We Are Social – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 06 Mar 2024 11:09:46 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ออนไลน์ = ชีวิต! คนไทยติดเน็ต 88% ใช้เวลา 7.58 ชม./วัน สรุปเทรนด์ปี 2024 ของไทยไปทางไหนบ้าง? https://thestandard.co/digital-2024-thailand-report/ Tue, 27 Feb 2024 13:18:41 +0000 https://thestandard.co/?p=904943 เทรนด์ ออนไลน์ 2024

การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนฝูง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน […]

The post ออนไลน์ = ชีวิต! คนไทยติดเน็ต 88% ใช้เวลา 7.58 ชม./วัน สรุปเทรนด์ปี 2024 ของไทยไปทางไหนบ้าง? appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทรนด์ ออนไลน์ 2024

การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนฝูง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน ไปจนถึงการเลือกช้อปปิ้ง ทำธุรกรรม หรือหาอาชีพใหม่ๆ กิจกรรมเหล่านี้ในปัจจุบันนั้นเรียกได้ว่ามันยากมากๆ ที่เราจะไม่ทำผ่านช่องทางดิจิทัลเลย ดังนั้นธุรกิจจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าที่ผันตัวมาสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น

 

THE STANDARD WEALTH จึงสรุปข้อมูลอินไซต์สำคัญต่างๆ จากรายงาน ‘Global Digital Report’ ประจำปี 2024 ที่จัดทำโดย We Are Social ร่วมกับ Meltwater ซึ่งครอบคลุมกว่า 230 ประเทศทั่วโลก และจะเน้นไปที่ข้อมูลของประเทศไทย เพื่อให้เราพอเห็นภาพพฤติกรรมของคนไทยบนโลกออนไลน์ได้อย่างชัดเจนขึ้น

 

1 ใน 3 ของเวลาทั้งวันกับการท่องอินเทอร์เน็ต

 

ก่อนที่จะเข้าสู่อินไซต์เทรนด์ดิจิทัล เรามาดูข้อมูลภาพรวมของประเทศไทยกันก่อน ไทยเรามีประชากรทั้งหมดราว 71.85 ล้านคน จากข้อมูลของรายงาน โดยสัดส่วนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยทั้งหมดอยู่ที่ 88% หรือประมาณ 63.2 ล้านคน

 

พูดถึงเรื่องอินเทอร์เน็ต เรามาดูกันสักหน่อยว่าพวกเราคนไทยในปีที่ผ่านมาใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างไรบ้าง

 

ขอเริ่มจากพฤติกรรมโดยรวม คือคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 7.58 ชั่วโมงต่อวัน ลดลง 7 นาทีจากปีที่แล้ว แต่ยังคงเป็นช่วงเวลาที่ยาวประมาณ 1 ใน 3 ของเวลาทั้งวัน พวกเรานิยมใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด โดยมีเวลาการใช้งานบนเครื่องมือนี้ถึง 5.02 ชั่วโมง และส่วนที่เหลือ 2.56 ชั่วโมงจะเป็นการใช้งานบนคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต

 

พฤติกรรมการเสพสื่อของคนไทยในยุคดิจิทัลอินเทอร์เน็ตก็กำลังเปลี่ยนไป โดยวิธีการเสพสื่อที่นิยมมากที่สุดก็คือการดูคอนเทนต์สตรีมมิง 3.23 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2.31 ชั่วโมง ตามด้วยการอ่านข่าวสาร (ทั้งออนไลน์และสิ่งพิมพ์) 2.20 ชั่วโมง แต่สิ่งที่คนทำน้อยสุดคือฟังวิทยุ ซึ่งมีเวลาของการอยู่บนแพลตฟอร์ม 43 นาที ลดลงมา 9.9% จากปี 2023

 

ผลสำรวจยังตั้งคำถามกับคนไทยด้วยว่าพวกเขาใช้งานอินเทอร์เน็ตไปทำไม

 

ปัจจัยหลัก 3 ข้อที่ทำให้เราหันมาหาอินเทอร์เน็ตคือ

 

  1. การค้นหาข้อมูล
  2. การตามข่าว
  3. การเสพสื่อบันเทิงต่างๆ

 

 

เสิร์ชเอนจินที่คนไทยใช้งานมากที่สุดยังคงเป็น Google ที่มีสัดส่วนตลาดของไทยที่ 98% ทิ้งห่าง Bing ของ Microsoft อย่างแทบไม่ติดฝุ่นถึง แม้ว่า Bing จะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นจากการมาของ Copilot หรือแชตบอตตัวเอกของ Microsoft ที่หวังจะฟื้นฟู Bing แต่ยังถือว่าห่างไกลเมื่อเทียบกับ Google หากดูในบริบทของประเทศไทย

 

ชาวไทยใช้โซเชียลเพื่อติดต่อเพื่อน-ครอบครัว และหาความบันเทิง

 

ในฝั่งของโซเชียลมีเดียต่างๆ ประเทศไทยมีบัญชีการใช้งานโซเชียลมีเดียทั้งหมด 49.1 ล้านบัญชี ซึ่งเพิ่มขึ้น 1 ล้านบัญชีจากปี 2023 แต่ทางรายงานมีระบุเตือนให้ระมัดระวังการทำความเข้าใจของตัวเลขดังกล่าว ว่าจำนวนบัญชีทั้งหมดมิได้หมายถึงจำนวนของผู้ใช้งานแบบหนึ่งคนต่อหนึ่งบัญชี เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บมาจากหลายแหล่งที่มา

 

จาก 49.1 ล้านบัญชี คนไทยใช้เวลาในแต่ละวันไปกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเฉลี่ยราว 2.31 ชั่วโมงต่อวัน โดยแพลตฟอร์มยอดนิยมยังคงเป็น Facebook ตามมาด้วย LINE และ TikTok ที่อันดับ 3 

 

 

อย่างไรก็ตาม พอเราเปลี่ยนจากการพูดถึงเรื่องความถี่หรือบ่อยในการใช้งาน ให้มาเป็นเรื่องของความชอบ รายงานพบว่า ผู้คนกลับชอบใช้ TikTok มากกว่า LINE และเมื่อถามถึงสาเหตุการใช้โซเชียลมีเดีย ‘การติดต่อและติดตามเพื่อนกับครอบครัว’ คือเหตุผลอันดับแรกที่ผู้ใช้งานบอกว่าทำไมเขาถึงใช้เวลากับมัน 

