของ Ford มียอดขายเพิ่มขึ้น 2 หรือ 3 หลักเลยทีเดียว

 

F-150 Lightning ยังคงเป็นรถกระบะไฟฟ้าที่มียอดขายสูงสุดในสหรัฐฯ โดยมียอดขาย 7,743 คัน เพิ่มขึ้น 80% จากปีที่แล้ว ขณะที่ Mustang Mach-E ของ Ford เป็นรถ SUV ไฟฟ้าที่ขายดีที่สุดเป็นอันดับ 2 ในสหรัฐฯ โดยมียอดส่งมอบ 9,589 คัน เพิ่มขึ้น 77% จากไตรมาส 1 ปี 2023 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง รายได้ (Revenue) รถยนต์ EV ของ Ford ลดลงมากถึง 84% ในไตรมาส 1 ปี 2024

 

BMW ขายรถ EV ครบ 1 ล้านคัน

 

ขณะที่ BMW Group ยังคงมีรายได้ที่เติบโตอย่างสวยงาม และทำสถิติการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบครบ 1 ล้านคัน นับตั้งแต่เปิดตัว BMW i3 ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบคันแรกสู่ตลาดในปี 2013

 

บริษัทแม่ BMW ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า BMW, MINI และ Rolls-Royce จำนวน 82,700 คันในช่วง 3 เดือนแรกของปี ซึ่งเพิ่มขึ้น 28% จากปีที่แล้ว และมากพอที่จะแซงหน้าผู้ผลิตรถยนต์หรูที่เป็นคู่แข่งกัน ขณะที่ยอดขายโดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 584,671 คันในไตรมาส 1 (+1.1%) แต่รถยนต์ไฟฟ้าของ BMW เป็นปัจจัยหลักของการเติบโตครั้งนี้ โดยแบรนด์ BMW ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ 78,691 คันในไตรมาส 1 เพิ่มขึ้น 40.6% จากปีที่แล้ว โดยรถยนต์รุ่น iX3, iX1, iX และ i7 เป็นที่ต้องการเป็นพิเศษ

 

อ้างอิง:

The post สรุปผลประกอบการไตรมาสแรก ปี 2024 ของหุ้นกลุ่ม EV ท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจประเทศอาเซียนยังน่าสนใจ แบงก์กรุงศรีหนุนลูกค้าญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติรุกการค้าและการลงทุน ดันสินเชื่อทั้งปีนี้เติบโต 7% https://thestandard.co/asean-economy/ Sat, 27 Apr 2024 06:24:05 +0000 https://thestandard.co/?p=927394

เศรษฐกิจอาเซียนยังน่าสนใจ แบงก์กรุงศรีเดินหน้าหนุนลูกค้ […]

The post เศรษฐกิจประเทศอาเซียนยังน่าสนใจ แบงก์กรุงศรีหนุนลูกค้าญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติรุกการค้าและการลงทุน ดันสินเชื่อทั้งปีนี้เติบโต 7% appeared first on THE STANDARD.

]]>

เศรษฐกิจอาเซียนยังน่าสนใจ แบงก์กรุงศรีเดินหน้าหนุนลูกค้ากลุ่มญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติลุยลงทุนและขยายฐานธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 เน้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์-อสังหาริมทรัพย์-พลังงานทดแทน หวังดันพอร์ตสินเชื่อทั้งปีนี้โต 7% จากพอร์ตคงค้าง 2.33 แสนล้านบาท

 

บุนเซอิ โอคุโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC Banking) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารตั้งเป้าการเติบโตสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่น (JPC) และบรรษัทข้ามชาติ (MNC) ที่ 7% จากยอดสินเชื่อคงค้าง ณ ไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 2.33 แสนล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่ม JPC ประมาณ 88% และ MNC 12%

 

อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาส 1/67 อัตราการเติบโตสินเชื่อจะหดตัว -3.3% แต่เชื่อว่าในปีนี้สินเชื่อจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้

 

โอคุโบะกล่าวว่า ธนาคารพร้อมสนับสนุนลูกค้าไทยและต่างชาติขยายการลงทุนในต่างประเทศ โดยใช้จุดแข็งของเครือข่ายที่มีอยู่ในการสนับสนุน ซึ่งประเทศที่น่าสนใจคือในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ราว 4.5% โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ที่คาดว่าเศรษฐกิจน่าจะโตประมาณ 5.8%, ฟิลิปปินส์ 5-6% และอินโดนีเซีย 5% ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจคือกลุ่มคมนาคม และโลจิสติกส์

