SMS – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 19 Nov 2024 01:33:10 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘DE-fence platform’ ช่วยคัดกรองสายโทรเข้า – SMS มิจฉาชีพ คาดพร้อมใช้งานจริงต้นปี 2568 https://thestandard.co/de-fence-platform/ Tue, 19 Nov 2024 01:32:46 +0000 https://thestandard.co/?p=1010161 DE-fence platform

วันนี้ (19 พฤศจิกายน) ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำ […]

The post ‘DE-fence platform’ ช่วยคัดกรองสายโทรเข้า – SMS มิจฉาชีพ คาดพร้อมใช้งานจริงต้นปี 2568 appeared first on THE STANDARD.

]]>
DE-fence platform

วันนี้ (19 พฤศจิกายน) ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน โดยบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม เร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี ผ่านโครงการ ‘DE-fence platform’

 

แพลตฟอร์มกันลวง ป้องกันการโทรหลอกลวง และ SMS หลอกลวง ช่วยคัดกรองสายโทรเข้าและข้อความสั้น รวมถึงช่วยยืนยันเบอร์จากหน่วยงานสำคัญ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จะเร่งพัฒนาให้พร้อมใช้ในต้นปี 2568

 

ศศิกานต์กล่าวว่า มาตรการนี้เป็นการป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ใช้การโทรและการส่ง SMS หลอกลวงประชาชน ควบคู่กับมาตรการลงทะเบียนผู้ให้บริการส่ง SMS ใหม่ทั้งระบบภายในปี 2567 ซึ่งต้องมีการลงทะเบียนทุกๆ ปี เพื่อให้สามารถระบุว่าผู้ให้บริการและผู้ส่ง SMS คือใคร รวมทั้งการลงทะเบียนการส่ง SMS แนบลิงก์ จะต้องระบุรายละเอียดของข้อความและลิงก์ เพื่อให้ผู้ให้บริการเครือข่ายตรวจสอบลิงก์ก่อนที่จะส่ง SMS ไปยังผู้ใช้บริการ

 

DE-fence platform สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการโทรคมนาคม เพื่อให้ได้ข้อมูลเลขหมายที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด รวมถึงเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ ตร., สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.), ศูนย์ AOC 1441 และดีอี เพื่อใช้ในการเตือนประชาชนให้ทราบข้อมูลของผู้โทรเข้าว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ ความเสี่ยงของเบอร์โทรอยู่ระดับใด ก่อนรับสายหรืออ่านข้อความ SMS รวมถึงสามารถตรวจหาความผิดปกติของลิงก์ที่แนบมากับ SMS ได้ นอกจากนี้ยังมีระบบแจ้งความออนไลน์ และแจ้งอายัดบัญชีคนร้ายผ่าน AOC 1441 พร้อมระบบการยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน เพื่อส่งข้อมูลให้กับตำรวจอีกด้วย

 

DE-fence platform ใช้หลักการในการแบ่งสายโทรเข้า รวมถึง SMS ที่ได้รับ เป็น 3 กลุ่มสี คือ

 

  1. Blacklist ซึ่งเป็นหมายเลขการติดต่อจากคนร้ายที่ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และแนะนำให้ผู้ใช้บริการเลือก Block หรือปิดกั้นแบบอัตโนมัติ
  2. Greylist เป็นการติดต่อจากหมายเลขที่ต้องสงสัย ซึ่งติดต่อจากต่างประเทศหรือติดต่อจากอินเทอร์เน็ต โดยระบบจะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้บริการได้รู้ถึงระดับความเสี่ยงของสายโทรเข้า หรือ SMS ดังกล่าว
  3. Whitelist เป็นหมายเลขที่ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าเป็นหมายเลขของหน่วยงานรัฐ หรือหมายเลขหน่วยงานที่ลงทะเบียนถูกต้อง รวมถึงเป็นหมายเลขที่ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มยืนยันว่าเป็นหมายเลขที่ต้องการรับสายหรือยินยอมรับข้อความ

 

ศศิกานต์กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนา DE-fence platform ระยะแรกจะเน้นที่เบอร์โทรและ SMS ก่อน โดยเฉพาะ Whitelist ที่เป็นของหน่วยงานรัฐที่คนร้ายชอบใช้ และในระยะต่อไปจะขยาย Whitelist ให้ครอบคลุมมากขึ้น พร้อมทั้งขยายการป้องกันและแจ้งเตือนสำหรับการติดต่อทางโซเชียลมีเดีย ถือเป็นมาตรการเชิงรุกของรัฐบาลที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ กวาดล้างอาชญากรรมทางเทคโนโลยีให้เห็นผล

 

The post ‘DE-fence platform’ ช่วยคัดกรองสายโทรเข้า – SMS มิจฉาชีพ คาดพร้อมใช้งานจริงต้นปี 2568 appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนไทยถูกหลอก SMS สูงสุดในเอเชีย! Whoscall พัฒนาแอปป้องกันวันละ 2 แสนราย | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-09042024-3/ Thu, 09 May 2024 06:19:20 +0000 https://thestandard.co/?p=931437

คนไทยถูกหลอก SMS สูงสุดในเอเชีย! Whoscall พัฒนาแอปช่วยป […]

The post คนไทยถูกหลอก SMS สูงสุดในเอเชีย! Whoscall พัฒนาแอปป้องกันวันละ 2 แสนราย | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
  • คนไทยถูกหลอก SMS สูงสุดในเอเชีย! Whoscall พัฒนาแอปช่วยป้องกันคนไทยที่โดนหลอกวันละ 2 แสนราย ติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 . ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post คนไทยถูกหลอก SMS สูงสุดในเอเชีย! Whoscall พัฒนาแอปป้องกันวันละ 2 แสนราย | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนไทยถูกหลอก SMS สูงสุดในเอเชีย! Whoscall พัฒนาแอปช่วยคนไทยที่โดนหลอกวันละ 2 แสนราย https://thestandard.co/whoscall-2-hundred-thousand-thai-people-sms-scam-daily/ Wed, 08 May 2024 10:31:15 +0000 https://thestandard.co/?p=931252 Whoscall

เรียกได้ว่าในปัจจุบันปัญหาการโดนหลอกที่ใกล้ตัวกับคนไทยม […]

The post คนไทยถูกหลอก SMS สูงสุดในเอเชีย! Whoscall พัฒนาแอปช่วยคนไทยที่โดนหลอกวันละ 2 แสนราย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Whoscall

