THE STANDARD VACCINE FORUM – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 16 May 2021 12:06:14 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: 4 โค้งชี้ชะตาอนาคตประเทศไทย ฉีดวัคซีนแล้วยังไงต่อ? https://thestandard.co/video-the-standard-vaccine-forum-6/ Sun, 16 May 2021 03:16:57 +0000 https://thestandard.co/?p=489429 ฉีดวัคซีนแล้วยังไงต่อ

4 โค้งชี้ชะตาอนาคตประเทศไทย ฉีดวัคซีนแล้วยังไงต่อ? โดย […]

The post ชมคลิป: 4 โค้งชี้ชะตาอนาคตประเทศไทย ฉีดวัคซีนแล้วยังไงต่อ? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฉีดวัคซีนแล้วยังไงต่อ

4 โค้งชี้ชะตาอนาคตประเทศไทย ฉีดวัคซีนแล้วยังไงต่อ? โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI

แนะนำให้มองสถานการณ์โควิด-19 ออกเป็น 4 ระยะ โดยเฉพาะระยะที่ 4 เป็นระยะที่ต้องเตรียมการอย่างหนัก เพราะโลกหลังโควิด-19 จะไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป

The post ชมคลิป: 4 โค้งชี้ชะตาอนาคตประเทศไทย ฉีดวัคซีนแล้วยังไงต่อ? appeared first on THE STANDARD.

]]>
สาธิตรับ อาจมีปัญหาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบ Walk in ห่วงไม่พอกับความต้องการในช่วง 1-2 เดือนแรก ยันกระจายให้มากและปลอดภัยที่สุด https://thestandard.co/problem-with-the-walk-in-vaccine-against-covid-19/ Sun, 16 May 2021 02:29:48 +0000 https://thestandard.co/?p=489413 ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบ Walk in

วานนี้ (15 พฤษภาคม) สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกร […]

The post สาธิตรับ อาจมีปัญหาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบ Walk in ห่วงไม่พอกับความต้องการในช่วง 1-2 เดือนแรก ยันกระจายให้มากและปลอดภัยที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบ Walk in

วานนี้ (15 พฤษภาคม) สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ในรายการ THE STANDARD VACCINE FORUM ถึงการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยสาธิตระบุว่า หลักการใหญ่ของการฉีดวัคซีนคือต้องให้คนฉีดวัคซีนมากที่สุดและปลอดภัย เดิมแบ่งให้ลงทะบียนฉีดวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากเป็นการบริหารตามข้อสัญญาเดิมกับบริษัทที่ผลิตวัคซีนจะส่งมอบให้กับรัฐบาลเป็นล็อต

 

ต่อมามีการปรับเปลี่ยนในระดับนโยบาย จึงเปลี่ยนแปลงภายใต้แนวคิดจุดที่ใกล้บ้านและสะดวกสบาย จึงเพิ่มอีก 2 ช่องทาง คือ องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ที่มีพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ต้องสัมผัสผู้คนเป็นจำนวนมาก ก็จะสามารถจัดจุดพิเศษให้ฉีดได้ ส่วนกรณีการ Walk in ต้องยอมรับว่าอาจมีปัญหาและอาจไม่ได้ฉีดหากมีผู้มาใช้บริการหนาแน่น แต่ก็จะพยายามอำนวยความสะดวก อย่างไรก็ตาม ลำดับของการฉีด ณ จุดฉีดวัคซีน คือคนลงทะเบียนจะต้องได้ฉีดโดยที่ต้องตรงกับเวลาที่จอง แต่อาจมีวัคซีนบางส่วนก็จะอำนวยความสะดวกให้คนที่ Walk in คือเดินเข้ามาแล้วรับการฉีดตามขั้นตอน

 

“นี่เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้มากที่สุด ถามว่าพอทำได้หรือ ผมคิดว่าพอทำได้ เช่น ในกรุงเทพฯ ปลายเดือนนี้วัคซีนล็อตพิเศษจะเข้ามา ซึ่งจะทำให้เราทดลองได้ การฉีดในพื้นที่ที่มีการระบาด ไม่ต้องลงทะเบียน สามารถจัดระเบียบ เพียงแต่คนหน้างานต้องจัดระเบียบการ Walk in ซึ่งอันนี้คนหน้างานต้องซักซ้อม” สาธิตกล่าว

 

