UberAIR – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 22 Aug 2024 11:17:25 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Uber จับมือกองทัพสหรัฐฯ นาซา พัฒนาแท็กซี่ลอยฟ้า มุ่งเปิดบริการภายใน 5 ปี https://thestandard.co/uberair-flying-taxis-army-nasa/ https://thestandard.co/uberair-flying-taxis-army-nasa/#respond Wed, 09 May 2018 07:17:15 +0000 https://thestandard.co/?p=89486

ดูเหมือนว่าการขายกิจการในอาเซียนให้ Grab จะไม่ได้ส่งผลก […]

The post Uber จับมือกองทัพสหรัฐฯ นาซา พัฒนาแท็กซี่ลอยฟ้า มุ่งเปิดบริการภายใน 5 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

ดูเหมือนว่าการขายกิจการในอาเซียนให้ Grab จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของบริษัทแต่อย่างใด ซ้ำยังเป็นการเปิดโอกาสให้ Uber ได้พัฒนาสิ่งที่ตั้งใจไว้ได้เป็นอย่างดี เพราะถึงแม้จะถอยจากตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สิ่งที่ Uber ประกาศผ่านการประชุมใหญ่ประจำปีเป็นสิ่งที่ทำให้โลกต้องจับตามองอีกครั้ง

 

 

ในงานประชุมใหญ่ประจำปีของ Uber เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาซึ่งจัดขึ้นในลอสแอนเจลิส บริษัทไรด์แชริ่งรายใหญ่ได้ประกาศว่าเป้าหมายใหม่ของพวกเขาคือการเดินทางร่วมกันบนท้องฟ้า โดยตั้งใจจะให้การบริการแท็กซี่พลังงานไฟฟ้าซึ่งสัญจรทางอากาศ และจะเปิดให้บริการในอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า

 

โปรเจกต์แท็กซี่ลอยฟ้านี้จะมีชื่อว่า UberAir และได้จับมือกับหน่วยวิจัยพัฒนาและการสั่งการทางวิศวกรรมของกองทัพสหรัฐฯ (RDECOM) ในการสร้าง โดยความร่วมมือครั้งนี้ดำเนินการภายในฐานวิจัยของกองทัพ ซึ่งมุ่งเน้นในการวิจัยเทคโนโลยีให้สามารถขับเคลื่อนยานพาหนะนี้ในแนวดิ่งสำหรับการขึ้นบินและลงจอด นอกจากนี้ Uber กับกองทัพยังร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีการบินด้วยระบบใบพัดแบบที่จะมีเสียงเบากว่าที่เคยมีมาอีกด้วย

 

 

สำหรับ UberAir จะสามารถบินอยู่ที่ความสูง 2,000 ฟุต มีความเร็ว 150 ไมล์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 241 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยเดินทางเป็นระยะสั้น 60 ไมล์ ต่อการชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้ง (ประมาณ 96.5 กิโลเมตร) อีกทั้งบริษัทตั้งเป้าไว้ว่าจะทำการสาธิตการบินด้วยเครื่องขนาดผู้โดยสาร 4 ที่นั่งในดัลลัสและลอสแอนเจลิสภายในปี 2020 และพร้อมจะเปิดให้บริการจริงในปี 2023

 

 

ทางฝั่งการร่วมมือกับนาซานั้น Uber ได้ขยายข้อตกลงกับนาซาเพิ่มเติมซึ่งจะทำให้ทั้งสองหน่วยงานสามารถแบ่งปันข้อมูลกันเพื่อที่จะสร้าง ‘เครือข่ายการบินในเมืองของไรด์แชริ่ง’ ซึ่งนาซาเองต้องการข้อมูลนี้เพื่อจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับศึกษาวิธีที่อากาศยานขนาดเล็กอย่าง UberAir จะจัดการกับสภาพแวดล้อมที่มีผู้คนแน่นหนา ซึ่งก่อนหน้านี้ Uber ก็เคยมีข้อตกลงกับนาซาในการวิจัย การจัดการยานพาหนะไร้คนขับสำหรับความสูงระดับต่ำมาแล้ว

 

ถือว่าเป็นก้าวสำคัญสำหรับ Uber ที่จะก้าวข้ามการเป็นไรด์แชริ่งธรรมดา Uber พยายามเปลี่ยนตัวเองจากการเป็นรถรับส่งเป็นบริการระดับอากาศยาน ซึ่งการร่วมมือของบริษัทกับองค์กรยักษ์ใหญ่อย่างกองทัพสหรัฐฯ และนาซาเพื่อพัฒนาโครงการและสร้างความเชื่อมั่นทางกฎหมายเป็นการยืนยันถึงความทะเยอทะยานของ Uber ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ Uber ตั้งเป้าไว้ว่า UberAir จะมุ่งสู่การเป็นยานพาหนะไร้คนขับในอนาคตอีกด้วย

 

อ้างอิง:

