World Development Report 2024 – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 02 Jan 2025 09:30:09 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 วีระยุทธเสนอแนวคิด รัฐต้องออกนโยบายกระตุ้นการแข่งขันระหว่างเจ้าตลาดกับหน้าใหม่ ใช้ความสามารถแทนคอนเน็กชันการเมือง https://thestandard.co/veerayooth-policy-market-competition/ Thu, 02 Jan 2025 09:30:09 +0000 https://thestandard.co/?p=1026520

วานนี้ (1 มกราคม) วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร รองหัวหน้าพรรคป […]

The post วีระยุทธเสนอแนวคิด รัฐต้องออกนโยบายกระตุ้นการแข่งขันระหว่างเจ้าตลาดกับหน้าใหม่ ใช้ความสามารถแทนคอนเน็กชันการเมือง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (1 มกราคม) วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร รองหัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวในหัวข้อ ‘การเมืองและสังคมในกับดักรายได้ปานกลาง’ 

 

โดยหยิบยกประเด็นจากรายงาน World Development Report 2024 ฉบับล่าสุดของธนาคารโลกที่วิเคราะห์ให้เห็นว่า อุปสรรคในการก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางไม่ได้มีแค่เรื่องเศรษฐกิจ ถ้าไม่กล้าจัดการปม ‘การเมือง’ และ ‘สังคม’ อย่างตลาดผูกขาด บทบาทรัฐวิสาหกิจ การใช้คอนเน็กชันของชนชั้นนำที่กีดกันคนเก่ง รวมถึงระบบชายเป็นใหญ่ ก็ยากที่จะหลุดพ้นไปเป็นประเทศรายได้สูง โดยแบ่งออกเป็น 8 หัวข้อ ดังนี้

 

1. การแยก ‘การเมือง’ ออกจาก ‘เศรษฐกิจ’ อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นก่อนเคยทำ หรือความเชื่อว่าการเมืองจะเป็นอย่างไรไม่สำคัญ ขอให้นโยบายดี เศรษฐกิจก็จะดีเอง กลายเป็นสิ่งที่ขัดกับโลกความเป็นจริงไปแล้ว เพราะมีข้อมูลชัดเจนว่า ประเทศไหนยิ่งมีเสรีภาพทางการเมืองต่ำก็จะยิ่งทำให้อัตราการเติบโตต่ำไปด้วย

 

2. การเพิ่มเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศรายได้ปานกลาง จะไม่ได้ผลเหมือนกับตอนที่ประเทศยังยากจนอยู่ เพราะการพัฒนาต่อไปอีกขั้นเป็นเรื่องของการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากระจายและต่อยอดในประเทศ จึงเกี่ยวพันแนบแน่นกับแนวทางการจัดสรรทรัพยากร บทบาทของเจ้าตลาด และโอกาสของคนเก่ง 

 

3. ในรายงานนี้ใช้คำว่า Incumbent เยอะมาก (ในรายงาน 241 หน้า พบคำนี้ถึง 220 ครั้ง) ภาษาอังกฤษหมายถึงผู้อยู่มาก่อน แต่ขอแปลว่า ‘เจ้าตลาด’ น่าจะเข้าใจง่าย โดยเจ้าตลาดในรายงานนี้สะท้อนมิติทั้งทางเศรษฐกิจ (บริษัทธุรกิจ) การเมือง (นักการเมือง) และสังคม (ชนชั้นนำ) เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอปลายทางว่า อย่างไรก็ต้องมีนโยบายจัดการกับเจ้าตลาด เศรษฐกิจถึงจะไปต่อได้

 

4. ตามแนวคิดชุมเพเตอร์แบบดั้งเดิม นวัตกรรมจะเกิดได้ก็ต้องอาศัย ‘การทำลายล้างที่สร้างสรรค์’ ที่ผู้เล่นหน้าใหม่ใช้สู้กับเจ้าตลาดเดิม เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลมาแทนที่กล้องฟิล์มจนทำให้โกดักล่มสลาย แต่ในงานวิจัยใหม่ๆ พบว่าเจ้าตลาดเดิมก็สามารถเป็นผู้สร้างสรรค์ได้เช่นกัน หากใช้ความได้เปรียบจาก ‘ขนาดการผลิต’ (Scale) ที่มีอยู่ในมือให้เกิดประโยชน์ แต่เจ้าตลาดจะใช้หรือไม่ใช้นั้นเป็นเรื่องทางการเมืองว่ารัฐจะสามารถจูงใจหรือบังคับให้เจ้าตลาดแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ได้หรือไม่ 

 

5. ปัญหาร่วมกันของประเทศรายได้ปานกลางก็คือ เจ้าตลาดมักไม่ได้ทะเยอทะยานที่จะพัฒนาตัวเองให้เข้าใกล้ ‘ขอบฟ้าเทคโนโลยี’ (Technology Frontier) ในธุรกิจของตัวเอง แต่เลือกใช้คอนเน็กชันทางการเมืองของตัวเองในการกีดกันการแข่งขันจากผู้เล่นหน้าใหม่ 

