รายงาน Life Trends ประจำปีครั้งที่ 18 โดย Accenture เผย […]
The post ไขรหัสพฤติกรรมผู้บริโภค 2025! คนไทยเริ่มระแวง ‘ดิจิทัลคอนเทนต์’ หันหาประสบการณ์จริง สร้างความท้าทายใหม่ให้แบรนด์ appeared first on THE STANDARD.
]]>รายงาน Life Trends ประจำปีครั้งที่ 18 โดย Accenture เผยข้อมูลสะเทือนวงการการตลาด เมื่อผู้บริโภคมากกว่าครึ่งเริ่มตั้งคำถามกับเนื้อหาออนไลน์ และ 62% ระบุว่า ‘ความไว้วางใจ’ เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล ท่ามกลางความท้าทายของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด
สุนาถ ธนสารอักษร กรรมการผู้จัดการ Accenture Song (ประเทศไทย) อธิบายว่า เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะ Generative AI กำลังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน แม้ผู้คนจะปรับตัวเข้ากับโลกออนไลน์ แต่ก็เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในโลกดิจิทัลมากขึ้น
ส่งผลให้การคัดกรองข้อมูลและการเลือกเชื่อถือต้องทำอย่างระมัดระวัง ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทย ทำให้ต้องปรับนิยามของการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างลูกค้ากับธุรกิจที่กำลังแข่งขันกันแย่งชิงความสนใจของผู้บริโภค
จากการรวบรวมข้อมูลอินไซต์ทั่วโลก Accenture Song เผย 5 เทรนด์หลักที่กำลังเปลี่ยนแปลงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคกับเทคโนโลยี โดยแต่ละเทรนด์สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายและโอกาสที่แบรนด์ต่างๆ ต้องเผชิญ
‘ความลังเลมีต้นทุน’ เป็นเทรนด์แรกที่สะท้อนความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกสั่นคลอน เมื่อ 33% ของผู้บริโภครายงานว่า ถูกโจมตีหรือหลอกด้วย Deepfake ในปีที่ผ่านมา การแยกแยะระหว่างเนื้อหาจริงและปลอมทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ Generative AI เข้ามามีบทบาท ทำให้แบรนด์ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นผ่านการสื่อสารและการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
‘ผู้ปกครองหัวหมุน’ เผยให้เห็นความท้าทายของพ่อแม่ในการดูแลลูกๆ ให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับโลกดิจิทัล โดย Gen Z และมิลเลนเนียลประมาณ 2 ใน 3 ยอมรับว่า ใช้เวลากับโลกออนไลน์มากเกินไป
และคนอายุ 18-24 ปี มีแนวโน้มมองว่าโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์ความเป็นตัวตนมากกว่าคนที่อายุ 55 ปีขึ้นไปถึง 2 เท่า นำมาสู่การเรียกร้องมาตรการป้องกันที่เหมาะสมและการสร้างสมดุลในการใช้ชีวิต
‘เศรษฐกิจไร้ความอดทน’ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของเป้าหมายและลำดับความสำคัญในยุค Decade of Deconstruction เมื่อ 3 ใน 4 ของผู้บริโภคต้องการให้บริษัทตอบสนองความต้องการเร็วขึ้น จนหันไปพึ่งข้อมูลแบบ Crowdsourced และยอมรับความเสี่ยงมากขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย
โดยเฉพาะด้านสุขภาพและการเงิน นอกจากนี้ บทบาทของอินฟลูเอ็นเซอร์ก็เปลี่ยนไป จากที่เคยเน้นไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยว มาสู่เรื่องพื้นฐานของชีวิตมากขึ้น
‘ความภาคภูมิใจในงาน’ แสดงให้เห็นผลกระทบของ Generative AI ต่อการทำงาน โดย 3 ใน 4 ของคนทำงานมองว่าเป็นประโยชน์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (44%) และคุณภาพงาน (38%) แต่บางส่วนกังวลว่าจะจำกัดความคิดสร้างสรรค์ (14%) ทำให้งานเป็นระบบซ้ำๆ (15%) และกระทบต่อความมั่นคงในงาน (11%) ท้าทายผู้นำในการสร้างแรงจูงใจและความตระหนักในคุณค่าของงาน
‘ฟื้นคืนสังคม’ เทรนด์สุดท้ายที่สะท้อนความต้องการประสบการณ์จริงและการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เมื่อ 42% บอกว่า ความสุขมาจากกิจกรรมในชีวิตจริง ขณะที่มีเพียง 15% ที่มาจากประสบการณ์ดิจิทัล แสดงให้เห็นถึงการแสวงหาสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและคุณภาพชีวิต
สำหรับประเทศไทย สุนาถเผยว่า คนไทยกำลังทบทวนความสัมพันธ์กับเทคโนโลยี เกิดปรากฏการณ์ JOMO (Joy of Missing Out) ที่เลือกมีความสุขโดยไม่ต้องตามกระแสโซเชียล และหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ที่จริงใจและลึกซึ้งมากขึ้น โดยคนไทยให้ค่ากับเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ยังรักษาสายสัมพันธ์ที่มีความหมายในโลกออฟไลน์
ความเปลี่ยนแปลงนี้สร้างโอกาสให้แบรนด์ในการพัฒนาประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้บริโภค การสร้างความเชื่อมั่น และพัฒนาสายสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง รายงานชี้ให้เห็นว่า แบรนด์ต้องปรับตัวในการนำเสนอประสบการณ์ที่ผสมผสานระหว่างดิจิทัลและกายภาพ
พร้อมทั้งสร้างความไว้วางใจผ่านความโปร่งใสและความจริงใจในการสื่อสาร เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคุณค่าและความหมายมากกว่าแค่การตามกระแส
ภาพ: Brilliantist Studio / Shutterstock
The post ไขรหัสพฤติกรรมผู้บริโภค 2025! คนไทยเริ่มระแวง ‘ดิจิทัลคอนเทนต์’ หันหาประสบการณ์จริง สร้างความท้าทายใหม่ให้แบรนด์ appeared first on THE STANDARD.
]]>สัปดาห์ที่แล้ว (14 ส.ค.) ประเด็นฮือฮาที่ถ […]
The post เมื่อ Facebook ไม่แคร์วงการสื่อ เปรียบเป็นผู้ป่วยใกล้ตาย แบรนด์และเพจควรปรับตัวอย่างไร appeared first on THE STANDARD.
]]>
สัปดาห์ที่แล้ว (14 ส.ค.) ประเด็นฮือฮาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันสนั่นหวั่นไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน และคนทำคอนเทนต์หนีไม่พ้นกรณีหนังสือพิมพ์ ‘ดิ ออสเตรเลียน (The Australian)’ ของออสเตรเลียหยิบวาทะเด็ดของแคมป์เบล บราวน์ (Campbell Brown) หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรข่าวทั่วโลกของเฟซบุ๊ก ที่อ้างว่านโยบายต่อจากนี้ของซีอีโอบริษัทเธอจะไม่ให้ความสำคัญกับสื่ออีกต่อไป
ดิ ออสเตรเลียน อ้างว่า ในการประชุมแบบปิด (Off the record meeting) กับสื่อในออสเตรเลียมากกว่า 20 แห่งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกินระยะเวลานานกว่า 4 ชั่วโมง หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรข่าวทั่วโลกของเฟซบุ๊กอ้างว่านโยบายของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ต่อจากนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับสื่อและผู้ผลิตคอนเทนต์
“มาร์กไม่ได้สนใจสื่ออีกแล้ว แต่ได้มอบหมายงานมากมายให้ฉันมาจัดการเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
(Mark doesn’t care about publishers but is giving me a lot of leeway and concessions to make these changes)
“พวกเราต้องการช่วยให้วงการสื่อมวลชนแข็งแกร่งมากขึ้น อีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ มันจะดูเหมือนเราจะจับมือช่วยเหลือพวกคุณกับธุรกิจที่กำลังจะตาย ประหนึ่งว่าอยู่ในสถานพักพิงสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย
(We will help you revitalise journalism … in a few years the reverse looks like I’ll be holding your hands with your dying business like in a hospice)
“เราไม่สนใจจะคุยกับคุณในประเด็นทราฟฟิกคนเข้าเยี่ยมชมเพจหรือเว็บอีกต่อไป เพราะนั่นคือโลกใบเก่าและไม่มีทางที่จะย้อนกลับไปอีกแล้ว”
(We are not interested in talking to you about your traffic and referrals any more. That is the old world and there is no going back)
เป็นการประกาศกร้าวที่แรงเอาเรื่องเลยทีเดียว ยิ่งเมื่อพิจารณาว่านี่คือคำพูดที่หลุดออกมาจากปากของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการระดับหัวหน้าฝ่ายพันธมิตรข่าวทั่วโลกของเฟซบุ๊กก็อาจจะตีความได้ว่าพวกเขาอาจไม่ให้ความสำคัญกับสื่อ และผู้ผลิตคอนเทนต์จริงๆ ก็ได้
ที่สำคัญดูเหมือนมาร์กจะกลืนนำ้ลายก้อนโตของตัวเองด้วย เพราะในช่วงเวลาเดียวกันนี้เมื่อปี 2017 เขาเคยโพสต์ข้อความบนหน้านิวส์ฟีดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือกับอุตสาหกรรมสื่อ (Facebook Journalism Project) ใจความส่วนหนึ่งระบุว่า
“เราจะดำเนินการทดลองหลายๆ วิธีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสื่อ และทำให้แน่ใจว่าบรรดาผู้สื่อข่าว ผู้ตีพิมพ์ทุกคนบนโลกใบนี้จะยังทำหน้าที่ที่สำคัญของตัวเองต่อไปได้”
แคมป์เบล บราวน์ (Campbell Brown) หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรข่าวทั่วโลกของเฟซบุ๊ก
(ภาพ: Wikimedia Commons)
เฟซบุ๊กโต้ไม่ได้ทอดทิ้งสื่อ แต่หวังสร้างโมเดลธุรกิจสื่อยุคใหม่ที่ยั่งยืน ชี้หนังสือพิมพ์ออสเตรเลียนำเสนอข้อมูลคลาดเคลื่อน
หลังคำพูดของแคมป์เบลถูกตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ทั่วโลก เธอก็ออกมาปฏิเสธว่าประโยคของเธอที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้นคลาดเคลื่อนมาก แต่ก็ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงอีกเช่นกันว่าจริงๆ แล้วเธอพูดอะไรกับสื่อออสเตรเลียกว่า 20 เจ้าในการประชุมครั้งนั้นกันแน่
“การโควตคำพูดเหล่านั้นไม่ได้มีความถูกต้องไปทั้งหมด แล้วก็ไม่ได้สะท้อนถึงสิ่งที่พวกเราคุยกันในการประชุม
“พวกเรารู้ว่ายังมีอะไรอีกหลายๆ อย่างที่ต้องทำ แต่เป้าหมายของเฟซบุ๊ก และสิ่งที่ทีมงานของเราทำร่วมกับผู้เผยแพร่และนักข่าวทั่วโลก คือการช่วยให้นักสื่อสารมวลชนประสบความสำเร็จและยังเติบโตได้เรื่อยๆ ทั้งในแพลตฟอร์มของเรา และนอกแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก
“นั่นหมายความว่าสิ่งที่เราจะให้ความสำคัญต่อจากนี้คือการสร้างโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน และนั่นคือส่ิงที่เราคุยกันในงานประชุมครั้งนั้น”
นอกจากนี้ทางเฟซบุ๊กยังแย้มอีกด้วยว่าพวกเขาได้บันทึกบทสนทนาในครั้งนั้นไว้ทั้งหมด แต่ท้ายที่สุดก็เลือกที่จะไม่เปิดเผยมันออกมา ดิ ออสเตรเลียน จึงสวนกลับว่าในการพบปะกับหัวหน้าฝ่ายพันธมิตรข่าวทั่วโลกของเฟซบุ๊กครั้งนั้น ตนมีทีมงานเข้าประชุมทั้งหมดถึง 5 คน คล้ายๆ กับจะตอกหน้าโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ของโลกว่าพวกตนคงไม่พลาดให้ข้อมูลผิดแน่นอน
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวงการสื่อมวลชนโลกหลังถูกปรับลดอัลกอริทึมบนหน้านิวส์ฟีดผู้ใช้