เรียกได้ว่าในปัจจุบันปัญหาการโดนหลอกที่ใกล้ตัวกับคนไทยมากที่สุดก็คือการหลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นประเด็นที่สร้างความรำคาญ ความกังวล และซ้ำร้ายที่สุดก็คือความเสียหายให้กับใครหลายคน

 

สำหรับปี 2566 คนไทยได้รับข้อความ SMS ที่เป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวงเฉลี่ย 6 ใน 10 ของข้อความ SMS ทั้งหมดที่ได้รับ โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับ SMS หลอกลวงสูงมากที่สุดเป็นอันดับแรกในเอเชียอีกด้วย

 

ข้อมูลผลสำรวจของ Whoscall ยังเผยเพิ่มเติมว่า คนไทยที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมีถึงวันละ 217,047 ราย โดยมีสายที่ได้รับจากมิจฉาชีพถึง 20.8 ล้านครั้ง และถูกมิจฉาชีพหลอกจาก SMS มากกว่า 58.3 ล้านข้อความ ซึ่งเป็นจำนวนยอดที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2565 ถึงร้อยละ 22 และร้อยละ 17 ตามลำดับ ด้วยมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 53,875 ล้านบาท

 

การส่งข้อความ SMS ยังคงเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพนิยมใช้หลอกคนไทย โดยมักจะแอบอ้างบริษัทขนส่งหรือหน่วยงานรัฐ และใช้คีย์เวิร์ดสำคัญๆ เช่น แจกฟรี, ฟรี 500, พัสดุของท่านเสียหาย, เคลมค่าเสียหายติดต่อ และยูสใหม่

 

จากปัญหาดังกล่าว บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) และผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall สำหรับใช้ระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปมที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน จึงได้เปิดตัวแคมเปญ ‘จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย (SAVE FRIENDS FROM FRAUD)’ ในประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกง รวมทั้งมีเครื่องมือที่จะปกป้องตัวเองจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการถูกหลอกโดยมิจฉาชีพผ่านช่องทางโทรศัพท์และข้อความ SMS ที่แอบแฝงด้วยลิงก์ปลอม

 

“นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่เราต้องให้ความสนใจก็คือกลเม็ดในการหลอกลวงที่ล้ำหน้ามากขึ้นท่ามกลางเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว” ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

 

และเสริมว่า “วันนี้เรามาถึงยุค 5.0 ของกลลวงมิจฉาชีพแล้ว ซึ่งเป็นยุคที่มิจฉาชีพใช้ AI เพื่อปลอมหรือแอบอ้างตัวตนของบุคคลที่เรารู้จัก พร้อมทั้งนำข้อมูลส่วนตัวมาหลอกให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น ทำให้เหยื่อถูกหลอกได้ง่ายขึ้น” ฉะนั้นทาง Whoscall จึงเห็นความสำคัญในการติดเกราะป้องกันตัวของประชาชนด้วยการรู้ให้เท่าทันกลโกงและติดเครื่องมือในการป้องกันตัวเอง

 

Whoscall

อ้างอิง: Whoscall

 

พ.ต.อ. ก้องกฤษฎา กิตติถิระพงษ์ รองผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. กล่าวว่า “อาชญากรรมทางเทคโนโลยีกำลังกลายเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้นในทุกวัน โดยข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่ามีการแจ้งความถึง 1,000 กว่าเคส ซึ่งมียอดมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ราว 70-80 ล้านบาทต่อวัน ทั้งซื้อของออนไลน์ หลอกให้รัก หลอกเอาเงินบำนาญจากกลุ่มผู้เกษียณอายุ ซึ่งส่วนมากก็มีต้นตอมาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ทำงานกันในหลายประเทศ ด้วยวิธีการเข้าถึงเหยื่อผ่านการล้วงข้อมูลจากเบอร์โทรศัพท์”

 

ดังนั้นสำหรับในปี 2567 Whoscall มีแผนที่จะช่วยลดความสูญเสียทางทรัพย์สินจำนวน 28,000 ล้านบาทจากมิจฉาชีพ และรณรงค์ให้มีส่วนร่วมในการต่อต้านการกระทำแบบนี้ด้วยการแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ ตัดสาย และไม่กดลิงก์จาก SMS พร้อมทั้งให้ความรู้กับคนไทยเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน Whoscall ซึ่งเป็นแอปกันมิจฉาชีพที่ทุกคนเข้าถึงได้

“การติดต่อสื่อสารบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่ให้ความสะดวกกับผู้ใช้งานก็จริง แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งมันอาจมีความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ ดังนั้นก่อนจะมีปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ เราต้องตระหนักรู้อยู่ตลอดว่าความสัมพันธ์ที่มีเรื่องของ ‘เงิน’ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นขอยืมเงิน ชวนลงทุน ขอให้โอนเงินช่วยเหลือ ล้วนแล้วแต่เป็นหัวข้อที่ทุกคนต้องฉุกคิดและตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าคนที่เรากำลังสนทนาด้วยนั้นคือบุคคลที่มีธุระกับเราหรือเป็นตัวจริงที่เราควรพูดคุยด้วยหรือไม่” ร.ต.อ.หญิง พิชญากร สุขทวี กล่าวทิ้งท้าย

The post คนไทยถูกหลอก SMS สูงสุดในเอเชีย! Whoscall พัฒนาแอปช่วยคนไทยที่โดนหลอกวันละ 2 แสนราย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตำรวจไซเบอร์​จับชายฮ่องกง แฝงตัวเป็นนักท่องเที่ยวแบกเครื่องส่ง SMS ปลอมส่งเข้ามือถือหลอกดูดเงินประชาชน https://thestandard.co/cyber-police-arrest-hong-kong-hacker/ Tue, 09 Apr 2024 12:31:51 +0000 https://thestandard.co/?p=921244 ตำรวจไซเบอร์

วันนี้ (9 เมษายน) ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกร […]

The post ตำรวจไซเบอร์​จับชายฮ่องกง แฝงตัวเป็นนักท่องเที่ยวแบกเครื่องส่ง SMS ปลอมส่งเข้ามือถือหลอกดูดเงินประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตำรวจไซเบอร์

วันนี้ (9 เมษายน) ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย พล.ต.ท. วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.), วิสิฐศักดิ์ เจริญไชย ผู้จัดการส่วนงานองค์กรสัมพันธ์ AIS และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวจับกุม ไท ลอย และ มัน ลุก ลี สัญชาติฮ่องกง   

 

พร้อมด้วยของกลางคือ เครื่องจำลองสถานี (False Base Station) แบบพกพา หรือเครื่องสติงเรย์ จำนวน 1 เครื่อง และโทรศัพท์มือถือ 4 เครื่อง จับกุมได้ที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าย่านปทุมวัน