ส่วนหากฉีดวัคซีนแล้วมีอาการผิดปกติ กระทั่งพิการหรือเสียชีวิต สาธิตกล่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีหลักเกณฑ์เยียวยา หากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วเสียชีวิต ก็จะมีการเยียวยาเป็นเงิน 4 แสนบาท กรณีทุพพลภาพหรือเสียอวัยวะ 2 แสนบาท และอาการเล็กน้อย 1 แสนบาท 

 

“โดยหลักการขณะนี้วัคซีนทุกตัวใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะว่าวัคซีนนั้นจะต้องทดลองในระยะเวลา 1 ปีขึ้นไปในจำนวนคนที่มากพอ จะได้แจกแจงข้อมูลผลกระทบ เขามีกติกาว่าหากต้องฉีดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ต้องให้รัฐรับผิดชอบในทุกกรณี ทีนี้มีคำถามว่าทำไมได้แค่ 4 แสนบาทเอง สิงคโปร์ได้ 2 ล้านบาท หรือที่นั่นได้ 4-5 ล้านบาท อันนี้ก็เป็นไปตามฐานะหรือสถานะความมีเงินของรัฐบาลที่แตกต่างกันไป” สาธิตกล่าว

 

ทั้งนี้ การที่จะไปฉีดวัคซีนนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขต้องปลอดภัย ฉีดเสร็จต้องตรวจสอบอาการ ต้องมีทีมแพทย์และพยาบาลช่วยดูอยู่ และต้องมีเครื่องมือช่วยชีวิตประจำจุดฉีด ที่สำคัญคือต้องมีรถพยาบาลในมาตรการสูงสุด กรณีที่ต้องนำส่งผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วมีอาการวิกฤตไปถึงหมอโดยเร็ว นี่คือหลักการที่ต้องดำเนินการ

 

สำหรับความกังวลนั้น สาธิตระบุว่า ตนเองกังวลความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อการกระจายวัคซีนและจำนวนวัคซีนที่ได้รับ รวมถึงกังวลว่าวัคซีนที่ได้รับมาจะเพียงพอต่อความต้องการในสถานการณ์ที่สมมติว่าเรารณรงค์ให้มาฉีด แต่ปรากฏว่าทุกคน ทุกวัย ต้องการรับการฉีดภายใน 1-2 เดือน เราจะบริหารความต้องการหรือความหวังได้แค่ไหน และไม่อยากให้สังคมเลือกยี่ห้อวัคซีน ยกเว้นหากเข้ามาได้ แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารสถานการณ์วัคซีนเดือนนี้อาจเป็นแบบนี้ แต่เดือนต่อไปอาจเป็นอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้

The post สาธิตรับ อาจมีปัญหาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบ Walk in ห่วงไม่พอกับความต้องการในช่วง 1-2 เดือนแรก ยันกระจายให้มากและปลอดภัยที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย กับข้อสงสัยเรื่องวัคซีน Sinovac https://thestandard.co/video-the-standard-vaccine-forum-5/ Sat, 15 May 2021 14:47:45 +0000 https://thestandard.co/?p=489403 วัคซีน Sinovac

ทำความเข้าใจสถานการณ์ประเทศไทยในตอนนี้กับวัคซีนที่มีอยู […]

The post สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย กับข้อสงสัยเรื่องวัคซีน Sinovac appeared first on THE STANDARD.

]]>
วัคซีน Sinovac

ทำความเข้าใจสถานการณ์ประเทศไทยในตอนนี้กับวัคซีนที่มีอยู่ และวัคซีน Sinovac ส่งผลอย่างไรหลังประเทศไทยฉีดไปแล้ว 3 เดือน

 

ตัดต่อ: เอกธันวา สารศรี

The post สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย กับข้อสงสัยเรื่องวัคซีน Sinovac appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: หมอพร้อม vs. Walk in ช่องทางไหนได้ฉีดวัคซีนเร็วที่สุด https://thestandard.co/video-the-standard-vaccine-forum-4/ Sat, 15 May 2021 13:23:14 +0000 https://thestandard.co/?p=489377 Walk in ฉีดวัคซีน

อยากฉีดวัคซีน แต่ไม่รู้ว่าแบบไหนเร็วกว่ากัน?   มาร […]

The post ชมคลิป: หมอพร้อม vs. Walk in ช่องทางไหนได้ฉีดวัคซีนเร็วที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
Walk in ฉีดวัคซีน

อยากฉีดวัคซีน แต่ไม่รู้ว่าแบบไหนเร็วกว่ากัน?

