Singha – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 29 Jun 2024 03:30:29 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สิงห์ ต่อสัญญา เซาเบอร์ ในศึก F1 ถึงปี 2025 https://thestandard.co/singha-sauber-f1-extension-2025/ Sat, 29 Jun 2024 03:30:29 +0000 https://thestandard.co/?p=951487 สิงห์ เซาเบอร์ F1 2025

สิงห์ คอร์เปอเรชั่น บรรลุข้อตกลงต่อสัญญา 2 ปีกับ เซาเบอ […]

The post สิงห์ ต่อสัญญา เซาเบอร์ ในศึก F1 ถึงปี 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สิงห์ เซาเบอร์ F1 2025

สิงห์ คอร์เปอเรชั่น บรรลุข้อตกลงต่อสัญญา 2 ปีกับ เซาเบอร์ ทีมผู้ผลิตรถแข่งสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ในศึกฟอร์มูลาวัน ออกไปจนจบฤดูกาล 2025

 

โดยทาง วรวุฒิ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ตอบรับคำเชิญของคณะผู้บริหารและนักแข่งทีมเซาเบอร์ เพื่อเดินทางไปร่วมการแข่งขัน F1 รายการสแปนิชกรังด์ปรีซ์ ณ เซอร์กิตเดอบาร์เซโลนา-กาตาลุญญา ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา

 

วรวุฒิเปิดเผยหลังบรรลุข้อตกลงต่อสัญญาสนับสนุนทีมเซาเบอร์ว่า “การแข่งรถฟอร์มูลาวันถือเป็นหนึ่งในกีฬาที่เป็นที่รู้จักและมีจำนวนผู้ติดตามชมมากที่สุดในโลก และสิงห์ในฐานะที่เป็นองค์กรไทย มีผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักและวางจำหน่ายทั่วโลก เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม F1 ระดับโลกตั้งแต่ปี 2010 จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทีมแข่งระดับโลกกับแฟนมอเตอร์สปอร์ตชาวไทย เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยเข้าถึงการแข่งขันรถฟอร์มูลาวันได้มากยิ่งขึ้น”

 

ด้าน อเลสซานโดร อลันนี บราวี ผู้อำนวยการของทีมสเทก F1 คิก เซาเบอร์ กล่าวว่า “การต่อสัญญากับสิงห์ คอร์เปอเรชั่น เป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง เป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้มองเพียงแค่ความสำเร็จผิวเผิน แต่มาจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดเข้มแข็ง เต็มเปี่ยมไปด้วยมิตรภาพและความเป็นครอบครัวเดียวกัน”

 

สำหรับทีมเซาเบอร์ เป็นทีม F1 เก่าแก่ที่ก่อตั้งในปี 1993 ปัจจุบันยังมี วัลท์เทอรี บอททาส ยอดนักขับชาวฟินแลนด์ และ โจวกวนยู นักขับ F1 คนแรกในประวัติศาสตร์ของจีน เป็น 2 นักขับตัวจริง

The post สิงห์ ต่อสัญญา เซาเบอร์ ในศึก F1 ถึงปี 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>
อ่านวิธีเคลื่อนทัพของ ‘แม่ทัพสิงห์คนใหม่’ เต้-ภูริต ภิรมย์ภักดี และวิธีบริหารคนแบบ ‘ครอบครัวผสมทีมฟุตบอล’ [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/bhurit-bhirombhakdi-ceo-talk/ Fri, 04 Aug 2023 04:25:09 +0000 https://thestandard.co/?p=825148 เต้-ภูริต ภิรมย์ภักดี

หลังจาก เต้-ภูริต ภิรมย์ภักดี ทายาทสิงห์รุ่นที่ 4 ของตร […]

The post อ่านวิธีเคลื่อนทัพของ ‘แม่ทัพสิงห์คนใหม่’ เต้-ภูริต ภิรมย์ภักดี และวิธีบริหารคนแบบ ‘ครอบครัวผสมทีมฟุตบอล’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
เต้-ภูริต ภิรมย์ภักดี

หลังจาก เต้-ภูริต ภิรมย์ภักดี ทายาทสิงห์รุ่นที่ 4 ของตระกูลภิรมย์ภักดี ขึ้นแท่นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เป็นธรรมดาที่ทุกสายตาจะพุ่งเป้ากับบิ๊กมูฟนี้ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ภายหลังการขึ้นกุมบังเหียนอาณาจักรสิงห์ ท่ามกลางความท้าทายของเศรษฐกิจ และการเข้ามารับตำแหน่งในยุคที่มีรอยต่อระหว่างเจเนอเรชัน ‘อาณาจักรสิงห์’ ยุคใหม่จะมีหน้าตาเป็นแบบไหน 

