Business – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 27 Apr 2024 03:16:47 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 ‘เอสซีจี’ ไร้แผนลงทุนใหม่ในเมียนมา หลังปิดโครงการใหญ่โรงงานปูนซีเมนต์ หวั่นความไม่สงบกระทบธุรกิจ https://thestandard.co/scg-closure-prompts-investment-freeze-in-myanmar/ Sat, 27 Apr 2024 03:16:09 +0000 https://thestandard.co/?p=927351 SCC

บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย เปิดแผนรับมือความเสี่ยงราคาพลังงานผัน […]

The post ‘เอสซีจี’ ไร้แผนลงทุนใหม่ในเมียนมา หลังปิดโครงการใหญ่โรงงานปูนซีเมนต์ หวั่นความไม่สงบกระทบธุรกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
SCC

บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย เปิดแผนรับมือความเสี่ยงราคาพลังงานผันผวนจากผลกระทบความขัดแย้งในตะวันออกกลาง มองธุรกิจปีนี้ฟื้น คงเป้ายอดขายโต 20%

 

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) กล่าวว่า มองว่าความเสี่ยงหลักของการดำเนินธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี 2567 คือปัจจัยพลังงานที่มีผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานรวมถึงค่าขนส่งให้มีความผันผวน ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ต้องจับตาและบริหารความเสี่ยงใน 2 เรื่อง ได้แก่

 

  1. แผนการบริหารความเสี่ยงด้านราคา จะต้องบริหารจับคู่ระหว่างการขายกับการซื้อสินค้า โดยกำหนดราคาขายสินค้าให้เหมาะสมกับต้นทุน เพื่อลดความเสี่ยงของบริษัท

 

  1. แผนการบริหารด้านปริมาณ โดยจะมีการกระจายแหล่งที่มาของพลังงาน ไม่พึ่งพิงการนำเข้าด้วยเส้นทางที่ต้องผ่านด่านทางช่องแคบฮอร์มุซเพียงแหล่งเดียว โดยจะมีการนำเข้าพลังงานจากหลายๆ แหล่ง เพื่อป้องกันปัญหาการสะดุด

 

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) อื่นๆ รวมถึงการแยกตัวของห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling) ทั้งระหว่างจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป จึงต้องมีแผนในการปรับตัวรับมือความเสี่ยงของซัพพลายเชนของบริษัทเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการ Decoupling นี้

 

หยุดลงทุนในเมียนมา

 

ปัจจุบันกลุ่มเอสซีจีมีการลงทุนในเมียนมาน้อยมาก หลังจากในปี 2563 บริษัทได้หยุดการดำเนินการโรงงานปูนซีเมนต์ที่ร่วมทุนในเมียนมา ซึ่งถือเป็นการลงทุนและธุรกิจขนาดใหญ่ของเมียนมาในอดีต ส่งผลให้ปัจจุบันมีการทำธุรกิจหรือทำการค้าขายที่เกี่ยวข้องกับเมียนมาน้อยมาก โดยปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนจากเมียนมาไม่ถึง 1% ของรายได้รวม ซึ่งรูปแบบการทำธุรกิจปัจจุบันจะเป็นการผลิตสินค้าจากในไทยแล้วส่งออกไปยังเมียนมา

 

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลของ THE STANDARD WEALTH พบว่า ในปี 2557 เอสซีจีได้ประกาศร่วมทุนลงทุนโรงงานปูนซีเมนต์กับพาร์ตเนอร์ท้องถิ่นในเมียนมา มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยจะมีกำลังการผลิต 1.8 ล้านตัน ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558 แต่ต้องหยุดการผลิตลงในปี 2563 หลังจากบริษัท Mawlamyine Cement Limited (MCL) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในเมียนมาระหว่างบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด (SCG CEMENT) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมด และ Pacific Link Cement Industry Ltd. (PLCI) ซึ่งเป็นบริษัทเมียนมา ได้หยุดการผลิต เนื่องจากไม่มีหินปูนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ สาเหตุจากข้อพิพาทระหว่าง SCG CEMENT ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MCL และ PLCI ทำให้ MCL ไม่สามารถเข้าพื้นที่เหมืองหินปูนได้

 

ธรรมศักดิ์กล่าวเพิ่มว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้จากการขายทั้งปี 2567 ซึ่งจะเติบโตขึ้นประมาณ 20% จากปี 2566 ที่ทำได้ประมาณ 5 แสนล้านบาท โดยคาดว่าแนวโน้มผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีนี้ของหลายกลุ่มธุรกิจยังมีโอกาสเติบโตได้มากกว่าเป้าหมาย เช่น จากธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง ที่มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในฟื้นตัว และการท่องเที่ยวที่เข้ามาสนับสนุนความต้องการใช้แพ็กเกจจิ้ง ขณะที่ในประเทศเริ่มเห็นการลงทุนก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนของภาครัฐ

 

ผลประกอบการเอสซีจีไตรมาส 1/67 มีรายได้รวมที่ 1.24 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน แต่ลดลง 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 2,425 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,559 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน แต่ลดลง 85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในไตรมาส 1/66 มีรายการพิเศษจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน SCG Logistics ซึ่งไม่ใช่รายการเงินสด มูลค่า 11,956 ล้านบาท ประกอบกับไตรมาส 1/67 มีผลประกอบการของธุรกิจเคมิคอลส์ลดลง

 

“ภาพรวมผลประกอบการไตรมาส 1/67 มีแนวโน้มดีขึ้น แม้เศรษฐกิจโลกผันผวน อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงอ่อนตัว แต่เอสซีจีสามารถบริหารต้นทุนได้ดี”

 

อย่างไรก็ดี ธุรกิจเคมิคอลส์ประเมินว่าอาจเห็นการฟื้นตัวได้ช้า เนื่องจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังมีปัจจัยความท้าทายอยู่ และสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางยังเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้น

 

โครงการ LSP เลื่อนผลิตไปไตรมาส 3/67

 

ขณะที่โครงการปิโตรเคมีครบวงจร โครงการลองเซิน ปิโตรเคมิคอลส์ (Long Son Petrochemicals: LSP) ในประเทศเวียดนาม อยู่ในช่วงการประเมินและตรวจสอบเครื่องจักรอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจเรื่องความปลอดภัย คาดว่าจะกลับมาเดินเครื่องจักรทดสอบและพร้อมผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 3/67 ล่าช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ในช่วงไตรมาส 1/67 ดังนั้นจะมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตและยอดขายหายไปประมาณ 3-4 เดือน

 

ทั้งนี้ โครงการ LSP วางแผนกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.35 ล้านตันต่อปี และโพลีโอเลฟินส์ อย่างโพลีเอทิลีน และโพลีโพรพิลีน 1.4 ล้านตันต่อปี

 

ส่วนความคืบหน้าแผนการนำ บมจ.เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จันทนิดา สาริกะภูติ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน SCC กล่าวว่า บริษัทยังคงงบลงทุนรวมปีนี้ไว้ที่ 40,000 ล้านบาท โดยเน้นใช้เพิ่มประสิทธิภาพของโครงการต่างๆ ของบริษัท โดยในไตรมาส 1/67 ได้ทยอยใช้งบลงทุนไปแล้วประมาณ 9,400 ล้านบาทตามแผนงานที่วางไว้

The post ‘เอสซีจี’ ไร้แผนลงทุนใหม่ในเมียนมา หลังปิดโครงการใหญ่โรงงานปูนซีเมนต์ หวั่นความไม่สงบกระทบธุรกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ทำไมวัย 20 คือช่วงที่ดีที่สุดในการลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.1 https://thestandard.co/new-gen-investor-ep-1/ Sat, 27 Apr 2024 03:00:17 +0000 https://thestandard.co/?p=927257 ลงทุน วัย 20

ทำไมทุกคนควรเริ่มลงทุนตั้งแต่วัย 20?   ในความเป็นจ […]

The post ชมคลิป: ทำไมวัย 20 คือช่วงที่ดีที่สุดในการลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.1 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลงทุน วัย 20

ทำไมทุกคนควรเริ่มลงทุนตั้งแต่วัย 20?

 

ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุน ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งได้เปรียบ แม้หลายคนอาจจะยังไม่ได้มีเงินทุนมากมาย แต่การลงทุนเป็นเรื่องของทักษะที่สามารถพัฒนาผ่านประสบการณ์และการฝึกฝน

 

และที่สำคัญคือ ‘พลังของดอกเบี้ยทบต้น’ ที่จะช่วยให้เงินของเรางอกเงยอย่างก้าวกระโดด หากเรามีวิธีการที่ถูกต้อง New Gen Investor Ep.นี้ อยากพาทุกคนเข้าสู่โลกของการลงทุน ทักษะสุดสำคัญที่หลายคนอาจจะลืมนึกถึง

 

หรือแม้แต่ใครก็ตามที่ก้าวเข้ามาแล้ว แต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก และกำลังมองหาแนวทางที่จะเติบโตอย่างมั่นคง

The post ชมคลิป: ทำไมวัย 20 คือช่วงที่ดีที่สุดในการลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.1 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: THE LINE เมืองกระจกยักษ์ซาอุสะดุด! | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-27042024/ Sat, 27 Apr 2024 00:00:12 +0000 https://thestandard.co/?p=927146