 

พล.ต.ท. วรวัฒน์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้รับการประสานงานจากทาง AIS Monitor ว่ามีคนร้ายส่งข้อความไปยังผู้ใช้บริการของเครือข่าย ระบุว่าคะแนนของบัญชีกำลังจะหมดอายุ ให้กดลิงก์ที่แนบมาเพื่อเข้าไปแลกสินค้าหรือของสมนาคุณ จากนั้นคนร้ายจะหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและบัตรเครดิต 

 

ซึ่งหากผู้เสียหายหลงเชื่อก็จะกดลิงก์เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ที่คนร้ายสร้างขึ้นมาและกรอกข้อมูลเข้าไป คนร้ายก็จะดูดเงินออกไปจนเกลี้ยงบัญชี นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังพบข้อความในลักษณะต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก 

 

พล.ต.ท. วรวัฒน์ ระบุว่า หลังรับแจ้งชุดสืบสวนทำการตรวจสอบและถอดแผนพฤติกรรม กระทั่งพบว่าคนร้ายได้มีการใช้เครื่องสติงเรย์ในการส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยส่งข้อความแนบลิงก์ปลอม 

 

ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบความเคลื่อนไหวที่บริเวณห้างสรรพสินค้าย่านปทุมวัน จึงได้นำกำลังไปตรวจสอบ เมื่อไปถึงได้พบผู้ต้องหาทั้งสองคนในลักษณะต้องสงสัยมีการสะพายกระเป๋าเดินวนไปมา เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวขอทำการตรวจสอบ ได้พบเครื่องสติงเรย์จำนวน 1 เครื่อง ผลิตจากประเทศมาเลเซีย ก่อนนำตัวไปตรวจค้นที่ห้องพักในโรงแรมแห่งหนึ่งย่านบางรัก พบแบตเตอรี่สำรอง 1 เครื่อง จึงทำการตรวจยึดไว้ 

 

จากการจับกุมในครั้งนี้พบว่า คนร้ายมีการพัฒนาแผนประทุษกรรม โดยนำเครื่องสติงเรย์เชื่อมต่อมือถือแทนคอมพิวเตอร์ตระเวนไปตามเป้าหมายหลัก เช่น ย่านชุมชน ตลาด หรือห้างสรรพสินค้า เนื่องจากกลุ่มคนที่จับจ่ายซื้อของมักจะใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและยากต่อการติดตาม 

 

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาร่วมกันทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามมาตรา 6 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498

 

ร่วมกันตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตตามมาตรา 11 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498

 

ร่วมกันใช้คลื่นความถี่ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต อันมีลักษณะที่เป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ตามมาตรา 67 (3) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม

The post ตำรวจไซเบอร์​จับชายฮ่องกง แฝงตัวเป็นนักท่องเที่ยวแบกเครื่องส่ง SMS ปลอมส่งเข้ามือถือหลอกดูดเงินประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไม่ต้องเสียเงินส่ง SMS แล้ว! Apple ตัดสินใจยอมรับมาตรฐาน RCS ที่จะทำให้ iPhone สามารถส่งข้อความผ่าน iMessage ไปยังผู้ใช้ Android ได้แล้ว https://thestandard.co/apple-rcs-imessage-android/ Fri, 17 Nov 2023 03:36:27 +0000 https://thestandard.co/?p=866613

Apple ประกาศการเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามองในการตัดสินใจใช […]

The post ไม่ต้องเสียเงินส่ง SMS แล้ว! Apple ตัดสินใจยอมรับมาตรฐาน RCS ที่จะทำให้ iPhone สามารถส่งข้อความผ่าน iMessage ไปยังผู้ใช้ Android ได้แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>

Apple ประกาศการเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามองในการตัดสินใจใช้มาตรฐาน RCS (Rich Communication Services) เพื่อปรับปรุงการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ iPhone และ Android การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นผ่านการอัปเดตซอฟต์แวร์ในปีหน้า และจะนำคุณสมบัติแบบ iMessage มาสู่การส่งข้อความข้ามแพลตฟอร์ม

 

การตัดสินใจนี้เกิดจากแรงกดดันจากผู้กำกับดูแลและคู่แข่ง เช่น Google และ Samsung และตามมาด้วยการพัฒนาของ RCS ที่ก้าวหน้าขึ้น

 

RCS จะนำคุณสมบัติแบบ iMessage มาสู่การส่งข้อความข้ามแพลตฟอร์มระหว่าง iPhone และ Android ซึ่งรวมถึงการแสดงผลว่าขึ้นว่าอ่านแล้ว ตัวบ่งชี้ว่ากำลังพิมพ์ การส่งภาพและวิดีโอคุณภาพสูง ฯลฯ

 

การใช้งาน RCS ของ Apple ยังจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถแชร์ตำแหน่งที่ตั้งของตนได้ในข้อความ และสามารถใช้งานได้ทั้งผ่านมือถือหรือ WiFi

 

อย่างไรก็ตาม iMessage ยังคงอยู่ โดยเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ iPhone เท่านั้น ในขณะที่ RCS จะใช้แทน SMS และ MMS และจะทำงานแยกต่างหากจาก iMessage เมื่อใช้งานได้ SMS และ MMS ยังคงเป็นตัวเลือกหลังสุดเมื่อจำเป็น

 

Apple ยังย้ำว่า iMessage มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับความเป็นส่วนตัวมากกว่า RCS เพราะ iMessage มีการเข้ารหัสแบบ end-to-end และ Apple เพิ่มความปลอดภัยด้วย Advanced Data Protection สำหรับข้อความใน iCloud ขณะที่ RCS ยังไม่มีการสนับสนุนการเข้ารหัสที่แข็งแกร่งเท่า iMessage

 

ทาง Apple ได้ปรับปรุงประสบการณ์ SMS ระหว่าง iPhone และ Android แล้ว ตัวอย่างเช่น Apple ได้เพิ่มการสนับสนุน Tapbacks ที่ดีขึ้นใน iOS 16 สำหรับการสนทนาระหว่าง iPhone และ Android ใน iOS 17 ตัว Apple ยังนำเสนอคุณสมบัติเช่น การตอบกลับแบบเธรดและการแก้ไขข้อความในการสนทนากลุ่ม SMS

 

ท้ายที่สุด Apple กล่าวว่าจะร่วมมือกับสมาชิก GSMA เพื่อปรับปรุงโปรโตคอล RCS โดยเฉพาะการเพิ่มความปลอดภัยและการเข้ารหัสของข้อความ RCS และ Apple ยังบอกกับ 9to5Mac ว่าจะไม่ใช้การเข้ารหัส end-to-end แบบเฉพาะที่บน RCS โฟกัสอยู่ที่การปรับปรุงมาตรฐาน RCS เอง