 

คงไม่ได้มีเพียงสายตาจากคนนอกองค์กรเท่านั้นที่เฝ้ามอง พนักงานที่อยู่ภายใต้อาณาจักรแห่งนี้เองก็คงอยากเห็นวิสัยทัศน์ แนวคิด และเป้าหมายของแม่ทัพคนใหม่เช่นกัน 

 

บุญรอดบริวเวอรี่จัดเวที ‘CEO Talk’ ขึ้นภายในองค์กร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงได้แชร์ถึงแนวคิด ทิศทาง และวิสัยทัศน์ ให้กับพนักงานในองค์กรอย่างใกล้ชิด 

 

และนี่คือแนวคิดสำคัญของแม่ทัพสิงห์คนใหม่จากเวที ‘CEO Talk’ ในหัวข้อ ‘Begin Together’ ที่ถอดตัวตนและวิธีคิดแบบหมดเปลือก เพื่อให้ทุกคนมองเห็นภาพเดียวกันและเดินหน้าไปด้วยกัน

 

เต้ ภูริต เริ่มพูดคุยด้วยบทสนทนาสบายๆ เพื่อทลายกำแพงระหว่างเขากับพนักงาน ด้วยการพาไปรู้จักเด็กชายเต้ อดีตเด็กหลังห้องที่ไม่เคยสนใจธุรกิจครอบครัว ผ่านชีวิตวัยเด็กไปกับการทำสิ่งที่ชอบ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Business Management จากมหาวิทยาลัยเบนท์ลีย์ เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนจะกลับมาไล่ตามความฝัน นั่นก็คือการเป็นนักร้อง 

 

“ผมอยากเป็นนักร้อง อยากสัมผัสความรู้สึกของคนที่ยืนอยู่บนเวทีแล้วส่งพลังให้กับคนที่ดูเราอยู่ ก็ได้มาเป็นนักร้องนำให้กับวงกรุงเทพมาราธอน (Krungthep Marathon) จนกระทั่งวันหนึ่งคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องกลับมาทำธุรกิจครอบครัวแล้ว ตำแหน่งแรกที่ผมได้ทำก็คือ ‘พนักงานดูแลถังเบียร์’ ครับ หน้าที่คือล้างถังเบียร์ ทำทุกอย่าง แล้วก็ขอคุณลุง (ปิยะ ภิรมย์ภักดี) ขับรถ Forklift เพราะผมชอบขับรถอยู่แล้ว” 

 

“การที่เราจะเข้าใจใครก็ตาม ต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในจุดนั้น”

 

“ความโชคดีคือผมได้ลองสับเปลี่ยนงานแทบจะทุกหน่วยงาน แรกๆ ไม่มีใครรู้ด้วยว่าผมเป็นใคร ซึ่งผมก็ไม่อยากให้ใครรู้ เพราะเขาจะปฏิบัติกับเราอีกแบบ ผมอยากลงไปเรียนรู้งานจริงๆ ทำให้วันนี้ผมเข้าใจภาพใหญ่ขององค์กร เช่น ทำไมสายการผลิตถึงคิดไม่เหมือนการตลาด อะไรทำให้มุมมองและวิธีคิดของสองฝั่งต่างกัน เหรียญมันมีสองด้าน การที่เราจะเข้าใจใครก็ตาม ต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในจุดนั้น ทำให้ผมสามารถเอาจิ๊กซอว์มาต่อกันได้” 

 

หลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงานได้สักระยะ ภูริตในฐานะตัวแทนของเจเนอเรชันที่ 4 ของครอบครัว ก็ได้ไปศึกษาด้านการปรุงและการผลิตเบียร์ Master of Brewing ที่ Doemens Institute of Technology ซึ่งเป็นสถาบันสอนด้านการปรุงเบียร์ที่เก่าแก่ของเยอรมนี และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับโลก และได้เป็น Brewmaster คนที่ 3 ของตระกูลภิรมย์ภักดี ต่อจาก ประจวบ ภิรมย์ภักดี (คุณปู่) ซึ่งเป็น Brewmaster ไทยคนแรก และ ปิยะ ภิรมย์ภักดี (คุณลุง) 

 

“พอเรียนจบก็กลับมาเป็น Brand Manager ของเบียร์ลีโอ ผมเข้ามาตอนที่ลีโอยังไม่ค่อยได้รับความนิยม เป็นช่วงทำการตลาดแบบลองผิดลองถูก ช่วงนั้นเสนอตัวเข้าไปฝึกงานกับโอกิลวี่ (บริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ (ประเทศไทย)) 8 เดือน เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานของเอเจนซี ไปเป็น AE ดูแลแอ็กเคานต์ลูกค้า นอกจากจะทำให้เราสามารถคอมเมนต์ได้ถูกจุด ประสบการณ์เหล่านั้นก็ทำให้ผมนำกลับมาใช้ในองค์กรได้” 