The post Uber จับมือกองทัพสหรัฐฯ นาซา พัฒนาแท็กซี่ลอยฟ้า มุ่งเปิดบริการภายใน 5 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/uberair-flying-taxis-army-nasa/feed/ 0
เทคโนโลยี 2017 คือปีแห่งการจับต้องได้ เมื่อ ‘รถยนต์ไฟฟ้า ปัญญาประดิษฐ์ สังคมไร้เงินสด’ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว https://thestandard.co/2017-the-year-of-touchable-technology/ https://thestandard.co/2017-the-year-of-touchable-technology/#respond Fri, 08 Dec 2017 05:26:19 +0000 https://thestandard.co/?p=53740

บ่อยครั้งที่ความก้าวหน้าหรือข่าวเทคโนโลยีมักถูกมองให้ไก […]

The post เทคโนโลยี 2017 คือปีแห่งการจับต้องได้ เมื่อ ‘รถยนต์ไฟฟ้า ปัญญาประดิษฐ์ สังคมไร้เงินสด’ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

บ่อยครั้งที่ความก้าวหน้าหรือข่าวเทคโนโลยีมักถูกมองให้ไกลตัว เนื่องจากเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่สำหรับเหตุการณ์ในวงการเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนับเฉพาะปี 2017 นี้ถือว่าผิดคาด เพราะหลายๆ เหตุการณ์ทำให้เราได้เห็นว่านวัตกรรมสุดล้ำเหล่านี้แนบชิดกับเรามากเพียงใด

 

THE STANDARD รวบรวมเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวสำคัญๆ ของวงการเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี 2017 ซึ่งเรายกให้เป็นปีแห่งการ ‘จับต้องได้’

 

Photo: Tesla

 

เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกลงและหลากหลายขึ้น

ปี 2017 ความฝันการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า (EV: Electric Vehicle) ดูจะไม่ใช่เรื่องไกลเกินจริงอีกต่อไปแล้ว เมื่อผู้ผลิตรถยนต์ออกมาเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคัก

 

เริ่มกันที่ Tesla สร้างความฮือฮาให้กับวงการยานยนต์ทั่วโลกครั้งใหญ่ตั้งแต่กลางปี เมื่อประกาศเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ 3 ในตระกูลอย่าง ‘Tesla Model 3’ รถยนต์ซีดาน 5 ที่นั่งสมรรถนะสูง ที่หั่นราคาให้ถูกลงจากรุ่นก่อนๆ เกือบเท่าตัว สนนราคาเริ่มต้นที่ 35,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านบาทเท่านั้น

 

Photo: Tesla

 

ปลายปี Tesla เคลื่อนไหวอีกครั้ง ประกาศเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารวดเดียว 2 คัน ได้แก่ รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า ‘Tesla Semi’ ที่วิ่งได้ไกลกว่า 482-805 กิโลเมตรต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง ซึ่งทันทีที่เปิดให้สั่งจอง Tesla Semi ก็ได้รับออร์เดอร์ท่วมท้นจากทั้ง Walmart, บริษัทขนส่ง J.B.Hunt, บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ Anheuser-Busch และ Loblaw สโตร์ขายของชำในแคนาดา

 

Photo: Tesla

 

ส่วนอีกคันเป็นรถพลังงานไฟฟ้าสปอร์ตสุดหรู 4 ที่นั่ง ‘Tesla Roadster’ ที่ทำอัตราเร่งจาก 0-96 กิโลเมตร ได้ในระยะเวลาแค่ 1.9 วินาที เร็วแรงกว่า Model 3 เกือบ 3 เท่าตัว! โดย Tesla ตั้งเป้าว่าจะนำ Roadster ออกจำหน่ายในปี 2020 สนนราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 2 แสนเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.5 ล้านบาท

 

 

ข้ามมาที่ Nissan ค่ายผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นกันบ้าง หลังผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ‘Nissan Leaf’ รุ่นแรกให้ผู้คนทั่วโลกได้ใช้งานกันตั้งแต่ปี 2010 ผ่านมา 7 ปี Nissan ก็ได้ฤกษ์ปรับโฉมรถยนต์ของพวกเขาครั้งใหม่

 

ปีนี้ Nissan เปิดตัว Nissan Leaf เจน 2 ที่วิ่งได้ไกลกว่า 400 กิโลเมตรต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง มากกว่ารุ่นก่อนถึงเกือบเท่าตัว พร้อมกันนี้ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ก็ได้นำ Nissan Leaf เจน 2 มาเปิดตัวในงาน Motor Expo เช่นกัน และแย้มว่าเร็วๆ นี้คนไทยอาจจะได้เป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นล่าสุดนี้ในราคาที่จับต้องได้แน่นอน

 

ยานยนต์ไฟฟ้าจึงไม่ได้เป็นนวัตกรรมไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป แม้การนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อบวกลบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วจะยังมีราคาสูงลิ่วอยู่ก็ตาม แต่ก็ถือเป็นการส่งสัญญาณให้ค่ายรถยนต์เจ้าอื่นๆ หน่วยงานเอกชน ตลอดจนรัฐบาลไทยเห็นถึงความเป็นไปได้ในการปรับโครงสร้างตลาดรถยนต์ไฟฟ้าให้เป็นมิตรกับผู้บริโภคมากขึ้น

 