 

9to5Mac กล่าวว่า นี่เป็นการพัฒนาที่ยาวนานตั้งแต่การตอบโต้ของทิม คุก ที่มีต่อ RCS ในปี 2022 ในขณะนั้นคุกกล่าวว่า Apple ไม่ได้รับการติดต่อจากผู้ใช้มากนักที่จะให้ความสำคัญกับการสนับสนุน RCS ใน iPhone “ซื้อ iPhone ให้แม่ของคุณ” คุกกล่าวเมื่อถูกถามเกี่ยวกับประสบการณ์ SMS ที่ไม่ดี

 

ต่อมาในปีเดียวกัน รายงานจาก Bloomberg กล่าวว่า Apple ไม่ได้พิจารณาหรืออย่างน้อยในขณะนั้น เพื่อเพิ่มการสนับสนุน RCS ใน iPhone

 

ประเด็นที่สำคัญคือกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในสหภาพยุโรป ซึ่งอาจทำให้ Apple ต้องเปิดเผย iMessage โดย Apple ได้ต่อต้านกฎหมายนี้ที่เรียกว่า Digital Markets Act โดยอ้างว่า iMessage ไม่ใหญ่พอในยุโรป

 

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานว่า Apple กำลังจะยื่นอุทธรณ์ต่อสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการรวม App Store และบริการ iMessage ใน Digital Markets Act อย่างไรก็ตาม Apple กำลังเตรียมพร้อมสำหรับปัญหากฎหมายที่อาจเกิดขึ้นด้วยการประกาศในวันนี้

 

เมื่อ RCS เปิดตัวในปีหน้า ข้อจำกัดของ SMS และ MMS จะไม่ได้สร้างปัญหาในการสนทนาส่วนใหญ่ระหว่างผู้ใช้ iPhone และ Android อีกต่อไป การใช้งานอาจแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการ แต่ผู้ให้บริการหลักทั้งสามในสหรัฐอเมริกาและส่วนใหญ่ของผู้ให้บริการอื่นๆ ทั่วโลกสนับสนุน RCS

 

อ้างอิง:

The post ไม่ต้องเสียเงินส่ง SMS แล้ว! Apple ตัดสินใจยอมรับมาตรฐาน RCS ที่จะทำให้ iPhone สามารถส่งข้อความผ่าน iMessage ไปยังผู้ใช้ Android ได้แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดีอีเอสทดสอบระบบ SMS เตือนภัยเฉพาะเจาะจงทำเนียบรัฐบาล ยืนยันทำได้ทันที ขอเวลา 6 เดือน – 1 ปี พัฒนาระบบเซลล์บรอดแคสต์ https://thestandard.co/des-test-the-sms-alarm-system/ Thu, 05 Oct 2023 07:25:11 +0000 https://thestandard.co/?p=850948 ระบบ SMS เตือนภัย

วันนี้ (5 ตุลาคม) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ประเสร […]

The post ดีอีเอสทดสอบระบบ SMS เตือนภัยเฉพาะเจาะจงทำเนียบรัฐบาล ยืนยันทำได้ทันที ขอเวลา 6 เดือน – 1 ปี พัฒนาระบบเซลล์บรอดแคสต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ระบบ SMS เตือนภัย

วันนี้ (5 ตุลาคม) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวภายหลังเรียกผู้บริหารผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ AIS และ True สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าหารือถึงการแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง โดยระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ดำเนินมาตรการเร่งด่วน โดยเรื่องของ Emergency Alert ได้ทดสอบระบบ LBS เข้าสู่ระบบแล้ว โดยการยิง SMS เข้าสู่มือถือในบริเวณทำเนียบรัฐบาล เห็นว่าได้ผลดี ซึ่งเรื่องนี้สามารถดำเนินการได้ทันที มีผลตั้งแต่วันนี้ และเราขอรับไปดำเนินการ ซึ่งการแจ้งเตือนจะครอบคลุมไปถึงภัยพิบัติต่างๆ ในพื้นที่ โดยผู้ให้บริการเครือข่ายทั้ง 2 ค่ายรับปากว่าสามารถดำเนินการได้ในทันที

 

ประเสริฐกล่าวว่า สำหรับเซลล์บรอดแคสต์ (Cell Broadcast) ต้องใช้เวลาดำเนินการ ซึ่งหากเราสามารถทำได้จะเป็นระบบที่มีความเสถียร และเป็นระบบเตือนภัยที่สามารถแจ้งพี่น้องประชาชนได้อย่างครอบคลุมและสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และตนได้ประสานงานกับ กสทช. และเครือข่ายมือถือ ซึ่งทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เหลือเพียงศูนย์ Command Center ที่ทุกวันนี้เป็นปัญหาระดับชาติ โดยเราจะดำเนินการอย่างเร่งด่วน และจะหารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีในวันนี้ต่อไป

 

ด้าน ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ กสทช. ชี้แจงระบบ Alert ว่ามี 2 ระยะ คือ LBS จะคล้ายกับ SMS แต่จะใช้เวลาในการประมวลผลนาน ซึ่งระบบจะจับจำนวนคนในพื้นที่ก่อนจะมีการประมวลผล ทำให้ต้องใช้เวลา และระยะที่ 2 คือการทำเซลล์บรอดแคสต์ ซึ่ง กสทช. จะนำเสนอเข้าที่ประชุมและดำเนินการ โดยระบบดังกล่าวหากมีโทรศัพท์เครื่องใดอยู่ในพื้นที่จะสามารถยิงข้อความได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องประมวลผลว่ามีเบอร์อะไรอยู่ในพื้นที่ จะเป็นระบบที่ดีที่สุด ซึ่งจะรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด

 

จากนั้นประเสริฐได้ชี้แจงกรณีหากคนร้ายอยู่ในพื้นที่และได้รับ SMS จะมีมาตรการป้องกันอย่างไรว่า เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องตัดสัญญาณในจุดที่มีคนร้ายอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ทำได้อยู่แล้ว

 