 

ภูริตบอกว่า การออกจากคอมฟอร์ตโซนทำให้เขารู้จักคนหลากหลาย และกลายเป็นคนที่มีมุมมองกว้างขึ้น ทั้งเรื่องของวิธีคิดและวิธีการใช้ชีวิต เข้าใจมากขึ้นว่าโลกเป็นแบบนี้ อยากรู้อะไรต้องรู้ให้ลึก จะได้ตอบคำถามได้ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ถนัดต้องส่งไม้ต่อให้คนที่เก่งกว่า โดยเฉพาะตำแหน่งที่เขายืนอยู่ จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างเป็นภาพกว้างและหาดาวรุ่งทำงานให้ถูกตำแหน่ง 

 

เต้-ภูริต ภิรมย์ภักดี

 

“ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ คุณต้องเริ่มต้นจากความชอบก่อน”

 

หนึ่งใน Case Study ที่ภูริตแชร์ให้ฟังคือ การปั้นลีโอจากมวยรองให้กลายเป็นเบอร์หนึ่งในใจคนไทย และแน่นอนว่าไม่ลืมยกเครดิตให้กับ รังสฤษดิ์ ลักษิตานนท์ ขุนพลมือขวาของตระกูลภิรมย์ภักดี ที่มีส่วนสำคัญในการสู้ศึกครั้งนั้น 

 

“ตอนนั้นเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง จากที่เคยครองส่วนแบ่งการตลาด 80-90% ตกลงมาไม่ถึง 20% ถ้าเราไม่มี Choice Brand ให้กับผู้บริโภคเราจะไม่รอด นั่นเป็นเหตุผลที่เราสร้างแบรนด์ลีโอขึ้นภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ เจาะกลุ่มไม่ให้ชนกับกลุ่มเป้าหมายเดิมของสิงห์ สร้างตลาดใหม่ได้ กลายเป็น Case Study ของจุฬาฯ” 

 

หนึ่งใน Key Success ที่ภูริตบอกคือ ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ คุณต้องเริ่มต้นจากความชอบก่อน มันจะออกมาดีเสมอ 

 

“การทำธุรกิจ ต้องทำธุรกิจที่เรารู้จริง ไม่ใช่พยายามจะเป็นทุกอย่าง กินรวบทุกอย่าง” 

 

และในฐานะผู้บริหาร สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องเดินไปดู ไม่ใช่รออยู่บนหอคอย “เวลาเข้าไปเรียนรู้อะไร ผมจะเข้าไปแบบคนที่ไม่รู้ จะได้รู้เยอะขึ้น และเลือกบริหารจัดการสิ่งที่รู้จริง อะไรที่เราไม่รู้ ไม่เก่ง เอาคนที่รู้จริงมาช่วย ประเด็นคือเราไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทุกอย่าง เราไปทำให้คนที่เขาไม่แข็งแรงได้เติบโตและแข็งแรงไปด้วยกัน ผมว่าสิ่งนี้ดียิ่งกว่า

 

“คงเคยได้ยินที่พูดกันว่า เจเนอเรชันของการทำธุรกิจ เจน 1 คือผู้สร้าง เจน 2 คือผู้พัฒนา และเจน 3 ทำเจ๊ง แต่ผมคือคนเจน 4 เราทลายกรอบความเชื่อนั้น และทำให้เห็นว่าเจนเราโตยิ่งกว่า ไม่ใช่เพราะผมเก่ง แต่เพราะเราเข้าใจความผิดพลาดของเราในอดีต และเอามาปรับปรุงให้เกิดเป็นพลังในอนาคต”

 

ภูริตยกตัวอย่างการปั้น ‘สิงห์ เลมอนโซดา’ ที่เจาะตลาดกลุ่มใหม่จนประสบความสำเร็จเหนือความคาดหมาย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เริ่มต้นจากความชอบ 

 

“สิงห์ เลมอนโซดา เริ่มมาจากผมเป็นคนรักสุขภาพ และอยากจะทำของที่ดีให้ลูกกิน เลยอยากทำเครื่องดื่มที่ตอบโจทย์นี้ ส่วนเรื่องรสชาติ ก่อนจะปล่อยแต่ละรสชาติออกมาเราทำรีเสิร์ชกับผู้บริโภคจริงๆ เพื่อให้รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ รสชาติแบบนี้ เขาชอบหรือไม่ กว่าจะผ่านได้ก็เปลี่ยนกันไปเป็นร้อยสูตรเพื่อให้ผู้บริโภคชอบมากที่สุด และต้องเริ่มต้นมาจากความชอบของเรา สิ่งที่เราเชื่อว่ามันจะทำได้ดี” 

