Thoth Zocial – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 06 Aug 2018 07:53:15 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Thoth Zocial ร่วมกับ OBVOC รีแบรนด์ครั้งใหญ่ ‘WISESIGHT’ ก้าวสู่ผู้นำด้านโซเชียลในเอเชียแปซิฟิก [PR NEWS] https://thestandard.co/thoth-zocial-obvoc-rebrand-to-wisesight/ https://thestandard.co/thoth-zocial-obvoc-rebrand-to-wisesight/#respond Mon, 06 Aug 2018 07:27:15 +0000 https://thestandard.co/?p=111949

ในยุค 4.0 ที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า ผู้คนต่างพากันใช้โซเชี […]

The post Thoth Zocial ร่วมกับ OBVOC รีแบรนด์ครั้งใหญ่ ‘WISESIGHT’ ก้าวสู่ผู้นำด้านโซเชียลในเอเชียแปซิฟิก [PR NEWS] appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในยุค 4.0 ที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า ผู้คนต่างพากันใช้โซเชียลมีเดียในการติดต่อสื่อสาร แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ จนทำให้เกิดกระแสที่สะท้อนสังคมในแต่ละช่วงเวลาได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดและเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างดีเยี่ยม

 

โลโก้ WISESIGHT ที่สื่อถึงการมองเห็นข้อมูลโซเชียลที่ชัดเจนและแม่นยำ ผ่านวงกลมที่เปรียบเสมือนลูกตา

 

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ จำกัด อดีตผู้บริหารของโธธโซเชียล โอบีว็อค ผู้นำการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในโซเชียลในประเทศไทย ประกาศรีแบรนด์ตัวเองครั้งใหญ่ ภายใต้ชื่อ ‘ไวซ์ไซท์’ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้นำด้านโซเชียลในเอเชียแปซิฟิก หลังจากประสบความสำเร็จในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ออกมามีความแม่นยำมากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอนาคต

 

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ จำกัด และ พเนิน อัศววิภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ

 

ด้าน พเนิน อัศววิภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ได้เล่าถึงการเปิดตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งได้นำแบรนด์ ‘ไวซ์ไซท์’ มาเปิดตัวที่นี่อีกด้วย และยกระดับขึ้นเป็นศูนย์บัญชาการระดับภูมิภาค โดยมี Shakthi DC ผู้อำนวยการภูมิภาคร่วมบริหารงาน ผ่านกลยุทธ์ Hyper Localization ประกอบด้วยจุดแข็ง 3 ด้าน คือ

 

1. เทคโนโลยี ซึ่งเป็นระบบการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเก็บข้อมูลในระดับท้องถิ่นอย่างละเอียด

 

2. ภาษา ที่มีความหลากหลายและซับซ้อน ซึ่งได้มีการปรับการทำงานของเครื่องมือต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกับภาษาในแต่ละพื้นที่ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำสูงสุด

 

3. วัฒนธรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานกับคนท้องถิ่นที่เข้าใจตลาดในพื้นที่เป็นอย่างดี ส่งผลให้ขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆ มีความรวดเร็วและประสิทธิภาพมากขึ้น

 

บริการทั้งหมดของ WISESIGHT ที่จะตอบโจทย์การทำการตลาดและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในยุค 4.0

 

สำหรับการให้บริการของไวซ์ไซท์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

 

1. ไวซ์ไซท์อินไซท์ จับตากระแสโซเชียลผ่านโปรแกรม ZocialEye, Metric และ Research ที่จะทำให้คุณกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารและการตลาดได้อย่างแม่นยำและตรงกลุ่มเป้าหมาย

 

2. ไวซ์ไซท์ซีอาร์เอ็ม ที่จะเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า ผ่านเครื่องมือและทีมงานที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยแก้ปัญหา ตอบข้อสงสัย ด้วย War Room และ Monitoring

 

3. ไวซ์ไซท์คอนเวอร์ชัน ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตและเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายผ่านข้อมูลเชิงลึกรายบุคคล ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า Precision

 

4. ไวซ์ไซท์อคาเดมี คอร์สฝึกอบรมการใช้เครื่องมือและการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล โดยความร่วมมือกับสถาบัน Binary ภายใต้การบริหารงานของคุณสุพลชัย กีรติขจร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ โดยมุ่งสร้างผู้เชี่ยวชาญที่สามารถนำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

นอกจากนี้ ‘ไวซ์ไซท์’ ยังได้สรุปภาพรวมของโซเชียลมีเดีย 2018 ในครึ่งปีแรก โดย 25.87% เป็นของกลุ่มดิจิทัลทีวี ที่โพสต์เนื้อหามากที่สุดในเฟซบุ๊ก ตามมาด้วยกลุ่มของหน่วยงานราชการ 10.51% และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 7.25%

 

สำหรับทวิตเตอร์นั้น กลุ่มดิจิทัลทีวีก็ยังคงครองแชมป์ในการทวีตมากที่สุดที่ 126,089 ทวีต คิดเป็น 48.2% ตามมาด้วยกลุ่มของหน่วยงานราชการ 14,066 ทวีต (9.8%) และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 2,670 (6.4%)

 

ส่วนอินสตาแกรม เก็บข้อมูลจาก 332 แบรนด์ ซึ่งมียอดโพสต์รวมกันถึง 49,019 โพสต์ ซึ่งมีการปฏิสัมพันธ์ (Engagement) ระหว่างแบรนด์และผู้ติดตามมากกว่า 32 ล้านครั้ง โดยเฉลี่ยการโพสต์ 1 ครั้ง จะมีการปฏิสัมพันธ์สูงถึง 663 ครั้ง

 

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าแต่ละแบรนด์หันมาใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ในเรื่องราวต่างๆ ที่ทางแบรนด์ต้องการจะนำเสนอ แต่จะดีไปกว่านี้ หากมีข้อมูลที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแม่นยำ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการประกอบธุรกิจต่อไปในอนาคต

The post Thoth Zocial ร่วมกับ OBVOC รีแบรนด์ครั้งใหญ่ ‘WISESIGHT’ ก้าวสู่ผู้นำด้านโซเชียลในเอเชียแปซิฟิก [PR NEWS] appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thoth-zocial-obvoc-rebrand-to-wisesight/feed/ 0
Big Data ของออเจ้า! บุพเพสันนิวาส 1 เดือน สร้าง Engagement กว่า 170 ล้านครั้ง https://thestandard.co/buppasaniwas-big-data/ https://thestandard.co/buppasaniwas-big-data/#respond Fri, 23 Mar 2018 10:29:49 +0000 https://thestandard.co/?p=79421

บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับละครเรื่อง บุพเพสั […]

The post Big Data ของออเจ้า! บุพเพสันนิวาส 1 เดือน สร้าง Engagement กว่า 170 ล้านครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ที่ได้รับความนิยมและมีการพูดถึงกันหลายแพร่หลายในโลกออนไลน์ เพื่อทำการค้นหาข้อมูลทั้งหมดว่ามีการพูดถึงละคร บุพเพสันนิวาส ทั้งหมดกี่ครั้งในทุกๆ แพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ ตั้งแต่เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เว็บบอร์ด เว็บไซต์ ยูทูบ เริ่มทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่ตอนแรกที่ออกฉายคือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ถึง 23 มีนาคม 2561 (เก็บถึงเวลา 13.00 น.) โดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า ZocialEye ของบริษัท Thoth Zocial ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างและน่าเชื่อถือ

 