ประเสริฐกล่าวอีกว่า ระบบเซลล์บรอดแคสต์จะต้องใช้เวลาพัฒนา แต่จะเป็นระบบที่รวดเร็ว ใน 10 วินาที สามารถส่งได้เป็นล้านข้อความ ซึ่งไม่เกิน 1 ปี จะสามารถเกิดขึ้นได้ หรืออย่างเร็ว 6 เดือน ยืนยันว่าไม่ได้ช้าเกินไปเพราะต้องติดตั้งระบบหลายอย่าง และยืนยันว่าเรื่องเซลล์บรอดแคสต์ไม่ได้มีอุปสรรคเรื่องงบประมาณที่ไม่สามารถดำเนินการได้ และตนไม่อยากพูดถึงปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา ขอมองแต่อนาคตดีกว่า และตนจะเร่งให้เร็ว

 

ส่วนการปราบปรามเว็บขายปืนเถื่อน ประเสริฐกล่าวว่า ตนได้สั่งปิดไปแล้ว ตอนนี้ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการปิดอยู่ เดิมทีต้องใช้อำนาจศาล แต่ขณะนี้สามารถสั่งปิดได้ทันทีเมื่อพบเห็น ขนาดเว็บเถื่อนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขายปืนก็สั่งปิดทุกวัน เมื่อวานนี้ก็สั่งปิดไป 500 เว็บ จากเดิมที่ปิดเพียงไม่กี่เว็บ และมีการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ สำหรับตัวเลขเว็บขายปืนเถื่อนที่ปิดไปนั้นขอรอข้อมูลก่อน ส่วนแพลตฟอร์มอื่นที่ขายปืน เช่น Facebook และ X (Twitter) ได้ขอความร่วมมือไปแล้ว และทุกโซเชียลให้ความร่วมมือ 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.40 น. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ทดสอบระบบการแจ้งเตือนแบบเจาะจงพื้นที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลด้วยระบบ SMS ผ่านเครือข่าย AIS และ True

The post ดีอีเอสทดสอบระบบ SMS เตือนภัยเฉพาะเจาะจงทำเนียบรัฐบาล ยืนยันทำได้ทันที ขอเวลา 6 เดือน – 1 ปี พัฒนาระบบเซลล์บรอดแคสต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์ชาติเตือนเหยื่อแอปดูดเงินพุ่งสูงขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา หลังมิจฉาชีพนำเทคโนโลยีส่ง SMS ผ่านเสาส่งสัญญาณมือถือปลอมมาใช้ https://thestandard.co/bot-warned-money-engulf-application/ Thu, 13 Jul 2023 08:13:59 +0000 https://thestandard.co/?p=816581 มิจฉาชีพ

ธปท. เผยตัวเลขความเสียหายจากแอปดูดเงินพุ่งสูงขึ้นในช่วง […]

The post แบงก์ชาติเตือนเหยื่อแอปดูดเงินพุ่งสูงขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา หลังมิจฉาชีพนำเทคโนโลยีส่ง SMS ผ่านเสาส่งสัญญาณมือถือปลอมมาใช้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
มิจฉาชีพ

ธปท. เผยตัวเลขความเสียหายจากแอปดูดเงินพุ่งสูงขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา หลังมิจฉาชีพนำเทคโนโลยีการส่ง SMS ผ่านเสาส่งสัญญาณมือถือปลอมมาใช้ นอกจากนี้ ยังพบสถิติการเปิดบัญชีม้าเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เตือนประชาชนไม่คลิกลิงก์มั่วจากไลน์ อีเมล และ SMS ที่ไม่น่าเชื่อถือ

 

สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ธปท. เริ่มเห็นสัญญาณความเสียหายจากแอปดูดเงินที่ปรับสูงขึ้น หลังจากที่ในช่วงไตรมาสแรกความเสียหายจากแอปดูดเงินเริ่มปรับตัวลดลง โดยพบว่าตัวเลขความเสียหายจากแอปดูดเงินได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 200 ล้านบาท และ 173 ล้านบาทในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน จากตัวเลขในเดือนมีนาคมและเมษายนซึ่งอยู่ที่ 135 ล้านบาท และ 116 ล้านบาทตามลำดับ

 

ขณะเดียวกัน ยังพบสถิติการอายัดบัญชีม้าในช่วงไตรมาสที่ผ่านมามีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 5,000 บัญชีในเดือนมีนาคม เป็น 6,000 บัญชีในเดือนเมษายน และ 9,000 บัญชีในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 

 

สิริธิดาระบุว่า ความเสียหายจากแอปดูดเงินที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากการที่มิจฉาชีพมีการปรับกลอุบาย นำเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่มาช่วยและมีการพัฒนาแอปดูดเงิน โดยล่าสุดพบว่ามีการนำเทคโนโลยีการส่ง SMS ผ่านเสาส่งสัญญาณมือถือปลอม (False Base Station) มาใช้ โดยคนร้ายจะนำเสาดังกล่าวไปตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนเพื่อดักสัญญาณการส่ง SMS ทำให้สามารถส่ง SMS หลอกลวงเข้าไปปะปนกับข้อความจริงๆ ที่ส่งมาจากธนาคารได้

 

“เรามีการจับกุมแก๊งปล่อยสัญญาณปลอมนี้ได้แล้ว 1 แก๊ง แต่ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่หลงเหลืออยู่ จึงอยากฝากเตือนผู้ใช้บริการทางการเงินว่า วิธีสังเกตว่า SMS ใดเป็นของจริงหรือของปลอม คือ SMS ของจริงจากธนาคารจะไม่มีลิงก์ให้กดต่อ ขณะที่ SMS ของคนร้ายจะมีลิงก์ให้ก่อนเพื่อเข้าไปดาวน์โหลดแอปเพื่อดูดเงินออกจากบัญชี” สิริธิดากล่าว

 

สำหรับสถิติการอายัดบัญชีม้าที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริหาร ธปท. ระบุว่า เกิดมาจากสองปัจจัยสำคัญคือ การที่สถาบันการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมอันควรสงสัยระหว่างกันได้ภายใต้ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทำให้การตรวจจับบัญชีม้าทำได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน คนร้ายเองก็มีการเร่งเปิดบัญชีม้ามากขึ้นด้วยเช่นกัน เพื่อหลบเลี่ยงมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ออกมา

 

“ในภาพรวมเรายังพบรูปแบบภัยทุจริตทางการเงินแบบเดิมๆ เช่น แก๊ง Call Center SMS หลอกลวงและแอปดูดเงิน แต่ก็พบวิธีการใหม่ๆ ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นของคนร้าย เช่น หลอกเป็นหน่วยงานราชการ เช่น กรมที่ดิน การไฟฟ้า และกรมสรรพากร โดยอาจโทรไปหาคนที่เพิ่งไปทำธุรกรรมที่หน่วยงานเหล่านี้ หลอกเป็นคนรู้จัก เช่น เพื่อนเก่า ญาติพี่น้อง หรือหลอกให้ลงทุนในบริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์และคริปโตเคอร์เรนซี” สิริธิดาระบุ