 

“ต้องเริ่มจากองค์กรก่อน ปัดกวาดบ้านให้สะอาด แล้วค่อยออกไปนอกบ้าน” 

 

เครดิตที่ภูริตยกให้ทุกครั้งเมื่อถามถึงเบื้องหลังความสำเร็จคือ ‘ทีมงาน’ เขาเชื่อเสมอว่าจุดยืนที่แข็งแกร่งและการเติบโตที่มั่นคงขององค์กรในวันนี้ เกิดขึ้นจากทีมงานที่แข็งแกร่งและมองเห็นภาพเดียวกัน 

 

“ตอนนี้ผมเป็น Group CEO ที่ต้องดู 159 บริษัทในเครือ ผมคงไม่ได้เข้าไปดูรายละเอียดทุกบริษัท เพราะภารกิจหลักๆ ตอนนี้คือการเข้าไปดูว่าบริษัทไหนขาดทุน จะเข้าไปช่วยพัฒนาให้ดีขึ้น ไม่อยากให้ทุกคนคิดว่าผมจะเข้ามาเพื่อกำหนดทิศทาง แต่อยากให้มองว่าผมมาทำงาน เพื่อร่วมกันพัฒนาและช่วยกันหาโอกาสให้บริษัทกลับมามีกำไรได้อีกครั้ง ที่ผ่านมาสามารถทำได้สำเร็จหลายบริษัทแล้ว” 

 

ภูริตบอกว่า เคล็ดลับในการพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมามีกำไรคือ ‘ทีมงาน’ ที่ช่วยกันคิดวิเคราะห์ หาจนเจอว่าปัญหาคืออะไร มาจากจุดไหน และสามารถปรับอะไรได้บ้าง 

 

“ต้องเริ่มจากองค์กรก่อน ปัดกวาดบ้านให้สะอาด แล้วค่อยออกไปนอกบ้าน ไปสร้างคอนเนกชันเพิ่ม เพราะการทำธุรกิจยุคนี้ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องหาพันธมิตร ทุกวันนี้ที่ผมพยายามสร้างหลายๆ อย่างเพราะอยากสร้างภูเขาให้กับคนรุ่นใหม่ในองค์กร ให้เขาได้เห็นว่ายังมีภูเขาลูกอื่นที่เขาสามารถไปสร้างให้เติบโตได้

 

“หลักการเลือกพาร์ตเนอร์ของผมคือ ผมจะดูก่อนว่าใช่ธุรกิจที่เราต้องการหรือไม่ จากนั้นลองคุยกับซีอีโอหรือผู้ก่อตั้ง ถ้าคุยแล้วคลิกก็ถือว่าผ่านด่านแรก แต่เวลาคุยกับใครแทนที่จะบอกว่าเราอยากได้อะไร ผมจะถามว่าเขาอยากอะไร ผมสามารถทำอะไรให้เขาได้บ้าง เราเป็นบริษัทใหญ่ไม่จำเป็นต้องแมตช์กับบริษัทใหญ่เสมอไป ผมกลับมองว่า ถ้าเราจับคู่กับบริษัทไหนแล้วทำให้เขาขยายไซส์ธุรกิจได้ มันคุ้มกว่า เพราะผมไม่ได้มอง Bottom Line เป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่จะมองว่าธุรกิจแบบไหนต่อยอดให้กับองค์กรได้” 

 

“เราทำงานแบบครอบครัวผสมทีมฟุตบอล คือหาตัวดาวรุ่งเข้ามาบ้าง”

 

บุญรอดบริวเวอรี่กำลังจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 90 สิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรเก่าแก่ยังคงมีความสดใหม่ และครองตำแหน่งเจ้าตลาดอยู่เสมอ คือการปรับวิธีคิดให้ใหม่เสมอ 

 