โดยการทำข้อมูล Big Data ในครั้งนี้ ทีมงาน THE STANDARD ได้เลือกใช้คีย์เวิร์ดหลักที่เกี่ยวข้องกับละคร ทั้งที่สะกดถูกต้องและสะกดใกล้เคียง ได้แก่ บุพเพสันนิวาท, บุพเพสันนิวาส, บุพเพสันนิวาศ, เบลล่า+บุพเพสันนิวาศ, เบลล่า+บุพเพสันนิวาส, การะเกด+บุพเพสันนิวาศ, การะเกด+บุพเพสันนิวาส, ออเจ้า, ออเจ้า+มะม่วงน้ำปลาหวาน, การะเกด+มะม่วงน้ำปลาหวาน, ออเจ้า+หมูกะทะ, การะเกด+หมูกะทะ, ออเจ้า+หมูกระทะ, การะเกด+หมูกระทะ

 

และคีย์เวิร์ดรองที่ใช้คือ กิ๊กสุวัจนี, กิ๊ก_สุวัจนี, หมูกะทะ, หมูกระทะ, มะม่วงน้ำปลาหวาน, มะม่วง, น้ำปลาหวาน, กุ้งเผา, กุ้งแม่น้ำ, ออเจ้า, กรองน้ำ และคันฉ่อง

 

โดยผลสรุป Data ออกมาดังนี้

 

 

คีย์เวิร์ดหลักที่ใช้

คีย์เวิร์ดรองที่ใช้

 

สรุปได้ดังนี้

  • ยอด Message รวมทั้งหมด 1,281,598 ครั้ง
  • ยอด Engagement รวมทั้งหมด 171,324,495 ครั้ง
  • ยอด Account ที่มีการพูดถึง 267,904 แอ็กเคานต์
  • ค่าเฉลี่ย Message ต่อวันเท่ากับ 41,342 ครั้ง
  • ค่าเฉลี่ย Engagement ต่อวันเท่ากับ 5,526,597 ครั้ง
  • ยอดจะพุ่งขึ้นสูงในวันที่ละครออกอากาศ ซึ่งคือวันพุธและพฤหัสบดี

 

 

วันที่มีการพูดถึงเยอะที่สุดคือสัปดาห์ที่ 3 ที่มีการออกอากาศ ซึ่งคือวันที่ 8 มีนาคม 2561 จำนวน 117,924 ครั้ง และวันที่ 7 มีนาคม 2561 จำนวน 115,139 ครั้ง

 

 

หากแยกตามแพลตฟอร์มต่างๆ บนโลกออนไลน์จะแบ่งตัวเลขได้ตามแพลตฟอร์มประเภทต่างๆ ดังนี้

 

 

โดยกลุ่มคนที่ให้ความสนใจพูดถึงเรื่องนี้มากที่สุดจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

 

คิดเป็นผู้หญิง 84.68% และผู้ชาย 15.32%

 

 

และทำการวัดข้อมูลตามอารมณ์ความรู้สึก จะเห็นได้ว่าเป็นอารมณ์เชิงบวก 126,269 ครั้ง คิดเป็น 10.12% เชิงลบ 93,678 ครั้ง คิดเป็น 7.51% (โดยวัดจากคีย์เวิร์ดที่แสดงถึงอารมณ์นั้นๆ เช่น คำว่า ดีมาก หรือแย่มาก เป็นต้น)

 

 

ส่วนคีย์เวิร์ดและแฮชแท็กทั้งหมดที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมของละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ที่มีการพูดถึงบนโลกออนไลน์ทั้งหมด นอกเหนือจากคีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดรองที่ทีมงานได้ทำการค้นหา เป็นดังนี้

 

 

ในส่วนของ Top Message by Engagement ที่มีการพูดถึงมากที่สุดและเยอะที่สุดในเฟซบุ๊ก ได้แก่ สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ารัก, AIS, ชีวิตติดรีวิว ขณะที่ในทวิตเตอร์ ได้แก่ punjan09, rsmchan_2541, holyjjoippoi

 

 

อันดับ 1 ของเฟซบุ๊กคือ เพจสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ารัก

 

 

อันดับ 1 ของทวิตเตอร์คือแอ็กเคานต์ punjan09

 

 

และแยกข้อมูลแบ่งตามโลเคชันที่มีการพูดถึงมากที่สุดทั้งคีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดรอง จะแบ่งได้ดังนี้

 

 

โดยสรุปแล้ว ภายในระยะเวลา 1 เดือนกว่าๆ นับตั้งแต่วันที่ละคร บุพเพสันนิวาส เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรก ก็ได้สร้างปรากฏการณ์บนโลกออนไลน์ทั้งแง่ของ Engagement และ Message ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับละคร รวมถึง Engagement จากแอ็กเคานต์ต่างๆ บนโลกออนไลน์ รวมทั้งแบรนด์สินค้าต่างๆ ที่หันมาให้ความสนใจในแง่ของการนำเทรนด์ของละครมาผนวกเข้ากับสินค้าของแบรนด์ตนเองกันอย่างสนุกสนาน ทำให้โดยเฉลี่ยแล้วมีการพูดถึงละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ในทุกแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ต่อวันเท่ากับ 5,526,597 ครั้ง รวมแล้วมากกว่า 171 ล้านครั้ง และตัวเลขก็จะพุ่งขึ้นสูงทุกครั้งในวันที่ละครออกอากาศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงถึง 84%

 

ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของละครไทยบนโลกออนไลน์ที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์!

 

อ้างอิง: ZocialEye จาก Thoth Zocial

The post Big Data ของออเจ้า! บุพเพสันนิวาส 1 เดือน สร้าง Engagement กว่า 170 ล้านครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/buppasaniwas-big-data/feed/ 0
สรุปข้อมูลโซเชียลมีเดียไทยปี 2017 วัยรุ่นหนีพ่อแม่มาเล่นทวิตเตอร์มากขึ้น เฟซบุ๊กแตะ 49 ล้านราย อันดับ 8 โลก https://thestandard.co/thailand-social-media-statistics-2017/ https://thestandard.co/thailand-social-media-statistics-2017/#respond Fri, 02 Mar 2018 12:32:55 +0000 https://thestandard.co/?p=74587

พุธที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โธธ โซเชียล และวันบิต แมท […]

The post สรุปข้อมูลโซเชียลมีเดียไทยปี 2017 วัยรุ่นหนีพ่อแม่มาเล่นทวิตเตอร์มากขึ้น เฟซบุ๊กแตะ 49 ล้านราย อันดับ 8 โลก appeared first on THE STANDARD.