‘Bringing People Closer Together’ หรือนำผู้คนเข้ามาใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นคือนโนบายเปลี่ยนโลก (สื่อ) ที่เฟซบุ๊กประกาศออกมาเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2018 โดยมีใจความคือต้องการเปลี่ยนให้หน้านิวส์ฟีดของผู้ใช้แต่ละคนแสดงผลคอนเทนต์ของผู้ใช้ด้วยกันมากขึ้น และลดการเห็นเนื้อหาจากเพจต่างๆ น้อยลง
ผลการศึกษาจาก Buffer ทีมงานที่ศึกษาด้านการเพิ่มเอ็นเกจเมนต์ และทราฟฟิกบนโลกโซเชียลมีเดียระบุว่า โพสต์กว่า 43 ล้านโพสต์จากเพจกว่า 20,000 เพจบนเฟซบุ๊กมีเอ็นเกจเมนต์โดยรวมลดลงถึง 50% หลังการเปลี่ยนนโยบายแสดงผลบนหน้านิวส์ฟีดของเฟซบุ๊กเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงจำนวนโพสต์ของแบรนด์บนเฟซบุ๊กในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 25% ด้วยซ้ำ จากคอนเทนต์ที่เคยถูกโพสต์ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2017 ที่จำนวน 6.5 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นเป็น 8.1 ล้านชิ้น ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2018
กราฟแสดงเอ็นเกจเมนต์บนเฟซบุ๊กบนเพจต่างๆ ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง (ภาพ: bufferapp)
ในผลการศึกษาชุดนี้ ประเด็นที่น่าสนใจคือคอนเทนต์ประเภท ‘วิดีโอ’ ที่น่าจะถูกเลือกแสดงผลบนหน้านิวส์ฟีดถี่ก็ได้รับผลกระทบที่ย่ำแย่ไม่แพ้กัน จากเอ็นเกจเมนต์ที่เคยได้รับเฉลี่ยที่ 5,486 ต่อโพสต์ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2017 ลดลงไปกว่า 47.7% มาอยู่ที่ 2,867 ต่อโพสต์ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2018
ส่วนคอนเทนต์แบบภาพยังได้รับเอ็นเกจเมนต์สูงสุดเฉลี่ยประมาณ 3,453 ต่อโพสต์ (ลดจาก 9,370 ต่อโพสต์ในช่วงไตรมาส 1 / 2017) ส่วนการแปะลิงก์คือประเภทโพสต์ที่มีเอ็นเกจเมนต์ย่ำแย่ที่สุดเฉลี่ยประมาณ 763 ต่อโพสต์เท่านั้น (ลดจาก 2,577 ต่อโพสต์ในช่วงไตรมาส 1 / 2017)
กราฟแสดงเอ็นเกจเมนต์บนเฟซบุ๊ก
ที่สัมพันธ์กับความถี่ในการโพสต์คอนเทนต์ต่อวัน
(ภาพ: bufferapp)
อีกประเด็นที่น่าสนใจ และไม่ควรมองข้ามเด็ดขาดคือ ‘จำนวนคอนเทนต์สัมพันธ์กับเอ็นเกจเมนต์ที่เพจได้รับ’ โดยในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ผ่านมา (ไตรมาส 2 / 2018) เพจที่โพสต์คอนเทนต์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ชิ้นต่อวันกลับได้รับเอ็นเกจเมนต์เฉลี่ยโดยรวมต่อชิ้นมากกว่าเพจที่โพสต์คอนเทนต์มากกว่าวันละ 10 ชิ้นที่ 3,127:1,202
ส่วนจำนวนโพสต์ที่ bufferapp แนะนำว่าอยู่ในเกณฑ์ ‘พอดี’ ไม่มากและไม่น้อยเกินไปอยู่ที่ประมาณ 5 โพสต์ต่อวัน เพราะจะได้รับเอ็นเกจเมนต์รวมทั้งสิ้น 12,330
คนทำสื่อและแบรนด์ต้องรับมืออย่างไร
นี่คือคำถามที่คาใจหลายคนมาตลอดเกือบ 7 เดือนที่ผ่านมา จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้รับการทำให้กระจ่างเสียที
ถ้ายึดจากคำแนะนำของเฟซบุ๊กในช่วงที่เพิ่งดำเนินนโยบายใหม่ปรับลดการแสดงเนื้อหาจากเพจบนหน้านิวส์ฟีดได้ไม่นานก็จะสามารถสรุปออกมาเป็น 5 ข้อที่เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
1. โพสต์ทั่วไปหรือแม้แต่วิดีโอจะถูกปรับลดเอ็นเกจเมนต์ลง
2. โพสต์ที่มีเอ็นเกจเมนต์มากจะได้รับการแสดงผลบนหน้านิวส์ฟีดบ่อย โดยเฉพาะโพสต์ที่มีผู้ใช้มาคอมเมนต์พูดคุยถกเถียงกันเป็นจำนวนมาก
3. โพสต์ประเภท Engagement Bait หวังเรียกยอดไลก์ยอดแชร์ หรือสร้างเอ็นเกจเมนต์เยอะๆ โดยให้คนมากดโหวตผ่าน React ไอคอนต่างๆ จะถูกปรับลดรีชให้น้อยลง
4. การแนะนำให้ผู้ใช้กด See First เพจจะช่วยให้ยอดเอ็นเกจเมนต์ และการเห็นเพจนั้นๆ บนหน้านิวส์ฟีดของผู้ใช้แต่ละรายยังพอไปวัดไปวา
5. คอนเทนต์ประเภทไลฟ์อาจได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เพราะเฟซบุ๊กมองว่าคอนเทนต์ประเภทนี้มีจำนวนการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้มากกว่าวิดีโอทั่วไปถึง 6 เท่า
ไม่นานมานี้ทีมข่าว THE STANDARD มีโอกาสคุยกับแหล่งข่าวซึ่งเป็นทีมงานเฟซบุ๊กไทยที่ประจำการอยู่ ณ สำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ โดยได้รับคำตอบว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพจใหม่ๆ เกิดขึ้นบนเฟซบุ๊กเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับอัตราการเพิ่มของเพจที่เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้ การให้อัลกอริทึมเลือกปรับลดการแสดงคอนเทนต์ของเพจต่างๆ ให้น้อยลงก็เป็นไปเพื่อต้องการรักษาสมดุลบนหน้านิวส์ฟีดของผู้ใช้ ที่สำคัญแหล่งข่าวของเรายังบอกอีกด้วยว่าโพสต์ที่จะได้รับเอ็นเกจเมนต์สูงคือโพสต์ที่มีผู้ใช้งานเข้ามาคอมเมนต์เป็นจำนวนมาก และแท็กผู้ใช้งานรายอื่นให้มามีปฏิสัมพันธ์ร่วมด้วย
ถ้าสรุปสั้นๆ จากผลวิจัยโดย bufferapp และข้อมูลที่เราได้รับจากแหล่งข่าวก็จะเข้าใจได้ว่าเพจที่โพสต์คอนเทนต์เยอะอาจจะไม่ได้รับเอ็นเกจเมนต์ที่เยอะเสมอไป ตรงกันข้ามกับเพจที่อาจจะโพสต์คอนเทนต์แค่ 1 ชิ้นต่อวัน แล้วเป็นโพสต์ที่ตรงกับความสนใจกับผู้ใช้งานเฟซบุ๊กส่วนใหญ่
‘ไม่มีของฟรีบนโลกใบนี้’ อาจเป็นนิยามที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ในยุคที่มีจำนวนเพจหน้าใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมายจนแทบจะแซงหน้าจำนวนผู้ใช้งานไปแล้ว
เมื่อสื่อทุกสำนัก และเพจทุกเพจได้รับผลกระทบจากอัลกอริทึมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้กันถ้วนหน้า มากน้อยต่างกรรมต่างวาระกันไป ทางออกที่ดีที่สุดคือคงต้องลองหากลยุทธ์ปรับเนื้อหา และรูปแบบคอนเทนต์ให้หลากหลาย แล้วถอดบทเรียนกันแบบวันต่อวันเพื่อหาวิธีเอาตัวรอดที่ดีที่สุดเพื่อก้าวผ่านปัญหานี้ไปพร้อมๆ กัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สื่อต้องปรับตัวอีกครั้ง? Facebook ประกาศปรับนิวส์ฟีดใหม่ ลดการเห็นโพสต์จากเพจน้อยลง ไลฟ์สดอาจไม่โดน
ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
อ้างอิง:
The post เมื่อ Facebook ไม่แคร์วงการสื่อ เปรียบเป็นผู้ป่วยใกล้ตาย แบรนด์และเพจควรปรับตัวอย่างไร appeared first on THE STANDARD.
]]>THE STANDARD Daily ประจำวันที่ 3 เมษายน 2561 เวลา 20.00 […]
The post อยู่อย่างไรในยุคที่ Facebook ปรับอัลกอริทึมตลอดเวลา! – THE STANDARD Daily 3 เมษายน 2561 appeared first on THE STANDARD.
]]>THE STANDARD Daily ประจำวันที่ 3 เมษายน 2561 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป
สามารถติดตาม THE STANDARD Daily ได้เป็นประจำทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ที่ Facebook Live และ Youtube Live ของ thestandardth
The post อยู่อย่างไรในยุคที่ Facebook ปรับอัลกอริทึมตลอดเวลา! – THE STANDARD Daily 3 เมษายน 2561 appeared first on THE STANDARD.
]]>วันที่ 29 มีนาคม 2561 เป็นวันที่เจ้าของเพจออนไลน์หลายคน […]
The post เปิดใจ เบลล์ ขอบสนาม ทำเพจฟุตบอลอย่างไรให้ได้เกือบ 4 ล้านไลก์ใน 3 ปี appeared first on THE STANDARD.
]]>วันที่ 29 มีนาคม 2561 เป็นวันที่เจ้าของเพจออนไลน์หลายคนมารวมตัวกันที่โรงแรมย่านสาทร เพื่อร่วมฉลองให้กับเพจ ขอบสนาม ซึ่งวันนี้มีอายุครบ 3 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2015
THE STANDARD ก็เป็นหนึ่งในสื่อที่ได้รับเชิญมาเข้าร่วมงานนี้ และเมื่อเราเดินทางไปถึงสถานที่จัดงานก่อนกิจกรรมต่างๆ จะเริ่มต้นขึ้น เราก็มองเห็น เบลล์-อรรถพล ไข่ทอง อดีตพนักงานประจำที่กล้าออกจากงานประจำมาทำเพจในโลกออนไลน์ กำลังนั่งรอต้อนรับเพจต่างๆ พร้อมกับทีมงานของเขาอย่างตื่นเต้น
เบลล์เป็นคนที่มีบุคลิกโดดเด่นและสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล ทำให้เราไม่แปลกใจว่าทำไมเพจของเขาในวันนี้ถึงมีผู้ติดตามถึง 3.8 ล้านคน และแม้ว่าในวันที่พี่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ได้ปรับเปลี่ยนทดลองสิ่งที่สมาชิกเฟซบุ๊กเห็นบนฟีด บุคลิกของเพจและความนิยมของขอบสนามก็ไม่ได้ดูน้อยลงแต่อย่างใด
“จะให้ผมพูดเหมือนในหนัง Thor Ragnarok ก็ได้ ขอบสนามมันไม่ใช่เพจ แต่มันคือผู้คน สิ่งที่ผมต้องการให้ขอบสนามเป็นคือสังคม”
เป็นประโยคแรกที่เบลล์ได้กล่าวกับเราเมื่อเริ่มต้นการพูดคุยถึงขอบสนาม และทำให้เราเริ่มเข้าใจวิธีการทำงาน ระบบความคิด และจุดประสงค์ของการก่อตั้งเพจที่ไม่เปลี่ยนแปลง แม้ตัวเลขยอดไลก์จะขึ้นไปเกือบ 4 ล้านไลก์หลังจากที่ผ่านไปทั้งหมด 3 ปี จากทีมงานที่มีในวันแรกทั้งหมด 3 คน
จากวันแรกถึงวันนี้ที่ครบ 3 ปี ความรู้สึกแตกต่างกันอย่างไร
ผมรู้สึกว่าวันแรกมันเป็นแค่งานอดิเรก เป็นงานที่ผมทำคู่กับงานประจำ สักพักถึงรู้สึกว่ามันเป็นอาชีพ และจากอาชีพสุดท้ายมันกลายเป็นชีวิตของผมไปแล้ว ขอบสนามคือชีวิต พอเวลาผ่านไป 3 ปี ขอบสนามคือทุกอย่างในชีวิตผม
เรามีความสุขกับการทำงานมาก ทุกวันนี้ผมไม่เหมือนมาทำงาน ผมเหมือนตื่นมาให้ความสุขกับคน ผมมีความสุขมาก ไม่เคยรู้สึกเหนื่อยเลยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา เพราะว่าผมมีความสุขตั้งแต่วันแรก และผมมีวิธีคิดหนึ่งเลยคือการส่งความสุขให้คนอื่นทุกวัน ดังนั้นต้นขั้วต้องมีความสุขไว้ก่อน เพราะหากต้นขั้วไม่บวก พลังที่ส่งออกไปก็จะไม่บวก คอนเทนต์ที่ส่งออกไปก็จะไม่บวก
ถ้าเปรียบขอบสนามเป็นเหมือนดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง คนที่เข้ามาในดาวดวงนี้จะเจออะไร
ในวันแรกผมอยากให้เขาได้เจออะไรที่แปลกใหม่ วันแรกๆ ขอบสนามเป็นเพจแรกที่เอาข่าวบอลมาอ่านให้ฟัง มีพากย์บอลด้วยภาษาคล้องจองที่ไม่มีใครทำมาก่อน แต่มาถึงวันนี้ผมอยากให้ขอบสนามเป็นเหมือนคอมมูนิตี้ของคนที่ชอบฟุตบอล ชอบในเรื่องกีฬา และเราสื่อสารกันด้วยภาษาเพื่อน ภาษาคุยของวัยรุ่น เราไม่ได้เป็นทางการ ไม่ได้อยู่ในทีวี เราใช้ภาษาที่วัยรุ่นฟังเข้าใจ นี่คือสิ่งที่เป็นตัวตนของขอบสนามมาตั้งแต่วันแรกและผมก็ยังคงตรงนี้อยู่ แม้ว่าวันนี้จะมีพี่เดียร์ มี Spring News เข้ามาช่วยในการส่งเสริมเรื่องอื่นๆ แต่ความเป็นตัวตนของขอบสนามยังคงอยู่
ยังมีคำหยาบคาย แต่คำหยาบคายนี้คือคำหยาบคายในคอนเทนต์ ทุกวันนี้คำว่า ไอ้เหี้ย ของผม เป็นเหมือนคำว่าไอ้เหี้ยของน้าค่อมไปแล้ว คือใครฟังมันฮามากกว่าเป็นคำด่า นั่นคือสิ่งที่เราทำมาเรื่อยๆ ซึ่งยอมรับว่าใช้เวลาตอกย้ำเหมือนกัน
ผมไม่เคยวางตัวว่าผมเป็นกูรูฟุตบอล เพราะผมไม่ใช่คนกูรูฟุตบอล ไม่ได้ดูบอลมา 20-30 ปี ผมชอบพากย์บอล เวลาตอนเด็กๆ เพื่อนๆ อาจจะแย่งกันเล่น Winning แต่ผมกลับขออยู่ตรงกลาง พากย์เสียงเวลาเพื่อนๆ เล่นแล้วกัน ผมเป็นเหมือนเพื่อนคนหนึ่งที่เอาเรื่องมาเล่าให้คนอื่นฟัง ด้วยภาษาที่เราชอบ ผมเป็นคนโรคจิตถ้าเขียนอะไรแล้วออกมาไม่คล้องจองไม่ได้ ต้องฟังแล้วลื่นหู มันติดมาจากตอนที่เราเป็นครีเอทีฟ และตอนที่สมัยเราเรียน ฝึกเขียนสคริปต์ถ้าไม่คล้องจองนี่ไม่ได้ มันต้องลื่นไปเลย พอเรามาทำงานตรงนี้มันก็เลยติดมา