“ความสำเร็จวันนี้เกิดขึ้นจากคนรุ่นเก่าที่ส่งต่อมา แต่ทุกอย่างต้องหมุนไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิธีคิด เรื่องคน เรื่องแบรนดิ้ง เมื่อก่อนพนักงานเทรนนิ่งอายุเฉลี่ยประมาณ 40 กว่าๆ ตอนนี้ลดลงมาเหลือ 35 ปี สำหรับผมองค์กรจะเติบโตอย่างมั่นคงทุกยุคสมัย ต้องเป็นองค์กรที่มีการถ่ายเลือด เลือดใหม่ต้องค่อยๆ เข้ามา คนที่เคยเก่งต้องปล่อยวาง ตัวผมเองในอนาคตก็ต้องปล่อยวาง เพราะเด็กรุ่นใหม่ที่เก่งกว่าผมต้องขึ้นมาแทน แต่เราจะไม่ทิ้งคนเก่าแก่ เขาคือซูเปอร์สตาร์ที่สร้างรากฐานให้กับองค์กร จึงต้องมีการ Compromise ระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ คนเก่าแก่เราก็ให้เขาเป็นฝ่ายซัพพอร์ตเลือดใหม่อีกที มันมีข้อดีของคนเหล่านี้อยู่ อย่าไปคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดี ทุกยุคทุกสมัยมีข้อดีหมด

 

“คุณพ่อผม (สันติ ภิรมย์ภักดี) พูดเสมอว่า ต้องทำให้ครอบครัวเรามีความสุข ครอบครัวที่พูดถึงก็คือคนในองค์กรและคนในสังคม ไปสร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับผู้คน จึงเกิดเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่สิงห์ทำเพื่อไปช่วยเหลือผู้คน เพราะเราอยากเห็นรอยยิ้มของคนกลับมาอีกครั้ง

 

“แต่ถ้าถามว่าเราบริหารองค์กรแบบครอบครัวหรือเปล่า ผมกลับมองว่าการบริหารองค์กรแบบครอบครัวมากไปก็ไม่ดี ไม่อย่างนั้นเราจะรักษาคนเก่งไว้ไม่ได้ ผมย้ำเสมอว่าคนทำดีต้องได้ดี คนทำเยอะต้องได้เยอะกว่าคนที่ทำน้อย และคำว่าครอบครัวมันใช้ได้ในบางเรื่อง ผมเลยเชื่อเรื่องการบริหารองค์กรแบบ ‘ครอบครัวผสมทีมฟุตบอล’ คือหาตัวดาวรุ่งเข้ามาบ้าง ถึงเวลาที่ต้องสู้รบ ถ้าอยากจะชนะต้องเอาตัวเก่งออกไปลุย”

 

“สิ่งที่เราทำได้คือพยายามทำให้วันนี้เหมือนวันสุดท้ายของชีวิต”

 

ภูริตฝากถึงพนักงานทุกคนก่อนจะปิดม่านเวที CEO Talk ในครั้งแรกว่า “ด้วยความที่ยังใหม่กับตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น จึงอยากเริ่มต้นการทำงานด้วยการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม รับฟังความเห็น มากกว่าที่จะบอกให้ทุกคนทำตามความคิดของผมเพียงฝ่ายเดียว ยิ่งเราคุยกันเยอะ พยายามไปด้วยกัน ไม่ว่าวิกฤตไหนมา ผมเชื่อว่าเราจะผ่านพ้นมันไปได้

 

“ทุกคนในองค์กรคือฟันเฟืองที่มีค่าเสมอ ทุกๆ คนมีความสำคัญ เราขาดใครคนใดคนหนึ่ง หน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งไม่ได้ อยากให้ทุกคนพยายามไปด้วยกัน ปีนี้เป็นที่ยาก มีหลายปัจจัยเข้ามา สิ่งที่เราทำได้คือพยายามทำให้วันนี้เหมือนวันสุดท้ายของชีวิต แล้วคุณจะรู้ว่าในชีวิตคุณยังมีอะไรอีกเยอะแยะที่คุณสามารถทำได้ พยายามหาให้เจอว่าคุณค่าในตัวคุณคืออะไร และเรามาสู้ไปด้วยกัน Begin Together ด้วยกัน”

The post อ่านวิธีเคลื่อนทัพของ ‘แม่ทัพสิงห์คนใหม่’ เต้-ภูริต ภิรมย์ภักดี และวิธีบริหารคนแบบ ‘ครอบครัวผสมทีมฟุตบอล’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดเบื้องหลังดีลประวัติศาสตร์ สิงห์ได้อะไรจากการเป็นพาร์ตเนอร์ให้กับ The Open รายการแข่งกอล์ฟระดับเมเจอร์เก่าแก่ที่สุดของโลก [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/singha-official-beer-partner-the-open/ Thu, 03 Aug 2023 03:59:06 +0000 https://thestandard.co/?p=824751 สิงห์ the open

เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ทั้งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และ […]

The post เปิดเบื้องหลังดีลประวัติศาสตร์ สิงห์ได้อะไรจากการเป็นพาร์ตเนอร์ให้กับ The Open รายการแข่งกอล์ฟระดับเมเจอร์เก่าแก่ที่สุดของโลก [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
สิงห์ the open

เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ทั้งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และเกิดขึ้นได้อย่างง่ายๆ กับการที่แบรนด์จากประเทศไทยสักแบรนด์จะได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์ผู้สนับสนุนรายการแข่งขันกีฬาระดับโลก แต่แบรนด์อย่าง ‘สิงห์ (Singha)’ ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า พวกเขาทำได้ ทั้งยังทำได้อย่างน่าสนใจและน่าจับตาอีกต่างหาก!

