The Mask Singer – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 25 Mar 2022 05:09:34 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Toxic จังหวะใหม่ของ Pam Anshisa ศิลปินหญิงเพอร์ฟอร์มปังที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่ง https://thestandard.co/pam-anshisa-toxic/ Fri, 26 Mar 2021 07:57:13 +0000 https://thestandard.co/?p=469332 Toxic จังหวะใหม่ของ Pam Anshisa ศิลปินหญิงเพอร์ฟอร์มปังที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่ง

Pam Anshisa หรือ แปม-อัญญ์ชิสา ศิลป์ตระการผล ศิลปินหญิง […]

The post Toxic จังหวะใหม่ของ Pam Anshisa ศิลปินหญิงเพอร์ฟอร์มปังที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Toxic จังหวะใหม่ของ Pam Anshisa ศิลปินหญิงเพอร์ฟอร์มปังที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่ง

Pam Anshisa หรือ แปม-อัญญ์ชิสา ศิลป์ตระการผล ศิลปินหญิงวัย 29 ปี ที่โด่งดังจากการเป็นหนึ่งในสมาชิกวงเกิร์ลกรุ๊ป GAIA และการเข้าร่วมรายการ The Mask Singer ในฐานะหน้ากากโพนี่ ส่งให้ชื่อของเธอเป็นที่จับจ้องการคนฟังเพลง และวันนี้เธอเติบโตขึ้นอีกขั้นกับสุ้มเสียงใหม่ ในบ้านใหม่ แต่หลังคาเดิม เธอกลับมากับซิงเกิลใหม่ที่ชื่อว่า Toxic หลังจากหายไป 1 ปีเต็ม

 

Toxic คือซิงเกิลใหม่ของ Pam Anshisa ในบ้านใหม่ที่ชื่อว่า D.U.M.B. Recordings ภายใต้เครือเดิม โดยได้ แต๊บ-ธนพล มหธร รับหน้าที่โปรดิวเซอร์ของเพลงนี้ สร้างเพลง Pop-Funk ซาวด์ร่วมสมัย ที่ว่าด้วยเรื่องราวของความรักที่เปรียบเสมือนยาพิษทำร้ายชีวิต ความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีที่ควรต้องจบไปสักที เพลงนี้ค่อนข้างโดดเด่นอย่างมากด้วยจังหวะที่เร่งเร้าน่าย่ำเท้าสลับซ้ายขวาเหมือนนางฟ้า Victoria’s Secret ไปบนรันเวย์ เสริมจริตและขับเสน่ห์ของตัวศิลปินออกมาได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งตัวเพลงนี้เองแปมยังเป็นคนแต่งเมโลดีและรับบทบาทโปรดิวเซอร์ร่วมด้วย

 

ความน่าสนใจเรื่องหนึ่งที่เราอยากพูดถึงศิลปินที่ชื่อ Pam Anshisa คือในอุตสาหกรรมดนตรีไทยตอนนี้ แปมอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างแตกต่างจากศิลปินหญิงเดี่ยวคนอื่นๆ เพราะเธอมากับแนวดนตรีที่ค่อนข้างหวือหวา เร้าอารมณ์ และมีเมโลดีสวยงาม เฉกเช่นเพลงก่อนๆ ของเธอที่น่าจดจำทั้ง ฟุ้ง, แค่หน้าจอ หรือ Happy Pill ที่เคยร่วมงานกับ UrboyTJ ศิลปินแถวหน้าของยุคมาแล้ว และหากมองภาพรวมเพลงของเธอจะค้นพบว่าบทเพลงมีความรู้สึก และบรรยากาศของศิลปินหญิงป๊อปจากฟากตะวันตกอยู่สูงมาก ทั้งเสียงซินธ์ เสียงสังเคราะห์ หรือบีตแน่นๆ ที่พานให้ชวนโยก บวกกับเสียงร้องหนาๆ ที่มีวิธีการร้องที่เป็นเอกลักษณ์ ยิ่งทำให้จุดยืนของเธอแข็งแรงและน่าจับตามอง

 

 

นอกเหนือจากตัวเพลงแล้ว เพอร์ฟอร์แมนซ์ของเธอก็ไม่เบาเช่นกัน เพราะก่อนหน้านี้ Pam Anshisa เองเพิ่งได้ไปร่วมเวที T-POP STAGE นำเพลง Toxic นี้ไปแสดงสดครั้งแรก และเราค้นพบว่าแปมยังวาดลวดลายในฐานะอดีตสมาชิกวงเกิร์ลกรุ๊ปได้อย่างดี ทั้งการเต้นและการร้องที่ไม่เป็นรองใครในวงการนี้ แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะทำให้เธอน่าสนใจขึ้นคือ ‘ตัวตน’ ของเธอที่ถูกขับออกมาอย่างชัดเจนมากขึ้น กับการเป็นผู้หญิงเปรี้ยวๆ เท่ๆ ที่มีทัศนคติแข็งกร้าว ชัดเจน แตกต่างจากเพลงก่อนๆ ของเธอโดยสิ้นเชิง

 

คุณสามารถฟังเพลง Toxic ของ Pam Anshisa ได้แล้ววันนี้ทุกช่องทางสตรีมมิง และรับชมมิวสิกวิดีโอได้ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=kIHHn9cCqSo 

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

The post Toxic จังหวะใหม่ของ Pam Anshisa ศิลปินหญิงเพอร์ฟอร์มปังที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เผยคนไทยดู YouTube ติด Top 10 โลก คำแพง เวอร์ชัน The Mask Singer ได้รับความนิยมสูงสุด https://thestandard.co/youtube-thai-users-stats/ https://thestandard.co/youtube-thai-users-stats/#respond Sat, 08 Dec 2018 13:01:43 +0000 https://thestandard.co/?p=162277

YouTube ประเทศไทย เผย คนไทยชมวิดีโอบนแพลตฟอร์มสูงติด 10 […]

The post เผยคนไทยดู YouTube ติด Top 10 โลก คำแพง เวอร์ชัน The Mask Singer ได้รับความนิยมสูงสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>

YouTube ประเทศไทย เผย คนไทยชมวิดีโอบนแพลตฟอร์มสูงติด 10 อันดับแรกของโลก ยกวิดีโอ คำแพง ที่ขับร้องโดยหน้ากากหนอนชาเขียว ในเวอร์ชัน The Mask Singer 3 เป็นวิดีโอยอดนิยมอันดับ 1 ปี 2018 ในหมวดทั่วไป ด้านมิวสิกวิดีโอ ถ้าเธอต้องเลือก โดย ILLSLICK ติดเบอร์ 1 มิวสิกวิดีโอฮิตแห่งปีด้วยยอดวิวเกือบ 300 ล้าน

 

YouTube เผยในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่มียอดการใช้เวลาชมวิดีโอบน YouTube มากที่สุดในโลก พร้อมสรุปข้อมูลวิดีโอยอดนิยมประจำปีของไทยแบ่งออกเป็นหมวดทั่วไปและเพลงดังพบว่า วิดีโอหมวดทั่วไปที่ได้รับความนิยมสูงสุดประจำปีนี้คือ คำแพง – หน้ากากหนอนชาเขียว The Mask Singer 3 ส่งผลให้วิดีโอจากรายการ The Mask Singer ครองอันดับ 1 ได้ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 แล้ว ด้านอันดับ 2 และ 3 ตกเป็นของ บันไดสีแดง – ไม้หมอน จากรายการ The Voice Thailand และ เต่างอย – จินตหรา พูนลาภ

 

ขณะที่ฉากเด็ดกุ้งเผาน้ำจิ้มซีฟู้ดจากละครมหาชนแห่งปี บุพเพสันนิวาส ก็ไม่น้อยหน้า เพราะติดเข้ามาอยู่ในลำดับ 7 ของวิดีโอยอดฮิตแห่งปีด้วยเหมือนกัน ซึ่งจากการสรุปของ YouTube พบว่า วิดีโอยอดนิยมประจำปีนี้ส่วนใหญ่มักจะมีเนื้อหาไปในทางตลกขบขัน เป็นความสนใจของคนเฉพาะกลุ่ม และเป็นวิดีโอคัฟเวอร์ (BNK48 – คุกกี้เสี่ยงทาย Koisuru Fortune Cookie Cover By Deli Project From Thailand ติดในลิสต์ลำดับที่ 8)

 

ข้ามมาที่วิดีโอยอดฮิตในหมวดเพลงดังของไทย อันดับที่ 1 ตกเป็นของ ILLSLICK – ถ้าเธอต้องเลือก มียอดเข้าชมรวมกว่า 281 ล้านครั้ง (นับจนถึงวันที่ 8 ธ.ค.) ส่วนอันดับที่ 2 และ 3 เป็นของ ผู้บ่าวเก่า – เต๊ะ ตระกูลตอ และ เด็กเลี้ยงควาย – อยากนอนกับเธอ ft. OG-ANIC ตามลำดับ โดยจุดน่าสังเกตคือ 7 ใน 10 ของวิดีโอเพลงยอดนิยมเป็น ‘วิดีโอเพลงลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องเป็นภาษาท้องถิ่น’ ถือเป็นเทรนด์ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา (ปี 2560 วิดีโอเพลงลูกทุ่งติด Top 10 เพลงดังถึง 6 เพลง)

นอกจากจะเผยอันดับวิดีโอยอดนิยมและวิดีโอเพลงยอดฮิต YouTube ยังประกาศรายชื่อช่องที่มีอัตราการเติบโตของจำนวนผู้ติดตามสูงที่สุด และพบว่า PEACH EAT LAEK มาแรงเป็นอันดับ 1 มียอดผู้ติดตามเกือบ 3 ล้านคน ตามด้วย กาย หงิด และ เด็กเลี้ยงควาย ที่มียอดผู้ติดตามทะลุ 1 ล้านคนในปีนี้ ช่องอื่นๆ ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้แก่ PatNapapa, POND CHANEL, EaterOat, Followme Sunshine, Nisamanee.Nutt, ORNLY YOU และ RealPeach.