]]>

พุธที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โธธ โซเชียล และวันบิต แมทเทอร์ ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลได้ร่วมกันจัดงาน Thailand Zocial Awards 2018 ครั้งที่ 6 ขึ้น ภายในงานมีการสรุปข้อมูลการใช้งานโซเชียลมีเดียท่ีน่าสนใจของคนไทยตลอดรอบปี 2017 ที่ผ่านมาจากข้อความเกือบๆ 3,600 ล้านข้อความบนโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์ม (Facebook, Instagram, Twitter, LINE, Google และ Pantip) พบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

 

จากการคัดกรองข้อมูลดิบบนโลกโซเชียลมีเดียไทยปีที่ผ่านมา กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โธธ โซเชียล จำกัด เผยว่า แต่ละแพลตฟอร์มมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมายเช่นเดียวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค และเมื่อจำแนกตามชาร์ตความถี่ของแต่ละวันจะพบว่า เดือนตุลาคมหรือช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จะมีข้อความปรากฏบนโซเชียลมีเดียของคนไทยมากเป็นพิเศษ

 

 

เมื่อแยกตามไตรมาสในแต่ละปีจะปรากฏเป็นคียเวิร์ดที่สำคัญดังนี้

  • ไตรมาสที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) ปรากฏการณ์ Facebook Live และ Youtube Live ของรายการเกมโชว์ The Mask Singer ซีซัน 1, แฮชแท็ก #Missuniverse ร่วมเชียร์ น้ำตาล-ชลิตา ส่วนเสน่ห์ บนทวิตเตอร์
  • ไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) แมว, สุนัข, หน้ากากหอยนางรม (โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ) จากรายการ The Mask Singer ซีซัน 2 และเจ้านาย-จินเจษฎ์ วรรธนะสิน (จากการออกซิงเกิล คนละชั้น)
  • ไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) โรคซึมเศร้ากับการจากไปของเชสเตอร์ เบนนิงตัน นักร้องนำวง Linkin Park, ซีเกมส์ (ซีโกง), ต่ำตมไม่หยุด (โอ๊ต-ปราโมทย์ ปาทาน), เพลงประกอบภาพยนตร์ ส่ม ภัค เสี่ยน ที่มียอดวิวกว่า 50 ล้านครั้งในเดือนที่หนังฉาย
  • ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) แฮชแท็ก #MissUniverse ร่วมเชียร์ มารีญา พูลเลิศลาภ บนทวิตเตอร์ และก้าวคนละก้าว

 

 

เมื่อแยกเป็นประเด็นย่อยต่างๆ จะพบว่าประเด็นส่วนใหญ่ที่ถูกพูดถึงบนโลกโซเชียลมีเดียจะอยู่ในวงการ ‘บันเทิง’ เป็นหลัก สะท้อนให้เห็นว่าวงการบันเทิงสำคัญกับสังคมไทยมากๆ มีการเปรียบเทียบกันคร่าวๆ ว่าประเด็นบันเทิงจะถูกพูดถึงมากกว่าประเด็นทางธุรกิจกว่า 10 เท่าตัว (300 ล้านข้อความ : 30 ล้านข้อความ) ในจำนวนนี้ 52.5% คือการพูดถึงศิลปินชาย, 29.7% พูดถึงรายการทีวี และอีก 5.9% พูดถึงตัวนักแสดง

 

 

Twitter คือโซเชียลมีเดียที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในไทย เด็กวัยรุ่นหนีพ่อแม่มาจากแพลตฟอร์มอื่น

พเนิน อัศววิภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วันบิต แมทเทอร์ จำกัด สรุปภาพรวมการใช้งานโซเชียลมีเดียจำแนกตามแต่ละแพลตฟอร์มหลักๆ และพบว่า Twitter คือแพลตฟอร์มที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดด้านยอดผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 33% มีจำนวนผู้ใช้รวมมากกว่า 12 ล้านราย แบ่งเป็น Active User ที่ 5.7 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 80% (ปี 2017 มี Active User 3.6 ล้านราย)

 

 

เหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้ Twitter มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดนั้น ทีมงาน Twitter ประเทศไทย บอกว่าเป็นเพราะวัยรุ่นไทยในช่วงวัย 16-24 ปี ใช้แพลตฟอร์มของตนเป็นที่ลี้ภัยจากการถูกคุกคามของผู้ปกครอง พ่อแม่ และผู้ใหญ่บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ จนทำให้กลุ่มวัยรุ่นไทยมีสัดส่วนการใช้งาน Twitter มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก

 

อย่างไรก็ดี เมื่อมองกลับไปยัง Facebook และ Instagram สองแพลตฟอร์มเจ้าสำคัญในตลาด จะพบว่าปีที่ผ่านมา Facebook ในไทยมียอดผู้ใช้รวมอยู่ที่ 49 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วแค่ 4% เท่านั้น ด้าน Instagram มียอดผู้ใช้รวม 13.6 ล้านราย คิดเป็นอัตราการเติบโตที่ 24% ซึ่งพเนินมองว่าเมื่อแพลตฟอร์มมีอัตราการเติบโตที่ช้าลง แต่จำนวนแบรนด์ที่ต้องการลงโฆษณากลับมีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มีการแย่งพื้นที่สื่อกันเอง ส่งผลให้ค่าโฆษณาแพงขึ้น และทำให้แบรนด์-เอเจนซีหลายๆ เจ้าต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การทำการตลาดในปี 2018 ใหม่กันทั้งหมด

 

 

  • ปัจจุบัน Facebook มีผู้ใช้งานทั่วโลกรวมกว่า 2.13 พันล้านราย โตขึ้นจากปีที่แล้ว 10% โดยประเทศไทยมียอดผู้ใช้รวมอยู่ในอันดับที่ 8
  • 5 จังหวัดที่มีจำนวนผู้ใช้สูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ชลบุรี, นครราชสีมา และสงขลา
  • จุดที่น่าสนใจคืออินเดียแซงสหรัฐอเมริกาขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งด้วยยอดผู้ใช้งานรวม 240 ล้านราย สาเหตุมาจากจำนวนประชากรและอัตราการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังเป็นโอกาสที่เหมาะสมกับการที่แบรนด์ต่างๆ จะใช้ Facebook เจาะตลาดผู้ใช้ในอินเดีย
  • Facebook Messenger มีอัตราการใช้งานโตขึ้นจากเดิมที่ 22% มีผู้ใช้งานรวม 886 ล้านราย ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 8 มีจำนวนผู้ใช้เท่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สอดคล้องกับสัดส่วนการเติบโตของแพลตฟอร์ม Facebook ที่เริ่มช้าลง

 

 

  • สัดส่วนเอ็นเกจเมนต์ยอดนิยมของคนไทยคือการคลิกไลก์ที่ 89% กดแชร์ 5% คลิกแสดงความคิดเห็นและกดรีแอ็กชันเท่ากันที่อย่างละ 3%
  • ช่วงเวลาที่คนไทยนิยมใช้ Facebook มากที่สุดคือ 6 โมงเย็นถึง 5 ทุ่ม

 

 

 

  • Instagram มีสัดส่วนผู้ใช้ทั่วโลกโตขึ้น 14% มีผู้ใช้ในปี 2018 ที่ 800 ล้านราย โดยสหรัฐอเมริกานำขาดเป็นอันดับหนึ่งด้วยยอดผู้ใช้ 117 ล้านราย ขณะที่ไทยรั้งอยู่ในอันดับ 14
  • ช่วงเวลาที่คนไทยนิยมเล่น Instagram มากที่สุดคือช่วงปลายสัปดาห์ ในระยะเวลาตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม เพราะชอบถ่ายภาพแนวไลฟ์สไตล์ ขณะที่วันธรรมดา ช่วงเวลาพีกไทม์จะอยู่ที่ 6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม
  • ประเภทโพสต์ที่ได้รับความนิยมากที่สุดคือ ภาพ 71% ส่วนโพสต์แบบอัลบั้ม (Carossel) อยู่ที่ 24%, วิดีโอ 5% โดย Carossel มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

 

 

  • ช่วงเวลาที่คนไทยนิยมใช้ Twitter มากที่สุดคือ 2 ทุ่มถึงเที่ยงคืน และปีนี้เริ่มลามไปจนถึงช่วงเวลาตี 1 และการที่ผู้ใช้  Twitter ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นยังสะท้อนให้เห็นว่าเด็กไทยรุ่นใหม่มีแนวโน้มจะนอนดึกมากขึ้น ซึ่งแบรนด์ที่ขายสินค้า-บริการ 24 ชั่วโมงอาจจะใช้เป็นช่องทางทำประโยชน์ได้

 

***หมายเหตุ: ข้อมูลทั้งหมดนับจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2018 เท่านั้น

 

 

Facebook ปรับหน้าฟีดใหม่ ทำเอ็นเกจเมนต์ต่อโพสต์ตก 27%!