 

เมื่อเร็วๆ นี้ สิงห์เพิ่งประกาศว่า พวกเขาได้กลายเป็น Official Beer Partner หรือพันธมิตรหลักอย่างเป็นทางการให้กับรายการแข่งขันกีฬา The Open หรือ British Open รายการแข่งขันกอล์ฟสุดไอคอนิกที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในรายการกีฬาที่ทรงเกียรติเป็นอย่างมาก (The Open จัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1860 ที่ Prestwick Golf Club ในสกอตแลนด์) โดยที่การเป็นพาร์ตเนอร์ในครั้งนี้จะครอบคลุมเป็นระยะเวลารวมทั้งสิ้น 3 ปี มีผลตั้งแต่ปี 2023 จนถึงปี 2025 

 

เบื้องหลังของการที่แบรนด์สัญชาติไทยได้รับการติดต่อโดยรายการแข่งขันระดับเมเจอร์ที่เป็นตำนานของวงการกอล์ฟเช่นนี้มีความน่าสนใจอย่างไร เกี่ยวข้องแค่ไหนกับการทำงานร่วมกับวงการกีฬาของสิงห์ตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา? 

 

แล้วในแง่มุมของการสร้างแบรนด์ สิงห์ซึ่งถือเป็นแบรนด์ไทยซึ่งก้าวไปสู่การเป็นแบรนด์ระดับโลกที่ทำตลาดในสเกล Global มาได้อย่างมั่นคงต่อเนื่องและแข็งแกร่ง ภายใต้ความร่วมมือที่เกิดขึ้นของทั้ง Global Brand และ Global Competition ในครั้งนี้ พวกเขาจะได้อะไรกันแน่? เราเตรียมคำตอบทั้งหมดไว้ให้แล้วผ่านบทความนี้

 

 

ทำไมถึงต้องเป็น The Open แล้วสิงห์ได้อะไรจากความร่วมมือในครั้งนี้?

 

นอกเหนือจากการเป็นรายการเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ยาวนาน จัดการแข่งขันมาต่อเนื่องกว่า 151 ครั้ง สาเหตุที่ต้องเป็น The Open หรือ British Open ก็เพราะว่ารายการแข่งขันกอล์ฟรายการนี้เป็นหนึ่งในรายการระดับเมเจอร์ที่ทรงเกียรติมากที่สุดของโลกร่วมกับ The Masters, U.S. Open และ PGA Championship ทั้งยังเป็นรายการเมเจอร์เพียงรายการเดียวที่จัดการแข่งขันนอกสหรัฐฯ อีกต่างหาก

 

ในฐานะบุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเจรจาดีลประวัติศาสตร์กับพาร์ตเนอร์ระดับโลกมาแล้วมากมาย (รวมถึง The Open) วรวุฒิ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เล่าว่า สิงห์เป็นแบรนด์ที่มีแพสชันในด้านกีฬาอยู่แล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬากอล์ฟ ซึ่งเป็นกีฬาที่ สันติ ภิรมย์ภักดี ผู้บริหารสิงห์ในเจนก่อนหน้ารัก และมีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้วงการกอล์ฟไทย และนักกอล์ฟไทยได้รับโอกาส การสนับสนุนอย่างเต็มที่เป็นทุนเดิม เพราะเชื่อมั่นว่าคนไทยมีศักยภาพเพียงพอจะก้าวไปสู่การแข่งขันในสังเวียนระดับโลกได้ ประกอบกับ The Open เป็นรายการการแข่งขันกอล์ฟที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ยาวนานไม่ต่างจากแบรนด์สิงห์ โดยที่ตัวประเทศอังกฤษเองก็ยังเป็นประเทศที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ การทำงานร่วมกันระหว่างสิงห์และ The Open จึงเปรียบเสมือนการเติมเต็มระหว่างกันและกันที่ลงตัว เข้ากันพอดี และมีความหมายเป็นอย่างยิ่ง

 

 