 

ด้าน ภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธปท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการดำเนินการตามมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินของ ธปท. ที่ออกมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งต้องปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน ครอบคลุมด้านการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองและรับมือ โดยระบุว่า ขณะนี้สถาบันการเงินทุกแห่งได้ดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนด และมีความคืบหน้าเป็นไปตามแผน ดังนี้

 

  1. มาตรการป้องกัน พบว่าหลายมาตรการสถาบันการเงินทุกแห่งดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ การยกเลิกแนบลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และการยกเลิกแนบลิงก์ขอข้อมูลสำคัญผ่านโซเชียลมีเดีย การจำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน Mobile Banking (Username) ของแต่ละสถาบันการเงินให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์ และการพัฒนาระบบความปลอดภัยบน Mobile Banking ให้เท่าทันภัยการเงินรูปแบบใหม่ 

 

นอกจากนี้ ยังมีหลายมาตรการที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่ดำเนินการแล้ว และจะเสร็จทุกแห่งภายในสิ้นปี 2566 ได้แก่ การแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ Mobile Banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง การกำหนดเพดานวงเงินถอน/โอนสูงสุดต่อวัน ให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ใช้บริการแต่ละประเภท และการประเมินความตระหนักรู้ต่อภัยทุจริต (Awareness Test) รวมทั้งการยกระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วย Biometrics โดยการสแกนใบหน้าเมื่อเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking เช่น โอนเงินมากกว่า 50,000 บาทต่อครั้ง หรือ 200,000 บาทต่อวัน หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป 

 

  1. มาตรการตรวจจับ พบว่าสถาบันการเงินทุกแห่งได้เริ่มดำเนินการกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับและติดตามธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด และรายงานไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปแล้ว ขณะที่ระบบตรวจจับและติดตามบัญชีหรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบทันที เพื่อให้การระงับธุรกรรมเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบทำได้เร็วขึ้น อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2566

 

  1. มาตรการตอบสนองและรับมือ พบว่าสถาบันการเงินทุกแห่งได้จัดให้มีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (Hotline) ตลอด 24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้เร็ว รวมทั้งดูแลผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบ 

 

นอกจากนี้ เพื่อให้การจัดการภัยทางการเงินมีประสิทธิผลและเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ธปท. ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สำนักงาน ปปง., สำนักงาน กสทช. และสมาคมธนาคารไทย ผลักดันการดำเนินการให้สอดคล้องตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 

 

โดยภาคธนาคารได้ยกระดับให้สถาบันการเงินมีกระบวนการรับแจ้งเหตุ 24 ชั่วโมง และระงับธุรกรรมชั่วคราวไว้ 72 ชั่วโมง เพื่อช่วยตัดตอนเส้นทางการเงิน รวมทั้งมีกระบวนการและพัฒนาระบบกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีและธุรกรรมที่ต้องสงสัยระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยลดความเสียหายต่อทรัพย์สินประชาชน และช่วยจัดการบัญชีม้า อย่างไรก็ดี กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันยังคงร่วมกันเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การจัดการปัญหาทำได้เร็วยิ่งขึ้น 

 

ภิญโญกล่าวอีกว่า มาตรการจัดการภัยทางการเงินของไทยดังกล่าวมีความสอดคล้องตามมาตรฐานสากล และการดำเนินการของสถาบันการเงินในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง 

 

อย่างไรก็ดี การจัดการภัยทางการเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จยังต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบ และการป้องกันภัยทางการเงินที่มีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้เท่าทันภัยรูปแบบใหม่ๆ ไม่คลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน อัปเดตระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชัน Mobile Banking ให้ล่าสุดอยู่เสมอ หรือไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมนอกเหนือจากแหล่งที่ได้รับการควบคุมและรับรองความปลอดภัยจากผู้พัฒนา ไม่ใช้โทรศัพท์ที่ไม่ปลอดภัยทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะเป็นอีกหัวใจสำคัญในการป้องกันภัยได้อย่างยั่งยืน

 

ทั้งนี้ แนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง 1. ตั้งสติ และหยุดการติดต่อกับมิจฉาชีพทันที 2. ให้รีบติดต่อ สง. ที่ใช้บริการทันที ผ่านช่องทาง Call Center Hotline ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสาขาภายในเวลาทำการ เพื่อระงับธุรกรรมหรือบัญชีชั่วคราวของผู้เสียหายและบัญชีปลายทาง และ 3. แจ้งความอย่างรวดเร็วภายใน 72 ชั่วโมงผ่านเว็บไซต์ thaipoliceonline.com ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสถานีตำรวจ เพื่อให้ตำรวจแจ้ง สง. ขยายระยะเวลาการระงับธุรกรรมหรือบัญชีต่ออีก 7 วัน เพื่อสืบสวนสอบสวนและออกหมายอายัดบัญชีต่อไป

The post แบงก์ชาติเตือนเหยื่อแอปดูดเงินพุ่งสูงขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา หลังมิจฉาชีพนำเทคโนโลยีส่ง SMS ผ่านเสาส่งสัญญาณมือถือปลอมมาใช้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Whoscall เผยสถิติอันน่าตกใจ 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปม ด้านโทรศัพท์หลอกลวงพุ่งขึ้น 165% https://thestandard.co/whoscall-statistics-sms-spam/ Fri, 31 Mar 2023 10:02:02 +0000 https://thestandard.co/?p=771414 SMS หลอกลวง

การหลอกลวงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งในประเทศไทย สถ […]

The post Whoscall เผยสถิติอันน่าตกใจ 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปม ด้านโทรศัพท์หลอกลวงพุ่งขึ้น 165% appeared first on THE STANDARD.