 

สำหรับประเทศไทย ประเมินว่ามีความท้าทายหลายด้าน เช่น ปัญหาเชิงโครงสร้าง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งทำให้กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับเช่าซื้อชะลอตัว อย่างไรก็ตาม จุดแข็งของประเทศไทยคืออยู่ในจุดภูมิรัฐศาสตร์ที่ดี จึงเชื่อว่าจะมีความต้องการเข้ามาลงทุนหรือย้ายฐานการผลิตเข้ามาจากต่างประเทศ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่แบงก์จะเข้ามาสนับสนุนด้านสินเชื่อ ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ การค้า พลังงานทดแทน และอสังหาริมทรัพย์

 

“เป้าหมายการเติบโตปีนี้ค่อนข้างท้าทาย จะเห็นว่าความต้องการสินเชื่อปีก่อนหดตัว 10% เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ชะลอการเติบโต แต่ธนาคารยังสามารถทำกำไรได้ดีอยู่ ส่วนปีนี้คาดว่าน่าจะฟื้นตัวดีขึ้นแม้จะมีความท้าทายอยู่ แต่ธนาคารจะเน้นขยายการเติบโตไปในอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ อสังหาริมทรัพย์ และการค้า ที่จะช่วยหนุนการเติบโตได้”

 

สำหรับทิศทางการดำเนินงานในปี 2567 กรุงศรียังคงสานต่อเป้าหมายในการเป็นธนาคารพันธมิตรที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้าธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ โดยมีมุมมองสำคัญในการดำเนินงาน 4 ด้าน ประกอบไปด้วย

 

  1. เร่งส่งเสริมระบบนิเวศด้านความยั่งยืน (ESG Ecosystem) ให้กับสังคมไทย โดยอาศัยจุดแข็งในการมีความรู้ความชำนาญในด้าน ESG ผ่านความร่วมมือกับ MUFG เพื่อนำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า เช่น ผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Deposit) บัญชีเงินฝากประจำเพื่อใช้สนับสนุนทางการเงินให้กับโครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืน เป็นต้น

 

  1. ต่อยอดความร่วมมือเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) โดยจะขยายความร่วมมือเพิ่มเติมกับ สปป.ลาว และเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่เอื้อต่อสังคม ชุมชน ทั้งในประเทศไทยและอาเซียน

 

  1. ขยายฐานลูกค้าบรรษัทข้ามชาติจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asian Economies) ด้วยพื้นฐานและปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนในประเทศไทย ทั้งความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ดึงดูดการลงทุนจากกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลี เป็นต้น

 

  1. ยกระดับบริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ Krungsri ASEAN LINK เชื่อมทุกความต้องการทำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยกรุงศรีพร้อมใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสานพลังเครือข่ายธุรกิจของธนาคาร และ MUFG ที่ครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน เช่น Danamon Bank ในอินโดนีเซีย, VietinBank ในเวียดนาม และ Security Bank ในฟิลิปปินส์ เพื่อต่อยอดบริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจสำหรับลูกค้าที่ต้องการขยายธุรกิจสู่อาเซียน

The post เศรษฐกิจประเทศอาเซียนยังน่าสนใจ แบงก์กรุงศรีหนุนลูกค้าญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติรุกการค้าและการลงทุน ดันสินเชื่อทั้งปีนี้เติบโต 7% appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เอสซีจี’ ไร้แผนลงทุนใหม่ในเมียนมา หลังปิดโครงการใหญ่โรงงานปูนซีเมนต์ หวั่นความไม่สงบกระทบธุรกิจ https://thestandard.co/scg-closure-prompts-investment-freeze-in-myanmar/ Sat, 27 Apr 2024 03:16:09 +0000 https://thestandard.co/?p=927351 SCC

บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย เปิดแผนรับมือความเสี่ยงราคาพลังงานผัน […]

The post ‘เอสซีจี’ ไร้แผนลงทุนใหม่ในเมียนมา หลังปิดโครงการใหญ่โรงงานปูนซีเมนต์ หวั่นความไม่สงบกระทบธุรกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
SCC

บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย เปิดแผนรับมือความเสี่ยงราคาพลังงานผันผวนจากผลกระทบความขัดแย้งในตะวันออกกลาง มองธุรกิจปีนี้ฟื้น คงเป้ายอดขายโต 20%

 

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) กล่าวว่า มองว่าความเสี่ยงหลักของการดำเนินธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี 2567 คือปัจจัยพลังงานที่มีผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานรวมถึงค่าขนส่งให้มีความผันผวน ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ต้องจับตาและบริหารความเสี่ยงใน 2 เรื่อง ได้แก่

 

  1. แผนการบริหารความเสี่ยงด้านราคา จะต้องบริหารจับคู่ระหว่างการขายกับการซื้อสินค้า โดยกำหนดราคาขายสินค้าให้เหมาะสมกับต้นทุน เพื่อลดความเสี่ยงของบริษัท

 

  1. แผนการบริหารด้านปริมาณ โดยจะมีการกระจายแหล่งที่มาของพลังงาน ไม่พึ่งพิงการนำเข้าด้วยเส้นทางที่ต้องผ่านด่านทางช่องแคบฮอร์มุซเพียงแหล่งเดียว โดยจะมีการนำเข้าพลังงานจากหลายๆ แหล่ง เพื่อป้องกันปัญหาการสะดุด

 

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) อื่นๆ รวมถึงการแยกตัวของห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling) ทั้งระหว่างจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป จึงต้องมีแผนในการปรับตัวรับมือความเสี่ยงของซัพพลายเชนของบริษัทเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการ Decoupling นี้

 

หยุดลงทุนในเมียนมา

 

ปัจจุบันกลุ่มเอสซีจีมีการลงทุนในเมียนมาน้อยมาก หลังจากในปี 2563 บริษัทได้หยุดการดำเนินการโรงงานปูนซีเมนต์ที่ร่วมทุนในเมียนมา ซึ่งถือเป็นการลงทุนและธุรกิจขนาดใหญ่ของเมียนมาในอดีต ส่งผลให้ปัจจุบันมีการทำธุรกิจหรือทำการค้าขายที่เกี่ยวข้องกับเมียนมาน้อยมาก โดยปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนจากเมียนมาไม่ถึง 1% ของรายได้รวม ซึ่งรูปแบบการทำธุรกิจปัจจุบันจะเป็นการผลิตสินค้าจากในไทยแล้วส่งออกไปยังเมียนมา

 

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลของ THE STANDARD WEALTH พบว่า ในปี 2557 เอสซีจีได้ประกาศร่วมทุนลงทุนโรงงานปูนซีเมนต์กับพาร์ตเนอร์ท้องถิ่นในเมียนมา มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยจะมีกำลังการผลิต 1.8 ล้านตัน ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558 แต่ต้องหยุดการผลิตลงในปี 2563 หลังจากบริษัท Mawlamyine Cement Limited (MCL) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในเมียนมาระหว่างบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด (SCG CEMENT) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมด และ Pacific Link Cement Industry Ltd. (PLCI) ซึ่งเป็นบริษัทเมียนมา ได้หยุดการผลิต เนื่องจากไม่มีหินปูนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ สาเหตุจากข้อพิพาทระหว่าง SCG CEMENT ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MCL และ PLCI ทำให้ MCL ไม่สามารถเข้าพื้นที่เหมืองหินปูนได้

 

ธรรมศักดิ์กล่าวเพิ่มว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้จากการขายทั้งปี 2567 ซึ่งจะเติบโตขึ้นประมาณ 20% จากปี 2566 ที่ทำได้ประมาณ 5 แสนล้านบาท โดยคาดว่าแนวโน้มผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีนี้ของหลายกลุ่มธุรกิจยังมีโอกาสเติบโตได้มากกว่าเป้าหมาย เช่น จากธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง ที่มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในฟื้นตัว และการท่องเที่ยวที่เข้ามาสนับสนุนความต้องการใช้แพ็กเกจจิ้ง ขณะที่ในประเทศเริ่มเห็นการลงทุนก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนของภาครัฐ

 

ผลประกอบการเอสซีจีไตรมาส 1/67 มีรายได้รวมที่ 1.24 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน แต่ลดลง 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 2,425 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,559 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน แต่ลดลง 85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในไตรมาส 1/66 มีรายการพิเศษจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน SCG Logistics ซึ่งไม่ใช่รายการเงินสด มูลค่า 11,956 ล้านบาท ประกอบกับไตรมาส 1/67 มีผลประกอบการของธุรกิจเคมิคอลส์ลดลง