ผลพลอยได้ที่สิงห์จะได้รับจากการทำงานร่วมกับ The Open ไม่เพียงแต่จำกัดอยู่ที่การสร้างการรับรู้ของแบรนด์ในสเกลระดับโลกในฐานะ Global Brand ที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในอังกฤษและสหราชอาณาจักรเท่านั้น 

 

แต่มูฟเมนต์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ยังเปรียบเสมือนการที่สิงห์ได้ต่อขยายจิ๊กซอว์ภาพของการเป็นแบรนด์ที่ทำการตลาดกับโลกกีฬาได้อย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ทั้งยังรุกหนักในตลาดประเทศอังกฤษมากกว่าที่เคย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา สิงห์ได้เข้าไปสร้างฐานการผลิตเบียร์ที่ประเทศอังกฤษ โดยฐานการผลิตแห่งนี้จะถือเป็นมาตุภูมิสำคัญของสิงห์ในการกระจายสินค้าออกไปจำหน่ายในตลาดกลุ่มประเทศยุโรป เพื่อช่วยบริหาร ลดต้นทุนการขยายตลาดของสิงห์ได้อย่างมีนัยสำคัญ

 

โดยสรุป การเป็นพาร์ตเนอร์สนับสนุนและทำงานร่วมกับ The Open จึงตอบโจทย์สิงห์ใน 3 แง่มุมหลักๆ ประกอบด้วย

 

  1. การเติมเต็มแพสชันที่ข้นคลั่กของสิงห์ในการทำงานร่วมกับแบรนด์กีฬา
  2. การสร้างการรับรู้ของ ‘แบรนด์สิงห์’ ในฐานะ Global Brand และการพาสินค้าจากประเทศไทยไปสู่ตลาดโลก
  3. การเพิ่มศักยภาพในเชิงการทำการตลาด เพิ่มยอดขายให้กับสินค้าสิงห์ในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหราชอาณาจักรและยุโรป โดยมีอังกฤษเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ

 

HOYLAKE, ENGLAND – JULY 23: Brian Harman smiles with the Claret Jug trophy following his six stroke victory in the final round of The 151st Open Championship at Royal Liverpool Golf Club on July 23, 2023 in Hoylake, England. (Photo by Keyur Khamar/PGA TOUR via Getty Images)

 

สร้างแบรนด์ผ่านกีฬา แท็กติกสำคัญที่พาสิงห์ผงาดในตลาดระดับโลกมาต่อเนื่องหลายปี

 

อย่างที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่า สิงห์เป็นแบรนด์ที่มีแพสชันในการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ด้านกีฬาบนเวทีระดับโลกอย่างเข้มข้นมาโดยตลอด โดยจุดเริ่มต้นต้องย้อนกลับไปในปี 2009 ที่สิงห์ได้ทำงานร่วมกับทีมแข่ง F1 ที่มีชื่อเสียงอย่าง เรดบูลล์ เรซซิง ซึ่งถือเป็นการเปิดมิติใหม่ในวงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ณ ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นอย่างมากกับการเป็นแบรนด์รายแรกๆ ที่เข้าไปสนับสนุน F1 และยังเปรียบเสมือนการเปิดประตูโอกาสของสิงห์ในการทำ Sport Marketing กับพาร์ตเนอร์ระดับโลกแบบเต็มตัว

 

 

ต่อมาในปี 2015 สิงห์ยังได้เป็นสปอนเซอร์สนับสนุนนักแข่ง F1 อย่าง คิมี ไรโคเนน ก่อนที่อีกหนึ่งปีให้หลัง พวกเขายังได้กลายมาเป็นพาร์ตเนอร์เข้าสนับสนุนทีมแข่งสคูเดอเรีย เฟอร์รารี ไปจนถึงทีมระดับตำนานอย่าง อัลฟา โรเมโอ ที่สิงห์ยังคงเป็นพาร์ตเนอร์ให้ต่อเนื่อง (2019 ถึงปัจจุบัน)

 

นอกเหนือจาก F1 ในช่วงระหว่างปี 2013-2019 สิงห์ยังได้เข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์หลักสนับสนุนการแข่งขันรายการเฟอร์รารี แชลเลนจ์ โทรฟีโอ พิเรลลี (Ferrari Challenge Trofeo Pirelli) รายการแข่งขันรถที่ได้ชื่อว่าเป็นรายการที่ได้รับความนิยมเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ตามมาด้วยการเป็นพาร์ตเนอร์สนับสนุนรายการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก MotoGP ตั้งแต่ปี 2014 ยาวนานกระทั่งถึงปัจจุบัน

 

 