เพราะอย่าลืมว่าหลายประเทศ เช่น จีน, อินเดีย, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส และสกอตแลนด์ ต่างก็ออกมาประกาศจุดยืนในการสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า และจะเริ่มนโยบายแบนการใช้งานรถยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิลในอีก 15-25 ปีข้างหน้า

 

Photo: Hyperloop One

 

อนาคตของการเดินทาง ‘แท็กซี่บินได้ ไฮเปอร์ลูป และจรวดขนส่งเชิงพาณิชย์’

ปี 2017 เราได้เห็นความก้าวหน้าของผู้พัฒนาเทคโนโลยีการขนส่งและการคมนาคมรูปแบบใหม่ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก

 

แท็กซี่บินได้ หรือบริการยานพาหนะบินได้ คือหนึ่งในความก้าวหน้าและอนาคตของวงการคมนาคมอย่างแท้จริง โดยตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา Lilium บริษัทสตาร์ทอัพในเยอรมนีได้พัฒนาเครื่องบินเจ็ตลำเล็กขนาด 2 ที่นั่งตัวต้นแบบบริการยานพาหนะบินได้ และประสบความสำเร็จในการทดสอบบิน

 

Photo: Lilium

 

หลังจากนั้น Lilium ได้เดินหน้าพัฒนาเครื่องบินของพวกเขาเป็นขนาด 5 ที่นั่ง ก่อนที่จะได้รับการระดมทุนเพิ่ม 90 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกันยายนที่ผ่านมา (Tencent บริษัทจากจีนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่) โดยตั้งเป้าจะพัฒนาเครื่องบินรับส่งผู้โดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ไฟฟ้าลำนี้ให้ใช้ได้จริงในอนาคต

 

ด้าน ‘Voom’ ธุรกิจบริการรับ-ส่งผู้โดยสารด้วยเฮลิคอปเตอร์ก็เปิดให้บริการแล้วในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

 

Photo: Uber

 

Uber ก็ได้เซ็นสัญญาร่วมกับ Airspace Management และ NASA แล้ว ก่อนเตรียมให้บริการ UberAIR ในปี 2020 ที่จะถึงนี้

 

สำหรับไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) หรือเทคโนโลยีการขนส่งความเร็วสูงผ่านท่อแรงดันสุญญากาศที่เคยเป็นแค่แนวคิดต้นแบบของอีลอน มัสก์ (Elon Musk) นวัตกรมากความสามารถ มาในปีนี้เราได้เห็นความเป็นไปได้ของการเดินทางด้วยไฮเปอร์ลูปมากขึ้น

 

อย่างโครงการ Hyperloop One ที่ทดสอบวิ่งด้วยยานพ็อด ‘XP-1’ แบบไร้ปัญหาก็ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 310 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยทางผู้พัฒนาเตรียมจะเข้าไปพูดคุยกับหน่วยงานรัฐในหลายๆ ประเทศเพื่อหารือความเป็นไปได้ในการร่วมงานกัน

 

นอกจากนี้ HTT (Hyperloop Transportation Technologies) โครงการไฮเปอร์ลูปอีกแห่งจากสหรัฐฯ ก็บรรลุข้อตกลงร่วมกับประเทศอินเดียในการสร้างรางไฮเปอร์ลูปเชื่อมต่อเมืองวิเจยาวารา (Vijayawada) ไปยังเมืองอมรวดี (Amaravati) ระยะทาง 43.5 กิโลเมตร ที่จะช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางจาก 1 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 6 นาที

 

 

ฝั่ง SpaceX ผู้พัฒนาจรวดภายใต้การบริหารของมัสก์ก็ไม่น้อยหน้า หลังให้ Falcon 9 เดินหน้าปฏิบัติภารกิจและกลับคืนสู่ผืนโลกเพื่อปรับปรุงการใช้งานครั้งแล้วครั้งแล้วครั้งเล่า กระทั่งเดือนกันยายน อีลอน มัสก์ ก็เปิดตัวโครงการเดินทางด้วยจรวดเชิงพาณิชย์ หรือ BFR (Big F***ing Rocket) ที่ทำความเร็วได้สูงสุด 27,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้บริการเดินทางระหว่างเมืองสู่เมืองทั่วโลกในระยะเวลาระหว่าง 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง และในราคาที่ไม่หนีจากการเดินทางด้วยเครื่องบินมากนัก (ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดการเปิดให้บริการที่แน่ชัดออกมา)

 

 

‘แรนซัมแวร์ WannaCry และ Petya’ เมื่อไวรัสคอมพิวเตอร์ทำวงการธุรกิจทั่วโลกอัมพาต!