]]>
SMS หลอกลวง

การหลอกลวงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งในประเทศไทย สถิติจาก Whoscall พบว่า คนไทยยังต้องรับสายจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น 165% หรือ 17 ล้านครั้งในปี 2565 รายงานยังเผยสถิติสำคัญครั้งแรก ถึงจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 45% หรือ 13.5 ล้านเบอร์  

 

“คาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อหลอกลวง และเกิดผลเสียทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต” แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Gogolook กล่าว

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

Whoscall ยังได้เผยสถิติที่น่าตกใจว่า 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง หรือคิดเป็น 73% ของข้อความที่ได้รับทั้งหมด ในส่วนของยอดสายโทรศัพท์หลอกลวงพุ่งขึ้น 165% จาก 6.4 ล้านครั้งในปี 2564 ซึ่งภัยเหล่านี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

 

มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวงเนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อ ‘ติดต่อครั้งแรก’ โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือโอนเงินให้ กลอุบายที่พบบ่อย ได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร  และการให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย

 

คีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงานที่พบบ่อยที่สุด เช่น รับสิทธิ์ยื่นกู้, เครดิตฟรี, เว็บตรง, คุณได้รับสิทธิ์, คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ, คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ และคุณคือผู้โชคดี   

 

รูปแบบและประเด็นการหลอกลวงถูกปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของแต่ละประเทศ จากการค้นหาและระบุการหลอกลวง (รวมการโทรและข้อความ) ต่อผู้ใช้ Whoscall 1 คน ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆ ที่มีข้อความและสายโทรเข้าหลอกลวง เฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี (เพิ่มขึ้น 7%) ขณะที่ไต้หวันมี 17.5 ครั้ง (ลดลง 20%) และมาเลเซีย 16.5 ครั้ง (เพิ่มขึ้น 15%) ตัวเลขดังกล่าวตอกย้ำว่าการหลอกลวงนั้นยังคงแพร่หลายไปยังหลายประเทศ

 

กลหลอกลวงใหม่ๆ ในประเทศไทยมักเกิดขึ้นตามความสนใจและเทรนด์ต่างๆ ขณะนี้ข้อความ SMS และสายหลอกลวงที่เกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้ หลอกส่งพัสดุเพื่อเก็บเงินปลายทาง หลอกเป็นกรมทางหลวง หลอกให้คลิกไปเล่นพนันออนไลน์ หลอกว่ามีงานพาร์ตไทม์ หลอกว่าได้รางวัลจาก TikTok และแพลตฟอร์มต่างๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

 

ข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลมักเป็นด่านแรกที่มิจฉาชีพใช้เข้าถึงรายละเอียดการติดต่อเพื่อหลอกลวงเหยื่อ การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นจากฐานข้อมูลขององค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือเมื่อผู้ใช้กรอกแบบสำรวจ แบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือแบบฟอร์มในเว็บไซต์ฟิชชิง

 

ในประเทศไทยมีการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ 45% ทั้งนี้ รหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อ เป็นข้อมูลส่วนตัวที่มีการรั่วไหลมากที่สุด ตามด้วยสัญชาติ อีเมล ที่อยู่ และวันเกิด

 

ข้อมูลที่รั่วไหลแต่ละประเภทอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น บัญชีธนาคารออนไลน์หรือบัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจถูกขโมยได้หากรหัสผ่านรั่วไหล หรือในกรณีที่มิจฉาชีพได้ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ แม้แต่บันทึกการชำระเงินและการซื้อของ ก็จะสามารถใช้หลอกลวงทางโทรศัพท์และข้อความ SMS ได้อย่างง่ายดาย เพื่อป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ เราจึงควรใช้การยืนยันตัวตนแบบสองขั้น (Two-Factors Authentication) เมื่อใช้บริการออนไลน์ เปลี่ยนรหัสผ่านที่รัดกุมเป็นประจำ และใช้ Whoscall เพื่อระบุสายโทรเข้าและข้อความ SMS ที่ไม่รู้จัก

 

การที่บริการออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิดการหลอกลวงจึงเพิ่มขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง Whoscall ขอแนะนำให้คนไทยปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้เพื่อป้องกันตนเองจากเหล่ามิจฉาชีพได้แก่

 

  • อย่าคลิก: หากคุณได้รับลิงก์ใน SMS อย่าคลิกลิงก์นั้น โดยเฉพาะข้อความที่มาจากธนาคารหรือหมายเลขที่ไม่รู้จัก เนื่องจากปัจจุบันมีข้อห้ามไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทยส่งลิงก์ทาง SMS ให้กับลูกค้าโดยตรง
  • อย่ากรอก: หากได้รับ SMS เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือขออัปเดตชื่อผู้ใช้/รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงินที่มีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่น่าสงสัย อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ เด็ดขาด
  • อย่าเพิกเฉย: ผู้ใช้สามารถช่วยกันต่อต้านกลโกงและหลอกลวงทางโทรศัพท์ โดยการรายงานเบอร์โทรศัพท์ที่น่าสงสัยหรือหลอกลวงทางแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันและช่วยส่งคำเตือนไปยังกลุ่มผู้ใช้รายอื่น

The post Whoscall เผยสถิติอันน่าตกใจ 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปม ด้านโทรศัพท์หลอกลวงพุ่งขึ้น 165% appeared first on THE STANDARD.

]]>
BREAKING: KBank ประกาศยกเลิกการส่ง SMS แบบแนบลิงก์ตั้งแต่วันนี้ เตือนลูกค้าใช้สติ อย่ากด อย่ากรอก อย่าตอบ https://thestandard.co/breaking-kbank-stopped-sending-sms/ Mon, 20 Feb 2023 12:54:02 +0000 https://thestandard.co/?p=753073 KBank

ธนาคารกสิกรไทย ออกประกาศว่าธนาคารได้ยกเลิกการส่ง SMS แบ […]

The post BREAKING: KBank ประกาศยกเลิกการส่ง SMS แบบแนบลิงก์ตั้งแต่วันนี้ เตือนลูกค้าใช้สติ อย่ากด อย่ากรอก อย่าตอบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
KBank

ธนาคารกสิกรไทย ออกประกาศว่าธนาคารได้ยกเลิกการส่ง SMS แบบแนบลิงก์ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ประชาสัมพันธ์ข่าวสารทั่วไป
  • แจ้งโปรโมชัน
  • แจ้งเตือนการทำรายการบัตรเครดิต/ความเคลื่อนไหวของบัญชี
  • ข้อมูลรายละเอียดผลิตภัณฑ์และบริการ

 

ตั้งแต่ 20 ก.พ. 66 เป็นต้นไป

 

หากลูกค้าได้รับ SMS ที่มีลิงก์แนบ จะไม่ใช่ข้อความที่มาจากธนาคารอย่างแน่นอน! (ยกเว้น ข้อมูลที่ลูกค้าขอผ่านช่องทางของธนาคาร)

 

ทั้งนี้ ธนาคารยังแนะนำวิธีการสังเกตลิงก์หลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ ดังนี้

 

1. กรณีเป็น SMS

 