อีกหนึ่งภาพจำของสิงห์กับวงการกีฬา คือการเข้าสนับสนุนสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยเฉพาะสโมสรฟุตบอลระดับตำนานบนเวทีพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ลีกที่ได้ชื่อว่าได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ด้วยการเป็นพันธมิตรให้กับสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (2010-2016), เลสเตอร์ ซิตี้ (2012-2018) และสโมสรฟุตบอลเชลซี (ตั้งแต่ปี 2010) ที่ทั้งสองสิงห์ยังคงสานสัมพันธ์แน่นแฟ้นในฐานะพาร์ตเนอร์ที่เหนียวแน่น เติมเต็มซึ่งกันและกันจนถึงทุกวันนี้   

 

การทำการตลาดกับรายการแข่งขันกีฬาชั้นนำ สโมสรกีฬาระดับโลก ไปจนถึงนักกีฬาในหลากหลายประเภท ทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นจึงถือเป็นแท็กติกที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งสำหรับสิงห์ เพราะนอกจากจะเป็นการเติมเต็มแพสชันของแบรนด์ในการส่งเสริมพาร์ตเนอร์เหล่านั้นประสบความสำเร็จพร้อมๆ กับการเชื่อมโอกาสให้กับวงการกีฬาไทย เยาวชนไทยแล้ว ในอีกมุมหนึ่ง ‘แบรนด์สิงห์’ ก็จะมีโอกาสได้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลกมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากกีฬาทุกชนิดถือเป็นภาษาสากลที่ผู้คนทั่วโลกต่างก็หลงรัก หลงใหล และชื่นชอบ

 

 

การได้พาโลโก้ของตัวเองไปติดกับรายการแข่งขันกีฬาที่มีชื่อเสียง เป็นพันธมิตรที่ได้รับพื้นที่ค้าขายสินค้าของตนที่เอ็กซ์คลูซีฟเหนือแบรนด์อื่น จึงทำให้สิงห์สามารถทิ้งห่างแบรนด์คู่แข่งได้หลายช่วงตัว ช่วยสั่งสมชื่อเสียงของการเป็น Global Brand ได้อย่างหนักแน่น 

 

ทั้งยังเป็นการต่อยอดไปสู่โอกาสใหม่ๆ ให้กับตัวแบรนด์เอง เช่นเดียวกับในครั้งนี้ที่รายการแข่งขัน The Open ได้เป็นผู้เริ่มต้นติดต่อมาหาสิงห์ด้วยตัวเอง ซึ่งนับเป็นมิติที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งภายใต้ความร่วมมือนี้

 

 

วรวุฒิเล่าถึงเบื้องหลังก่อนจะเกิดดีล Official Beer Partner ระหว่างสิงห์และ The Open ว่า “การที่เราเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับ The Open ได้นั้นมันต่อยอดมาจากการที่เราเป็นพาร์ตเนอร์ให้กับ Shepherd Neame ผู้ผลิตเบียร์สิงห์ของเราในอังกฤษ ซึ่งการคัดเลือกพาร์ตเนอร์ ไม่ใช่ว่าแค่คุณมีเงินก็สามารถเป็นเจ้าของสิทธิ์ดังกล่าวได้ ในความเป็นจริงแล้ว พาร์ตเนอร์ทุกรายจะถูกพิจารณาอย่างละเอียดในทุกดีเทล เช่น เบียร์ของเราเป็นเบียร์ประเภทไหน เหมาะกับประวัติศาสตร์รายการแข่งขันของเขาหรือเปล่า

 

“เขาจะพิจารณาจากเหตุผลอื่นประกอบด้วย เช่น ประวัติศาสตร์แบรนด์หรือบริษัทเราเกิดขึ้นมาอย่างไร ประกอบธุรกิจใดมาบ้าง มันมีกระบวนการและขั้นตอนที่เขาจะต้องศึกษาอย่างละเอียด”

 

‘ไม่ง่ายกว่าที่จะได้มา’ แต่ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานต่อเนื่องของแบรนด์สิงห์ ไปจนถึง ‘ความจริงใจ’ ของสิงห์ที่สั่งสมมาโดยตลอดจากการสนับสนุนวงการกีฬาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การเป็นสะพานโอกาสเชื่อมต่อให้กับวงการกีฬาไทยเยาวชนไทยสู่ระดับโลก ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เติมเต็มนิยามการเป็น Global Brand ของสิงห์ในเวทีระดับโลกได้อย่างชัดเจน และนับวันก็มีแต่จะหาตัวจับยากขึ้นเรื่อยๆ

The post เปิดเบื้องหลังดีลประวัติศาสตร์ สิงห์ได้อะไรจากการเป็นพาร์ตเนอร์ให้กับ The Open รายการแข่งกอล์ฟระดับเมเจอร์เก่าแก่ที่สุดของโลก [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>