 

ต่อมาในเหตุผลอันดับที่ 2 เป็นเรื่องของ ‘การติดตามข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆ’ และอีกเหตุผลคือการใช้โซเชียลมีเดียเป็น ‘เครื่องมือหาอะไรทำยามที่เวลาว่าง’ ซึ่งคนที่เลือกใช้โซเชียลมีเดียเพื่อหาอะไรทำตอนมีเวลาเหลือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 คนไทยทั้งหมด

 

 

Facebook

 

มาดูแบบรายตัวกันบ้าง โดยจะเริ่มจากแพลตฟอร์มที่นิยมมากที่สุดอย่าง Facebook ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน 49.1 ล้านบัญชี และอัตราการเข้าถึงของโฆษณาที่ครอบคลุมถึง 68.3% ของคนไทย แต่ถ้าหากจะประเมินจากฐานของกลุ่มคนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ การโฆษณาของ Facebook สามารถเข้าถึงคนไทยได้กว่า 77.7% ทั่วประเทศ

 

YouTube

 

ในฟากของ YouTube รายงานพบว่า จำนวนผู้ใช้งาน 43.9 ล้านคน และมีอัตราการเข้าถึงโฆษณาที่ 61.5% ของคนไทยทั้งหมด และอีกหนึ่งอินไซต์ที่น่าสนใจคือคนไทยส่วนมากเป็นคนรัก ‘ความสนุกและความบันเทิง’ เนื่องจากคำที่ใช้ค้นหาวิดีโอใน YouTube เป็น 5 อันดับแรกล้วนมีเนื้อหาที่เน้นไปในทางผ่อนคลาย ได้แก่

 

  1. เพลง
  2. หนัง
  3. เกม
  4. ผี
  5. การ์ตูน

 

TikTok

 

อีกหนึ่งตัวเลือกที่คนไทยหลายคนชื่นชอบ โดยคนไทย 44.38 ล้านคนเป็นผู้ใช้งาน TikTok ซึ่งมีอัตราการเข้าถึงโฆษณาของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น 10.2% จากปีที่แล้ว หรือถ้าเทียบเป็นตัวเลขก็คือเพิ่มมากว่า 4 ล้านคน

 

Instagram

 

ในประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Instagram จำนวน 18.75 ล้านคน แต่ก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เติบโตเร็วจากปี 2023 ในแง่ของการเข้าถึงโฆษณา ซึ่งโตเพิ่มขึ้นถึง 8.1%

 

สำหรับแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น X (Twitter) มียอดผู้ใช้งาน 14.68 ล้านคน, Facebook Messenger 35.55 ล้านคน และ LinkedIn ที่ 5 ล้านคน โดย LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มเดียวที่มีสัดส่วนผู้ใช้งานทั้งชายและหญิงในสัดส่วนที่เท่ากันแบบ 50:50

 

เนื้อหานี้เป็นเพียงสรุปบางส่วนของรายงานทั้งหมด ซึ่งรายงานฉบับเต็มยังมีข้อมูลอีกหลายหมวดอุตสาหกรรมธุรกิจ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับ Digital Marketing ที่ตามอ่านและศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายงาน DIGITAL 2024: THAILAND โดยตรง 

 

ภาพ: Pictures from History / Universal Images Group via Getty Images, Digital Reportal

อ้างอิง:

The post ออนไลน์ = ชีวิต! คนไทยติดเน็ต 88% ใช้เวลา 7.58 ชม./วัน สรุปเทรนด์ปี 2024 ของไทยไปทางไหนบ้าง? appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนไทยใช้โมบายแบงกิ้งที่ 1 ของโลก K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมปี 64 พุ่ง 24,600 ล้านรายการ https://thestandard.co/k-plus-become-number-one-thai-users/ Thu, 11 Feb 2021 08:23:05 +0000 https://thestandard.co/?p=453246 คนไทยใช้โมบายแบงกิ้งที่ 1 ของโลก K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมปี 64 พุ่ง 24,600 ล้านรายการ

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ใ […]

The post คนไทยใช้โมบายแบงกิ้งที่ 1 ของโลก K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมปี 64 พุ่ง 24,600 ล้านรายการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนไทยใช้โมบายแบงกิ้งที่ 1 ของโลก K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมปี 64 พุ่ง 24,600 ล้านรายการ

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในปี 2563 คนไทยทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงกิ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก คิดเป็น 68.1% ต่อเดือน ซื้อสินค้าอีคอมเมิร์ซผ่านสมาร์ทโฟนเป็นอันดับ 2 ของโลก คิดเป็น 74% และมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก เฉลี่ย 5 ชั่วโมง 7 นาทีต่อวัน (ข้อมูลจาก We Are Social และ Hootsuite)  

 

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน K PLUS ของธนาคาร ที่ตั้งเป้าเป็น ‘Digital Lifestyle Ecosystem’ ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ลูกค้าทำธุรกรรมในชีวิตประจำวัน โดยปี 2563 มีผู้ใช้งานรวม 14.4 ล้านราย มีจำนวนธุรกรรมรวมทุกประเภท 14,500 ล้านรายการ เติบโต 71% ซึ่งเฉลี่ยแล้วมีลูกค้าใช้งาน K PLUS วันละ 5 ล้านรายต่อวัน 

 

โดยมีฟีเจอร์ที่เติบโตสูง ได้แก่ 1. K+ market มีการใช้งานเพิ่มขึ้น 150% 2. ฟีเจอร์ Wealth PLUS ซึ่งจะจัดพอร์ตกองทุนรวมให้อัตโนมัติ มีการใช้งานเพิ่มขึ้น 220% จากที่เปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม 2563 3. ฟีเจอร์โอนเงินไปต่างประเทศ ในเดือนธันวาคม 2563 มีการใช้งานเพิ่มขึ้น 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4. การใช้ K PLUS QR Code มีจำนวนรายการเพิ่มขึ้น 125% จากปีก่อน 

 

อย่างไรก็ตาม ปี 2564 นี้ ทางธนาคารตั้งเป้าหมายมีผู้ใช้งาน K PLUS รวม 17.5 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมทั้งหมดผ่าน K PLUS มากกว่า 24,600 ล้านรายการ

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

The post คนไทยใช้โมบายแบงกิ้งที่ 1 ของโลก K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมปี 64 พุ่ง 24,600 ล้านรายการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ชอบความสะดวกแต่หลงรักความยั่งยืน’ เปิด 5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคไทยน่าสนใจจาก Google Search https://thestandard.co/5-trend-from-google-search/ Fri, 13 Mar 2020 02:09:22 +0000 https://thestandard.co/?p=340709

ข้อมูลจากรายงาน Digital 2020 โดย We Are Social และ Hoot […]

The post ‘ชอบความสะดวกแต่หลงรักความยั่งยืน’ เปิด 5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคไทยน่าสนใจจาก Google Search appeared first on THE STANDARD.