การพัฒนา ‘NEOM’ โครงการใหญ่ที่สุดในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่ […]

The post ชมคลิป: THE LINE เมืองกระจกยักษ์ซาอุสะดุด! | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

การพัฒนา ‘NEOM’ โครงการใหญ่ที่สุดในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่ไม่พึ่งพาน้ำมันของเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ผู้เป็นรัชทายาทของราชบัลลังก์ซาอุดีอาระเบีย กำลังสะดุด โดยปรับลดเป้าหมายระยะกลางสำหรับโครงการนี้ THE LINE เมืองกระจกยักษ์ รายละเอียดเป็นอย่างไร

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: THE LINE เมืองกระจกยักษ์ซาอุสะดุด! | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
BEM – ปัจจัยบวกอาจมาเร็วกว่าที่คาดไว้ https://thestandard.co/market-focus-bem-13/ Fri, 26 Apr 2024 13:42:48 +0000 https://thestandard.co/?p=927253

เกิดอะไรขึ้น:   ราคาหุ้น BEM ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 3.1 […]

The post BEM – ปัจจัยบวกอาจมาเร็วกว่าที่คาดไว้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

ราคาหุ้น BEM ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 3.1%YTD Outperform SET อยู่ 6.7% InnovestX Research เชื่อว่าราคาหุ้น BEM จะปรับตัว Outperform ตลาดได้อย่างต่อเนื่องในระยะ 3 เดือนข้างหน้า โดยได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยกระตุ้นเชิงบวกหลายปัจจัย: 

 

ปัจจัยกระตุ้น 1: คาดกำไร 1Q67 เติบโตดี YoY โดยคาดว่า BEM จะรายงานกำไรสุทธิ 1Q67 ที่ 830 ล้านบาท ลดลง 3.5%QoQ แต่เพิ่มขึ้น 10.7%YoY รายได้จากธุรกิจทางด่วน รถไฟฟ้า และการพัฒนาพาณิชยกรรมยังคงเติบโตทั้งจากไตรมาสก่อนหน้าและจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้สำหรับธุรกิจรถไฟฟ้า คาดว่าจะส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อการเติบโตของกำไร โดยต้นทุนที่ต่ำสำหรับธุรกิจรถไฟฟ้าใน 4Q66 เป็นผลมาจากการปรับต้นทุนครั้งเดียว ใน 1Q67 การจราจรทางด่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.12 ล้านเที่ยวต่อวัน ลดลง 0.4%YoY 

 

ในขณะที่การเติบโตของการคาดการณ์ทั้งปีอยู่ที่ 2.2% สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 430.4 พันเที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้น 12.9%YoY ในขณะที่การเติบโตของการคาดการณ์ทั้งปีอยู่ที่ 15% หากกำไรสุทธิที่คาดการณ์ใน 1Q67 นี้ถูกต้องจะคิดเป็น 19.3% ของการคาดการณ์ทั้งปี ผลการดำเนินงานจะประกาศในวันที่ 14 พฤษภาคม

 

ปัจจัยกระตุ้น 2: โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกอาจจะได้ข้อสรุปใน 2Q67 ก่อนหน้านี้คาดการณ์ไว้ว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกน่าจะได้ข้อสรุปใน 3Q67 พัฒนาการล่าสุดคือ ศาลปกครองสูงสุดได้เริ่มการพิจารณาคดีครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน และน่าจะได้เห็นคำตัดสินสุดท้ายหลังจากนี้ราว 1-2 เดือน 

 

เมื่ออิงกับคดีฟ้องร้อง 2 คดีก่อนหน้านี้และคำตัดสินของศาลปกครองกลางในคดีนี้ที่ตัดสินให้ รฟม. เป็นผู้ชนะ ซึ่งจะส่งผลดีต่อ BEM จึงมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ศาลปกครองสูงสุดน่าจะตัดสินให้ รฟม. เป็นผู้ชนะด้วยเช่นกัน และจะนำไปสู่การเซ็นสัญญาโครงการนี้ 

 

ซึ่งประเมินได้ว่าโครงการนี้จะเพิ่ม Upside ให้กับราคาเป้าหมายของ BEM ได้อีก 1.5 บาทต่อหุ้น ในกรณีเลวร้ายที่สุดที่การตัดสินล่าช้า คาดว่าจะมีผลกระทบต่อราคาหุ้นค่อนข้างจำกัด เนื่องจากราคาหุ้นปัจจุบันยังไม่ได้สะท้อน Upside จากโครงการนี้

 