ยังมีการเปิดเผยอีกด้วยว่า ปัจจุบันมีช่องของไทยที่ได้รับ Diamond Button (ผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคน) 5 ช่อง, Gold Button (ช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน) 150 ช่อง และ Silver Button (ช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 100,000 คน) มากกว่า 1,700 ช่อง ส่วนรายละเอียดอื่นๆ สามารถคลิกดูได้ที่ youtube.com/theyearinreviewTH

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

  • YouTube (Google ประเทศไทย)

The post เผยคนไทยดู YouTube ติด Top 10 โลก คำแพง เวอร์ชัน The Mask Singer ได้รับความนิยมสูงสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/youtube-thai-users-stats/feed/ 0
เช็กทุกปัจจัย อะไรทำให้ ‘Big Mountain’ ยังคงเป็น ‘Music Festival’ ที่คนเสพเพลงต้องไป https://thestandard.co/bigmountainmusicfestival/ https://thestandard.co/bigmountainmusicfestival/#respond Wed, 30 Aug 2017 07:00:26 +0000 https://thestandard.co/?p=23290

       พอเข้าใกล้ปลายปี เรียกได้ว่า […]

The post เช็กทุกปัจจัย อะไรทำให้ ‘Big Mountain’ ยังคงเป็น ‘Music Festival’ ที่คนเสพเพลงต้องไป appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

     พอเข้าใกล้ปลายปี เรียกได้ว่าเป็นเวลาสำคัญของ ‘มิวสิกเฟสติวัล’ และจะขาดไม่ได้เลยคือเทศกาลดนตรีที่ใหญ่สุดของประเทศอย่าง ‘Big Mountain’ ที่ปีนี้จะได้กลับสู่ ‘เขาใหญ่’ อีกครั้งในชื่องานแบบเต็มๆ ว่า PEPSI Presents Big Mountain Music Festival 2017 ‘กลับเขาใหญ่แบ๊ววว!’ ความพิเศษที่น่าจะสร้างความแตกต่างสำหรับคนที่เคยไปในครั้งก่อนๆ คือประสบการณ์เสพดนตรีกลางแฟร์เวย์สนามกอล์ฟของ ดิ โอเชียน เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

     แต่ก่อนจะถึงเวลาเปิดให้จองบัตรแบบ Early Cow (1,500 บาท) ในวันพรุ่งนี้ (31 สิงหาคม วันเดียวเท่านั้น) THE STANDARD คิดว่าน่าจะชวน เจ๋อ-ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค และขาดไปไม่ได้ เต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม ที่เป็นยิ่งกว่า ‘โลโก้’ ของ Big Mountain ไปแล้ว เพื่อมานั่งเคลียร์ นั่งเช็กทุกปัจจัย ตรวจจุดเด่น-จุดด้อยกันเสียหน่อยว่าภายในงานจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เวทีที่เคยชอบจะยังมีอยู่ไหม เราจะจอด จะกิน จะนอน จะถ่ายหนัก ถ่ายเบากันยังไง และสำคัญที่สุด! ทำไมเราถึงควรต้องเดินทางไปเสพ ตกลงเราจะได้อะไรบ้างจากเทศกาลดนตรี!

 

มากกว่าการไปดูคอนเสิร์ต แต่ ‘มิวสิกเฟสติวัล’ เป็นอะไรมากกว่านั้น   

     เต็ด: มิวสิกเฟสติวัลมันเอื้อให้คนที่ไปมีเวลาอยู่ในงานมากกว่าอยู่ในคอนเสิร์ต โดยทั่วไปเวลาเราไปคอนเสิร์ต เราจะประทับใจสิ่งที่อยู่บนเวที แต่ถ้าไปมิวสิกเฟสติวัล มันมีเรื่องให้เราประทับใจมากกว่านั้น เพราะเรามีเวลาที่จะใช้ชีวิตอยู่ในนั้น บางคนประทับใจการนอนเต็นท์ในมิวสิกเฟสติวัล ตื่นนอนมีน้ำค้าง ลุกขึ้นมาชงกาแฟกินกัน บางคนไปขอแฟนแต่งงานที่นั่น บางคนไปเลิกกันที่นั่น บางคนสนุกกับการเต้นอยู่ที่เวทีเต้นรำ เท้าเหยียบพื้นหญ้า ตามองขึ้นไปบนท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว ฯลฯ ทุกคนมีโมเมนต์ไม่เหมือนกันเลย

     มิวสิกเฟสติวัลจึงเป็นวัฒนธรรม มันไม่ใช่แค่งานอีเวนต์หรือคอนเสิร์ตที่ทุกคนหันหน้าเข้าเวที เพราะอยู่ในมิวสิกเฟสติวัล สายตาทุกคนเห็นไปในทิศทางไหนก็ได้หมด บางคนชอบเดินไปเดินมามากกว่าจะหยุดอยู่ที่เดียวด้วยซ้ำ แต่ละคนที่มาจึงเลือกจะมีความสุขได้ในแบบของตัวเอง

 

 

ทำไมเมืองไทยถึงต้องมี ‘มิวสิกเฟสติวัล’ และทำไมเราถึงต้องไป ‘Big Mountain’ สักครั้งในชีวิต  

     เต็ด: มันยากที่จะตอบเหมือนกันครับ แต่ทุกประเทศเขาต้องมีมิวสิกเฟสติวัลหลักประจำประเทศของเขา ซึ่งมันจะทำหน้าที่คล้ายๆ กัน คือเป็นการสรุปสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในรอบปี สิ่งที่มันอยู่ในแวดวง ‘ป๊อปคัลเจอร์’ เพลงไหนดังที่สุดในรอบปี ศิลปินคนไหนที่กำลังเป็นที่พูดถึง แม้กระทั่งเรื่องราวไหนที่คนพูดถึงมากที่สุดในรอบปี มันจะถูกนำมาสรุปรวมอยู่ใน Big Mountain

     งานในลักษณะแบบนี้ พอมันถูกเริ่มต้นและวางรากฐานเอาไว้ ถึงเวลามันจะเคลื่อนตัวต่อไปข้างหน้าได้เอง ถึงเวลาคนจะเรียกร้องให้จัด อย่างผมเอง ตอนนี้มันเหมือนทำเป็นหน้าที่ ยังไงก็ต้องจัด ถ้าไม่จัด มันคล้ายๆ ว่าจะมีเรื่องเกิดขึ้น (หัวเราะ)

     เจ๋อ: ผมชอบที่พี่เต็ดพูดในเรื่องของหน้าที่นะ เพราะการทำ Big Mountain ครั้งนี้มีสิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้เลย คือมีคนรอคอย เพราะว่าเราได้สร้างพฤติกรรมหรือทำให้มันกลายเป็นคัลเจอร์ไปแล้วว่า เมื่อถึงปลายปีจะมีมิวสิกเฟสติวัลที่ดีที่สุดเกิดขึ้น การหายไปในปีที่แล้ว ผมเชื่อว่าทุกคนเข้าใจได้ แต่ยังไงมันจะไม่มีวันหายตลอดไป และสำคัญที่สุด ผมเชื่อว่าทั้งผู้จัดงาน ผู้เสพ และศิลปินผู้เข้าร่วมงาน เราสัมผัสได้ถึงความคิดถึง และทุกฝ่ายต่างก็รอคอย เพราะหลังจากที่ปล่อยแคมเปญโปรโมตออกไป เรามีการรีเสิร์ช ทำให้ทราบว่ากว่า 90% ทราบแล้วว่า Big Mountain จะกลับไปเขาใหญ่ มากไปกว่านั้น เหตุผลอันดับหนึ่งที่คนจะไปคือ ‘ยังไม่เคยไป’ และอยากลองไป

     เต็ด: ซึ่งก็สอดคล้องกับสถิติที่เราทำภายในงานมาทุกปี คือประมาณ 30-40% ที่มา Big Mountain คือคนที่มาเป็นครั้งแรก นั่นแปลว่ามีคนหน้าใหม่มาในงานทุกปี ความรู้สึกที่ผู้คนมีต่อ Big Mountain มันถึงมาคู่กับคำว่า ‘ครั้งหนึ่งในชีวิต’ ต้องไปให้ได้ และผมว่ามันไม่ใช่เฉพาะแค่คนดูนะครับที่เรียกร้อง แต่ศิลปินเองก็รอคอย

     ศิลปินเพลงเขามอง Big Mountain เป็นเหมือนมอเตอร์โชว์น่ะครับ คือมอเตอร์โชว์เนี่ยเขามีไว้เพื่อโชว์รถยนต์รุ่นใหม่ ศิลปินเพลงก็เช่นกัน ด้วยความที่แต่ละปีเขาจะต้องเอาผลงานเพลงไปโชว์ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะตามผับ ตามงานอีเวนต์ ฯลฯ ฉะนั้นที่ผ่านมาเขาจะใช้ Big Mountain เพื่อเป็นการนำเสนอโชว์ใหม่ หลังจากที่โชว์แบบเดิมมาตลอดทั้งปี ไม่อย่างนั้นคนดูจะรู้สึกซ้ำ หรือบางวงออกซิงเกิลใหม่ไป 3 เพลง บางวงปรับโชว์ใหม่ บางวงปรับสคริปต์ใหม่ แล้วมาลองที่ Big Mountain