]]>

ข้อมูลจากรายงาน Digital 2020 โดย We Are Social และ Hootsuite ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยกว่า 50 ล้านคน ในจำนวนนี้เชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ 95% และมีอัตราการใช้งานบนมือถือเฉลี่ยต่อวันสูงเป็นอันดับสองของโลกที่ 4 ชั่วโมง 57 เป็นรองแค่ฟิลิปปินส์เท่านั้น

 

หนึ่งในแพลตฟอร์มเสิร์ชเอนจินยอดนิยมที่มีผู้ใช้งานสูงเป็นลำดับต้นๆ คือ ‘Google’ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงได้จัดทำรายงาน ‘Year in Search Thailand: Insights for Brands 2020 Report’ เพื่อเปิดเผย 5 เทรนด์น่าสนใจจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี 2019 ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

1.เศรษฐกิจดิจิทัลขยายตัวโตต่อเนื่องในต่างจังหวัด: Google พบว่าผู้บริโภคในต่างจังหวัดมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมูลค่าการใช้จ่ายบนอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคกลุ่มนี้เติบโตเร็วกว่าผู้บริโภคในเขตเมืองหลักและโดยรอบถึง 2 เท่า

 

โดยข้อมูลที่น่าสนใจคือ ปริมาณการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับยานยนต์ อาหาร และของใช้กว่า 80% มาจากผู้บริโภคในต่างจังหวัด ปริมาณการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าความงาม และการดูแลตัวเองกว่า 75% มาจากผู้บริโภคในต่างจังหวัด

 

2.ธุรกิจ on-demand กำลังเติบโต คนไทยนิยมความสะดวกสบาย: ปริมาณความคาดหวังของผู้บริโภคชาวไทยยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทุกวันนี้ผู้บริโภคต่างคาดหวัง ‘ความสะดวกสบาย’ จากทุกธุรกิจที่ติดต่อและทำธุรกรรมด้วย สะท้อนจากปริมาณการค้นหาบริการเรียกรถออนไลน์ และบริการส่งของที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 127% และ 85% ตามลำดับ

 

นอกจากนี้ผู้บริโภคยังต้องการการตอบสนองแบบตรงจุดหรือ Personalization เห็นได้จากการค้นหาสินค้าบน Google Search ที่มีความ ‘เฉพาะเจาะจง’ และตรงกับ ‘ความต้องการส่วนตัว’ มากขึ้น เช่น ปริมาณการค้นหา ‘คอนโด ตลาดพลู’ และรองเท้าวิ่งผู้ชายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 245% และ 127% ตามลำดับ

 

3.ไม่มีออฟไลน์หรือออนไลน์ ยุคนี้ต้อง ‘Omni-Channel’: นักการตลาดในวันนี้อาจจะต้องมองพฤติกรรมผู้บริโภคในมุม Journey ให้เป็น ‘Omni-Channel’ ไม่ใช่แค่ออนไลน์หรือแค่ออฟไลน์อีกต่อไป เพราะการใช้งาน Google Search ล้วนแล้วแต่มีผลกับการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ทั้งสิ้น

 

ตัวอย่างเช่น 1 ใน 5 ของผู้บริโภคชาวไทย จะใช้ Google Search ค้นหาข้อมูล ขณะตัดสินใจซื้อสินค้าที่หน้าร้าน รีวิวเกี่ยวกับรถยนต์ บ้าน และกล้อง ถูกค้นหามากที่สุดบน YouTube ส่วนการค้นหาระหว่างเดินทางมีการค้นหาคำว่า ‘ใกล้ฉัน’ เติบโตขึ้นเป็นอย่างมากในทุกหมวดหมู่ประเภท ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการใช้งาน Google Search กับการซื้อสินค้า และบริการที่เน้นความสะดวกสบาย ใกล้ตัว

 

4.ไทยกำลังก้าวสู่สังคมไร้เงินสด: จากปัจจัยการเข้าถึงด้วยสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น ความมีเสถียรภาพของธุรกรรมออนไลน์ ความไว้วางใจของผู้บริโภค และการสนับสนุนจากภาครัฐ ล้วนแล้วแต่เป็นตัวกระตุ้นให้ไทยมุ่งหน้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็ว 

 

โดยในช่วงปี 2019 ผู้ใช้งานมีการค้นหาข้อมูล ‘บัตรเครดิต’ และบัตรเดบิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.3 เท่า ซึ่งผู้บริโภคยังใช้ Google Search เมื่อเจอปัญหาในการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินออนไลน์ โดยปัญหาที่ผู้บริโภคพบบ่อยที่สุดในการใช้แอปฯ ธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ วิธีสมัคร เปลี่ยนเบอร์ และใช้ไม่ได้

 

5.ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน: ผู้บริโภคชาวไทยจำนวนมากหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรักษาสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน โดยมีการค้นหาข่าว และกฎระเบียบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น

 

เช่น มีการค้นหาข้อมูล ‘PM2.5’ และหน้ากาก N95 เพิ่มขึ้น 100 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน การค้นหาข้อมูลรถยนต์ไฟฟ้า สกูตเตอร์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 250% เช่นเดียวกับการหาข้อมูลการบริโภคและอุปโภคแบบ Vegan ที่เพิ่มขึ้น 104%

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ‘ชอบความสะดวกแต่หลงรักความยั่งยืน’ เปิด 5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคไทยน่าสนใจจาก Google Search appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไม ‘เสก โลโซ’ ครองเรตติ้งถล่มทลาย วิเคราะห์คอนเทนต์ที่เลือกใช้ และอุปนิสัยการใช้งานโซเชียลมีเดียไทย https://thestandard.co/sek-loso-facebook-live-thai-social-media-behaviors/ https://thestandard.co/sek-loso-facebook-live-thai-social-media-behaviors/#respond Sun, 19 Aug 2018 13:18:17 +0000 https://thestandard.co/?p=114806