ปัจจัยกระตุ้น 3: โครงการ Double Deck น่าจะเห็นความชัดเจนเร็วกว่าคาด อ้างอิงจากข่าวล่าสุดในหนังสือพิมพ์ รฟม. คาดว่าโครงการ Double Deck น่าจะเห็นความชัดเจนในเดือนมิถุนายน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การปรับลดค่าผ่านทางและการขยายสัมปทานทางด่วน อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบต่อราคาเป้าหมายในตอนนี้ได้เนื่องจากมีข้อมูลจำกัด ขณะที่เชื่อว่าโครงการนี้จะสร้าง NPV เป็นบวกให้กับบริษัท หากไม่เป็นเช่นนั้นบริษัทจะต้องชี้แจงเหตุผลกับผู้ถือหุ้น

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น BEM ปรับขึ้น 1.23% สู่ระดับ 8.20 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 0.60% สู่ระดับ 1,364.27 จุด 

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ

 

InnovestX Research ยังคงคำแนะนำ tactical call สำหรับ BEM ไว้ที่ Outperform โดยให้ราคาเป้าหมายอ้างอิงวิธี SOTP ที่ 9 บาทต่อหุ้น (8.3 บาทต่อหุ้น จากธุรกิจหลัก และ 0.7 บาทต่อหุ้นจากเงินลงทุนใน TTW และ CKP) ซึ่งราคาเป้าหมายยังไม่รวม Upside อีก 1.5 บาทต่อหุ้น จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก แม้เล็งเห็น Downside เล็กน้อยต่อประมาณการปี 2567 หลักๆ เกิดจากปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนใน 1Q67 ที่ต่ำกว่าคาด แต่ยังคงมุมมองเชิงบวก เนื่องจากปัจจัยบวกกระตุ้นเชิงบวกที่จะทยอยเข้ามาน่าจะมาชดเชยในส่วนนี้ได้ 

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ การฟื้นตัวของปริมาณผู้ใช้ทางด่วนที่ค่อนข้างช้าใน 1Q24 ความเสี่ยง ESG ที่สำคัญสำหรับ BEM คือความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้ทางด่วนและผู้โดยสาร MRT

The post BEM – ปัจจัยบวกอาจมาเร็วกว่าที่คาดไว้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจาะลึกสาเหตุเบื้องหลัง! เหตุผลที่ Honda e:N1 เลือก ‘ให้เช่า’ เริ่มต้น 29,000 บาท แทนการ ‘ขาย’ หรือต้องการหนีสงครามราคารถไฟฟ้าอันดุเดือด https://thestandard.co/honda-en1-29000-baht-lease/ Fri, 26 Apr 2024 12:11:01 +0000 https://thestandard.co/?p=927225

กลายเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความประหลาดใจให้แก่สาวกโลโก้ […]

The post เจาะลึกสาเหตุเบื้องหลัง! เหตุผลที่ Honda e:N1 เลือก ‘ให้เช่า’ เริ่มต้น 29,000 บาท แทนการ ‘ขาย’ หรือต้องการหนีสงครามราคารถไฟฟ้าอันดุเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>

กลายเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความประหลาดใจให้แก่สาวกโลโก้ H เมื่อฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) ตัดสินใจประกาศ ‘ไม่ขาย’ หลังการเปิดตัวสู่ตลาดของ Honda e:N1 รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ฮอนด้าขึ้นไลน์การประกอบในประเทศไทย โดยเปิดเป็นรูปแบบของการ ‘ให้เช่า’ เพียงอย่างเดียว 

 

การให้เช่าใช้ของ Honda e:N1 จะเป็นการที่ฮอนด้า ออโตโมบิล ปล่อยเช่าให้บริษัทผู้ให้เช่ารถยนต์ชั้นนำของไทย นำไปให้ลูกค้าเช่าช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งราคาค่าเช่าจะเริ่มต้นที่ประมาณ 29,000 บาท รวมประกันภัย ภาษี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วยเงื่อนไขการเช่าต่อเนื่องนานอย่างน้อย 48 เดือน โดยแต่ละบริษัทจะมีอัตราค่าเช่าที่แตกต่างกัน

 

เกิดอะไรขึ้นกับ Honda e:N1 โมเดลใหม่ล่าสุด ที่แบกความหวังว่าจะมาต่อกรกับรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์จีนได้บ้าง แต่เหตุใดกลับกลายเป็นว่า ‘ปล่อยเช่า’ แทน ‘การขาย’ เราจะลองวิเคราะห์ให้ฟัง 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ประการแรกสุดคือ เรื่องของต้นทุนการผลิต ที่ต้องบอกว่าค่ายญี่ปุ่นจะมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่าค่ายจากจีน ด้วยเงื่อนไขด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) และชิ้นส่วนที่มีต้นทุนสูงกว่า เพราะต้องพึ่งพาชิ้นส่วนจากผู้ผลิตจีน ซึ่งทางแบรนด์ญี่ปุ่นสั่งด้วยจำนวนที่น้อยกว่า จึงทำให้แม้ของจะเป็นชิ้นเดียวกัน แต่ต้นทุนจะแพงกว่า เช่น การสั่ง 100 ชิ้น กับ 1,000 ชิ้น ย่อมได้ราคาที่แตกต่างกัน 