 

มาร่วมติดตามความพร้อมการฉีดวัคซีนของแอปฯ หมอพร้อม และการฉีดวัคซีนแบบ Walk in กับ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่จะมาร่วมตอบคำถามความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน ปัญหาที่พบเจอในการเร่งฉีดวัคซีน และการชดเชยในกรณีต่างๆ

 

ตัดต่อ: วชิระ มากทรัพย์

The post ชมคลิป: หมอพร้อม vs. Walk in ช่องทางไหนได้ฉีดวัคซีนเร็วที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประธาน TDRI แนะรัฐเร่งปรับตัวเชิงโครงสร้าง ป้องกันไทย ‘ตกขบวนโลก’ เมื่อโควิด-19 คลี่คลาย https://thestandard.co/the-standard-vaccine-forum/ Sat, 15 May 2021 13:18:16 +0000 https://thestandard.co/?p=489374 THE STANDARD VACCINE FORUM

THE STANDARD VACCINE FORUM วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 โดย S […]

The post ประธาน TDRI แนะรัฐเร่งปรับตัวเชิงโครงสร้าง ป้องกันไทย ‘ตกขบวนโลก’ เมื่อโควิด-19 คลี่คลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
THE STANDARD VACCINE FORUM

THE STANDARD VACCINE FORUM วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 โดย Session ที่ 5 หัวข้อ ‘ฉีดแล้วอย่างไรต่อ อนาคตประเทศไทยอยู่ตรงไหน?” ได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

 

ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า สภาวะโลกหลังโควิด-19 จะเปลี่ยนไปอย่างมาก เพราะโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้โลกเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ฉะนั้นแม้ประเทศไทยจะสามารถรอดพ้นวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ไปได้ และสามารถเปิดประเทศไปสู่เวทีโลกอีกครั้งด้วยการเป็นประเทศไทยในรูปแบบเดิม ก็เท่ากับเราไม่สามารถแข่งขันในระดับโลกได้ 

 

สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการตั้งแต่ตอนนี้คือ การสร้างแผนรับมือระยะยาว และการประสานหรือส่งต่องานระหว่างภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ดร.สมเกียรติ แนะนำให้มองสถานการณ์โควิด-19 ออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะแรกคือการป้องกันและควบคุมที่เกิดขึ้นไปแล้วตั้งแต่ปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดใหม่ๆ ซึ่งยอมรับว่าประเทศไทยสามารถรับมือกับระยะแรกได้ดีในแง่ของตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 

 

ระยะที่ 2 คือการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งคือสถานการณ์ปัจจุบัน โดยต้องยอมรับว่าประเทศไทยดำเนินการฉีดวัคซีนได้ล่าช้าและจำนวนน้อย ข้อมูลปัจจุบันมีผู้ได้รับวัคซีนไปเพียง 2% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว ที่มีผู้ได้รับวัคซีนแล้ว 6%

 

นอกจากนี้การสื่อสารของรัฐที่ขาดประสิทธิภาพ ยังทำให้อัตราของความพึงพอใจหรือความพร้อมเข้ารับวัคซีนของไทยลดลง จากปลายปีที่แล้วอยู่ที่ 82% มาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในภูมิภาคอาเซียน (เฉพาะประเทศที่สำรวจ) 

 

ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าประเทศไทยยังสามารถเร่งอัตราการฉีดวัคซีนให้ได้เพิ่มขึ้น ด้วยการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และตรงกัน โดยเป้าหมายรัฐบาลที่ระบุว่า จะฉีดวัคซีนให้คนไทย 150 ล้านโดสในสิ้นปี 2654 ก็ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ โดยต้องเร่งฉีดให้ได้ในอัตรา 300,000 โดสต่อวัน 

 

“ข้อด้อยของระยะนี้คือ เรานำเข้าวัคซีนน้อยไปและมีทางเลือกวัคซีนน้อยไป ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความไม่พร้อมของรัฐ เมื่อเจอกับการสื่อสารที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ก็ทำให้อัตราความพร้อมหรือความพึงพอใจวัคซีนลดลง แต่เชื่อว่าเรายังอยู่ในจุดที่แก้ไขได้ และเราสามารถตีตื้นประเทศเพื่อนบ้านขึ้นมาได้ด้วย”​