หลังการปรับนโยบายเปลี่ยนการแสดงผลหน้านิวส์ฟีดบน Facebook ของผู้ใช้งานแบบใหม่ โดยเน้นให้โชว์โพสต์จากแบรนด์น้อยลงเพื่อให้เห็นโพสต์จากเพื่อนๆ หรือผู้ใช้งานคนอื่นๆ มากขึ้นนั้น พเนินบอกว่าเมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วและปีนี้ (มกราคม 2017, 2018) พบว่าแบรนด์มีอัตราการโพสต์คอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียมากขึ้น 52% มีอัตราการได้รับเอ็นเกจเมนต์รวมเพิ่มขึ้น 12%

 

ถึงแม้จำนวนโพสต์และเอ็นเกจเมนต์จะสูงขึ้น แต่เมื่อจำแนกแยกตามเอ็นเกจเมนต์ต่อโพสต์จะพบว่าสัดส่วนกลับลดลงจากเดิมที่ 27% เลยทีเดียว นั่นหมายความว่าแต่ละแบรนด์ต้องแข่งขันกันหนักมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อแย่งเอ็นเกจเมนต์กัน ต้องขยันปล่อยโพสต์ให้ถี่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อดันตัวเองให้กลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมบนโลกออนไลน์

 

 

ส่วนประเภทของคอนเทนต์ที่ได้รับเอ็นเกจเมนต์เฉลี่ยสูงสุดบน Facebook จากการเก็บข้อมูลบนเพจ 100,000 เพจใน 27 หมวดอุตสาหกรรม มีดังนี้  

  • อันดับ 1 วิดีโอ 2,556 เอ็นเกจเมนต์
  • อันดับ 2 ภาพ 1,273 เอ็นเกจเมนต์
  • อันดับ 3 ลิงก์ 1,199 เอ็นเกจเมนต์
  • อันดับ 4  อีเวนต์ 387 เอ็นเกจเมนต์
  • อันดับ 5 โน้ต 115 เอ็นเกจเมนต์
  • อันดับ 6 สเตตัส 32 เอ็นเกจเมนต์

 

จากข้อมูลและผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับแพลตฟอร์ม Facebook ในปัจจุบันนั้นได้นำไปสู่การตั้งคำถามว่า แบรนด์ต่างๆ ควรจะกระจายช่องทางการสื่อสารของตัวเองไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Twitter หรือไม่

 

 

พเนินตอบในข้อสงสัยนี้โดยยกจำนวนยอดผู้ใช้แบบ Active User ที่เพิ่มขึ้นระหว่างช่วงปี 2016-2017 ที่ 83%, จำนวนทวีตของแบรนด์เพิ่มขึ้น 124% และจำนวนรีทวีตโพสต์ของแต่ละแบรนด์โดยผู้ใช้ทั่วไปเพิ่มขึ้น 101% มาประกอบ โดยชี้ว่าถึงเวลาแล้วที่แบรนด์ต่างๆ อาจจะเริ่มหันมาใช้แพลตฟอร์มนี้ แต่สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละแบรนด์ด้วย

 

ภาพรวมและนโนบายการให้ความสำคัญของ 6 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในปี 2018

 

เว็บไซต์ Pantip.com – อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ตัวแทนจากเว็บไซต์พันทิป

ภาพรวมปี 2017

  • ห้องที่คนเข้าไปดูหน้าฟีดมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือ ห้องบางขุนพรหม (ละคร) เหตุผลเพราะเป็นเรื่องความบันเทิง คนสามารถเข้าไปคุยหรือแลกเปลี่ยนความเห็นได้ทุกวัน รองลงมาคือห้องศุภชลาศัย (กีฬา) โดยวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่คนให้ความสนใจมากที่สุด ส่วนห้องกระทู้ที่มีคนอ่านมากที่สุดอยู่ใน 3 ห้อง ได้แก่ ห้อง Blue Planet (ท่องเที่ยว), ห้องโต๊ะเครื่องแป้ง (เครื่องสำอาง) และห้องสวนลุมพินี (ดูแลสุขภาพ)
  • ห้องที่มีเอ็นเกจเมนต์สูงสุด (เข้ามาคอมเมนต์มากที่สุด) คือห้องสาระประชาชน เป็นห้องที่พูดคุยเรื่องกฎหมาย ความเดือดร้อนผู้บริโภค กระทู้ร้องเรียนปัญหา รวบรวมเอากระทู้ร้องเรียนจากทุกห้องมารวมไว้ด้วยกัน โดยกระทู้ที่มีคนคอมเมนต์มากที่สุดอยู่ที่ประมาณหลายหมื่นคอมเมนต์
  • แบรนด์ต่างๆ เริ่มมีการมาใช้ฟีเจอร์กระทู้ Advertorial ที่เขียนโดยทีมงาน Pantip มากขึ้น

 

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

  • Brand Expert Account ฟีเจอร์ที่เปิดให้แบรนด์ต่างๆ เข้ามาตอบปัญหาของผู้ใช้งานที่เขามาตั้งกระทู้ร้องเรียน สามารถใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ห้ามโฆษณาขายสินค้า

 

สิ่งที่เราจะได้เห็นในปี 2018 นี้

  • ฟีเจอร์ใหม่ Pantip Branded Content ที่เปิดให้แบรนด์เข้ามาเขียนกระทู้ของตัวเอง หรือใช้สมาชิกที่เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ เขียนแล้ว ‘ซื้อ’ ในราคาหลักหมื่นบาทเพื่อบูสต์ให้ปรากฏในตำแหน่งพิเศษ 7 วัน (หลังจากจบ 7 วันกระทู้ยังอยู่) เปิดใช้ในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งแบรนด์สามารถเลือกปิดคอมเมนต์แง่ลบได้

 

Twitter – ชนะชัย ไชยปัญญา จากบริษัท มีเดียโดนัทส์ จำกัด ตัวแทนอย่างเป็นทางการของ Twitter ประเทศไทย

ภาพรวมปี 2017

  • อัตราการเติบโตของผู้ใช้งาน Twitter ในประเทศไทยสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัย 16-24 ปี ที่ใช้เป็นที่ลี้ภัยจากการถูกสอดส่องของผู้ใหญ่
  • อินฟลูเอนเซอร์หน้าใหม่อย่าง เป๊ก-ผลิตโชค อายนบุตร และโอ๊ต-ปราโมทย์ ปาทาน มีส่วนช่วยทำให้บรรยากาศใน Twitter คึกคักมากขึ้น ดึงแฟนคลับเข้ามาในแพลตฟอร์ม โดย #เป๊กผลิตโชค อยู่ในอันดับ 3 ของแฮชแท็กยอดฮิตในประเทศไทย ปี 2017
  • มีสัดส่วนการเติบโตของรายรับจากค่าโฆษณาโตขึ้นเป็นเท่าตัวในทุกๆ ไตรมาส
  • อยากให้มองเป็นสำนักข่าวของโลกที่มีหน้า Trends เป็นหน้าหนึ่ง โดยมีผู้ใช้ทุกคนเป็นบรรณาธิการในการอัพเดตข้อมูลข่าวสารและสถานการณ์สดๆ ที่เกิดขึ้น

 