 

ประการต่อมา ฮอนด้า ประเทศไทย ได้ยื่นเงื่อนไขขอรับการสนับสนุนตามโครงการสนับสนุนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐของไทย หรือ EV3.0 ดังนั้นจึงต้องมีการผลิตตามเงื่อนไขที่เซ็นสัญญากับภาครัฐเอาไว้ 

 

ซึ่ง ณ เวลาที่เข้าร่วมคือ ราว 2 ปีก่อนหน้า ที่ยังไม่เกิดสงครามราคาขึ้น โดยคาดว่าเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้เปิดรับจอง bZ4X แล้วมียอดจองถล่มทลาย ทำให้ฮอนด้า ประเทศไทย ตัดสินใจกระโดดเข้าร่วมโครงการ

 

 

แต่ต้องไม่ลืมว่า Toyota bZ4X เปิดขายด้วยราคา 1,836,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ได้รับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีเรียบร้อยแล้ว แต่ข้อมูลจากแหล่งข่าวเปิดเผยว่า มีจำนวนเพียงราว 10 คันเท่านั้น ที่จำหน่ายด้วยราคานี้ ส่วนคันอื่นๆ จำหน่ายด้วยราคาเต็มคือ 2 ล้านกว่าบาท 

 

เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นไม่ได้มีความซับซ้อน เพราะเมื่อค่ายรถนำเข้ารถมาจำหน่ายภายใต้การสนับสนุนจำนวนเท่าไร จะต้องผลิตคืนเท่านั้น เช่น สมมติจำหน่าย bZ4X ทั้งสิ้น 10 คัน โตโยต้าจะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใดก็ได้ 10 คันตามเงื่อนไข (โครงการนี้ไม่กำหนดรุ่นสำหรับการผลิตชดเชย)

 

ซึ่งบังเอิญว่าโตโยต้าผลิต Hilux Revo จำนวน 10 คัน และส่งมอบให้ทางเทศบาลเมืองพัทยา เพื่อเป็นโครงการนำร่องรถโดยสารสาธารณะประจำเมือง ดังข่าวก่อนหน้าที่ผู้บริหารโตโยต้าได้ประกาศไว้ โดยเงื่อนไขของการเข้าร่วมโครงการ EV3.0 แค่ผลิต ไม่จำเป็นต้องจำหน่าย 

 

ดังนั้นเมื่อฮอนด้าผลิต Honda e:N1ออกมาแล้ว หากคิดจะจำหน่าย จำต้องขายด้วยราคาที่ไม่แตกต่างจาก Toyota bZ4X เท่าใดนัก ดังนั้นเมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนไปจากสงครามราคาของแบรนด์จีน เมื่อฮอนด้าเริ่มต้นโครงการจนผลิตออกมาแล้วจึงย้อนกลับไม่ได้ จำต้องหาทางเลือกใหม่แทนการจำหน่ายคือ การให้เช่าใช้ ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของฮอนด้าภายใต้สงครามราคาเช่นนี้ 

 

 

ลองจินตนาการดูว่า หากฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) ตัดสินใจขาย Honda e:N1 ด้วยราคาจำหน่ายดังที่เราคาดหมายเอาไว้ ผลกระทบที่ตามมา คาดว่าจะต้องโดนกระแสของกลุ่มผู้บริโภคโจมตีว่าแพง และจำนวนที่ขายจะต้องได้น้อยกว่าที่ประเมินเอาไว้ก่อนเริ่มต้นไลน์การประกอบ 

 

ฉะนั้น ทางรอดหนึ่งเดียวของ Honda e:N1 จึงกลายมาเป็นการปล่อยให้เช่า เพราะหากคำนวณดูให้ดีๆ จะเห็นตัวเลขดังนี้ 

 

ค่าเช่าสมมติตัวเลขกลมๆ ที่ 30,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 48 เดือน จะเท่ากับ 1,440,000 บาท นั่นคือระยะเวลาเพียง 4 ปี และหากมีการเช่าถึง 5 ปี จะเท่ากับ 1,800,000 บาท ซึ่งก็จะใกล้เคียงกับราคาจำหน่ายที่แท้จริงที่เราคาดหมายเอาไว้ 

 