 

ระยะที่ 3 จะค่อนข้างยาวนาน เนื่องจากเป็นช่วงของการวนลูปอยู่กับสถานการณ์เชื้อกลายพันธุ์ การแพร่ระบาดระลอกใหม่ การพัฒนาวัคซีนใหม่ และเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนจนกว่าจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่อีกครั้ง โดยในระยะนี้เราจะเริ่มเห็นการทยอยเปิดเมืองและเปิดประเทศ โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว ซึ่งหากมีแผนการฉีดวัคซีนที่ดี สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในพื้นที่ได้ โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักของประเทศ เศรษฐกิจก็จะกลับมาฟื้นตัวขึ้นได้เร็วกว่าที่คาด ส่วนตัวมองว่า GDP ปีนี้หากเติบโต 3% ก็ถือว่าน่าพอใจ 

 

โดยเชื่อมั่นว่าหากประเทศไทยเตรียมแผนรับมือที่ดีและเป็นแผนที่มีความต่อเนื่อง มีพัฒนาการ เชื่อว่าเราจะสามารถผ่านพ้นระยะที่ 3 ไปได้ โดยเกิดการเรียนรู้ในหลายๆ บทเรียน 

 

“ระยะที่ 3 เรามีแต้มต่อคือเราสามารถผลิตวัคซีนในประเทศได้ ซึ่งด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ทำให้กระบวนการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนจนพร้อมฉีดให้กับประชาชนใช้เวลาเพียง 2-3 เดือน หากแผนการกระจายและการฉีดวัคซีน (แผนระยะที่ 2) มีประสิทธิภาพที่ดี การรับมือกับระยะที่ 3 ก็เป็นเรื่องที่เราสามารถบริหารจัดการได้” 

 

ระยะที่ 4 คือโลกหลังโควิด-19 หรือ Post-COVID-19 เป็นระยะที่ต้องเตรียมการอย่างหนัก เพราะโลกหลังโควิด-19 จะไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป หากประเทศไทยเปิดประเทศไปสู่เวทีโลกอีกครั้งด้วยภาพเดิมๆ หรือทำเหมือนตอนที่เคยทำช่วง Pre-COVID-19 เราก็ไม่มีวันแข่งขันได้ 

 

โลกหลังโควิด-19 จะเป็นโลกที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวเชิงโครงสร้าง เศรษฐกิจโดยรวมก็เช่นกัน เพราะไม่มีใครคาดเดาได้ว่าโควิด-19 จะจบแล้วจริงหรือไม่ ฉะนั้นภาคธุรกิจต้องเร่งปรับโครงสร้าง เช่น นำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานกับการทำธุรกิจดั้งเดิม และลดการครอบครองสินทรัพย์ที่สภาพคล่องต่ำ เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง จำนวนคนงาน เป็นต้น 

 

“การสู้กับโควิด-19 ก็เหมือนการวิ่ง 4×100 เราต้องเข้าใจภาพรวมแต่ละโค้ง ต้องมีแผนการที่ดี มีนักวิ่งที่มีสปีด และทั้งทีมต้องวิ่งไปในสปีดเดียวกัน และที่สำคัญต้องสามารถส่งต่อไม้ให้กันได้อย่างราบรื่น” 

 

ในส่วนภาครัฐนั้น หน้าที่ของภาครัฐคือสร้างมาตรการ ประสานงาน อำนวยความสะดวก เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถดำเนินการหน้าที่ของตนได้เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้รัฐบาลเองก็ต้องปรับตัวเชิงโครงสร้างเช่นเดียวกัน เช่น การให้หน่วยงานรัฐบริหารจัดการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพื่อให้สอดรับกับศักยภาพของภาคธุรกิจ ทั้งนี้ หากรัฐปรับตัวไม่ได้หรือปรับได้ช้ากว่าภาคธุรกิจ รัฐก็จะกลายเป็นตัวถ่วงทันที 

 

โดยแนะนำให้ภาครัฐปรับทัศนคติภายใน ด้วยการมี Empathy กับประชาชน, กล้าทดลองหรือทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ระเบียบแบบแผนที่สืบทอดมายาวนาน, มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และมี Common Sense หรือสามัญสำนึก เพื่อให้สามารถคิดการณ์ไกลและรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