3 ปีที่ผ่านมาคิดว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
คอนเทนต์ที่ผมทำออกมาในวันแรก เรามีแค่ข่าวบอลอ่านให้ฟัง ดังนั้น คนที่เป็นแฟนขอบสนามก็จะเป็นคนที่ดูบอลอยู่แล้ว ทั้งคนที่เป็นแฟนบอลลิเวอร์พูล แมนฯ ยู บาร์เซโลนา หรือเรอัล มาดริด ทีมใดทีมหนึ่ง แต่เมื่อวันหนึ่งที่ขอบสนามเริ่มประสบความสำเร็จผมเริ่มอยากต่อยอดคือ ทำอย่างไรให้มันแมสขึ้น หมายถึงคนที่ไม่ดูบอลก็รู้จัก ผู้หญิง ลูกเด็กเล็กแดงที่ไม่เคยดูบอลก็รู้จัก ผมเลยคิดว่าบ้านเรา คอนเทนต์อะไรก็ตามที่มีความสนุกหรือบันเทิงคนจะชอบ วันนี้ผมเลยตั้งโจทย์ว่า ถ้าผมเอาฟุตบอลมาผนวกกับความสนุก เราหวังว่าจะตีโจทย์ตรงนี้แตกและคนอาจจะชอบมากขึ้น
ผมจึงทำช่วง ขอบสนาม Top 10 ขึ้นมา คอนเซปต์ง่ายๆ คุณไม่ต้องดูบอล ไม่ต้องรู้จักนักเตะว่าอยู่ทีมไหน ผมแค่หยิบจังหวะที่มันสนุกๆ ลูกยิงสวยๆ มาพากย์ให้เขาฟัง ถ้าคนชอบหรือมันสนุก เดี๋ยวเขาไปสืบหาต่อเอง เหมือนเวลาเราได้ยินเพลงที่ไม่รู้จัก แล้วเราสงสัยว่าเพลงนี้ของวงอะไรวะ เพราะว่ะ เราก็จะไปตามหามันเอง เราจะไปศึกษาเพิ่มเองถ้าสนใจ อันนั้นคือสิ่งที่ผมคิด ดังนั้นคนที่ติด ขอบสนาม Top 10 อาจจะไม่ต้องดูบอลก็ได้ เขาแค่รู้สึกว่ามันฮากับลูกยิงจังหวะนู้นจังหวะนี้มากกว่า นั่นคือสิ่งที่เป็นตัวตนและทำให้ขอบสนามดังเร็วมาก เพราะว่าหลังจากทำ Top 10 3 เดือนได้ 1 ล้านไลก์เลย
ในช่วงหลังมีหลายคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าขอบสนามเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเมื่อมีทีมงานใหม่ๆ เข้ามา ซึ่งทำให้มีรูปแบบที่เป็นทางการมากขึ้น คุณมองอย่างไร
จริงๆ ไม่เปลี่ยน ขอบสนามไม่เคยเปลี่ยน ผมคุยกับพี่เดียร์ตั้งแต่วันแรก พี่เดียร์เขาเข้ามาก็เพราะเขาชอบแบบนี้ มันไม่เหมือนใคร เขาสนับสนุนทุกอย่างที่เราเป็น เพียงแต่ว่าภาพลักษณ์ที่ออกไปตอนนี้มันเกี่ยวกับเฟซบุ๊กเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมพอดี ลองคิดภาพง่ายๆ คนเมื่อก่อนมีแต่คลิปคนก็เสพคลิปทั้งวัน แต่วันนี้เรามีคอนเทนต์ ทั้งคลิป ทั้งอ่าน ทำให้การเห็นไม่ทั่วถึง บวกกับการปรับอัลกอริทึมพอดี ดังนั้นคนที่ชอบดูคลิปไม่ชอบอ่าน พอคอนเทนต์เด้งขึ้นมาเป็นแบบอ่าน เขาอาจจะนึกว่าเราเลิกทำคลิปแล้วหรือเปล่า เช่นเดียวกับคนที่ชอบอ่านก็อาจจะเห็นแต่คลิปก็มีเหมือนกัน ดังนั้นถ้าเป็นแฟนขอบสนามให้เข้ามาที่หน้าเพจ และจะเห็นว่าจริงๆ เรามีคอนเทนต์เยอะ เราทำ 10 คลิปต่อวันเท่าเดิมมาตลอด
เมื่อก่อนเราเห็นจากนิวส์ฟีดเยอะ เพราะเมื่อก่อนมาร์กอาจจะปล่อย Reach เยอะ ทำให้คนติดมาก แต่พอเขาไม่ได้กดไลก์นานเข้า สักเดือนหนึ่งก็อาจจะหายไปจากหน้าฟีด ดังนั้นเราต้องย้ำเสมอว่าหากดูแล้วชอบใจกดไลก์ เพราะยิ่งกดไลก์ เฟซบุ๊กจะจำได้ว่าคุณชอบเพจนี้ มันจะขึ้นนิวส์ฟีดบ่อยๆ นั้นคือสิ่งที่เราต้องคอยสื่อสารคอยตอกย้ำกันคนดูเสมอ
นี่คือหนทางปรับตัวให้เข้ากับ เฟซบุ๊กมากขึ้นหรือเปล่า
เราต้องมีหลายอย่างแล้ว เผื่อวันหนึ่งเฟซบุ๊กมีปัญหา เราจะได้ยังมีพื้นที่ สมมติเราติดการ์ตูนสักเรื่อง คุณรับได้เหรอถ้าอยู่ดีๆ การ์ตูนหายไป เราต้องเตรียมพื้นที่เผื่อวันหนึ่งรัฐบาลแบนเฟซบุ๊กขึ้นมา เราก็ยังมีเว็บไซต์ เรายังมีสังคมของเราอยู่ ดังนั้นเราฝากชีวิตไว้กับพี่มาร์กอย่างเดียวไม่ได้
แล้วเราจะรับมืออย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงในเฟซบุ๊ก
เรามีแผนทำคอนเทนต์ให้ถูกใจครับ เพราะเราเชื่อว่า Content is a King ยังไงก็แล้วแต่ถ้าให้คนเห็นน้อยต่อให้พันคนเห็น แต่ถ้าคอนเทนต์นั้นดีมันจะส่งโอกาสให้คนเห็นมากกว่าเดิม ผมคิดว่าแม้อัลกอริทึมเปลี่ยน แต่คอนเทนต์ถ้ามันเจ๋งจริงๆ คนก็ยังจะกดไลก์ ช่วยแชร์ และมันยังไปได้อยู่ เหมือนที่ขอบสนามยังไปได้เหมือนทุกวันนี้ เพจอื่นๆ อาจจะหายไปบ้าง แต่เพจขอบสนามจะยังอยู่เพราะว่าเราทำคอนเทนต์ทุกวัน เราสม่ำเสมอมาตลอด 3 ปี
คอนเทนต์เจ๋งในแบบของคุณหมายถึงอะไร
สำหรับผมถ้าให้ผมชมตัวเองนะ ผมว่าผมเจ๋งในเรื่องของความสม่ำเสมอ ผมทำ 7 วันต่อสัปดาห์ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ยกเว้นเวลาป่วยหรือไปต่างประเทศ แต่แม้เวลาไปต่างประเทศผมก็ยังพกมือถือไปอัดเสียง เพราะผมรู้สึกห่วงคนดู อันนี้คือสิ่งที่ทำให้ขอบสนามประสบความสำเร็จ
ผมถามหน่อยมีใครไหมที่จะลาออกจากงานประจำมาทำเพจ ทั้งๆ ที่วันนั้นไม่มีรายได้ แต่ผมมีความเชื่อตั้งแต่แรกว่าประสบความสำเร็จแน่ แค่ทำเต็มที่ ทำสม่ำเสมอ ทำทุกวัน ตื่นเช้ามาเพื่อทำ ดังนั้น ผมมองว่าความเจ๋งของขอบสนามคือความสม่ำเสมอและความทุ่มเท เพราะว่าหายากนะครับคนที่จะทำเพจทุกวันโดยไม่หยุด เที่ยวก็น้อย 3 ปีมาผมแลกชีวิตไปเยอะมาก แต่สิ่งที่ได้มาคือคนดู สังคม และความแข็งแกร่งของคอนเทนต์ที่เราสร้างไว้
ถ้าคุณไม่มีพลังบวกเลย คุณจะส่งพลังบวกให้ใครก็ไม่ได้ ดังนั้นผมมีวิธีบริการจัดการความสุข กับการใช้ชีวิตไป เพราะว่าผมต้องแบกความสุขไว้เยอะ เพื่อจะไปทุ่มให้คนอื่นต่อในวันต่อไปครับ
ขอบสนาม Top 10
สะสมความสุขอะไรบ้างที่คุณแบกไว้เพื่อมาทุ่มลงกับคอนเทนต์
สำหรับผมคืออ่านเยอะ ดูเยอะ มีเพื่อน ผมไม่ชอบอยู่คนเดียว เพราะว่าต้องมีคนไว้ฟังไว้คุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผมมีเพื่อนๆ และครอบครัว จุดที่ทำให้ผมอยู่ได้คือทัศนคติและความสุขในการได้เจอคนที่รู้จักเรา อันนี้คือการเพิ่มพลังของผมเล็กๆ น้อยๆ เข้ามาขอถ่ายรูปหรือทักทาย แค่นี้ผมก็รู้สึกว่าสิ่งที่เราทำไม่ไร้ค่านะ
ฟุตบอลมีความหมายอะไรสำหรับคุณ
โอ้โห ถ้าผมจะกราบใคร ผมจะกราบนักฟุตบอลทุกคนเลย เพราะว่าเขาทำให้ผมมีวันนี้ ฟุตบอลสำหรับวันนี้คือสิ่งที่ผมต้องนำไปเสนอกับคนรุ่นใหม่ๆ ผมมีหน้าที่ทำให้เด็กตัวเล็กๆ อยากจะเล่นฟุตบอล รู้สึกว่าอยากเป็นนักฟุตบอลมากกว่าไปทำอย่างอื่น เห็นพี่เบลล์พากย์แล้วอยากยิงประตูสวยๆ ให้พี่เบลล์พากย์สักวัน อยากส่งแพสชันนี้ออกไปเรื่อยๆ
อยากให้สัก 10 ปีผ่านไปให้ขอบสนามเป็นที่พูดคุยในแคมป์ฟุตบอลว่า วันนี้อยากจะยิงลูกสวยๆ เพื่อให้พี่เบลล์พากย์ลูกที่ยิง เหมือนที่ทุกๆ คนอยากออกทีวี เราก็อยากเห็นทุกๆ คนอยากออกขอบสนาม เพราะว่าเขาออกแล้วเขามีชื่อเสียงและมีโอกาสเติบโตในอาชีพมากขึ้น
วิกฤตที่เคยเจอหนักที่สุดในการทำเพจมา 3 ปีคืออะไร
ผมไม่มีวิกฤตเลย เพราะปัญหามีไว้แก้ ส่วนปัญหาหนักสุดที่เคยเจอ ก็นี่แหละอัลกอริทึมเฟซบุ๊กเปลี่ยนไป แต่หนักถึงขั้นเครียดคงไม่มี ผมมีความสุขไว้ก่อน คนเอาความสุขจากผมไปไม่ได้
ผมไม่สนใจคอมเมนต์ด่า ใครด่านะ ผมเข้าไปคุยกับเขาดีๆ เพราะผมเชื่อว่าน้ำเย็น ดับไฟได้หมด คนถือไม้จะตีเรา เราไหว้เขา เขายังจะตีอีกเหรอ ดังนั้นผมมีวิธีง่ายๆ ในการจัดการคอมเมนต์ลบๆ อธิบายเขาด้วยความจริงใจ และผมเชื่อว่าวันเวลาจะบอกเองว่าเราเป็นคนอย่างไร คุณไปบอกเขาไม่ได้หรอก มีแค่ผลงาน ความสม่ำเสมอเท่านั้นจะเป็นตัวบอก เหมือนนักฟุตบอลไปบอกหนังสือพิมพ์ไม่ได้หรอกว่าเขาเก่ง นอกจากเขายิงประตูเยอะๆ เท่านั้นหนังสือพิมพ์ถึงจะลงชื่อเขา
ปี 2018 นี้มีแผนการอะไรบ้าง
เรามีคอมมูนิตี้ เราจะไม่หยุดแค่แฟนเพจ เรามีอีเวนต์ ถึงเวลาแล้วที่จะดึงคนออกจากหน้าคอมฯ มาเจอกัน มานั่งพากย์บอลกัน มาร่วมสนุก ทำให้เขาคิดว่าขอบสนามเป็นสังคมที่น่าอยู่ อยากจะมาอีก และเป็นพื้นที่จริง คุณเชียร์บอลจริงๆ มีนักบอลจริงๆ ทีมชาติไทยจริงๆ มาร่วมด้วย
ปีนี้มีโครงการหลายอย่าง ผมอยากจะตอบแทนสังคม วันนี้ผมก็ประกาศโครงการ The Same Old Shoe เป็นโครงการที่คิดว่าอยากเอารองเท้าที่ผมมีที่บ้านเป็นสิบคู่แต่ใส่จริงๆ แค่ 2 คู่ ที่เหลือปล่อยให้ฝุ่นจับ ไปบริจาคให้น้องๆ ในต่างจังหวัดที่ใส่รองเท้าที่ขาดแล้วขาดอีกแต่ยังต้องใส่ เพราะอะไร โอกาสไม่เหมือนกันครับ ดังนั้นผมคิดว่า ผมมีคนตามตั้งสามล้าน ลองชวนคนมา ขอรองเท้าคนละคู่ เอาแค่ 10% ก็ได้สามแสนคู่ละ เพราะฉะนั้นจะมีเด็กกี่ชีวิตที่ได้รองเท้าไปเตะบอล สร้างโอกาสให้เขา แล้วเราจะไปแจกกันถึงที่ จัดกิจกรรมกับพวกเขา น้องๆ จะได้สัมผัสว่า เฮ้ย เป็นนักฟุตบอลก็สนุกดีว่ะ แค่นี้ผมก็มีความสุขแล้ว ถ้าโครงการดังขึ้นมา ก็จะมีแบรนด์ต่างๆเข้ามาสนับสนุนไปกับขอบสนาม ผมไม่สนใจว่าจะแบรนด์ไหน ผมรู้ว่าขอเถอะ จะเก่าหรือใหม่ คือการส่งโอกาสให้เด็กๆ
อะไรที่คุณเห็นว่าสำคัญที่สุดเวลาโพสต์คอนเทนต์หนึ่งไป ยอดไลก์ ยอดแชร์ หรือ คุณค่าที่ได้จากมัน
สำหรับผม ผมคิดสโลแกนขึ้นมาคือ หากดูแล้วชอบใจ ปุ่มไลก์ปุ่มแชร์อยู่ใกล้ๆ อย่าลืมกดให้ขอบสนามหน่อยนะครับ ยอดไลก์ยอดแชร์มันคือส่วนหนึ่งสำหรับผม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคอมเมนต์ ต่อให้คุณไลก์ไปแสนกว่า แต่คอมเมนต์พันกว่าด่าหมด ผมมองว่านั่นคือไม่ประสบความสำเร็จนะ ผมต้องการให้คนชอบคอนเทนต์มากกว่าจะมานั่งด่าคอนเทนต์ ออกความคิดเห็นเถียงดีกว่ามานั่งด่าคอนเทนต์ เห็นว่าไม่สนุก ขยะ กระจอก
คอมเมนต์สำคัญที่สุด เพราะว่าขอบสนามประสบความสำเร็จได้ทุกวันนี้เพราะผมอ่านทุกคอมเมนต์ตั้งแต่วันแรกว่าคนเขาอยากดูอะไร ผมไม่ทำตามใจตัวเอง ผมทำตามใจคนดู เพราะถ้าทำตามใจตัวเองคุณก็ดูคนเดียว ผมต้องเช็กกระแสเสมอ เฮ้ยคนดูชอบแบบนี้ว่ะ ถ้าคุณไม่สนใจคอมเมนต์แสดงว่าคุณไม่สนใจคนดู คุณสนแต่ตัวเอง คุณจะมานั่งสนใจยอดไลก์ไม่ได้ คนไลก์เป็นแสนคุณดีใจ แต่คุณเห็นคอมเมนต์หรือยัง เขาชอบหรือเปล่า อันนี้สำคัญมากครับ
บทสนทนาจบลงพร้อมกับรอยยิ้มของเบลล์ที่ยังกว้างเหมือนวันแรกที่เขาเริ่มทำเพจใหม่ๆ พร้อมกับคำขอบคุณจากทั้งสองฝ่ายที่ต่างต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบนโลกออนไลน์ที่เรานิยามกันว่าเฟซบุ๊กฟีด
วันนี้ขอบสนามได้มากไกลพอๆ กับพัฒนาการของการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้คนที่เริ่มต้นจากความรักการพากย์บอลได้มีโอกาสทำในสิ่งที่เขารักพร้อมกับมีรายได้และมีทีมงานมาร่วมส่งเสริมฝันการสร้างสังคมกีฬาในรูปแบบของเขาให้เป็นจริง
เฟซบุ๊กจะอยู่หรือไป รูปแบบการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไปอีกขนาดไหน คงเป็นคำถามที่ยังไม่มีใครตอบได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นคำตอบจากการพูดคุยในวันนี้คือ หากคุณมีความสม่ำเสมอในสิ่งที่คุณเชื่อและลงมือทุ่มเทกับมัน วันหนึ่งคุณก็อาจจะเริ่มสร้างสังคมที่คุณต้องการได้เช่นกัน
Photo: ขอบสนาม / facebook
The post เปิดใจ เบลล์ ขอบสนาม ทำเพจฟุตบอลอย่างไรให้ได้เกือบ 4 ล้านไลก์ใน 3 ปี appeared first on THE STANDARD.
