Super Cycle – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 09 Jan 2024 03:20:31 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Goldman Sachs ชี้เศรษฐกิจโลกกำลังมุ่งหน้าสู่วัฏจักร Super Cycle รอบใหม่ https://thestandard.co/goldman-sachs-world-super-cycle/ Tue, 09 Jan 2024 03:20:31 +0000 https://thestandard.co/?p=885606

Peter Oppenheimer หัวหน้าฝ่ายวิจัยมหภาคในยุโรปของ Goldm […]

The post Goldman Sachs ชี้เศรษฐกิจโลกกำลังมุ่งหน้าสู่วัฏจักร Super Cycle รอบใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Peter Oppenheimer หัวหน้าฝ่ายวิจัยมหภาคในยุโรปของ Goldman Sachs เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกกำลังก้าวเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น หรือ Super Cycle ระลอกใหม่ที่แตกต่างจากวัฏจักรเดิมๆ เนื่องจากมีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการลดคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก 

 

ทั้งนี้ Super Cycle หมายถึงช่วงเวลาที่ยาวนานของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่มักจะมาพร้อมกับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และตลาดมีความต้องการสินค้าอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงมีการจ้างงานในระดับสูง

 

Oppenheimer กล่าวว่า Super Cycle ครั้งสำคัญล่าสุดที่เศรษฐกิจโลกประสบนั้นเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1980 โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อถึงจุดสูงสุดเรียบร้อยแล้ว ทำให้หลังจากนี้เศรษฐกิจโลกจะอยู่ในช่วงของการกลับมาเติบโต ที่ต้นทุนเงินทุน อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น การลดกฎระเบียบ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จะมีการทยอยเข็นออกมาใช้เพื่อเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและขยายตัวเติบโตได้ดี ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ก็ผ่อนคลายลง และโลกาภิวัตน์ก็แข็งแกร่งขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับในส่วนของ Super Cycle รอบใหม่ Oppenheimer ชี้ว่า แรงผลักดันสำคัญจะไม่ได้มาจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง หรือบรรยากาศการค้าโลกที่สดใส เนื่องจากยังมีปัจจัยความขัดแย้งทั้งในตะวันออกกลาง และรัสเซียกับยูเครน กระนั้น Super Cycle ของเศรษฐกิจโลกก็ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีด้วยอานิสงส์จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กับเทรนด์รักษ์โลกอย่างการปรับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization)

 

Oppenheimer อธิบายว่า แม้ AI ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่เนื่องจากมีกรณีการใช้งานที่มากขึ้น ทำให้เริ่มมีผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ออกมา กลายเป็นผลบวกสำหรับหุ้นทั้งหลาย เพราะ AI มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

 

ขณะเดียวกัน แม้ว่า AI และการลดคาร์บอนไดออกไซด์จะเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นที่ไม่เคยมีการพูดถึงมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ เพียงแค่ครั้งนี้ AI และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญต่อการขยายตัวเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม 

 

Oppenheimer ชี้ว่า ความตกใจเชิงบวกของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บวกกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่จะทำให้มีการผลิตเกิดขึ้นจำนวนมากภายใต้การใช้เวลาและทุนที่ลดลงเพื่อก้าวไปสู่การลดคาร์บอนไดออกไซด์ จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกพลิกโฉมสู่การเติบโตครั้งใหญ่อีกครั้งในประวัติศาสตร์ 

 

อ้างอิง: 

The post Goldman Sachs ชี้เศรษฐกิจโลกกำลังมุ่งหน้าสู่วัฏจักร Super Cycle รอบใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่องอนาคต ‘หุ้นเดินเรือ’ กับ ‘Super Cycle’ ที่กำลังเกิดขึ้นในรอบ 15 ปี แล้วราคาหุ้นตอนนี้แพงไปหรือยัง? https://thestandard.co/ship-stocks-super-cycle/ Thu, 10 Jun 2021 15:41:09 +0000 https://thestandard.co/?p=498860 หุ้นกลุ่มเดินเรือ

หุ้นกลุ่มเดินเรือแม้จะปรับขึ้นมาแรงต่อเนื่องตั้งแต่ปลาย […]

The post ส่องอนาคต ‘หุ้นเดินเรือ’ กับ ‘Super Cycle’ ที่กำลังเกิดขึ้นในรอบ 15 ปี แล้วราคาหุ้นตอนนี้แพงไปหรือยัง? appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นกลุ่มเดินเรือ

หุ้นกลุ่มเดินเรือแม้จะปรับขึ้นมาแรงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีก่อน จนราคาของหุ้นหลายตัวในกลุ่มตลอด 1 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว อย่าง RCL +2,000%, TTA +500% ,PSL +350%, JUTHA +150% เป็นต้น 

 

ราคาหุ้นกลุ่มเดินเรือของไทยช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

 