The post ประธาน TDRI แนะรัฐเร่งปรับตัวเชิงโครงสร้าง ป้องกันไทย ‘ตกขบวนโลก’ เมื่อโควิด-19 คลี่คลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: จะฉีดวัคซีนเลยหรือรอไปก่อน? คำตอบจากหมอด่านหน้า https://thestandard.co/video-the-standard-vaccine-forum-3/ Sat, 15 May 2021 12:30:55 +0000 https://thestandard.co/?p=489363 ฉีดวัคซีนเลยหรือรอไปก่อน

ตอบคำถามทุกข้อสงสัย วัคซีนชนิดไหนดีที่สุด และวัคซีนในไท […]

The post ชมคลิป: จะฉีดวัคซีนเลยหรือรอไปก่อน? คำตอบจากหมอด่านหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฉีดวัคซีนเลยหรือรอไปก่อน

ตอบคำถามทุกข้อสงสัย วัคซีนชนิดไหนดีที่สุด และวัคซีนในไทยมีประสิทธิภาพแค่ไหน โดย นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ อ.นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ตัดต่อ: เอกธันวา สารศรี

The post ชมคลิป: จะฉีดวัคซีนเลยหรือรอไปก่อน? คำตอบจากหมอด่านหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ฉีดวัคซีนดีไหม? 3 มุมมองต้องฟังก่อนตัดสินใจ https://thestandard.co/video-the-standard-vaccine-forum-2/ Sat, 15 May 2021 11:59:17 +0000 https://thestandard.co/?p=489352 ฉีดวัคซีนดีไหม

ฉีดวัคซีนดีไหม?   ฟังมุมมองของ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ล […]

The post ชมคลิป: ฉีดวัคซีนดีไหม? 3 มุมมองต้องฟังก่อนตัดสินใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฉีดวัคซีนดีไหม

ฉีดวัคซีนดีไหม?

 

ฟังมุมมองของ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี, สรกล อดุลยานนท์ และ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ก่อนตัดสินใจ

 

ตัดต่อ: อัศวพล ตุลานนท์

 

 

The post ชมคลิป: ฉีดวัคซีนดีไหม? 3 มุมมองต้องฟังก่อนตัดสินใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: รัฐสอบตกเรื่องวัคซีน แล้วจะสอบซ่อมอย่างไร? https://thestandard.co/video-the-standard-vaccine-forum/ Sat, 15 May 2021 11:46:45 +0000 https://thestandard.co/?p=489341 การบริหารจัดการวัคซีน

3 มุมมองการให้คะแนนรัฐบาลด้านบริหารจัดการวัคซีน ทำไมถึง […]

The post ชมคลิป: รัฐสอบตกเรื่องวัคซีน แล้วจะสอบซ่อมอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบริหารจัดการวัคซีน

3 มุมมองการให้คะแนนรัฐบาลด้านบริหารจัดการวัคซีน ทำไมถึงสอบตก และในอนาคตเราจะเดินหน้าเรื่องการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอย่างไร

 

ตัดต่อ: อ้อมเทียน ทาระมัด

The post ชมคลิป: รัฐสอบตกเรื่องวัคซีน แล้วจะสอบซ่อมอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
3 มุมมองให้คะแนนรัฐ ‘สอบตก’ บริหารวัคซีน แต่ยังจำเป็นต้องฉีดเพื่อตัวเอง-คนที่รัก ป้องกันการพลัดพรากอย่างเดียวดาย https://thestandard.co/3-points-of-view-state-failed-to-administer-vaccines/ Sat, 15 May 2021 09:22:59 +0000 https://thestandard.co/?p=489269 การบริหารวัคซีน

วันนี้ (15 พฤษภาคม) THE STANDARD จัดรายการพิเศษ VACCINE […]

The post 3 มุมมองให้คะแนนรัฐ ‘สอบตก’ บริหารวัคซีน แต่ยังจำเป็นต้องฉีดเพื่อตัวเอง-คนที่รัก ป้องกันการพลัดพรากอย่างเดียวดาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบริหารวัคซีน

วันนี้ (15 พฤษภาคม) THE STANDARD จัดรายการพิเศษ VACCINE FORUM ตอบทุกคำถามวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยในช่วงแรกเป็นหัวข้อ ‘การบริหารจัดการวัคซีน สอบตกหรือได้ไปต่อ’ โดยมีผู้ร่วมพูดคุยคือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี, สรกล อดุลยานนท์ และ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ดำเนินรายการโดย เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ และ น้าเน็ก-เกตุเสพสวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ​ อยุธยา