     นั่นคือเรื่องของศิลปิน แต่นอกเหนือจากนั้น อย่างอินบ็อกซ์ในเพจ พ่อค้าแม่ค้าจะถามมาตลอดว่าเมื่อไรจะเปิดให้จองพื้นที่ในตลาดขายของ หน้าเพจไม่ว่าจะรถตู้ โรงแรมต่างๆ เข้ามาโปรโมตที่พักจนเป็นเรื่องปกติ อย่างวันที่ผมกลับไปสำรวจพื้นที่เขาใหญ่ ผมรู้สึกได้เลยว่าทุกที่ที่ผมไป ทุกคนจำผมได้ เหมือนเขาดีใจว่ามันกลับมาแล้ว เพราะเราจัดงานที่นั่นมา 7 ปี และเขารู้สึกได้ว่าการที่ Big Mountain ไม่ได้จัดที่เขาใหญ่ มันเหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง

     ผมเคยพูดเล่นๆ นะฮะว่า ต่อไปถ้าผมสมัครเป็น อบต. เขาใหญ่ ผมเชื่อว่าผมได้รับเลือกแน่ๆ (หัวเราะ) เพราะได้ทำประโยชน์ให้ผู้ประกอบธุรกิจในเขาใหญ่ไว้มากมาย

     นี่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่ผมบอกว่าการจัดงาน Big Mountain มันกลายเป็นหน้าที่ไปแล้ว คือถ้าผมเลิกทำ ยังไงต้องมีคนทำต่อ มันเป็นงานที่เลิกไม่ได้ เพราะมันเกี่ยวพันกับชีวิตผู้คนเยอะเกินกว่าที่นึกจะเลิกก็เลิกได้

 

 

 

‘Big Mountain – เขาใหญ่ – สนามกอล์ฟ’ เทศกาลดนตรีที่จะเขียวขจีกว่าทุกครั้ง

     เจ๋อ: ผมคุยกับพี่เต็ดมานาน ด้วยความที่ปีที่แล้วเราหยุดไป ระหว่างนั้นเราได้ทำรีเสิร์ชกันแล้วพบว่ามีอยู่ ‘ข้อเรียกร้องหนึ่ง’ ที่เราปรึกษากันอย่างลำบากใจ คืออยากให้ Big Mountain กลับไปจัดในพื้นที่ออริจินัลที่ ‘เขาใหญ่’ หลังจากนั้นเราเลยตั้งโจทย์กันว่า ถ้าปีนี้เราจะต้องกลับไปเขาใหญ่ แต่ติดขัดตรงที่ยังใช้สถานที่เดิมไม่ได้ และต้องหาสถานที่มาทดแทน มันพอจะมีโอกาสใหม่ๆ แบบไหนบ้าง

     เต็ด: ตั้งแต่คราวที่เราต้องย้ายงานออกจาก ‘โบนันซ่า’ เราก็ได้ลองพยายามไปหาพื้นที่ แต่ด้วยความที่มันต้องใช้พื้นที่กว่า 1,200 ไร่นี่แหละ มันเลยไม่ง่าย (Big Mountain Music Festival ครั้งที่ 7 ย้ายไปจัดที่ แก่งกระจาน คันทรี คลับ จังหวัดเพชรบุรี) คราวนี้พอเจอกับเสียงเรียกร้อง บวกกับความโชคดีที่เจ้าของพื้นที่อย่าง ดิโอเชียน เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา อยากให้มีการจัดงานในลักษณะนี้ขึ้นในพื้นที่ของเขา แล้วเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขาจริงๆ เพราะผมจัดงานที่เขาใหญ่มา 6-7 ปี แต่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีพื้นที่นี้อยู่ ทั้งที่เป็นพื้นที่ที่สวยมาก เพราะอยู่ติดถนนเลย

     คิดดูแล้วกันว่าการอนุญาตให้งานใหญ่ขนาดนี้ คนเยอะขนาดนี้ เข้าไปอยู่ในสนามกอล์ฟ ซึ่งปกติแล้วเป็นพื้นที่ที่เขาหวงกันมาก แล้วพอ ดิ โอเชียน แฮปปี้ที่จะให้เราใช้ มันเลยนำพามาซึ่งความแปลกใหม่ เพราะเราไม่เคยจัดงานในพื้นที่ที่มีหญ้าเยอะขนาดนี้มาก่อน นั่นหมายถึงเราจัดงานกันในแฟร์เวย์ของสนามกอล์ฟ

     ถึงใครไม่เคยตีกอล์ฟ อาจจะเคยผ่านตาการถ่ายทอดสดหรือเทปการแข่งขันกอล์ฟมาบ้าง ซึ่งเราจะเห็นเลยว่าพื้นที่มันเขียวขจีมาก แล้วพอเป็นลักษณะพื้นที่แบบใหม่ มันเลยทำให้เราต้องออกแบบเวทีใหม่ทั้งหมดเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ ฉะนั้นสิ่งที่น่าตื่นเต้นคือ ถึงเคยไป Big Mountain ปีก่อนๆ มาแล้ว แต่ภาพงานในปีนี้คุณจะไม่คุ้นเคยมาก่อน เวทีชิงช้าสวรรค์ หรืออย่างเวทีวัว ฯลฯ มันยังมีอยู่นะครับ เพียงแต่มันจะถูกออกแบบใหม่ให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่เป็นสนามกอล์ฟ ซึ่งถือเป็นความท้าทายใหม่สำหรับทีมงานด้วย

     เจ๋อ: แล้วไม่ใช่แค่มีหญ้านะครับ แต่คราวนี้มันจะเป็น Big Mountain ที่ผมว่าร่มเงาเยอะที่สุด

     เต็ด: ใช่ครับ ที่ผ่านมาทุกปีเนี่ย ตอนกลางวันผู้ชมมักจะไม่รู้จะไปหลบที่ร่มตรงไหน ต่อให้ทำขึ้นมาเท่าไรก็ไม่เคยพอ เพราะเราไม่สามารถทำร่มเงาให้คนจำนวน 5-6 หมื่นคนอยู่ในที่ร่มพร้อมกันได้ แต่คราวนี้ด้วยความที่เราจัดในสนามกอล์ฟ มันจะมีทิวสนที่คั่นอยู่ระหว่างแฟร์เวย์ (ทางเรียบสำหรับตีกอล์ฟ) ยาวตลอดทั้ง 9 หลุม ซึ่งถ้าคนเล่นกอล์ฟจะรู้ว่าพอเราตีเสร็จหลุมหนึ่ง มันจะต้องมีร่มเงาเพื่อให้เราเดินเลาะไปถึงสนามอีกหลุมได้ ซึ่งสำหรับทีมงาน มันเป็นอะไรที่เพอร์เฟกต์มาก

 

 

มันสำคัญอย่างไรกับการที่ Big Mountain จะกลับไป ‘เขาใหญ่’  

     เต็ด: ผมขอเล่าย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นเลยนะครับ ตอนที่เราคิดจะทำมิวสิกเฟสติวัลหลักของประเทศเนี่ย เราเริ่มต้นด้วยการหาโลเคชันก่อน ตอนนั้นเลยมองว่าพื้นที่ควรจะห่างจากกรุงเทพฯ ในระยะทางที่ขับรถไปได้ประมาณสัก 2 ชั่วโมง พอขับรถสำรวจไปเรื่อยๆ เราก็พบว่าเขาใหญ่นี่แหละเวิร์กที่สุด เพราะเดินทางสะดวก อากาศดี ตอนนั้นโชคดีต่อไปอีกที่เราเจอพื้นที่อย่าง ‘โบนันซ่า’ ซึ่งเพอร์เฟกต์มาก

     ตอนแรกเราตั้งใจจะตั้งชื่อว่า ‘เขาใหญ่ มิวสิกเฟสติวัล’ แต่อีกใจก็มองไปไกลๆ  ว่า เดี๋ยวต่อไปเวลาบอกชาวต่างชาติเขาอาจจะไม่เข้าใจ กลัวจะเรียกยาก สะกดยาก สุดท้ายเลยลงตัวที่ชื่อว่า ‘Big Mountain’ หรือแปลตรงตัวเลย (หัวเราะ) ซึ่งความจริงเขาใหญ่ไม่เคยมีชื่อภาษาอังกฤษมาก่อน ฉะนั้นจุดเริ่มต้นของมันจึงเกิดขึ้นที่เขาใหญ่มาตั้งแต่แรก

     จนเมื่องานจัดมาเรื่อยๆ มันมีความผูกพัน มีความคุ้นชินในเรื่องสภาพอากาศ เรื่องของผู้คนในท้องถิ่นที่เข้ามาเกี่ยวพัน สุดท้ายเขาใหญ่เลยเป็นบ้านของ Big Mountain ซึ่งเราไม่ได้คิดไปเอง แต่คนที่เคยไปเขาก็รู้สึกแบบนั้น มันถึงเกิดเสียงเรียกร้องให้กับไปจัดงานที่เขาใหญ่เหมือนเดิม

 

จุดเด่น – ถอดบทเรียนจาก 7 ครั้งที่ผ่านมาของ ‘Big Mountain’