]]>ไมโครซอฟท์ และไอดีซี จัดทำรายงาน ‘ปลดล็อกโลกเศรษฐกิจในย […]
The post ไมโครซอฟท์ชี้ ดิจิทัลช่วยดันเศรษฐกิจโต คาดแตะ 40% ของ GDP ในปี 2021 appeared first on THE STANDARD.
]]>ไมโครซอฟท์ และไอดีซี จัดทำรายงาน ‘ปลดล็อกโลกเศรษฐกิจในยุคแห่งการปฏิรูปด้วยดิจิทัล’ โดยสำรวจความเห็นจากผู้บริหารในองค์กรขนาดกลางและใหญ่จำนวน 1,560 คนใน 15 ประเทศ เพื่อศึกษาผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิด Digital Disruption โดยพบว่าเทคโนโลยีช่วยสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์และบริการที่ต่อยอดจากเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งอุปกรณ์พกพาใหม่ๆ ระบบ Cloud Computing IoT (Internet of Things) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มอาเซียนด้วยสัดส่วน 6% ในปี 2017 และจะขยับเป็น 25% ในปี 2019 และ 48% ในปี 2021 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด
ขณะที่ประเทศไทยนั้น เทคโนโลยีมีส่วนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4% ในปี 2017 และเชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับภูมิภาคโดยจะเป็น 21% ในปี 2019 และ 40% ในปี 2021 โดย ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการของไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) มองว่ากว่า 82% ขององค์กรในประเทศไทยได้ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลแล้ว แต่ถ้ามองภาพรวมระดับภูมิภาค กลับมีองค์กรเพียงแค่ 7% ที่มีศักยภาพในระดับผู้นำของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการเชิงดิจิทัลไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ซึ่งองค์กรในกลุ่มผู้นำนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรในแต่ละด้านได้ประมาณ 20-30%
ผู้บริหารของไมโครซอฟท์มองว่า การปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลจะก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญกับสังคมคือ สร้างโอกาสในการสร้างรายได้ส่วนบุคคล เกิดตำแหน่งงานใหม่ที่มีรายได้สูงขึ้นตามทักษะดิจิทัลที่มี โดยตำแหน่งงานถึง 65% จะมีมูลค่าและความต้องการด้านทักษะเพิ่มสูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบไปในทิศทางใหม่ เพื่อให้ตอบรับความต้องการของสังคมยุคดิจิทัลและสังคมเมืองที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย รองรับวิถีชีวิตในยุคใหม่
นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำให้องค์กรต่างๆ ปฏิรูปธุรกิจยุคดิจิทัลโดยการวางรากฐานวัฒนธรรมเชิงดิจิทัลให้กับองค์กรควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบนิเวศเชิงข้อมูล โดยสามารถเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเรื่องเล็กๆ ก่อนนำไปสู่เรื่องที่ใหญ่และสำคัญมากขึ้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการปลูกฝังทักษะแห่งอนาคตที่จำเป็นให้กับคนในองค์กรเพื่อต่อยอดความรู้และความสามารถในการแข่งขันต่อไป
The post ไมโครซอฟท์ชี้ ดิจิทัลช่วยดันเศรษฐกิจโต คาดแตะ 40% ของ GDP ในปี 2021 appeared first on THE STANDARD.
]]>ปี 2017 กำลังจะผ่านพ้นไป และเป็นอีกครั้งที่ในปีท […]
The post 8 เทรนด์การตลาดและโฆษณาของไทยที่จะเกิดแน่ๆ ในปี 2018 appeared first on THE STANDARD.
]]>
ปี 2017 กำลังจะผ่านพ้นไป และเป็นอีกครั้งที่ในปีที่ผ่านมามีจุดเริ่มต้นของหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สำคัญทั้งในส่วนของตัวแพลตฟอร์มต่างๆ รวมถึงเครื่องมือ Devices ใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ซึ่งกำลังจะกลายเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญหลายอย่างที่จุดประกายให้วงการการตลาดและวงการโฆษณาของไทย แบรนด์สินค้าเองก็เริ่มลองผิดลองถูกกับดิจิทัลมากพอที่จะเริ่มรู้ว่าอะไรที่เวิร์ก อะไรไม่เวิร์ก
เรามาดูกันว่าในปี 2018 จะมีเทรนด์อะไรที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นที่นักการตลาดต้องจับตามองและปรับกลยุทธ์ของตัวเองให้เข้ากับกระแสที่มีแนวโน้มที่จะทำให้การทำการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้นกันครับ
1. แนวการโฆษณาแบบจริงใจ ตรงไปตรงมา (Transparency & Authenticity)
การโฆษณาแบบจริงใจแม้จะไม่ใช่เทรนด์ใหม่ในต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยเริ่มมีการทำกันมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
จากการที่โลกโซเชียลเข้ามามีบทบาททำให้ผู้คนสามารถตรวจสอบความจริงและรู้เท่าทันโฆษณามากขึ้นนั้น เทรนด์ที่น่าจะทำกันเพิ่มมากขึ้นในปี 2018 คือแนวทางการโฆษณาแบบจริงใจ พูดภาษาชาวบ้าน คือ ‘ดีก็บอกดี ไม่ดีก็บอกไม่ดี’ ซึ่งเป็นแนวทางที่ชาวโซเชียลและผู้บริโภคในยุคดิจิทัลให้การยอมรับมากขึ้น เพราะพวกเขาเหล่านั้นสามารถแชร์ประสบการณ์และข้อมูลต่างๆ ทั้งดีและไม่ดีถึงกันได้ อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะยอมรับแบรนด์ในฐานะมนุษย์และผู้บริหารแบรนด์ในฐานะคนทำงานที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
ดังนั้น การออกมาพูดหรือบอกอย่างจริงใจจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการสร้างแบรนด์ต่อไป นี่รวมไปถึงการเลิกทำการตลาดผ่านหน้าม้า หรือเนียนเชียร์ขายในกระทู้หรือบทความต่างๆ ด้วย
จะเห็นได้ว่าเริ่มมีบางแบรนด์ทำกันแล้วทั้งโฆษณาและในรูปแบบของการให้ข้อมูลโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจประกัน ซึ่งต้องใช้การอธิบายเงื่อนไขที่ค่อนข้างยุ่งยาก หรือแม้กระทั่งกลุ่มสินเชื่อที่เปลี่ยนมาเป็นการสร้างแบรนด์แบบใช้ความจริงใจเข้าสู้ และจะตามมาอีกหลายแบรนด์ในอนาคตแน่นอน
โฆษณาจากอลิอันซ์อยุธยา ประกันที่กล้าบอกเงื่อนไข
https://www.youtube.com/watch?v=nbV4-8Aqj8E
โฆษณาศรีสวัสดิ์เงินติดล้อ ที่กล้าบอกว่า เราไม่อยากให้คุณกลับมาหาเราอีก
2. โซเชียลมีเดียสำหรับแบรนด์จะกลายเป็น Services & Solutions ซึ่งได้ประโยชน์มากกว่าช่องทางการสื่อสาร
ในปัจจุบันการแข่งขันทางด้านคอนเทนต์และปริมาณของแบรนด์ที่ทำโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนของทั้งทางแพลตฟอร์มเองที่ต้องการให้พื้นที่ของตัวเองนั้นไม่เต็มไปด้วยคอนเทนต์โฆษณาหรือยัดเยียดขายของจากแบรนด์
ยกตัวอย่าง เช่น การปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของค่า Reach ในเฟซบุ๊ก www.brandage.com/article/2078/Reach-Facebook-Declined ส่งผลให้ค่าโฆษณาแพงขึ้นต่อเนื่องทุกปี แน่นอนว่าอินสตาแกรมเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน หรือในแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่าง Line เอง ยอดบล็อกก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ต่อเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของ Line@ Account และ Line Official Account ที่เมื่อเรากดติดตามมากขึ้น จะทำให้หน้าจอแชตถูกรบกวนจากสิ่งที่แบรนด์ส่งมา
ทั้งหมดทั้งมวลนี้จะส่งผลให้การสื่อสารถึงผู้บริโภคโดยไม่ใช้เงินค่ามีเดียเป็นไปได้ยากขึ้นไปอีก ดังนั้น แบรนด์จึงหันมาหาอรรถประโยชน์ด้านอื่นๆ แทน เช่น การดูแลลูกค้า การใช้แชตบอต การเขียนแอปพลิเคชันในโซเชียลลงไปในแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริการใหม่ๆ ของผู้บริการแพลตฟอร์มเหล่านี้ ทั้ง Line Business Connect, Facebook ChatBot, Google Business สำหรับ SMEs
ทำให้ต่อไปการใช้โซเชียลมีเดียสำหรับแบรนด์จึงจะกลายเป็นการให้บริการทางธุรกิจ หรือบริการต่างๆ แทนช่องทางการสื่อสาร
ตัวอย่างการใช้ Line Business Connect ของ SCB ในการบริการผู้ใช้บัตร ซึ่งสามารถตรวจสอบแต้ม ดูรายละเอียด หรือทำธุรกรรมผ่าน Line Official Account ซึ่งยอดบล็อกเรตต่ำมาก
3. การทำคอนเทนต์แบบไลฟ์สไตล์อ้อมๆ จะหมดไป แต่ Branded Content จะกลับมา
กระแสการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งมีมาประมาณ 5-6 ปีแล้ว ตอนนี้แบรนด์เกือบทุกแบรนด์หันมาทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งจริงจังกันมาสักระยะ ซึ่งโมเดลในการทำงานส่วนใหญ่มุ่งหวังที่จะสร้างผู้อ่านหรือผู้ติดตาม ส่วนใหญ่จะทำง่ายๆ โดยการเลือกคอนเทนต์ประเภทไลฟ์สไตล์ต่างๆ ซึ่งไม่เกี่ยวกับแบรนด์มากนักมาใช้ในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย ด้วยเหตุผลด้านราคาที่ถูกกว่าการสร้างคอนเทนต์เฉพาะและมีประสิทธิภาพในการดึงคนอ่านดีกว่า Branded Content
แต่ท้ายที่สุดเมื่อตลาดมีการผลิตคอนเทนต์เหล่านี้มาจำนวนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพของคอนเทนต์ประเภทนี้ตกลงอย่างชัดเจน ด้วยเหตุผล 3 ประการของความยากในการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง คือ
ดังนั้น แบรนด์หลายแบรนด์จึงหันกลับมาให้ความสำคัญกับการสร้างเอกลักษณ์ของคอนเทนต์ตัวเองโดยใช้แบรนด์ตัวเองเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง ซึ่งทำให้กระแสการทำ Branded Content จะกลับมาอีกครั้ง เป็นการนำเอาแบรนด์ไปสร้างจุดแตกต่างของคอนเทนต์ให้คนรู้สึกอยากติดตามมากขึ้น และผลก็ส่งกลับมาที่แบรนด์ได้เร็วขึ้นนั่นเอง
ซักคืนนี้ “พรุ่งนี้แห้ง”
มีเสื้อผ้าใส่ทันแน่ แถมไม่กังวลว่าจะหมดเวลาครึ่งวันไปกับการซักผ้า เพราะ.." ก่อนหยุดสุดสัปดาห์ มักเป็นวันศุกร์ " #dietomorrow pic.twitter.com/iZRmHnqlux— Tops Thailand (@topsthailand) November 10, 2017
มุกตลกของ Tops Supermarket ในทวิตเตอร์ที่นำเอาโปรโมชันลดราคาผูกกับคอนเซปต์ภาพยนตร์หรือรายการดัง ซึ่งทำให้ผู้ติดตามเพิ่มขึ้น
https://www.facebook.com/JonesSaladThailand/photos/a.2000510046851147.1073741882.1409656432603181/2000510213517797/?type=3&theater
Jone’s Salad ร้านขายสลัดที่สร้างคาแรกเตอร์ลุงโจนส์ผู้มาย่อยเรื่องอาหารการกินถูกวิธีให้เข้าใจง่ายด้วยรูปแบบการ์ตูนที่มีคนติดตามกว่าล้านคน
4. แบรนด์จะสร้างความผูกพันอันแน่นแฟ้นมากขึ้น ด้วยการดึงคนจากออนไลน์มาสู่ประสบการณ์ร่วมจริงๆ ใน On-ground (Online to On-Ground)