 

ตัวอย่างที่น่าสนใจและตกใจคือประเทศอิตาลี งานศึกษาพบว่า บริษัทอิตาลียิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะมีลักษณะ 2 อย่างตามมา หนึ่งคือจะยิ่งจ้างนักการเมืองท้องถิ่นจำนวนเพิ่มขึ้น และสองคือจะมีจำนวนสิทธิบัตรน้อยลง 

 

พูดอีกอย่างก็คือ ยิ่งเป็นบริษัทใหญ่ก็ยิ่งมีคอนเน็กชันการเมืองเพิ่ม และยิ่งไม่สนใจพัฒนาเทคโนโลยี เป็นตัวอย่างด้านลบจากประเทศตะวันตก อันที่จริงนับว่าดีแล้วที่อิตาลียังมีข้อมูลนี้ให้มาวิเคราะห์ต่อ เพราะหลายประเทศไม่มีข้อมูลด้วยซ้ำ

 

6. โจทย์สำคัญทางนโยบายก็คือ แล้วรัฐจะจัดการ ‘เจ้าตลาด’ เหล่านี้อย่างไร เจ้าตลาดในรายงานนี้ยังรวมถึงรัฐวิสาหกิจด้วย เพราะมักเป็นผู้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในตลาดที่ได้เปรียบอยู่แล้ว 

 

โดยรายงานนี้ให้ความสำคัญกับหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขัน (Competition Authority) ที่ทวีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีหน้าที่อนุมัติหรือห้ามปรามการควบรวมกิจการของบริษัทใหญ่ พฤติกรรมการฮั้วหรือเอาเปรียบรายย่อย ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงก็คือการ ‘ส่งสัญญาณ’ ให้กับผู้เล่นหน้าใหม่ทั้งจากในและนอกประเทศที่เก่งกว่าว่าอยากเข้ามาแข่งขันเพื่อยกระดับสินค้าและบริการแค่ไหน หรือหนีไปลงทุนที่อื่นแทนดีกว่า เพราะไม่ต้องมาเสี่ยงสู้กับเจ้าตลาดผู้มีคอนเน็กชัน

 

7. นอกจากการกำกับดูแลการแข่งขันแล้ว โจทย์อีกข้อของประเทศรายได้ปานกลางคือ ต้องทำให้ความรู้ความสามารถเป็นหลักพื้นฐานในการจ้างงานและเลื่อนสถานะทางสังคม เพราะระบบที่ให้รางวัลกับคนเก่ง (Rewarding Merit) ย่อมสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาระดับปัจเจก ส่งผลดีต่อการพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยีสืบเนื่องตามมา

 

ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ในความเป็นจริง ตลาดแรงงานในประเทศรายได้ปานกลางมักถูกบิดเบือนด้วยปัจจัย 3 อย่าง คือ เส้นสาย ภูมิลำเนา และค่านิยมชายเป็นใหญ่ หรือที่รายงานสรุปเป็น 3Ns คือ Networks, Neighborhoods และ Norms

 

คนเก่งที่ไม่ก้าวหน้าในสังคมแบบนี้ ย่อมมองหาโอกาสในต่างแดน ทำให้เกิดสภาวะสมองไหล ส่วนบริษัทเจ้าตลาดที่จ้างงานด้วยเส้นสายก็ใช้คอนเน็กชันการเมืองปกป้องการแข่งขันไว้ต่อไป 

 

8. ในปัจจุบัน การออกแบบนโยบายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันที่สร้างสรรค์ระหว่างเจ้าตลาดและผู้เล่นหน้าใหม่ จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูลที่ละเอียดระดับองค์กร (Firm-Level Data) ที่จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายเข้าใจพฤติกรรมขององค์กรในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น บริษัทลักษณะใดที่เน้นตลาดส่งออก บริษัทแบบไหนเน้นตลาดภายใน และบริษัทแบบไหนที่มีการจดสิทธิบัตรเป็นจุดแข็ง 

 

“ประโยคนี้ในรายงาน (หน้า 20) น่าจะสรุปประเด็นสังคมและการเมืองของกับดักรายได้ปานกลางได้ดีครับ By preserving privilege, it is stymying creation. อภิสิทธิ์กับความคิดสร้างสรรค์ไปด้วยกันไม่ได้” วีระยุทธทิ้งท้าย

The post วีระยุทธเสนอแนวคิด รัฐต้องออกนโยบายกระตุ้นการแข่งขันระหว่างเจ้าตลาดกับหน้าใหม่ ใช้ความสามารถแทนคอนเน็กชันการเมือง appeared first on THE STANDARD.

]]>