     เต็ด: ผมเรียนรู้มาอย่างหนึ่งจากเทศกาลดนตรีหลักๆ ของแต่ละประเทศอย่าง แกลสตันบูรี, ฟูจิร็อก, ซัมเมอร์โซนิก ฯลฯ อย่างแรกคือเทศกาลดนตรีหลักจะต้องครอบคลุมดนตรีทุกแนว เพื่อที่ไม่ว่าเวลาผ่านไปแค่ไหน ต่อให้ดนตรีแนวไหนกำลังได้รับความนิยม แต่ตัวเทศกาลดนตรีจะเป็นหลักอยู่ได้ ซึ่งต่างจากเทศกาลดนตรีอย่าง แดนซ์เฟสติวัล, ร็อกเฟสติวัล, แจ๊ซเฟสติวัล ฯลฯ ที่จะมีความเฉพาะทาง  

     โดยเฉพาะกับเทศกาลดนตรีอย่างแกลสตันบูรี ซึ่งถือว่าเป็นแรงบันดาลใจหลักของ Big Mountain เขาจะวางโครงสร้างแต่ละเวทีเพื่อเกื้อหนุนให้ศิลปินตั้งแต่เริ่มต้นเข้าสู่วงการจนก้าวไปถึงระดับซูเปอร์สตาร์ ก็ยังคงร่วมโชว์อยู่ในงานได้

     ทุกวงดนตรี ไม่ว่าดังแค่ไหนจะมีพื้นที่ของตัวเอง ในงานจึงมีเวทีขนาดเล็ก เวทีขนาดกลาง เวทีขนาดใหญ่ บางเวทีแยกหมวดหมู่ไปตามรสนิยมของคนดู ฯลฯ ลักษณะแบบนี้เราค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใน Big Mountain แต่ละปี จนตอนนี้ค่อนข้างเป็นรากฐานชัดเจน

 

จุดด้อย – ถอดบทเรียนจาก 7 ครั้งที่ผ่านมาของ ‘Big Mountain’ เรื่องจอด เรื่องกิน เรื่องนอน และเรื่องขี้!

     เต็ด: ใช่ฮะ (หัวเราะ) คืออีเวนต์สเกลนี้เนี่ย จริงๆ แล้วความยากไม่ใช่เรื่องบนเวทีเลย เพราะแค่วางโปรแกรมดีๆ เลือกวงที่จะขึ้นไปโชว์ให้อยู่ในพื้นที่หรือเวทีที่ถูกต้อง ที่เหลือศิลปินเขาสามารถทำได้เอง สคริปต์เราก็ไม่ต้องเขียนให้เขา เสื้อผ้าหน้าผมก็ไม่ต้องออกแบบให้ เพราะเขาเตรียมมาเต็มที่

     แต่เรื่องยากที่สุดคือการสร้างความสะดวกสบาย ฉะนั้นระหว่างที่งานกำลังเกิดขึ้น 2 วัน 2 คืน ผมเป็นเหมือนผู้ใหญ่บ้านเลยนะฮะ เพราะใน Big Mountain มีคนมาอยู่รวมกัน 5-6 หมื่นคน ความยากมันเลยเป็นเรื่องของการจัดการกับระบบจราจร คนจะเข้าออกยังไง แต่ละเวทีอีกล่ะ ถ้าใกล้กันมากไป เสียงก็จะตีกัน แต่ถ้าไกลกันเกินไป คนก็ขี้เกียจเดิน ฉะนั้นต้องหาระยะที่มันพอดี

     ห้องน้ำควรจะอยู่ตรงไหน อยู่ใกล้เวทีเกินไปก็เหม็น อยู่ไกลเกินไปเขาก็บ่น จะต้องคำนวณหาจุดวางในปริมาณที่เพียงพอ  

     พ่อค้าแม่ค้าที่มาขายจะต้องเข้าทางด้านไหน ถ้าผักหมด หมูหมด ไข่หมด รถที่ขนของเข้ามาจะทำยังไง นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าจากเดิมที่เคยมีอาหารเมนูหลากหลาย ในที่สุดเลยมีแค่ร้านข้าวเปล่ากับไข่เจียว ทั้งหมดนี้แหละที่เป็นบทเรียนในเรื่องการวางผังที่เหมาะสม ซึ่งก็ท้าทายทีมงานทุกปีด้วยเหมือนกัน

 

 

‘มิวสิกเฟสติวัล’ จุดศูนย์รวมของสิ่งที่เรียกว่า ‘ป๊อปคัลเจอร์’

     เต็ด: ผมอยากจะเสริมว่า สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมการไป ‘มิวสิกเฟสติวัล’ คือการไปพบกับวงที่เราไม่รู้จัก ไปเจอสิ่งที่ไม่เคยเห็น หรือไปพบกับสิ่งที่ไม่ได้คาดหมายไว้ เช่น มา Big Mountain ครั้งนี้เราอาจจะตั้งใจมาดู เป๊ก ผลิตโชค หรือ Lomosonic แต่ความตื่นเต้นของมิวสิกเฟสติวัลคือ ระหว่างทางที่เรากำลังเดินไปดูโชว์ของศิลปินที่ชอบ เราอาจจะไปเจอเข้ากับวงอะไรสักวงที่ไม่เคยสนใจ ไม่เคยดูโชว์ของเขามาก่อนที่เวทีหนึ่งระหว่างทางก็เป็นได้

     มันเลยกลายเป็นว่า แทนที่คุณจะมีวงโปรดอยู่แค่ 2 วง แต่เมื่อจบงานแล้วกลับออกไป คุณอาจจะมีวงโปรดเพิ่มขึ้นอีก 4-5 วงก็ได้ และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับคนที่เดินทางไปดูมิวสิกเฟสติวัลทั่วโลก

     เจ๋อ: นึกออกไหมว่าการเดินทางไปงานมิวสิกเฟสติวัล มันคือการที่เราไปแลกเปลี่ยนความสนใจใหม่ มันคือการไปค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ใช่แค่การไปหาสาวสวยๆ ในงาน (หัวเราะ) ซึ่งสิ่งที่ได้กลับไปหลังจากงานจบ ความจริงมันเปิดโลกให้กับคนดูบางคนได้เหมือนกันนะ

 

ลึกลงไปในความ ‘ป๊อปคัลเจอร์’ อะไรคือเสน่ห์ของมิวสิกเฟลติวัล ทำไมทุกประเทศถึงต้องมี และทำไมเราถึงควรจะต้องไปสักครั้งในชีวิต

     เต็ด: ผมเชื่อว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้มันอยู่ในดีเอ็นเอของมนุษย์นะ คือผมนึกไม่ออกหรอกว่ามีตำราไหนเคยเขียนไว้ไหม แต่ผมนึกย้อนกลับไปเองว่า ภาพแรกในความบันเทิงของมนุษย์ควรจะเป็นภาพอะไร ซึ่งผมนึกถึงภาพมนุษย์เอากระดูกมาเคาะเป็นจังหวะรอบกองไฟ คือเสร็จจากงานล่าสัตว์ ปลูกพืชผัก ตอนกลางคืนไม่มีอะไรทำก็จุดไฟแล้วนั่งล้อมวงกินข้าว เต้นรำ คุยกัน มันเป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบให้แตกต่างกันไปเท่านั้นเอง เพราะในที่สุดแล้วดีเอ็นเอของมนุษย์คือต้องออกมาเจอกันเพื่อที่จะหย่อนใจ เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  

     ผมว่ามิวสิกเฟสติวัลมันเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างเปิดกว้างให้กับรสนิยมที่หลากหลาย แล้วผมเชื่อว่าดนตรีมันเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นเองนะฮะ คนที่ไปมิวสิกเฟสติวัลเนี่ย ความสุขที่เขาได้รับมันไม่ใช่แค่การได้ดูวงที่ชอบ แต่สิ่งที่ให้มากกว่านั้นคือโมเมนต์อย่างการต่อแถวซื้อข้าวไข่เจียวด้วยกัน หรือเขาใหญ่มันหนาวกว่าที่คิดนะ เตรียมเสื้อหนาวมาไม่พอเลยเอาผ้าห่มมาห่มด้วยกัน ฯลฯ การมางานประเภทนี้มันมีปัจจัยที่เอื้อให้เกิดโมเมนต์พิเศษได้เยอะมาก แม้กระทั่งโมเมนต์ที่ยากลำบากที่สุด

     ยกตัวอย่างตอนผมไปเทศกาลดนตรีแกลสตันบูรีก็ได้ เพราะว่ามันเป็นเทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทุกปีแกลสตันบูรีฝนตกหนัก ทุกอย่างเละเป็นโคลน ทุกคนที่เคยไปจะรู้เลยว่าสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เป็นอันขาดคือ ‘รองเท้าบู๊ต’ ใครไม่เอาไปคือเตรียมตัวเดินเท้าเปล่าได้เลย แต่นั่นแหละคือโมเมนต์ที่ทุกคนกลับรู้สึกว่า ถ้าไปแกลสตันบูรีแล้วฝนไม่ตก เขาจะรู้สึกเสียใจมาก ทั้งที่ความจริงมันลำบากมาก เราจะรู้สึกว่ามันเหนื่อยเหลือเกินกว่าจะย่ำโคลนเดินไปไหนได้แต่ละก้าว แต่พอเหตุการณ์นั้นผ่านไป ถึงปีหน้าเราอยากไปอีกแล้ว นั่นแหละคือสิ่งที่มิวสิกเฟสติวัลมันสร้างได้

 

 