แบรนด์หลายๆ แบรนด์ได้สร้างความผูกพัน หรือ Engagement ผ่านทางช่องทางโซเชียลมากขึ้น เรารู้จักการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง การทำกิจกรรมผ่านทางออนไลน์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการทำออนไลน์วิดีโอต่างๆ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้ติดตามมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดี
แต่เราจะพบได้ว่าข้อจำกัดของออนไลน์มีอยู่มากมาย และผู้บริโภคก็ไม่สามารถมีความผูกพันอันดีกับแบรนด์ผ่านทางช่องทางดิจิทัลเพียงอย่างเดียว (ไม่เช่นนั้นความสัมพันธ์นั้นคงเป็นแบบ Virtual Relationship หรือคล้ายๆ กับการจีบกันผ่านไลน์แต่ไม่เคยเจอหน้ากันเลย) ดังนั้น เทรนด์ของการสร้างความผูกพันแบบ Online to On-ground จะมีมากขึ้นในปีหน้า เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ไปมากกว่าเดิม โดยอีกจุดประสงค์หนึ่งก็คือต้องการที่จะระบุตัวตนของลูกค้า หรือแฟนของเราให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ตัวอย่างการดึงเอาแฟนมาร่วมสร้างประสบการณ์กับแบรนด์ของ BNK48 แม้จะเป็นเรื่องของวงดนตรี แต่เราจะเห็นลักษณะนี้มากขึ้นอีกในการทำการตลาดของแบรนด์
5. อินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อเสียงจะกลายเป็นเหมือนเซเลบริตี้และ Micro-Influencers จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
Influencer Marketing เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมาหลายปีแล้ว จากสาเหตุที่ว่าเมื่อการมาถึงของโซเชียลมีเดียและออนไลน์ คอมมูนิตี้ต่างๆ ผู้บริโภคย่อมไม่เชื่อแบรนด์อีกต่อไป แต่เลือกที่จะเชื่อผู้นำทางความคิดต่างๆ
ทุกวันนี้มีอินฟลูเอนเซอร์และบล็อกเกอร์หน้าใหม่เกิดขึ้นแทบทุกวัน ซึ่งคนที่ทำได้ดีก็จะมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเป็นหลักแสน หลักล้าน นำมาซึ่งผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจที่มาจากแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างเขียนรีวิว การทำสปอนเซอร์โพสต์ หรือการดูแลจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ของแบรนด์ที่ส่งผลต่อการพูดถึงสินค้าหรือบริการของแบรนด์แบบมีลูกเกรงใจ ทำให้บางครั้งผู้มีอิทธิพลเหล่านั้นอาจจะมุ่งเข้าสู่เรื่องของธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และจากการที่มีผู้ติดตามมากขึ้นนั่นเอง ส่งผลกระทบต่ออัลกอริทึมของเฟซบุ๊กที่ทำให้ Reach ลดลง รวมไปถึงค่า Engagement Rate จะต่ำลง ในขณะที่สิ่งที่แลกเปลี่ยนคือชื่อเสียงและภาพลักษณ์ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้นปรับสภาพกลายเป็นเซเลบริตี้ คือถูกใช้กับแบรนด์ในเชิงสร้างการรับรู้ในวงผู้ติดตาม เป็นพรีเซนต์สินค้า เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ มากกว่าการโน้มน้าวทางความคิดที่แตกต่างจากเมื่อก่อน
นั่นทำให้พลังของการโน้มน้าวทางความคิดไปอยู่กับกลุ่ม Micro-Influencers กลุ่มเล็กๆ เพิ่มขึ้น เพราะผู้บริโภคเชื่อว่ากลุ่มคนเหล่านี้ที่มีผู้ติดตามน้อยอยู่ ก็เปรียบเสมือนตัวแทนผู้บริโภคมากกว่า เพราะยังไม่เป็นคนดังที่จะมีงานโฆษณาเข้ามามหาศาล หรือกลุ่มเหล่านี้มีความสนใจเฉพาะด้านมากๆ ซึ่งกลุ่ม Micro-Influencers จะมี Engagement Rate ที่สูงกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าอินฟลูเอนเซอร์ดังๆ จะหมดความน่าเชื่อถือ แต่บทบาทของเขาเหล่านั้นจะเปลี่ยนไปเป็นผู้สร้างการรับรู้และสร้างความน่าสนใจที่ทรงประสิทธิภาพมากกว่าที่จะเป็นผู้โน้มน้าวทางการกระทำนั่นเอง
ในปีหน้าน่าจะเห็นการใช้อินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งที่ผสมผสานกันระหว่างรายใหญ่และรายเล็กเพื่อประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสิ่งที่ส่งผลต่อเทรนด์เหล่านี้นอกจากเรื่องของตัววัดผลแล้ว ยังเป็นการเกิดขึ้นของ Platform Micro-Influencer ต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น Revu หรือ Tellscore ที่ทำให้เราเข้าถึง Micro-Influencer เหล่านี้ได้มากขึ้นอีกด้วย
ตัวอย่างแพลตฟอร์มของ Micro-Influencer
6. ปีรุ่งเรืองของ eSports
กระแสของ eSports โด่งดังสุดๆ ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีการสนับสนุนจากบอร์ด กกท. ให้บรรจุเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการ และความสำเร็จของเด็กไทยในเวทีต่างๆ ทุกประเภทเกม รวมไปถึงความสำเร็จของเกม ROV ที่มียอดผู้ดาวน์โหลดกว่า 10 ล้านคน ทำให้ eSports คือสิ่งที่จะเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นและผู้เล่นเกมออนไลน์ซึ่งเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างใหญ่มาก สะท้อนได้จากมูลค่ารางวัลที่เพิ่มขึ้นทุกปี และที่สำคัญยังไม่มี แบรนด์ใหญ่แบรนด์ไหนที่จริงจังกับการสนับสนุน เนื่องจากเจ้าของแบรนด์อาจจะยังไม่คุ้นเคยหรือไม่รู้จักเกมเหล่านี้มากนัก
แต่จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึง Workpoint ได้นำการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ROV มาฉายผ่านช่องของตน และกระแสตอบรับค่อนข้างดีนั้น เชื่อได้ว่า ปีหน้าเป็นปีทองของ Brand Sponsorship ของ eSports และทุกคนจะหันมาจับตลาดเกมมากขึ้นอย่างแน่นอน และแบรนด์จะใช้ช่องทางนี้เข้าถึงและเอาชนะใจคอเกมเมอร์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
แบรนด์ขนมคางกุ้งอย่าง Monori ก็เป็น Official Sponsor ให้กับทีมชื่อดังอย่าง Bacon จากเกม ROV
ที่เกาหลี Samsung มีทีมเป็นของตัวเอง ในทุกเกมไม่ว่าจะเป็น DotA CS:GO และชนะกวาดรางวัลมากมายเช่นกัน
7. แบรนด์จะหันกลับมาลงทุนใน Digital Ecosystem & Platform
เทรนด์นี้เป็นเทรนด์ที่ส่งผลมาจากข้อ 2 ที่ว่าด้วยโซเชียลมีเดียจะกลายเป็น Services & Solutions มากขึ้น แต่มองในภาพรวมขององค์กรว่าหลังจากการลงทุนในโซเชียลมีเดีย ทั้งในแง่ของคอนเทนต์หรือการโฆษณา แบรนด์จะเริ่มพบว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ เริ่มสูงขึ้นทุกปี ในขณะที่ความยากของการแข่งขันในการแย่งความสนใจชั่วครั้งชั่วคราวอย่างการทำ Online Video หรือ การทำ Social Ads เริ่มเป็นการทำการตลาดระยะสั้น ไม่ตอบเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนกับแบรนด์ในระยะยาว จะทำให้แบรนด์หันมาพิจารณา Digital Ecosystem มากขึ้น
ซึ่งเรื่องของ Digital Ecosystem คือการลงทุนในระบบนิเวศของดิจิทัลเพื่อให้ผู้บริโภคมีช่องทางการติดต่อกับแบรนด์ในทุกช่องทางที่มี ตั้งแต่เริ่มลงทะเบียนใช้บริการ มีประสบการณ์ที่ดีในช่องทางเหล่านั้น ได้รับบริการที่เหมาะสม และข้อมูลที่เชื่อมถึงกันอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคสูงสุด ไม่ว่าจะเป็น Website, Social Media, Line, Application, E-services, CRM, In-Store Platform ที่เชื่อมต่อถึงกันด้วยระบบข้อมูลเดียวกัน และสร้างระบบนิเวศของแบรนด์ขึ้นมาเพื่อรักษาลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ในระยะยาวต่อไป
การประกาศว่า SCB Easy ไม่ใช่แค่แอปพลิเคชันการเงินแต่เป็นแพลตฟอร์มใหม่ของแบรนด์
แสนสิริ เปิดตัว Home Service Application สร้างระบบนิเวศของดิจิทัลหลังจากการเป็นลูกบ้าน และเตรียมขยายต่อยอดไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ
8. ยุคของตัวเลขและการเก็บข้อมูลจะกลับมา และครีเอทีฟต้องทำงานมากขึ้น (Data Driven Creative Marketing)
การเข้ามาของดิจิทัลแรกๆ นั้น นักการตลาดอยู่ในช่วงของการเรียนรู้ลองผิดลองถูกกันเกือบทั้งหมด ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าอะไรดีหรือไม่ แต่ในปีหน้าผลของการลองผิดลองถูกจะแสดงผลออกมาในรูปแบบของตัวเลขอย่างชัดเจนมากขึ้น เป็นผลจากการปรับปรุง Dashboard วัดผลของแพลตฟอร์มต่างๆ ให้ดีขึ้น และการให้ความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือวัดผลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Analytics, Facebook Insight และ Social Listening Tools ต่างๆ แก่นักการตลาดทั่วไป
ทำให้ปีหน้านักการตลาดจะเริ่มนำตัวเลขต่างๆ มาพยายามวัดประสิทธิภาพของงานโฆษณาและงานครีเอทีฟมากขึ้น (เห็นได้จากเริ่มมีการนำกฎ 5 วินาที การวัดผลจาก Complete View มากกว่า View การขอผลการ Optimized ของคอนเทนต์ต่างๆ) ทำให้สิ่งเหล่านี้กระทบการทำงานเชิงสร้างสรรค์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เสมือนกับยุคการทำ Traditional Marketing ที่เริ่มมีการทำ Ad Test ซึ่งกลายมาเป็น KPI ของครีเอทีฟสมัยก่อน ทำให้ครีเอทีฟเอเจนซีต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อตอบสนองตัวเลขเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การใช้ตัวเลขและข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องเข้าใจและวัดผลให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น มิเช่นนั้นผลที่ออกมาอาจจะผิดก็ได้
อีกเรื่องหนึ่งคือการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาต่อยอดในการคิดงานสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นขั้นต่อมาของการวัดผล ซึ่งแบรนด์จะเริ่มเห็นความสำคัญมากขึ้น และมีการทำแคมเปญเพื่อเก็บข้อมูลของลูกค้ามากขึ้นในปีหน้า เนื่องจากเทรนด์ของโลกนั้นได้มีการนำข้อมูลมาใช้ในงานโฆษณาที่หลากหลาย และข้อมูลของลูกค้ากลายเป็นมูลค่าทางการเงินที่มีมูลค่าสูงที่ส่งผลต่อมูลค่าของบริษัทและแบรนด์อีกด้วย
ตัวอย่างการนำข้อมูลมาใช้กับแคมเปญสร้างสรรค์
https://www.youtube.com/watch?v=oxbipSM8GmA
Whirlpool Care Count ที่ใช้ระบบการเก็บข้อมูลเชิงสถิติ หาความสัมพันธ์ของการซักผ้า กับการขาดเรียน
https://www.youtube.com/watch?v=GFVcR760kY8
Snickers Hungerithm ที่นำข้อมูลจากโซเชียลมาออกแบบส่วนลดตามคำที่แสดงถึงความโมโหในโซเชียล
Cover Photo: Thiencharas.w
The post 8 เทรนด์การตลาดและโฆษณาของไทยที่จะเกิดแน่ๆ ในปี 2018 appeared first on THE STANDARD.
]]>ปฏิเสธไม่ได้ว่าถนนทุกสายในเวลานี้กำ […]
The post เจาะลึกพลังขับเคลื่อน 4 คนดังสู่ความสำเร็จบนโลกดิจิทัล appeared first on THE STANDARD.