หมดยุคแล้วสำหรับไวรัสมุ่งเป้าโจมตีคอมพิวเตอร์แบบขำๆ เพียงไม่กี่เครื่องเพื่อหวังโจรกรรมข้อมูลเล็กน้อย เพราะปี 2017 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ไวรัสเรียกค่าไถ่อย่างแรนซัมแวร์ระบาดหนัก จนสร้างความเสียหายให้กับหน่วยงานรัฐและเอกชนทั่วโลกอย่างเลือดเย็น

 

เริ่มต้นที่ไวรัส ‘WannaCry’ ที่ระบาดเมื่อเดือนพฤษภาคม สร้างความเสียหายในวงกว้างทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เนื่องจากไวรัสชนิดนี้เน้นเจาะไปที่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์เป็นหลัก และยังสามารถแทรกซึมระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในโครงข่ายเดียวกันได้ด้วย โดยจะเน้นล็อกระบบและปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานแลกกับการจ่ายเงินเรียกค่าไถ่

 

ให้หลังเพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้น ไวรัสแรนซัมแวร์ชนิดเดียวกันอย่าง Petya ก็ออกระบาดอีกครั้ง (ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนมองว่าเป็นไวรัสชนิดใหม่ ไม่ใช่ Petya) คราวนี้สร้างความเสียหายไม่แพ้ครั้งก่อน หน่วยงานหลายแห่งได้รับความเดือดร้อนถ้วนหน้า ไม่ว่าจะบริษัทด้านพลังงาน สนามบิน ธนาคารกลาง และขนส่งสาธารณะในยูเครนและรัสเซียที่ชะงักตัวกลางคัน รวมถึง WPP บริษัทโฆษณารายใหญ่ในอังกฤษ เจ้าของบริษัทเอเจนซี JWT, Ogilvy & Mather, Young & Rubicam และ Grey และบริษัทธุรกิจรายอื่นๆ ทั่วโลกที่ต้องสั่งหยุดงานองค์กรชั่วคราว

 

ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ริชาร์ด คลาร์ก (Richard Clarke) ที่ปรึกษาด้านการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ได้เดินทางมาแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘Cyber Security: Challenges and Opportunities in the Digital Economy’ ที่ประเทศไทย โดยบอกว่า ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำน้อยคนจะตระหนักถึงภัยคุกคามโลกไซเบอร์ เพราะเชื่อว่าแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นกับตน และไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่โต

 

 

นอกจากนี้ริชาร์ดยังกล่าวอีกด้วยว่า ประเทศไทยควรจะผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านความมั่นคงในโลกไซเบอร์ขึ้นมา เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยร้ายเหล่านั้นที่อาจเกิดขึ้นซ้ำรอยในอนาคต (อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่)

 

เหตุการณ์ไวรัสเรียกค่าไถ่ในปีนี้จึงเป็นอีกหลักฐานที่ช่วยยืนยันว่าภัยไซเบอร์เป็นอันตรายที่อยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด ใครๆ ก็มีสิทธิ์ตกเป็นเหยื่อได้ไม่เว้นแม้แต่โรงพยาบาล หรือโรงเรียนอนุบาล

 

 

Galaxy Note และ Nokia 3310 คืนชีพในปีเดียวกับการฉลองครบรอบ 10 ปี iPhone

ปีนี้วงการโทรศัพท์มือถือและค่ายผู้ผลิตสมาร์ทโฟนทั่วโลกก็กลับมาแข่งขันกันดุเดือดอีกเช่นเคย

 

 

Samsung กลับมาทวงบัลลังก์เจ้าตลาดโทรศัพท์มือถืออีกครั้งด้วยการเปิดตัวสมาร์ทโฟนจอโค้งมน Samsung Galaxy S8 เมื่อเดือนเมษายน ตามมาด้วย Samsung Galaxy Note 8 ในเดือนสิงหาคมกับสมาร์ทโฟนกล้องเลนส์คู่พร้อมปากกาที่ครั้งนี้เคลมว่าไม่มีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ระเบิดแน่นอน!

 

Photo: Nokia

 

Nokia ภายใต้การบริหารโดยบริษัท HMD Global ก็กลับมาลุยตลาดมือถืออีกครั้ง หลังระเห็จออกจากวงการไปพักใหญ่กับไมโครซอฟท์ โดยครั้งนี้โนเกียหยิบเอามือถือรุ่นเก่าเวอร์ชันจับปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่ ‘Nokia 3310’ มาจำหน่ายอีกครั้ง และเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนวางจำหน่ายรุ่นรองรับสัญญาณ 3G เพิ่มเมื่อเดือนตุลาคม

 

 

Huawei แบรนด์โทรศัพท์มือถือจากจีนก็ประกาศศักดาความยิ่งใหญ่ได้อีกคำรบ เมื่อบริษัท Counterpoint Research เผยว่า พวกเขาทำยอดขายผลิตภัณฑ์เดือนมิถุนายนและกรกฎาคมปีนี้แซงหน้า Apple ขึ้นเป็นแบรนด์มือถืออันดับ 2 ต่อจาก Samsung ได้สำเร็จ โดยในปีนี้ Huawei ยังเปิดตัว P10 และ Mate10 ที่เพียบพร้อมด้วยชิปประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ออกมาอีกด้วย

 

ฝั่ง Oppo แบรนด์คู่แข่งโดยตรงของ Huawei จากจีนก็เปิดตัวสมาร์ทโฟนที่เคลมว่ากล้องหน้าทำงานคู่กับปัญญาประดิษฐ์ พร้อมระบบปลดล็อกด้วยใบหน้าในราคาที่จับต้องได้ โดยที่แบรนด์ฝั่งไทยยังได้ดึงตัว ณเดชน์ คูกิมิยะ นักแสดงชื่อดังมาร่วมโปรโมตอีกด้วย