ประสบการณ์ร่วม ‘มิวสิกเฟสติวัล’ ที่จะไม่มีวันลืม

     เต็ด: ตอนไปเทศกาลดนตรีแกลสตันบูรีแน่นอน จริงๆ แล้วจุดกำเนิดที่ทำให้ผมอยากทำมิวสิกเฟสติวัลเกิดขึ้นจากการดูหนังเรื่อง Woodstock (1970) แต่นั่นคือการมองช่วงเวลาในอดีตที่เคยมีคนบันทึกเอาไว้ ซึ่งผมไม่สามารถไปสต็อกได้จริงๆ แต่กับปัจจุบัน ที่ที่เราพอจะเห็นจิตวิญญาณแบบ Woodstock ได้ก็คือแกลสตันบูรี ผมก็เลยเดินทางไปที่นั่นเมื่อเกือบสิบกว่าปีที่แล้ว

     สิ่งที่น่าประทับใจคือมันเหมือนตอนเราไป ‘เขาชนไก่’ คือตอนที่อยู่เนี่ย เราจะรู้สึกว่าชีวิตมันยากลำบากมาก ผมจำได้ว่าตอนอยู่ในแกลสตันบูรี แค่ผมเดินจากฝั่งหนึ่งเพื่อไปอีกฝั่งหนึ่งของเวทีหลัก ผมใช้เวลาถึงครึ่งชั่วโมงในการฝ่าฝูงชน แล้วเท้าแต่ละก้าวที่เหยียบลงไปเนี่ย มันต้องใช้แรงในการดึงขึ้นมา เพราะดินมันกลายเป็นโคลนแทบทั้งหมดเลย  

     ตรงจุดนั้นแหละที่ผมให้ผมรู้สึกว่า เฮ้ย ทำไมเราต้องมายืนอยู่ตรงนั้นวะ ซีดีของวงที่เรากำลังจะดูก็มีอยู่แล้ว คือนอนฟังซีดีอยู่ที่บ้านสบายกว่าเยอะ แต่อยู่ตรงนั้นมันกลับรู้สึกว่าเพลงมันเพราะว่ะ การได้ฟังเพลงเหล่านั้นอยู่ท่ามกลางคนมากมาย…

     อีกสิ่งที่ประทับใจที่สุดของผมในการไปแกลสตันบูรีก็คือ การที่ผมต้องนอนเต็นท์ในนั้น 5 คืน แล้วส้วมที่นั่นเนี่ยเรียกว่าเป็นระดับตำนานเลยนะครับ เขามีชื่อเรียกของเขาเลยนะ เขาเรียกว่า ‘long drop’ ซึ่งก็ตามชื่อเลยครับ คือดรอปขี้ลงไป (หัวเราะ)

     เอกลักษณ์ของส้วมในแกลสตันบูรีคือ เขาจะทำถังใบใหญ่ๆ ประมาณสระว่ายน้ำขึ้นมา จากนั้นก็เอาแผ่นเหล็กมาวางทับเหมือนเป็นฝาปิดถังทั้งหมด แล้วก็เจาะรูเท่ากับส้วม ต่อด้วยทำที่นั่งเหมือนฝาชักโครกวางแปะลงไป ทำแบบนี้เรียงเป็นตับเลยนะครับ แล้วก็ทำผนังกั้น

     ฉะนั้นถ้าก้มลงไปมอง มันก็คือสระว่ายน้ำใหญ่ๆ อยู่ข้างล่าง เพียงแต่สิ่งที่อยู่ในนั้นมันไม่ใช่น้ำ และมันรวมไว้ซึ่งขี้ของทุกคนที่อยู่ในงานนั้น (หัวเราะ) ก่อนผมไป ความจริงผมทำการบ้านมาก่อน ผมเลยทราบว่ารถจะเข้ามาทำความสะอาดส้วมทุก 6 โมงเช้า แต่ถ้าเกิดคุณไปเข้าส้วมสักประมาณห้าทุ่มถึงเที่ยงคืน ปรากฏการณ์ที่จะเห็นก็คือ พอคุณเปิดฝาชักโครกที่ปิดไว้ มันจะมีภูเขาของสิ่งที่ทุกคนไปดรอปไว้ทะลุขึ้นมา เรียกว่าคุณนั่งลงไปไม่ได้ เพราะมันจะจ่อตูดคุณเลย มันคือที่สุดจนผมต้องถ่ายรูปเก็บไว้

     อยากจะบอกว่าหลังจากที่ผมกลับมาเริ่มต้นทำ Big Mountain ครั้งแรก แล้วคนบ่นเรื่องห้องน้ำว่าลำบาก แหม ผมคิดเล่นๆ ในใจ ผมอยากจะออกค่าตั๋วเครื่องบินพาไปแกลสตันบูรีสักรอบหนึ่ง (หัวเราะ) ลองไปนั่งส้วม long drop กับผมดูหน่อย แล้วจะรู้ว่าห้องน้ำ Big Mountain นี่โคตรวีไอพีเลย

     ผมเรียนรู้หัวใจของมิวสิกเฟสติวัลจากส้วมของแกลสตันบูรี

     ที่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าผมจะทำให้ส้วมของ Big Mountain มันเละเทะแบบนั้นนะ แต่ผมรู้สึกว่าบางทีความสะดวกสบายไม่ใช่หัวใจสำคัญ แต่มันคือประสบการณ์ต่างหาก มันเหมือนกับประสบการณ์ตอนที่ครั้งหนึ่งเคยไปเดินขึ้นภูกระดึง แล้วพอมีคนคิดจะทำกระเช้าขึ้นไป บางคนเลยรู้สึกว่าเสน่ห์ของภูกระดึงกำลังจะหายไป ผมเข้าใจเขาเลยนะ ทั้งๆ ที่ผมเองก็ไม่เคยเดินขึ้นภูกระดึงสักครั้ง เพราะถ้าให้ผมปีนขึ้นไป ผมก็ปีนขึ้นไม่ไหว แต่ผมเข้าใจคนที่รักเสน่ห์ข้อนั้นของภูกระดึง ซึ่งมันเป็นเรื่องที่หาเหตุผลมาอธิบายได้ยาก

 

Photo: สลัก แก้วเชื้อ

The post เช็กทุกปัจจัย อะไรทำให้ ‘Big Mountain’ ยังคงเป็น ‘Music Festival’ ที่คนเสพเพลงต้องไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/bigmountainmusicfestival/feed/ 0
‘บาดแผลในวัยเด็ก’ ที่ส่งให้ เป๊ก ผลิตโชค กลายเป็น ‘คุณหลวง’ ที่มีคนรักมากที่สุดในเวลานี้ https://thestandard.co/culture-music-peck-palitchoke/ https://thestandard.co/culture-music-peck-palitchoke/#comments Fri, 14 Jul 2017 10:12:26 +0000 https://thestandard.co/?p=14036

     สิ่งแรกที่เราเห็นในวันเปิดตัวซิงเกิ […]

The post ‘บาดแผลในวัยเด็ก’ ที่ส่งให้ เป๊ก ผลิตโชค กลายเป็น ‘คุณหลวง’ ที่มีคนรักมากที่สุดในเวลานี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     สิ่งแรกที่เราเห็นในวันเปิดตัวซิงเกิลล่าสุด โทษที่เอาแต่ใจ (Sorry) ของ เป๊ก-ผลิตโชค อายนบุตร คือจำนวนแฟนคลับจำนวนพันกว่าคนมารอให้กำลังใจกันอย่างอบอุ่น ถึงจะมีแค่ 400 คนเท่านั้นที่จะได้ร่วมงานมีตแอนด์กรี๊ดกับ ‘คุณหลวงผลิต’ แต่แฟนคลับที่เหลือก็พร้อมที่จะรออยู่ด้านนอก แม้ว่าจะได้เห็นคุณหลวงผ่านทางจอ LCD ด้านนอกเท่านั้น

     ตลอดเวลาที่งานดำเนินไป เราสัมผัสได้ถึงมวลความรักจากแฟนคลับที่มอบให้กับศิลปินคนหนึ่งอย่างจริงใจ และศิลปินคนนั้นก็มอบความรักนั้นกลับไปอย่างเต็มที่ ด้วยคำพูดซึ้งๆ รอยยิ้มหวานๆ เสียงเพลงเพราะๆ ที่แม้เราจะไม่ใช่แฟนคลับตัวยง แต่ยังรู้สึกได้ว่าเขาแสดงสิ่งเหล่านั้นออกมาจากหัวใจของเขาจริงๆ

     ช่วงแรกๆ หลังจบรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง (ซีซัน 1) หลายคนบอกเป๊กมีวันนี้ได้เพราะ ‘หน้ากากจิงโจ้’ ที่ทำให้เขาโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน แต่วันนี้ THE STANDARD เชื่อว่ามนต์รักหน้ากากจิงโจ้ได้ค่อยๆ เลือนหายไปแล้ว สุดท้ายมันเหลือไว้เพียงแต่ตัวตนที่น่ารัก จริงใจ ในแบบ ‘คุณหลวงผลิต’ ที่ชัดเจนขึ้น  จนแทบไม่มีข้อสงสัยว่าเป็นเพราะ ‘ตัวตน’ ของเขาต่างหาก ที่ส่งให้เขามาถึงจุดนี้ได้

     ไม่แน่ว่ากับ ‘ใครบางคน’ แท้จริงเขาอาจเพียงแค่รอจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมสำหรับตัวเองอยู่ก็เท่านั้น…

 

 