  • ชื่อผู้ส่ง ต้องน่าเชื่อถือ และไม่ใช่เบอร์แปลก
  • เนื้อหา ต้องไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เกินจริง หรือให้ส่งข้อมูลสำคัญผ่าน SMS
  • ลิงก์ ต้องสังเกตให้ดี หากเป็น URL แปลกๆ ห้ามกดเด็ดขาด
  • ธนาคารไม่มีนโยบายการส่ง SMS แบบแนบลิงก์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้า (ยกเว้นข้อมูลที่ลูกค้าขอผ่านช่องทางของธนาคาร)

 

2. กรณีเป็นอีเมล

 

  • ชื่อผู้ส่ง ชื่อแปลก ชื่อสะกดผิด ชื่อที่ดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ นั่นคืออีเมลปลอม
  • การใช้ภาษาและเนื้อหา ใช้ภาษาไม่เป็นทางการ ไม่ระบุตัวตน เนื้อหาเป็นเรื่องเร่งด่วน หลอกให้กรอกข้อมูลสำคัญทางอีเมล นั่นคืออีเมลปลอม
  • ลิงก์ปลอม เมื่อเอาเมาส์ชี้ที่ลิงก์ (ห้ามกดเด็ดขาด) พบว่า URL ไม่ตรงกับลิงก์ที่แสดงในเนื้อหาอีเมล นั่นคืออีเมลปลอม
  • เอกสารแนบ ที่มีชื่อไฟล์น่าสงสัย และสกุลไฟล์แปลกๆ นั่นคืออีเมลปลอม

 

3. กรณีเป็นแชตปลอม เช่น LINE

 

  • Profile ตรวจสอบให้ดีว่าคนที่แชตมาเป็นคนที่รู้จัก หรือเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบได้หรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงการคุยกับคนที่ไม่รู้จัก
  • ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลทางการเงิน ห้ามเปิดเผยเด็ดขาด
  • ตรวจสอบเหตุการณ์จริงจากช่องทางอื่น เช่น โทรศัพท์ถาม อย่าเชื่อข้อความทางแชตอย่างเดียว
  • สำหรับวิธีสังเกตว่าเป็นการส่งข้อความผ่าน LINE จากธนาคารจริงหรือไม่ มีวิธีสังเกตดังนี้
  • ชื่อบัญชี LINE Official ของธนาคาร ต้องเป็นชื่อ KBank Live เท่านั้น
  • สังเกตเครื่องหมายรับรองจากโปรแกรม LINE จะมีโล่สีเขียว หรือ Badge ดาวสีเขียวที่หน้าชื่อบัญชี
  • หากไม่แน่ใจ ติดต่อสอบถามธนาคารผ่าน Chat KBank Live ช่องทางอื่น (Facebook) หรือศูนย์รับแจ้งเหตุและให้ข้อมูลภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ 0 2888 8888 กด 001
  • ถ้าพบการแอบอ้างว่าเป็นธนาคาร ให้ทำการรายงานศูนย์ช่วยเหลือของ LINE โดยกดปุ่มรายงานทันที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

The post BREAKING: KBank ประกาศยกเลิกการส่ง SMS แบบแนบลิงก์ตั้งแต่วันนี้ เตือนลูกค้าใช้สติ อย่ากด อย่ากรอก อย่าตอบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไม่ส่งกันแล้ว SMS! AIS เผยช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คนไทยใช้ ‘เน็ตมือถือ’ เพิ่ม 648% TikTok โตมากที่สุดนับ 100% https://thestandard.co/ais-thailand-internet-sms/ Sun, 01 Jan 2023 11:12:36 +0000 https://thestandard.co/?p=731769

ในยุคที่สมาร์ทโฟนยังไม่แพร่หลาย หนึ่งในการบอกสวัสดีปีให […]

The post ไม่ส่งกันแล้ว SMS! AIS เผยช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คนไทยใช้ ‘เน็ตมือถือ’ เพิ่ม 648% TikTok โตมากที่สุดนับ 100% appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในยุคที่สมาร์ทโฟนยังไม่แพร่หลาย หนึ่งในการบอกสวัสดีปีใหม่ของคนไทยคือการส่ง SMS แต่วันนี้ภาพดังกล่าวกำลังเลือนหาย เพราะการเข้าถึงสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมอินเทอร์เน็ต การอวยพรปีใหม่ขยับไปสู่โลกออนไลน์แทน

 

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เปิดเผยว่า ปี 2565 เป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์ภาพรวมกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากการระบาดของโควิดเกิดเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ให้กับคนไทยและทั่วโลก ที่ใช้ Digital Technology เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในทุกด้าน ทั้งชีวิตส่วนตัว การทำงาน และการพร้อมเดินหน้าของภาคอุตสาหกรรม ส่งผลถึงปริมาณการใช้ดาต้าของลูกค้า AIS เพิ่มขึ้นถึงกว่า 20%

 

สำหรับช่วงปลายปี 2565 ต่อกับช่วงเวลาขึ้นปีใหม่ 2566 ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2565 – 1 มกราคม 2566 พบว่า ลูกค้าเริ่มมีการเดินทางท่องเที่ยวในต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานและภาคเหนือ ทำให้ภาพรวมมีการใช้งานดาต้าบน 5G NSA ที่เพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมากว่า 648%  

 

ส่วนการใช้บริการ OTT ทั้งที่ผ่านเครือข่ายมือถือ AIS, AIS Wifi, AIS Fibre นั้น เห็นได้ชัดเจนว่า TikTok เติบโตขึ้น 100% Facebook ประมาณ 30% ส่วน LINE และ YouTube โตขึ้นประมาณ 10%

 

“Facebook ยังคงเป็น OTT App ที่มีการใช้งานมากที่สุด รองลงมาคือ YouTube, LINE และ TikTok ตามลำดับ โดยปริมาณการใช้งานจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2565 – เวลา 00.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2566”

 

นอกจากนี้ยังพบว่า Application AIS PLAY ยังเป็นช่องทางที่ลูกค้าใช้ในการชมคอนเทนต์ในช่วงระหว่างท่องเที่ยว เพราะมีอัตราการใช้งานที่สูงกว่าช่วงเวลาปกติอย่างชัดเจน รวมถึงพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสามารถปรับตัวกับการใช้ชีวิตท่ามกลางโควิดได้ คืออัตราการใช้บริการ International Roaming ของลูกค้าที่เดินทางไปยังต่างประเทศในปีนี้ ที่มีมากกว่า 150,000 ราย มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามากกว่าเท่าตัว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

 

The post ไม่ส่งกันแล้ว SMS! AIS เผยช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คนไทยใช้ ‘เน็ตมือถือ’ เพิ่ม 648% TikTok โตมากที่สุดนับ 100% appeared first on THE STANDARD.

]]>