ในวันที่เราเสพสื่อกันด้วยวิธีที่ต่างไปจากเดิม ศิลปินดาร […]

The post ทำไม ‘เสก โลโซ’ ครองเรตติ้งถล่มทลาย วิเคราะห์คอนเทนต์ที่เลือกใช้ และอุปนิสัยการใช้งานโซเชียลมีเดียไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในวันที่เราเสพสื่อกันด้วยวิธีที่ต่างไปจากเดิม ศิลปินดาราเองก็ต้องปรับตัว เพื่อให้เข้ากับสังคมในยุคนั้นๆ เพื่อความอยู่รอด และยังคงสภาพให้ตัวเองอยู่ในกระแสได้นานขึ้น เช่นเดียวกับนักร้อง-นักแต่งเพลงในตำนานอย่าง เสก โลโซ หรือเสกสรรค์ ศุขพิมาย ที่เดินทางเข้ามาอยู่ในวงการดนตรีตั้งแต่ปี 2539 และแม้เวลาผ่านไปถึง 21 ปี ถ้าพูดถึงชื่อ เสก โลโซ ตอนนี้ทุกคนต้องรู้จัก เพราะเขาได้ผันตัวจากศิลปินที่เดินสายออกทัวร์ทั้งในประเทศและนอกประเทศ กลายมาเป็นเจ้าแห่งการไลฟ์บนเฟซบุ๊ก เป็นเจ้าของเพจที่มียอดคนกดไลก์ที่ 5.4 ล้านคน ติดอันดับที่ 5 ของเพจคนดังที่มีคนไลก์สูงที่สุดในประเทศไทย!

 

อะไรทำให้เพจของศิลปินยุคปลาย 90 โด่งดังได้ขนาดนี้ในยุค 2018? เราอาจต้องวิเคราะห์อุปนิสัยการใช้งานโซเชียลมีเดียของคนไทย และคอนเทนต์ที่เสกเลือกใช้แต่ละครั้ง ประเภทของคอนเทนต์ ตั้งแต่การเขียนสเตตัส ไปจนถึงวิดีโอยอดฮิตที่มาจากการไลฟ์บนเฟซบุ๊ก ซึ่งมียอดวิวแตะล้าน จนแทบจะมียอดวิวรวมหลังไลฟ์เสร็จเฉลี่ยอยู่ที่ 280,000 วิว ในแต่ละวิดีโอ!

 

คนไทยใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์สูงที่สุดต่อวันเป็นอันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ประมาณคนละ 9 ชั่วโมง 38 นาที

เพราะคนไทยเล่นเฟซบุ๊กเยอะ ใช้เวลาออนไลน์สูงสุดต่อวันอันดับหนึ่งของโลก

จากผลการรายงานของมีเดียเอเจนซีสัญชาติอังกฤษ We Are Social และ Hootsuite ประจำปี 2018 พบว่า ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสูงถึง 4 พันล้านคน และมีคนจำนวนกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก ที่หันมาใช้โซเชียลมีเดีย และเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีมากกว่า 1 ล้านคนต่อวัน ที่เริ่มใช้โซเชียลมีเดียเป็นครั้งแรก นั่นหมายถึงทุกๆ 1 วินาที บนโลกเรามีคนสร้างแอ็กเคานต์โซเชียลมีเดียเพิ่มถึง 11 คน โดยอัตราการเติบโตนี้เห็นได้ชัดมากในประเทศแถบบ้านเราเสียด้วย เพราะฝั่งเอเชียตอนกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเติบโตของผู้ใช้โซเชียลมีเดียสูงที่สุด โดยประเทศไทยของเราก็ยังติดโผประเทศที่ใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์สูงที่สุดต่อวันเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วย (อยู่ที่ประมาณ 9 ชั่วโมง 38 นาที)

 

นอกจากนี้ประเทศไทยที่มีประชากร 69.1 ล้านคน ก็มีจำนวนคนที่เข้าใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำถึง 51 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างการใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มอย่าง Facebook ที่ไม่ว่าใครๆ ก็ต้องมีเฟซบุ๊กเป็นของตัวเอง โดยกรุงเทพมหานครได้กลายเป็นเมืองที่มีสถิติผู้ใช้เฟซบุ๊กสูงที่สุดในโลก และสถิติระดับประเทศ เมืองไทยของเราก็ติดอันดับที่ 8 ของโลกเช่นเดียวกัน

 

นั่นแปลว่า พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยผูกพันอยู่กับโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฟซบุ๊ก ทำให้การติดตามศิลปินผ่านเพจเฟซบุ๊กเป็นเรื่องปกติ ศิลปินที่มีเพจและมีความเคลื่อนไหวบนเพจบ่อยครั้ง ย่อมได้รับความสนใจจากชาวเน็ตเป็นธรรมดา นอกจากคนที่กดไลก์เพจศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบอยู่แล้ว ผู้ใช้งานคนอื่นๆ ที่แม้ไม่ได้กดติดตาม ก็มีโอกาสที่จะเลื่อนไปเห็นโพสต์ วิดีโอ หรือไลฟ์ที่ถูกแชร์จากเพจศิลปินนั้นๆ ได้ง่ายๆ ด้วยเช่นกัน

 

เสกเฟซบุ๊กไลฟ์เป็นประจำ เกือบจะทุก 2 ชั่วโมงในช่วงระหว่างวัน สลับกับโพสต์อื่นๆ บนเพจ เช่น การแชร์ข่าว ภาพนิ่ง หรือการโพสต์สเตตัสที่มีมากกว่าชั่วโมงละครั้ง ยิ่งเป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ที่คลิปวิดีโอเหล่านั้นจะได้รับความสนใจจากแฟนเพจ และมีโอกาสที่จะได้รับการแชร์มากขึ้น

 

เสก โลโซ หยิบหลายประเด็นมาพูด โดยมักมีหัวข้อที่เกี่ยวกับการเมือง ความรักชาติ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นหัวข้อที่จุดประเด็นได้ดีในโลกออนไลน์