แต่หากมองย้อนกลับไปในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ต้องบอกว่าหุ้นกลุ่มเดินเรือเป็นกลุ่มที่นักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะเบือนหน้าหนีมาตลอด เพราะครั้งสุดท้ายที่ราคาหุ้นกลุ่มเดินเรือพุ่งขึ้นแรงขนาดนี้ต้องย้อนกลับไปถึงเมื่อ 15-16 ปีที่แล้ว หรือช่วงประมาณปี 2547-2550 

 

จาก Super Cycle รอบก่อน ทำให้บริษัทเดินเรือต่างแห่ต่อเรือเพิ่มจนเกิดภาวะ Oversupply ในระดับ 10-20% 

 

“โดยปกติแล้ว Super Cycle ของหุ้นกลุ่มเดินเรือมักจะเกิดขึ้นในทุกๆ 12 ปี” นักวิเคราะห์ของ บล.เคทีบี (ประเทศไทย) กล่าวถึงราคาหุ้นกลุ่มเดินเรือที่กำลังพุ่งขึ้นแรงในขณะนี้ 

 

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หุ้นกลุ่มเดินเรือในบ้านเราโดยหลักแล้วจะมี 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มเรือตู้คอนเทนเนอร์ อย่าง RCL และกลุ่มเรือเทกอง อย่าง PSL และ TTA 

 

ซึ่งเรือทั้ง 2 ประเภทนี้จะขนส่งสินค้าต่างกันชัดเจน สำหรับตู้คอนเทนเนอร์จะขนสินค้าที่เป็นชิ้นๆ ที่ผลิตขึ้นมาแล้ว เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่เรือเทกองจะขนสินค้าที่สามารถกองรวมกันได้ เช่น ถ่านหิน สินแร่ สินค้าเกษตร และไม้ เป็นต้น 

 

ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าดัชนีค่าระวางเรือปรับขึ้นมาต่อเนื่อง ซึ่งเรามักจะได้ยินการพูดถึงดัชนี Baltic Dry Index (BDI) แต่จริงๆ แล้วกลุ่มเรือในบ้านเราอาจจะอิงกับ BDI ไม่ได้ เพราะเรือแต่ละประเภทก็มีค่าระวางเรือที่แยกกันชัดเจน 

 

สำหรับเรือคอนเทนเนอร์ก็ควรจะดูดัชนีอย่าง Shanghai Containerized Freight Index (SCFI) ส่วนเรือเทกองก็อาจจะอ้างอิงจากดัชนี Baltic Supramax Index (BSI) 

 

ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ดัชนีค่าระวางเรือเหล่านี้พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบนับ 10 ปี แต่หากเทียบกับ Super Cycle หรือวัฏจักรขาขึ้นรอบใหญ่รอบล่าสุดก็อาจจะยังห่างจากจุดสูงสุดอยู่มาก 

 

“อย่างดัชนี BSI ช่วง Super Cycle รอบที่แล้วขึ้นไปสูงถึง 6,000 จุด ซึ่งปัจจัยหนุนสำคัญคือการที่จีนนำเข้าสินแร่และวัสดุต่างๆ เพื่อก่อสร้างรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ส่วนปีนี้ดัชนี BSI ขึ้นมาอยู่ที่ 2,500 จุด ด้วยแรงหนุนจาก Demand ในช่วงของ Global Recovery” 

 

ช่วงต้นปีจะเห็นว่าค่าระวางเรือของเรือตู้คอนเทนเนอร์พุ่งขึ้นนำมาก่อน เนื่องจากภาวะขาดแคลนตู้ หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการต่อตู้เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วงนั้นบริษัทโลจิสติกส์ต่างๆ ก็เริ่มมองว่า ค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์อาจจะถึงจุดพีกไปแล้ว และนักวิเคราะห์หลายรายก็เริ่มปรับลดคาดการณ์ลง และค่าระวางเรือก็ย่อลงมาในช่วงเดือนมีนาคม

 

แต่หลังจากนั้น Demand ยังคงมีเข้ามาต่อเนื่อง เพราะจีนนำเข้าเยอะมาก ขณะเดียวกันจะเห็นว่าการขนส่งทางเครื่องบินซึ่งเคยมีอยู่ในสภาวะปกติหายไป ทำให้การส่งสินค้าส่วนใหญ่ทำผ่านเรือ เพราะการจะเลือกส่งผ่านเครื่องบินที่ต้องเช่าเหมาลำ ราคาค่าขนส่งก็พุ่งขึ้นไปถึง 4 เท่า 

 

“เมื่อปี 2563 คือจุดต่ำสุดของอุตสาหกรรมเดินเรือ เมื่อสถานการณ์เริ่มคืนสู่ภาวะปกติ ทำให้เกิดความต้องการบริโภคเยอะมาก หนุนให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขึ้นทั้งหมด และไม่แปลกที่ค่าระวางเรือจะขึ้นตามมาด้วย” 

 