โดยตัวรถทั้งหมดที่ปล่อยเช่ายังคงเป็นทรัพย์สินของฮอนด้า ออโตโมบิล ฉะนั้นสุดท้ายหากฮอนด้าปล่อยเช่าได้ตามเป้าหมาย ฮอนด้าจะไม่เจ็บตัวจากโครงการนี้ 

 

นับว่าฮอนด้า ออโตโมบิล ตัดสินใจเลือกทางรอดได้อย่างเหมาะสม ไม่เข้าไปแข่งในช่วงเวลาที่สงครามราคากำลังรุนแรงอย่างนี้ สุดท้ายมาดูกันว่าจะมีผู้บริโภคเช่าใช้มากน้อยเพียงใด โดยการเช่านั้นเหมาะกับลูกค้าองค์กร และผู้ใช้ที่อยากลองแต่ไม่ต้องการใช้เงินจำนวนมากในการซื้อเป็นเจ้าของ

The post เจาะลึกสาเหตุเบื้องหลัง! เหตุผลที่ Honda e:N1 เลือก ‘ให้เช่า’ เริ่มต้น 29,000 บาท แทนการ ‘ขาย’ หรือต้องการหนีสงครามราคารถไฟฟ้าอันดุเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>
11 แบงก์ไทย ทำกำไรรวม 6.4 หมื่นล้านบาท โต 4.5% ในไตรมาส 1/67 https://thestandard.co/thai-banks-profit-q1-2024/ Fri, 26 Apr 2024 11:45:08 +0000 https://thestandard.co/?p=927220 Thai commercial bank

แบงก์พาณิชย์ไทย กำไรโตต่อเนื่อง หลังจากปี 2566 มีกำไรรว […]

The post 11 แบงก์ไทย ทำกำไรรวม 6.4 หมื่นล้านบาท โต 4.5% ในไตรมาส 1/67 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Thai commercial bank

แบงก์พาณิชย์ไทย กำไรโตต่อเนื่อง หลังจากปี 2566 มีกำไรรวม 2.38 แสนล้านบาท เติบโตจากปี 2565 ที่มีกำไรรวม 2.05 แสนล้านบาท สำหรับไตรมาสแรกของปีนี้ แบงก์ทั้ง 11 แห่งมีกำไรสุทธิรวม 63,961 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.50% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทั้ง 11 แบงก์มีรายได้จากการดำเนินงานรวม 2.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.50% จากปีก่อน 

 

โดยกสิกรไทยมีกำไรสูงสุดในไตรมาสแรกที่ 1.34 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.50% ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินทรัพย์รวม (NPL) ของแต่ละแบงก์อยู่ระหว่าง 2.27-4.20% โดยแบงก์ที่มี NPL ต่ำสุดคือ TISCO ส่วนไทยเครดิตเป็นแบงก์ที่มี NPL สูงสุด 4.2%

 

The post 11 แบงก์ไทย ทำกำไรรวม 6.4 หมื่นล้านบาท โต 4.5% ในไตรมาส 1/67 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ตลาดหลักทรัพย์รื้อเกณฑ์ครั้งใหญ่ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-ลากหุ้น’ | Wealth Alert https://thestandard.co/morning-wealth-26042024-4/ Fri, 26 Apr 2024 08:00:40 +0000 https://thestandard.co/?p=926998

ในภาวะตลาดหุ้นโลกผันผวน และส่งผลต่อตลาดหุ้นไทย รวมทั้งค […]

The post ชมคลิป: ตลาดหลักทรัพย์รื้อเกณฑ์ครั้งใหญ่ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-ลากหุ้น’ | Wealth Alert appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในภาวะตลาดหุ้นโลกผันผวน และส่งผลต่อตลาดหุ้นไทย รวมทั้งความเชื่อมั่นนักลงทุนที่ลดลง โดยเฉพาะรายย่อย ยามตลาดซบเซาและปัญหาบางส่วนที่เกิดขึ้นในตลาดทุน จึงนำมาสู่การยกระดับการกำกับดูแลครั้งใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมในหลายมิติ จะมีอะไรบ้างติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: ตลาดหลักทรัพย์รื้อเกณฑ์ครั้งใหญ่ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-ลากหุ้น’ | Wealth Alert appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ธนาคารกรุงเทพ’ แบงก์พาณิชย์แรก! ประกาศลดดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) 0.25% https://thestandard.co/bangkok-bank-interest-rate-reduction/ Fri, 26 Apr 2024 07:41:07 +0000 https://thestandard.co/?p=927110

หลังจากที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ […]

The post ‘ธนาคารกรุงเทพ’ แบงก์พาณิชย์แรก! ประกาศลดดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) 0.25% appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เชิญผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง หารือขอให้ช่วยพิจารณาเรื่องดอกเบี้ย