]]>ปฏิเสธไม่ได้ว่าถนนทุกสายในเวลานี้กำลังมุ่งไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทุกอย่างในชีวิตถูกนำมาย่อไว้ในมือถือ นอกจากจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วยังเปิดโอกาสให้เรา ‘ริเริ่ม’ และ ‘ลงมือทำ’ บางอย่างที่ต้องการได้ง่ายขึ้นด้วย
โจทย์สำคัญในวันนี้คือจะทำอย่างไรให้สิ่งที่ตั้งใจลงมือทำมีความ ‘แตกต่าง’ จากคนอื่นๆ
ความสำเร็จของ 4 คนดังที่ประสบความสำเร็จบนโลกดิจิทัล ถูกนำมาเล่า แลกเปลี่ยนมุมมองกับก้าวข้ามผ่านสิ่งต่างๆ มากมายในเวที THE PREMIER Success Forum 2017: BEHIND the PRidE-TITUDE ที่จัดขึ้นโดยบริการเดอะพรีเมียร์ ธนาคารกสิกรไทย
หนึ่งในนั้นคือ ทรงกลด บางยี่ขัน ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการบริหาร The Cloud สื่อออฟไลน์และออนไลน์ที่ยังเชื่อในพลังของคอนเทนต์ และแนะนำว่า ‘สื่อควรทำตัวให้เล็ก และสร้างคอนเทนต์ที่ใหญ่กว่าตัวเอง’
“ผมเชื่อว่าการทำเรื่องเล่าที่ดีจะสร้างความหมายให้กับคนอื่น ทำเว็บไซต์ไม่ต้องเร็ว ไม่ต้องรีบ ทำงานประณีตก็ได้ ผมเชื่อว่าเราควรทำคอนเทนต์ที่มีความหมายกับผู้อ่าน และคอนเทนต์ที่ดีจะพาตัวเลขที่ดีมาหาเรา”
นอกจากนี้ ทรงกลดยังบอกเล่าถึงประสบการณ์การจัดสมดุลชีวิตการทำงานในโลกที่หมุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วว่า “ผมเคยคิดว่าดัชนีชี้วัดการทำงานคือต้องทำงานหนัก แต่ผมก็ได้เรียนรู้ว่าผมจะไม่ทุ่มสุดแรง แต่จะออมแรงเก็บคนไว้สำหรับงานต่อไป เพราะที่จริงแล้วชีวิตยังมีอีกหลายศึกและหลายสิ่งที่เราต้องใช้พลังสู้ต่อไป เราควรออมแรงทั้งของเราและของทีม รู้จักใส่ใจตัวเองและคนรอบข้างให้มากขึ้น เมื่อชีวิตเรามีความสุข เราจะส่งต่อความสุขและสามารถพัฒนาเป็นงานที่ดีต่อไปได้ เป็นที่มาของการยึดหลักชีวิตว่า ‘ทำตัวให้เล็ก ทำในสิ่งที่เชื่อ และสร้างความสุข’
ด้านสตาร์ทอัพไอคอนที่กรุยทางสู่ความสำเร็จระดับพันล้านอย่าง ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง Ookbee แอปพลิเคชันอีบุ๊กที่มีผู้ใช้งานหลายล้านรายทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้คำนิยามความสำเร็จจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของเขาว่า ‘ริเริ่ม เปลี่ยนโลก สำเร็จ’
“ผมเชื่อว่าอีกไม่เกิน 5 ปีถัดจากนี้ เราจะเห็นภาพเกี่ยวกับการทำธุรกิจแบบนี้ชัดเจนขึ้น ผมกับทีมจึงพยายามคิดหาไอเดียใหม่ๆ ให้ตอบโจทย์พฤติกรรมของคนในยุคนี้ เพราะถือหลักว่ามีไอเดียแล้วต้องลงมือทำ สมัยนี้ต้นทุนด้านเทคโนโลยีถูกกว่าสมัยก่อนมาก ถึงจะเริ่มแล้วล้มก็ไม่เป็นไร ผมเองก็มีหลายไอเดียกว่าจะมาลงตัวที่การทำอีบุ๊ก เคยเจ๊งไปร้อยกว่าล้าน แต่ทุกครั้งที่ลงมือทำจะกำหนดขอบเขตว่ายอมรับได้ที่เท่าไร หยุดถ้าไปต่อไม่ไหว และมองหาโอกาสใหม่ๆ เพราะทุกวันนี้โลกเปลี่ยนและหมุนเร็ว”
ซึ่งณัฐวุฒิยังให้คำแนะนำสำหรับสตาร์ทอัพน้องใหม่และผู้ที่สนใจทำธุรกิจในยุคนี้ว่า ถึงอย่างไร การเริ่มต้นลงมือทำก่อนย่อมได้เปรียบกว่าแน่นอน
“ผมเรียนรู้จากการทำธุรกิจนี้ว่า บางอย่างไม่ต้องเพอร์เฟกต์ทั้งหมด เพราะเราสามารถเอาฟีดแบ็กมาปรับและพัฒนาต่อได้ การทำอะไร บางครั้งไม่สำเร็จ ไม่เป็นไร เพราะอย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้”
เช่นเดียวกับ รรินทร์ ทองมา เจ้าของแบรนด์รองเท้าและกระเป๋า O&B ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในโลกออนไลน์ ด้วยรองเท้าหนังแกะ 50 สีที่เน้นขายทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก โดยสามารถสร้างรายได้ปีละหลายร้อยล้านบาท ซึ่งความสำเร็จนี้มีที่มาจากหลักคิดที่ว่า ‘เชื่อมั่น ลงมือทำ ทะลุเป้าหมาย’
“ตอนที่เริ่มคิดจะทำอะไรเป็นของตัวเอง ดิฉันถามตัวเองว่าถ้าอายุ 50 แล้วยังไม่ได้ทำอะไรจะเสียใจที่สุด ตอบได้ทันทีคือการมีแบรนด์แฟชั่นเป็นของตัวเอง พอคิดได้จึงลงมือทำทันที”
รรินทร์ยังแชร์ประสบการณ์การเริ่มต้นธุรกิจที่ไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตมาก่อน ซึ่งถึงแม้จะผิดพลาด และล้มลุกคลุกคลานมาอย่างโชกโชน แต่ความมุ่งมั่นที่มีอย่างเต็มเปี่ยมก็ทำให้เธอสามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ มาได้
“ดิฉันไม่ได้มีต้นทุนชีวิตอะไรมาเลย จึงไม่มีคอมฟอร์ตโซน เริ่มต้นธุรกิจด้วยเงิน 90,000 บาท ช่วงแรกๆ เริ่มจากแค่ความชอบ ทำให้ผิดพลาดไปหลายอย่างมาก จนได้มาเรียนรู้ว่าสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจคือการบริหารจัดการ ทั้งจัดการคน ระบบบัญชี บริหารสต็อก บริหารการดูแลลูกค้า และอื่นๆ พอเริ่มลงตัวก็มาคิดต่อยอดพัฒนาให้ทันกับกระแสโลก
“ยุคนี้ไม่ใช่ยุคที่แข่งกันที่ความเล็กใหญ่ หรือทุนหนา แต่แข่งกันที่ไอเดียธุรกิจและการสื่อสารในโลกออนไลน์ ตั้งเป้าหมายกับตัวเองและกับทีมว่าเราจะพัฒนาแบรนด์ให้เติบโตที่สุดเท่าที่คิดว่าจะทำได้ แล้วมุ่งมั่นไปตามนั้น เราอยากให้ O&B เป็นแบรนด์รองเท้าบัลเลต์ที่ดีที่สุดในโลก เป็นแบรนด์รองเท้าที่ต่างชาติมาไทยแล้วต้องนึกถึง ต้องซื้อกลับไปเป็นของฝาก”
ปิดท้ายด้วยเคล็ดลับการทำธุรกิจของ ยอด ชินสุภัคกุล ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน wongnai คลังข้อมูลรีวิวร้านอาหารสำหรับนักชิมชาวไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงเวลาที่ผ่านมา
โดยยอดได้แชร์ประสบการณ์หลังจากเรียนจบปริญญาโท MBA จาก UCLA Anderson เมื่อปี 2553 ก่อนจะรวบรวมเพื่อนพ้อง 4 คนมาระดมสมองเปิดเป็นเว็บไซต์ wongnai.com ซึ่งได้แนวคิดมาจากเว็บไซต์รวบรวมร้านอาหารในสหรัฐฯ อย่าง YELP.COM และมีแนวคิดในการทำธุรกิจจากคำ 3 คำ คือ ‘กล้า เชื่อมั่น คิดแล้วทำ’
“ในช่วง 2 ปีแรกที่ทำเว็บไซต์ wongnai.com เคยรู้สึกท้อแท้ เพราะมีจำนวนคนที่ใช้และรายได้ที่เข้ามาน้อยมาก เว็บไซต์ก็ยังหน้าตาไม่ดีอีก แต่ค่อยๆ ปรับและพัฒนาต่อมาจนสำเร็จ พอธุรกิจเราโตขึ้น สร้างกำไรมากขึ้น ก็ยังมีเรื่องให้คิดมากอีกอยู่ดี โดยเฉพาะปัญหาในการบริหารจัดการ“
แต่สิ่งที่ทำให้ wongnai ข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ จนกลายเป็นเว็บไซต์รีวิวร้านอาหารเบอร์หนึ่งของประเทศได้มาจากการรีบลงมือทำ
“การทำงานต้องมีเป้าหมาย คอยวัดผลงานอยู่ตลอดเวลา และไม่สนใจคู่แข่ง มุ่งหน้าทำหนึ่งสิ่งที่มีเป้าหมาย เพราะเชื่อว่าเราควรเป็นคนนำก่อนที่โลกจะตามทัน เปิดหูเปิดตาให้กว้าง มีโอกาสแล้วรีบลงมือทำ ถ้าช้า เราจะกลายเป็นผู้ตามทันที”
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อคิดดีๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที THE PREMIER Success Forum 2017: BEHIND the PRidE-TITUDE ซึ่งน่าจะนำมาปรับใช้ในการทำธุรกิจยุคนี้ได้อย่างมาก แต่สิ่งที่สำคัญกว่าแง่คิดดีๆ คือต้องเริ่มลงมือทำ เพื่อเปลี่ยนโลกใหม่ให้ขับเคลื่อนไปด้วยพลังของตัวคุณเอง
The post เจาะลึกพลังขับเคลื่อน 4 คนดังสู่ความสำเร็จบนโลกดิจิทัล appeared first on THE STANDARD.
]]>“ค่าใช้จ่ายของการรักษาลูกค้าเดิมถูก […]
The post ไขปริศนาโลกแตก จะเลือกรักษาลูกค้าเก่า หรือมุ่งหาแต่ลูกค้าใหม่? appeared first on THE STANDARD.
]]>“ค่าใช้จ่ายของการรักษาลูกค้าเดิมถูกกว่าค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าใหม่” ประโยคนี้เราคงเคยได้ฟังและได้ยินกันเวลาเราพูดถึงวิชาการตลาดว่าด้วยเรื่องของการรักษาลูกค้าเก่า ด้วยการสร้างความจงรักภักดีในตัวแบรนด์สินค้า (Brand Loyalty)
ส่วนสำคัญของการตลาดนอกจากการโฆษณาแล้ว เรายังต้องทำการรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ด้วย เนื่องจากมีการยกเอากฎ 20/80 ของพาเรโต (กฎที่ว่า ลูกค้าเพียง 20% จะสร้างยอดขายให้เรา 80%) เราจึงเชื่อและมุ่งมั่นในการลงทุนรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ รวมไปถึงตั้งแคมเปญการตลาดสำหรับลูกค้าเก่าๆ อย่าง Loyalty Program มากมาย
ว่าแต่ความเชื่อนี้ถูกต้องจริงทั้งหมดหรือไม่?
มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งซึ่งเขียนโดยอาจารย์ไบรอน ชาร์ป (Byron Sharp) ซึ่งเป็นนักการตลาดสายวิทยาศาสตร์ (Marketing Science) จากประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค หรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ได้เขียนหนังสือชื่อ How Brands Grow (2011) ซึ่งหนังสือเล่มนี้นำเสนอผลการวิจัยและทฤษฎีที่หักล้างความเชื่อในความจงรักภักดีของแบรนด์นี้อย่างสิ้นเชิง โดยชาร์ปกล่าวว่า ถ้าแบรนด์อยากเติบโต เราต้องมุ่งหวังการหาลูกค้าใหม่ หรือการสร้าง penetration ต่างหาก
เนื้อความในหนังสือ ไบรอน ชาร์ปกล่าวโดยสรุปว่า
เมื่อคราวที่หนังสือเล่มนี้ออกมา วงการนักการตลาดถือว่าสั่นสะเทือนมากครับ เพราะข้อมูลในหนังสือนั้นน่าเชื่อถือมาก ตัวผมเองก็เคยอยู่บริษัทหนึ่งที่นำเอาแนวคิดของชาร์ปมาใช้ทั้งหมด โดยประกาศตัดงบ Loyalty Campaign และเพิ่มงบการตลาดด้าน awareness แทนหลายตัวเหมือนกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเมื่อมีแบรนด์นำกลยุทธ์ penetration นี้ไปใช้
จากประสบการณ์ของบางบริษัทที่เคยนำกฎนี้ไปใช้ เริ่มต้นจากการตัดงบการตลาดที่ใช้ดูแลลูกค้ารวมไปถึงคู่ค้าเดิม ลดการใช้สื่อโซเชียลที่พูดคุยกับลูกค้าปัจจุบันให้น้อยลง แล้วหันไปทุ่มงบในการโฆษณามากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ลูกค้าเก่า รวมไปถึงร้านค้าที่อยู่ในแคมเปญเหล่านี้ออกมาโวยวายในช่องทางโซเชียล และผ่านเซลล์ที่ดูแลช่องทางการขาย จนส่งผลกระทบต่อยอดขายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และงบประมาณที่ถูกใช้ไปเพื่อสร้าง awareness เพื่อดันยอดขายกลับไม่ได้สร้างยอดขายกลับมาอย่างที่หวัง
สิ่งที่ตามมาจากผลการวิจัยคือ ลูกค้าเห็นโฆษณามากขึ้นก็จริง แต่กลับไม่ได้สนใจในสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะสื่อถึงจุดขายของสินค้า และผลจากการที่มีเสียงก่นด่า ทำให้ส่งผลกระทบต่อช่องทางที่ขายดีและยอดขายทันที
อีกเคสหนึ่งที่เจอคือ เมื่อเราปรับกลยุทธ์จากเดิมที่ทุ่มงบการตลาดรักษาลูกค้าเก่าออกไป เพราะตัวเลขผลตอบแทนด้านยอดขายของลูกค้าเดิมเป็นไปตามที่คาดการณ์คือ ลงทุนไปแต่ยอดขายกลับมาไม่ดีนัก ผลปรากฏว่า ลูกค้าที่เคยได้รับส่วนลด ของแถมเยอะๆ ออกมาโวยวายใน Pantip จนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านสิทธิพิเศษที่ได้หลังการขายทันที
Loyalty ยังสำคัญ ไม่ใช่แค่ความจงรักภักดี แต่เป็นการสร้างการบอกต่อและรักษาชื่อเสียงของแบรนด์