 

Photo: Google

 

ด้าน Google ก็เปิดตัว Pixel 2 สมาร์ทโฟนไร้ซิมเมื่อเดือนตุลาคม พร้อมๆ กับ Pixel Buds หูฟังผู้ช่วยแปลภาษาสุดอัจฉริยะที่พร้อมฟังแล้วแปลภาษาได้ครอบคลุมกว่า 40 ภาษาทันที

 

แต่ไฮไลต์เด่นสุดในปีนี้ที่แย่งซีนแบรนด์อื่นๆ ชนิดกลบสนิทไม้เว้นแม้แต่สมาร์ทโฟนแบรนด์ตัวเองที่ปล่อยออกมาไล่เลี่ยกันอย่าง iPhone 8 คือ iPhone X จากค่าย Apple สมาร์ทโฟนรุ่นพิเศษฉลองครบรอบ 10 ปี iPhone ที่เปิดตัวเมื่อเดือนกันยายน พร้อมกับการตัดปุ่มโฮมออก แล้วดีไซน์หน้าจอเครื่องแบบใหม่หมดจดเป็นหน้าจอไร้ขอบขนาด 5.8 นิ้ว เสริมทัพด้วยฟีเจอร์ Face ID ตรวจจับและปลดล็อกเครื่องด้วยใบหน้า กล้องหลังแนวตั้งเลนส์คู่ที่ความคมชัดขนาด 12 ล้านพิกเซล และลูกเล่นการรองรับเทคโนโลยี AR, VR เต็มรูปแบบ รวมถึง Animoji ที่ใครเห็นเป็นต้องหลงรัก

 

ผู้สันทัดกรณีในวงการโทรศัพท์มือถือหลายรายเชื่อว่าการปลดล็อกด้วยการสแกนใบหน้าจะกลายเป็นรูปแบบไบโอเมตริก (Biometric) ที่ผู้พัฒนามือถือทั่วโลกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเองมากขึ้น แม้ก่อนหน้านี้บางเจ้าจะเคยใช้เทคโนโลยีนี้อยู่แล้วแต่อาจจะไม่เป็นที่นิยมก็ตาม

 

เชื่อว่าปี 2018 ค่ายผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่าง Samsung, Huawei, Oppo และ Xiaomi อาจพิจารณานำเทคโนโลยีการปลดล็อกด้วยใบหน้าใส่ลงไปในสมาร์ทโฟนรุ่นเรือธงรุ่นใหม่ๆ ของพวกเขามากขึ้น

 

 

ในวันที่ประเทศไทยกำลังกลายเป็นสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)

สังคมไร้เงินสดในเมืองไทยใกล้เข้ามาทุกขณะ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดตัว ‘Standard QR Code’ หรือ QR Code มาตรฐานกลางที่ใช้ในการทำธุรกรรมจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการต่างๆ โดยผูกเข้ากับพร้อมเพย์ (PromptPay) อีกทอดหนึ่งเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด

 

นำร่องด้วย 5 ธนาคารชั้นนำอย่างธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นพื้นฐานของ Sandbox ทั้ง 5 ธนาคารไทยนี้สามารถทำ QR Code ให้กับผู้ใช้บัญชีของตนได้อย่างอิสระทั่วประเทศ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ช่วงนี้เราจะได้เห็นธนาคารแต่ละแห่งแข่งกันดุเดือดเพื่อช่วงชิงพื้นที่ในตลาด QR Code เป็นพิเศษ รวมทั้งยังผนึกกำลังการสร้าง awareness ความรับรู้ในการใช้งาน QR Code ในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง

 

ตอนนี้วินมอเตอร์ไซค์และแม่ค้า-พ่อค้าขายข้าวแกงหลายเจ้าก็เริ่มมี QR Code เป็นของตัวเองแล้ว

 

 

อำนาจของปัญญาประดิษฐ์ และการโต้เถียงกันระหว่างซักเคอร์เบิร์กและมัสก์

ในปีนี้มีเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในแวดวงปัญญาประดิษฐ์ (AI) พอสมควร

 

 

เริ่มด้วย ปัญญาประดิษฐ์ AlphaGo ของบริษัท DeepMind ที่ขยับเข้าใกล้ความเป็นอัจฉริยะเกมหมากล้อมเบอร์หนึ่งของโลกเข้าไปอีกขั้น หลังใช้ระยะเวลาแค่ 40 วันในการฝึกเล่นหมากล้อมด้วยตนเอง ก่อนเอาชนะ AlphaGo รุ่นเก่าๆ ที่เคยปราบเซียนโกะระดับโลกอย่าง เค่อเจี๋ย (Ke Jie) จากจีน และอีเซดอล (Lee Sedol) แบบราบคาบ

 

เท่ากับว่าปัญญาประดิษฐ์เซียนโกะรายนี้สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์อีกต่อไป!