นอกจากนี้จะเห็นว่า Supply ของเรือปัจจุบันค่อนข้างจะต่ำกว่า Demand ในปีนี้คาดการณ์ว่า Supply ของเรือเทกองจะเพิ่มขึ้น 1% แต่ Demand จะเพิ่มขึ้นถึง 4% จึงยังมีความไม่สมดุลอยู่ และมีโอกาสจะผลักดันให้ค่าระวางเรือสูงขึ้นต่อได้อีก อย่างน้อยก็ในระยะ 3 เดือนข้างหน้านี้ และการสั่งต่อเรือใหม่นั้นโดยปกติแล้วจะใช้เวลา 1-2 ปี 

 

อย่างไรก็ดี ในมุมของการลงทุน เราคงต้องกลับมาดูเรื่องของมูลค่าหุ้นประกอบด้วย

 

“หุ้นอย่าง RCL เมื่อดูจากกำไรไตรมาส 1 ปีนี้ที่ทำได้เกือบ 3,000 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่ทำได้เพียง 12 ล้านบาท และทั้งปีของปีก่อนก็ทำได้ราว 1.7 พันล้านบาท ดังนั้นราคาที่ขึ้นมาอาจจะไม่ได้แปลกใจนัก เพราะกำไรขึ้นมาหลายพันเปอร์เซ็นต์” 

 

ถามว่าราคามีโอกาสจะขยับขึ้นไปต่ออีกหรือไม่ ในส่วนนี้คงต้องกลับมาประเมินว่าบริษัทมีโอกาสจะทำกำไรได้อีกมากน้อยเพียงใด เพราะหากกำไรยังอยู่ในระดับนี้ไปอีกตลอด 3 ไตรมาสที่เหลือ ก็คงไม่แปลกที่ราคาหุ้นจะวิ่งไปต่อได้ 

 

ในขณะที่เรือเทกองอย่าง PSL และ TTA ส่วนตัวมองว่า PSL มีความน่าสนใจกว่า ด้วยธุรกิจที่เป็นเจ้าของเรือเองทั้งหมด และมีจำนวนเรือมากกว่า ในขณะที่ TTA ยังมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจอื่นอีก 1 ใน 3 และเรือบางส่วนเป็นลักษณะของการเช่ามาและให้เช่าต่อ 

 

ทั้งนี้ เชื่อว่าผลประกอบการของกลุ่มเดินเรือในไตรมาส 2 น่าจะยังดีต่อเนื่อง แม้ว่าจะเป็นโลว์ซีซัน แต่ Demand ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ไตรมาส 3 และไตรมาส 4 จะเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้ตลอดทั้งปีนี้มีโอกาสที่ค่าระวางเรือจะยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เบื้องต้นเราประเมินกำไรของ PSL ปีนี้ที่ระดับ 1,500 พันล้านบาท ส่วน TTA คาดมีกำไร 700-1,000 ล้านบาท 

 

 

หุ้นกลุ่มเดินเรือช่วง 1 ปีที่ผ่านมาราคาพุ่งขึ้นหลายเท่าตัว โดย RCL พุ่งขึ้นแรงถึง 2,000% จาก 2-3 บาท มาปิดอยู่ที่ระดับ 63.50 บาท ขณะที่กำไรไตรมาส 1/64 ของบริษัทเกือบทั้งหมดในกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น

 

ด้าน กรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน-กลยุทธ์การลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน มองว่า แนวโน้มของ Demand ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการเปิดประเทศ ขณะที่อุตสาหกรรมเดินเรือยังคงขาดแคลนเรือ และมีแนวโน้มจะขาดแคลนต่อไปอีกสักระยะ เพราะการต่อเรือใหม่จะใช้เวลาอย่างน้อย 1-1.5 ปี ซึ่งคำสั่งต่อเรือใหม่นี้เริ่มเห็นเข้ามามากขึ้นตั้งแต่ปลายปีก่อน 

 

แนวโน้มค่าระวางเรือจะดีต่อเนื่องหรือไม่คงต้องติดตามดูว่าครึ่งปีหลังจะมี Demand เข้ามาเพิ่มแค่ไหน โดยเฉพาะในส่วนของการลงทุนเมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ของจีนและสหรัฐฯ รวมถึงการดำเนินนโยบายต่างๆ อย่างจีนที่เริ่มควบคุมในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น หลังจากผ่อนปรนเพราะโควิด-19 ก่อนหน้านี้ 

 

“สำหรับการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ มองเป็นลักษณะของการเก็งกำไรตามทิศทางของค่าระวางเรือ โดยเฉพาะดัชนี BSI ที่เป็นค่าระวางเรือที่ตรงกับเรือของ PSL และ TTA ส่วนนักลงทุนที่อาจจะใช้ BDI เป็นการดูภาพรวม ต้องบอกว่าราคาหุ้นระดับนี้ตอบรับกับดัชนี BDI ในระดับ 3,000 จุดไปแล้ว หากจะหวังให้ราคาหุ้นขึ้นต่อ ดัชนี BDI ก็ควรจะทะลุ 3,000 จุดขึ้นไปได้”

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ส่องอนาคต ‘หุ้นเดินเรือ’ กับ ‘Super Cycle’ ที่กำลังเกิดขึ้นในรอบ 15 ปี แล้วราคาหุ้นตอนนี้แพงไปหรือยัง? appeared first on THE STANDARD.

]]>