เพราะคอนเทนต์ เสก โลโซ ถูกใจคนดู

เมื่อมาศึกษาคอนเทนต์บนเพจ SEK LOSO แล้ว พบว่า การไลฟ์ส่วนใหญ่เป็นการตั้งกล้องธรรมดา ไม่มีการตัดต่อ ไม่ใช้โปรดักชันอะไรยิ่งใหญ่ แต่เน้นที่ตัวผู้พูดเป็นหลัก เสกหยิบประเด็นหลายเรื่องมาพูด จากเรื่องหนึ่งโยงไปอีกเรื่องหนึ่ง โดยมักมีหัวข้อที่เกี่ยวกับการเมือง ความรักชาติ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นหัวข้อที่จุดประเด็นได้ดีในโลกออนไลน์ ยิ่งการนำเสนอของเขาที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง เสียดสี แบบไม่ต้องกลัวโดนเซนเซอร์ หรือไม่ต้องเกรงใจ Content Provider เพราะเป็นคนนำเสนอคอนเทนต์เองทั้งหมด คอมเมนต์บางส่วนจากคนดูจึงเป็นการแสดงความเห็นทางการเมือง และการวิพากษ์วิจารณ์ความเหมาะสมของตัว เสก โลโซ

 

อีกส่วนหนึ่งของคอนเทนต์ที่ เสก โลโซ เลือกนำเสนอคือ การเล่นดนตรีสดๆ พร้อมกีตาร์ 1 ตัว ด้วยฝีมือการเล่นดนตรีและดีกรีการเป็น King of Rock and Roll ของประเทศไทย ก็ต้องยอมรับว่า พาร์ตการเล่นดนตรีของเขาในไลฟ์หลายๆ ครั้ง น่าประทับใจมาก ทั้งการเล่นประกอบเพลงดังของศิลปินเมืองนอก หรือการด้นสดแบบที่ไม่ได้เขียนเนื้อหรือแต่งทำนองมาก่อน ซึ่งทำให้คอมเมนต์บางส่วนเป็นการขอเพลงจากศิลปินโดยตรง

 

นอกจากนี้ต้องยอมรับว่า ไลฟ์ของเขามีความตลกอยู่ด้วย ซึ่งเกิดจากทั้งความตั้งใจและไม่ตั้งใจปะปนกันไป ด้วยความที่เป็นการไลฟ์ จึงมีเสน่ห์ของความสมจริง ไม่มีการเตรียมการ อีกทั้งบุคลิกของเขาที่ไม่ห่วงภาพลักษณ์หรือความคิดเห็นคนดู ทำให้เราได้เห็นการแสดงแบบคาดไม่ถึงหลายครั้ง ทั้งเนื้อเพลงหรือการพูดถึงบุคคลที่สามด้วยถ้อยคำหยาบคาย ไม่สร้างสรรค์ แต่อาจจะฟังดูตลกสำหรับคนบางกลุ่ม

 

อย่างไรก็ตามภาพรวมของคอนเทนต์ในเพจ SEK LOSO ทั้งหมด น่าจะอยู่ในเกณฑ์สีเทา วิดีโอไลฟ์ที่มียอดวิวสูงมักเกี่ยวข้องกับการประพฤติตัวไม่เหมาะสม หรือเกินขอบเขตของเขา ซึ่งนั่นยิ่งเป็นการเพิ่มความนิยมให้กับเพจ คล้ายกับทฤษฎี Negativity Bias หรือมีอีกชื่อว่า Negativity Effect ที่หมายถึงสารหรือข้อมูลใดๆ ที่นำเสนอด้านลบ เช่น คำวิจารณ์ ข่าวร้าย การทะเลาะเบาะแว้ง มักส่งผลต่อสภาวะทางจิตใจของผู้รับสารได้มากกว่าสารที่เป็นเรื่องบวก ซึ่งนั่นยิ่งเป็นการเร่งเร้าให้ผู้ชมไลฟ์เหล่านั้นอยากแสดงความเห็น อยากแชร์ และอยากนำไปพูดต่อมากยิ่งขึ้น

 

จิตวิทยาเบื้องหลังการแชร์คอนเทนต์ต่างๆ บนเฟซบุ๊กพบว่า คนเรามักจะนำเสนอในสิ่งที่ต้องการ และสิ่งที่นำเสนอนั้นก็จะสะท้อนภาพลักษณ์ของเรากลับมา

เพราะกระแสปากต่อปาก หรือ Viral Marketing

ต่อจากข้อที่ 2 ที่ว่าด้วยเรื่องคอนเทนต์สีเทาที่สามารถดึงแฟนเพจได้ตั้งแต่แฟนเพลงของเสก ผู้ที่ชื่นชมผลงาน ไปจนถึงคนที่ ‘ไม่ชอบ’ แต่ ‘อยากรู้จัก’ ให้มากดไลก์เพจ และเพิ่มความนิยมของเพจ SEK LOSO ได้

 

จะเห็นว่า เมื่อคอนเทนต์เหล่านั้นถูกหยิบมาเป็นประเด็นโดยคนกลุ่มเล็กๆ ก็จะกระจายไปยังคนกลุ่มที่มากขึ้น คนแชร์มากขึ้น คนพูดถึงมากขึ้น และในที่สุดคอนเทนต์ดังกล่าวก็จะถูกหยิบไปขยายต่อโดยสื่อต่างๆ คล้ายกับการที่แบรนด์หรือบริษัทใหญ่ๆ พยายามทำโฆษณาไวรัลประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เพื่อให้เกิดการถูกพูดถึงปากต่อปาก แต่ในกรณีนี้ ตัวศิลปินเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ไวรัลนั้นเอง เป็นไปได้ว่า จุดประสงค์อีกอย่างในที่นี้ อาจจะเป็นการฟูมฟักคาแรกเตอร์ของตัวเองให้คงอยู่ในกระแสนานๆ

 

