The Workplace Therapist – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 10 Nov 2024 08:59:26 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ผู้นำระดับสูงระวัง! แค่ยกเสียงนิดเดียว ลูกน้องตีความหนักกว่าที่คิด https://thestandard.co/leader-voice-impact-employee-perception/ Sun, 10 Nov 2024 08:59:26 +0000 https://thestandard.co/?p=1006793 ผู้นำ

ยิ่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหาร หรือ ผู้นำ ระดับสูงเท่า […]

The post ผู้นำระดับสูงระวัง! แค่ยกเสียงนิดเดียว ลูกน้องตีความหนักกว่าที่คิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้นำ

ยิ่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหาร หรือ ผู้นำ ระดับสูงเท่าไร ยิ่งต้องระมัดระวังการแสดงออกทางอารมณ์มากขึ้นเท่านั้น เพราะทุกการแสดงออกของคุณจะถูกจับตามองและตีความจากทีมงานแตกต่างกันไปตามระดับตำแหน่ง

 

แบรนดอน สมิธ นักบำบัดและโค้ชด้านอาชีพที่รู้จักกันในนาม The Workplace Therapist เผยว่า แม้เพียงการเผลอยกระดับเสียงขึ้นเล็กน้อยในที่ประชุม ก็อาจถูกตีความแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่คุณดำรงอยู่ในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีลูกน้องในการดูแลจำนวนมาก

 

“ทุกครั้งที่คุณได้เลื่อนตำแหน่ง ปฏิกิริยาทางอารมณ์ของคุณจะถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นในสายตาของทีม ระดับตำแหน่งของคุณมีผลต่อการตีความของพวกเขา” สมิธกล่าว พร้อมยกตัวอย่างว่า การที่ผู้บริหารแสดงสีหน้าไม่พอใจเพียงเล็กน้อย อาจถูกทีมตีความว่าเป็นความโกรธระดับรุนแรงได้

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 


 

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า ผู้นำ จะไม่สามารถแสดงความผิดหวังหรือความหงุดหงิดได้เลย เพียงแต่ต้องแสดงออกอย่างมีชั้นเชิงและเหมาะสม รวมถึงต้องรู้จักจังหวะเวลาในการถอยออกมาจากสถานการณ์ที่อาจทำให้เสียการควบคุม

 

ปัญหาสำคัญที่สมิธพบในองค์กรทั่วไปคือ ‘ไม่มีใครกล้าบอกความรู้สึกที่แท้จริง’ ทำให้เกิดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างผู้นำกับทีมงาน ซึ่งอาจนำไปสู่การเข้าใจผิดและบรรยากาศการทำงานที่ตึงเครียด

 

เมื่อรู้สึกว่าควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ทางที่ดีที่สุดคือการถอยออกมาจากสถานการณ์นั้น “คุณควรถอยออกมาและหาคนที่คุณสามารถพูดคุยด้วยได้ หรือหาทางระบายความรู้สึกในรูปแบบอื่น” สมิธแนะนำ แต่สิ่งสำคัญคือต้องไม่เงียบหายไปโดยไม่บอกกล่าว

 

เอมี เอ็ดมอนด์สัน ศาสตราจารย์ด้านภาวะ ผู้นำ และการจัดการจาก Harvard University และผู้เขียนหนังสือ The Fearless Organization: Creating Psychological Safety in the Workplace for Learning, Innovation, and Growth แนะนำว่า ควรบอกทีมก่อนที่จะถอยออกมา เพื่อสร้างความเข้าใจและรักษาความสัมพันธ์ที่ดี

 

“คุณก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ลองพูดว่าตอนนี้ผมรู้สึกหงุดหงิดมากและกำลังเสี่ยงที่จะพูดอะไรบางอย่างที่อาจเสียใจภายหลัง ขอเวลาให้ผมจัดการกับความรู้สึกสักครู่ แล้วจะกลับมาพร้อมกับสภาพจิตใจที่ดีขึ้น” เอ็ดมอนด์สันยกตัวอย่างประโยคที่ผู้นำสามารถใช้สื่อสารกับทีมได้

 

การสื่อสารถึงความรู้สึกและความต้องการพักสักครู่จะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งความโปร่งใสและความไว้วางใจในทีม ดีกว่าการเงียบหายไปโดยไม่บอกกล่าว สมิธเน้นย้ำว่า “หากคุณหายหน้าไปกะทันหันถึง 2 วันโดยไม่บอกกล่าว ทีมงานจะรู้สึกไม่มั่นคงและขาดความเชื่อมั่นในตัวคุณ”

 

ท้ายที่สุดการเป็นผู้นำที่ดีไม่ได้หมายถึงการไม่แสดงอารมณ์เลย แต่หมายถึงการรู้จักจัดการและสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้างและปลอดภัยสำหรับทุกคนในทีม

 

อ้างอิง:

The post ผู้นำระดับสูงระวัง! แค่ยกเสียงนิดเดียว ลูกน้องตีความหนักกว่าที่คิด appeared first on THE STANDARD.

]]>