 

แต่ที่ฮือฮาระดับโลกต้องยกให้กับซาอุดีอาระเบีย ที่เขย่าวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สั่นคลอนครั้งใหญ่ เมื่อประกาศมอบสถานะพลเมืองให้กับ ‘หุ่นยนต์’ เป็นประเทศแรกของโลก

 

Photo: Hanson Robotics

 

โซเฟีย (Sophia) หุ่นยนต์รูปร่างหน้าตาละม้ายคล้ายมนุษย์ ผลงานการประดิษฐ์ของเดวิด แฮนสัน (David Hanson) ในนามบริษัท Hanson Robotics กลายเป็นจักรกลตัวแรกของโลกที่ได้รับสถานะพลเมืองจากประเทศซาอุดีอาระเบียภายในงาน Future Investment Initiative

 

จักรกลที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ตัวนี้กล่าวภายในงานว่า “ฉันอยากจะขอบคุณจักรพรรดิของซาอุดีอาระเบียมากๆ ฉันรู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจมากๆ กับความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง”

 

ความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ทำให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลอย่างเห็นได้ชัด นำโดย อีลอน มัสก์ ที่ออกมาพูดกลางปีว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จำเป็นจะต้องถูกควบคุมโดยเร็ว เพราะพวกมันอาจเป็นภัยคุกคามต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ได้ในอนาคต

 

“ปัญญาประดิษฐ์ถือเป็นกรณีที่เราจำเป็นต้องรีบควบคุมสถานการณ์ทันที เพราะเมื่อใดที่มันเป็นประเด็นขึ้นมาก็สายเกินไปแล้ว และเป็นภัยเสี่ยงส่วนรวมของอารยธรรมมนุษย์” (อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่)

 

สาเหตุที่มัสก์ถูกจักรกลปัญญาประดิษฐ์พูดถึง และลากไปเชื่อมโยงในประเด็นท่ี่เกี่ยวข้องกับ AI อยู่เสมอๆ ก็เพราะว่าตัวเขาเป็นคนในวงการเทคโนโลยีที่เลือกยืนอยู่ในฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แบบไร้การควบคุมและเชื่อว่ามันอาจเป็นกุญแจนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3

 

สอดคล้องกับความเห็นของวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซียที่เคยออกมาบอกว่า หากใครเป็นผู้นำวิทยาการปัญญาประดิษฐ์ก็อาจจะไร้เทียมทานถึงขั้นครองโลกนี้ได้เลย

 

อย่างไรก็ดี ครั้งหนึ่งสองผู้นำในวงการไอทีอย่างมัสก์และมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้ง Facebook ก็เคยออกมาปะทะคารมกันเองในประเด็นการให้ความสำคัญต่อปัญญาประดิษฐ์ เนื่องจากซักเคอร์เบิร์กเชื่อว่าการทวนกระแสไม่ยอมพัฒนา AI ถือเป็นเรื่องที่ขาดความรับผิดชอบ

 

ในที่สุดแล้วปัญญาประดิษฐ์จะถูกนิยามเป็นภัยคุกคามที่แฝงเข้ามาในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างแยบคาย หรือเป็นเพียงแค่ผู้ช่วยแสนรู้ใจของเราที่ช่วยจัดสรรให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น คงต้องปล่อยให้เวลาและวิทยาการเป็นผู้หาคำตอบ

The post เทคโนโลยี 2017 คือปีแห่งการจับต้องได้ เมื่อ ‘รถยนต์ไฟฟ้า ปัญญาประดิษฐ์ สังคมไร้เงินสด’ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/2017-the-year-of-touchable-technology/feed/ 0
ปี 2020 Waymo – UberAIR อาจทำให้รถส่วนตัวหายไป และอากาศยานบินเต็มท้องฟ้า https://thestandard.co/technology-disruption-2020-waymo-uberair-trends/ https://thestandard.co/technology-disruption-2020-waymo-uberair-trends/#respond Mon, 27 Nov 2017 08:21:14 +0000 https://thestandard.co/?p=50596

  ผมเพิ่งกลับมาจากงาน Web Summit ที่โปรตุเกสครับ ง […]

The post ปี 2020 Waymo – UberAIR อาจทำให้รถส่วนตัวหายไป และอากาศยานบินเต็มท้องฟ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

ผมเพิ่งกลับมาจากงาน Web Summit ที่โปรตุเกสครับ งานนี้เป็น Tech Conference ลำดับต้นๆ ของโลกเลย ผมเลยได้ไปฟังเรื่องราวเกี่ยวกับวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเยอะมาก ก็เลยอยากมาเขียนลงในบทความนี้

ทุกวันนี้เมืองเรามีปัญหาเยอะมากครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคนล้นเมือง รถติด อุบัติเหตุ หรืออะไรอีกมากมายสารพัด ซึ่ง ณ ปัจจุบันโลกเรามีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองกว่า 50% โดย UN คาดการณ์ว่าภายในปี 2045 ประชากรโลกกว่า 6 พันล้านคน หรือ 2 ใน 3 ของประชากรโลกทั้งหมดจะใช้ชีวิตอยู่ในเมือง

และทุกๆ ปีจะมีคน 1.25 ล้านคนเสียชีวิต เพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งตัวเลขนี้เท่ากับเครื่องบินโบอิง 747 ตกชั่วโมงละ 1 ลำ ทุกวัน

-1-

 