วัยเด็กของคุณหลวงผลิตเป็นอย่างไรบ้าง เป็นเด็กที่ดื้อหรือเรียบร้อยขนาดไหน

     ตั้งแต่จำความได้ คือเป็นเด็กค่อนข้างดื้อเลยทีเดียว มีความคิดเป็นของตัวเองแล้วชอบคิดว่าถูก ซึ่งจริงๆ มันไม่ถูกหรอก อยากทำอะไรก็ทำเลย ใครไม่ชอบก็ช่าง ใครห้ามอะไรก็ไม่ฟัง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคุณพ่อกับคุณแม่เลี้ยงดูมาแบบไม่เข้มงวดเลย ปล่อยให้ไปเรียนรู้ชีวิตด้วยตัวเอง ไม่เคยบังคับว่าลูกจะต้องเรียนแบบนี้ แล้วโตมาต้องทำอาชีพนี้ ผมมีอิสระ สามารถเลือกสิ่งที่อยากทำได้ตามใจชอบ อยากเป็นนักร้อง อยากแคสต์โฆษณาตั้งแต่เด็ก เขาก็ไม่ห้าม แถมยังไปเป็นเพื่อนด้วย เขาไม่ใช่สายคอนโทรล แต่จะคอยเป็นห่วงในรายละเอียดที่เราอาจจะข้ามเส้นจนเกินไป เช่น ไม่ตั้งใจเรียน เกเร ตามประสาเด็กทั่วไป

     พอมีความคิดเป็นของตัวเองมากๆ มันเลยยากสำหรับคนอื่นๆ การจะให้ทุกคนเข้าใจเราตลอดเวลาคงไม่ไหว โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ เราเลยทะเลาะกันบ่อย ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ยิ่งตอนเป็นเด็ก ถ้ามีเรื่องเมื่อไร ผมจะพูดๆๆ ไว้ก่อน ถ้าเรื่องไม่จบ เราค่อยมาขอโทษเขาทีหลัง 

 

 

ที่บอกว่าไม่ตั้งใจเรียนนี่ไม่ตั้งใจขนาดไหน

     แทบจะไม่ตั้งใจเลย แต่ผมว่าน่าจะเหมือนเด็กไทยส่วนมากนะ ที่เรียนให้พอผ่านแต่ไม่ได้คิดว่าจะต้องเก่ง ต้องได้เกรดเฉลี่ย 4.00 หรือเป็นตัวแทนไปแข่งฟิสิกส์โอลิมปิกที่เยอรมนีแบบนั้น เพราะเรามีสังคม มีกิจกรรมของตัวเองอีกหลายอย่างที่สนุกและอยากทำด้วยเหมือนกัน ทั้งเล่นกีฬา ดนตรี ใช้เวลาอยู่กับเพื่อน ซึ่งทุกส่วนล้วนสำคัญเหมือนกัน ก็เลยไม่ได้ซีเรียสว่าจะต้องทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับการเรียน แค่บาลานซ์ทุกอย่างให้ได้ก็พอแล้ว

 

ที่นั่งประจำในห้องเรียนของเด็กชายเป๊กคือตรงไหน

     หลังห้อง ตรงประตูทางออกอย่างเดียวเท่านั้น พร้อมที่จะลุกออกจากห้องได้ทุกเมื่อ (หัวเราะ) เลยโดดเรียนบ่อย แต่แก๊งผมจะมีความบ้าบออยู่ที่ไม่ได้โดดเรียนไปเที่ยวห้าง หรือที่ที่วัยรุ่นชอบไปกัน แต่จะพากันไปพระที่นั่งวิมานเมฆ สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ อะไรพวกนั้น ไม่ได้ไปสํามะเลเทเมาที่ไหน นั่งรถเมล์ไปกันเป็นกลุ่มสนุกมาก

     พอเลิกเรียน ถ้าไม่ใช่ช่วงเป็นศิลปินฝึกหัดที่แกรมมี่ ตอนเย็นต้องไปเรียนเทควันโดทุกวัน เล่นจนเก่งเลยนะ สายดำ เห็นแบบนี้ไปแข่งรายการใหญ่ๆ ได้เหรียญทองมาหมดแล้วนะครับ (หัวเราะ) ก็เลยเริ่มรู้ว่าตัวเองเป็นสายบู๊ ชอบกีฬาทางนี้ เทควันโด ต่อยมวย ได้หมด

 

 

พูดจริงๆ นึกภาพตอนเป๊กเป็นสายบู๊ไม่ออกเลยนะ บู๊ถึงขนาดมีเรื่องกับคนอื่นแบบนั้นเลยไหม

     มีเยอะเลย ถ้าเห็นรอยที่หน้าของผมทุกวันนี้ก็เพราะมีเรื่องสมัยมัธยมทั้งนั้นแหละครับ แต่ผมจะไม่ได้ลงไปบู๊มากขนาดนั้น ชอบเป็นสายบอสใหญ่ นั่งชี้นิ้วสั่งการมากกว่า (หัวเราะ) แต่ถ้าต้องสู้ ต้องประชิดตัวจริงๆ ก็ได้อยู่ สนุกดี ชีวิตช่วงนั้น โอเค การมีเรื่องมันไม่ใช่สิ่งที่ดีหรอก แต่ถือว่าเป็นสีสันชีวิตในช่วงนั้นที่สนุกดีเหมือนกัน

     เรื่องหนึ่งที่ผมชอบมากคือตอนม.6 ผมไปเรียนพิเศษที่สยาม แล้วมีผู้หญิงมาชอบผม ซื้อขนมมาให้ทุกวัน แต่เขามีแฟนอยู่แล้ว พอแฟนรู้ว่าผู้หญิงคนนี้มาชอบผม เขาโทรมาหาเลย บอกว่าจะพาพวกบุกมาที่โรงเรียน ผมก็บอกเพื่อนให้รวมแก๊งเตรียมรับมืออย่างดี แต่พอมาถึงได้คุยกัน สุดท้ายเลยเข้าใจ ไม่มีเรื่องอะไรกัน แถมผมกับคนนั้นยังกลายเป็นเพื่อนกันไปอีก บทที่ควรจะมีเรื่องแต่ดันได้เพื่อนมาแทน แต่บางทีเดินๆ อยู่ เห็นเพื่อนโดนรุม ไม่ได้คิดจะมีเรื่อง ก็ต้องกระโดดเข้าไปช่วยไว้ก่อน อยู่ที่สถานการณ์ด้วย ถ้าเรื่องไหนที่คิดว่าผมหรือเพื่อนผมไม่ผิด อันนี้ไม่มีทางยอม กระจุยแน่นอน สู้จนถึงที่สุดล่ะครับ แต่จะมีเส้นคือ ใช้แค่หมัดกับเท้านะครับ พวกผมจะไม่ไปถึงขั้นใช้อาวุธเด็ดขาด

 

 

น่าจะสนิทกับห้องปกครองพอสมควรเลยใช่ไหมแบบนี้

     โอ้โห ประจำเลยครับ จะเอาเรื่องไหน ผมว่าน่าจะเคยกวาดมาหมดทุกเรื่อง (หัวเราะ) โดยเฉพาะเวลามีเรื่องน่าจะบ่อยที่สุด ผมเคยถึงขนาดช่วงที่เพิ่งกลับจากออสเตรเลียมาอยู่ไทย ยังเด็กๆ ม.ต้นเลยนะ ผมเคยทะเลาะกับครูเพราะตอนนั้นรู้สึกว่าถูกกลั่นแกล้ง เลยสู้เพื่อสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะเขาบอกให้พวกผมนั่งตากแดด 10 นาที แล้วจะกลับมาปล่อย แต่สุดท้ายเขาหายไปทั้งชั่วโมงโดยที่ไม่กลับมา แล้วคาบนั้นเขาไม่ได้สอนอะไรพวกผมเลย เพื่อนคนอื่นโดยเฉพาะผู้หญิงก็ทนไม่ค่อยไหว

     ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะผมไปเรียนเมืองนอกมา เห็นการเรียนการสอนที่ไม่เหมือนกัน อยู่ที่นู่นเวลาทำผิดเขาจะทำโทษเบามาก ผมเลยไม่ค่อยรู้สึกกลัวความผิดเท่าไร กลับมาเมืองไทยเลยซ่าทันที เป็นหัวโจก มีเรื่องบ่อยถึงขนาดถ้าวันไหนนั่งเรียนอยู่ได้ยินเสียงกุญแจกริ๊งๆ คือเตรียมตัวได้เลย คุณพ่อของเราโดนเชิญผู้ปกครองแน่ๆ เพราะมันบ่อยมาก แล้วก็มีผมคนเดียวนะที่โดน เรียกได้ว่ามีเรื่องบ่อยจนโดนไล่ออกจากโรงเรียนมาแล้ว คุณพ่อกับคุณแม่ยังทนไม่ไหว ถึงกับต้องส่งผมไปอยู่ต่างจังหวัดกับญาติเกือบๆ 2 ปี เขามีลูกชาย 2 คนที่เรียนเก่ง คงอยากให้ไปเรียนพร้อมกันจะได้ช่วยกันเรียน แล้วดันไปแตกกับเขาอีก (หัวเราะ) ไม่ได้ทะเลาะกับเขา แต่จะออกแนว… คุณไปจะเรียนเหรอ ไปเลย จะทำแบบนี้เหรอ ทำเลย แต่เราไม่ไป

     ช่วงมัธยมเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตผมเลยนะ เป็นช่วงเวลาที่ใจอ่อน พร้อมจะหลงไปกับอะไรได้ง่าย ถ้าพลาดพลั้งอะไรไป หรือคบเพื่อนที่ไม่ดี แล้วพากันไปในทางที่ไม่ดีมากๆ มีสิทธิว่าอาจจะกลับมาไม่ได้เหมือนกัน

 