จากบทความเรื่อง Psychology of Sharing: Why Do People Share On Social Media?  มีระบุถึงเหตุผลและจิตวิทยาเบื้องหลังการ ‘แชร์’ คอนเทนต์ต่างๆ บนเฟซบุ๊กพบว่า คนเรามักจะนำเสนอในสิ่งที่ต้องการ และสิ่งที่นำเสนอนั้นก็จะสะท้อนภาพลักษณ์ของเรากลับมา เช่นเดียวกับการเลือกแชร์โพสต์ต่างๆ บนเฟซบุ๊ก ที่เรามักจะแชร์สิ่งที่สร้างความบันเทิง คลิปวิดีโอตลกๆ เพื่อให้เราถูกมองว่าเป็นคนน่าคบหา หรือเรามักจะแชร์ข่าวการค้นพบทฤษฎีใหม่ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ถูกมองว่าเป็นคนมีความรู้ เพราะสุดท้ายแล้วเราต่างอยากนำเสนอสิ่งที่จะทำให้คนมองว่าเราน่าสนใจ

 

การที่หลายคนหันมาแชร์วิดีโอไลฟ์ของ เสก โลโซ แม้ไม่ได้ติดตามตัวศิลปินตั้งแต่แรก นั่นอาจหมายถึงการที่คนเหล่านั้นต้องการแสดงตัวว่า รับรู้ข่าว ทันเหตุการณ์ เช่นเดียวกับที่สังคมรู้ และกำลังอยู่ในกระแสเดียวกับที่สังคมรอบตัวกำลังอยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นการที่ไลฟ์บนเพจ SEK LOSO กลายเป็นประเด็น ยิ่งทำให้ความนิยม (หรืออาจจะเป็นแค่ความสนใจที่ไม่ได้นิยม) ในตัวเขาสูงมากขึ้นเรื่อยๆ

 

 

ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กมีข่าวที่จะให้ผู้ติดตามจ่ายเงินให้กับผู้สร้างคอนเทนต์ เพื่อสนับสนุนการสร้างวิดีโอบนเฟซบุ๊กแข่งกับยูทูบ แต่สุดท้ายก็มีการประกาศใช้แค่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเท่านั้น

 

นั่นทำให้เฟซบุ๊กในประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย ยังไม่มีระบบการจ่ายเงินให้กับผู้ใช้งาน หรือเจ้าของเพจที่มียอดไลก์สูงอย่างชัดเจน แตกต่างจากยูทูบที่ผู้ใช้งานเปิดให้มีโฆษณาในวิดีโอ และแบ่งเงินกับยูทูเบอร์ ทำให้เจ้าของเพจดังๆ หลายแห่งในไทย รวมทั้งเพจ SEK LOSO ไม่น่าจะได้รับส่วนแบ่งจากยอดวิวบนเฟซบุ๊ก (นอกจากกรณีที่มีบริษัทหรือแบรนด์ว่าจ้าง) แต่เพจ SEK LOSO นับเป็นตัวอย่างชัดเจนที่ทำให้เห็นถึงพลังของโซเชียลมีเดีย และการเอาตัวรอดของศิลปินรุ่นเดอะในยุคที่สื่อออนไลน์เป็นใหญ่

 

สุดท้าย เฟซบุ๊ก แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานสูงที่สุดของโลกก็ยังไม่สามารถจัดการคัดกรองข้อมูลทั้งหมดให้ถูกต้อง เชื่อถือได้ ปลอดจากข่าวปลอม กลุ่มผิดกฎหมายต่างๆ รวมถึงไลฟ์ที่ไม่เหมาะสมและไม่สร้างสรรค์ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยความที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก แต่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้าน Cybersecurity ของเฟซบุ๊กอยู่เพียง 10,000 คน (ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มเป็น 20,000 คน ในปี 2018) ซึ่งก็นับว่าเป็นตัวเลขที่ห่างไกลการควบคุมได้อย่างเห็นผล

 

จากกรณีนี้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องย้อนกลับมาทบทวน และรับเป็นหน้าที่ของคนติดโซเชียลมีเดียอย่างเรา ในการแยกแยะและเลือกสนับสนุนผู้สร้างคอนเทนต์กันเอง ว่าจะคัดกรองการรับสารอย่างไรให้เป็นประโยชน์กับเวลาที่ต้องเสียไปในแต่ละวันบนโลกออนไลน์

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post ทำไม ‘เสก โลโซ’ ครองเรตติ้งถล่มทลาย วิเคราะห์คอนเทนต์ที่เลือกใช้ และอุปนิสัยการใช้งานโซเชียลมีเดียไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/sek-loso-facebook-live-thai-social-media-behaviors/feed/ 0
Digital Disruption บนวิกฤตมีโอกาสอันยิ่งใหญ่เสมอ https://thestandard.co/digital-disruption-opportunity/ https://thestandard.co/digital-disruption-opportunity/#respond Mon, 05 Mar 2018 07:09:58 +0000 https://thestandard.co/?p=74969

เห็นข่าว KBank ประกาศจะเริ่มทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแล้วน […]

The post Digital Disruption บนวิกฤตมีโอกาสอันยิ่งใหญ่เสมอ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เห็นข่าว KBank ประกาศจะเริ่มทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแล้วน่าสนใจไม่น้อย

 

ประกอบกับบังเอิญว่าผมแอบนั่งดูตัวเลขแอปพลิเคชันที่คนจำเป็นต้องใช้บนมือถือมาสักระยะแล้วพบว่า แอปพลิเคชันของธนาคารเริ่มเป็นแอปพลิเคชันที่ผู้คนส่วนมากต้องมีติดเครื่องไว้

 

ตัวเลขล่าสุดจาก We Are Social นั้นบอกว่า แอปพลิเคชันของ KBank มีผู้ใช้งานในประเทศไทยรองจาก LINE, Facebook, Facebook Messenger และ Instagram เพียงแค่นั้น นั่นหมายความว่ามีผู้ใช้งานประจำอยู่จำนวนไม่น้อย

 

แน่นอนว่าแอปพลิเคชันของแบงก์หรือธนาคารอื่นๆ ก็น่าจะมีผู้ใช้งานประจำอยู่มากด้วยเช่นกัน

 

นั่นหมายความว่า ผู้คนเริ่มคุ้นชินกับการใช้งานแอปพลิเคชันของธนาคารเป็นประจำในการโอนเงิน หรือทำธุรกรรมทางธนาคารมากขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนตรงกันกับที่ ธนาคารเริ่มลดสาขาลง

 

ตัวเลขประกอบที่น่าสนใจคือ ตัวเลขผู้มีบัตรเครดิตนั้นต่ำไปนิด แต่ในขณะเดียวกันตัวเลขของผู้มีบัญชีเงินฝากและเงินกู้รายย่อยนั้นสูงมาก