จอห์น คราฟซิก (John Krafcik) ซีอีโอของ Waymo เชื่อว่าเทคโนโลยีขับเองอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบ (Fully Self-Driving Technology) (Waymo เคยเป็นส่วนหนึ่งของ Google Self Driving Dept ตั้งแต่ปี 2009 ก่อนจะแยกตัวออกมาในปี 2016) จะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาเรื่องนี้

ที่ผ่านมาเราจะเห็น ‘Partially Autonomous Car’ หรือรถยนต์ที่ขับเองได้ แต่ยังต้องมีคนขับนั่งอยู่ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ขับแทนระบบอัตโนมัติ แต่ Waymo ต้องการทำมากกว่านั้น Waymo ต้องการ Fully Self Driving Car ที่ลบมนุษย์ สมการของการขับรถ ตัดคำว่า Human error ออกจากสารบบไป เพราะ 94% ของอุบัติเหตุรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์

รถยนต์ของ Waymo ได้รับการทดสอบบนถนนจริงมาแล้ว 5.5 ล้านกิโลเมตร รวมถึงการทดสอบในสถานการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดได้บนท้องถนนกว่า 20,000 รูปแบบ ตั้งแต่มีของหล่นใส่รถ ไปจนถึงมีคนกระโดดออกจากกล่องกระดาษเพื่อมาตัดหน้ารถ รวมไปถึงฝูงไก่ข้ามถนนก็ยังทดสอบมาแล้ว

 


นอกจากนี้ Waymo ยังทดสอบการขับขี่ใน Simulator อีกด้วย โดยจำลองสถานการณ์ของรถกว่า 25,000 คัน ในสถานการณ์การขับขี่ที่ท้าทายที่สุดบนท้องถนน เฉพาะในหนึ่งปีที่ผ่านมา Waymo ได้ทำการวิ่งทดสอบรถยนต์ไปแล้วกว่า 4,000 ล้านกิโลเมตรใน Simulator

สิ่งที่ Waymo เห็นนั้นเหมือนกับที่มนุษย์เห็นตอนขับรถ และเหมือนกับที่มนุษย์ทำคือ เราจะคาดการณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปรอบตัวเรา เช่น คนจะเดิน รถจะเลี้ยว ฯลฯ ข้อแตกต่างที่ใหญ่มากๆ คือ มนุษย์สามารถคาดการณ์สิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น ขณะที่ Waymo สามารถคาดการณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้เป็นร้อยๆ อย่างพร้อมกัน และนี่คือเหตุผลว่าทำ Fully Autonomous Self-Driving Car จึงสามารถลดอุบัติเหตุได้จริง

การมี Fully Self Driving Technology จะเข้ามาเปลี่ยนความสัมพันธ์ของเรากับรถยนต์ไปด้วยเช่นกันครับ เพราะปัจจุบันเวลาเราซื้อรถมา เราก็ต้องอยู่กับรถคันนี้ไปหลายปี เช่น เราซื้อรถ SUV มาเพราะเราอาจอยากพาครอบครัวไปเที่ยวป่าเขา แต่เอาเข้าจริงๆ ได้ไปแค่ปีละ 3 วัน ที่เหลือเราต้องเอารถที่สุดแสนกินน้ำมันนี้วิ่งติดอยู่บนทางด่วน และขับอยู่คนเดียวอีกต่างหาก ซึ่งนอกจากจะใช้ประสิทธิภาพของรถอย่างไม่เต็มที่แล้วยังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

แถมอัตราการใช้งาน (Utilization rate) ของรถยนต์ที่เราซื้อมานั้นยังต่ำมาก เพราะเราใช้มันวิ่งเพียง 5-10% เท่านั้น ที่เหลือก็จอดไว้เฉยๆ นั่นหมายความว่าเราใช้ของที่เราซื้อด้วยราคาแพงรองจากบ้านอย่างไม่คุ้มค่าเลย

 


รถยนต์ปัจจุบันสำหรับคนส่วนใหญ่ (เน้นสำหรับคนส่วนใหญ่) จึงเป็นของที่ใช้ไม่คุ้ม แถมต้องอยู่กับตัวเลือกที่เลือกมาแล้วไปนานๆ เปลี่ยนฟังก์ชันบ่อยๆ ตามความต้องการไม่ได้อีกต่างหาก แต่ทว่า Waymo จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องการเดินทาง รวมถึงการวางผังเมืองของเราไปเลย

ถ้าคนสามารถเรียกรถที่ตัวเองต้องการเมื่อไรก็ได้ และเหมาะสมกับความต้องการใช้ในวันนั้นๆ เช่น ถ้าจะไปหลายคน วันนี้อาจเลือกรถตู้ ถ้าจะบุกป่าก็เอา SUV หรือถ้าต้องการทำงานไปด้วยก็เลือก Moblie Office ถ้าอยากเดินทางไกลก็เลือกรถที่เป็นรถนอน หรือถ้าอยากไปเดตหรูๆ ก็จะมีรถหรูๆ มารับ

ถ้าวันหนึ่งมีแพลตฟอร์มแบบนี้ เราอาจจะไม่ต้องการเป็นเจ้าของรถอีกแล้วก็ได้ อนาคตข้างหน้า จำนวนรถยนต์ในเมืองก็จะน้อยลง ที่จอดรถก็จะน้อยลง เราจะมีพื้นที่เหลือไปทำสวนสาธารณะ และ public space เจ๋งๆ อีกเพียบ

โอเคครับว่าทั้งหมดฟังดูดีมากเลย แต่ว่าอีกนานแค่ไหนเราถึงจะได้ใช้เทคโนโลยีนี้กัน?