 

เคน นครินทร์ กล่าวก่อนเริ่มต้นช่วงแรกว่า รายการวันนี้จะไม่ใช่การโน้มน้าวว่าควรจะไปฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่สิ่งที่เราจะให้คือข้อมูลที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คนดูได้ตัดสินใจ โดยขอให้ติดตามทั้ง 4 ช่วง

 

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า เรื่องของการฉีดวัคซีนถือว่าอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหญ่ที่จะควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 เหตุผลที่ต้องทำก็เพื่อให้ระบบสาธารณสุขและระบบเศรษฐกิจไม่ล่มสลาย แต่วัคซีนก็เป็นเพียงหนึ่งในยุทธศาสตร์ย่อย ยังต้องมียุทธศาสตร์อื่นๆ ประกอบการยุติการแพร่ระบาดของโรคด้วย

 

วัคซีนช่วยใน 3 ประเด็น คือ ช่วยลดความเสี่ยงส่วนบุคคล คือหากติดเชื้อก็ไม่เป็นหนัก ไม่เสียชีวิต เพราะฉะนั้นหากฉีดวัคซีนก็ช่วยตรงนี้ได้ โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล ส่วนข้อต่อมาคือการประคองระบบสาธารณสุขไม่ให้ล่ม ซึ่งต้องเน้นฉีดในเขตที่มีการระบาดสูง เพื่อคุมสถานการณ์และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในบริเวณนั้นๆ และอย่างสุดท้ายคือการประคับประคองระบบเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและภาคเศรษฐกิจ

 

“การที่จะให้คะแนนว่าสอบตกหรือไปต่อ ในช่วงแรกของการจัดหาวัคซีน ก่อนเดือนพฤศจิกายน 2563 เรายังไม่รู้ว่าวัคซีนแต่ละตัวมันจะออกมาได้ผลดีแค่ไหน แต่หลังเดือนพฤศจิกายน 2563 หลายส่ิงหลายอย่างมันมีข้อมูล มันควรจะบอกให้เรารู้แล้วว่าเราต้องมีของตุนไว้ในมือแล้ว เราควรจะพยายามหาของให้ได้เยอะที่สุด เราควรจะแทงหวยหลายเบอร์อย่างที่คนชอบพูด แต่พอมีวัคซีนเยอะแล้วคำถามคือ คุณจะทำอย่างไรให้สามารถควบคุมโรคระบาดในกรุงเทพมหานคร ควบคุมการระบาดในคลัสเตอร์คลองเตย และคลัสเตอร์เรือนให้ได้เร็วที่สุด ซึ่งตรงนี้ผมยังไม่เห็นความชัดเจน” นพ.สุรพงษ์ กล่าว

 

ขณะที่สรกลกล่าวว่า ถ้าเรามองสถานการณ์โควิด-19 และสถานการณ์ของวัคซีน มันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในโลกนี้มาก่อน จึงไม่มีคำภีร์หรือตำรา ดังนั้นตนจึงให้คะแนนในส่วนนี้ ให้ค่าเพราะความไม่รู้ แต่เมื่อสถานการณ์ลงตัวมาเรื่อยๆ ตนคิดว่าการจัดหาวัคซีนของรัฐบาลชุดนี้สอบตก เพราะว่าไม่ได้มีการกระจายความเสี่ยง และเป็นการคิดในมุมเดียวว่าวัคซีนจะช่วยแก้ปัญหา แต่วัคซีนมันมีมุมของโอกาส โอกาสสำหรับคนที่เข้าเส้นชัยเร็วคนนั้นชนะด้านธุรกิจ หากแต่คิดมุมเดียวในมุมของการรักษา โดยทอดเวลายาวนานเพื่อจัดหาวัคซีนที่ชัวร์ พยายามต่อรองให้ได้ราคาต่ำที่สุด

 

“ในมุมของผมก็คือว่า ถ้าเราประเมินดูแล้ว สถานการณ์ของการจัดหาวัคซีนเป็นมุมของโอกาสด้วย ที่คุณอนุทินเสนอว่าเดือนหนึ่งเสียหายเฉพาะท่องเที่ยวอย่างเดียว 2.5 แสนล้านบาท เราเห็นรายรับตรงนี้ชัวร์ๆ อยู่แล้ว ฉะนั้นสปีดและเร็วที่สุด การซื้อวัคซีนที่กระจายความเสี่ยงให้หลากหลาย ราคาไม่ใช่จุดตัดสินใจสูงสุด เวลาต่างหากที่เป็นจุดตัดสินใจสำคัญที่สุด” สรกลกล่าว