 

ทั้งหมดนี้แม้บรรยากาศที่ใครๆ ก็ว่าธนาคารกำลังจะถูก Technology Disrupt แต่เมื่อมอง Technology ในแง่ประโยชน์ของการใช้งานนั้นมีโอกาสอันน่าสนใจปะปนอยู่

 

ผมเคยคิดมาสักพักแล้วว่า ถ้าจะมีใครสักคนสร้างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของประเทศเราเองเอาไว้ใช้

 

ธนาคารนี่แหละเหมาะสมที่สุดที่จะทำ เพราะผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานประจำในแต่ละวันมีอยู่มากไม่แพ้แพลตฟอร์มอื่นๆ ของต่างประเทศเลย

 

ลองนึกดูเล่นๆ ว่า ถ้าเราเข้าแอปพลิเคชันของแบงก์อยู่แล้ว แล้วเราสามารถซื้อ-ขาย ของได้ด้วย ซื้อใช้เองหรือซื้อส่งให้เพื่อนได้ในราคาที่พอๆ กันกับอีคอมเมิร์ซอื่นๆ และให้ตัดยอดเงินในบัญชีเราไปได้เลย เพราะคนส่วนมากมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารอยู่แล้วสักธนาคารหนึ่ง ไม่ต้องมีบัตรเครดิตก็จับจ่ายซื้อของได้ง่าย หรืออาจมีระบบเงินผ่อนรอไว้เลยจากฐานบัญชีเงินฝากเรา มันก็น่าจะสะดวกดี

 

รวมไปถึงธนาคารเองนั้นมีฐานลูกค้า ร้านค้าต่างๆ อยู่มากมายอยู่แล้ว จากเงินกู้ SMEs ต่างๆ

 

ถ้าทำสำเร็จ ธนาคารจะมีข้อมูลอีกมากในการจับจ่ายใช้สอยของผู้คน รวมถึงสินค้า ร้านค้า เงินกู้ ฯลฯ

 

ซึ่งถ้าบริหารจัดการข้อมูลพวกนี้ได้ดี ธนาคารจะสร้างธุรกรรมการเงิน รวมไปถึงการจับจ่ายใช้สอยได้อีกมาก

 

และน่าจะไม่แพ้อีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศ เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจของคนที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารนั้นมีอยู่พอสมควรในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

 

ผมคิดว่าไอเดียแบบนี้ใครๆ ก็น่าจะคิด ธนาคารเองก็น่าจะคิดออก

 

คำถามคือจะ Execution อย่างไร เพื่อสร้างพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยให้เกิดขึ้นเพิ่มเติมบนแอปพลิเคชันของธนาคารที่ในวันนี้ส่วนมากใช้โอนเงิน ทำธุรกรรมทางธนาคาร และซื้อ Product ทางการเงิน หรือประกันภัยเพียงแค่นั้น

 

การ Execution การทำการตลาด การคัดเลือกสินค้า การตั้งราคา การจัดส่งสินค้า การบริหารจัดการหน้าร้านบนแอปพลิเคชันนั้นไม่ง่ายนัก แต่ไม่ใช่ว่าจะยากเกินความสามารถ

 

ถ้าธนาคารสามารถฝึกพนักงานธนาคารในวันนี้ให้สามารถบริหารจัดการร้านค้า คัดเลือกร้านค้า และสินค้า รวมถึงการดูแลการตลาดให้สินค้าที่มาทำการค้าขายบนแอปพลิเคชันของธนาคารได้ด้วยจะดีไม่น้อย แน่นอนว่าธนาคารมีระบบการเงินและเงินกู้ที่ดีในการสนับสนุนสินค้าที่ขายดีบนออนไลน์ได้อยู่แล้ว เพราะสามารถเห็นข้อมูลเมื่อเกิด Transaction

 

ผมคิดว่าทุกธนาคารน่าจะเห็นข้อมูลนี้ และกำลังเตรียมตัวอยู่ เพียงแต่ KBank นั้นขยับตัวก่อน

 

โดยส่วนตัวคิดว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว และก็ขอเอาใจช่วยทุกธนาคารที่มีความคิดจะเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้ทำสำเร็จ เราจะได้มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่แข็งแรงของคนไทยที่ใครๆ ก็พูดถึงกันมานาน

 

ในเมื่อแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba เริ่มทำตัวเป็นธนาคารแล้วได้ ตัวธนาคารเองก็อาจจะกลายเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซบ้างก็ได้

 

บนวิกฤตของ Technology Disruption นั้นมีโอกาสเสมอ หากเราเรียนรู้จะปรับตัวและเปลี่ยนแปลง สำคัญที่สุดไม่ใช่ไอเดีย แต่เป็นทัศนคติและการปฏิบัติเสียมากกว่า

 

ท้ายนี้ขอฝากตัวเลขที่น่าสนใจอีกตัว เผื่อใครคิดอะไรออก ไม่ใช่เรื่องใหม่นัก ตัวเลขการใช้เงินอันดับ 1 บนออนไลน์คือ ธุรกิจท่องเที่ยว ตามมาด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า และของเล่น ถ้าเจาะให้ลึกอีกหน่อยคือ การจองโรงแรมและตั๋วในการเดินทาง ผู้เล่นที่ได้ประโยชน์จากธุรกรรมนี้มีอยู่ไม่มาก ถ้าใครมีแพลตฟอร์มที่ใหญ่และ Execution ที่ดีก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

 

ขอให้ทุกคนหาโอกาสจาก Technology Disruptive ให้เจอ และสร้างโอกาสจาก Disruptive นั้นให้ได้

The post Digital Disruption บนวิกฤตมีโอกาสอันยิ่งใหญ่เสมอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/digital-disruption-opportunity/feed/ 0
เผยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากสุดเฉลี่ย 9.38 ชม. ต่อวัน ส่วนอีคอมเมิร์ซทั่วโลกโตกว่า 16% https://thestandard.co/thai-internet-users-behavior/ https://thestandard.co/thai-internet-users-behavior/#respond Wed, 31 Jan 2018 10:04:56 +0000 https://thestandard.co/?p=66534

We Are Social บริษัทเอเจนซีจากสหราชอาณาจักรและ Hootsuit […]

The post เผยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากสุดเฉลี่ย 9.38 ชม. ต่อวัน ส่วนอีคอมเมิร์ซทั่วโลกโตกว่า 16% appeared first on THE STANDARD.