ต้องมีอะไรที่ยึดเหนี่ยวเป็นพิเศษหรือเปล่าที่ทำให้เราไม่เกเรมากไปกว่านี้ เพราะฟังจากที่เล่ามาก็มีความสุ่มเสี่ยงที่จะล้ำเส้นบางอย่างไปได้เหมือนกันนะ

     ผมไม่ใช่คนที่ดี ไม่ใช่คนเรียบร้อย อย่างที่บอกไปว่าทำอะไรที่ไม่ดีไว้หลายอย่าง แต่ผมคิดว่าที่บ้าน ไม่ใช่แค่คุณพ่อคุณแม่ แต่รวมถึงญาติพี่น้องด้วย ทุกคนเป็นคนดี เหมือนมีความคิดอยู่ลึกๆ ตลอดเวลาว่า อะไรคือดี อะไรคือไม่ดี และเราจะทดลองใช้ชีวิตไปได้ถึงขนาดไหน พื้นฐานครอบครัวเป็นภูมิคุ้มกันให้เราได้ดีเหมือนกันนะ ถึงแม้จะทำอะไรไม่ดีลงไป แต่สุดท้ายเราก็จะพยายามดึงตัวเองกลับมาให้ได้อยู่ดี เพราะไม่อยากทำให้เขาเสียใจ

     สำคัญที่สุดคือเราต้องรู้หัวใจ รู้ความต้องการของตัวเอง อย่างผมที่ไม่ได้ตั้งใจเรียน เพราะผมมีกิจกรรมอย่างอื่นที่ต้องทำ ผมมีกีฬา ผมมีดนตรี ผมรู้อยู่แล้วว่าผมอยากเป็นนักร้อง แล้วผมก็พยายามอย่างหนักเพื่อความฝันนั้น ผมแค่อยากบอกว่ามันไม่ได้มีหรอก ทางเดินชีวิตที่ผิดหรือถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ มีแต่ทางที่เชื่อมั่นว่าจะเลือกเดินต่อไปเท่านั้นแหละ คนแบบผมคงไม่กล้าไปว่าคนที่ตั้งใจเรียน เป็นตัวแทนแข่งโอลิมปิกวิชาการ เพราะนั่นก็คือทางที่เขาเชื่อมั่นแล้วเหมือนกัน

 

 

จากวัยเด็กตอนนั้น มาสู่คุณหลวงผลิตในวันนี้ คิดว่ามีอะไรบ้างที่เหมือนเดิมและเปลี่ยนแปลงไป

     ส่วนใหญ่จะเหมือนเดิมครับ ยังเป็นคนใจร้อน เอาแต่ใจเหมือนเดิม แค่อาจจะคอนโทรลได้ดีขึ้นบ้าง…มั้ง (หัวเราะ)

 

แสดงว่าอย่างซิงเกิลใหม่ ‘โทษที่เอาแต่ใจ’ ก็ใส่ความเอาแต่ใจของตัวเองลงไปเต็มที่เลยใช่ไหม

     เต็มๆ เลยครับ (หัวเราะ) ถ้าพูดแค่เรื่องลักษณะนิสัยของผมกับเนื้อเพลง คือใกล้เคียงตัวผมที่สุดแล้วตั้งแต่เคยมีเพลงของตัวเองออกมา แล้วเป็นเพลงที่เขียนขึ้นมาเร็วมาก ตอนทำซิงเกิลใหม่ผมคุยกับน้องอาย (ญาณิน พันธัย ศิลปินอินดี้และทีมงานเบื้องหลังของค่าย White Music) คือคุยกันเฉยๆ เลยนะ นิสัย สไตล์การแต่งตัว แต่คุยกันแล้วถูกคอ ผมรู้ว่าอายแต่งเพลงได้ เลยบอกให้อายลองแต่งเพลงมาให้หน่อย ไม่ได้บอกอะไรเยอะเลยนะ บอกแค่เรื่องนิสัยของผมไป ที่เหลือให้อายจัดมาเลย แล้วอายก็หายไป 2 วันพร้อมกับเนื้อเพลงและเดโมที่เสร็จเรียบร้อย พอฟังแล้วรู้สึกว่า เออ นิสัยเอาแต่ใจของเรามันชัดขนาดนี้เลยเนอะ (หัวเราะ) ชอบเลย รู้สึกว่าเอามาพัฒนาต่อได้ ส่งให้พี่ตุล อพาร์ตเมนต์คุณป้า (ตุล ไวฑูรเกียรติ) กับพี่โน้ต Yaak Lab (สุเมธ กิจธนโสภา) ช่วยเรียบเรียงและปรับภาษา จนออกมาเป็นแบบที่ได้ฟังกัน

 

ถ้าให้เลือกหนึ่งเรื่องที่รู้สึกว่าเอาแต่ใจที่สุด และอยากขอโทษคนๆ นั้นมากที่สุดคือเรื่องอะไร

     มีเยอะเลยนะ (คิดนาน) ขอโทษแฟนเก่าทุกคนก็แล้วกัน รู้สึกว่าพาร์ตความรักคือพาร์ตที่ผมเอาแต่ใจตัวเองที่สุดแล้ว ถ้ากับคนอื่นๆ โดยเฉพาะกับเพื่อน ผมเป็นอีกคนเลยนะ ยอมเพื่อน เดินตามข้างหลัง ไปไหนก็ได้ แต่กับแฟนมันเป็นความรู้สึกบางอย่างที่คิดว่าเราอยากเอาแต่ใจตัวเองเป็นพิเศษ ไม่รู้เหมือนกันนะว่าเพราะอะไร คงเพราะเรารักมาก ก็อยากเรียกร้องอะไรมาก จนหลายครั้งมันเกินความพอดี แล้วก็เป็นปัญหาที่ทำให้ไปกันไม่ได้ เคยคิดถึงขนาดว่าเราจะยอมเอาแต่ใจน้อยลงเพื่อความรักด้วย แต่บางทีมันไม่ทันแล้ว ช่วงหลังๆ เวลาคบใครจะพยายามไม่เอาแต่ใจตัวเองเท่าไร เพราะมีบทเรียนมาเยอะแล้ว

ผมเป็นคนชอบทะเลมากๆ ทะเลจะช่วยเยียวยาหัวใจได้เสมอ

 

เวลาผิดหวังกับความรัก เราจะเห็นภาพของเป๊กเป็นแบบไหน

     เศร้าหนัก แต่จะไม่ถึงขนาดร้องไห้ฟูมฟาย แล้วก็ออกไปทะเล อยู่คนเดียว คิดอะไรไปเรื่อยๆ ผมเป็นคนชอบทะเลมากๆ ทะเลจะช่วยเยียวยาหัวใจได้เสมอ

 

เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับความรักมากขนาดไหน

     ไม่ได้ยึดติดมาก ถ้ามีก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ได้โหยหาว่าจะต้องมีแฟนตลอดเวลา เลิกกับใครไปแล้วไม่เคยต้องรีบหาคนใหม่เข้ามาเสียบแทนทันที ปล่อยชีวิตไหลไปเรื่อยๆ ถ้าจะมาเดี๋ยวเขาก็มาเอง ทำงานไปก่อนก็ได้ เพราะเราได้รับความรักจากคนรอบตัวเยอะอยู่แล้ว ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ แฟนคลับ ทีมงาน เพื่อนๆ คนเหล่านี้สามารถเติมความรักให้เราได้ แต่ความรักก็ยังเป็นสิ่งสวยงามที่ผมรอคอยอยู่เสมอ เป็นเรื่องที่ดีของชีวิตที่ตอนนี้ก็ยังรอคอยอยู่

 

ทุกวันนี้หลายๆ คนคิดว่าเป๊กประสบความสำเร็จได้แบบชั่วข้ามคืนหลังถอดหน้ากากจิงโจ้ ในรายการ The Mask Singer แต่จริงๆ แล้วเรารู้มาว่าเป๊กเองก็ผ่านความลำบากมาหลายอย่างกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้

     ถ้านับจริงๆ ต้องเริ่มตั้งแต่ม.2 ที่เริ่มมาเป็นศิลปินฝึกหัดที่แกรมมี่ ช่วงนั้นเหนื่อยมากนะ ทุกวันหลังจากเลิกเรียน 4-5 โมงเย็น ผมต้องนั่งแท็กซี่จากสุขาภิบาล 3 ไปถนนอโศกที่รถติดมาก กว่าจะถึงก็ 2-3 ทุ่ม เรียนร้องเพลง เรียนเต้นถึงเที่ยงคืน กลับบ้าน ตื่นเช้าไปเรียนต่อ อย่างที่บอกว่าผมเป็นคนชอบทำกิจกรรม ชอบเล่นกีฬา ชอบไปเที่ยวกับเพื่อน ก็ต้องทิ้งไปเกือบทั้งหมด ใช้ชีวิตแบบนี้อยู่ 7 ปีเต็มๆ แบบที่ไม่มีคนสนใจด้วยนะ ไม่มีคนทาบทาม ไม่มีคนจะทำอัลบั้มให้ด้วยซ้ำ แต่ยังทำต่อเพราะมันคือการพยายามเพื่อความฝัน ถ้าอยากเป็นนักร้องเราต้องเดินผ่านตรงนี้ไปให้ได้