 

“ภาพรวมผลประกอบการไตรมาส 1/67 มีแนวโน้มดีขึ้น แม้เศรษฐกิจโลกผันผวน อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงอ่อนตัว แต่เอสซีจีสามารถบริหารต้นทุนได้ดี”

 

อย่างไรก็ดี ธุรกิจเคมิคอลส์ประเมินว่าอาจเห็นการฟื้นตัวได้ช้า เนื่องจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังมีปัจจัยความท้าทายอยู่ และสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางยังเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้น

 

โครงการ LSP เลื่อนผลิตไปไตรมาส 3/67

 

ขณะที่โครงการปิโตรเคมีครบวงจร โครงการลองเซิน ปิโตรเคมิคอลส์ (Long Son Petrochemicals: LSP) ในประเทศเวียดนาม อยู่ในช่วงการประเมินและตรวจสอบเครื่องจักรอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจเรื่องความปลอดภัย คาดว่าจะกลับมาเดินเครื่องจักรทดสอบและพร้อมผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 3/67 ล่าช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ในช่วงไตรมาส 1/67 ดังนั้นจะมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตและยอดขายหายไปประมาณ 3-4 เดือน

 

ทั้งนี้ โครงการ LSP วางแผนกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.35 ล้านตันต่อปี และโพลีโอเลฟินส์ อย่างโพลีเอทิลีน และโพลีโพรพิลีน 1.4 ล้านตันต่อปี

 

ส่วนความคืบหน้าแผนการนำ บมจ.เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จันทนิดา สาริกะภูติ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน SCC กล่าวว่า บริษัทยังคงงบลงทุนรวมปีนี้ไว้ที่ 40,000 ล้านบาท โดยเน้นใช้เพิ่มประสิทธิภาพของโครงการต่างๆ ของบริษัท โดยในไตรมาส 1/67 ได้ทยอยใช้งบลงทุนไปแล้วประมาณ 9,400 ล้านบาทตามแผนงานที่วางไว้

The post ‘เอสซีจี’ ไร้แผนลงทุนใหม่ในเมียนมา หลังปิดโครงการใหญ่โรงงานปูนซีเมนต์ หวั่นความไม่สงบกระทบธุรกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: THE LINE เมืองกระจกยักษ์ซาอุสะดุด! | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-27042024/ Sat, 27 Apr 2024 00:00:12 +0000 https://thestandard.co/?p=927146

การพัฒนา ‘NEOM’ โครงการใหญ่ที่สุดในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่ […]

The post ชมคลิป: THE LINE เมืองกระจกยักษ์ซาอุสะดุด! | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

การพัฒนา ‘NEOM’ โครงการใหญ่ที่สุดในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่ไม่พึ่งพาน้ำมันของเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ผู้เป็นรัชทายาทของราชบัลลังก์ซาอุดีอาระเบีย กำลังสะดุด โดยปรับลดเป้าหมายระยะกลางสำหรับโครงการนี้ THE LINE เมืองกระจกยักษ์ รายละเอียดเป็นอย่างไร

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: THE LINE เมืองกระจกยักษ์ซาอุสะดุด! | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจาะลึกสาเหตุเบื้องหลัง! เหตุผลที่ Honda e:N1 เลือก ‘ให้เช่า’ เริ่มต้น 29,000 บาท แทนการ ‘ขาย’ หรือต้องการหนีสงครามราคารถไฟฟ้าอันดุเดือด https://thestandard.co/honda-en1-29000-baht-lease/ Fri, 26 Apr 2024 12:11:01 +0000 https://thestandard.co/?p=927225

กลายเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความประหลาดใจให้แก่สาวกโลโก้ […]

The post เจาะลึกสาเหตุเบื้องหลัง! เหตุผลที่ Honda e:N1 เลือก ‘ให้เช่า’ เริ่มต้น 29,000 บาท แทนการ ‘ขาย’ หรือต้องการหนีสงครามราคารถไฟฟ้าอันดุเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>

กลายเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความประหลาดใจให้แก่สาวกโลโก้ H เมื่อฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) ตัดสินใจประกาศ ‘ไม่ขาย’ หลังการเปิดตัวสู่ตลาดของ Honda e:N1 รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ฮอนด้าขึ้นไลน์การประกอบในประเทศไทย โดยเปิดเป็นรูปแบบของการ ‘ให้เช่า’ เพียงอย่างเดียว 

 

การให้เช่าใช้ของ Honda e:N1 จะเป็นการที่ฮอนด้า ออโตโมบิล ปล่อยเช่าให้บริษัทผู้ให้เช่ารถยนต์ชั้นนำของไทย นำไปให้ลูกค้าเช่าช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งราคาค่าเช่าจะเริ่มต้นที่ประมาณ 29,000 บาท รวมประกันภัย ภาษี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วยเงื่อนไขการเช่าต่อเนื่องนานอย่างน้อย 48 เดือน โดยแต่ละบริษัทจะมีอัตราค่าเช่าที่แตกต่างกัน

 

เกิดอะไรขึ้นกับ Honda e:N1 โมเดลใหม่ล่าสุด ที่แบกความหวังว่าจะมาต่อกรกับรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์จีนได้บ้าง แต่เหตุใดกลับกลายเป็นว่า ‘ปล่อยเช่า’ แทน ‘การขาย’ เราจะลองวิเคราะห์ให้ฟัง 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ประการแรกสุดคือ เรื่องของต้นทุนการผลิต ที่ต้องบอกว่าค่ายญี่ปุ่นจะมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่าค่ายจากจีน ด้วยเงื่อนไขด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) และชิ้นส่วนที่มีต้นทุนสูงกว่า เพราะต้องพึ่งพาชิ้นส่วนจากผู้ผลิตจีน ซึ่งทางแบรนด์ญี่ปุ่นสั่งด้วยจำนวนที่น้อยกว่า จึงทำให้แม้ของจะเป็นชิ้นเดียวกัน แต่ต้นทุนจะแพงกว่า เช่น การสั่ง 100 ชิ้น กับ 1,000 ชิ้น ย่อมได้ราคาที่แตกต่างกัน 

 

ประการต่อมา ฮอนด้า ประเทศไทย ได้ยื่นเงื่อนไขขอรับการสนับสนุนตามโครงการสนับสนุนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐของไทย หรือ EV3.0 ดังนั้นจึงต้องมีการผลิตตามเงื่อนไขที่เซ็นสัญญากับภาครัฐเอาไว้ 

 

ซึ่ง ณ เวลาที่เข้าร่วมคือ ราว 2 ปีก่อนหน้า ที่ยังไม่เกิดสงครามราคาขึ้น โดยคาดว่าเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้เปิดรับจอง bZ4X แล้วมียอดจองถล่มทลาย ทำให้ฮอนด้า ประเทศไทย ตัดสินใจกระโดดเข้าร่วมโครงการ

 

 

แต่ต้องไม่ลืมว่า Toyota bZ4X เปิดขายด้วยราคา 1,836,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ได้รับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีเรียบร้อยแล้ว แต่ข้อมูลจากแหล่งข่าวเปิดเผยว่า มีจำนวนเพียงราว 10 คันเท่านั้น ที่จำหน่ายด้วยราคานี้ ส่วนคันอื่นๆ จำหน่ายด้วยราคาเต็มคือ 2 ล้านกว่าบาท 

 

เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นไม่ได้มีความซับซ้อน เพราะเมื่อค่ายรถนำเข้ารถมาจำหน่ายภายใต้การสนับสนุนจำนวนเท่าไร จะต้องผลิตคืนเท่านั้น เช่น สมมติจำหน่าย bZ4X ทั้งสิ้น 10 คัน โตโยต้าจะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใดก็ได้ 10 คันตามเงื่อนไข (โครงการนี้ไม่กำหนดรุ่นสำหรับการผลิตชดเชย)

 

ซึ่งบังเอิญว่าโตโยต้าผลิต Hilux Revo จำนวน 10 คัน และส่งมอบให้ทางเทศบาลเมืองพัทยา เพื่อเป็นโครงการนำร่องรถโดยสารสาธารณะประจำเมือง ดังข่าวก่อนหน้าที่ผู้บริหารโตโยต้าได้ประกาศไว้ โดยเงื่อนไขของการเข้าร่วมโครงการ EV3.0 แค่ผลิต ไม่จำเป็นต้องจำหน่าย 

 