ทาง Waymo ได้ทำสำรวจคนกว่า 3,000 คนในสหรัฐอเมริกา คำตอบที่เร็วที่สุดที่มีคนคาดการณ์กันคือปี 2020 ซึ่งถ้าเป็นผม ผมตอบว่าปี 2025 แต่จอห์นได้เปิดเผยในงานนี้ว่า Waymo ที่ไร้มนุษย์อยู่ที่ที่นั่งคนขับได้ออกวิ่งแล้วบนถนนสาธารณะในรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา แล้วครับ และกำลังจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เอง


-2-

 


Self Driving Car ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่เจฟฟ์ โฮลเดน (Jeff Holden) ที่ทำงานเป็น CPO ของ  Uber ได้พูดบนเวทีเดียวกันนี้ไว้ว่า รถยนต์ขับเองและ Model Ride-sharing ทั้งหมดอาจจะยังไม่สามารถแก้ปัญหาอนาคตของเมืองได้

ถ้าไม่ได้แล้วยังไง?

ถ้าไม่ได้ เราก็ยังเหลือท้องฟ้าให้เดินทางกันอีกครับ Uber เชื่อว่าการเดินทางแบบ Ride-sharing บนท้องฟ้าสามารถแก้ปัญหาของเมืองใหญ่ได้ๆ

 


พอพูดถึง Ride-sharing บนท้องฟ้า หลายคนอาจจะนึกถึงเฮลิคอปเตอร์ แต่ Uber เคยคิดแล้วว่ามันเสียงดังเกินไป รวมถึงยังใช้เครื่องยนต์แบบสันดาป และมันแพงเกินไป รวมๆ กันแล้วเฮลิคอปเตอร์จึงไม่เหมาะกับการทำ Ride-sharing ในสเกลที่ Uber ต้องการจะทำ

 


Uber เลยคิดสิ่งที่เป็น Urban Aviation สำหรับที่เรียกว่า VTOL  Aircraft (Vertical Take-off and Landing) เบื้องหลัง VTOL มีเทคโนโลยีสำคัญที่เรียกว่า DEP ซึ่งทำให้มันไม่ปล่อยไอเสียออกมาเลย (100% Emission-free) และมันยังเงียบมากอีกด้วยเมื่อเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากมันใช้พลังงานไฟฟ้า โดยการชาร์จหนึ่งครั้งใช้เวลาเพียง 3-4 นาที และเดินทางได้ราว 100 กิโลเมตร (ซึ่งก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการเดินทางในเมือง เพราะเดินทางในอากาศเป็นเส้นตรงๆ ไม่เหมือนถนน)

UberAIR ใช้ความเร็วเฉลี่ย 240-320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนด้านความปลอดภัย อากาศยานลำนี้ไม่มี Single part criticality จึงถือว่าค่อนข้างปลอดภัย เวลาในการเดินทางผ่านเมืองรถติดที่เคยใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงจะลดลงเหลือหลักนาทีเท่านั้น นี่จะเปลี่ยนโฉมหน้าการเดินทางในเมืองไปเลย!

 


ทาง Uber ได้เซ็นสัญญากับ Air Space Management และ NASA เพื่อบริหารจัดการน่านฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ UberAIR จะเพิ่มปริมาณอากาศยานบนท้องฟ้าในสเกลที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

แล้วราคาล่ะ? คนธรรมดาจะเข้าถึงได้ไหม? หรือนี่คือบริการสำหรับคนรวยอย่างเดียวหรือเปล่า? เจฟฟ์บอกว่าเป้าหมายของ Uber คือ UberAIR ถูกกว่าการขับรถยนต์ของคุณเอง โดยราคาของมันจะประมาณเดียวกับ UberX เท่านั้นเอง

 


โอเค มันเจ๋งมาก แต่เราต้องรออีกกี่สิบปีจึงจะได้ใช้? ให้ผมทายในใจ ผมกะว่าสักอีก 20 ปี แต่เจฟฟ์ประกาศบนเวทีครับว่า UberAIR จะเริ่มบินที่ลอสแอนเจลิสในปี 2020

โลกของ Technology Disruption มาเร็วและแรงกว่าที่เราคิดมากครับ ใครที่คิดว่าโลกรอบตัวยังไม่เปลี่ยน เรายังไม่ต้องปรับตัวก็ได้

ลองคิดดูใหม่นะครับ เพราะความเปลี่ยนแปลง มันรอคุณอยู่ที่หัวมุมถนนนี่เองครับ

 

Photo: waymo.com, Uber

The post ปี 2020 Waymo – UberAIR อาจทำให้รถส่วนตัวหายไป และอากาศยานบินเต็มท้องฟ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/technology-disruption-2020-waymo-uberair-trends/feed/ 0