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

  • Promote Trend แบรนด์สามารถซื้อตำแหน่งเทรนด์อันดับ 1 ของ Twitter ได้แล้วในราคา 180,000 บาทต่อวัน (ไม่รวม Vat) และจำกัดแบรนด์เดียวเท่านั้นต่อวัน โดยตอนนี้แบรนด์ต่างๆ เข้ามาลงโฆษณาได้แล้วโดยไม่ต้องผ่านเอเจนซีอีกต่อไป
  • Key Word Targeting โฆณาตามคีย์เวิร์ดแต่ละคำ เช่น เมื่อเสิร์ชคำว่า ‘หิว’ จะเจอสินค้าหมวดบริโภค

 

สิ่งที่เราจะได้เห็นในปี 2018 นี้

  • Content Partnership ที่ Twitter จะเข้ามาร่วมงานสนับสนุนกับแบรนด์ในแต่ละหมวดอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยทำการตลาด

 

LINE – นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร ตัวแทนจาก LINE ประเทศไทย

ภาพรวมปี 2017

  • ผู้ใช้แบบ Active User ยังอยู่ที่ 41 ล้านคน โดยผู้ใช้หน้าใหม่จะเริ่มมีอายุมากขึ้น (เบบี้ บูมเมอร์, เจนเอ็กซ์) ทำให้สัดส่วนประชากรเริ่มขยายและมีแบรนด์เข้ามาทำตลาดมากขึ้น
  • แบรนด์ไม่ได้แค่ตอบคำถามหรือส่งข้อความไปหาลูกค้า แต่เริ่มมีการทำ Business Connect หรือบริการที่เชื่อมต่อกับหลังบ้านมากขึ้นเพื่อเอ็นเกจกับผู้บริโภค เช่น แอ็กเคานต์ธนาคารที่เชื่อมต่อกับการแจ้งเตือนการทำธุรกรรม

 

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

  • Data Management Solution เชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านของแบรนด์เพื่อส่งแคมเปญโปรโมชันที่เฉพาะเจาะจงถึงลูกค้าแต่ละคนตามพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการ

 

สิ่งที่เราจะได้เห็นในปี 2018 นี้

  • การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค เพราะ LINE ไม่มีนโยบายเก็บข้อมูลของผู้ใช้เลย
  • เป็นช่องทางช่วยให้แบรนด์ทำตลาดแบบ Customer on Demand กับผู้บริโภค เช่น การแจ้งเตือนบริการหลังการขายผ่าน Brand Official Account
  • เข้าไปเจาะตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในชื่อ ‘LINE Idol’

 

ไมเคิล จิตติวาณิชย์ Google ประเทศไทย

ภาพรวมปี 2017

  • เทรนด์ Xylo Cast การถ่ายทอดสดพร้อมกันบนโทรทัศน์และช่อง Youtube Official Account เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จคือช่องเวิร์คพอยท์ ด้านผู้ใช้ต่างจังหวัดก็เริ่มเข้ามาใช้แพลตฟอร์มมากขึ้น
  • ประเภทชาแนลที่มีสัดส่วนยอดผู้ติดตามมากขึ้นสูงสุดใน 3 หมวด ได้แก่ Gaming, Family, Beauty

 

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

  • การศึกษาข้อมูลความสนใจของผู้บริโภคที่ดึงข้อมูลจากแพลตฟอร์มบริการทั้ง 7 อย่างของ Google ออกมาวิเคราะห์ให้กับแบรนด์ต่างๆ

 

สิ่งที่เราจะได้เห็นในปี 2018 นี้

  • ปีนี้ Youtube จะเน้นการทำโฆษณารูปแบบใหม่ผ่าน ‘True View for Action’ เพื่อดึงคนดูคลิปโฆษณาต่างๆ ให้คลิกเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของแบรนด์นั้นๆ โดยตรง

 

Facebook – ดวงพร พรหมอ่อน ตัวแทนจาก Facebook ประเทศไทย

ภาพรวมปี 2017

  • เทรนด์การนำแพลตฟอร์มไปใช้เป็นโซเชียลคอมเมิร์ซทำธุรกิจขายสินค้าเป็นจำนวนมาก รวมถึงการไลฟ์ขายของ
  • ผู้ใช้มีแนวโน้มจะเลื่อนหน้าฟีดเร็วมาก นับเป็นหลักวินาทีเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นแบรนด์ต่างๆ ควรเลือกใช้ภาพประกอบ ภาพเปิดคอนเทนต์ต่างๆ ให้เหมาะกับพฤติกรรมของคนเพื่อดึงดูดความสนใจ
  • ฟีเจอร์ Instagram Story มีสัดส่วนการใช้งานสูงมากๆ ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการทำตลาดผ่านฟีเจอร์นี้

 

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

  • Instragram Story Ad และ Messenger Ad ที่มาพร้อมกับ Messenger Bot ผู้ช่วยแชตบอตในการให้บริการข้อมูลต่างๆ

 

สิ่งที่เราจะได้เห็นในปี 2018 นี้

  • ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่จะช่วยให้แบรนด์อีคอมเมิร์ซรายเล็กๆ ทำการตลาดของตัวเองเพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคได้ดีขึ้น

 

ในแต่ละปี ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์มย่อมมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการของตัวเองอยู่เสมอ ระดับความเปลี่ยนแปลงในบางปีอาจจะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่บางปีอาจจะเปลี่ยนไปแบบเหนือความคาดหมาย (เหมือน Facebook กับการเปลี่ยนอัลกอริทึมหน้าฟีดในปี 2018) แต่ส่ิงที่สำคัญที่สุดซึ่งสปีกเกอร์ทุกๆ คนเน้นย้ำคือการที่แบรนด์และคนทำคอนเทนต์ก็ต้อง ‘ปรับตัว’ ด้วยเช่นกัน

 

เหตุผลที่ต้องปรับตัวไม่ใช่แค่เพื่อให้วิ่งตามแพลตฟอร์ม คู่แข่ง และผู้บริโภคให้ทันเท่านั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณหยุดอยู่กับที่ นั่นเท่ากับว่าคุณจะเสียโอกาสโดยสูญเปล่า ทำให้คุณล้าหลังกว่าชาวบ้านอยู่เสมอ และหนักที่สุดคือคุณจะหลุดจากวงโคจรเดิมของตัวเองอย่างน่าเสียดาย

 

สำคัญที่สุดคือหากเกิดกระบวนการนำ ‘ข้อมูล’ ที่มีมาประมวลผลเพื่อออกแบบและวางกลยุทธ์สื่อสารให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อแบรนด์ได้เมื่อไร ก็จะช่วยผ่อนแรงการทำงานได้มหาศาลตามไปด้วย

The post สรุปข้อมูลโซเชียลมีเดียไทยปี 2017 วัยรุ่นหนีพ่อแม่มาเล่นทวิตเตอร์มากขึ้น เฟซบุ๊กแตะ 49 ล้านราย อันดับ 8 โลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thailand-social-media-statistics-2017/feed/ 0
เผยทุกความลับในโลกโซเชียลกับ ‘กล้า ตั้งสุวรรณ’ ซีอีโอ Thoth Zocial https://thestandard.co/kla-tangsuwan-thoth-zocial/ https://thestandard.co/kla-tangsuwan-thoth-zocial/#respond Thu, 21 Sep 2017 03:30:10 +0000 https://thestandard.co/?p=28417

     หากพูดถึงชื่อของ กล้า ตั้งสุวรรณ หล […]

The post เผยทุกความลับในโลกโซเชียลกับ ‘กล้า ตั้งสุวรรณ’ ซีอีโอ Thoth Zocial appeared first on THE STANDARD.