 

ส่วนวิโรจน์กล่าวว่า การสอบมิดเทอมนั้นรัฐบาลได้สอบตกไปแล้ว และเป็นการสอบตกที่มีคุณครูบอกแนวข้อสอบ แต่ไม่สนใจฟัง จึงต้องจับตาข้อสอบปลายภาคว่าจะสามารถแก้ตัวได้หรือไม่ ที่น่าเสียดายคือประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่พบผู้ป่วยโควิด-19 นอกประเทศจีน มีเวลาเตรียมการอีกปีกว่า

 

“เรามีเวลาเตรียมการปีกว่าๆ แต่เราทำได้แค่นี้ จะให้สอบผ่านได้อย่างไร แต่ข้อสอบชุดนี้อีกยาวไกล เพราะจนถึงขณะนี้เรายังไม่ได้เริ่มฉีดอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด” วิโรจน์กล่าว

 

ในช่วงท้าย สรกลระบุถึงความเชื่อมั่นของการรับการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะช่วงหลังที่มีการให้แพทย์ออกมาให้ความรู้ ซึ่งตนมองว่าเป็นเรื่องของความรู้สึก คนบางคนอาจไม่ได้เชื่อรัฐบาล แต่อาจเชื่อ สรยุทธ สุทัศนะจินดา นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของการสื่อสารสิ่งที่ใกล้ตัวกับประชาชน อาจไม่ต้องสื่อสารถึงเศรษฐกิจระดับใหญ่ แต่เป็นการสื่อสารเรื่องใกล้ตัว เช่น ถ้าฉีดกันเยอะๆ ตลาดจะเปิดได้ หรืออย่างสั้นๆ ก็ “ถ้าสงสารคุณหมอ ฉีดเถอะ” เราไม่รู้ว่ากุญแจไหนจะถูกดอก แต่ให้ใช้เยอะๆ

 

ส่วนคำถามที่หากต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผู้ร่วมพูดคุยทั้ง 3 คนจะฉีดหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า หากตนเป็นคนที่อยู่ในสปอตไลต์ ต้องสร้างความเชื่อมั่น ก็ไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องฉีด แต่หากตนเป็นผู้สูงอายุ อยู่ในจังหวัดไกลๆ ไม่ได้ไปไหน ก็ไม่ต้องรีบฉีดก็ได้ อย่างไรก็ตาม การกระจายการฉีดยังคงมีส่วนสำคัญ

 

ขณะที่วิโรจน์กล่าวว่า ตนได้ลงทะเบียน ‘หมอพร้อม’ ตามขั้นตอนและใช้สิทธิ์เหมือนประชาชนทั่วไป และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลควรยุติการใช้คำประเภทชาตินิยม เนื่องจากเป็นเรื่องไกลตัว และอาจเสี่ยงเป็นประเด็นในการให้ประชาชนโจมตีกันและกัน ควรเน้นประเด็นคือฉีดเพื่อตนเอง ฉีดเพื่อคนที่เรารัก และฉีดเพื่อความห่วงใย

 

“โรคโควิด-19 เป็นพลัดพรากเฉียบพลัน พอคุณเป็นแล้วคุณอาจพาไปติดคนที่เรารักก็ได้ ลูก พ่อแม่ และอาจทิ้งรอยแผลในใจก็ได้ คุณอาจรอดเพราะคุณเป็นวัยหนุ่มสาว แต่พ่อแม่ที่ติดอาจเสียชีวิต ก็เป็นรอยแผลในใจสำหรับคนที่ยังต้องอยู่ต่อไป ลมหายใจสุดท้าย คุณยังจะไปกุมมือคุณพ่อคุณแม่ของคุณไม่ได้เลย เปิดโลงก่อนฌาปนกิจ อยากจะดูหน้ากันเป็นครั้งสุดท้ายก็ยังไม่ได้เลย มันเป็นโรคที่ทำให้เราพลัดพรากจากคนที่เรารักแบบเฉียบพลัน โดยที่เรายังทำใจไม่ได้เลย” วิโรจน์กล่าว

 