การมุ่งแต่ penetration ไม่ผิด แต่ต้องไม่ลืมพิจารณาองค์ประกอบอีกสองอย่างด้วยคือ สินค้าของเราเป็นสินค้าประเภท High involvement product หรือ สินค้าที่ลูกค้ามีความเกี่ยวพันสูง ต้องหาข้อมูล ต้องมีอารมณ์ร่วม ต้องดูเรื่องแบรนด์ เรื่องอื่นๆ หรือไม่ เพราะถ้าใช่ การมุ่งแต่สร้างการรับรู้ไม่ช่วยอะไรในเรื่องดังกล่าว
และจุดที่สองที่จะเน้นย้ำคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากการเข้ามาของดิจิทัล ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจในการบอกต่อประสบการณ์ที่ดี และจากการบอกต่อนี้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อ
นั่นทำให้หากเราตัดงบการตลาดในการดูแลลูกค้าเก่าออกจนไม่เพียงพอ สินค้าของเราก็จะกลายเป็นสินค้าที่มีภาพลักษณ์ไม่ใส่ใจดูแลลูกค้าเก่าทันที ซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขายเช่นเดียวกัน
ดังนั้น การดูแล Loyalty ยังสำคัญ แต่ไม่ใช่ความจงรักภักดีในเชิง ‘การซื้อซ้ำ การซื้อบ่อย การซื้อมาก’ แต่มันเป็นเชิงความจงรักภักดีในแง่ ‘ความรักแบรนด์และพร้อมจะบอกต่อ’ มากกว่า เพราะมันพิสูจน์จากหลายๆ การวิจัยแล้วว่า ยอดขายมาจากกลุ่มลูกค้าเดิมไม่ได้สูงแบบมีนัยสำคัญมากกว่าการมีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามา อีกทั้งการลด แลก แจก แถม เพื่อกระตุ้นการกลับมาซื้อ แม้ว่าอาจต้องลงทุนมากกว่าการทำแคมเปญในการหาคนใหม่ๆ เข้ามา แต่คนที่ภักดีกลุ่มนี้จะเป็นเสมือนกับคนโปรโมตแบรนด์และแนะนำต่อ ซึ่งจะดึงลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาในท้ายที่สุด
penetration สำคัญเมื่อคุณอยู่ในจุดเริ่มต้น หรือเมื่อบริษัทต้องการยอดขายเพื่อสร้างจุดยืนในตลาด และสร้างสภาพคล่องทางการเงิน
การสร้างการเข้าถึงคนหมู่มาก สร้างความจดจำ และขยายช่องทางการขายนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการเพิ่มยอดขาย และเป็นสิ่งที่ต้อง ‘ลงทุน’ ในช่วงเริ่มแรก เพราะถ้าเรายังไม่เป็นที่รู้จักและหาซื้อได้ยาก เราก็ไม่สามารถขายสินค้าให้มียอดขายหรือเงินเข้ามาหล่อเลี้ยงองค์กรจนสามารถลงทุนเติบโตต่อเนื่องและสร้างระบบการดูแลฐานลูกค้าได้
ดังนั้น หากคุณอยู่ในขั้นเริ่มต้นอยู่ ต้องจัดสรรงบประมาณสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดี เลือกจุดขายที่คนมองหา สื่อสารออกไป และที่สำคัญ ทำให้ลูกค้าหาซื้อของของคุณได้ง่ายที่สุด
โดยสรุป ลงทุนกับการสร้างการรับรู้และจุดขายของสินค้า แต่ต้องดูแลลูกค้าเก่าให้ถูกต้อง
คำตอบจากคำถามของบทความนี้ อาจจะฟังดูกำปั้นทุบดิน แต่ผมขอออกความเห็นว่า ต้อง ‘ทำทั้งสองอย่าง’ และทำอย่างเหมาะสม ผมไม่ได้ค้านทฤษฎีของชาร์ป แต่ผมเสริมเพื่อให้เราได้หยิบไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
หากเราเป็นสินค้าเพิ่งเกิดใหม่… จงเน้นที่คุณภาพสินค้า สร้างการรับรู้และจดจำจุดขายให้ได้ และลงทุนขยายช่องทางการขายให้เร็วที่สุด
หากเราเป็นสินค้าที่ลูกค้ามีความเกี่ยวพันสูง… ให้เน้นทั้งสองอย่างอย่างพอประมาณ โดยลงงบการตลาดส่วนใหญ่ไปกับการสร้างการรับรู้ และลงทุนกับการสร้างการดูแลหลังการขายที่ดี โดยไม่ต้องใช้การลด แลก แจก แถม สำหรับลูกค้าประจำ เพราะต้องใช้งบประมาณมากพอสมควรและไม่ได้ยอดขายกลับมาเต็มเม็ดเต็มหน่วย
หากจะลงทุนกับ Loyalty Campaign ในลูกค้าเดิม ให้เริ่มต้นที่การดูแลหลังการขายและการจัดการข้อมูลลูกค้า… ลงทุนกับการเข้าใจลูกค้าที่ซื้อเราบ่อยและรักเรา เพื่อนำมาสร้างแคมเปญการตลาดต่อไป และสร้างประสบการณ์การดูแลลูกค้าเก่าที่ดี เพื่อให้เขาบอกต่อให้มากที่สุด
และก่อนเลือกวางกลยุทธ์การตลาดอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดคือเข้าใจธุรกิจเรา เข้าใจลูกค้าเรา แล้วเลือกทำในสิ่งที่ควรทำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุดนั่นเอง
ภาพประกอบ: Karin Foxx
The post ไขปริศนาโลกแตก จะเลือกรักษาลูกค้าเก่า หรือมุ่งหาแต่ลูกค้าใหม่? appeared first on THE STANDARD.
]]>เวลาเราเปิดตัวสินค้าใหม่ สิ่งสำคัญท […]
The post รวมเทคนิคการตลาดสำหรับการเปิดตัวสินค้าใหม่ ให้คนรู้จักเร็วที่สุด appeared first on THE STANDARD.
]]>เวลาเราเปิดตัวสินค้าใหม่ สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำให้คนรู้จักเรา เรียกชื่อสินค้าเราถูก เข้าใจว่าเราทำอะไรได้ และจดจำเราได้ แต่ท่ามกลางสินค้ามากมายมหาศาลกว่า 60,000 แบรนด์ในตลาด รวมไปถึง ผู้คนอีกมากมายที่ได้รับสื่อโฆษณาเต็มไปหมดในชีวิตประจำวัน เราจะมีวิธีการอย่างไรละ สำหรับการเปิดตัวสินค้าใหม่ให้เป็นที่รู้จัก
เทคนิคหนึ่งที่ผมอยากนำเสนอ คือเทคนิคที่เรียกว่า ‘Crowded Room’ หรือ ‘การแนะนำตัวเองในห้องที่เต็มไปด้วยผู้คน’
ลองนึกภาพห้องที่คนกำลังปาร์ตี้กันสนุกสนานเต็มไปหมดสิครับ มันเต็มไปด้วยผู้คนมากมายที่พูดคุยกัน มีเสียงเพลงดังสร้างบรรยากาศ หลายคนจับกลุ่มพูดคุยกันอย่างออกรส คุณเดินเข้ามาในห้องนี้ ไม่มีใครเข้ามาทักทายคุณแม้แต่คนเดียว
คุณจะทำอย่างไรจึงจะสามารถแนะนำตัวคุณในห้องที่เต็มไปด้วยผู้คน และเต็มไปด้วยสิ่งรบกวนนี้ได้ ?
คุณสามารถที่จะ…
จินตนาการว่าสินค้าของคุณ คือ คนหนึ่งคน ที่ต้องแต่งตัวยังไง บุคลิกหน้าตา และทำไมคนถึงอยากรู้จักคุณก่อนที่จะเข้าไปทำความรู้จักในห้องที่เต็มไปด้วยผู้คนอย่างนี้ ชื่อของคุณคือ Brand Name การแต่งตัวคือ Brand Personality วิธีการพูดและนิสัย คือ Brand Character เรื่องที่คุณเชี่ยวชาญหรือถนัด คือ Reason to Believe และสุดท้ายสิ่งสำคัญที่สุดคือ การสร้างความประทับใจแรกที่คนจะเข้าใจคุณได้ทันที หรือ First Impression ส่วนห้องที่วุ่นวายนั้นเปรียบเสมือน Clutter ของสื่อโฆษณาต่างๆ ที่พยายามดึงความสนใจ หรือพูดคุยกับคนอยู่
ซึ่งเทคนิคแต่ละเทคนิค ถ้าจะให้อธิบายเปรียบเทียบกับการออกสินค้าแล้ว จะเปรียบได้ดังนี้
1. เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ทำตัวเด่นเป็นจุดสนใจ: หากเรามีงบประมาณมากๆ นี่คือ การทุ่มงบการตลาดมหาศาลทำแคมเปญโฆษณา หาพรีเซนเตอร์ หรือ จัดอีเวนต์ใหญ่โต หรือแต่งตัวให้เด่นที่สุดในงาน (การทำ Product Differentiation) เดินเข้างานมีแสงสปอตไลต์ เพื่อเปิดตัวคุณเข้ามาในห้องทำให้ทุกคนต้องหันมาสนใจคุณ ซึ่งเทคนิคนี้ได้ผลในการสร้างความสนใจแน่นอน แต่คนอยากจะรู้จักคุณต่อหรือไม่ ที่เหลือคือตัวของคุณเอง เทคนิคนี้คือการทำ Brand Activation หรือการปล่อยแคมเปญการตลาดที่ใช้เครื่องมือการตลาดครบทุกเครื่องมือนั่นเอง
2. ตะโกนเรียกร้องความสนใจ: วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันเยอะสุด และก็เวิร์กน้อยที่สุด เพราะคนจะหันมามองคุณด้วยความสงสัย และจะหันกลับไปด้วยความรำคาญ วิธีนี้เปรียบเสมือนการทุ่มเงินโฆษณา เพื่อแนะนำตัวเองว่าเราเป็นใคร โดยที่ไม่ได้ใส่ใจบริบทของคนในห้องที่กำลังพูดคุยกันอยู่ และคุณก็จะถูกกลืนหายไปในที่สุด เทคนิคนี้คือ Traditional Advertising หรือการโฆษณาด้วยสื่อประเภทกระจายภาพหรือเสียงนั่นเอง
3. ขัดจังหวะด้วยการร่วมวงสนทนา (อย่างสุภาพ): เป็นหลักการร่วมบทสนทนาของผู้คนเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่พูดคุยกันอยู่ อย่างถูกจังหวะ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ ทำให้คนที่พูดคุยกันอยู่ในวงสนทนา เหล่านี้คือ Content Marketing หรือ Newsjacking (การโหนกระแสอย่างมีชั้นเชิง) นั่นเอง ที่สำคัญเวลาที่คุณร่วมวงสนทนา สิ่งที่คุณพูดต้องเป็นประโยชน์ในวงสนทนาแล้วคนในวงนั้นจะถามคุณเองว่าคุณชื่ออะไร เป็นใคร และจะอยากรู้จักคุณมากขึ้น ถ้าคุณเข้าไปมัวแต่ขายเรื่องตัวเอง เค้าก็จะค่อยๆ ถอยห่างจากคุณ
4. หามุมที่เงียบกว่า หรือ จังหวะที่ห้องเงียบ: คือการหาสิ่งแวดล้อม สื่อ หรือ ที่ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีความวุ่นวายสับสนอลหม่านของโฆษณา หรือ ไม่มีบทสนทนามากนัก ซึ่งความเงียบทำให้คนมีสมาธิฟังเรามากที่สุด แต่สิ่งสำคัญคือเรื่องที่พูดต้องเกี่ยวข้อง และเข้าหูคนฟังด้วย! เทคนิคนี้คือการหา New Media หรือพื้นที่สื่อใหม่ๆ นั่นเอง
5. กระซิบข้างหู พูดคุยเป็นรายคน: ในบางครั้งสิ่งที่ได้ผลมากที่สุดไม่ใช่การพยายามตะโกนให้ดังที่สุด แต่กระซิบให้เบาแต่ถูกคนที่สุด ในกรณีนี้คือการทำ Personalization หรือ Direct Marketing (การตลาดทางตรงโดยใช้เครื่องมือที่ติดต่อไปยังลูกค้าคนต่อคน) นั่นเอง การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่น่าจะใช่ และพูดคุยกับเขาอย่างใกล้ชิดในสิ่งที่เขาสนใจ
6. สัมผัส: การสัมผัส (Touch) คือการทำความรู้จักผ่านการถ่ายทอดทางประสบการณ์ด้านอารมณ์ที่คำพูดทดแทนไม่ได้ ในบางครั้งมันถึงมีศาสตร์ในการอ่านคนเวลา Shake Hand จับมือแนะนำตัวเลยทีเดียว สำหรับวิธีนี้คือการสร้าง ‘Live Experience’ หรือสร้างประสบการณ์ร่วมที่จับต้องได้ไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ให้กับคนกลุ่มเล็กๆ ก่อน ให้เค้ารู้สึกได้ถึงเราก่อนที่จะค่อยๆ พูดคุยกับคนถัดๆ ไป ซึ่งการทำ Live Experience มักจะเกี่ยวข้องกับการทำอีเวนต์เปิดตัวแบบพิเศษ การเดินสายโรดโชว์ โดยมีสินค้าหรือบริการให้ลองใช้จริงโดยเน้นไปที่ ‘อารมณ์’ มากกว่าขายของ
7. ให้คนอื่นแนะนำคุณให้: คือการใช้ Brand Ambassador/Presenter หรือ Public Relations (ประชาสัมพันธ์) นั่นเอง แน่นอน การให้คนอื่นที่คนในห้องให้ความสนใจฟัง หรือพิธีกรในงานเลี้ยงแนะนำตัวคุณให้ก็เป็นวิธีที่ดีในการให้คนในห้องรู้จักคุณ! และที่สำคัญคนที่แนะนำคุณก็ควรเป็นคนที่ได้รับการยอมรับ หรือมีคนฟัง ไม่เช่นนั้นคุณเองก็จะไม่มีคนฟังด้วยเช่นกัน
8. หากลุ่มที่ใกล้เคียงกับคุณ แล้วเข้าไปพูดคุย: มนุษย์เราจะรู้สึกสบายใจเวลาที่เจอกลุ่มคนที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน และน่าจะเข้ากันได้ เช่น ถ้าเราเป็นผู้ชายที่เดินเข้าไปในห้องที่ไม่รู้จักใคร เราย่อมมองหากลุ่มผู้ชายที่ดูน่าจะเฟรนด์ลีคุยง่าย แล้วเข้าไปทำความรู้จักก่อน เช่นเดียวกันครับ ถ้าเราสามารถกำหนดแบรนด์ตัวเองได้ชัดและรู้ว่าใครที่น่าจะเข้ากับเราได้ การมองหากลุ่มที่ใกล้เคียงกับคุณ (Segment) แล้วเข้าไปพูดคุยก็มีโอกาสที่จะทำความรู้จักและสนิทพอที่จะให้คนกลุ่มนี้แนะนำคุณต่อไปเรื่อยๆ ก็ได้
ทั้งหมดนี้คือเทคนิคที่ให้คุณลองคิดและหยิบไปเลือกใช้สำหรับการเปิดตัวสินค้าใหม่ของคุณในครั้งหน้านะครับ ที่สำคัญคือ คุณต้องสร้างแบรนด์และหาข้อดีที่ทำให้กลุ่มคนอยากรู้จักคุณให้มากขึ้นด้วยครับ
ภาพประกอบ: Pichamon Wannasan
The post รวมเทคนิคการตลาดสำหรับการเปิดตัวสินค้าใหม่ ให้คนรู้จักเร็วที่สุด appeared first on THE STANDARD.