]]>

We Are Social บริษัทเอเจนซีจากสหราชอาณาจักรและ Hootsuite ผู้ให้บริการการตลาดบนโซเชียลมีเดียได้เปิดเผยข้อมูลการใช้สื่อดิจิทัลในปี 2018 พบว่า เดือนมกราคมปี 2018 นี้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเกินกว่า 4 พันล้านราย ขณะที่ไทยครองแชมป์ประเทศที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด เฉลี่ยหนึ่งคนจะใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 9.38 ชั่วโมง/วัน

 

จากข้อมูลพบว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 4.021 พันล้านราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วมากกว่า 7% ส่วนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในปีนี้มีมากกว่า 3.196 พันล้านราย เพิ่มขึ้น 13% เช่นเดียวกับจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มี 5.135 พันล้านราย โตจากปีที่แล้ว 4%

 

ซึ่งถ้าวัดจากจำนวนประชากรทั่วโลก ณ​ ขณะนี้ที่มีอยู่ประมาณ 7.593 พันล้านคน ก็จะพบว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกินครึ่งของจำนวนประชากรทั่วโลก! ที่น่าสนใจคือเกือบ 1 ใน 4 พันล้านรายของจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2017 คือผู้ใช้งานหน้าใหม่เกือบทั้งนั้น โดยประเทศแถบทวีปแอฟริกามีอัตราการเติบโตสูงสุดเหนือทุกๆ ทวีป เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 20%

 

ด้านผลการศึกษาจำนวนการใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวันของผู้ใช้งานแต่ละประเทศพบว่า ผู้ใช้งานประเทศไทยมีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงสุดเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 9.38 ชั่วโมง/วัน รองลงมาเป็นฟิลิปปินส์ (9.29 ชั่วโมง/วัน), บราซิล (9.14 ชั่วโมง/วัน), อินโดนีเซีย (8.51 ชั่วโมง/วัน) และแอฟริกาใต้ (8.32 ชั่วโมง/วัน)

 

ส่วนประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐอเมริกามีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางที่ 6.30 ชั่วโมง/วัน สูงกว่าค่าเฉลี่ยการใช้อินเทอร์เน็ตของทุกประเทศทั่วโลกรวมกันเพียงเล็กน้อย (6 ชั่วโมง/วัน) อย่างไรก็ดีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงตำ่อยู่ดี มีอัตราอยู่ที่ 58% เท่านั้น (สูงที่สุดในโซนทวีปเอเชีย) ต่างจากประเทศในโซนยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันตกและมีอเมริกาเหนือที่มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 94% 90% และ 88% ตามลำดับ

 

ส่วนข้อมูลแพลตฟอร์ม-อุปกรณ์ยอดนิยมที่ถูกใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุดพบว่า โทรศัพท์มือถือนำมาเป็นอันดับ 1 ที่ 52% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 4% รองลงมาเป็นแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ 43%, แท็บเล็ต 4% และเครื่องเล่นเกมคอนโซล 0.14% มีอัตราการเติบโตที่สุดในบรรดาจากอุปกรณ์ทุกชนิดที่ 17%

และเมื่อจำแนกเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้เข้าถึงเฟซบุ๊กมากที่สุดก็จะพบว่า สมาร์ทโฟนยังคงครองแชมป์เช่นเคยที่ 95.1% รองลงมาคือแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ 31.8% แท็บเล็ต 8.8% และโทรศัพท์มือถือทั่วไปที่ 0.5% โดยตลอดทั้งปีที่ผ่านมาทั่วโลกมีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นกว่า 13% และเป็นซาอุดีอาระเบียและอินเดียที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดที่ 32% และ 31% ตามลำดับ

 

จากการเก็บข้อมูลผลสำรวจพบว่าเฟซบุ๊กมีจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกสูงสุดกว่า 2.17 พันล้านราย แบ่งเป็นเพศชาย 56% และเพศหญิง 44% โดยช่วงวัยที่มีอัตราการใช้เฟซบุ๊กมากที่สุดอยู่ที่ระหว่าง 25-34 ปี มีผู้ใช้งานทั้งหมด 640 ล้านราย (จำแนกตามข้อมูลที่ระบุในโปรไฟล์เฟซบุ๊ก)

 

แต่เมื่อแยกจำนวนผู้ใช้งานแบบ Active User ในแต่ละเดือนของ ‘โซเชียลมีเดีย’ ตามแบรนด์จะพบว่า เฟซบุ๊กมีจำนวนผู้ใช้งานสูงสุดที่ 2,167 ล้านราย รองลงมาเป็นยูทูบ (Youtube: 1,500 ล้านราย), วอทส์แอป (Whatsapp) และเฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์ (Facebook: เท่ากันที่ 1,300 ล้านราย) และวีแชท (WeChat: 980 ล้านราย) ด้านไลน์ (Line) แอปฯ แชทยอดนิยมของคนไทยมีผู้ใช้งานทั่วโลกแบบ  Active User ที่ 203 ล้านรายเท่านั้น

 

สำหรับเทรนด์การค้าออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) พบว่าตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา มูลค่าของตลาดทั่วโลกมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 16% จากปี 2016 คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1.474 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 46,163 ล้านล้านบาท ส่วนจำนวนผู้ที่ซื้อสินค้าอีคอมเมิร์ซทั่วโลกอยู่ที่ 1.77 ล้านราย โตขึ้นจากปี 2016 ที่ 8% โดยสหราชอาณาจักรมีจำนวนประชากรบริโภคสินค้า-บริการบนอีคอมเมิร์ซมากกว่า 78% รองลงมาเป็นเกาหลีใต้และเยอรมนีที่ 74% ที่น่าแปลกคือไทยกลับมีจำนวนคนซื้อของออนไลน์มากกว่าจีนที่ 62%:45% (อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลของ GlobalWebIndex)

 

อ้างอิง:

The post เผยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากสุดเฉลี่ย 9.38 ชม. ต่อวัน ส่วนอีคอมเมิร์ซทั่วโลกโตกว่า 16% appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thai-internet-users-behavior/feed/ 0