]]>

     หากพูดถึงชื่อของ กล้า ตั้งสุวรรณ หลายคนคงจะรู้จักเขาในฐานะซีอีโอของบริษัท Thoth Zocial ผู้ให้บริการข้อมูลและวิเคราะห์ผลบนโซเชียลมีเดียแบบครบวงจร และอีกหลายๆ คนก็คงจะรู้จักเขาในฐานะของผู้จัดงาน Thailand Zocial Awards ที่เป็นการมอบรางวัลให้กับผู้ที่ประสบความสำเร็จทางด้านต่างๆ ในโซเชียลมีเดีย

     เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะคุยกับใครสักคนทั้งเรื่องของการทำธุรกิจ โลกของโซเชียลเน็ตเวิร์ก ก้าวต่อไปของสตาร์ทอัพ และอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วยการขับเคลื่อนของทั้ง 3 สิ่งนี้ กล้าก็คงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดแบบปฏิเสธไม่ได้

 

 

ในฐานะของคนที่มีข้อมูลของโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กอยู่ในมือ คุณมองว่าภาพรวมของโลกโซเชียลในปัจจุบันนั้นเป็นแบบไหน

     โดยรวมแล้วโลกโซเชียลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับทุกๆ อุตสาหกรรมที่มีอยู่ในโลกนี้ รวมไปถึงในประเทศไทยด้วย และตามข้อมูลแล้ว โซเชียลในไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่โตขึ้นเร็วมาก เรียกได้ว่าโตแบบดับเบิลมาทุกปี เพราะฉะนั้นธุรกิจใดก็ตามที่กระโดดเข้ามาเล่นในโลกโซเชียลก็สามารถตั้งความหวังไว้ได้เลยว่ามันจะเติบโตขึ้นทุกปีๆ ในแทบจะทุกๆ ด้านแน่นอน

     ถ้าลองเจาะดูข้อมูลลึกกว่านั้น เราจะพบว่าผู้ใช้โซเชียลของไทยนั้นมีพฤติกรรมเฉพาะของมันอยู่ มันมีแฮชแท็กประเภท thailand only มากมาย ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นการประกวดนางงามจักรวาลที่เราแข่งติดแฮชแท็กชนะฟิลิปปินส์ ซึ่งก่อนหน้านั้นทางฝั่งฟิลิปปินส์เขาก็ภูมิใจในการใช้โซเชียลของเขามากนะ ประชากรโซเชียลเขาเยอะ และมีคนบ้าโซเชียลพอกันกับเรา แต่ไทยก็ยังชนะ เพราะฉะนั้นบนโลกโซเชียลบ้านเราไม่เป็นรองใครแน่นอน

 

พอจะบอกได้ไหมว่าอะไรที่ทำให้ไทยสามารถชนะฟิลิปปินส์ได้

     เพราะเรารวมพลังกัน จำนวนคนเราอาจจะน้อยกว่า แต่เราสามารถรวมพลังกันด้วยความบ้าโซเชียลได้ มองในมุมสังคมก็น่าสงสัยว่ามันดีหรือเปล่า เพราะโลกโซเชียลมันเหมือนเป็นโลกที่ควบคุมไม่ได้ หลายๆ คนจึงพยายามที่จะควบคุม และอีกมุมหนึ่ง โซเชียลในไทยมันก็แทบจะเป็นของต่างชาติหมดเลย เหมือนกับเราเสียอธิปไตยในเชิงโซเชียล แต่ผมว่ามันไม่ควรมองว่านี่คือไทย หรือนั่นคือต่างชาติ เพราะทุกคนต่างมีผลประโยชน์ที่เกื้อกูลกันหมด เราต่างเป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลก

 

 

และถ้ามองในมุมธุรกิจ บอกได้ไหมว่าธุรกิจไหนดูมีแนวโน้มที่จะเข้ามาสู่โลกโซเชียลมากขึ้นเรื่อยๆ

     มันมีธุรกิจใหม่ที่กระโดดเข้ามาตรงนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ครับ ถ้าเราย้อนกลับไปสัก 5 ปี เราจะเห็นว่ามีแค่ธุรกิจไอที เทคโนโลยี และดิจิทัลทั้งหลาย แต่ทุกวันนี้คนขับแท็กซี่ก็ยังต้องใช้และทำธุรกิจกันอยู่ในนี้เลยนะ ทุกคนใช้เพื่อทำมาหากินหมด มันเปลี่ยนชีวิตของคนไปเลย คล้ายกับสมัยก่อนที่ไม่มี google ตอนนี้เรานึกไม่ออกแล้วว่าถ้าไม่มี google จะเป็นยังไง ก็เหมือนกับถ้าวันนี้ไม่มีโซเชียลมีเดียแล้วเราจะอยู่กันยังไง

     เพราะฉะนั้นผมมองว่าธุรกิจทุกอย่างจะหันหน้าเข้าสู่โลกโซเชียล ใครปรับตัวได้ก็อยู่รอด ใครที่มองว่าโซเชียลเป็นสิ่งที่มาขัดขวางธุรกิจแล้วไม่ยอมปรับตัวเข้าหา ก็จะอยู่ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็มีหลายธุรกิจที่สามารถอยู่รอดได้แม้จะถูกโลกโซเชียลเข้ามาทำให้ปั่นป่วนในทีแรกอยู่บ้างก็ตาม อย่างเช่นธุรกิจทีวี วงการสิ่งพิมพ์ หรือคอนเทนต์ต่างๆ ที่มีทั้งคนอยู่รอดและคนที่ล้มตายไป

 

ในฐานะผู้จัดงาน Thailand Zocial Awards คุณมองเห็นอะไรจากงานนี้บ้าง

     ผมมองในสองมุม มุมแรกคือเราจัดงานนี้ขึ้นมาเพราะมันไม่เคยมีบรรทัดฐานในการวัดผลงานบนโซเชียลกันมาก่อน มันไม่เคยมีตัวชี้วัดว่างานที่ทำกันบนโซเชียลเนี่ย เราทำกันได้ดีหรือเปล่า เพราะมันจับต้องไม่ได้ ซึ่งในฐานะที่เรามีข้อมูลโซเชียลเยอะมาก เราก็อยากจะคืนบางอย่างกลับไปสู่วงการนี้ อยากให้วงการมันไปในทางที่ถูกและเชิดชูคนที่ไปในทางที่ดี เรารู้ว่าโลกโซเชียลมันมีทั้งด้านขาว ด้านเทา และด้านดำ เราก็อยากให้เขารู้ว่าถ้าคุณทำด้านที่ขาวแล้วมันดี เราก็อยากจะสนับสนุนนะ ซึ่งหลังจากจัดมา 5 ปี เราก็ได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นเรื่อยๆ

     ทีนี้หลังจากแจกรางวัลไป ผมก็เดินเข้าไปถามผู้ได้รับรางวัลทุกคนเลยว่า กลยุทธ์ที่เขานำเสนอออกมานั้น เขาคิดขึ้นมาได้ยังไง ซึ่งก็พบว่าทุกแบรนด์ที่ได้รับรางวัลในแต่ละหมวดเขาคิดกลยุทธ์กันเองทั้งหมดเลยนะ คือเป็นไอเดียจากคนข้างใน ไม่ได้จ้างคนข้างนอกมาคิดให้ เหมือนมันเป็นสิ่งที่เขาอิน ตั้งใจทำ และคิดถึงลูกค้าเป็นหลัก รู้ว่าเขาอยากจะส่งต่ออะไรให้กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมาจากคนที่ทำงานข้างในจริงๆ เท่านั้น ผมมองว่าตรงนี้คือสิ่งที่เราสนับสนุน คืออยากให้แบรนด์เข้าใจโซเชียลและใช้ประโยชน์จากมันให้ได้มากที่สุด เพราะผู้บริโภคของเราอยู่ในนั้นอยู่แล้ว แต่เราต้องค้นหาให้เจอว่าเราจะเข้าถึงและเข้าใจเขาได้ยังไง มันมีวิธีการที่สนุกและมีอะไรให้ทำในโลกโซเชียลอีกเยอะ มากกว่าการไปหาคนมาแล้วบอกให้เขาทำวิดีโอไวรัลมาตัวหนึ่ง