]]>ฟุตบอลทีมชาติไทยสามารถป้องกันแชมป์ถ […]
The post การตลาดออนไลน์ดึงแฟนบอลเข้าสนาม! กรณีศึกษาที่แบรนด์ควรเรียนรู้จากสโมสรฟุตบอลระดับโลก appeared first on THE STANDARD.
]]>ฟุตบอลทีมชาติไทยสามารถป้องกันแชมป์ถ้วยพระราชทานคิงส์คัพไว้ได้สำเร็จ โดยเป็นการคว้าแชมป์สมัยที่ 15 จากการแข่งขันทั้งหมด 45 ครั้ง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จต่อเนื่องจากการที่ทีมชาติไทยเอาชนะเกาหลีเหนือได้ในรอบรองฯ ไปถึง 3-0 และเสมอกับยูเออี ในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย รอบ 12 ทีมสุดท้ายไป 1-1
ฟุตบอลทีมชาติกำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์ประกอบต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างทีมชาติไทยให้แข็งแกร่ง โดยหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่สุดคือ ฟุตบอลไทยลีก ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะนักกีฬาหน้าใหม่ให้กับทีมชาติ
แต่จากการรายงานของ ผู้จัดการรายวัน 360 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม เปิดเผยว่า ตัวเลขของผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกลดลงอย่างน่าใจหาย หลังจากที่การแข่งขันไทยลีกฤดูกาลนี้ ทั้งฟุตบอลลีกและฟุตบอลถ้วย มีตารางแข่งขันกลางสัปดาห์ หรือวันทำงานค่อนข้างเยอะ รวมถึงมีการขึ้นราคาตั๋วเข้าชมการแข่งขันสูงขึ้น ส่งผลให้คนเข้าสนามน้อยลง
โดยตัวเลขที่เห็นได้ชัดคือ สโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ที่เคยทำสถิติผู้ชมเฉลี่ยในสนาม 17,956 คน และเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีแฟนบอลที่เหนียวแน่น เข้าชมการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ก็ประสบปัญหาว่ามีแฟนสนามเพียง 4,000 กว่าคนเท่านั้น ซึ่งปัญหานี้ สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, ชลบุรี เอฟซี และแบงค็อก ยูไนเต็ด ต่างก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน
ซึ่งสโมสรฟุตบอลต่างก็ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดทั้งการจัดโปรโมชันเพื่อดึงดูดแฟนบอลให้เข้าสนาม การจัดกิจกรรมหน้าสนาม และการนำรถฟู้ดทรักมาวางเพื่อหวังดึงคนมาร่วมกิจกรรมต่างๆ หน้าสนามแข่งขัน และเดินทางเข้าไปชมการแข่งขันต่อ
จากปัญหาที่เกิดขึ้น THE STANDARD จึงได้สัมภาษณ์ คุณเบนจามิน ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายคลับไลเซนซิงสมาคมฯ และรองประธานฝ่ายบริหาร บริษัท ไทยลีก จำกัด ถึง 3 ปัจจัยสำคัญในการดึงดูดแฟนบอลเข้ามาชมการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์
โดยคุณเบนจามินเปิดเผยว่า จุดสำคัญที่สุดคือ ผลงานในสนามของทีมเนื่องจากหากทีมประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในสนามก็จะมีแฟนบอลเดินทางเข้าชมการแข่งขัน
การสร้างสถานที่ให้แฟนบอลรู้สึกอบอุ่น คือการลงทุนสร้างสนามแข่งขันที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะที่นั่งของแฟนบอล รวมถึงห้องวีไอพีหรือห้องพิเศษต่างๆ สำหรับแฟนบอลและครอบครัว รวมถึงจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยให้แฟนบอลได้ร่วมสนุกมากกว่าการชมการแข่งขันเพียงแค่ 90 นาทีเพียงอย่างเดียว
แต่สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ การเชื่อมต่อกับแฟนบอลด้วยเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย ซึ่ง THE STANDARD มองว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สโมสรสามารถเริ่มต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาล
โดย Rippleffect ดิจิทัลพาร์ตเนอร์ของสโมสรฟุตบอลในประเทศอังกฤษ ซึ่งร่วมงานกับวงการฟุตบอลมายาวนานกว่า 15 ปี และร่วมงานกับสโมสรอาร์เซนอล, ลิเวอร์พูล, เอฟเวอร์ตัน และแอสตัน วิลลา ได้เปิดเผยบทสรุปการปรึกษาแฟนบอลจาก 4 สโมสรได้เป็นบทสรุปสั้นๆ สำหรับการตลาดออนไลน์ที่มุ่งสำหรับแฟนบอลโดยตรง
แฟนบอลต้องการความเคลื่อนไหวเบื้องหลังของสโมสร
โดยบทสรุปจากการพูดคุยกับโฟกัสกรุ๊ปซึ่งเป็นแฟนบอล สิ่งที่แฟนๆต้องการคือเบื้องหลังการทำงานของสโมสรมากที่สุดเท่าที่จะหาได้ โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นในสโมสรแต่ละวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถหาได้จากแหล่งข่าวอื่นๆ
ยกตัวอย่างเช่น การเตรียมพร้อมของทีมในแต่ละวันสำหรับการแข่งขัน ถึงแม้ว่าสโมสรต้องการเก็บการฝึกซ้อมเป็นความลับ แต่การเปิดเผยบางส่วนของการฝึกซ้อมก็ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับแฟนบอล ให้พวกเขารู้สึกว่าได้เข้าใกล้สโมสรมากขึ้น
ที่สำคัญคือการแสดงให้เห็นว่าสโมสรให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นๆ ไม่ใช่เฉพาะแต่การแข่งขันเพียง 90 นาทีในสนาม นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้สโมสรดึงแฟนบอลเข้ามาชมคอนเทนต์ต่างๆ ในช่องทางหลักของสโมสรอีกด้วย
โดยตัวอย่างที่ดีที่สุดคือการโพสต์วิดีโอเวลานักฟุตบอลเดินทางถึงสนามเพื่อช่วยสร้างความตื่นเต้นเกี่ยวกับแมตช์การแข่งขันนั้นๆ เพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายตั๋วเข้าชมการแข่งขัน
สโมสรลิเวอร์พูลทำวิดีโอเบื้องหลังก่อนการลงสนามอุ่นเครื่องเกมแรกของโมฮาเหม็ด ซาลาห์ นักเตะใหม่ของทีม
แฟนบอลต้องการข่าวสารของสโมสรเอง
ในช่วงตลาดซื้อขายนักเตะ บางครั้งแฟนบอลไม่พอใจที่ได้รับข่าวการคว้านักเตะใหม่จากสำนักข่าวใหญ่ ก่อนที่สโมสรจะประกาศตามมาทีหลัง แต่สโมสรก็มีข้อจำกัด เนื่องจากพวกเขาต้องบริหารเวลาในการแถลงข่าวคว้าตัวนักเตะอย่างเป็นทางการ เนื่องจากการแถลงข่าวซึ่งยังไม่เป็นทางการบางครั้งอาจนำไปสู่การเจรจาซื้อตัวนักเตะที่ยากกว่าเดิม
แต่สิ่งที่สโมสรสามารถทำได้มากกว่าสำนักข่าวทั่วไปคือ การสร้างคอนเทนต์จากตัวนักเตะขึ้นมาเอง เนื่องจากสโมสรเป็นเจ้าของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งสามารถนำเสนอในเชิงลึกได้มากกว่าสำนักข่าว ซึ่งการสร้างข่าวสารให้กับนักเตะเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวในขณะที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจ เป็นโอกาสในการสร้างฐานแฟนบอลผู้ติดตามในโลกโซเชียลมีเดียอีกด้วย
…
#ASRoma pic.twitter.com/mjgBrwduHV
— AS Roma (@OfficialASRoma) June 30, 2017
สโมสรโรมา ใช้วีธีการเปิดตัวลอเรนโซ เปเยกรินี นักเตะใหม่ได้อย่างน่าสนใจผ่านทางทวิตเตอร์
แฟนบอลต้องการข่าวสารข้อมูลทุกที่ทุกเวลา
เว็บไซต์สโมสรถือว่าเป็นฐานหลักในการสร้างคอนเทนต์ข่าวสารให้กับแฟนบอล แต่ในวันนี้ที่พฤติกรรมของคนกำลังให้ความสนใจกับโลกโซเชียลมีเดียสโมสรฟุตบอลจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย
โดยสโมสรจำเป็นต้องปล่อยตัวอย่างของคอนเทนต์ที่สามารถดึงดูดให้แฟนบอลเข้าสู่เว็บไซต์ของสโมสร แต่แฟนบอลก็ยืนยันว่า พวกเขาต้องการได้รับข่าวสารของสโมสรจากทุกช่องทางเพื่อไม่ให้พลาดในการติดตามความเคลื่อนไหวของสโมสรที่พวกเขาชื่นชอบ
สโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ใช้เฟซบุ๊กในการสื่อสารกับแฟนบอลพร้อมกับเชิญชวนให้กลับไปติดตามความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมในเว็บไซต์ทางการของสโมสร
แฟนบอลต้องมีส่วนร่วมกับสโมสรไม่ว่าพวกเขาอยู่ที่ไหนก็ตาม
ไม่ใช่แฟนบอลทุกคนที่สามารถเดินทางเข้าสู่สนาม แฟนบอลบางครั้งมาจากจังหวัดอื่น หรือบางคนอยู่อีกมุมหนึ่งของโลก ฉะนั้นสโมสรจำเป็นต้องสร้างตัวเชื่อมระหว่างสโมสรกับแฟนบอลเหล่านั้นให้รู้สึกว่าเชื่อมต่อกับสโมสรอย่างใกล้ชิดผ่านโลกออนไลน์ ในวันที่ลงแข่งขัน ตั้งแต่จุดที่นักเตะพบกันก่อนเดินทางไปสนาม จนถึงจังหวะที่กรรมการเป่านกหวีดหมดเวลา โดยสโมสรสามารถเลือกใช้วิดีโอ, ภาพนิ่ง, ข้อความ และสถิติ เพื่อเข้าถึงและเชื่อมต่อกับแฟนบอล
จุดนี้ดูเหมือนจะไม่สามารถดึงดูดแฟนให้เข้าสนามได้ แต่แท้จริงแล้วการสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อกับสโมสรที่พวกเขาชื่นชอบ สามารถทำให้แฟนบอลรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสโมสรไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดของโลก และจะทำให้พวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าของสโมสร หรือตั๋วเข้าชมการแข่งขันได้ง่ายขึ้นในอนาคต
สโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ภาพของกองเชียร์ที่แชร์ภาพในโลกออนไลน์
ซึ่งติดแฮชแท็ก #UnitedInRed ของสโมสร สร้างความมีส่วนร่วมกับทีม
หนึ่งในข้อความสำคัญที่ Rippleffect ได้รับจากแฟนบอลคือ แฟนบอลไม่ต้องการรู้สึกว่าพวกเขาเป็นเพียงแค่ลูกค้าคนหนึ่ง โดยหนึ่งในแฟนบอลเป็นคนที่ใช้เว็บไซต์อยู่เป็นประจำและเข้าใจระบบ personalisation หรือการทำการตลาดทางออนไลน์หรือดิจิทัล ที่นำเสนอสินค้าและบริการให้ตรงกับใจผู้บริโภค โดยไม่จำเป็นต้องเสนอสินค้าชนิดเดียวกันหรือแบบเดียวกันหมดให้กับทุกคน แต่มุ่งเจาะจงไปที่ความต้องการของแต่ละคนหรือกลุ่มของผู้บริโภค นั่นก็คือแฟนบอลนั่นเอง
การเลือกทำการตลาดแบบ personalisation จะช่วยให้สโมสรสร้างโปรไฟล์ใหักับสโมสรในความคิดของแฟนบอลแต่ละคน รวมถึงจะสร้างข้อมูลที่ถูกคัดสรรมาเพื่อให้แฟนบอลได้รับประสบการณ์ที่พิเศษกว่าคนอื่น
ทางการตลาด สโมสรสามารถเสนอตั๋วเข้าชมการแข่งขันแบบรายเดือน หรือรายปีให้กับแฟนบอลที่มีประวัติเข้าชมการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้ซื้อตั๋วเข้าชมแบบรายปี หรือโปรโมตชุดเยือนของสโมสรให้กับแฟนบอลที่มีชุดเหย้าของทีมแล้ว
นอกจากนี้สโมสรยังสามารถคัดสรรบทความหรือคอนเทนต์เฉพาะให้กับแฟนบอลบางคนที่ดูแล้วน่าจะชื่นชอบ และสร้างเอ็นเกจเมนต์ต่อจากนั้น
สำหรับนักกีฬาแล้วคงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าเดินเข้าสนามแล้วได้เห็นแฟนบอลเข้ามาร่วมให้กำลังใจพวกเขาอย่างเต็มความจุสนาม ซึ่งถึงแม้ว่าวันนี้การเดินทางเข้าสนามอาจจะประสบปัญหาจากการเดินทางไกลหรือผลกระทบจากการจราจรในวันธรรมดา แต่หากอยากเห็นวงการฟุตบอลไทยพัฒนาไปข้างหน้า การมีส่วนร่วมของแฟนบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกในวันนี้ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยในการให้กำลังใจทั้งนักเตะ ทีมงาน โค้ชผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยกันยกระดับฟุตบอลไทยอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นคนที่ยังไม่เคยเดินทางเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล ถ้าเป็นไปได้ลองเดินทางไปเชียร์ฟุตบอลที่สนาม เราเชื่อว่าคุณอาจจะได้พบกับประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากสิ่งอื่นอีกแล้ว
ขณะเดียวกันสโมสรก็จำเป็นต้องสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยและสนุกสนานให้กับกองเชียร์ ซึ่งสโมสรส่วนใหญ่มีมาตรการณ์รักษาความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยมแล้ว แต่ก็เหมือนการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ทุกอย่างอาจต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อความสำเร็จทั้งในและนอกสนาม เนื่องจากการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือการไม่หยุดพัฒนา
อ้างอิง:
The post การตลาดออนไลน์ดึงแฟนบอลเข้าสนาม! กรณีศึกษาที่แบรนด์ควรเรียนรู้จากสโมสรฟุตบอลระดับโลก appeared first on THE STANDARD.
]]>