ด้านสรกลยืนยันว่าตนฉีดแน่นอน โดยวิธีการคิดง่ายๆ คือ ความเสี่ยงของการฉีดวัคซีนกับความเสี่ยงของการติดโควิด-19 เมื่อเทียบกันแล้วตนคิดว่าเสี่ยงกับการฉีดวัคซีนดีกว่าเสี่ยงกับการติดโควิด-19 และเห็นด้วยกับวิโรจน์ในประเด็นที่ว่าโรคโควิด-19 เป็นโรคแห่งความเศร้า

 

“อย่างกรณีของน้าค่อม ที่ชัดเจนที่สุดคือว่าเมื่อถึงเวลาที่คุณป่วยโรคนี้ ถ้าคุณเสี่ยงกับการฉีด คุณจะมีหมอดูแล แต่ให้คุณแย่ที่สุดคุณยังอยู่กับคนรักได้ แต่ถ้าคุณติดโควิด-19 เหมือนคนกำลังเดินไปในป่าดงดิบ ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้ออกมาหรือเปล่า และถ้าคุณไม่ได้ออก คุณจะไม่ได้เจอคนรักของคุณเลยแม้แต่วินาทีเดียว เวลาที่เราป่วยผมเชื่อว่าสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดคือการได้อยู่ใกล้คนที่เรารัก จับมือ ให้กำลังใจกัน แต่โมเมนต์นั้นจะไม่เกิดขึ้นถ้าคุณติดโควิด-19” สรกลกล่าว

The post 3 มุมมองให้คะแนนรัฐ ‘สอบตก’ บริหารวัคซีน แต่ยังจำเป็นต้องฉีดเพื่อตัวเอง-คนที่รัก ป้องกันการพลัดพรากอย่างเดียวดาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมย้อนหลัง: THE STANDARD VACCINE FORUM ตอบทุกคำถาม วัคซีนโควิด-19 https://thestandard.co/the-standard-vaccine-forum-live/ Sat, 15 May 2021 02:54:07 +0000 https://thestandard.co/?p=489074 วัคซีนโควิด-19

วัคซีนโควิด-19 ฉีดแล้วปลอดภัยจริงหรือ? ควรฉีดเลยหรือรอไ […]

The post ชมย้อนหลัง: THE STANDARD VACCINE FORUM ตอบทุกคำถาม วัคซีนโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
วัคซีนโควิด-19

วัคซีนโควิด-19 ฉีดแล้วปลอดภัยจริงหรือ? ควรฉีดเลยหรือรอไปก่อนดี? ทำไมไม่มีวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ ให้เลือก? หมอพร้อมหรือยัง? ถ้าฉีดแล้วอย่างไรต่อ?

 

เก็บทุกคำถามของคุณ มาหาคำตอบกันในรายการพิเศษ THE STANDARD VACCINE FORUM ตอบทุกคำถาม วัคซีนโควิด-19 เคลียร์ทุกข้อสงสัยให้หายคาใจโดยผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ พร้อมเปิดรับสายโฟนอินสดๆ จากทางบ้านตลอดวัน

 

ในวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป

ถ่ายทอดสดทาง

 

วัคซีนโควิด-19

 

พบกับผู้เชี่ยวชาญที่จะมาตอบทุกข้อสงสัยของ ‘วัคซีนโควิด-19’ ได้แก่

  • ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ: หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนโควิด-19 และผู้ติดตามศึกษาอาการข้างเคียงหลังฉีด ‘วัคซีนโควิด-19’ ทั้งหมดของไทย
  • นพ.มานพ พิทักษ์ภากร: หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • นพ.เมธา อภิวัฒนากุล: นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรม สาขาประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา
  • นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี: อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์: ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
  • สรกล อดุลยานนท์: คอลัมนิสต์ และผู้ดำเนินรายการ THE POWER GAME Podcast
  • ดร.สาธิต ปิตุเตชะ: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • วิโรจน์ ลักขณาอดิศร: สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล

 

ดำเนินรายการโดย น้าเน็ก-เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

 

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ได้ที่ thestandard.co/covid19now

พร้อมทั้งอัปเดตข้อควรรู้ก่อนฉีด ‘วัคซีนโควิด-19’ ได้ที่ thestandard.co/covid19now/gallery/?group=3

The post ชมย้อนหลัง: THE STANDARD VACCINE FORUM ตอบทุกคำถาม วัคซีนโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>