 

วิดีโอไวรัลเป็นสิ่งที่ไม่ตอบโจทย์แล้วอย่างนั้นเหรอ

     ผมมองว่าตามธรรมชาติแล้ว ความไวรัลมันเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้นะ แต่หลายแบรนด์พยายามไปฝืนธรรมชาติ คือพยายามไปควบคุมมัน ทั้งที่ความจริงแล้วพื้นที่โซเชียลมันเป็นพื้นที่ทดลอง คุณต้องทดลองไอเดียไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้ว่าไอเดียแบบไหนที่ผู้บริโภคของคุณจะซื้อ และถ้าผู้บริโภคซื้อ มันก็จะกลายเป็นไวรัลให้คุณเอง ซึ่งข้อมูลทางโซเชียล หรือ social data มันทำให้คุณต้องทดลองน้อยลง

 

 

แล้วข้อมูลแบบไหนที่คนทำธุรกิจควรสนใจในช่วงนี้

     ถ้าตอบกว้างๆ ผมจะบอกว่าข้อมูลนั้นมันเป็นคำตอบของคำถาม แล้วแต่ละธุรกิจก็มีคำถามที่ไม่เหมือนกันเลย มันจึงต้องใช้ข้อมูลที่แตกต่างกันไป แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปอีกนิด ข้อมูลที่ผู้ประกอบการควรจะฟังบ้างในช่วงนี้คือ psychographic หรือลูกค้ารู้สึกนึกคิดยังไง เรารู้กันอยู่แล้วว่าเวลาคนที่จะซื้อของสักชิ้นเขาไม่ได้ใช้ตรรกะหรอก ไม่ได้ใช้เหตุผลเยอะขนาดนั้น เพราะฉะนั้นการใช้แค่ demographic ว่าเพราะเขาอายุเท่านี้ เพราะเป็นผู้ชาย เพราะอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะเงินเดือนเท่านี้ เพราะทำงานอยู่ในตำแหน่งนี้ แล้วเดาว่าเขาจะซื้อของเรา เพราะเขาคือกลุ่มเป้าหมายของเรา มันใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่มันไม่พอ เพราะแม้จะเป็นคนในกลุ่มเดียวกัน แต่บางสิ่งบางอย่างก็ทำให้เขามีอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน และคิดไม่เหมือนกัน ซึ่งความคิดนี้มันก็เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ด้วยนะ

     อย่างตัวผมเอง วิธีการซื้อของของผมในปีนี้กับปีที่แล้วนั้นต่างกันไปโดยสิ้นเชิงเพราะสิ่งๆ เดียวเลย นั่นคือการที่ผมมีลูก ผมยังเป็นผู้ชายเหมือนเดิม หน้าที่การงานเดิม รายได้เท่าเดิม ขับรถคันเดิมอยู่ไหม ใช่เลย มีที่แตกต่างจากเดิมคืออายุที่เพิ่มขึ้นแค่ปีเดียว นอกนั้นทุกอย่างแทบจะเหมือนเดิมหมด แต่การมีลูกนั้นเปลี่ยนแปลงวิธีคิดทุกอย่างเลย แล้วทีนี้คุณจะรู้ได้ยังไงว่าผมมีลูก บางทีคุณก็อาจจะต้องทำแบบสอบถาม ซึ่งยังไงมันก็ไม่ครอบคลุมหรอก แต่ถ้าคุณไปดูโซเชียลผม มันจะตอบทุกอย่างเลย จากแต่ก่อนปาร์ตี้ตลอด ตอนนี้จะไปไหนก็ได้ แต่ต้องเลิกก่อนสองทุ่ม (หัวเราะ) เริ่มมีเพื่อนติดแท็ก #พ่อบ้านใจกล้า เข้ามา สิ่งเหล่านี้มันเป็นรอยเท้าของเราทั้งหมด ซึ่งถ้าแบรนด์ได้รู้ข้อมูลเหล่านี้ก็จะเข้าใจความคิดและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

     หรืออีกกรณีคือการแท็กคำว่า #อยากกิน ขึ้นมาในโลกโซเชียล คุณลองเดาดูสิว่าคำอะไรที่ถูกแท็กคู่กันมากที่สุด

 

ก็น่าจะเป็น #อาหารญี่ปุ่น หรือเปล่า

     ไม่ใช่ แท็กอันดับหนึ่งที่คู่กับคำว่า #ของกิน คือ #เป๊กผลิตโชค ครับ ชนะทุกชนิดเลย ซึ่งถ้าคุณรู้ข้อมูลแบบนี้ คุณสามารถเอาไปทำอะไรได้อีกหลายอย่างเลยนะ กุญแจสำคัญของผู้ประกอบการชุดนี้คือการตั้งโจทย์ให้ฉลาด และข้อมูลเหล่านั้นมันจะช่วยตอบคำถามให้คุณเอง

 

 

นั่นคือข้อมูลสำหรับทางฝั่งธุรกิจ แล้วในทางกลับกัน ผู้บริโภคควรจะรู้อะไรจากข้อมูลเหล่านี้บ้าง

     ผมมองว่าผู้บริโภคควรจะรู้ว่าโซเชียลที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ อะไรคือปลอดภัย อะไรคืออันตราย คุณควรรู้ว่าข้อมูลอะไรที่เราเปิดเผยออกไปบ้าง และคนที่เราเอาข้อมูลส่วนตัวให้ไปนั้นน่าไว้ใจหรือเปล่า ถ้าเราเอาข้อมูลที่เราหวงไปฝากกับคนที่ไว้ใจได้มันก็โอเค แต่ถ้าเราเอาไปให้คนที่ไม่น่าไว้ใจ นั่นคือไม่ปลอดภัยแล้ว ผู้บริโภคควรจะรู้เรื่องนี้ให้มากที่สุด

     อย่างตอนที่เราคุยกันอยู่นี้ เราก็มีการเปิดเผยข้อมูลกันอยู่ เพราะโทรศัพท์มือถือของเรามันทำการ tracking อยู่ตลอดเวลา มี 3 คนแน่ๆ ที่ตอนนี้รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน หนึ่งคือ google สองคือ facebook และสามคือเครือข่ายมือถือของเรา แต่พอดี 3 คนนี้เขามีมาตรการที่จะรักษาความลับของเราเอาไว้ มันก็เลยโอเค แต่ถ้าคุณเผลอไปให้ข้อมูลกับใครที่ไม่ได้มีมาตรการแบบนี้ ไปใช้แอปฯ แปลกๆ ไปตอบควิซบางอย่างที่ต้องใช้ข้อมูลส่วนตัว ซึ่งถามว่าจะใช้หรือเล่นสิ่งเหล่านี้ได้ไหม มันก็ได้ แต่คุณต้องรู้ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย

 

 

ในยุคที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เริ่มต้นทำธุรกิจกันมากมายแบบนี้ อะไรคือสิ่งที่พวกเขายังขาดอยู่