ดังนั้นเมื่อฮอนด้าผลิต Honda e:N1ออกมาแล้ว หากคิดจะจำหน่าย จำต้องขายด้วยราคาที่ไม่แตกต่างจาก Toyota bZ4X เท่าใดนัก ดังนั้นเมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนไปจากสงครามราคาของแบรนด์จีน เมื่อฮอนด้าเริ่มต้นโครงการจนผลิตออกมาแล้วจึงย้อนกลับไม่ได้ จำต้องหาทางเลือกใหม่แทนการจำหน่ายคือ การให้เช่าใช้ ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของฮอนด้าภายใต้สงครามราคาเช่นนี้ 

 

 

ลองจินตนาการดูว่า หากฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) ตัดสินใจขาย Honda e:N1 ด้วยราคาจำหน่ายดังที่เราคาดหมายเอาไว้ ผลกระทบที่ตามมา คาดว่าจะต้องโดนกระแสของกลุ่มผู้บริโภคโจมตีว่าแพง และจำนวนที่ขายจะต้องได้น้อยกว่าที่ประเมินเอาไว้ก่อนเริ่มต้นไลน์การประกอบ 

 

ฉะนั้น ทางรอดหนึ่งเดียวของ Honda e:N1 จึงกลายมาเป็นการปล่อยให้เช่า เพราะหากคำนวณดูให้ดีๆ จะเห็นตัวเลขดังนี้ 

 

ค่าเช่าสมมติตัวเลขกลมๆ ที่ 30,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 48 เดือน จะเท่ากับ 1,440,000 บาท นั่นคือระยะเวลาเพียง 4 ปี และหากมีการเช่าถึง 5 ปี จะเท่ากับ 1,800,000 บาท ซึ่งก็จะใกล้เคียงกับราคาจำหน่ายที่แท้จริงที่เราคาดหมายเอาไว้ 

 

โดยตัวรถทั้งหมดที่ปล่อยเช่ายังคงเป็นทรัพย์สินของฮอนด้า ออโตโมบิล ฉะนั้นสุดท้ายหากฮอนด้าปล่อยเช่าได้ตามเป้าหมาย ฮอนด้าจะไม่เจ็บตัวจากโครงการนี้ 

 

นับว่าฮอนด้า ออโตโมบิล ตัดสินใจเลือกทางรอดได้อย่างเหมาะสม ไม่เข้าไปแข่งในช่วงเวลาที่สงครามราคากำลังรุนแรงอย่างนี้ สุดท้ายมาดูกันว่าจะมีผู้บริโภคเช่าใช้มากน้อยเพียงใด โดยการเช่านั้นเหมาะกับลูกค้าองค์กร และผู้ใช้ที่อยากลองแต่ไม่ต้องการใช้เงินจำนวนมากในการซื้อเป็นเจ้าของ

The post เจาะลึกสาเหตุเบื้องหลัง! เหตุผลที่ Honda e:N1 เลือก ‘ให้เช่า’ เริ่มต้น 29,000 บาท แทนการ ‘ขาย’ หรือต้องการหนีสงครามราคารถไฟฟ้าอันดุเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ตลาดหลักทรัพย์รื้อเกณฑ์ครั้งใหญ่ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-ลากหุ้น’ | Wealth Alert https://thestandard.co/morning-wealth-26042024-4/ Fri, 26 Apr 2024 08:00:40 +0000 https://thestandard.co/?p=926998

ในภาวะตลาดหุ้นโลกผันผวน และส่งผลต่อตลาดหุ้นไทย รวมทั้งค […]

The post ชมคลิป: ตลาดหลักทรัพย์รื้อเกณฑ์ครั้งใหญ่ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-ลากหุ้น’ | Wealth Alert appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในภาวะตลาดหุ้นโลกผันผวน และส่งผลต่อตลาดหุ้นไทย รวมทั้งความเชื่อมั่นนักลงทุนที่ลดลง โดยเฉพาะรายย่อย ยามตลาดซบเซาและปัญหาบางส่วนที่เกิดขึ้นในตลาดทุน จึงนำมาสู่การยกระดับการกำกับดูแลครั้งใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมในหลายมิติ จะมีอะไรบ้างติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: ตลาดหลักทรัพย์รื้อเกณฑ์ครั้งใหญ่ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-ลากหุ้น’ | Wealth Alert appeared first on THE STANDARD.

]]>