 

ล่าสุดธนาคารกรุงเทพตอบรับมาตรการของภาครัฐ ลดภาระทางการเงินของลูกค้า ประกาศปรับลด MRR ลง 0.25% มีผลวันที่ 29 เมษายน 2567 เป็นธนาคารแรก

 

โดยรายงานข่าวระบุว่า ตามที่สมาคมธนาคารไทย (TBA) เห็นถึงความจำเป็นในการออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบางในระหว่างที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และไม่ทั่วถึง ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% สำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคลและ SME เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และสนับสนุนการฟื้นตัว ปรับตัว ในช่วงที่กลไกตลาดกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่จุดสมดุลในระยะข้างหน้า ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล และสอดคล้องกับแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

ธนาคารกรุงเทพพร้อมที่จะตอบสนองต่อมาตรการของภาครัฐ และตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้า เพื่อลดภาระทางการเงินด้วยการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% มีผลตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2567 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้า ครอบคลุมทั้งลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ SME และลูกค้ารายย่อย ซึ่งรวมถึงกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ลูกค้าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ 

 

ดังนั้น การปรับลด MRR 0.25% ในครั้งนี้ จึงเป็นการเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของธนาคารที่จะช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการในระหว่างที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อีกทั้งยังเป็นการช่วยกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาพรวมในช่วงที่มีความเปราะบางทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ 

 

นอกจากนี้ ธนาคารยังมีโครงการช่วยเหลือลูกค้า SME ด้วยการให้สินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษภายใต้โครงการ ‘สินเชื่อบัวหลวงเพื่อการปรับตัวธุรกิจ (Bualuang Transformation Loan)’ วงเงินโครงการ 2 หมื่นล้านบาท โดยพิจารณาให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษคงที่ 5% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี ผู้ประกอบการที่สนใจ ทั้งลูกค้าปัจจุบันหรือลูกค้าใหม่ สามารถติดต่อสมัครสินเชื่อบัวหลวงเพื่อการปรับตัวธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 – 31 มกราคม 2568 (หรือเมื่อมีลูกค้าใช้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการ) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจ SME ในการฟื้นฟูธุรกิจและปรับตัวเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

The post ‘ธนาคารกรุงเทพ’ แบงก์พาณิชย์แรก! ประกาศลดดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) 0.25% appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไมเครื่องมือบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนถึงสำคัญกับธุรกิจนำเข้าและส่งออก https://thestandard.co/manage-exchange-rate-risk/ Fri, 26 Apr 2024 07:06:08 +0000 https://thestandard.co/?p=927050

ความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อการค้าและเศรษ […]

The post ทำไมเครื่องมือบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนถึงสำคัญกับธุรกิจนำเข้าและส่งออก appeared first on THE STANDARD.

]]>

ความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อการค้าและเศรษฐกิจทั่วโลก ก็คือวิกฤตทะเลแดง หรือ Red Sea ที่ยังคงตึงเครียดอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยวิกฤตนี้เกิดขึ้นจากลุ่มกบฏฮูตีในเยเมน ได้ก่อเหตุโจมตีเรือบรรทุกสินค้าในทะเลแดง ส่งผลให้ซัพพลายเชนโลกหยุดชะงัก และทำให้บรรดาบริษัทขนส่งทางเรือ หรือ Shippers รายใหญ่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น MSC, Hapag-Lloyd, CMA, CGM, Yang Ming Marine Transport, Evergreen, Maersk รวมไปถึง BP บริษัทน้ำมันระดับโลก ต้องปรับแผนเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือใหม่

 

เช่นเดียวกับประเทศไทยก็อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของการค้าโลกนี้ อีกทั้งยังใช้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าผ่านไปยังยุโรป

 

จึงเป็นเหตุให้ผู้ส่งออก-นำเข้าทั้งหลาย ต้องเร่งหาวิธีการรับมือกับความไม่แน่นอนสูงจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสงครามที่กล่าวถึงข้างต้น ยังไม่รวมถึงเงินเฟ้อ หรืออัตราดอกเบี้ย ที่ล้วนมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน และสร้างความเสี่ยงให้กับธุรกิจที่มีการนำเข้าและส่งออกอยู่ตลอดเวลา และถึงแม้ว่าธุรกิจจะไม่สามารถควบคุมความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ แต่ก็สามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะสมกับธุรกิจตัวเอง เพื่อให้ธุรกิจได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

 