     ผมมองเป็นสองส่วนดีกว่า ส่วนแรกคือส่วนที่ยังไม่มีการสนับสนุน เป็นเรื่องของไอเดียและวิชัน คือบ้านเรามันมีความเป็นไทยสูง เวลาคิดอะไรขึ้นมาก็จะชอบคิดว่าขายแค่คนไทยแหละพอแล้ว ซึ่งเอาจริงๆ การลงทุนทางเทคโนโลยีมันแพงมาก และทั้งโลกมีต้นทุนส่วนนี้ในราคาที่เท่าๆ กัน อย่างเช่นซื้อคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องในสเปกเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ราคาเท่าๆ กัน ประเทศอื่นเขายอมจ่ายกันได้ เพราะเมื่อเทียบกับตลาดของเขา มันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แต่ถ้าหากเรายังมองแค่ตลาดคนในประเทศ มันก็อาจจะไม่คุ้มกับต้นทุนที่เราใช้จ่ายลงไป ผมเลยอยากให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ลองมองไปถึงตลาดนอกประเทศด้วย อย่างน้อยก็ในภูมิภาคนี้ เพราะบางอย่างมันเป็น red ocean ในบ้านเราไปแล้ว แต่ยังไม่ใช่ในภูมิภาคนี้ ถ้าเรามองแบบนี้ได้ วิธีคิดของเราจะเปลี่ยนไป

     และส่วนที่สองคือสิ่งที่พอมองหาการสนับสนุนได้ อย่างเช่นการพูดคุยกับกูรู หรือการเข้าถึงความรู้ต่างๆ ตอนที่ผมเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพเมื่อเกือบสิบกว่าปีก่อนคือเราไม่รู้จะไปหาใครมาแนะนำ เพราะเราเป็นแค่คนตัวเล็กๆ แต่เดี๋ยวนี้เส้นทางมันเปิดกว้างมาก เงินทุนที่พร้อมจะลงทุนให้สตาร์ทอัพนั้นมีมากกว่าจำนวนสตาร์ทอัพเสียอีก

 

อย่างนั้นในฐานะของคนที่เคยเป็นสตาร์ทอัพมาก่อน มีอะไรที่อยากบอกกับผู้เล่นใหม่ๆ ที่วิ่งเข้ามาตอนนี้บ้าง

     ข้อที่หนึ่งคือให้เรามองว่าเราไม่ใช่คนไทย แต่เราเป็นคนของ AEC เราเป็นคนของโลกนี้ เราต้องทำของขายคนเหล่านั้น ข้อที่สองคืออย่าป๊อด อย่ากลัวเจ็บ ยิ่งเรากลัว เราก็จะไม่โต แจ็ค หม่า เคยพูดไว้ว่า ชีวิตเขาขึ้นมาอยู่ตรงนี้ได้แล้วก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา คุณเป็นสตาร์ทอัพ คุณก็มีปัญหาแบบของคุณ คนที่ประสบความสำเร็จแล้วก็มีปัญหาแบบคนประสบความสำเร็จแล้วเหมือนกัน แต่คุณจะไม่มีทางเจอปัญหาของคนที่ประสบความสำเร็จแล้วได้เลย ถ้าคุณยังแก้ปัญหาของสตาร์ทอัพไม่ได้ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้นคือการลุยลงไปเจ็บ วิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือเราต้องล้ม ถ้าเราล้มเร็ว ลุกเร็ว เราจะเจ็บน้อย แต่ถ้ายิ่งโต เราจะยิ่งเจ็บ และค่าใช้จ่ายมันจะยิ่งเยอะ

 

 

คิดว่าการมีพื้นที่ออฟไลน์ให้คนมาเจอกันอย่าง AIS D.C. และ AIS Playground มันตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์อย่างไร

     มันตอบโจทย์สองข้อของสตาร์ทอัพเลยนะ อย่างแรกคือแต่ก่อนมันไม่มีพื้นที่ให้เราลองเล่นอะไรแบบนี้ และมันมีค่าใช้จ่ายแพงมาก อย่างเมื่อก่อนถ้าเราอยากลองเชื่อมต่อแอปฯ ของเราเข้ากับระบบส่ง SMS หรือระบบ OTP (One Time Password) เราจะทำยังไง สมัยก่อนนี่ยากเลย ค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่นี่คุณมาลองเล่นได้เลย แม้จะดูเหมือนว่าซัพพอร์ตแค่สายแอปพลิเคชัน แต่ทุกวันนี้เราก็หาธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับแอปฯ ยากขึ้นทุกที เพราะฉะนั้นผมเลยมองว่าการทำธุรกิจสตาร์ทอัพยุคนี้มันสนุกกว่ายุคก่อนเยอะ มีเงินลงทุนเยอะ มีคนซัพพอร์ตเราเยอะ ซึ่ง AIS D.C. ก็เป็นหนึ่งในนั้น

     อย่างที่สองคือคุณมีพาร์ตเนอร์ หลายคนบอกว่าไอเดียนั้นเป็นของมีค่าราคาแพง แต่ผมมองว่าไอเดียนั้นจะไม่มีค่าอะไรเลย ถ้ามันไม่ได้ถูกเอาไปทดลองใช้งานจริง ซึ่งวิธีทดลองที่ดีที่สุดคือทดลองกับพาร์ตเนอร์ ลองเอางานมาพิตช์กันว่าไอเดียนั้นมันดีหรือไม่ดียังไง ซึ่งหลายคนก็กลัวว่าถ้าพูดออกมาแล้วไอเดียจะถูกก๊อบปี้ไปใช้ ผมบอกเลยว่าถ้าไอเดียคุณดีจริง คุณไม่ต้องกลัวหรอก เพราะมันจะมีแค่คุณคนเดียวที่ทำได้ แต่ถ้าเป็นไอเดียที่คนอื่นสามารถก๊อบปี้ไปทำได้ นั่นแสดงว่ามันเป็นไอเดียที่ใครๆ เขาก็คิดได้ และถ้าไอเดียคุณมันดีจริง เหล่าพาร์ตเนอร์เขาก็พร้อมที่จะสนับสนุน ช่วยตรวจสอบ และพร้อมที่จะทำให้มันเป็นจริงได้อยู่แล้ว

 

 

อยากจะเห็นอะไรหลังการเกิดขึ้นของ AIS D.C. และ AIS Playground บ้าง

     อยากจะเห็นไอเดียเจ๋งๆ จากกลุ่มสตาร์ทอัพเจ๋งๆ คือวงการสตาร์ทอัพในบ้านเรานั้นมีมากขึ้นแล้วจากแต่ก่อน เรากำลังจะมีสตาร์ทอัพที่สามารถพูดได้เต็มปากว่าประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง ซึ่งแน่นอนว่ากว่าจะมาถึงตรงนี้ได้ เขาก็จัดการถางทางและฝ่าฟันสิ่งต่างๆ มาให้คนรุ่นหลังแล้ว แล้วถ้ามันมีคนทำสำเร็จ มันก็จะมีคนที่พุ่งตามมาแน่นอน ก็หวังว่าจะเห็นคนที่ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ยิ่งประเทศนี้มีปัญหามากเท่าไร มันก็ยิ่งเป็นโอกาสของสตาร์ทอัพในการแก้ไขและเข้ามาทำธุรกิจ และผมเชื่อว่ามีคนอีกมากมายที่รอพวกคุณอยู่

 

 

The post เผยทุกความลับในโลกโซเชียลกับ ‘กล้า ตั้งสุวรรณ’ ซีอีโอ Thoth Zocial appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/kla-tangsuwan-thoth-zocial/feed/ 0