     ตอนที่มีซิงเกิลแรก ก็ได้มาแบบบังเอิญอีก โชคดีที่พี่ต๋อง (สุรพันธ์ จำลองกุล) โปรดิวเซอร์แกรมมี่เขามาประชุมแล้วสงสัยว่าเด็กคนนี้เป็นใคร ทำไมมาวิ่งซนอยู่แถวๆ ห้องประชุม ก็มาถามจนรู้ว่าผมเป็นศิลปินฝึกหัด แล้วบอกให้ผมร้องเพลงให้ฟัง ประมาณ 3 วันค่ายโทรมาให้ผมไปทำสกรีนเทสต์ กับให้มาร้องไกด์เพลงที่เป็นของศิลปินคนอื่น แต่ไปๆ มาๆ เขาชอบกันแล้ว เลยให้เพลง ‘ไม่มีใครรู้’ ออกมาเป็นเพลงของผม ทุกอย่างมันเกิดขึ้นเร็วมาก จากตอนแรกที่พยายามมา 7 ปี ไม่เห็นวี่แววอะไรเลย

 

 

ชีวิตศิลปินหลังจากรอคอยมา 7 ปี ทุกอย่างที่ได้รับคุ้มค่ากับการรอคอยนั้นทันทีเลยไหม

     มันมีครบทุกอย่างเลย กราฟผมจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา พอเพลง ไม่มีใครรู้ ออกมา มันประสบความสำเร็จทันที จากที่ไม่มีคนสนใจกลายเป็นมีงานทุกวัน ดรอปลงนิดหน่อย แล้วไปพุ่งอีกทีตอนเป๊ก อ๊อฟ ไอซ์ เป็นโปรเจกต์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมาก สนุกกับการทำงาน มีคอนเสิร์ตใหญ่ หลังจากนั้นก็แผ่วยาวเลย แต่พยายามทำทุกอย่างต่อไป พยายามค้นหาแนวเพลงที่คิดว่าคนน่าจะชอบ ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ไม่เคยเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จจริงๆ พยายามอยู่เกือบ 10 ปีเหมือนกันนะครับ แต่อาศัยความดื้อ ความเอาแต่ใจของตัวเองนี่แหละ ไปขอร้องให้เขายอมออกเพลงให้ ลองไปเรื่อยๆ จนรู้สึกอายแล้วที่เขาให้โอกาสแต่เราทำไม่ได้สักที แต่ยังอยากทำ เพราะคิดว่าสักวันจะต้องทำให้คนชอบเพลงของเราให้ได้

     จนช่วงก่อนรายการ The Mask Singer สัญญาใกล้หมดพอดี คิดไว้ว่าอยากไปเรียนต่อ อยากผจญภัยหาเรื่องตื่นเต้นให้กับชีวิต ติดต่อทำเรื่องไว้หมดแล้ว เพราะไม่คิดหรอกว่าหน้ากากจิงโจ้จะมาได้ถึงขนาดนี้ ซึ่งตอนคิดจะไปเมืองนอกไม่ได้คิดว่าจะหยุดร้องเพลงนะครับ พูดได้ว่าต่อให้ไม่มีรายการนี้ผมก็จะกลับมาร้องเพลงเหมือนเดิมอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นก็คงต้องไปอยู่ชายหาดเลย เปิดบาร์ ร้องเพลงอยู่ริมทะเล ชอบร้องเพลง ชอบทะเลมากใช่ไหม งั้นร้องเองฟังเอง เจ๊งเองไปเลย (หัวเราะ)

     เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าชีวิตศิลปินเป็นอย่างที่คิดไว้ไหม คงยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะกราฟชีวิตของผมขึ้นลงชัดมาก จนจบรายการก็ไม่คิดว่าชีวิตจะเปลี่ยนไปขนาดนี้ จำได้ตอนงานอีเวนต์แรกเป็นงานเล็กๆ เลย (งาน Ab Fab X ZEN XOXO) ผมรับไว้ก่อนรายการจะออกด้วยซ้ำ ทีมงานก็ไม่คาดคิดมาก่อน จึงเตรียมเวทีไว้เล็กมาก ปรากฏว่าคนไปรอกันตั้งแต่เช้า สรุปพอถึงเวลา มีคนเข้างานไม่ได้ยืนรออยู่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์เต็มไปหมด มีป้ายไฟยักษ์ พูดอะไรคนก็กรี๊ด ร้องเพลงตามกันสุดเสียง งงมากจนตอนนี้ยังไม่แน่ใจเลยว่าวันนั้นได้พูดหรือร้องเพลงอะไรออกไปบ้าง และถึงแม้ต่อไปทุกอย่างจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมก็ไม่เป็นไร เพราะเราไปถึงจุดที่ร้องเพลงให้คนแค่ 10 คนฟังมาแล้ว นี่คงเป็นความหมายของชีวิตศิลปินที่ผมรับรู้ได้ในตอนนี้

 

คนดู 10 คนในวันนั้น กับ แฟนคลับเป็นหมื่นเป็นแสนคนในตอนนี้บอกอะไรกับคุณบ้าง

     น่าจะเป็นเรื่องความเข้มแข็งของตัวเอง จริงๆ วันนั้นแย่มากนะ เป็นอีเวนต์ในห้างที่มีคน 10 คน บางคนเดินผ่านเลยแวะมาดู พอเราเดินไปหา เขาเดินหนีไปเลย (หัวเราะ) แต่ผมก็ยังร้องเพลงแบบเต็มที่เหมือนเดิมต่อไป เพราะเขาจ้างเรามาแล้ว นั่นคือหน้าที่ของเราที่ต้องทำให้ดีที่สุดในทุกๆ งาน จนถึงวันนี้ที่มีคนมาดูเราเยอะ มันเลยทำให้รู้สึกดีมากนะที่ตัวเองเข้มแข็ง ร้องเพลงมาได้ขนาดนี้

 

 

พอมีคนมารักเราขนาดนี้ มีผลให้คุณต้องพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือทำอะไรบางอย่างเพื่อรักษาพื้นที่ตรงนี้เอาไว้ไม่ให้หายไปอีกครั้งไหม

     ยังไม่ถึงขนาดนั้นนะ คิดว่าผมยังทำตัวเหมือนเดิมแบบที่เคยเป็นมา แต่แน่นอนว่าพอมีคนติดตามเยอะขึ้น มีคนเป็นห่วงเรา มีเด็กเล็กๆ มาเป็นแฟนคลับ มันต้องมีบางอย่างที่เราต้องปรับปรุงตัวเอง แต่ไม่ใช่ว่าทำเพราะอยากให้คนรัก แต่ผมเห็นแล้วว่ามันสมควรทำแบบนั้นจริงๆ เช่น บางคนแนะนำเวลาผมพิมพ์อะไรในโซเชียลมีเดียผิด หรือพิมพ์อะไรที่ไม่เหมาะสม ถ้าผมคิดว่ามันไม่ถูกต้องจริงๆ ผมยินดีที่จะลบและแก้ไข อันนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ปรับได้ทันที แต่ชีวิตส่วนตัวผมจะไม่เปลี่ยนเลยนะ คือผมยังไปแฮงก์เอาต์สนุกสนานเหมือนเดิม

 

 

เท่าที่รู้มาเป๊กเป็นคนมีโลกส่วนตัวสูงพอสมควร ชอบไปเที่ยวคนเดียว อยู่เงียบๆ คนเดียว แต่ตอนนี้ทุกคนรู้จักเป๊กกันหมด ทำให้ความเป็นส่วนตัวที่เคยรักษาเอาไว้เสียไปบ้างไหม

     พูดตรงๆ คือหมดไปเยอะเหมือนกันนะ (หัวเราะ) เพราะคนมองตลอดเวลา ไม่ใช่แค่แฟนคลับด้วย แต่หมายถึงคนอื่นๆ เขารู้จักเราหมด ทำอะไรแบบเดิมไม่ได้แล้ว แต่ผมเข้าใจนะว่าเป็นสิ่งที่ต้องแลกกัน ต้องบอกตัวเองตลอดว่า นี่ไงคือความฝันที่พยายามมาตลอดตั้งแต่ม.2 อยากเป็นนักร้องไม่ใช่เหรอ พยายามทำเพลงหรือผลงานออกมาเพื่อให้คนชอบไม่ใช่เหรอ ตอนนี้ได้ทั้งหมดนั้นมาแล้วไง เพราะฉะนั้น อะไรที่ทำได้ก็ทำไปต่อไปเถอะ

 

ช่วงที่มีความสุขที่สุดในตอนนี้ของคุณหลวงผลิตคือช่วงเวลาไหน

     เวลาลืมตาตื่นขึ้นมาแล้วได้คิดว่าวันนี้จะได้ไปที่ไหน ไปจังหวัดอะไร จะได้ไปกิน ได้ไปเที่ยวอะไรบ้าง งานเป็นแบบไหน แต่งตัวอะไรดี วันนี้จะได้เจอแฟนคลับคนไหน ได้ไปเห็นคนร้องเพลงตามเราเยอะ แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว ซึ่งจริงๆ โมเมนต์นี้คือโมเมนต์ที่ทำให้ผมมีความสุขมาตลอด เพียงแต่ที่ผ่านมาไม่ได้มีโอกาสสัมผัสทุกวันขนาดนี้ ตอนนี้มีงานทุกวันยาวไปถึงสิ้นปี เท่ากับว่าอย่างน้อยผมจะยังมีความสุขต่อไปได้อีกหลายเดือน แค่นี้ก็พอแล้ว หลังจากนี้จะเป็นอย่างไรก็ค่อยว่ากันอีกที

The post ‘บาดแผลในวัยเด็ก’ ที่ส่งให้ เป๊ก ผลิตโชค กลายเป็น ‘คุณหลวง’ ที่มีคนรักมากที่สุดในเวลานี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/culture-music-peck-palitchoke/feed/ 2