แล้วหากเกิดคำถามว่า ทำไมการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินถึงมีความสำคัญ และจะคุ้มค่าหรือไม่? เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบข้างต้น เราขอพาคุณไปทำความรู้จักกับเครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน 2 รูปแบบ ได้แก่ FX Forward และ FX Option ซึ่งเป็นโซลูชันที่พัฒนาเพื่อ ตอบโจทย์ต่อความต้องการของธุรกิจได้อย่างตรงจุดจาก SCB SME

 

สำหรับไฮไลต์ของเครื่องมือ FX Forward เป็นสัญญาที่ทำเพื่อซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับธุรกิจนำเข้าส่งออกที่ต้องการล็อกเรตอัตราแลกเปลี่ยน โดยมีกำหนดส่งมอบมากกว่า 2 วันทำการขึ้นไป

 

ข้อดีคือสามารถรับรู้รายได้และรายจ่ายเป็นค่าเงินบาทได้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญา ยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดมากขึ้นก็คือ ไม่ว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเกิดสถานการณ์ใดๆก็ตามที่ทำให้ธุรกิจ ต้องเจอภาวะที่ต้นทุนสูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนก็จะเท่าเดิม หรือจะเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการล็อกเรตให้ค่าเงินคงที่ในช่วงระยะเวลาที่สัญญามีผล แต่มีข้อจำกัดคือต้องมีวงเงินสินเชื่อ FX Forward กับธนาคารก่อน

 

ขณะที่ไฮไลต์ของเครื่องมือ FX Option เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน สามารถล็อกอัตราแลกเปลี่ยน โดยมีข้อดีคือสามารถเลือกที่จะใช้สิทธิ์หรือไม่ใช้สิทธิ์ของ FX Option ได้ และช่วยลดต้นทุนหรือเพิ่มผลตอบแทนโดยใช้ประโยชน์จากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต

 

อีกทั้งไม่จำเป็นต้องมีวงเงินสินเชื่อ FX Forward กับธนาคาร แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสิทธิ์ (Premium) อย่างไรก็ตามผู้นำเข้าส่งออกสามารถเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับธุรกิจ หรือจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ SCB SME ที่จะเข้ามาดูแลทั้ง 2 เครื่องมือดังกล่าว ซึ่งผู้นำเข้าส่งออกจะได้เอาเวลาที่เหลือไปทุ่มเทกับการสร้างกำไรเพื่อให้เติบโตไปพร้อมกับธนาคาร

 

The post ทำไมเครื่องมือบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนถึงสำคัญกับธุรกิจนำเข้าและส่งออก appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนผ่อนบ้านเฮ! ธอส. ลดดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อย MRR 0.25% มีผล 1 พ.ค. นี้ https://thestandard.co/gho-mortgage-rate-reduction/ Fri, 26 Apr 2024 07:00:09 +0000 https://thestandard.co/?p=927073

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ขานรับนโยบายรัฐบาล ช่วยลดภา […]

The post คนผ่อนบ้านเฮ! ธอส. ลดดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อย MRR 0.25% มีผล 1 พ.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ขานรับนโยบายรัฐบาล ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้า ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR 0.25% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

 

วันนี้ (26 เมษายน) กมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า สมาคมสถาบันการเงินของรัฐมีมติร่วมกันให้สถาบันการเงินสมาชิกปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายรัฐบาลของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและลูกค้ากลุ่มเปราะบาง 

 

โดย ธอส. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) 0.25% ต่อปี จากเดิม 6.795% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.545% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

 

เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้ากว่า 1.8 ล้านบัญชี รวมถึงลูกค้ากลุ่มผู้มีรายได้น้อยและลูกค้ากลุ่มเปราะบางให้มีเงินเหลือเพียงพอในการดำรงชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

 

นอกจากนี้ ธอส. ยังพร้อมสนับสนุนการออมภาคประชาชนให้มีวินัยทางการเงินเพิ่มมากขึ้น ด้วยการเพิ่มทางเลือกในการออมเงินที่ได้รับผลตอบแทนสูง จึงได้จัดทำผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์ ‘เก็บออม’ เพียงเปิดบัญชีเงินฝากขั้นต่ำ 500 บาทขึ้นไป และมีวงเงินฝากคงเหลือไม่เกิน 200,000 บาท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 1.95% ต่อปี (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด) พิเศษ! ดอกเบี้ยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากปีละ 2 ครั้ง (29 มิถุนายน และ 29 ธันวาคม) 

 

ผู้ที่สนใจสามารถเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ‘เก็บออม’ ได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม – 30 ธันวาคม 2567 หรือจนกว่าจะเต็มกรอบวงเงินโครงการ ณ สาขาธนาคารทั่วประเทศ

The post คนผ่อนบ้านเฮ! ธอส. ลดดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อย MRR 0.25% มีผล 1 พ.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>